รหัสโครงการ : | R000000515 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตถั่วงอกเกษตรอินทรีย์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มพัฒนาอาชีพยั่งยืนบ้านเขาดิน จังหวัดนครสวรรค์ |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | Technology for increase productivity of organic sprouts (Ban Khao Din Community Enterprise, Nakhonsawan |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | เทคโนโลยี, เพิ่่่มศักยภาพ, เกษตรอินทรีย์ |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม > ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 25000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 25,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 02 พฤศจิกายน 2563 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 30 มิถุนายน 2564 |
ประเภทของโครงการ : | งานวิจัยบูรณาการ |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี |
สาขาวิชาการ : | สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย |
กลุ่มวิชาการ : | วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ไม่ระบุ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | จากการลงพื้นที่สำรวจการผลิตอาหารปลอดภัยของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มพัฒนาอาชีพยั่งยืนบ้านเขาดิน จังหวัดนครสวรรค์ นั้นพบว่าผลผลิตของทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่น่าสนใจคือ การเพาะพืชแบบเกษตรอินทรีย์ และได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มกษ. 9000 เล่ม 1-2552 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แหล่งผลิตพืชอินทรีย์ รหัสรับรอง TAS : 54685
ปัจจุบันทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแห่งนี้ได้เริ่มการผลิตการเพาะถั่วงอก ซึ่งเป็นพืชชนิดหนึ่งที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และถั่งงอกเป็นอาหารชนิดหนึ่งที่น่าสนใจเนื่องจากการผลิตโดยทั่วไปส่วนใหญ่มีการใช้สารเคมีสะสมสูง เนื่องจากผู้ผลิตส่วนใหญ่ต้องการใช้สารเคมีเพื่อทำให้ขาว ไม่ให้ดำ ดังนั้นการเพาะถั่วงอกส่วนใหญ่จึงพบสารอันตรายตกค้างเป็นส่วนมาก ดังนั้นจึงเป็นจุดเด่นของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแห่งนี้ที่สามารถดำเนินการปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ แต่อย่างไรก็ตามในกระบวนการผลิตส่วนใหญ่ใช้แรงงานคน ยังไม่แพร่หลาย และยังไม่สามารถผลิตได้เท่ากับที่ตลาดต้องการ ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อช่วยในการวางแผนการผลิต ช่วยลดการใช้แรงงานคน เน้นการผลิตให้ได้ปริมาณมากขึ้น เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของตลาดคนรักสุขภาพที่มีความต้องการผลิตภัณฑ์ได้ตามต้องการ
|
จุดเด่นของโครงการ : | การพัฒนาเทคโนโลยี ทางด้านสารสนเทศให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อนำไปวางแผนการผลิตการเพาะถั่วงอก และรวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1. เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีเพ่อช่วยในการวางแผนการผลิตในการเพาะถั่วงอกอินทรีย์ของกลุ่มวิสาหกิจชมุชน
2. เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
|
ขอบเขตของโครงการ : |
1. แปลงปลูกถั่งงอกเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองการเพาะพืชแบบเกษตรอินทรีย์ จากกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มกษ. 9000 เล่ม 1-2552 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แหล่งผลิตพืชอินทรีย์ รหัสรับรอง TAS : 54685
2. เกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มพัฒนาอาชีพยั่งยืนบ้านเขาดิน จังหวัดนครสวรรค์
3. ออกแบบเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มศักยภาพในการวางแผนการผลิตถั่วงอกเกษตรอินทรีย์
4. ถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มศักยภาพในการวางแผนการผลิตผลิตถั่วงอกเกษตรอินทรีย์
5.ได้เทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับวางแผนการผลิตการเพาะถั่วงอกแบบเกษตรอินทรีย์
6. เกษตรกรสามารถวางแผนการผลิตได้
|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | สำหรับชุมชน 1.ได้เทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการเพาะถั่วงอกแบบเกษตรอินทรีย์
2. เกษตรกรที่มีความสนใจการเพาะถั่วงอกแบบเกษตรอินทรีย์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มพัฒนาอาชีพยั่งยืนบ้านเขาดิน จังหวัดนครสวรรค์
สำหรับนักศึกษา 1.ได้นำทฤษฎีและความรู้เกี่ยวกับการออกแบบเทคโนโลยีเพื่อช่วยในการผลิตถั่วงอก
2.การฝึกปฏิบัติเพื่อบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จริง เพื่อใช้ทักษะความรู้ ความรับผิดชอบ การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | การนำเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการผลิตโดยเฉพาะการวางแผนการผลิตนั้นมีการศึกษาค้นคว้ามาบ้างแล้ว จากการศึกษาของ พลกฤช ตันติญานุกูล (2555) ศึกษาการวางแผนการผลิตทางการเกษตรโดยใช้แบบจำลองโปรแกรมเชิงเส้นตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อวิเคราะห์หาแผนการผลิตที่เหมาะสมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง และจากการศึกษาของ มลีรัตน์ แซ่อ๋อง (2562) ศึกษาการวางแผนการผลิตรวม โดยใช้แบบจำลองกำหนดการทางคณิตศาสตร์ กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์แปรรูปมะขามหวาน ได้ด เนินการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ จากนั้นใช้โปรแกรม Solver ซึ่งเป็น Add-in ใน Microsoft Excel ช่วยในการหาคำตอบของแบบจำลองพบว่าสามารถเพิ่มยอดกำไรจากการวางแผนการผลิตได้คิดเป็นร้อยละ 4.02
การนำโปรแกรม VBA มาประยุกต์ใช้ เช่น การพัฒนาวิธีการจัดลำดับการผลิตโดยใช้วีบีเอบนโปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็กเซล (นางพรรัตน์ ธำรุงวุฒิ, 2560) พัฒนาวิธีการจัดลำดับการผลิตหลายงานแบบเครื่องจักรหลายเครื่องในกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อนำมาเป็นเงื่อนใขการวางแผนการผลิต ซึ่งสามารถแก้ปัญหาโดยสามารถลดระยะเวลาในการผลิตได้ และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ร้อยละ 5.56
|
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | การวางแผนการผลิตและควบคุมการผลิต (Production Planning and Control)
การวางแผนและควบคุมการผลิต มีความสำคัญกับการบริหารงานในองค์กรเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสาร และวัสดุในการควบคุมการผลิต โดยหน้าที่หลักๆของระบบการวางแผนและควบคุมการผลิตได้ดังนี้
1. การพยากรณ์ความต้องการ (Forecasting) เป็นการนำข้อมูลการขายและใบสั่งการผลิตมาพยากรณ์ความต้องการของสินค้าแต่ละเดือนในอนาคต
2. การวางแผนกำลังการผลิตระยะยาว (Long-term Planning) ได้แก่การพิจารณาความต้องการแรงงานและสินค้าคงคลัง และ การวางแผนการผลิตโดยรวม (Aggregate Planning)
3. การวางแผนความต้องการระยะสั้น (Short-term Planning) เกี่ยวข้องกับการทำการจัดตารางการผลิตหลัก (Master Scheduling) และ การจัดทำแผนการจัดซื้อ (Purchase Authorization)
4. การควบคุมของคงคลัง (Inventory Control) เป็นการติดตามกระบวนการผลิต ว่ามีวัสดุอยู่ที่ใด และอยู่ในขั้นตอนไหนของกระบวนการผลิต
5. การกำหนดตารางการผลิต, การติดตาม, และการควบคุม (Shop scheduling, Monitoring, and Control) เป็นการจัดตารางการผลิต โดยการนำข้อมูลจากตารางการผลิตหลักรายสัปดาห์และรายงานของคงคลังมาจัดลำดับงานและมอบหมายงานในการผลิต ว่าจะทำการผลิตชิ้นส่วนใดก่อน ชิ้นส่วนใดทีหลัง
เป้าหมายของการวางแผนและควบคุมการผลิต
1. เพื่อเปลี่ยนค่าพยากรณ์การขาย หรือใบสั่งซื้อให้อยู่ในรูปของแผนงานผลิต
2. เพื่อให้การดำเนินงานในหน่วยงานต่างๆ มีการประสานงานกันได้ดีขึ้น
3. เพื่อต้องการลดต้นทุนการผลิต
4. เพื่อช่วยให้การผลิตของผลผลิตเปลี่ยนแปลงขึ้นลงไม่มากนัก
5. เพื่อให้มีวัสดุ หรือส่วนประกอบต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในเวลาที่ต้องการมีอย่างเพียงพอ และถูกต้อง
6. เพื่อต้องการลดเวลาของงานระหว่างผลิต
7. เพื่อต้องการลดความจำเป็นที่จะต้องติดตามงาน
8. เพื่อต้องการลดเวลาในด้านการจัดการ
9. เพื่อต้องการรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพของการผลิตให้รวดเร็ว
10. การเพาะถั่วงอกเกษตรอินทรีย์
การวางแผนการผลิตและตลาดเกษตรอินทรีย์
ปัญหาการเกษตรประการหนึ่งที่เกษตรกรประสบคือผลผลิตหรือสินค้าไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด หรือการมีผลผลิตหรือสินค้ามากเกินไปทำให้ขายไม่ได้ราคา เกิดการขาดทุนเพราะผลผลิตล้นตลาด ดังนั้นเกษตรกรจึงมีความจำเป็นต้องวางแผนการผลิตและการตลาดเพื่อลดข้อผิดพลาดและปัญหาต่างๆ หลักการสำคัญของการวางแผนการผลิตและหารตลาด คือเกษตรกรต้องมีความรู้ว่าตลาดมีความต้องการผลผลิตนั้นๆมากน้อยเพียงใด เกษตรกรต้องประเมินความสามารถทางการผลิตของตนเอง ต้องหมั่นศึกษาหาความรู้ด้านผลผลิตและการตลาด รวมทั้งต้องประสานความสัมพันธ์กับเกษตรกรกลุ่มอื่น ๆ และเครือข่ายพันธมิตรทางการผลิตและการตลาด เพื่อสร้างความร่วมมือในการจัดการทั้งด้านการผลิตและการตลาดร่วมกัน
การวางแผนการผลิตพืช
การวางแผนจัดการปลูกพืช เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ขั้นตอนการดำเนินการตั้งแต่เริ่มปลูกโดยมุ่งหวังให้ได้ผลผลิตคุ้มค่าต่อการลงทุน โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. การกำหนดชนิดและแนวทางการใช้ประโยชน์ กำหนดขั้นตอนการตัดสินใจกำหนดชนิดพืชที่จะปลูกซึ่งต้องคำนึงถึงฤดูกาลและสภาพพื้นที่ สภาพปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต การกำหนดวัตถุประสงค์การผลิตว่าต้องการผลิตเพื่อบริโภค หรือจำหน่าย และมีช่องทางการตลาดมากน้อยเพียงใด
2. กำหนดพื้นที่เพาะปลูกพืช ชนิดของพืชที่ปลูก จำนวนพื้นที่ การปรับสภาพพื้นที่ ความสะดวกในการใช้พื้นที่ในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทางการเกษตร การจัดการหมุนเวียนจัดระบบการปลูกพืช เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
3. การจัดทำตารางปฏิบัติงาน เป็นการกำหนดปฏิทินการปฏิบัติงานผลิตพืชในแผนงานว่าต้องทำอะไรบ้าง กำหนดรายการปฏิบัติและผู้รับผิดชอบ
4. การเตรียมทุนและแรงงานที่ใช้ในการผลิตพืช ควรมีแผนการใช้เงินทุนและแรงงานให้เหมาะกับสภาพงานและการใช้แรงงาน
5. การเตรียมพันธุ์พืช วัสดุอุปกรณ์การผลิตพืช เตรียมพันธุ์พืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ปลูก มีความต้านทานโรคและแมลงศัตรูพืช ส่วนวัสดุอุปกรณ์การผลิตพืช เครื่องมือที่ใช้ในการเตรียม บำรุงรักษา การเก็บเกี่ยว เครื่องมือแปรรูปผลผลิต
เกษตรอินทรีย์ (Organic Agriculture)
เกษตรอินทรีย์ (Organic Agriculture) หมายถึง ระบบการจัดการผลิตเกษตรแบบองค์รวมที่เกื้อหนุนต่อระบบนิเวศ รวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพ วงจรชีวภาพ โดยเน้นการใช้วัสดุธรรมชาติ หลีกเลี่ยงการใช้วัตถุดิบจาการสังเคราะห์ และไม่ใช้ พืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ที่ได้มาจากเทคนิคการดัดแปรพันธุกรรม (genetic modification) มีการจัดการกับผลิตภัณฑ์โดยเน้นการแปรรูปด้วยความระมัดระวัง เพื่อรักษาสภาพการเป็นเกษตรอินทรีย์ และคุณภาพที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ในทุกขั้นตอน
หลักการเกษตรอินทรีย์ โดยมีหลักการสำคัญ 4 ด้าน ดังนี้
1. สุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพดิน พืช สัตว์ มนุษย์ และโลก
2. นิเวศวิทยา โดยการฟื้นฟูระบบนิเวศน์ท้องถิ่น และการสร้างความหลากหลายทางพันธุกรรมและกิจกรรมทางการเกษตร
3. ความเป็นธรรม ควรจะตั้งอยู่บนความสัมพันธ์ที่ มีความเป็นธรรมระหว่างสิ่งแวดล้อมโดยรวมและสิ่งมีชีวิต
4. การดูแลเอาใจใส่ ซึ่งต้องดำเนินการอย่างระวัง และรับผิดชอบเพื่อปกป้องสุขภาพและความเป็นอยู่ของผู้คนทั้งในปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งพิทักษ์ ปกป้องสภาพแวดล้อมโดยรวม
แนวทางเกษตรอินทรีย์ คือ การทำการเกษตรแบบวิถีภูมิปัญญาสู่การพึ่งพาของสิ่งมีชีวิตอย่างสมดุล การทำเกษตรแบบองค์รวม เข้าใจกลไก กระบวนการของระบบนิเวศการเกษตร ไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ ยึด 6 แนวทางสำคัญ ดังนี้
1. หมุนเวียนของธาตุอาหาร โดยปลูกพืชคลุมดินและคลุมดิน ด้วยอินทรียวัตถุ เพื่อสร้างวงจรการหมุนเวียนธาตุอาหาร
2. สร้างความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารในดิน โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ อย่างผสมผสานและคลุมดินด้วย อินทรียวัตถุ และปรับปรุง ดินด้วยอินทรียวัตถุ
3. สร้างความหลากหลายที่สัมพันธ์กันอย่างสมดุลในระบบนิเวศ และเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในไร่นา
4. อนุรักษ์และฟื้นฟูนิเวศการเกษตร และสร้างสมดุลของ ระบบนิเวศ โดยปลูกพืชร่วม พืชแซม พืชหมุนเวียน ไม้ยืนต้น
5. พึ่งพากลไกธรรมชาติในการทำเกษตร
6. พึ่งพาตนเองด้านปัจจัยการผลิต สร้างและพัฒนาและผลิต ปัจจัยการผลิตต่างๆ ด้วยตนเองให้มากที่สุด พึ่งพาปัจจัยภายนอกเท่าที่จำเป็น
การใช้เทคโนโลยีช่วยในการออกแบบการวางแผนการผลิต
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หมายถึง กระบวนการต่างๆ ที่จะช่วยให้ได้สารสนเทศตามที่ต้องการอาจรวมถึง เครื่องมือ อุปกรณ์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์คมนาคม รวมทั้งซอฟต์แวร์ทั้งระบบสำเร็จรูป และที่พัฒนาขึ้นโดยเฉพาะด้านซึ่งกระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆมาใช้งานเพื่อรวบรวมข้อมูล จัดเก็บ ประมวลผล และแสดงผลเป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป
Visual Basic for Application (VBA) เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ที่พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ ซึ่งเป็นบริษัทที่สร้างระบบปฏิบัติการ Windows ทีใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
พื้นฐานการเขียนโปรแกรม VBA
การเขียนภาษาวิชวลเบสิกในโปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็กเซล เป็นการนําเอาโปรแกรมที่ติดมากับระบบปฏิบัติการวินโดว์มาใช้งาน ซึ่งเรียกคุณสมบัตินี้ว่า VBA ดังนั้นก่อนที่จะทําการเขียนโปรแกรม VBA จําเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรู้ในเรื่องต่อไปนี้
1) ชนิดของข้อมูล มีหลายประเภทขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่ต้องการ เช่น ตัวเลขจํานวนเต็ม ตัวเลขที่มีทศนิยม ตัวเลขทางการเงิน ค่าทางตรรกะ เป็นต้น ข้อมูลแต่ละชนิดใช้พื้นที่ในการจัดเก็บไม่เท่ากัน และความเร็วในการประมวลผลก็แตกต่างกัน
2) การแทนค่าข้อมูลเป็นการแทนค่าข้อมูลด้วยชื่อประเภทของข้อมูล
3) การประกาศตัวแปร ก่อนที่จะใช้งานตัวแปร หรือค่าคงที่ทุกครั้ง ควรประกาศตัวแปร เพื่อให้โปรแกรมรู้ว่าตัวแปรนี้ใช้สำหรับรับค่าข้อมูลชนิดใด
4) ค่าคงที่ เป็นค่าทีไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดการทำงานของโปรแกรม
5) ตัวดำเนินการ เป็นส่วนสำคัญในการคํานวณ หรือหาผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการกระทำในแต่ละตัว โดยทั่วไปแบ่งได้ดังนี้
5.1 เครืองหมายทางคณิตศาสตร์ที่สำคัญ เช่น +, -, *, / เป็นต้น
5.2 เครืองหมายเปรียบเทียบทีนิยม เช่น <,>, =, <=, >=, <>เป็นต้น
5.3 เครืองหมายตรรกะมี ตัวได้แก่ NOT, AND, OR
การเพาะถั่วงอก
ถั่วงอกจัดเป็นผักชนิดหนึ่ง เป็นหน่ออ่อนของเมล็ดถั่ว เป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหารครบถ้วน ทั้งโปรตีน เกลือแร่ และวิตามิน มีกากใยสูงช่วยในการขับถ่าย ซึ่งมีส่วนช่วยในการป้องกันมะเร็งสำไส้ใหญ่ได้อีกด้วย ถั่งงอกเป็นอาหารเสริมสร้างสุขภาพ เพราะเมล็ดพืชที่งอกจะอุดมด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ เมื่อรับประทานเข้าไปแล้ว ท้าให้เราสามารถดูดซับพลังความสด ซึ่งเป็นพลังแห่งชีวิตของเมล็ดงอกเข้าไปด้วย
ถั่วงอกเป็นพืชที่มีอายุการปลูกสั้นที่สุด การเพาะถั่วงอกกินเองจะได้ถั่วงอกที่สะอาดปลอดจากสารเคมี เพียง 2 - 3 วัน เราก็จะได้ถั่วงอกรับประทานแล้ว ถั่วงอกที่มีขายตามตลาดจะใส่สารฟอกขาวฮอร์โมนเร่งให้อ้วน หรือใส่ฟอร์มาลีน เพื่อทำให้ขาวและกรอบสด ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งที่จะสะสมในร่างกายผู้บริโภค
วัสดุอุปกรณ์
1. เมล็ดถั่วเขียว ควรเป็นเมล็ดที่ใหม่ สะอาด ไม่ควรใช้เมล็ดที่เก็บนานเกิน 6 เดือนถึง 1 ปี
2. ภาชนะทึบแสง มีรูปทรงตรง มีรูระบายน้ำได้ดี
3. ตะแกรงพลาสติกขนาดรูประมาณ 1 มม. ตัดให้มีขนาดพอดีกับภาชนะที่จะนำมาเพาะ
4. กระสอบป่าน ตัดให้มีขนาดพอดีกับภาชนะเพาะ เย็บขอบโดยรอบ
5. น้ำสะอาด ขั้นตอนการเพาะ
1. นำถั่วเขียวมาคัด โดยคัดเมล็ดที่ไม่ดีออก แล้วล้างน้ำสะอาด 3 ครั้ง
2. แช่ถั่วเขียวในน้ำสะอาด 8 - 10 ชั่วโมง
3. นำเมล็ดถั่วเขียวแช่น้ำมาล้างอีกครั้ง แล้วใช้กระสอบป่านที่คัดไว้ปูลงในภาชนะเพาะ วางตะแกรงพลาสติกบนกระสอบป่าน นำเมล็ดถั่วมาเรียงบนตะแกรงให้แสมอกัน ให้มีความหนาประมาณ 2 เม็ดซ้อน ทำเช่นนี้ ประมาณ 4 - 5 ชั้น ขึ้นอยู่กับความสูงของภาชนะเพาะ ชั้นบนสุดปิดด้วยกระสอบป่าน 2 ชั้น
4. รดน้ำทุก 2 -3 ชั่วโมง เพื่อระบายความร้อน และเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับเมล็ดถั่วอย่างทั่วถึง
5. หลังจากรดน้ำติดต่อกัน 2 วัน ให้ยกแผงถั่วขึ้นมา แล้วใช้มีดบางตัดระหว่างโคนถั่วกับตะแกรงพลาสติก ใส่ถั่วในกะละมังที่ใส่น้ำ แล้วใช้ตะแกรงพลาสติกรูขนาด 9 มม. ร่อนเอาเปลือกถั่วออก จากนั้นก็จะได้ถั่วงอกที่ขาวน่ารับประทาน
|
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | สถานที่ดำเนินการวิจัย กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มพัฒนาอาชีพยั่งยืนบ้านเขาดิน จังหวัดนครสวรรค์
เลขที่ 38/1 หมู่ 4 ตำบลเขาดิน อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์
พิกัดที่ตั้ง 15.826396, 100.074595
วิธีการดำเนินการวิจัย
1. การลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลพื้นฐาน โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นสมาชิกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มพัฒนาอาชีพยั่งยืนบ้านเขาดิน จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 20 ท่าน โดยผูวิจัยใช้วิธีการเลือกแบบจำเพาะเจาะจงให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้น และนำไปสู่การวางแผน
2. การออกแบบเทคโนโลยี โดยดำเนินการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น และวางแผนในการแก้ปัญหาโดยใช้โปรแกรม VBAช่วยในการวางแผนการผลิต
3. การทดลองและวิเคราะห์ผล ดำเนินการตามแผนโดยนำเทคโนโลยีที่ออกแบบได้นำมาทดลองและวิคราะห์ผล
4. การถ่ายทอดเทคโนโลยี ดำเนินการถ่ายทอดการกวางแผนการผลิตโดยใช้โปรแกรม VBA ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
5. การสรุปผลโครงการ
|
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | เป็นโครงการวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมโดยการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในการพัฒนาชุมชน โดยใช้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีในการพัฒนาวางแผนระบบการผลิตการเพาะถั่วงอกเกษตรอินทร่ีย์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มพัฒนาอาชีพยั่งยืนบ้านเขาดิน และร่วมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับสมาชิกในกลุ่มเพ่ือนำไปพัฒนาการวางแผนการผลิต ซึ่งนักศึกษามีส่วนร่วมในการดำเนินงานตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผน การออกแบบ และการนำไปใช้งานให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจต่อไป |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 797 ครั้ง |