รหัสโครงการ : | R000000587 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | การออกแบบเตาอบและปรับปรุงกระบวนการรมควันปลา : กลุ่มวิสาหกิจชุมชนร้านปลา แม่ลำจวน |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | Design of Hot Air Drying and Improvement of Smoking and Baking Process : Community Enterprises Mae Lam Chuan Drying Fish Shop. |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | รมควัน เตาอบ ปลารมควัน |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม > ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 10000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 10,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 10 พฤศจิกายน 2564 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 20 มิถุนายน 2565 |
ประเภทของโครงการ : | งานวิจัยประยุกต์ |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี |
สาขาวิชาการ : | สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย |
กลุ่มวิชาการ : | วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ไม่ระบุ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | กองทุนหมู่บ้านท่าดินแดง ปลาแม่ลำจวน จังหวัดนครสวรรค์ เมืองสี่แคว แห่มังกร พักผ่อนบึงบอระเพ็ด ปลารสเด็ดปากน้ำโพ เมื่อพูดถึงบึงที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย แน่นอนเลยว่าเราต้องนึกถึง บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์อย่างแน่นอน และด้วยความที่บึงบอระเพ็ดมีขนาดใหญ่ ปลาในบึงก็ชุม จึงไม่แปลกที่ชาวบ้านในพื้นที่ จะหันมาจับปลา ซึ่งทางวิสาหกิจชุมชนกองทุนหมู่บ้านท่าดินแดง มีกลุ่มปลาแปรรูป โดยปลาที่นำมาทำก็คือ ปลาในท้องถิ่น ในพื้นที่ของบังบอระเพ็ดเป็นปลาธรรมชาติ และ นำเอาวิถีชาวบ้านมาแปรรูปเป็นปลาในรูปแบบต่าง ๆ จนได้รับรางวัลการันตีจากกระทรวงวัฒนธรรมว่าเป็นของดีบ้านฉัน จุดเด่นของปลาแปรรูปที่นี่ก็คือ จะตากแดดธรรมชาติในโคมจึงไม่มีฝุ่นและแมลงมาตอม รับประกันความสะอาด ส่วนปลารมควันก็ใช้วัตถุดิบที่หาได้ในพื้นที่มารมควัน เช่น ซังข้าวโพด และขี้เลื่อย ทำให้ปลาที่รมควันออกมานั้นมีกลิ่นหอมซังข้าวโพด และขี้เลื่อย ที่สำคัญเก็บได้นานถึง 6 เดือน ซึ่งปลารมควันมักเกิดปัญหาความผิดพลาดในการแปรรูป เช่น ปลาแห้งไม่สม่ำเสมอ สีผิดเพี้ยน เนื่องจากเตารมควันที่ใช้ ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้นได้ อีกทั้งยังปล่อยควันซึ่งเป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ PM 2.5 และยังเกิดปัญหากับบ้านใกล้เคียงอีกด้วย จากปัญหาข้างต้น ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดออกแบบและสร้างเครื่องต้นแบบในการผลิตปลารมควัน โดยมีลักษณะเด่นคือ เป็นเตาอบเวียนอากาศภายในห้องอบนำกลับมาใช้ใหม่ได้หลังการรมควันผ่านไปช่วงเวลาหนึ่ง มีการติดตั้งชุดวัดอุณหภูมิลมร้อนและออกแบบให้ ลมร้อนกระจายสม่ำเสมอทั่วทั้งเตา เพื่อแก้ปัญหาปลาด้านล่างแห้งก่อนด้านบน เสียเวลาในการสลับชั้น ทำให้มั่นใจได้ว่า สามารถผลิตปลารมควันคุณภาพสูงตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ในเวลาที่สั้นลงและประหยัดเชื้อเพลิง อีกทั้งมีชุดกรองฝุ่น PM.2.5 ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย |
จุดเด่นของโครงการ : | ออกแบบและปรับปรุงกระบวนการผลิตปลารมควัน ให้ได้มาตรฐานส่งออก |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1. เพื่อออกแบบและวิเคราะห์การไหลของของไหลในเตารมควันปลา |
ขอบเขตของโครงการ : | กลุ่มตัวอย่าง ปลาช่อน ปลาสวาย |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | ด้านเศรษฐกิจ เพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต การพัฒนาหรือการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ และไปใช้ประโยชน์ในการผลิตเชิงพาณิชย์ ซึ่งจะลดต้นทุนการใช้เชื้อเพลิงและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
ด้านสังคม มีการนำองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยและนวัตกรรม ไปสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การเสริมพลัง ในการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น พื้นที่
ด้านสิ่งแวดล้อม ลดการเกิด PM.2.5 ลดการใช้เชื้อเพลิงจากฟืน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมที่ดีขึ้น เพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น และนำไปสู่ความยั่งยืน |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | ได้มีงานวิจัยเกี่ยวกับการอบแห้งในรูปแบบต่างๆ อาทิเช่น ณัฐพล ศรีสิทธิโภคกุล (2005) ได้พัฒนาส่งเสริมและเผยแพร่การใช้เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบอุโมงค์เพื่อแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบอุโมงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบให้สูงขึ้น ผลทดสอบพบว่า อุณหภูมิภายในเครื่องอบแห้งสูงได้ถึงเฉลี่ย 50 องศาเซลเซียส สามารถใช้ในการอบแห้งผลิตภัณฑ์ได้ดี ถัดมาเป็นงานวิจัยของ สังวาลย์ เพ็งพัด และ วัฒนพงษ์ รักษ์วิเชียร ได้ทำการอบแห้งผลิตภัณฑ์เนื้อและปลาด้วยเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ระดับอุตสาหกรรมในครัวเรือนโดยตู้อบแห้งเป็นแบบผสมสามารถใช้กับพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานเสริมจากแก๊ส LPG ประสิทธิภาพเชิงความร้อนของเครื่องอบแห้ง พบว่าปลามีความชื้นก่อนอบ 77 % และ 64 % สามารถให้ความชื้นหลังจากการอบมีค่าใกล้เคียงกัน คือ 17 % และ 16 % ตามลาดับ โดยอัตราการแห้งของเนื้อจะมีค่ามากกว่าปลา สำหรับในงานวิจัยนี้ได้ใช้เทคนิคการอบแห้งแบบรมควันร้อน (hot smoking) เป็นการรมควันที่ใช้อุณหภูมิสูงขึ้น จะทำให้เนื้อปลาแห้งและสุกสามารถรับประทานได้ทันทีหรือจะเก็บไว้ที่อุณหภูมิต่ำได้เป็นเวลานาน |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | - |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | 1. ศึกษาและรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนร้านปลาแม่ลำจวน เช่น บันทึกข้อมูลความร้อน ณ จุดต่าง ๆ ของเตารมควันที่ใช้อยู่ บันทึกปริมาณถ่านที่ใช้ ชนิดของถ่าน เวลาที่ใช้ ในการรมควัน สังเกตพฤติกรรมผู้ประกอบการขณะปฏิบัติการ
2. ศึกษาและรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน วิธีการถนอมอาหารและรมควัน ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับเตาอบรมควัน เพื่อนำมาออกแบบและสร้างเครื่องต้นแบบเตาอบรมควันปลา วัสดุที่สามารถทนความร้อนและเกิดการสูญเสียของความร้อนน้อยที่สุด หลักการการถ่ายโอนความร้อนและนำความร้อนกลับมาใช้ใหม่
3. ออกแบบตัวเครื่องต้นแบบเตาอบรมควันปลา และทำการจำลองการถ่ายเทความร้อน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
4. จัดทำแผนการปรับปรุงกระบวนการอบรมควันปลา
5. สรุปผลที่ได้ จัดทำเอกสารโครงการ
|
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | เตารมควันที่ใช้ ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้นได้ อีกทั้งยังปล่อยควันซึ่งเป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ PM 2.5 และยังเกิดปัญหากับบ้านใกล้เคียงอีกด้วย จากปัญหาข้างต้น ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดออกแบบและสร้างเครื่องต้นแบบในการผลิตปลารมควัน โดยมีลักษณะเด่นคือ เป็นเตาอบเวียนอากาศภายในห้องอบนำกลับมาใช้ใหม่ได้หลังการรมควันผ่านไปช่วงเวลาหนึ่ง มีการติดตั้งชุดวัดอุณหภูมิลมร้อนและออกแบบให้ ลมร้อนกระจายสม่ำเสมอทั่วทั้งเตา เพื่อแก้ปัญหาปลาด้านล่างแห้งก่อนด้านบน เสียเวลาในการสลับชั้น |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 408 ครั้ง |