รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000584
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :รูปแบบการพัฒนาผู้ปกครองด้านการพัฒนาทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :A Model of Parental Development of Early Childhood Brain Development (Executive Functions) in Child Care Center under the Local Administrative Organizations of Krok Phra District, Nakhon Sawan Province
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :รูปแบบการพัฒนาผู้ปกครอง สื่อและนวัตกรรม มาตรวัดและประเมิน ทักษะสมอง
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะครุศาสตร์ > ภาควิชาหลักสูตรและการสอน
ลักษณะโครงการวิจัย :แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :-
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :630000
งบประมาณทั้งโครงการ :630,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :02 มีนาคม 2563
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2563
ประเภทของโครงการ :การวิจัยและพัฒนา
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาการศึกษา
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ที่มาและความสำคัญ/หลักการและเหตุผล เด็กปฐมวัยในช่วงอายุ 3-6 ปี เป็นช่วงอายุที่มีความสำคัญที่สุดในชีวิตมนุษย์ เพราะเป็นระยะที่ร่างกายมีอัตราการพัฒนาสูงมากโดยเฉพาะความสามารถทางสมอง การเตรียมความพร้อมและประสบการณ์ให้เด็กในวัยนี้เป็นรากฐานของชีวิตที่จะฝังแน่นอยู่ในตัวเด็กตลอดไป ความสามารถของสมองหรือทักษะสมองที่เรียกว่า EF หรือ Executive Function เป็นความสามารถระดับสูงของสมองในการควบคุมความคิด อารมณ์ และการกระทำ เพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย ทักษะทางสมอง หรือ EF ซึ่งประกอบด้วยทักษะที่สำคัญ 9 ประการ ซึ่งสอดคล้องกับคุณลักษณะคนไทย 4.0 ได้แก่ 1) ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน (Working Memory) 2) ทักษะการยับยั้งชั่งใจ-คิดไตร่ตรอง (Inhibitory Control) 3) ทักษะการยืดหยุ่นความคิด (Shift Cognitive Flexibility) 4) ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus) 5) การควบคุมอารมณ์ (Emotion Control) 6) การประเมินตัวเอง (Self-Monitoring) 7) การริเริ่มและลงมือทำ (Initiating) 8)การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ (Planning and Organizing) และ 9) การมุ่งเป้าหมาย (Goal-Directed Persistence) ทักษะสมอง EF จึงเป็นทักษะที่มีความสำคัญมากยิ่งกว่า IQ หรือ EQ ของเด็กปฐมวัยที่ผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะครูและผู้ปกครองควรทำความเข้าใจและส่งเสริมพัฒนาการทักษะสมองของเด็กปฐมวัยเพื่อให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยนั้นต้องเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครอง โดยครูหรือผู้ดูแลเด็กมีบทบาทเป็นผู้ประสานงานร่วมกับผู้ปกครองให้เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญ กระตุ้นให้มีการร่วมมือร่วมใจกันในการสนับสนุนและพัฒนาเด็กของชุมชนไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นสถานที่ดูแลและให้การศึกษาแก่เด็กอายุระหว่าง 2 – 4 ปี และมีฐานะเทียบเท่าสถานศึกษา ปัจจุบันมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั่วประเทศประมาณ 16,206 แห่ง สำหรับในอำเภอโกรกพระจังหวัดนครสวรรค์มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 9 ศูนย์ มีเด็กปฐมวัยจำนวน 336 คน ซึ่งหากผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการพัฒนาให้มีความเข้าใจต่อการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการจะทำให้เด็กปฐมวัยนี้พัฒนาเป็นทรัพยากรที่สำคัญของท้องถิ่นและประเทศชาติต่อไป จากความสำคัญของการพัฒนาผู้ปกครองให้มีสามารถในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย โดยเฉพาะการส่งเสริมพัฒนาการด้านทักษะสมองงานวิจัยครั้งนี้จึงมุ่งพัฒนาผู้ปกครองในด้านการส่งเสริมทักษะทางสมองของเด็กปฐมวัยอย่างเป็นระบบโดยใช้แนวคิดการวิจัยปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (Participatory action research) โดยประกอบไปด้วยการพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาผู้ปกครอง การพัฒนาสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองในการส่งเสริมทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัย และการพัฒนามาตรวัดและประเมินพัฒนาการทักษะสมองของเด็กปฐมวัย สำหรับผู้ปกครองและครูที่สอดคล้องกับบริบทและธรรมชาติของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เติบโตมาเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า และสร้างสรรค์ประโยชน์ให้กับสังคมประเทศชาติได้อย่างยั่งยืนต่อไป วัตถุประสงค์ของโครงการ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาผู้ปกครองด้านการพัฒนาทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ โดยใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้ 1. เพื่อพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัยที่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ 2. เพื่อพัฒนาสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองใช้ในการส่งเสริมทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัยที่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3. เพื่อพัฒนามาตรวัดและประเมินพัฒนาการด้านทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัยที่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
จุดเด่นของโครงการ :ชื่อแผนงาน: รูปแบบการพัฒนาผู้ปกครองด้านการพัฒนาทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ แผนงานย่อยที่ 1: การพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัยที่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ แผนงานย่อยที่ 2: การพัฒนาสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองใช้ในการส่งเสริมทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัยที่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ แผนงานย่อยที่ 3: การพัฒนามาตรวัดและประเมินพัฒนาการด้านทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัยที่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์
วัตถุประสงค์ของโครงการ :วัตถุประสงค์ของโครงการ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาผู้ปกครองด้านการพัฒนาทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ โดยใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้ 1. เพื่อพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัยที่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ 2. เพื่อพัฒนาสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองใช้ในการส่งเสริมทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัยที่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3. เพื่อพัฒนามาตรวัดและประเมินพัฒนาการด้านทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัยที่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ขอบเขตของโครงการ :ขอบเขตการศึกษา แผนงานวิจัยนี้ กำหนดขอบเขตการวิจัยเป็น 3 ด้าน ดังนี้ 1. ขอบเขตด้านเนื้อหา ในการวิจัยครั้งนี้กำหนดขอบเขตเนื้อหาของการสร้างมาตรวัดและประเมินทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัยเป็น 9 ด้าน ดังนี้ 1) ทักษะด้านความจำที่นำมาใช้งาน (Working Memory) 2) ทักษะด้านการยับยั้งชั่งใจ-คิดไตร่ตรอง (Inhibitory Control) 3) ทักษะด้านการยืดหยุ่นความคิด (Shift Cognitive Flexibility) 4) ทักษะด้านการใส่ใจจดจ่อ (Focus) 5) ทักษะด้านการควบคุมอารมณ์ (Emotion Control) 6) ทักษะด้านการประเมินตัวเอง (Self-Monitoring) 7) ทักษะด้านการริเริ่มและลงมือทำ (Initiating) 8) ทักษะด้านการวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ (Planning and Organizing) และ 9) ทักษะด้านการมุ่งเป้าหมาย (Goal-Directed Persistence) 2. ขอบเขตด้านแหล่งข้อมูล ในแผนการวิจัยนครั้งนี้กำหนดแหล่งข้อมูลเป็น แหล่งข้อมูลเอกสาร และแหล่งข้อมูลบุคคลดังนี้ 2.1 แหล่งข้อมูลเอกสาร ประกอบด้วย ตำรา บทความทางวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Function) การพัฒนาหลักสูตร การออกแบบสื่อและนวัตกรรม การวัดและประเมินเด็กปฐมวัย 2.2 แหล่งข้อมูลบุคคลประกอบด้วย นักการศึกษาที่มีผลงานการศึกษาเกี่ยวกับทักษะสมอง ครูประจำศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก นักวิชาการสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย และเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3. ขอบเขตด้านพื้นที่วิจัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 2 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลเนินกว้าวอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลนากลาง อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ได้หลักสูตรการพัฒนาผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัยที่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ ที่สามารถนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. ได้สื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองใช้ในการส่งเสริมทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัยที่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ 3. ได้มาตรวัดและประเมินพัฒนาการด้านทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัยที่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ 4. ได้เอกสารองค์ความรู้เกี่ยวกับส่งเสริมทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัยอีกจำนวน 4 เรื่อง
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :การวิจัยเพื่อพัฒนามาตรวัดและประเมินทักษะสอง EF ของเด็กปฐมวัยผู้วิจัยได้ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นแนวคิดพื้นฐานในการวิจัยดังนี้ 9.1 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ฏปฐมวัย 9.2 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการด้าน EF (Executive Functions) 9.3 แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง 9.4 แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ 9.5 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการวัดและประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย 9.6 แนวคิดเกี่ยวกับการวิจัยแบบมีส่วนร่วม 9.7 แนวคิดเกี่ยวกับการ Coaching and Mentoring 9.8 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :แผนงานวิจัยเรื่องรูปแบบการพัฒนาผู้ปกครองด้านการพัฒนาทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ ประกอบด้วยโครงการวิจัยย่อย 3 โครงการที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันดังนี้ 1)โครงการพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2) โครงการพัฒนาสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และ3) โครงการพัฒนามาตรวัดและประเมินทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งคณะผู้วิจัยจะได้ดำเนินการวิจัยโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชน (Participatory Research) การเสริมพลังอำนาจในการเรียนรู้ (Empowerment) และการสอนงานและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) เพื่อเสริมพลังการเรียนรู้ของครูและผู้ปกครอง (Empowerment) นอกจากนี้ยังศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ แนวคิดและหลักการการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม การพัฒนาสื่อและนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ แนวคิดและหลักการวัดพัฒนาการของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดทักษะสมอง โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method) ทั้งที่เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ และข้อมูลเชิงคุณภาพ มากำหนดเป็นกรอบแนวคิดการวิจัย ตามแนวคิดทฤษฎีดังนี้ - แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัย - แนวคิดปริชานวิทยาศาสตร์ (Neuroscience) - แนวคิดและทฤษฎีพัฒนาการของเด็กปฐมวัย - แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้ใหญ่และการพัฒนาสมรรถนะครู - แนวคิดและหลักการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม - แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างสื่อ นวัตกรรม - แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับการประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลักการสอนงานและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) และการเสริมพลังการเรียนรู้
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :การวิจัยและพัฒนารูปแบบการพัฒนาผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัยที่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ครั้งนี้ คณะผู้วิจัยจะได้ดำเนินการวิจัยโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา โดยคณะผู้วิจัยกำหนดวิธีดำเนินการวิจัยเพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้ 1. ศึกษาวิเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับแนวคิดทักษะสมอง EF การเสริมสร้างทักษะของผู้ปกครอง พัฒนาการทางสติปัญญา การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน (Participatory) การเสริมพลังอำนาจในการเรียนรู้ (Empowerment) การช่วยเหลือและติดตาม (Coaching and Mentoring) การเรียนรู้ของผู้ใหญ่, แนวคิดและหลักการการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม การพัฒนาสื่อและนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ แนวคิดและหลักการวัดพัฒนาการของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดทักษะสมอง จากเอกสารตำรา รายงานการวิจัย สิ่งพิมพ์ นโยบาย รายงานการประชุม ข้อความข่าวและสื่อออนไลน์เพื่อวิเคราะห์เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการพัฒนาผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัย 2. พัฒนาหลักสูตรการพัฒนาผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัยที่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยใช้แนวคิดการวิจัยแบบมีส่วนร่วม โดยการร่วมกำหนดแนวคิด หลักการสำคัญของการส่งเสริมทักษะทางปัญญาของเด็กปฐมวัย จากผู้มีส่วนร่วมในท้องถิ่นได้แก่ ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก และตัวแทนจาก อบต. แนวคิดการให้การติดตามช่วยเหลือแบบ Coaching เพื่อกำหนดเป็นร่างหลักสูตรพัฒนาความสามารถของผู้ปกครอง จากนั้นปรับปรุงคุณภาพหลักสูตรด้วยเทคนิคการสนทนากลุ่ม (Focus group Technique) และนำหลักสูตรไปทดลองใช้ (Pilot study) เพื่อปรับปรุง 3. พัฒนาสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองใช้ในการส่งเสริมทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัยที่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยการสำรวจสื่อและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่มีอยู่ในท้องถิ่นร่วมกับผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก และ อบต. และศึกษาแนวคิดการส่งเสริมทักษะสมอง EF เพื่อออกแบบสื่อและนวัตกรรม จากนั้นตรวจสอบคุณภาพในเบื้องต้นของสื่อและนวัตกรรมด้วยเทคนิคการสนทนากลุ่ม (Focus group Technique) และนำหลักสูตรไปทดลองใช้ (Pilot study) เพื่อปรับปรุงให้สอดคล้องกับธรรมชาติและบริบทของผู้ปกครอง 4. พัฒนามาตรวัดและประเมินพัฒนาการด้านทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัยที่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ด้วยการศึกษาแนวคิดและหลักการวัดและประเมินพัฒนาการทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัย จากนั้นออกแบบมาตรวัดและประเมินโดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน เพื่อให้ได้แบบวัดที่สอดคล้องกับธรรมชาติและบริบทของเด็กปฐมวัยและการดำเนินชีวิตของผู้ปกครอง และตรวจสอบคุณภาพมาตรวัดและประเมินด้วยเทคนิคการสนทนากลุ่ม (Focus group Technique) เพื่อตรวจสอบคุณภาพด้านความตรง (Validity) และนำหลักสูตรไปทดลองใช้ (Pilot study) เพื่อตรวจสอบความเที่ยง (Reliability) ของมาตรวัด และปรับปรุงให้มีคุณภาพสอดคล้องกับธรรมชาติและบริบทของผู้ปกครอง 5. ศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาผู้ปกครองด้านการพัฒนาทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ โดยใช้เทคนิคการช่วยเหลือติดตาม (Coaching) ดังนี้ 1) ศึกษาพัฒนาการทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัย 2) ศึกษาความรู้ความเข้าใจและความสามารถของผู้ปกครองในการส่งเสริมทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัย 3) ศึกษาความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาผู้ปกครองในการส่งเสริมทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัย 4) ศึกษาผลกระทบจากการใช้รูปแบบการพัฒนาผู้ปกครองด้านการพัฒนาทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัยที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย ผู้ปกครอง และครูผู้ดูแลเด็ก
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :การพัฒนาผู้ปกครองให้มีสามารถในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย โดยเฉพาะการส่งเสริมพัฒนาการด้านทักษะสมองงานวิจัยครั้งนี้จึงมุ่งพัฒนาผู้ปกครองในด้านการส่งเสริมทักษะทางสมองของเด็กปฐมวัยอย่างเป็นระบบโดยใช้แนวคิดการวิจัยปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (Participatory action research) โดยประกอบไปด้วยการพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาผู้ปกครอง การพัฒนาสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองในการส่งเสริมทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัย และการพัฒนามาตรวัดและประเมินพัฒนาการทักษะสมองของเด็กปฐมวัย สำหรับผู้ปกครองและครูที่สอดคล้องกับบริบทและธรรมชาติของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เติบโตมาเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า และสร้างสรรค์ประโยชน์ให้กับสังคมประเทศชาติได้อย่างยั่งยืนต่อไป
จำนวนเข้าชมโครงการ :416 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางวไลพร เมฆไตรรัตน์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย20
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อนงค์นารถ ยิ้มช้าง บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยรองหัวหน้าโครงการวิจัย20
นางสาวบัณฑิตา อินสมบัติ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยรองหัวหน้าโครงการวิจัย20
นางสาวสุชานาฏ ไชยวรรณะ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย20
นางสาวปรียาภรณ์ คงแก้ว บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย20

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด