รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000480
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาเครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์ว่าด้วยอุปกรณ์ป้องกันการเจือปนของเมล็ดพันธุ์และซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Development of Seeds Separator, the Device prevents the Contamination of Seeds and Corn Cob
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :การพัฒนาเครื่องจักร, เครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์, ตะแกรงและแรงลม
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :304700
งบประมาณทั้งโครงการ :304,700.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :30 ตุลาคม 2560
วันสิ้นสุดโครงการ :29 ตุลาคม 2561
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขาวิชาการ :สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
กลุ่มวิชาการ :วิศวกรรมอุสาหกรรมวิจัย
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทยชนิดหนึ่ง ซึ่งมีปริมาณการส่งออกและสร้างรายได้ให้กับประเทศเป็นจำนวนมาก โดยในปี พ.ศ.2553/54 ได้มีปริมาณการส่งออกมากเป็นอันดับที่สองรองจากข้าว ที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงปีละ 4.07 ล้านตัน ขณะที่มีผลผลิตภายในประเทศเฉลี่ยปีละ 4.16 ล้านตัน มีพื้นที่เพาะปลูก 7.851 ล้านไร่ และมีอัตราการนำเข้า 0.12 ล้านตัน/ปี เท่านั้น (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2554) ในปัจจุบัน พบว่ามีพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมดประมาณ 7.195 ล้านไร่ ลดลง 8.36% แต่มีผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 4.813 ล้านตัน เนื่องจากได้มีการพัฒนาเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมที่ให้ผลผลิตสูงขึ้น ซึ่งผลผลิตมากกว่าร้อยละ 90 ได้ถูกนำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ภายในประเทศเป็นหลัก และมีปริมาณความต้องการจากผู้ประกอบการเพิ่มมากขึ้นทุกปี ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์เพื่อการบริโภคของประเทศ เนื่องจากผู้ประกอบการได้เพิ่มจำนวนสัตว์เลี้ยงเพื่อการพาณิชย์สูงขึ้นทุกปี และลักษณะการเลี้ยงสัตว์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเจ้าของสัตว์เลี้ยงให้ความใส่ใจกับคุณค่าทางโภชนาการของอาหารสัตว์เลี้ยงมากขึ้น ทำให้ตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูปขยายตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งการเลี้ยงในลักษณะที่เสมือนเป็นสมาชิกในครัวเรือน ส่งผลให้ตลาดสินค้าที่เกี่ยวข้องกับสัตว์เลี้ยงได้มีแนวโน้มขยายตัวอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน โดยปัจจุบันตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับสัตว์เลี้ยงในประเทศไทยมีอัตราการขยายตัวเป็น 1 ใน 3 ประเทศที่ตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับสัตว์เลี้ยงมีการขยายตัวเร็วที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (อีก 2 ประเทศ คือ จีน และอินเดีย) (positioning, 2559) อย่างไงก็ตาม การผลิตและการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของประเทศที่ผ่านมา พบว่า ปัญหาสำคัญของเกษตรกรและผู้ประกอบการในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ทำให้ราคาจำหน่ายตกต่ำ ต้นทุนเพิ่มขึ้น และมีผลกำไรลดลง มีผลกระทบมาจากการผลิตสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ ทั้งปริมาณความชื้นและสิ่งเจือปนในสินค้า ซึ่งสืบเนื่องมาจากเครื่องจักรและกระบวนการคัดแยกคุณภาพที่ไม่มีคุณภาพเพียงพอ ทำให้เกิดการเจือปนของเมล็ดพันธุ์และซังข้าวโพดได้ รวมถึงการมีเมล็ดพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่และน้ำหนักสูงจำนวนมากที่หลุดรอดมาจากเครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์ไปกับเศษซังข้าวโพดที่คัดแยกออกมาเพื่อนำไปทำลายหรือนำไปเป็นเชื้อเพลิงภายในโรงงาน ทำให้ผู้ประกอบการได้ผลผลิตทางการเกษตรต่อไร่ต่ำ มีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยสูง สินค้าไม่ได้คุณภาพตามที่ลูกค้ากำหนด และมีสิ่งเจือปนจำนวนมาก โดยการผลิตและคัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้ได้คุณภาพดีโดยปราศจากการเจือปนนั้น จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากต่ออุตสาหกรรมการผลิตสินค้าเกษตรเพื่อการพาณิชย์ของประเทศ เนื่องจากเครื่องจักรและอุปกรณ์การคัดแยกเมล็ดพันธุ์ในช่วงหลังการเก็บเกี่ยวข้าวโพดในปัจจุบัน ไม่สามารถดำเนินการคัดแยกและคัดกรองเมล็ดพันธุ์และซังข้าวโพดได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ รวมถึงการขาดเทคโนโลยีในการป้องกันและคัดกรองเมล็ดพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมากก่อนการปล่อยทิ้งของเศษซังข้าวโพดและสิ่งเจือปนอื่นๆ จากเครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์ได้ ดังนั้น เพื่อให้การลดปัญหาการสูญเสียและการเจือปนของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้นั้น จึงจำเป็นต้องดำเนินการพัฒนาปรับปรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการคัดแยก คัดกรอง และป้องกันการปนเปื้อนของเมล็ดพันธุ์และเศษซังข้าวโพดที่มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเครื่องจักรและอุปกรณ์ดังกล่าวสามารถลดต้นทุน การสูญเสีย และการเจือปนของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดได้ โดยการสร้างอุปกรณ์ดังกล่าวสามารถตรวจจับ กำจัด และป้องกันการเจือปนของเมล็ดพันธุ์ที่มีน้ำหนักมากก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการปล่อยทิ้งของเครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดได้ รวมทั้งการปรับปรุงขนาดของแรงลมเพื่อดูดสิ่งเจือปนขนาดเบาก่อนเข้าสู่กระบวนการคัดแยกได้อย่างทันท่วงทีได้ ทั้งเศษซังและผงฝุ่นจากซังข้าวโพด ซึ่งจำเป็นต้องใช้มีการดูดสิ่งเจือปนขนาดเบาก่อนเข้าสู่ตะแกรงคัดแยกและคัดกรองเมล็ดพันธุ์ เพื่อให้เครื่องจักรสามารถทำการคัดแยกเมล็ดพันธุ์ได้คุณภาพตามระดับที่ลูกค้าต้องการได้อย่างรวดเร็ว ลดการสิ้นเปลืองพลังงาน และยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักรได้ โดยจะนำองค์ความรู้และผลงานที่ได้รับจากงานวิจัยดังกล่าวไปดำเนินการเผยแพร่รูปแบบและแนวทางการพัฒนาเครื่องจักรให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ประกอบการอื่นๆ ที่สนใจต่อไป ทั้งนี้ภาครัฐควรจะเข้ามามีบทบาทในการกำหนดนโยบาย เผยแพร่องค์ความรู้ ให้คำปรึกษาแนะนำ และร่วมกันพัฒนาระบบการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงการให้ความสำคัญต่อการพัฒนาและปรับปรุงระบบการผลิตและการคัดแยกคุณภาพของสินค้าทางการเกษตรให้มีต้นทุนต่ำสุด เกิดการสูญเสียน้อยที่สุด และมีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มลูกค้า ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตั้งแต่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจนถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่สอดคล้องกับการวิจัยภายในโรงงาน เช่น เครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์พืชด้วยระบบเดิม รถฟอร์คลิฟต์ และเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ซึ่งปัจจัยต่างๆ เหล่านี้จะสนับสนุนทำให้ผลของการออกแบบและพัฒนาปรับปรุงเครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดได้ผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ได้ สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและเหมาะสมต่อไป ตามนัยข้างต้น โครงการวิจัยนี้ได้มุ่งหวังที่จะเป็นส่วนหนึ่งของกลไกในการพัฒนาเครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์พืชต้นแบบสำหรับสินค้าทางการเกษตรในประเทศไทย เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพตามความต้องการของกลุ่มลูกค้า ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้การผลิตและการส่งออกสินค้าเกษตรจากประเทศไทยมีความแข็งแกร่ง และเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันของกลุ่มผู้ประกอบการได้เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีความได้เปรียบกับประเทศคู่แข่งขันจากประเทศอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี โดยส่งผลให้สินค้าเกษตรที่ผลิตจากประเทศไทยมีปริมาณการส่งออกเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ยังทำให้ประเทศไทยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในระยะยาวเพิ่มสูงขึ้นได้อีกด้วย เพื่อให้โครงการวิจัยในส่วนของการพัฒนาเครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ผลการดำเนินงานครอบคลุมตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ทางทีมผู้วิจัยได้ดำเนินการประสานความร่วมมือในการทำวิจัยกับโรงงาน กันเองพานิช ซึ่งเป็นโรงงานชั้นนำในการผลิตและรับซื้อสินค้าทางการเกษตรจากกลุ่มเกษตรกรในเขตภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง แล้วนำมาอบแห้งและคัดแยกสินค้าตามระดับคุณภาพที่กลุ่มลูกค้ากำหนด และเป็นบริษัทที่พยายามดำเนินการเรื่องการคัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้งสัตว์ให้เกิดการสูญเสียและการเจือปนจากซังข้าวโพดให้มีจำนวนน้อยที่สุด เพื่อเพิ่มมูลค่าและลดต้นทุนการจำหน่ายให้ดีขึ้น ซึ่งการร่วมมือกันระหว่างทีมผู้วิจัยและโรงงาน กันเองพานิช ในครั้งนี้ เพื่อพัฒนาเครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้เกิดขึ้นได้จริงและสามารถลดการสูญเสียและการเจือปนของซังข้าวโพดได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป เพื่อเพิ่มศักยภาพ ความแข็งแกร่ง และสร้างความได้เปรียบกับประเทศคู่แข่งขันจากต่างประเทศได้ต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานภาครัฐที่ให้การสนับสนุนในโครงการนี้ได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และคณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ ในส่วนของคณะกรรมการ ทางทีมผู้วิจัยจะทำการประสานไปที่หน่วยงานดังกล่าว เพื่อขอให้ทางเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานได้เข้ามาทำการตรวจสอบการทำงานของเครื่องจักรที่ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงจากโรงงาน และข้อเสนอแนะจากผู้บริหารของโรงงาน กันเองพาณิช ในด้านกระบวนการผลิตและรูปแบบการตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายในโรงงาน ตลอดจนระบบการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามข้อกำหนดของลูกค้า ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในการวางแผนขอบเขตการศึกษาของโครงการดังกล่าวนี้ จะเริ่มตั้งแต่การศึกษาความต้องการในการพัฒนาเครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อค้นหาปัญหาและกำหนดรูปแบบการพัฒนาเครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปประกอบการออกแบบอุปกรณ์และชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทยชนิดหนึ่ง ซึ่งมีปริมาณการส่งออกและสร้างรายได้ให้กับประเทศเป็นจำนวนมาก โดยในปี พ.ศ.2553/54 ได้มีปริมาณการส่งออกมากเป็นอันดับที่สองรองจากข้าว ที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงปีละ 4.07 ล้านตัน ขณะที่มีผลผลิตภายในประเทศเฉลี่ยปีละ 4.16 ล้านตัน มีพื้นที่เพาะปลูก 7.851 ล้านไร่ และมีอัตราการนำเข้า 0.12 ล้านตัน/ปี เท่านั้น (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2554) ในปัจจุบัน พบว่ามีพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมดประมาณ 7.195 ล้านไร่ ลดลง 8.36% แต่มีผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 4.813 ล้านตัน เนื่องจากได้มีการพัฒนาเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมที่ให้ผลผลิตสูงขึ้น ซึ่งผลผลิตมากกว่าร้อยละ 90 ได้ถูกนำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ภายในประเทศเป็นหลัก และมีปริมาณความต้องการจากผู้ประกอบการเพิ่มมากขึ้นทุกปี ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์เพื่อการบริโภคของประเทศ เนื่องจากผู้ประกอบการได้เพิ่มจำนวนสัตว์เลี้ยงเพื่อการพาณิชย์สูงขึ้นทุกปี และลักษณะการเลี้ยงสัตว์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเจ้าของสัตว์เลี้ยงให้ความใส่ใจกับคุณค่าทางโภชนาการของอาหารสัตว์เลี้ยงมากขึ้น ทำให้ตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูปขยายตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งการเลี้ยงในลักษณะที่เสมือนเป็นสมาชิกในครัวเรือน ส่งผลให้ตลาดสินค้าที่เกี่ยวข้องกับสัตว์เลี้ยงได้มีแนวโน้มขยายตัวอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน โดยปัจจุบันตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับสัตว์เลี้ยงในประเทศไทยมีอัตราการขยายตัวเป็น 1 ใน 3 ประเทศที่ตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับสัตว์เลี้ยงมีการขยายตัวเร็วที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (อีก 2 ประเทศ คือ จีน และอินเดีย) (positioning, 2559) อย่างไงก็ตาม การผลิตและการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของประเทศที่ผ่านมา พบว่า ปัญหาสำคัญของเกษตรกรและผู้ประกอบการในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ทำให้ราคาจำหน่ายตกต่ำ ต้นทุนเพิ่มขึ้น และมีผลกำไรลดลง มีผลกระทบมาจากการผลิตสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ ทั้งปริมาณความชื้นและสิ่งเจือปนในสินค้า ซึ่งสืบเนื่องมาจากเครื่องจักรและกระบวนการคัดแยกคุณภาพที่ไม่มีคุณภาพเพียงพอ ทำให้เกิดการเจือปนของเมล็ดพันธุ์และซังข้าวโพดได้ รวมถึงการมีเมล็ดพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่และน้ำหนักสูงจำนวนมากที่หลุดรอดมาจากเครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์ไปกับเศษซังข้าวโพดที่คัดแยกออกมาเพื่อนำไปทำลายหรือนำไปเป็นเชื้อเพลิงภายในโรงงาน ทำให้ผู้ประกอบการได้ผลผลิตทางการเกษตรต่อไร่ต่ำ มีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยสูง สินค้าไม่ได้คุณภาพตามที่ลูกค้ากำหนด และมีสิ่งเจือปนจำนวนมาก โดยการผลิตและคัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้ได้คุณภาพดีโดยปราศจากการเจือปนนั้น จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากต่ออุตสาหกรรมการผลิตสินค้าเกษตรเพื่อการพาณิชย์ของประเทศ เนื่องจากเครื่องจักรและอุปกรณ์การคัดแยกเมล็ดพันธุ์ในช่วงหลังการเก็บเกี่ยวข้าวโพดในปัจจุบัน ไม่สามารถดำเนินการคัดแยกและคัดกรองเมล็ดพันธุ์และซังข้าวโพดได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ รวมถึงการขาดเทคโนโลยีในการป้องกันและคัดกรองเมล็ดพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมากก่อนการปล่อยทิ้งของเศษซังข้าวโพดและสิ่งเจือปนอื่นๆ จากเครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์ได้ ดังนั้น เพื่อให้การลดปัญหาการสูญเสียและการเจือปนของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้นั้น จึงจำเป็นต้องดำเนินการพัฒนาปรับปรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการคัดแยก คัดกรอง และป้องกันการปนเปื้อนของเมล็ดพันธุ์และเศษซังข้าวโพดที่มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเครื่องจักรและอุปกรณ์ดังกล่าวสามารถลดต้นทุน การสูญเสีย และการเจือปนของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดได้ โดยการสร้างอุปกรณ์ดังกล่าวสามารถตรวจจับ กำจัด และป้องกันการเจือปนของเมล็ดพันธุ์ที่มีน้ำหนักมากก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการปล่อยทิ้งของเครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดได้ รวมทั้งการปรับปรุงขนาดของแรงลมเพื่อดูดสิ่งเจือปนขนาดเบาก่อนเข้าสู่กระบวนการคัดแยกได้อย่างทันท่วงทีได้ ทั้งเศษซังและผงฝุ่นจากซังข้าวโพด ซึ่งจำเป็นต้องใช้มีการดูดสิ่งเจือปนขนาดเบาก่อนเข้าสู่ตะแกรงคัดแยกและคัดกรองเมล็ดพันธุ์ เพื่อให้เครื่องจักรสามารถทำการคัดแยกเมล็ดพันธุ์ได้คุณภาพตามระดับที่ลูกค้าต้องการได้อย่างรวดเร็ว ลดการสิ้นเปลืองพลังงาน และยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักรได้ โดยจะนำองค์ความรู้และผลงานที่ได้รับจากงานวิจัยดังกล่าวไปดำเนินการเผยแพร่รูปแบบและแนวทางการพัฒนาเครื่องจักรให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ประกอบการอื่นๆ ที่สนใจต่อไป ทั้งนี้ภาครัฐควรจะเข้ามามีบทบาทในการกำหนดนโยบาย เผยแพร่องค์ความรู้ ให้คำปรึกษาแนะนำ และร่วมกันพัฒนาระบบการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงการให้ความสำคัญต่อการพัฒนาและปรับปรุงระบบการผลิตและการคัดแยกคุณภาพของสินค้าทางการเกษตรให้มีต้นทุนต่ำสุด เกิดการสูญเสียน้อยที่สุด และมีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มลูกค้า ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตั้งแต่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจนถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่สอดคล้องกับการวิจัยภายในโรงงาน เช่น เครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์พืชด้วยระบบเดิม รถฟอร์คลิฟต์ และเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ซึ่งปัจจัยต่างๆ เหล่านี้จะสนับสนุนทำให้ผลของการออกแบบและพัฒนาปรับปรุงเครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดได้ผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ได้ สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและเหมาะสมต่อไป ตามนัยข้างต้น โครงการวิจัยนี้ได้มุ่งหวังที่จะเป็นส่วนหนึ่งของกลไกในการพัฒนาเครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์พืชต้นแบบสำหรับสินค้าทางการเกษตรในประเทศไทย เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพตามความต้องการของกลุ่มลูกค้า ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้การผลิตและการส่งออกสินค้าเกษตรจากประเทศไทยมีความแข็งแกร่ง และเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันของกลุ่มผู้ประกอบการได้เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีความได้เปรียบกับประเทศคู่แข่งขันจากประเทศอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี โดยส่งผลให้สินค้าเกษตรที่ผลิตจากประเทศไทยมีปริมาณการส่งออกเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ยังทำให้ประเทศไทยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในระยะยาวเพิ่มสูงขึ้นได้อีกด้วย เพื่อให้โครงการวิจัยในส่วนของการพัฒนาเครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ผลการดำเนินงานครอบคลุมตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ทางทีมผู้วิจัยได้ดำเนินการประสานความร่วมมือในการทำวิจัยกับโรงงาน กันเองพานิช ซึ่งเป็นโรงงานชั้นนำในการผลิตและรับซื้อสินค้าทางการเกษตรจากกลุ่มเกษตรกรในเขตภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง แล้วนำมาอบแห้งและคัดแยกสินค้าตามระดับคุณภาพที่กลุ่มลูกค้ากำหนด และเป็นบริษัทที่พยายามดำเนินการเรื่องการคัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้งสัตว์ให้เกิดการสูญเสียและการเจือปนจากซังข้าวโพดให้มีจำนวนน้อยที่สุด เพื่อเพิ่มมูลค่าและลดต้นทุนการจำหน่ายให้ดีขึ้น ซึ่งการร่วมมือกันระหว่างทีมผู้วิจัยและโรงงาน กันเองพานิช ในครั้งนี้ เพื่อพัฒนาเครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้เกิดขึ้นได้จริงและสามารถลดการสูญเสียและการเจือปนของซังข้าวโพดได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป เพื่อเพิ่มศักยภาพ ความแข็งแกร่ง และสร้างความได้เปรียบกับประเทศคู่แข่งขันจากต่างประเทศได้ต่อไปในอนาคต (รูปที่ 1) รูปที่ 1 ความร่วมมือระหว่างทีมผู้วิจัยและทีมผู้บริหารของโรงงาน กันเองพาณิช ในการสนับสนุนโครงการวิจัยในส่วนของ “การพัฒนาเครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์” และจะเป็นผู้ใช้ประโยชน์จากโครงการวิจัยในส่วนนี้โดยตรง นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานภาครัฐที่ให้การสนับสนุนในโครงการนี้ได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และคณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ ในส่วนของคณะกรรมการ ทางทีมผู้วิจัยจะทำการประสานไปที่หน่วยงานดังกล่าว เพื่อขอให้ทางเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานได้เข้ามาทำการตรวจสอบการทำงานของเครื่องจักรที่ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงจากโรงงาน และข้อเสนอแนะจากผู้บริหารของโรงงาน กันเองพาณิช ในด้านกระบวนการผลิตและรูปแบบการตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายในโรงงาน ตลอดจนระบบการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามข้อกำหนดของลูกค้า ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในการวางแผนขอบเขตการศึกษาของโครงการดังกล่าวนี้ จะเริ่มตั้งแต่การศึกษาความต้องการในการพัฒนาเครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อค้นหาปัญหาและกำหนดรูปแบบการพัฒนาเครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปประกอบการออกแบบอุปกรณ์และชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและปรับปรุงเครื่องจักรที่สามารถทำให้เกิดการสูญเสียและเจือปนจากซังข้าวโพดได้น้อยที่สุด รวมทั้งยังใช้เป็นข้อมูลในการจัดหาอุปกรณ์และชิ้นส่วนที่จำเป็นต่อการใช้งานในอนาคต ตลอดจนการเจรจากับเจ้าของโรงงานเพื่อจัดหาอุปกรณ์สำหรับการพัฒนาและปรับปรุงเครื่องจักรภายในโรงงานได้ รวมทั้งพื้นที่สำหรับการติดตั้งและทดสอบการใช้งานของเครื่องจักรโดยเฉพาะ และจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพิ่มเติม โดยสรุปโครงการวิจัยนี้จะศึกษาสาเหตุของการสูญเสียและการเจือปนจากซังข้าวโพดจนเกินระดับที่ลูกค้ากำหนดของโรงงาน เพื่อนำข้อมูลมากำหนดรูปแบบการพัฒนาเครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดดังกล่าวได้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะในส่วนของอุปกรณ์คัดแยกและป้องกันการสูญเสียเมล็ดพันธุ์ที่มีน้ำหนักเกินไปกับเศษซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่จะนำไปเป็นเชื้อเพลิงสำหรับการอบแห้งสินค้าต่อไป และอุปกรณ์ป้องกันเศษซังข้าวโพดเจือปนไปกับเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังกระบวนการคัดแยกได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือทำงานได้จริง ดำเนินการทดสอบประสิทธิภาพหลังการพัฒนาเครื่องจักร และการศึกษาผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์และการเงิน เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มทุนของโครงการฯ รวมทั้งการศึกษาต้นทุนการผลิตและโลจิสติกส์ ตั้งแต่เกษตรกร โรงงานผู้ผลิตสินค้าไปจนถึงกลุ่มลูกค้า ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการประเมินผลและควบคุมการบริหารจัดการภายในโรงงาน ทั้งการจัดหาวัตถุดิบ การผลิต และการขนส่งสินค้า ทำให้ผู้ประกอบการสามารถนำข้อมูลมาสนับสนุนประกอบการตัดสินใจ เพื่อการปรับปรุงและปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารจัดการภายในโรงงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นต่อไปในอนาคตได้
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยนี้ คือ การศึกษาเพื่อพัฒนาเครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อเป้าหมายสูงสุด คือ การลดการสูญเสียของเมล็ดพันธุ์ที่เจือปนไปกับซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เหลือทิ้งจากเครื่องจักร และการป้องกันเศษซังข้าวโพดปนเปื้อนไปพร้อมกับเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด โดยมีวัตถุประสงค์จำเพาะอยู่ 5 ประการ ได้แก่ 1. เพื่อศึกษาสาเหตุของการสูญเสียและการเจือปนจากซังข้าวโพดจนเกินระดับที่ลูกค้ากำหนดของโรงงาน เพื่อค้นหาสาเหตุของปัญหาและกำหนดรูปแบบการพัฒนาปรับปรุงเครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อทำให้เกิดการสูญเสียและเจือปนจากซังข้าวโพดน้อยที่สุด โดยข้อมูลดังกล่าวจะนำไปออกแบบและจัดหาอุปกรณ์และชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเครื่องจักรต่อไป 2. เพื่อออกแบบและจัดหาอุปกรณ์และชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายในโรงงาน กันเองพาณิช เพื่อให้สามารถใช้งานได้จริงและเกิดการสูญเสียและสิ่งเจือปนจากซังข้าวโพดน้อยที่สุด 3. เพื่อทดสอบประสิทธิภาพหลังการพัฒนาเครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อวิเคราะห์ปัญหา และปรับปรุงเครื่องจักรให้สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ 4. เพื่อศึกษาผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์และการเงินของโครงการ เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มทุนของโครงการการพัฒนาเครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์ ว่าด้วยอุปกรณ์ป้องกันการเจือปนของเมล็ดและซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 5. เพื่อศึกษาต้นทุนการผลิตและโลจิสติกส์ ตั้งแต่เกษตรกร โรงงานผู้ผลิตสินค้าไปจนถึงกลุ่มลูกค้า ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ขอบเขตของโครงการ :เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในข้อที่ 6 ขอบเขตการวิจัยในโครงการนี้ได้กำหนดไว้ 7 ด้าน เพื่อให้ครอบคลุมกับวัตถุประสงค์ทั้งหมดของโครงการ ได้แก่ 1. ศึกษาสาเหตุของการสูญเสียและการเจือปนจากซังข้าวโพดจนเกินระดับที่ลูกค้ากำหนดของโรงงาน เพื่อค้นหาสาเหตุของปัญหาและกำหนดรูปแบบการพัฒนาปรับปรุงเครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต้นแบบ โดยข้อมูลดังกล่าวจะนำไปออกแบบและจัดหาอุปกรณ์และชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาปรับปรุงเครื่องจักรต้นแบบ เพื่อทำให้เกิดการสูญเสียและมีสิ่งเจือปนจากซังข้าวโพดน้อยที่สุด ซึ่งจะดำเนินการสอบถามความต้องการของผู้ใช้งาน กระบวนการทำงาน และข้อจำกัดในการทำงานของเครื่องจักร รวมถึงพื้นที่ใช้งานหรืองบประมาณในการออกแบบและสร้างเครื่องจักรต้นแบบ เพื่อให้การออกแบบและการทำงานของเครื่องจักรและอุปกรณ์มีความสมบูรณ์เพิ่มมากยิ่งขึ้น รวมทั้งยังนำข้อมูลมาใช้เพื่อกำหนดรูปแบบและเลือกอุปกรณ์เบื้องต้นให้ถูกต้องเหมาะสมกับการใช้งานต่อไป 2. ศึกษารูปแบบการป้องกันการสูญเสียเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานหลุดรอดเจือปนมากับเศษซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ปล่อยทิ้งมากจากเครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์ฯ เพื่อลดต้นทุนและการสูญเสียผลผลิตที่มีคุณภาพดีจากกลุ่มเศษซังข้าวโพดได้ โดยจะทำการศึกษารูปแบบการทำงานและการควบคุมระบบการคัดแยกของเครื่องจักร เพื่อกำหนดรูปแบบและอุปกรณ์ในการป้องกันการเจือปนของเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสมร่วมกับการศึกษารูปแบบการควบคุมความเร็วรอบและขนาดช่องคัดแยกเมล็ดภายในตะแกงการคัดแยกเมล็ดพันธุ์และเศษซังข้าวโพดที่มีขนาดใหญ่ เพื่อให้ได้ซึ่งรอบและจังหวะการคัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ต่อเนื่องและเหมาะสม ทั้งปัจจัยด้านขนาดช่องคัดแยกเมล็ดและความเร็วรอบที่ถูกควบคุม รวมถึงอุปกรณ์การป้องกันการหลุดรอดของเมล็ดพันธุ์ไปกับเศษซังข้าวโพดที่ปล่อยทิ้งออกมาจากเครื่องจักรได้ 3. ศึกษาระบบการป้องกันการเจือปนของเศษซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ขนาดเล็กและน้ำหนักเบาหลุดรอดไปพร้อมกับเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหลังผ่านเครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์ เพื่อลดการเจือปนของเศษซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งทำให้สินค้ามีคุณภาพดีและมีมูลค่าการจำหน่ายเพิ่มมากขึ้นได้ โดยจะทำการศึกษารูปแบบ และระบบควบคุมการคัดแยก หรือคัดกรองเศษซังข้าวโพดที่มีน้ำหนักเบาของเครื่องจักร ด้วยการเพิ่มขนาดแรงดูดเศษผงฝุ่นจากเศษซังข้าวโพดร่วมกับการพัฒนาอุปกรณ์คัดกรองเศษซังข้าวโพดที่มีความละเอียดมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ได้มาซึ่งแรงลมที่สามารถกำจัดเศษซากซังข้าวโพดที่มีขนาดเบาในระหว่างกระบวนการคัดแยกของเครื่องจักรต้นแบบได้ 4. ศึกษารูปแบบการป้อนวัตถุดิบเข้าสู่เครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อทำให้เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเกิดการกระจายตัวไปยังตะแกรงคัดกรองเมล็ดพันธุ์ด้วยความสม่ำเสมอได้ ซึ่งทำให้เครื่องจักรสามารถดำเนินการคัดแยกเมล็ดพันธุ์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพได้ นอกจากนี้ การกระจายตัวที่สม่ำเสมอของเมล็ดพันธุ์และซังข้าวโพดยังทำให้สามารถเข้าถึงแรงลมจากเครื่องดูดเศษซังข้าวโพดได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย ส่งผลให้ตะแกรงกรองซังข้าวโพดสามารถคัดกรองเมล็ดพันธุ์และซังข้าวโพดออกจากกันได้ดียิ่งขึ้น และไม่เล็ดรอดปนไปกับซากซังข้าวโพดที่จะนำไปเป็นเชื้อเพลิงภายในโรงงานต่อไปได้ โดยทางทีมผู้วิจัยจะประสานความร่วมมือกับฝ่ายออกแบบ เพื่อดำเนินออกแบบและทดสอบวิธีการป้อนวัตถุดิบให้กับเครื่องจักรได้อย่างเหมาะสม และเกิดของเสียน้อยที่สุดต่อไป 5. ออกแบบและจัดทำเครื่องจักรต้นแบบสำหรับการคัดแยกเมล็ดพันธุ์และเศษซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสมต่อการคัดแยกและการใช้งานจริง ซึ่งทางทีมผู้วิจัยจะพิจารณาถึงความคุ้มค่าและเหมาะสมของวัสดุและส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรตามหลักการด้านโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน ทั้งการผลิต การส่งมอบ การบำรุงรักษา และการให้บริการหลังขาย ทำให้ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการผลิตเครื่องจักรได้อย่างเหมาะสม 6. ศึกษาด้านการวิเคราะห์การลงทุนในด้านการพัฒนาเครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์ ว่าด้วยอุปกรณ์ป้องกันการเจือปนของเมล็ดพันธุ์และซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มทุน และผลประโยชน์ของการจัดทำและทดสอบความสามารถของการคัดแยกและคัดกรองเมล็ดพันธุ์และเศษซากซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ออกจากกันของเครื่องจักรต้นแบบ เพื่อทำให้เครื่องจักรสามารถใช้งานได้จริงตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ตามการวิเคราะห์แบบปรับค่าของเวลา (Discounted Measure of Project Worth) ซึ่งเป็นวิธีการร่วมสมัย (Contemporary Approach) และใช้กันอย่างแพร่หลาย 3 วิธี ได้แก่ 1. มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value: NPV) 2. อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (Benefit-Cost Ratio: BCR) 3. อัตราผลตอบแทนภายในโครงการ (Internal Rate of Return) 7. ศึกษาต้นทุนการผลิตและโลจิสติกส์ ตั้งแต่เกษตรกร โรงงานผู้ผลิตสินค้าไปจนถึงกลุ่มลูกค้า ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อศึกษาต้นทุนการผลิต ทั้งการจัดเตรียมวัตถุดิบ การทำความสะอาด การจัดเก็บ การผลิต การอบแห้ง และการส่งมอบสินค้า เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางการนำเครื่องจักรต้นแบบมาใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งการนำข้อมูลที่ไปประกอบการพิจารณาปรับปรุงและลดของเสียในกระบวนการผลิตได้ ซึ่งประเด็นที่สำคัญสำหรับการศึกษากระบวนการผลิตและการคัดแยกเมล็ดพันธุ์และเศษซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในโครงการนี้ คือ ทางทีมผู้วิจัยจะไม่เพียงแค่ทำการสำรวจกระบวนการผลิตเท่านั้น แต่ทีมผู้วิจัยจะดำเนินการให้คำปรึกษา และแนะนำแนวทางการปรับปรุงกระบวนการผลิตและการคัดแยกเมล็ดพันธุ์และเศษซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดอีกด้วย
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. คณะผู้วิจัยได้ทราบถึงสาเหตุของปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขรูปแบบการผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานได้ ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการพัฒนาและออกแบบเครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์ต้นแบบได้ 2. เกษตรกรได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตและคัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและปลอดภัยต่อผู้บริโภค 3. เกษตรกรสามารถนำรูปแบบการบริหารจัดการด้านการผลิตและการคัดแยกคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ไปประยุกต์ใช้กับการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในชุมชนเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานด้านคุณภาพที่ตลาดต้องการและปลอดภัยต่อผู้บริโภคได้ 4. ความพึงพอใจของภาคเอกชน ภาครัฐ และเกษตรกร ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไปศึกษาและดูการผลิตของเครื่องจักรต้นแบบของคณะวิจัย 5. ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการผลิตและคัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในแต่ละขั้นตอนการผลิตของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อนำผลดังกล่าวมาดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :ในหัวข้อนี้จะอธิบายถึงขั้นตอนวิธีการทำวิจัย ซึ่งจะรวมถึงเนื้อหาในด้านการเก็บข้อมูล การกำหนดพื้นที่ ประชากรกลุ่มตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่างที่จะนำมาวิเคราะห์ ขั้นตอนและวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ความเสี่ยงของงานวิจัย รวมทั้งระบุสถานที่ใช้เป็นที่ทำการวิจัยหรือการเก็บข้อมูล ซึ่งขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยมีรายละเอียดดังนี้ 1. ศึกษาเอกสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับทฤษฎี และวิธีการออกแบบและการพัฒนาปรับปรุงเครื่องจักร ตลอดจนข้อมูลทางด้านการคัดแยกเมล็ดพันธุ์สำหรับพืชผลทางการเกษตรด้วยเครื่องคัดเมล็ดพันธุ์แบบใช้ตะแกรงและแรงลม การควบคุมระบบการทำงานของตะแกรง ระบบขับเคลื่อนพัดลมด้วยมอเตอร์ และรูปแบบการป้อนวัตถุดิบสำหรับเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รวมถึงหลักการคัดเลือกวัสดุให้คงทนและเหมาะสมกับการใช้งานจริง 2. ศึกษาข้อมูลด้านปัญหาและสาเหตุของการสูญเสียและการเจือปนจากซังข้าวโพดจนเกินระดับที่ลูกค้ากำหนด รูปแบบการทำงาน และข้อจำกัดต่างๆ ในการทำงานของเครื่องจักรจากกลุ่มผู้ใช้งาน เพื่อกำหนดรูปแบบการพัฒนาปรับปรุงเครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต้นแบบที่เหมาะสม และสามารถนำมาใช้งานได้จริง (ทั้งระบบการผลิตและฟังก์ชันการใช้งาน วัสดุและอุปกรณ การบำรุงรักษา และต้นทุนการผลิต) 3. ศึกษาข้อมูล ออกแบบ และพัฒนาปรับปรุงเครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์ต้นแบบว่าด้วยอุปกรณ์ป้องกันการเจือปนของเมล็ดพันธุ์และซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม และสามารถใช้งานได้จริงร่วมกับการศึกษาระบบควบคุมการทำงานของตะแกรง และระบบขับเคลื่อนพัดลมด้วยมอเตอร์ (ทั้งปัจจัยด้านกำลัง จำนวน และความเร็วรอบที่ถูกควบคุม) ทำให้สามารถดำเนินการคัดแยกเมล็ดพันธุ์และซังข้าวโพดให้ออกจากกันได้อย่างละเอียด รวดเร็ว และลดปัญหาการเจือปนของเศษซังข้าวโพดได้ ซึ่งเป็นกรณีที่ผลการศึกษาบ่งชี้ว่าโครงการดังกล่าวมีความคุ้มค่าในการลงทุน เพื่อให้โครงการดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้จริง 4. ศึกษาข้อมูลและรูปแบบการป้อนวัตถุดิบเข้าสู่เครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อให้เกิดการกระจายตัวของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดที่เหมาะสมได้ ทำให้วัตถุดิบสามารถเข้าถึงแรงลมจากเครื่องดูดผงฝุ่นจากเศษซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้และดำเนินการคัดแยกสิ่งเจือปนออกจากกลุ่มสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ เนื่องจากสิ่งเจือปนน้ำหนักเบาเหล่านั้นจะถูกดูดออกไปกับเครื่องดูดผงฝุ่นจากเศษซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ทำให้เมล็ดพันธุ์สามารถเข้าถึงตะแกรงคัดกรองของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดได้ดีขึ้น และไม่เกิดการเจือปนของผงฝุ่นจากเศษซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไปกับเมล็ดพันธุ์ได้ ซึ่งมีการนําความรู้ด้านกระบวนการคัดแยกและแรงลมมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบเครื่องจักรต้นแบบ เพื่อคงความกระจายตัวและทำให้แรงลมจากเครื่องดูดผงฝุ่นจากเศษซังข้าวโพดสามารถเข้าถึงเมล็ดพันธุ์และเศษซังข้าวโพดได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยทางทีมผู้วิจัยจะประสานความร่วมมือกับฝ่ายออกแบบ เพื่อดำเนินออกแบบและทดสอบวิธีการป้อนวัตถุดิบให้กับเครื่องจักรต้นแบบสำหรับการคัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดและเศษซังข้าวโพดได้อย่างเหมาะสม และเกิดของเสียน้อยที่สุด 5. นำผลที่ได้จากการศึกษาข้อมูลข้างต้นมาดำเนินการออกแบบและพัฒนาปรับปรุงเครื่องจักรต้นแบบสำหรับการคัดแยกเมล็ดพันธุ์และเศษซังข้าวโพดที่เหมาะสมต่อการใช้งานจริง โดยผู้ออกแบบจะต้องทำการออกแบบและพัฒนาปรับปรุงโดยใช้ข้อมูลจากการสำรวปัญหาและสาเหตุของการสูญเสียและการปนเปื้อนจากเศษซังข้าวโพดจนเกินระดับที่ลูกค้ากำหนด รวมถึงการเลือกวัสดุและอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานอุตสาหกรรม ซึ่งการออกแบบเครื่องจักรต้นแบบที่มีประสิทธิภาพนั้น ต้องมีการวิเคราะห์ต่อโดยมีการให้คะแนนจากปัจจัยต่างๆ โดยใช้วิธีการของ Factor Rating ได้แก่ ความสามารถในการใช้งานจริง ความเหมาะสมของวัสดุและอุปกรณ์ กำลังการผลิตและการทดแทนแรงงานคน ปริมาณของเสีย ต้นทุนการผลิต ลักษณะของพื้นที่/ ความพร้อมของพื้นที่ / ลักษณะของพื้นที่จัดวางเครื่องจักร การดูแลรักษา ความพร้อมของแรงงาน ศักยภาพด้านการแข่งขัน และความสามารถในการส่งออกของสินค้าทางการเกษตร เป็นต้น 6. ผลที่ได้จากการคัดเลือกรูปแบบการพัฒนาและปรังปรุงเครื่องจักรต้นแบบที่ได้จากการวิเคราะห์ของทีมผู้วิจัยจากทั้งแบบจำลองฯ และการสำรวจภาคสนามโดยการใช้ Factor Rating จะนำไปแสดงผลการวิเคราะห์กับผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเครื่องจักรและอุปกรณ์ ตลอดจนกลุ่มผู้ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในภาคอุตสาหกรรมการส่งออกพืชผลทางการเกษตร 7. เมื่อได้รูปแบบการพัฒนาและปรับปรุงเครื่องจักรต้นแบบสำหรับการคัดแยกเมล็ดพันธุ์และเศษซังข้าวโพดที่เหมาะสมต่อการคัดแยกเมล็ดพันธุ์แล้ว จะนำผลการออกแบบไปดำเนินการพัฒนาปรับปรุงเครื่องจักรต้นแบบ และทดสอบการใช้งานจริง รวมทั้งดำเนินการประเมินประสิทธิภาพการคัดแยกเมล็ดพันธุ์และเศษซังข้าวโพดของเครื่องจักรต้นแบบจากกลุ่มผู้ประกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 8. ศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐศาสตร์และการเงิน เพื่อตรวจสอบความคุ้มทุนของโครงการการพัฒนาเครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์ ว่าด้วยอุปกรณ์ป้องกันการเจือปนของเมล็ดและซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 9. สรุปผลการศึกษา และจัดสัมมนาเพื่อรับฟังข้อคิดเห็นจากกลุ่มเป้าหมาย 10. ปรับปรุงผลการศึกษาจากข้อคิดเห็นที่ได้จากการสัมมนา และสรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ พร้อมส่งมอบผลการศึกษาของโครงการฯ พร้อมเอกสารพิมพ์เขียวของการออกแบบเครื่องจักรต้นแบบสำหรับการคัดแยกเมล็ดพันธุ์และเศษซังข้าวโพด ตลอดจนคู่มือการใช้งานของเครื่องจักรต้นแบบ
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :457 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายสว่าง แป้นจันทร์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย50
นายภิญโญ ชุมมณี บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย20
นายโกเมน หมายมั่น บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย15
นายถิรายุ ปิ่นทอง บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย15

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด