รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000416
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การจัดการฟาร์มเมล่อนอัจฉริยะด้วยระบบควบคุมระยะไกลเพื่อลดการใช้แรง
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Melon Smart Farm Monitoring by Remote Control System for Labor
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :Melon, Smart Farm
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :สถาบันวิจัยและพัฒนา > กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :305000
งบประมาณทั้งโครงการ :305,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :30 ตุลาคม 2560
วันสิ้นสุดโครงการ :30 เมษายน 2562
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขาวิชาการ :สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
กลุ่มวิชาการ :วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นเมืองเกษตรที่มีความมั่งคั่งในเรื่องของทรัพยากรปัจจัยด้านอาหารที่มีความอุดมสมบูรณ์ แต่ในปัจจุบันจากสภาพแวดล้อมที่เคยเป็นธรรมชาติที่สมบูรณ์เริ่มมีการเสื่อมถอย ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมด้านการเกษตร ซึ่งเริ่มแปรเปลี่ยนตามปริมาณผลผลิตที่ขาดความสามารถในการคาดการณ์ล่วงหน้า ทำให้เกษตรกรรมในประเทศไทยยังประสบปัญหาหลายด้าน โดยเฉพาะในมิติของผลิตภาพ (Productivity) ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่สูงและรายได้เกษตรกรมีอัตราเฉลี่ยต่ำ เนื่องจากเกษตรกรไม่มีความรู้เพียงพอ ขาดข้อมูลเชิงลึกด้านการตลาดสำหรับวางแผนการผลิต รวมทั้งความรู้ในการผลิตสินค้าเกษตรคุณภาพสูงที่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม[1] เกษตรกรในปัจจุบันมีการปลูกต้นแคนตาลูปแบบใช้แรงงานคนซึ่งการใช้น้ำและปุ๋ยเป็นการตวงหรือการประมาณจึงทำให้ส่วนผสมไม่คงที่ การใช้น้ำและปุ๋ยตลอดจนการเพาะปลูกไม่ว่าจะเป็นการเพาะเมล็ด การเก็บเกี่ยว การกำจัดวัชพืช การจัดเตรียมแปลงปลูกหรือการเก็บเกี่ยวผลแคนตาลูปต้องใช้แรงงานคนทั้งสิ้น การให้สารอาหารกับต้นแคนตาลูปที่ไม่เพียงพอเพราะใช้การประมาณทำให้ต้นแคนตาลูปได้รับสารอาหารที่ไม่พอเพียงและไม่เท่าเทียมกัน ต้นแคนตาลูปต้องแย่งน้ำและธาตุอาหารจึงอาจทำให้ผลแคนตาลูปมีขนาดหรือน้ำหนักมากน้อยไม่เท่ากัน และการใช้แรงงานคนในการดูแลการปลูกต้นแคนตาลูปจะไม่สามารถกำหนดอุณหภูมิที่แม่นยำได้ เช่นความเป็นกรดเป็นด่าง ความเข้มข้นของสารอาหารและความชื้นจะทำให้ต้นแคนตาลูปได้รับคุณค่าทางโภชนาการไม่เท่ากัน ทำให้ผลผลิตที่ได้ออกมาไม่ได้มีประสิทธิภาพตามที่ต้องการและไม่ได้ปริมาณที่คาดการเอาไว้ จากข้อมูลต้นแคนตาลูปต้องการความชื้นในดินอยู่ระดับ 5 - 8 วัดจากเครื่องวัดความชื้นในดินแบบเข็ม และความชื้นสัมพัทธ์ที่แคนตาลูปต้องการอยู่ระดับ 70 - 80 เปอร์เซ็นต์ ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการนำเอาเทคโนโลยี Embedded Computer และ Micro-controller เข้ามาผสมผสานเข้ากับการจัดการฟาร์ม ซึ่งช่วยแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรฟาร์มเมล่อน เปลี่ยนจากฟาร์มเมล่อนธรรมดาตามมาตรฐานทั้งหลาย ให้กลายเป็นฟาร์มอัจฉริยะ (Smart Farm หรือ Intelligent Farm) ฟาร์มอัจฉริยะที่มีความสามารถในการรับรู้ความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ด้วยไมโครโพรเซสเซอร์ และทำงานอย่างกึ่งอัตโนมัติซึ่งสามารถแจ้งเตือนและตรวจวัดค่าความชื้น อุณหภูมิ คุณภาพอากาศและควบคุมการเปิด/ปิด ไฟกับพัดลมในแปลงเมล่อน ด้วยคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว และประหยัดเวลาในการดูแลแปลงเมล่อน ข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัดค่าอุณหภูมิ (Temperature) และคุณภาพอากาศ และสามารถมอนิเตอร์จากกล้องได้ โดยจะแสดงผ่านโปรแกรมที่ได้ทำการออกแบบไว้ในคอมพิวเตอร์ นอกจากนั้น ผู้วิจัยยังเลือกที่จะนำเทคโนโลยีแอพพลิเคชั่นโทรศัพท์บนมือถืออย่างสมาร์ทโฟนรองรับกับการใช้งานของฟาร์มเมล่อนอัจฉริยะนี้ด้วยทำให้สามารถรับรู้ ติดตามสภาพอากาศ ความชื้น อุณหภูมิ คุณภาพอากาศและควบคุมการเปิด/ปิดไฟกับพัดลมใน ซึ่งเป็นการควบคุมและจัดการฟาร์มเมล่อนอัจฉริยะได้ทุกที่ทุกเวลาเพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการฟาร์มได้อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นการลดต้นทุนของเกษตรกรผู้ปลูกเมล่อนต่อไป
จุดเด่นของโครงการ :สามารถนำเทคโนโลยีไร้สายเพื่อการควบคุมจากระยะไกลไปใช้ในหน่วยงานทางการเกษตร, องค์กรบริหารส่วนตำบลหรือจังหวัด ในการนำข้อมูลและผลการศึกษาไปขยายผลให้แก่เกษตรฟาร์มเมล่อนภายในประเทศเพื่อเป็นการลดต้นทุนและแก้ไขปัญหาในด้านแรงงานของผู้ประกอบการและเกษตรกร
วัตถุประสงค์ของโครงการ :เพื่อพัฒนาระบบจัดการฟาร์มอัจฉริยะและระบบควบคุมผ่านทางอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนระยะไกล
ขอบเขตของโครงการ :1.ระบบการควบคุมและจัดการฟาร์มเมล่อนอัจฉริยะด้วยสมาร์ทโฟน 2. ทดสอบการใช้งานผ่านระบบ Wireless Network และ Wired Network
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. เกษตรกรสามารถควบคุมและจัดการฟาร์มได้ทุกที่ทุกเวลาเพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการฟาร์มได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านทางโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน 2. เกษตรกรสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นการลดต้นทุนของเกษตรกรผู้ปลูกเมล่อนต่อไป 3. เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเกษตรกรผู้ปลูกเมล่อนในยุคเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยให้เป็น Smart Farmer ตามแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายของประเทศ
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :มนกานต์ อินทรกำแหง และคณะ [6] ได้ศึกษารูปแบบการจัดการฟาร์มอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยี RFID พบว่าการที่จะพัฒนาการเลี้ยงสัตว์เพื่อเพิ่มผลผลิตและสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพดีและมีความปลอดภัยสูงต่อผู้บริโภค จำเป็นจะต้องให้ความสำคัญกับห่วงโซ่การผลิตทั้งระบบ ตั้งแต่การเลี้ยงในฟาร์ม ซึ่งได้แก่การคัดเลือกพันธุ์สัตว์ การดูแลสุขภาพสัตว์ การจัดการเรื่องการเลี้ยงดูและการให้อาหาร ขั้นตอนการฆ่าสัตว์และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ จนถึงตลาดของผู้บริโภคเทคโนโลยี RFID (Radio Frequency Identification) หรือการระบุตัวสัตว์และสิ่งของด้วยคลื่นความถี่วิทยุ เป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ สำหรับในฟาร์มเลี้ยงสัตว์นั้น โดยใช้กับสัตว์5 ชนิด คือ โคนม กระบือ สุกร แกะและกระต่าย เพื่อเป็นการบุกเบิกและพัฒนาประสิทธิภาพของระบบจัดการฟาร์มปศุสัตว์ในประเทศไทย สามารถนำมาใช้ในการจัดการฟาร์มให้มีประสิทธิภาพได้ โดยระบุตัวสัตว์ได้เป็นรายตัวและทำการบันทึกข้อมูลได้อย่างอัตโนมัติ สามารถตรวจสอบข้อมูลเฉพาะตัวของสัตว์ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง เช่น ประวัติสายพันธุ์ การให้อาหาร การเจริญเติบโต การให้ผลผลิต ประวัติการฉีดวัคซีนและการควบคุมโรค รวมถึงการตรวจย้อนกลับแหล่งที่มาของน้ำนมและผลิตภัณฑ์เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค เป็นการพัฒนาการจัดการฟาร์มให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเน้นรูปแบบการเลี้ยงในฟาร์มโคนม ฟาร์มสุกรพ่อแม่พันธุ์และสุกรขุน ฟาร์มเลี้ยงแกะ และฟาร์มเลี้ยงกระต่าย รวมทั้งได้เพิ่มรูปแบบที่สามารถจะนำไปใช้ในสัตว์น้ำและสัตว์ป่าด้วย ชัยสิทธิ์ ระดับ และคณะ [7] ได้ศึกษาโรงเพาะเห็ดฟางควบคุมความชื้นและอุณหภูมิด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ พบว่า การทดลองชุดควบคุมความชื้นและอุณหภูมิของโรงเพาะเห็ดฟางโดยวัดที่อุณหภูมิ 28 องศาเซลเซียส จนถึงที่อุณหภูมิ 30องศาเซลเซียส พบว่าปั๊มน้ำ พัดลมระบายอากาศและหลอดไฟสำหรับให้ความร้อนไม่ทำงาน เนื่องจากอุณหภูมิอยู่ในช่วงที่กำหนดไว้ เมื่อวัด ที่อุณหภูมิน้อยกว่า 28 องศาเซลเซียส พบว่าหลอดไฟสำหรับให้ความร้อนทำงานแต่ปั๊มน้ำและพัดลมระบายอากาศไม่ทำงาน และเมื่อวัดที่อุณหภูมิมากกว่า 30 องศาเซลเซียส พบว่าปั๊มน้ำและพัดลมระบายอากาศทำงาน แต่หลอดไฟสำหรับให้ความร้อนไม่ทำงาน เนื่องจากอุณหภูมิมากกว่าในช่วงที่กำหนดไว้ เมื่อทำการวัดความชื้นที่ 80% จนถึงความชื้นที่ 85% พบว่าปั๊มน้ำ พัดลมระบายอากาศและหลอดไฟสำหรับให้ความร้อนไม่ทำงานเนื่องจากความชื้นอยู่ในช่วงที่กำหนดไว้ และเมื่อวัดที่ความชื้นน้อยกว่า 80% พบว่าปั๊มน้ำและพัดลมระบายอากาศทำงานเนื่องจากความชื้นน้อยกว่าในช่วงที่กำหนดไว้ และเมื่อวัดที่ความชื้นมากกว่า 85% พบว่าปั๊มน้ำและพัดลมระบายอากาศไม่ทำงาน แต่หลอดไฟสำหรับให้ความร้อนทำงาน เนื่องจากความชื้นมากกว่าในช่วงที่กำหนดไว้ ธนากร น้ำหอมจันทร์ และอติกร เสรีพัฒนานนท์ [8] ระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในโรงเรือนเพาะปลูกพืชไร้ดินแบบทำความเย็นด้วยวิธีการระเหยของน้ำร่วมกับการสเปรย์ละอองน้ำแบบอัตโนมัติ โดยใช้ระบบควบคุมเชิงตรรกะแบบโปรแกรมได้ บทความนี้นำเสนอการออกแบบสร้างระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในโรงเรือนเพาะปลูกพืชไร้ดิน แบบการทำความเย็นด้วยวิธีการระเหยของน้ำร่วมกับการสเปรย์ละอองน้ำ แบบอัตโนมัติ ซึ่งใช้ PLC เป็นอุปกรณ์ควบคุม โดยรับสัญญาณอนาล็อกจากเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ผ่านอุปกรณ์รับสัญญาณอนาล็อกเพื่อให้ PLC ประมวลผล และใช้ดิจิทัลโวลต์มิเตอร์แสดงค่าอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ภายในโรงเรือนที่หน้าตู้ควบคุม ระบบควบคุมที่ออกแบบสร้างสามารถทำงานได้ทั้งแบบการควบคุมด้วยมือ และแบบอัตโนมัติ ผลการทดสอบพบว่า ระบบควบคุมอัตโนมัติสามารถเริ่มและหยุดการทำงานได้ตามเวลาที่กำหนดไว้ และสามารถสั่งให้ระบบการทำความเย็นด้วยวิธีการระเหยของน้ำและระบบสเปรย์ละอองน้ำทำงานตามเงื่อนไข อุณหภูมิและเวลาที่กำหนดไว้ เพื่อรักษาให้อุณหภูมิภายในโรงเรือนไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่แนะนำสำหรับการปลูกพืชไร้ดินในโรงเรือน โดยอุณหภูมิภายในโรงเรือนเฉลี่ย 30.45 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ภายในโรงเรือนเฉลี่ย 80.54 เปอร์เซ็นต์ ระบบสเปรย์ละอองน้ำ ทำงานเฉลี่ย 10 นาทีต่อวันระบบการทำความเย็น ด้วยวิธีการระเหยของน้ำทำงานเฉลี่ย 6.37 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งจำนวนชั่วโมงการทำงานของระบบทำความเย็นด้วยวิธีการระเหยของน้ำขึ้นอยู่กับสภาพอากาศภายนอก เป็นการลดการใช้พลังงานไฟฟ้า น้ำ และคนงานได้ สามารถนำไปใช้ควบคุมการทำงานของโรงเรือนเพาะปลูกสำหรับบ้านพักอาศัยได้เป็นอย่างดี มานพ แย้มแฟง [9] การควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในโรงเรือนเลี้ยงไหม เป็นการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและความชื้นในโรงเรือนเลี้ยงไหม โดย การใช้ระบบการทำความเย็นแบบระเหยร่วมกับระบบการทำความเย็นแบบอัดไอ โดยทำการทดลองในโรงเรือนที่มี ขนาดกว้าง10 เมตร ยาว 21 เมตร สูง 3 เมตร สำหรับระบบการทำความเย็นแบบระเหยจะทำการติดตั้งแผ่นระเหยน้ำขนาดกว้าง 1.5 เมตร สูง 1.8 เมตร หนา 0.15 เมตร จำนวน 6 ชุด บนผนังด้านทิศใต้ของโรงเรือนและมีพัดลม ดูดอากาศขนาด 30 นิ้ว จำนวน 6 ตัว ติดตั้งที่ผนังด้านทิศเหนือของโรงเรือน ส่วนระบบการทำความเย็นแบบอัดไอ นั้นจะใช้เครื่องปรับอากาศขนาด 30,000 Btu/hr จำนวน 2 เครื่อง ผลการทดลองที่ได้จะนำไปเปรียบเทียบกับ แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่สร้างขึ้น พบว่า ผลการทดลองจากโรงเรือนที่ใช้ระบบการทำความเย็นแบบระเหยสำหรับเลี้ยงไหมวัย 1 วัย 2 และวัย 3 พบว่ามีค่าความแตกต่างเฉลี่ยจากอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับเลี้ยงไหมวัยดังกล่าวคือ 0.40 C, 1.00 C และ 1.90 C ตามลำดับ สำหรับความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศในโรงเรือน มีค่าความแตกต่างเฉลี่ย 6.09%, 0.61% และ 3.29% ตามลำดับ ส่วนระบบการทำความเย็นแบบอัดไอที่ใช้เลี้ยงไหมวัย 4 และวัย 5 นั้นพบว่าค่าความแตกต่าง เฉลี่ยของอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศเหมาะสม สำหรับการเลี้ยงไหมวัย 4 คือ 2.20C, 0.33% และ 3.10C , 4.86% สำหรับไหมวัย 5 และผลการศึกษาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับผลการทดลอง พบว่ามีความคลาดเคลื่อน เพียงเล็กน้อย ทำให้สามารถนำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์นี้ไปใช้ทำนายอุณหภูมิและความชื้นภายในโรงเรือนได้ และจากการศึกษายังพบอีกว่าตัวแปรสำคัญที่ทำให้อุณหภูมิอากาศภายในโรงเรือนเพิ่มขึ้นและความชื้นสัมพัทธ์ลดลงคือ ความเข้มรังสีอาทิตย์และอุณหภูมิอากาศแวดล้อม สาเหตุที่อุณหภูมิอากาศในโรงเรือนลดลงได้น้อยเนื่องมาจาก อากาศแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงรั่วเข้ามาภายในโรงเรือน ส่งผลให้ระบบการทำความเย็นนั้นมีประสิทธิภาพลดลง Md Saifudaullah Bin Bahrudin and Rosni Abu Kassim [10] นำเสนอระบบ Fire Alarm System ที่ทำงานแบบ Real Time ในการตรวจจับควันไฟคู่กับการบันทึกภาพผ่านกล้องภายในห้องเมื่อเกิดไฟไหม้ขึ้น ระบบ Fire Alarm System นี้ พัฒนาบน Raspberry Pi และ Arduino Uno โดยระบบนี้ มีความสามารถหลักคือการแจ้งเตือนเมื่อเกิดไฟไหม้ การทำงานเมื่อระบบตรวจสอบพบไฟไหม้ระบบจะแสดงภาพห้องที่หน้าเว็บไซต์ ระบบต้องการการยืนยันเพื่อเปิดระบบดับเพลิง โดยจะทำการส่ง ShortMessage Service (SMS) ข้อดีของระบบนี้คือมันเป็นสิ่งที่จะช่วยลดความเป็นไปได้ของการแจ้งเตือนที่ผิดพลาดไปรายงานยังนักผจญเพลิง อย่างไรก็ตามระบบยังต้องใช้หน่วยความจำและพลังงานไฟฟ้า P.Szakacs, S.A. Moraru and L.Perniu [11] นำเสนอระบบการสื่อสารระหว่างสมาร์ทโฟน และอุปกรณ์วัดการเต้นของหัวใจ จุดประสงค์ของการทำงานวิจัยนี้คือ ต้องการที่จะติดตามผู้ป่วยที่อยู่ภายนอกอาคารหรือนอกบ้านโดยการทำงานจะทำงานแบบ Real Time อาศัยสมาร์ทโฟนในการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตและส่งข้อมูลกลับมายังผู้ดูแล การทำงานของระบบอาศัยการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์วัดการเต้นของหัวใจ ระดับออกซิเจนในเลือด อุณหภูมิของร่างกาย และตำแหน่ง และส่งข้อมูลผ่าน Bluetooth มายังสมาร์ทโฟน เมื่อออกมาจากบ้านข้อมูลจะถูกส่งมายังเครื่องแม่ข่ายผ่านระบบอินเตอร์เน็ต มีการแจ้งเตือนเมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้น ทำให้สามารถติดตามผู้ป่วยได้ตลอดเวลาปัญหาของระบบนี้คือไม่สามารถติดตามผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ในอาคาร และไม่สามารถบอกได้ว่าผู้ป่วยอยู่ชั้นใดของตึก Anuj Kumar and Gerhard P. Hancke [12] ได้เสนอระบบ Animal health monitoring system(AHMS) สำหรับการติดตามค่าทางสรีรวิทยาของสัตว์ เช่น อุณหภูมิร่างกาย การเต้นของหัวใจอุณหภูมิรอบตัว ความชื้นในอากาศ การพัฒนาระบบนี้ทำให้สามารถวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อระดับความเครียดของสัตว์ได้ งานวิจัยนี้ได้นำเอาอุปกรณ์ zigbee และ PIC18F4550 microcontroller มาประยุกต์เข้ากับ sensor ต่าง ๆ และนำ LabView version 9.0 มาใช้ในการทำแสดงผล ทำให้ได้ระบบที่สามารถติดตามค่าทางสรีรวิทยาของสัตว์ได้ตลอดเวลาและแสดงผลทางคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์นี้มีประโยชน์อย่างมากในการดูแลสุขภาพของสัตว์และมีราคาไม่แพง ตัวอย่างนี้เป็นโมเดลต้นแบบได้รับการพัฒนาและผ่านการทดสอบโดยมีความแม่นยำสูง ซึ่งอุตสาหกรรมปศุสัตว์ต้องเผชิญกับปัญหาเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิทำให้เกิดผลกระทบต่อสัตว์นำไปสู่โรคติดต่อ เช่น โรคปากเท้าเปื่อย อหิวาต์สุกร โรควัวบ้า เป็นต้น องค์การอนามัยโรคระบุว่าโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันโคโรนาไวรัส เป็นไวรัสสัตว์ที่แพร่กระจายได้อย่างง่ายดายเพื่อและมีผลกระทบต่อมนุษย์ หลักฐานสำคัญคือการติดเชื้อโรคซาร์สในประเทสจีนในปี 2002 ตั้งแต่นั้นมามี 26 ประเทศทั่วโลกที่มีรายงานการติดเชื้อนี้ สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ ด้วยเหตุผลนี้ทำให้จำเป็นต้องมีระบบตรวจสอบสุขภาพสัตว์ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการระบาด เทคโนโลยีเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ลดการระบาดของโรคในสัตว์ได้ งานวิจัย
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :กรอบแนวคิดของโครงการวิจัย Smart farming หรือฟาร์มอัจฉริยะ คือ การนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาผสมผสานเข้ากับงานด้านการเกษตรเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้กับเกษตรกร เทคโนโลยีฟาร์มอัจฉริยะนั้นตั้งอยู่บนแนวคิด ของการทำเกษตรสมัยใหม่ที่เรียกว่า เกษตรแม่นยำสูง เป็นกลยุทธ์ในการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยทำให้เกษตรกรสามารถปรับการใช้ทรัพยากรให้สอดคล้องกับสภาพของพื้นที่มากที่สุด รวมไปถึงเรื่องการดูแล อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแนวคิดนี้สามารถนำไปปรับใช้ได้ทั้งฟาร์มพืชและสัตว์ ฟาร์มอัจฉริยะนี้จะมีความแตกต่าง กับฟาร์มธรรมดาอยู่ตรงที่ การใช้ทรัพยากรนั้นทำได้อย่างแม่นยำและตรงต่อความต้องการของพืชและสัตว์ ซึ่งช่วยลดการสูญเสียทรัพยากรและได้ผลผลิตที่ออกมาตรงตามความต้องการของผู้ดูแลมากที่สุด
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :1.ออกแบบแผนผังโปรแกรมเพื่อนำไปเขียนคำสั่งโปแกรมควบคุมระบบควบคุมความชื้นระบบควบคุมอุณหภูมิ และระบบสั่งงานระบบแสงสว่าง 2.ติดตั้งระบตรวจวัดความชื้นสัมพัทธ์อากาศจำนวน 5 ตำแหน่ง ระบบตรวจวัดอุณหภูมิจำนวน 5 ตำแหน่ง และติดตั้งระบบน้ำหยด 3.ดำเนินการทดสอบระบบควบคุมต่าง ๆ โดยดำเนินการทดสอบดังนี้ 1.ความชื้นสัมพัทธ์อากาศ 2.ตรวจวัดอุณหภูมิ 4.ดำเนินการออกแบบแผนผังโปรแกรมสำหรับอุปกรณ์ระยะไกล 5.ดำเนินการทดสอบระบบการควบคุมผ่านระบบอุปกรณ์ระยะไกล 6.ดำเนินการเก็บผลการเจริญเติบโตของลูกเมล่อนที่ควบคุมด้วยระบบที่ออกแบบ ระยะเวลา 45 วัน ทำการเก็บข้อมูลน้ำหนักลูกเมล่อน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ลักษณะผลและความสมบูรณ์ของผล 7.วิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบควบคุมด้วยอุปกรณ์ระยะไกลด้วยค่าเฉลี่ยเลขคณิตและการวัดการกระจายข้อมูลเบี่ยงเบนพื้นฐาน 8.วิเคราะห์การเจริญเติบโตเฉลี่ยลูกเมล่อนด้วยค่าเฉลี่ยเลขคณิตและการวัดการกระจายข้อมูลเบี่ยงเบนพื้นฐาน 9.วิเคราะห์และสรุปผลงานวิจัย
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :การนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาผสมผสานเข้ากับงานด้านการเกษตรเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้กับเกษตรกร เทคโนโลยีฟาร์มอัจฉริยะนั้นตั้งอยู่บนแนวคิด ของการทำเกษตรสมัยใหม่ที่เรียกว่า เกษตรแม่นยำสูง เป็นกลยุทธ์ในการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยทำให้เกษตรกรสามารถปรับการใช้ทรัพยากรให้สอดคล้องกับสภาพของพื้นที่มากที่สุด รวมไปถึงเรื่องการดูแล อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแนวคิดนี้สามารถนำไปปรับใช้ได้ทั้งฟาร์มพืชและสัตว์ ฟาร์มอัจฉริยะนี้จะมีความแตกต่าง กับฟาร์มธรรมดาอยู่ตรงที่ การใช้ทรัพยากรนั้นทำได้อย่างแม่นยำและตรงต่อความต้องการของพืชและสัตว์ ซึ่งช่วยลดการสูญเสียทรัพยากรและได้ผลผลิตที่ออกมาตรงตามความต้องการของผู้ดูแลมากที่สุด
จำนวนเข้าชมโครงการ :1843 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายปฐมพงค์ จิโน บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย60
นายกฤษณะ ร่มชัยพฤกษ์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย40

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด