รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000332
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาเครื่องจำแนกคุณภาพมังคุดโดยใช้เทคนิคการตรวจวัดแบบไม่ทำลาย
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The development of Mangosteen classification by using non-destructive technique
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :มังคุด,มังคุดเนื้อแก้ว,มังคุดยางไหล
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม > ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิชาอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :308600
งบประมาณทั้งโครงการ :308,600.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2559
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2560
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :เกษตรศาสตร์
สาขาวิชาการ :ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและอุตสาหกรรม
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :มังคุดเป็นผลไม้ที่มีศักยภาพสูงในการส่งออกที่สำคัญของประเทศไทยโดยประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งออกมังคุดเป็นอันดับต้นๆของโลก มูลค่าปีละมากกว่า 2,000 ล้านบาทแต่ปัญหาสำคัญในการส่งออกมังคุด คือ คุณภาพของมังคุดที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่นการตรวจพบอาการเนื้อแก้ว และอาการยางไหล ซึ่งยากต่อการคัดแยก ปัจจุบันการคัดมังคุดต้องใช้ผู้ชำนาญโดยดูจากลักษณะภายนอก ซึ่งทำให้เกิดความผิดพลาด และในส่วนของการคัดมังคุดเนื้อแก้วปัจจุบันใช้วิธีการลอยน้ำ โดยใช้หลักการของความถ่วงจำเพาะที่แตกต่างกันของมังคุดเนื้อแก้วและเนื้อปกติ อย่างไรก็ตามวิธีการนี้ยังมีข้อผิดพลาดสูง เนื่องจากความถ่วงจำเพาะจะแปรปรวนตจามฤดูกาล นอกจากนี้ ผู้ส่งออกโดยทั่วไปจะใช้วิธีการผ่ามังคุดออกทุกผลเพื่อดูเนื้อภายในว่าเป็นเนื้อแก้วหรือไม่ หลังจากทำการผ่าแล้วต้องทำการแช่แข็งผลมังคุดก่อนส่งออกไปจำหน่ายซึ่งเป็นขั้นตอนที่ยุ่งยากและใช้ระยะเวลานาน (อนุพันธ์ และ วารุณี, 2558) วิธีการตรวจสอบปัญหาเนื้อแก้วและยางไหลภายในผลมังคุดเพื่อคัดแยกผลผลิตหลังเก็บเกี่ยวของเกษตรกร ผู้รวบรวมมังคุด และผู้ส่งออก ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน มีหลายวิธี ได้แก่ 1. สังเกตจากลักษณะภายนอก ได้แก่ สีผลไม่สม่ำเสมอ น้ำหนักผลมากกว่าผลปกติ ทรงผลไม่สมมาตร วิธีนี้ผู้คัดจะต้องมีประสบการณ์และความชำนาญเป็นพิเศษ 2. วัดความถ่วงจำเพาะ โดยการลอย-จมน้ำ หรือน้ำเกลือมีความแม่นยำในการคัดแยกต่างกัน ขึ้นกับสภาพฝน โดยปกติมีความแม่นยำในการคัดมังคุดเนื้อแก้วประมาณ 79-87 % แต่ถ้าฝนตกชุกก่อนเก็บเกี่ยว ความแม่นยำจะลดลงเหลือเพียงประมาณ 30% แต่ไม่สามารถคัดแยกอาการยางไหลภายในผลได้ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีแนวคิดในการพัฒนาอุปกรณ์ที่สามารถตรวจวัดคุณภาพจากภายนอกผลและมีความสัมพันธ์กับคุณภาพภายในของเนื้อผลโดยไม่มีการทำลายผลได้ถูกต้องแม่นยำกว่าการใช้ความชำนาญของมนุษย์ โดยตรวจวัดคุณภาพอ้างอิงตามมาตรฐานสินค้าการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :เพื่อศึกษากระบวนการคัดแยกมังคุดโดยตรวจสอบตำหนิที่ผิววิธีการประมวลผลภาพ เพื่อศึกษาและพัฒนากระบวนการทดสอบและจำแนกอาการเนื้อแก้วและอาการยางไหลในผลมังคุดให้มีความแม่นยำมากขึ้น เพื่อศึกษาและพัฒนากระบวนการในการจำแนกมังคุดออกเป็นชั้นคุณภาพ ตามมาตรฐานสินค้าการเกษตรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อศึกษาและพัฒนาเครื่องมือต้นแบบในการจำแนกมังคุดตามมาตรฐานสินค้าการเกษตร ของทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ขอบเขตของโครงการ :พัฒนากระบวนการในการวัดและตรวจสอบตำหนิที่ผิวโดยใช้การประมวลผลภาพ ศึกษาและพัฒนากระบวนการทดสอบและจำแนกอาการเนื้อแก้วและอาการยางไหลในผลมังคุดเพื่อหาแบบจำลองในการจำแนกมังคุดที่มีเนื้อแก้วและมังคุดที่มีอาการยางไหลที่มีความถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น ศึกษาและพัฒนากระบวนการในการจำแนกมังคุดออกเป็นชั้นคุณภาพ ตามมาตรฐานสินค้าการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ศึกษาและพัฒนาเครื่องมือต้นแบบในการจำแนกมังคุดตามมาตรฐานสินค้าการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :ได้เครื่องต้นแบบในการคัดแยกและตรวจสอบคุณภาพของผลมังคุดโดยไม่ทำให้คุณภาพและรสชาติเปลี่ยนไป การคัดแยกและตรวจสอบคุณภาพของผลมังคุดมีความถูกต้องแม่นยำกว่าวิธีอื่นๆ ลดปริมาณการใช้แรงงานคนในการตรวจสอบมังคุด
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :-
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :512 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวณิชา กาวิละ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย60
นายกุลชาติ เทพกุญชร บุคลากรภายนอกมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย40

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด