รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000178
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาเครื่องอบข้าวโพดตามแบบ rotary เพื่อช่วยลดความชื้นและสารอะฟลาทอกซิน(aflatoxin)
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Development of corn rotary type dryers to reduce moisture and aflatoxin
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :การพัฒนา, ประสิทธิภาพ, เครื่องอบ ข้าวโพด, เศรษฐกิจพอเพียง
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม > ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :399800
งบประมาณทั้งโครงการ :399,800.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ธันวาคม 2557
วันสิ้นสุดโครงการ :30 พฤศจิกายน 2558
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขาวิชาการ :ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและอุตสาหกรรม
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ประเทศไทยเป็นหนึ่งในกลุ่มอาเซียนที่มีอาชีพเกษตรกรรมที่ทำพืชไร่ เช่น ข้าวโพด อ้อย ปอ ฝ้าย นุ่น ละหุ่ง มะพร้าว มันสำปะหลัง ยาสูบ พริกไทย ตาล ถั่วต่าง ๆ ในส่วนของข้าวโพดประเทศไทยอาจกล่าวได้ว่าข้าวโพดสามารถปลูกได้ดีทุกภาคจังหวัดที่ผลิตข้าวโพดมากในแต่ละภาค เรียงตามปริมาณการผลิตมากไปหาน้อยดังนี้ ภาคกลาง มี เพชรบูรณ์ ลพบุรี นครสวรรค์ สระบุรี พิษณุโลก พิจิตร สุโขทัย และปราจีนบุรี ภาคเหนือ มี แพร่ น่าน เชียงราย และเชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี นครราชสีมา ศรี-สะเกษ อุบลราชธานี ขอนแก่น และชัยภูมิ ภาคใต้ ปลูกมากที่ สงขลา สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ในส่วนของจังหวัดนครสวรรค์มีพื้นที่เป็นพื้นที่ราบลุ่มเป็นส่วนใหญ่ อาชีพของประชาชนส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทางการเกษตรและอุตสาหกรรมที่ได้จากผลิตผลทางด้านการเกษตร ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่จะนิยมปลูกข้าวโพดเนื่องจากการลงพื้นที่สำรวจสอบถามข้อมูลของชาวบ้าน ต.ยางตาล อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ ดังภาพที่ 1 พบว่าชาวบ้านจะนำข้าวโพดไปขายยังพอค้าคนกลางแบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ ขายชนิดฝักและสีเมล็ดอยู่ที่กิโลกรัมละ 4-5 บาท และ 5.5 บาทตามลำดับซึ่งราคาตกต่ำมาก เพราะเกษตรกรไม่มีไซโลเก็บในหน้าฝน ทำให้ข้าวโพดมีความชื้นสูงและมีเชื้อรา หรือ ชื่อทางวิทยาศาสตร์เรียกว่า อะฟลาทอกซิน (aflatoxin) การปนเปื้อนของสารพิษอะฟลาทอกซินในผลิตผลเกษตร ที่เป็นทั้งอาหารคนและอาหารสัตว์เป็นปัญหาที่สำคัญมากเพราะก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติทั้งทางตรงและทางอ้อม ผลกระทบทางตรงคือทำให้ผลิตผลเกษตรเสียหาย มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน ทำให้ราคาตกต่ำ สัตว์เลี้ยงมีคุณภาพต่ำ หรือตายเป็นจำนวนมาก และที่สำคัญประชาชนที่บริโภคอาหารที่มีการปนเปื้อนของสารพิษเข้าไปอาจได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ส่วนผลกระทบทางอ้อม คือการนำเอาปริมาณการปนเปื้อนของสารอะฟลาทอกซินมาเป็นข้อกีดกันทางการค้า ทำให้ไม่สามารถส่งออกได้ และทำให้มูลค่าทางการตลาดของผลิตผลลดลงด้วย จากผลกระทบและปัญหาที่เกิดขึ้น คณะผู้วิจัยมีแนวคิดในการการพัฒนาเครื่องอบข้าวโพดตามแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน เพื่อช่วยลดความชื้นและสารอะฟลาทอกซิน(aflatoxin) เพื่อลดปัญหาดังที่กล่าวมาในข้างต้นและช่วยเหลือชาวบ้านให้ ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ และยังสามารถที่จะควบคุมมาตราฐานผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามความต้องการ ได้ตามแนวยุทธศาสตร์ของจังหวัดอีกทางหนึ่ง คือ 1. ให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มมากขึ้น 2. ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลตอบแทน 3. ทำให้ความเป็นอยู่ของเกษตรกรดีขึ้นได้อีกทางหนึ่ง 4. ลดการย้ายถิ่นฐานเพื่อหางานทำ
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อพัฒนาเครื่องอบข้าวโพดแบบ rotary เพื่อช่วยลดความชื้นและสารอะฟลาทอกซิน (aflatoxin) 2. เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องอบข้าวโพด 3. เพื่อลดความชื้นและการปนเปื้อนของสารอะฟลาทอกซินในข้าวโพด
ขอบเขตของโครงการ :ในการศึกษาวิจัย การศึกษาและการพัฒนาเครื่องอบข้าวโพดแบบ rotary เพื่อช่วยลดความชื้นและสารปนเปื้อนของอะฟลาทอกซินมีขอบเขตการวิจัยดังต่อไปนี้ ขอบเขตเนื้อหา 1. พืชไร่ 1.1 ข้าวโพด 1.2 รูปแบบการทดสอบ 2. รูปแบบการอบข้าวโพด 2.1 ส่วนของนักวิชาการ - ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับวิธีการอบข้าวโพด 2.2 ส่วนของเกษตรกรหรือผู้สนใจทั่วไป - รู้จักคุณสมบัติและการใช้งานของเครื่องอบ - รู้จักกระบวนการอบข้าวโพด 2.3 ส่วนของผู้พัฒนาระบบ - พัฒนาและปรับปรุงระบบการอบข้าวโพดเพื่อลดความชื้นและสารอะฟลาทอกซิน ขอบเขตพื้นที่ พื้นที่บ้าน ต.ยางตาล อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์ ขอบเขตเวลา ช่วงเวลาที่ดำเนินการวิจัย 1 ธันวาคม 2557 ถึง 30 พฤศจิกายน 2558 เป็นระยะเวลา 1 ปี ขอบเขตประชากร เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด เจ้าหน้าที่รัฐในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและปฏิบัติงานในพื้นที่ ต.ยางตาล อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์และพื้นที่ใกล้เคียง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :-
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :โดยทั่วไปข้าวโพดจัดออกเป็น 5 กลุ่ม คือ 1. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หรือข้าวโพดไร่ (Field Corn) ที่รู้จักในปัจจุบันเช่นข้าวโพดหัวบุ๋ม (Dent Corn) และข้าวโพดหัวแข็ง (Fint Corn) ซึ่งเป็นการเรียกตามลักษณะเมล็ดข้าวโพดหัวบุ๋มหรือหัวบุบ ข้าวโพดชนิดนี้เมื่อเมล็ดแห้งแล้วตรงส่วนหัวบนสุดจะมีรอยบุ๋มลงไป ซึ่งเป็นส่วนของแป้งสีขาว ข้าวโพดชนิดนี้สำคัญมากและนิยมปลูกกันมาก ภายในเมล็ดมีสารที่ทำให้ข้าวโพดมีสีเหลืองจัดเป็นสารให้สีที่ชื่อ คริปโตแซนทีน (Cruptoxanthin) สารนี้เมื่อสัตว์ได้รับร่างกายสัตว์จะเปลี่ยนสารนี้ให้เป็นวิตามินเอ นอกจากนี้สารนี้ยังช่วยให้ไข่แดงมีสีแดงเข้ม ช่วยให้ไก่มีผิวหนัง ปาก เนื้อ และแข้งมีสีเหลืองเข้มขึ้น 2. ข้าวโพดหวาน (Sweet Corn) เป็นข้าวโพดที่คนใช้รับประทาน ไม่มีการแปรรูป เมล็ดมักจะใสและเหี่ยวเมื่อแก่เต็มที่ เพราะมีน้ำตาลมาก ก่อนที่จะสุกจะมีรสหวานมากกว่าชนิดอื่น ๆ จึงเรียกข้าวโพดหวาน มีหลายสายพันธุ์ 3. ข้าวโพดคั่ว (Pop Corn) เป็นข้าวโพดที่คนใช้รับประทาน ไม่มีการแปรรูป เมล็ดค่อนข้างแข็ง สีดีและขนาดแตกต่างกัน สำหรับต่างประเทศ ถ้าเมล็ดมีลักษณะแหลมเรียกว่า ข้าวโพดข้าว (Rice Corn) ถ้าเมล็ดกลม เรียกว่า ข้าวโพดไข่มุก (Pearl Corn) 4. ข้าวโพดแป้ง (Flour Corn) เมล็ดมีสีหลายชนิด เช่น ขาว (ขุ่น ๆ หรือปนเหลืองนิด ๆ) หรือสีน้ำเงินคล้ำ หรือมีทั้งสีขาวและสีน้ำเงินคล้ำในฝักเดียวกัน เนื่องจากกลายพันธุ์ พวกที่มีเมล็ดสีคล้ำและพวกกลายพันธุ์เรียกว่าข้าวโพดอินเดียนแดง (Squaw Corn) หรือเรียกได้อีกชื่อว่าข้าวโพดพันธุ์พื้นเมือง (Native Corn) พวกข้าวโพดสีคล้ำนี้จะมีไนอาซีน สูงกว่าข้าวโพดที่มีแป้งสีขาว 5. ข้าวโพดเทียน (Waxy Corn) เป็นข้าวโพดที่คนใช้รับประทาน จะมีแป้งที่มีลักษณะเฉพาะคือ นุ่มเหนียว เพราะในเนื้อแป้งจะประกอบด้วยแป้งพวกแอมมิโลเปคติน (Amylopectin) ส่วนข้าวโพดอื่น ๆ มีแป้งแอมมิโลส (Amylose) ประกอบอยู่ด้วย จึงทำให้แป้งค่อนข้างแข็ง ความชื้น จากการศึกษาข้อมูลพบว่า ความชื้นในเมล็ดเป็นปัจจัยที่สำคัญมากและสามารถจัดการได้ง่ายที่สุด เมื่อเทียบกับปัจจัยอื่น ๆ ในการควบคุมการเจริญของเชื้อรา เพียงแต่ลดความชื้นในเมล็ดให้มีระดับต่ำจนเชื้อราไม่สามารถเจริญเติบโตได้ ก็จะสามารถป้องกันการเกิดสารอะฟลาทอกซินได้แล้ว ดังนั้น วิธีการที่ป้องกันอะฟลาทอกซินที่ง่ายได้ผลดี และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด คือ ให้เกษตรกรปล่อยข้าวโพดไว้ในแปลงจนแห้งสนิทดีแล้วจึงเก็บเกี่ยว หรือตากข้าวโพดให้แห้งทันทีหลังการเก็บเกี่ยว แต่ในทางปฏิบัติแล้วจะพบว่า การเก็บเกี่ยวข้าวโพดส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วง เดือนสิงหาคม ถึง ตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงที่มีฝนตกชุก เนื่องจากเกษตรกรต้องเร่งเก็บเกี่ยวข้าวโพด เพื่อจะได้ใช้พื้นที่ปลูกพืชรุ่นที่สองต่อไป ทำให้ข้าวโพดที่เก็บเกี่ยวมายังมีความชื้นสูงมาก คือ มีความชื้นตั้งแต่ 25-35 เปอร์เซ็นต์ หรือสูงถึง 40 เปอร์เซ็นต์ ในขณะเดียวกันพ่อค้าคนกลางก็ยังรับซื้อข้าวโพดที่มีความชื้นสูง เพราะต้องการข้าวโพดในปริมาณมากทั้ง ๆ ที่ไม่มีขีดความสามารถเพียงพอที่จะลดความชื้นของเมล็ดข้าวโพดที่ซื้อมา ให้ลงอยู่ในระดับที่ต้องการ คือ 18 เปอร์เซ็นต์ ได้ทันเวลาทั้งหมด เนื่องจากการลดความชื้นส่วนใหญ่จะใช้ลานตากข้าวโพด ซึ่งไม่สามารถใช้งานได้เมื่อฝนตกติดต่อกันตลอดทั้งวัน หรือเมื่อมีลมมรสุมพัดผ่าน วิธีการลดความชื้นแบ่งออกเป็น 2 วิธีการ ดังนี้ 1. การตากแดด เป็นวิธีที่นิยมใช้กันทั่วไป โดยเฉพาะการตากเมล็ดบนลานคอนกรีต เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายต่ำ ในวันที่มีแดดดีสามารถลดความชื้นได้ถึง 7 เปอร์เซ็นต์ แต่มักจะมีปัญหาจากฝนที่ตกอยู่เสมอในช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวโพด 2. การใช้เครื่องลดความชื้น โดยหลักการแล้วเครื่องลดความชื้นเมล็ดพืชแบบต่าง ๆ มีหลักการทำงานที่คล้ายกัน คือ การเป่าลมที่ถูกปรับสภาพให้มีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ โดยการเพิ่มอุณหภูมิของอากาศให้ผ่านเข้าไปในกองเมล็ดพืช เพื่อให้เกิดการระเหยของน้ำออกจากเมล็ดพืช ดังนั้น องค์ประกอบของเครื่องอบ จึงมีเพียง 3 ส่วน คือ โครงสร้างที่เป็นภาชนะสำหรับบรรจุเมล็ด เครื่องเป่า และต้นกำเนิดความร้อนซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ตามลักษณะการทำงาน คือ ชนิดเมล็ดพืชอยู่นิ่งและชนิดเมล็ดพืชไหล ที่มา : สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร http://as.doa.go.th/fieldcrops/corn/oth/ph_1.HTM อะฟลาทอกซิน (aflatoxin) อะฟลาทอกซิน (aflatoxin) คือสารพิษที่ผลิตจากเชื้อรา (mycotoxin) ซึ่งผลิตจากเชื้อรา Aspergillus flavus และ Aspergillus paraciticus ซึ่งเชื้อราสองชนิดนี้สร้างสารพิษในภาวะที่อาหารมีความชื้น (moisture content) สูง มีค่าวอเตอร์แอคทิวิตี้ (water activity) มากกว่า 0.93 และอุณหภูมิค่อนข้างสูง (25-30 องศาเซลเซียส) เป็นอันตรายทางเคมี (chemical hazard) เป็นสาเหตุของโรคที่มีอาหารเป็นสื่อ (foodborne disease) ชนิดของ Aflatoxin สารอะฟลาทอกซินที่พบตามธรรมชาติจะมีอยู่ 4 ชนิด คือ aflatoxin B1, B2, G1 และ G2 โดย aflatoxin B1 จะมีความเป็นพิษสูงที่สุด ซึ่ง Aspergillus flavus จะสร้างเฉพาะสาร aflatoxin B ขณะที่ A. parasiticus จะสร้างทั้ง aflatoxin B และ G เชื้อราที่พบทั่วไปในผลิตผลเกษตรโดยเฉพาะประเทศไทย จะเป็นเชื้อรา Aspergillus flavus มากกว่า A. parasiticu • บี (B) หมายถึง blue คืออะฟลาทอกซินที่เรืองแสงให้สีฟ้า เมื่อดูภายใต้แสงอัลตราไวโอเลต (ultraviolet) ที่ความยาวคลื่น 365 นาโนเมตร • จี (G) หมายถึง green คืออะฟลาทอกซินที่เรืองแสงให้สีเขียว • เอ็ม (M) หมายถึง milk คืออะฟลาทอกซินที่พบในน้ำนมวัว (milk) ซึ่งเปลี่ยนรูปมาจากอะฟลาทอกซินบีจากอาหารโดยกลไกของร่างกาย ลักษณะทั่วไปสารพิษอะฟลาทอกซิน สารพิษอะฟลาทอกซินละลายในน้ำได้เล็กน้อย คงตัวในสภาพที่เป็นกรด แต่จะสลายตัวในสภาพที่เป็นด่าง และทนความร้อนได้สูงถึง 260 องศาเซลเซียส เมื่อส่องดูภายใต้แสงอัลตราไวโอเลตเรืองแสงได้และสลายตัวภายใต้แสงอัลตราไวโอเลตความเป็นพิษของอะฟลาทอกซินปัจจุบันองค์การ IARC ได้จัดสารอะฟลาทอกซิน เป็นสารก่อมะเร็ง Class I ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่ตับ และอาจก่อมะเร็งในอวัยวะอื่นๆ เช่น ไต ระบบหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และระบบภูมิคุ้มกัน ปริมาณที่เป็นอันตราย อะฟลาทอกซิน B1 เป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งในตับสัตว์ทดลองหลายชนิดอย่างชัดเจน จึงอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ได้ ประเทศไทยกำหนดให้มีการปนเปื้อนของอะฟลาทอกซินได้ไม่เกิน 20 ไมโครกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม หรือ 20 พีพีบี ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ.2529 คณะกรรมาธิการอาหารระหว่างประเทศ (Codex Alimentarius Commission) กำหนดให้มีการปนเปื้อนของอะฟลาทอกซินในถั่วลิสงที่ต้องนำไปผ่านกระบวนการต่อไปได้ไม่เกิน 15 พีพีบี (ppb, part per billion) แนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดอะฟลาทอกซิน 1.เลือกฤดูปลูกที่เหมาะสม 1.1 เลื่อนฤดูปลูกข้าวโพดให้ล่าช้ากว่าปกติ เพื่อปล่อยให้ข้าวโพดแห้งในแปลงและเก็บเกี่ยวในช่วงที่ไม่มีฝนตกแล้วโดยทำการปลูกข้าวโพดในช่วงกลางเดือนมิถุนายนถึงปลายเดือนกรกฎาคม หรือปลูกข้าวโพดเป็นพืชที่สองหลังพืชอายุสั้นอื่น ๆ เช่น ถั่วเขียวหรือถั่วเหลืองพันธุ์อายุสั้น แล้วเก็บเกี่ยวข้าวโพดหลังจากฝักแห้งสนิท วิธีการนี้ อาจจะทำให้ได้ผลผลิตของข้าวโพดต่ำกว่าการปลูกในช่วงต้นฤดูฝน แต่การเลื่อนฤดูปลูกนอกจากจะช่วยลดการเกิดสารอะฟลาทอกซินในข้าวโพดได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงจากฝนทิ้งช่วงในระยะที่ข้าวโพดออกดอกและติดฝักอีกด้วย 1.2 การปลูกข้าวโพดในนาในช่วงฤดูแล้ง จะสามารถผลิตข้าวโพดให้ปลอดสารอะฟลาทอกซินได้เพราะเกษตรกรไม่ต้องเร่งเก็บเกี่ยว สามารถปล่อยข้าวโพดให้แห้งในแปลงได้ และเมื่อพ่อค้าคนกลางรับซื้อข้าวโพดไปแล้ว ก็มีแสงแดดเพียงพอต่อการลดความชื้นให้ลงอยู่ในระดับที่ปลอดภัยได้ทันเวลา 2. การเก็บเกี่ยวและการเก็บรักษาฝักข้าวโพด 2.1 การเก็บเกี่ยวด้วยมือหรือเครื่องปลิดฝัก 2.1.1 ระยะการเก็บเกี่ยวข้าวโพดที่ดีที่สุด คือ เก็บเกี่ยวเมื่อฝักข้าวโพดแก่จัด โดยปล่อยข้าวโพดไว้ในแปลงต่อไปอีก 1-2 สัปดาห์ หลังจากที่ใบข้าวโพดแห้ง (เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหมดทั้งแปลงแล้ว) ที่ระยะดังกล่าวเมล็ดจะมีความชื้นต่ำกว่า 23 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าค่อนข้างปลอดภัยจากการปนเปื้อนของสารอะฟลาทอกซิน 2.1.2 ในกรณีที่เกษตรกรต้องการจะใช้พื้นที่เพื่อปลูกพืชที่สองตามหลังข้าวโพด การเก็บเกี่ยวที่เร็วที่สุดที่จะทำได้ คือ เริ่มเก็บเกี่ยวหลังจากที่ต้นและใบข้าวโพดเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหมดทั้งแปลงแล้วที่ระยะดังกล่าว ข้าวโพดจะมีความชื้นในเมล็ดต่ำกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือเป็นจุดวิกฤตของการเก็บรักษาฝักข้าวโพด เนื่องจากการเก็บเกี่ยวฝักข้าวโพดที่มีความชื้นต่ำกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ จะเกิดการปนเปื้อนของสารอะฟลาทอกซินในปริมาณสูงเกษตรกรที่มีลานหรือแคร่สำหรับตากหรือผึ่งข้าวโพดก็ยังควรเก็บเกี่ยวข้าวโพดที่มีความชื้นต่ำกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ เพราะความชื้นที่เริ่มเก็บเกี่ยวจะมีผลต่อการเกิดสารอะฟลาทอกซินมาก และในขณะที่เก็บเกี่ยวควรแยกฝักเสียและฝักที่เป็นราออก 2.1.3 หากเกษตรกรเก็บเกี่ยวข้าวโพดที่ยังมีความชื้นสูงกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ ควรจำหน่ายทันทีที่เก็บเกี่ยวเสร็จ หรือไม่ควรเก็บไว้เกิน 15 วัน นับจากวันที่เริ่มเก็บเกี่ยวเพราะในระยะ 15 วันแรกนี้ เป็นระยะที่เชื้อรากำลังเจริญเติบโต จึงยังไม่ทันสร้างสารอะฟลาทอกซินได้มากนัก หากเก็บไว้นานเกิน 15 วัน ปริมาณการปนเปื้อนของสารอะฟลาทอกซินจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การเก็บฝักข้าวโพดควรเก็บไว้ในยุ้งที่สามารถถ่ายเทอากาศได้ดี โดยการยกพื้น ตีฝาด้วยไม้ระแนงและไม่กองข้าวโพดให้หนาเกินไป จะช่วยลดการเกิดสารอะฟลาทอกซินได้บ้าง และไม่ควรกองฝักข้าวโพดไว้บนดิน 2.2 การเก็บเกี่ยวด้วยเครื่องเกี่ยวนวด การเก็บเกี่ยวแบบนี้เครื่องเก็บเกี่ยวจะปลิดฝักและกะเทาะเมล็ดไปพร้อมกัน ดังนั้น หลังการเก็บเกี่ยวจะต้องลดความชื้นของเมล็ดให้ลงอยู่ในระดับที่ปลอดภัย คือ ต่ำกว่า 17.5 เปอร์เซ็นต์ ภายในระยะเวลา 2 วัน หลังจากนั้นสามารถลดความชื้นได้อย่างช้าๆ จนถึง 14 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นระดับความชื้นที่ปลอดภัยในการเก็บรักษาเมล็ด 3. การเก็บรักษาเมล็ดข้าวโพด ในขั้นตอนนี้เมล็ดจะอยู่ในการจัดการของพ่อค้าคนกลางแล้ว และจากการสำรวจก็พบว่า การปนเปื้อนของสารอะฟลาทอกซินจะเกิดขึ้นในช่วงนี้มากที่สุด ทั้งนี้ เนื่องจากการกะเทาะฝักข้าวโพดนอกจากจะทำให้เมล็ดข้าวโพดบางส่วนแตก ซึ่งทำให้เชื้อราสามารถเข้าทำลายเมล็ดได้รวดเร็วกว่าเมล็ดที่มีสภาพสมบูรณ์ การกะเทาะยังเป็นการช่วยคลุกสปอร์ของเชื้อราให้กระจายไปกับทุกเมล็ดได้อย่างทั่วถึงอีกด้วย ดังนั้น หลังการกะเทาะจึงจำเป็นที่จะต้องลดความชื้นของเมล็ดให้เร็วที่สุด โดยมีวิธีปฏิบัติให้เลือกดังต่อไปนี้ 3.1 หากเมล็ดยังมีความชื้นสูง ควรลดความชื้นให้ลงอยู่ในระดับที่ปลอดภัย คือ ต่ำกว่า 17.5 เปอร์เซ็นต์ภายในระยะเวลา 48 ชั่วโมงหลังการกะเทาะ หากปล่อยไว้นานกว่านี้จะเริ่มพบเชื้อรา A.flavus ซึ่งมีสีเขียวบนกองข้าวโพด ในระยะ 4-5 วันหลังการกะเทาะการเกิดสารอะฟลาทอกซินอาจจะยังไม่สูงมากนักแต่หลังจากนั้นจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว 3.2 เมล็ดข้าวโพดที่มีความชื้นต่ำ 17.5 เปอร์เซ็นต์ สามารถเก็บไว้ได้ชั่วคราว 3.3 ความชื้นในเมล็ดข้าวโพดที่ระดับต่ำกว่า 13.5 เปอร์เซ็นต์ เป็นระดับที่ปลอดภัยในการเก็บ รักษาแต่ควรมีการระบายอากาศภายในกองหรือกลับกองเป็นระยะ ๆ 3.4 หากไม่สามารถลดความชื้นในเมล็ดที่อยู่ในช่วง 20-30 เปอร์เซ็นต์ ให้ลงอยู่ในระดับที่ ปลอดภัยได้สามารถชะลอการเน่าเสียและการเกิดสารอะฟลาทอกซินในข้าวโพดที่มีความชื้นสูงเป็นการชั่วคราวได้ โดยการรมด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อัตรา 0.5 กิโลกรัมต่อเมล็ด 1 ตัน หรือดูดอากาศภายในกองออกก่อนด้วยเครื่องดูดอากาศ แล้วจึงรมด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อัตรา 0.3 กิโลกรัมต่อเมล็ด 1 ตัน จะสามารถรักษาคุณภาพของข้าวโพดได้ 10 วันเป็นอย่างต่ำ การป้องกันและการทำลายสารพิษ การปนเปื้อนของสารอะฟลาทอกซินในอาหารคนและอาหารสัตว์เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงและคาดการณ์ได้ยากมาก เพราะเชื้อราที่สร้างสารพิษชนิดนี้ส่วนใหญ่จะพบอยู่ทั่วไปในสภาพแวดล้อมของประเทศไทย ซึ่งเจริญได้ดีบนผลิตผลเกษตรเกือบทุกชนิด รวมทั้งผลิตภัณฑ์แปรรูปชนิดต่างๆ จากผลิตผลเกษตรด้วย เชื้อราเหล่านี้เกิดขึ้นได้ทุกสถานะการณ์ ตั้งแต่กระบวนการผลิต กระบวนการเก็บเกี่ยว และกระบวนการเก็บรักษา กระบวนการขนส่ง สารพิษเหล่านี้อาจปนเปื้อนอยู่ในผลิตผลเกษตรได้ ถึงแม้จะไม่มีเชื้อราปรากฏให้เห็นบนผลิตผลเกษตรนั้นๆ เพราะตัวเชื้อราเองอาจถูกขจัดออกไปโดยวิธีต่างๆ หลังจากที่สร้างสารพิษเอาไว้บนผลิตผลเกษตรแล้ว การป้องกันเบื้องต้น คือการลดความชื้นของผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยวอย่างรวดเร็วด้วยการทำแห้ง (dehydration) เพื่อลดปริมาณ water activity ของอาหารให้ต่ำกว่าที่เชื้อราจะเจริญและสร้างสารพิษเนื่องจากสารพิษทนความร้อนได้สูงถึง 260 องศาเซลเซียส ความร้อนจากการแปรรูปอาหารทั่วไปๆ ไม่สามารถทำลายได้ วิธีการทำลายสาร อะฟลาทอกซินโดยทั่วไป จะเป็นวิธีทางเคมี เช่น การใช้กรดแก่ หรือด่างแก่ และวิธีทางกายภาพ เช่น การใช้วิธีการคัดแยก (sorting) เมล็ดธัญพืช หรือการใช้รังสี เป็นต้น แต่ไม่มีวิธีการใดเลยที่สามารถทำลายสารพิษได้หมด ผลกระทบต่อสินค้าเกษตร การปนเปื้อนของสารพิษอะฟลาทอกซินในผลิตผลเกษตร ที่เป็นทั้งอาหารคนและอาหารสัตว์เป็นปัญหาที่สำคัญมากเพราะก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติทั้งทางตรงและทางอ้อม ผลกระทบทางตรงคือทำให้ผลิตผลเกษตรเสียหาย มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน ทำให้ราคาตกต่ำ สัตว์เลี้ยงมีคุณภาพต่ำ หรือตายเป็นจำนวนมาก และที่สำคัญประชาชนที่บริโภคอาหารที่มีการปนเปื้อนของสารพิษเข้าไปอาจได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ส่วนผลกระทบทางอ้อม คือการนำเอาปริมาณการปนเปื้อนของสารอะฟลา-ทอกซินมาเป็นข้อกีดกันทางการค้า ทำให้ไม่สามารถส่งออกได้ และทำให้มูลค่าทางการตลาดของผลิตผลลดลงด้วย
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :-
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :1972 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายอำนาจ ประจง บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย50
นายอนุสรณ์ สินสะอาด บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย30
นายเทิดพันธุ์ ชูกร บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย10
นายนัฐพันธ์ พูนวิวัฒน์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย10

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด