รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000171
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาการอบแห้งขนมจีนด้วยเครื่องอบแห้ง 2 ระบบ เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Development Dual-system dryers of Thai vermicelli noodle to prolong shelf life
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :การพัฒนา, ประสิทธิภาพ, เครื่องอบแห้งขนมจีน 2ระบบ, เศรษฐกิจพอเพียง
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม > ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :256550
งบประมาณทั้งโครงการ :256,550.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ธันวาคม 2557
วันสิ้นสุดโครงการ :30 พฤศจิกายน 2558
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขาวิชาการ :สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
กลุ่มวิชาการ :อาหารเคมี
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ขนมจีนเป็นอาหารที่อยู่คู่คนไทยมาเป็นเวลาช้านานโดยเฉพาะในงานพิธีต่าง ๆ เช่น งานบวช งานแต่ง ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น จะต้องมีขนมจีนเป็นอาหารหลักอยู่ในงานนั้นๆ ขนมจีน เป็นอาหารคาวประกอบด้วยเส้นเรียกว่า เส้นขนมจีนและมีน้ำยาขนมจีนที่จะต้องรับประทานร่วมกัน ขนมจีนเป็นที่นิยมทุกท้องถิ่นของไทย แต่มีการปรุงน้ำยาแตกต่างกันแม้ว่าขนมจีนจะมีคำว่า "ขนม" แต่ก็ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับขนมใดๆ ขณะเดียวกัน แม้จะมีคำว่า "จีน" แต่ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอาหารของจีน ภาษาเหนือเรียกว่า ขนมเส้น ภาษาอีสาน เรียกว่า ข้าวปุ้น จะมีขนมจีนชนิดหนึ่งซึ่งใกล้เคียงกับขนม คือ ขนมจีนซาวน้ำ เพราะมีรสหวาน ขนมจีนเป็นอาหารที่สามารถบริโภคได้หลากหลายไม่จำเป็นต้องบริโภคกับน้ำยาขนมจีนเพียงอย่างเดียว แต่สามารถรับประทานร่วมกับอาหารชนิดอื่นได้ เช่น ส้มตำ แกงเขียวหวาน รวมถึงรับประทานกับน้ำปลาซึ่งเป็นที่นิยมของเด็ก ๆ เป็นอย่างมาก ขนมจีนเป็นอาหารประเภทแป้งที่ผ่านกระบวนการหมักทำให้ขนมจีนมีอายุการเก็บรักษาที่สั้นเพียง 1-2 วัน ในเมื่อผลิตขนมจีนมาเพื่อจำหน่ายหรือบริโภคถ้าเหลือก็จะเกิดการบูดเน่าเสียในที่สุด ดังนั้น กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรพัฒนาบ้านหนองโพธิ์ บ้านเลขที่ 189 หมู่ที่ 8 ตำบลบางประมุง อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ จึงมีแนวคิดที่จะหาวิธีการยืดอายุการเก็บรักษาขนมจีนให้นานยิ่งขึ้นด้วยการนำมาทำขนมจีนแห้ง การทำขนมจีนแห้งของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรพัฒนาบ้านหนองโพธิ์จะใช้วิธีการตากโดยใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์ เพราะเป็นวิธีดั้งเดิมแต่โบราณและยังไม่มีค่าใช้จ่ายในการตาก แต่เนื่องจากแสงอาทิตย์เป็นพลังงานธรรมชาติจึงไม่มีความแน่นอนเพราะสภาพอากาศในปัจจุบันที่แปรปรวนบางวันไม่มีแสงอาทิตย์ รวมถึงในฤดูฝนที่การตากทำได้ยากมากแต่ขนมจีนไม่สามารถเก็บไว้รอจนกว่าจะมีแสงอาทิตย์ได้ตามต้องการ ทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้ผลิตขนมจีน ซึ่งขนมจีนที่เหลือจากการจำหน่ายแต่ละวันผู้ผลิตจะนำมาทำขนมจีนอบแห้ง เมื่อไม่มีแสงอาทิตย์ใช้ในการตากแห้ง ขนมจีนที่เหลือจะขึ้นรา มีกลิ่นเหม็นและเน่าเสียในที่สุด จากปัญหาดังกล่าวข้างต้นคณะผู้จัดทำจึงมีแนวคิดในการพัฒนาการอบแห้งขนมจีนด้วยเครื่องอบแห้ง 2 ระบบเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา ขนมจีนให้กับกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรพัฒนาบ้านหนองโพธิ์ โดยจะนำพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์มาประยุกต์ใช้ร่วมกับพลังงานความร้อนจากไฟฟ้า โดยมีขดลวดความร้อนแบบครีบเป็นอุปกรณ์ทำความร้อนของระบบไฟฟ้าและใช้มอเตอร์พัดลมเป็นตัวกระจายความร้อนภายในตู้อบให้สม่ำเสมอ รวมไปถึงการใช้เทอร์โมคัปเปิ้ลเป็นอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิภายในตู้อบให้ได้ตามความต้องการ
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อการพัฒนาการอบแห้งขนมจีนด้วยเครื่องอบแห้ง 2 ระบบ เพื่อยืดอายุการ เก็บรักษา 2. เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องอบแห้ง 2 ระบบ 3.เพื่อยืดอายุและการเก็บรักษา
ขอบเขตของโครงการ :ในการศึกษาและวิจัยการพัฒนาการอบแห้งขนมจีนด้วยเครื่องอบแห้ง 2 ระบบ เพื่อยืดอายุการ เก็บรักษามีขอบเขตการวิจัยดังต่อไปนี้ ขอบเขตเนื้อหา 1.กลุ่มชาวบ้านผู้ผลิตขนมจีน 1.1 ขนมจีน 1.2 รูปแบบการทดสอบ 2. รูปแบบการอบขนมจีน 2.1 ส่วนของนักวิชาการ - ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับวิธีการอบแห้งขนมจีน 2.2 ส่วนของเกษตรกรหรือผู้สนใจทั่วไป - รู้จักคุณสมบัติและการใช้งานของเครื่องอบแห้ง - รู้จักกระบวนการอบแห้งขนมจีน 2.3 ส่วนของผู้พัฒนาระบบ - พัฒนาและปรับปรุงระบบการอบแห้งขนมจีนเพื่อเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา ขอบเขตพื้นที่ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรพัฒนาบ้านหนองโพธิ์ บ้านเลขที่ 189 หมู่ที่ 8 ตำบลบางประมุง อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ ขอบเขตเวลา ช่วงเวลาที่ดำเนินการวิจัย 1 ธันวาคม 2557 ถึง 30 พฤศจิกายน 2558 เป็นระยะเวลา 1 ปี ขอบเขตประชากร กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรพัฒนาบ้านหนองโพธิ์ บ้านเลขที่ 189 หมู่ที่ 8 ตำบลบางประมุง อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :-
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :ขนมจีนน้ำยาเป็นอาหารที่นิยมกันมากและสามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่ว แต่เนื่องจากขนมจีนน้ำยามีกระบวนการผลิตที่ยุ่งยากและมีอายุการเก็บรักษาสั้นขนมจีนแห้งและน้ำยาผงกึ่งสำเร็จรูป จึงเป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้บริโภคได้รับความสะดวกและรวดเร็วขึ้นและเน้นการผลิตเพื่อการส่งออก ดังนั้นสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จึงให้ทุนอุดหนุนโครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมจีนกึ่งสำเร็จรูปเพื่อการส่งออกแก่คณะนักวิจัย คณะอุตสาหกรรมเกษตร ในช่วงปี 2543 – 2544 เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาขนมจีนจากขนมจีนสดเป็นขนมจีนแห้งกึ่งสำเร็จรูปโดยมีกรรมวิธีการผลิตดังนี้ การทำความสะอาดปลายข้าวเจ้า การแช่ และหมักข้าวการบดข้าวพร้อมน้ำจนได้เป็นน้ำแป้ง กรองแป้ง ผสมแป้ง และน้ำในปริมาณที่เหมาะสมนึ่งแป้งให้สุก นวดผสม ขึ้นรูปเส้นขนมจีน และจัดรูปร่างเส้นเป็นเส้นตรงหรือก้อนสี่เหลี่ยม แล้วอบแห้ง พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมในการทำเส้นขนมจีนได้แก่ พันธุ์ข้าวที่มีปริมาณ แอมิโลสสูงกว่าร้อยละ 25 การหมักข้าวจะทำให้เส้นขนมจีนมีความเหนียวนุ่ม และใสมากขึ้น ระยะเวลาในการหมักข้าวที่เหมาะสมคือ 3 – 4 วัน ปริมาณน้ำที่ใช้ในการนึ่งแป้งให้สุก คือ ร้อยละ 20 ของน้ำหนักแป้งชื้นสภาวะที่เหมาะสมในการทำแห้งเส้นขนมจีนแบบเส้นตรง คือ ใช้อุณหภูมิ 75 องศานาน 45 นาที และอบแห้งที่อุณหภูมิ 45 องศานาน 15 นาที วิธีการบริโภคโดยแช่ขนมจีนแห้งในน้ำ 5 นาที แล้วต้มในน้ำเดือด 5 นาที หรือต้มในน้ำเดือดทันที 8 นาที ต่อมาในปี 2545 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้ให้เงินทุนแก่คณะนักวิจัยเพื่อสนันสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ชุมชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาไทยให้มีคุณภาพนำไปสู่เชิงพาณิชย์ และเป็นการเสริมอาชีพและรายได้ให้แก่ชุมชนอีกทางหนึ่งโดยทำการเผยแพร่เทคโนโลยีผ่านสื่อต่างๆ รวมทั้งการประชุมสัมนาหลายครั้งทำให้เกิดการรวมตัวของผู้สนใจและก่อตั้งสหกรณ์สายทิพย์ จำกัด ขึ้นเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2545 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติเล็งเห็นความสำคัญในการแปรรูปข้าวให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นและมีศักยภาพในการส่งสินค้าออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ จึงให้ทุนอุดหนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปีงบประมาณ 2546 ให้คณะนักวิจัยพัฒนาโครงการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาเครือข่ายแปรรูปขนมจีนอบแห้งและน้ำยาผงเพื่อการส่งออกโดยพัฒนาต้นแบบเทคโนโลยีศูนย์ผลิตขนมจีนอบแห้งและน้ำยาผงกึ่งสำเร็จรูปบ้านประโดกควบคู่กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมจีนอบแห้งและน้ำยาผงกึ่งสำเร็จรูป และบรรจุภัณฑ์ให้สามารถเก็บรักษาได้นานขึ้นรวมทั้งจำหน่ายไปยังผู้บริโภคได้อย่างทั่วถึงรวมทั้งศึกษาการเปลี่ยนแปลงชนิดและปริมาณของจุลินทรีย์ และสารให้กลิ่นรสในกระบวนการผลิตขนมจีนแป้งหมักที่มีบทบาทสำคัญต่อการเกิดกลิ่นรสที่เป็นเอกลักษณ์ของขนมจีนแป้งหมัก การพัฒนาสหกรณ์สายทิพเพื่อความเข้มแข็งหลังได้สำรวจและติดต่อกับสมาชิกสหกรณ์สายทิพที่สนใจเข้าร่วมทำธุรกิจขนาดย่อมแบบเครือข่ายคณะผู้วิจัยจึงได้ไปถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตขนมจีนอบแห้งและน้ำยาผงกึ่งสำเร็จรูปณ สถานที่ผลิตของสมาชิก พร้อมทั้งได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่ได้จัดอบรมแนวทางการปรับปรุงวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร(GMP) จัดทำคู่มือการผลิตจัดสัมมนาเพื่อหาคู่ค้าให้แก่สหกรณ์สายทิพ พร้อมทั้งจัดประชุมกลุ่มสมาชิกสหกรณ์เพื่อให้สามารถวางแผนระบบธุรกิจแบบเครือข่าย โดยให้สมาชิกสหกรณ์กลุ่มผู้ผลิตส่งสินค้าให้สหกรณ์สหกรณ์จัดหาตลาดและวัตถุดิบจำเป็นให้แก่ผู้ผลิต ปัจจุบันสมาชิกสหกรณ์สายทิพสามารถจำหน่ายสินค้าไปยังตลาดต่างๆทั้งในและต่างประเทศได้แล้ว การพัฒนาต้นแบบเทคโนโลยีศูนย์ผลิตขนมจีนอบแห้งและน้ำยาผงกึ่งสำเร็จรูปบ้านประโดกคณะผู้วิจัยได้จัดสร้างโรงงานต้นแบบ สำหรับผลิตขนมจีนอบแห้งและน้ำยาผงกึ่งสำเร็จรูปที่บ้านประโดกตำบลหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จนเป็นที่เรียบร้อยแล้วในปลายปี 2547 โดยนำเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิตที่ผลิตโดยฝีมือช่างไทยไปติดตั้งใช้งานในโรงงานที่ตั้งอยู่ที่โรงเรียนบ้านประโดก-โคกไผ่ โรงงานสามารถผลิต สินค้าออกจำหน่ายได้แล้วและได้ใช้โรงงานเป็นสถานที่สาธิต ฝึกอบรม เทคโนโลยีการผลิตขนมจีนให้แก่ผู้สนใจทั่วไป การศึกษาการเปลี่ยนแปลงชนิดและปริมาณของจุลินทรีย์และสารให้กลิ่นรสในกระบวนการผลิตขนมจีนแป้งหมักซึ่งอาศัยการหมักตามธรรมชาติจุลินทรีย์หลักที่พบได้แก่ แบคทีเรียกรดแล็กติก ยีสต์ รวมทั้งแบคทีเรียบาซิลลัสนอกจากนี้ยังพบการปนเปื้อนของ Staphylococcus aureus, Coliform และEscherichia coli จากวัตถุดิบและผู้ผลิต แบคทีเรียกรดแล็กติกเป็นกลุ่มที่พบมากที่สุดในทุกขั้นตอนการผลิตซึ่งมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับการเปลี่ยนแปลง %Titratable acidity ของกรดแล็กติก ดังนั้นแบคทีเรียกรดแล็กติกอาจมีบทบาทสำคัญในการผลิตขนมจีนแป้งหมักจึงทำการคัดแยกและจำแนกแบคทีเรียกรดแล็กติกจำนวน 145 ไอโซเลตจากข้าวหมักพบว่าจัดเป็นสกุล Lactobacillus, Leuconostoc, Lactococcus, Pediococcus และ Enterococcus โดยสกุล Lactobacillus และ Leuconostoc สามารถย่อยแป้งได้และสกุล Lactobacillus สามารถผลิตกรดได้ดีที่สุด สำหรับการวิเคราะห์สารระเหยให้กลิ่นในกระบวนการผลิตขนมจีนด้วยเทคนิค Dynamic headspace-Gas Chromatography-Mass spectrometry พบว่ามีสารระเหยมากกว่า 30 ชนิด แบ่งเป็น 5 กลุ่มหลักได้แก่ แอลกอฮอล์ เอสเทอร์ สารประกอบคาร์บอนิลกรดโมเลกุลเล็กและอื่น ๆ ซึ่งมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงปริมาณสัมพันธ์กับแบคทีเรียกรดแล็กติกและยีสต์ดังนั้นจุลินทรีย์ทั้งสองชนิดอาจมีบทบาทที่สำคัญต่อกลิ่นรสของขนมจีนแป้งหมักโดยกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของขนมจีนแป้งหมักเกิดจากการรวมกันของสารระเหยหลายชนิดได้แก่ acetic acid, butyric acid, isopentanoic acid และ diacetyl เป็นต้น 1 ผลิตภัณฑ์ขนมจีนอบแห้ง จากการค้นคว้าวิจัยเพื่อที่จะนำเอาขนมจีนส่วนที่เหลือหลังการบริโภคหรือจำหน่ายถ้าปล่อยทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์จะเกิดการบูดเสีย ต้องสูญเสียทั้งเงินลงทุนและวัตถุดิบ อันเป็นการก่อให้เกิดปัญหาการขาดผลกำไรในการประกอบการ จึงมีความพยายามหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อเก็บรักษาขนมจีนให้มีระยะเวลานานยิ่งขึ้น โดยจะนำมาไล่ความชื้นโดยการตากแดดหรือใช้ตู้อบลมร้อน เพื่อให้ได้ขนมจีนอบแห้งตามต้องการ ผลิตภัณฑ์ขนมจีนอบแห้งเป็นอาหารที่กำลังได้รับความนิยมรับประทานและยังเป็นของฝากได้อีกด้วย เพราะง่ายต่อการนำมาบริโภคและสามารถเก็บไว้ได้เป็นเวลานาน ผลิตภัณฑ์ขนมจีนอบแห้ง มีอยู่ด้วยกันหลายแบบหลายสีตามความต้องการของผู้บริโภค 2.1 การออกแบบ การออกแบบ คือ การวางแผนการสร้างเครื่องโครงสร้างระบบหรือกระบวนการต่างๆ เพื่อแสดงปัจจัยต่างๆ ที่ต้องการในกระบวนการออกแบบประกอบไปด้วย 1. การเข้าใจในสิ่งที่ต้องการและข้อกำหนดสิ่งที่ต้องการนั้นอยู่ในรูปเงื่อนไขทั่วไปเพื่อจำกัด ขอบเขตของปัญหา 2. การพิจารณาวิธีการต่างๆ สำหรับแก้ไขปัญหา และเลือกเอาวิธีใดวิธีหนึ่งเพื่อเจาะเข้าไป ในรายละเอียด ศึกษาความเป็นไปได้ของแต่ละขั้นตอนในขบวนการ 3. การสร้างแบบจำลองและแสดงรายละเอียดของส่วนประกอบที่สำคัญ 4. การออกแบบส่วนประกอบทั้งหมดพร้อมทั้งเตรียมแบบรายละเอียดต่างๆ ในช่วง แรกของการออกแบบผู้ออกแบบจะต้องใช้จินตนาการในการออกแบบอย่างเต็มที่แบบรายละเอียด การออกแบบที่สมบูรณ์คือข้อมูลในการตัดสินใจในขั้นตอนต่อผู้ออกแบบต้องใช้กฎพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์จากข้อมูลที่กำหนดไว้อย่างไรก็ตามจะต้องเข้าใจว่า วิทยาศาสตร์เป็นเพียงข้อกำหนดที่ ตั้งขึ้นเพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้ออกแบบดังนั้นการตัดสินใจจะเป็นตัวบ่งชี้คุณลักษณะของการออกแบบ การออกแบบเครื่องจักรกลจะต้องทำตามขั้นตอนดังนี้ เครื่องจักรกลจะถูกประกอบหลังจากได้ทำการจัดเตรียมส่วนประกอบต่างๆ ของเครื่องจักรกลแล้ว จากนั้นจะเป็นการวิเคราะห์แรง(ซึ่งจะยังไม่สมบูรณ์เพราะยังไม่ได้พิจารณาถึงชิ้นส่วนที่มีการเคลื่อนที่) จากข้อมูลส่วนประกอบที่ได้ออกแบบไว้ สามารถออกแบบส่วนประกอบย่อยได้อีก (เป็นการทดลองดูก่อน) หลังจากนั้นจะเป็นการวิเคราะห์แรงที่แน่นอนอย่างละเอียด ขั้นสุดท้ายของการออกแบบจะพิจารณาถึงผลกระทบต่างๆ และการแก้ไขปัจจัยทางด้านความแข็งแรง เช่น น้ำหนัก ขนาด ชนิดวัสดุ ราคา และกรรมวิธีการผลิตอื่นๆ 2.2 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดองค์ประกอบของงานออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบผลิตภัณฑ์มีปัจจัย (Design factors) มากมายที่นักออกแบบที่ต้องคำนึงถึง แต่ในที่นี้จะขอกล่าวเพียงปัจจัยพื้นฐาน 10 ประการ ที่นิยมใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาสร้างสรรค์ผลงานเชิงอุตสาหกรรม ซึ่งปัจจัยดังกล่าวเป็นปัจจัยที่สามารถควบคุมได้และเป็นตัวกำหนดองค์ประกอบของงานออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ ได้แก่ 1. หน้าที่ใช้สอย (Function) ผลิตภัณฑ์ทุกชนิดจะต้องมีหน้าที่ใช้สอยถูกต้องตามเป้าหมายที่ตั้งไว้คือสามารถตอบสนองประโยชน์ใช้สอยตามที่ผู้บริโภคต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพในหนึ่งผลิตภัณฑ์นั้นอาจมีหน้าที่ใช้สอยอย่างเดียวหรือหลายหน้าที่ก็ได้ แต่หน้าที่ใช้สอยจะดีหรือไม่นั้น ต้องใช้งานไประยะหนึ่งถึงจะทราบข้อบกพร่อง 2. ความสวยงามน่าใช้ (Aesthetics or sales appeal) ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมานั้นจะต้องมีรูปทรง ขนาด สีสันสวยงาม น่าใช้ตรงตามรสนิยมของกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายเป็นวิธีการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมและได้ผลดี เพราะความสวยงามเป็นความพึงพอใจแรกที่คนเราสัมผัสได้ก่อนมักเกิดมาจากรูปร่างและสีเป็นหลักการกำหนดรูปร่างและสีในงานออกแบบผลิตภัณฑ์นั้นไม่เหมือนกับการกำหนดรูปร่างและสีในงานจิตรกรรม ซึ่งสามารถที่จะแสดงหรือกำหนดรูปร่างและสีได้ตาม
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :-
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :7878 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายนัฐพันธ์ พูนวิวัฒน์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย50
นายอำนาจ ประจง บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย30
นายอนุสรณ์ สินสะอาด บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย20

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด