รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000659
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การออกแบบและพัฒนาจักรยานไฟฟ้าต้นแบบ (NSRU e-Bike) พร้อมแท่นชาร์จแบตเตอรี่แบบสลับ เปลี่ยนต้นแบบที่ควบคุมผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Designed and developed an NSRU e-Bike and a swapping battery charging stand prototypes controlled via a smartphone application
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :จักรยานไฟฟ้า, แบตเตอรีสลับเปลี่ยน, มอเตอร์ดีซีบัสเลส, การควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้าแบบจัดปรับ สนามแม่เหล็ก
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม > ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :86000
งบประมาณทั้งโครงการ :86,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :18 มีนาคม 2567
วันสิ้นสุดโครงการ :17 มีนาคม 2568
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขาวิชาการ :สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
กลุ่มวิชาการ :วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับนานาชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ปัจจุบันแนวโน้มการใช้ยานพาหนะในการเดินทางเริ่มเปลี่ยนแปลงจากการใช้เครื่องยนต์แบบสันดาปซึ่งมีการเผาไหม้ เชื้อเพลิงฟอสซิล (Fossil Fuel) ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยการปล่อยมลพิษทางอากาศ ฝุ่น ควันและเสียง ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน มาเป็นยานพาหนะที่ใช้ พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น เช่น รถไฟฟ้า จักรยานยนต์ไฟฟ้า จักรยานไฟฟ้า สกู๊ตเตอร์ (Scooter) เซกเวย์ (Segway) เป็นต้น ในหลายๆ ประเทศเริ่มมีการ ส่งเสริมให้มีการผลิตและใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า (Electrical Vehicle: EV) มากขึ้น ได้แก่ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา จีน อังกฤษ แคนาดา ไต้หวัน เป็นต้น สำหรับประเทศไทยเองก็มีนโยบายสนับสนุน เช่น ปลอดภาษีในการซื้อรถไฟฟ้า ลดราคาค่าไฟฟ้า เป็นต้น ตลอดจนมุ่นเน้นให้เกิดการวิจัยและพัฒนา เกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้าและสถานีชาร์จ โดยเฉพาะในสถาบันอุดมศึกษาเพื่อเป็นสถานที่บริการวิชาการเกี่ยวกับทักษะอาชีพในอนาคตเพื่อรองรับอาชีพ ใหม่ในอนาคตอันใกล้ เนื่องด้วยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์มีนโยบายผลักดันเกิดการสร้างศูนย์พัฒนากำลังคนเพื่อเน้นการวิจัยและสร้างทักษะต่อ อาชีพใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ดังเห็นได้จากการเปิดหลักสูตรในสาขายานยนต์ไฟฟ้า ที่เริ่มรับนักศึกษารุ่นแรกไปแล้วในปีการศึกษา 2566 ซึ่ง ทีมวิจัยเล็งเห็นว่านักศึกษาจะสามารถเรียนรู้ได้ดีจากการลงมือปฏิบัติจริงจากยานยนต์ไฟฟ้าจริง หรืออุปกรณ์ชุดฝึก ดังนั้น จึงเกิดโครงการวิจัยเรื่องการ ออกแบบและสร้างต้นแบบจักรยานไฟฟ้าและแท่นชาร์จแบตเตอรี่แบบสลับสับเปลี่ยนที่สามารถควบคุมผ่านแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน และใช้ต้น กำลังประเภทมอเตอร์กระแสตรงชนิดบัสเลสดีซีมอเตอร์ที่สามารถความคุมการทำงานด้วยกล่องคอนโทรล และใช้แบตเตอรี่ประเภทลิเทียมไอออน ฟอสเฟต (Lithium iron phosphate) เป็นแหล่งพลังงานหลักในการขับเคลื่อน และมีระบบจัดการพลังงานและแบตเตอรีด้วยอุปกร์อิเล็กทรอนิกส์ กำลังที่เชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันที่ออกแบบขึ้นโดยเฉพาะสำหรับงานวิจัยนี้ เพื่อเป็นชุดฝึกปฏิบัติการและถ่ายทอดทักษะด้านนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ให้กับนักศึกษาและประชาชนที่สนใจ เพื่อการใช้งานจริงในอนาคต และเป็นอัตลักษณ์ที่ดีต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์อีกด้วย จุดเด่นของงาน วิจัยในแต่ละส่วน จักรยานไฟฟ้า (NSRU e-Bike) เน้นเทคโนโลยีที่หาได้ง่ายในประเทศเป็นหลัก ตัวโครงจะศึกษาและออกแบบและทดสอบจากวัสดุที่ มีนํ้าหนักเบา มอเตอร์ดีซีบัสเลส ที่ใช้วิธีควบคุมแบบเวกเตอร์คอนโทรลด้วยวิธีจัดปรับสนามแม่เหล็ก (Field Orient Controlled: FOC) จะเป็น สามารถเพิ่มแรงบิด Torque ในย่าน Field weakening Speed ที่เป็นจุดด่อยของการควบคุมแบบอื่นๆ ได้มีการติดตั้ง Sensor ปรับความเร็วและ แรงบิดเมื่อขึ้นทางลาดชัน เพื่อควบคุมการจ่ายกระแสของแบตเตอรีที่มากเกินไปทำให้ระบบร้อนแสะสูญเสียพลังงานมาก แบตเตอรีที่ใช้เป็นแบบ Li- Ion ที่มีประสิทธิภาพในการจ่ายกระแสสูงต่อเนื่องได้ (C-rate) แบตเตอรีเป็นแบบสลับเปลี่ยนได้ (Swapping) ซึ่งสะดวกต่อการใช้งาน ด้านการประหยัดเวลา ที่มีประสิทธิภาพสูงแต่ใช้พลังงานตํ่า ในการควบคุมมอเตอร์และคำนวณค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญ เช่น SOC, Speed, Range เป็นต้น สามารถเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันบนสามารถโฟนได้ ซึ่งสามารถเรียกดูข้อมูลของจักรยานไฟฟ้าได้ เป็นชุดฝึกปฏิบัติทางวิศวกรรมด้านการออกแบบและ สร้างยานยนต์ไฟฟ้า 2 ล้อ และการควบคุมรวมถึงการสื่อสารแบบ CANBUS 2) แท่นชาร์จแบบสลับเปลี่ยนแบตเตอรี เหมาะแก่การใช้ในระบบ สาธารณะ เช่น การสร้างให้เกิดระบบ e-Bike sharing ใน มรภ. นครสวรรค์ เพื่อบริการแก่นักศึกษา หรือเช่า ที่สามารถนำรายได้มาสู่องค์กร ในท้อง ตลาดยังไม่มีจำหน่าย เนื่องจาก ยังไม่มีผู้นำเข้าอย่างเป็นทางการจากต่างประเทศ จึงเป็นข้อดีของการริเริ่มวิจัยในโครงการนี้ สามารถต่อยอดเป็นสถานี ชาร์จโดยใช้พลังงานทดแทน เช่น โซลาร์เซลล์ หรือ สร้างเป็น Solar parking ในแต่ละอาคารได้ เป็นชุดฝึกปฏิบัติทางวิศวกรรมในการออกแบบและ สร้างเครื่องชาร์จ และการควบคุมการชาร์จด้วยโหมดต่างๆ
จุดเด่นของโครงการ :จักรยานไฟฟ้า (NSRU e-Bike) เน้นเทคโนโลยีที่หาได้ง่ายในประเทศเป็นหลัก ตัวโครงจะศึกษาและออกแบบและทดสอบจากวัสดุที่ มีนํ้าหนักเบา มอเตอร์ดีซีบัสเลส ที่ใช้วิธีควบคุมแบบเวกเตอร์คอนโทรลด้วยวิธีจัดปรับสนามแม่เหล็ก (Field Orient Controlled: FOC) จะเป็น สามารถเพิ่มแรงบิด Torque ในย่าน Field weakening Speed ที่เป็นจุดด่อยของการควบคุมแบบอื่นๆ ได้มีการติดตั้ง Sensor ปรับความเร็วและ แรงบิดเมื่อขึ้นทางลาดชัน เพื่อควบคุมการจ่ายกระแสของแบตเตอรีที่มากเกินไปทำให้ระบบร้อนแสะสูญเสียพลังงานมาก แบตเตอรีที่ใช้เป็นแบบ Li- Ion ที่มีประสิทธิภาพในการจ่ายกระแสสูงต่อเนื่องได้ (C-rate) แบตเตอรีเป็นแบบสลับเปลี่ยนได้ (Swapping) ซึ่งสะดวกต่อการใช้งาน ด้านการประหยัดเวลา ที่มีประสิทธิภาพสูงแต่ใช้พลังงานตํ่า ในการควบคุมมอเตอร์และคำนวณค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญ เช่น SOC, Speed, Range เป็นต้น สามารถเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันบนสามารถโฟนได้ ซึ่งสามารถเรียกดูข้อมูลของจักรยานไฟฟ้าได้ เป็นชุดฝึกปฏิบัติทางวิศวกรรมด้านการออกแบบและ สร้างยานยนต์ไฟฟ้า 2 ล้อ และการควบคุมรวมถึงการสื่อสารแบบ CANBUS 2) แท่นชาร์จแบบสลับเปลี่ยนแบตเตอรี เหมาะแก่การใช้ในระบบ สาธารณะ เช่น การสร้างให้เกิดระบบ e-Bike sharing ใน มรภ. นครสวรรค์ เพื่อบริการแก่นักศึกษา หรือเช่า ที่สามารถนำรายได้มาสู่องค์กร ในท้อง ตลาดยังไม่มีจำหน่าย เนื่องจาก ยังไม่มีผู้นำเข้าอย่างเป็นทางการจากต่างประเทศ
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1) ออกแบบและพัฒนาจักรยานไฟฟ้าต้นแบบ (NSRU E-Bike) ขนาด 2 ล้อ ขับเคลื่อนที่ล้อหลัง ใช้แบตเตอรีชนิดลิเทียมไอออนที่สามารถ สลับเปลี่ยนได้ (Swapping) โดยใช้มอเตอร์ดีซีบัสเลสเป็นระบบขับเคลื่อนหลัก การควบคุมมอเตอร์แบบการจัดปรับสนามแม่เหล็ก (FOC controller) ด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ 32-bit แบบ DSP จักรยานไฟฟ้าติดตั้งระบบเซนเซอร์พร้อม GPS 2) ออกแบบและสร้างแท่นชาร์จแบตเตอรีแบบสลับ เปลี่ยนต้นแบบ (NSRU Swapping station) จำนวน 2 ช่องชาร์จ/สล๊อต ที่ควบคุมด้วยไมโคคอนโทรลเลอร์ 32-bit สามารถเชื่อมระบบผ่าน IoT network (Client and server) ระหว่างจักรยานไฟฟ้าและสถานีชาร์จได้ 3) ออกแบบและสร้างแอปพลิเคชันที่แสดงผลข้อมูล และเชื่อมระบบผ่าน IoT network ระหว่างจักรยานไฟฟ้าและสถานีชาร์จได้
ขอบเขตของโครงการ :ออกแบบและพัฒนาจักรยานไฟฟ้าต้นแบบ (NSRU E-Bike) ขนาด 2 ล้อ ขับเคลื่อนที่ล้อหลัง ใช้แบตเตอรีชนิดลิเทียมไอออนที่สามารถ สลับเปลี่ยนได้ (Swapping) โดยใช้มอเตอร์ดีซีบัสเลสเป็นระบบขับเคลื่อนหลัก การควบคุมมอเตอร์แบบการจัดปรับสนามแม่เหล็ก (FOC controller) ด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ 32-bit แบบ DSP จักรยานไฟฟ้าติดตั้งระบบเซนเซอร์พร้อม GPS และแท่นชาร์จ NSRU Swapping station จำนวน 2 ช่องชาร์จ/สล๊อต ที่มีแอปพลิเคชันสำหรับแสดงผลและควบคุมระบบ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :ได้จักรยานไฟฟ้าต้นแบบ (NSRU E-Bike) จำนวน 1 คัน ที่สามารถนำไปเป็นสื่อการสอนและชุดฝึกปฏิบัติทางวิศวกรรมได้ 2. ได้แท่น ชาร์จ NSRU Swapping station จำนวน 2 ช่องชาร์จ/สล๊อต จำนวน 1 แท่น ที่สามารถนำไปเป็นสื่อการสอนและชุดฝึกปฏิบัติทางวิศวกรรมได้ 3. ได้ แอปพลิเคชันสำหรับแสดงผลและควบคุมระบบจักรยานไฟฟ้าต้นแบบ (NSRU E-Bike) สามารถนำไปต่อยอดในเชิงธุระกิจได้
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :ณัฐชัย โปธินำเสนอการออกแบบยานยนต์ 4 ล้อ ขับเคลื่อน 2 ล้อหลัง ใช้มอเตอร์กระแสตรงชนิดบัสเลสดีซีมอเตอร์ (Brushless DC Motor: BLDC) เป็นต้นกำลัง โดยใช้แบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออนฟอสเฟตเป็นพลังงานหลัก และออกแบบระบบส่งถ่ายกำลังด้วยโซ่และชุดเกียร์ทดรอบเพื่อสามารถปรับแต่งความเร็วได้ตามต้องการ ผลการ ประเมิน สมรรถนะยานยนต์พบว่า ความเร็วสูงสุดกรณีบรรทุกผู้โดยสาร 1 คน เท่ากับ 29.4 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กรณีบรรทุกผู้โดยสาร 2 คน เท่ากับ 28.4 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระยะทางสูงสุดที ขับเคลื อนต่อการชาร์จ 1 ครั้ง เท่ากับ 21.398 กิโลเมตร ระยะเวลาสูงสุดที่ขับเคลื่อนต่อการชาร์จ 1 ครั้ง เท่ากับ 46.48 นาทีและมีอัตราการสิ้นเปลื้องพลังงานต่อการชาร์จ 1 ครั้ง โดยใช้พลังงานไฟฟ้า 8 กิโลวัตต์ชั วโมง คิดเป็น 35 บาท P. Treeyakarn และคณะ นำเสนอการวิเคราะห์สมรรถนะของรถยนต์ไฟฟ้าเมื่อใช้แบตเตอรี่ ประเภทต่างๆ รถยนต์ไฟฟ้าถูกสร้างขึ้นเพื่อการทดสอบ ติดตั้งมอเตอร์ BL DC ขนาด 5 กิโลวัตต์เลือกแบตเตอรี ลิเธียมเหล็กฟอสเฟตและแบตเตอรี ตะกั่วกรดรอบลึกที่มีความจุเท่ากันที 48V 120 Ah รถยนต์ไฟฟ้าได้รับการทดสอบบนเครื่องวัดไดนาโมมิเตอร์ของแชสซีโดยมีการทดสอบ 2 โหมด มีการวิ่งสองครั้งใน 5 รอบในเมือง และขับต่อเนื่องในวงจรการขับขี่ในเมืองจนกระทั่งรถยนต์ไฟฟ้าไม่สามารถทำความเร็วได้ถึง 50 กม./ชม. ขณะทำการทดสอบได้ดำเนินการวิเคราะห์กำลังไฟฟ้าเพื่อบันทึกข้อมูลไฟฟ้าต่างๆ ผลการวิจัยพบว่ารถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ลิเธียมเหล็กฟอสเฟตสามารถตอบสนองการเข้าถึงโปรไฟล์เส้นโค้งความเร็วเป้าหมายได้ดีกว่าเมือใช้แบตเตอรีตะกั่วกรดรอบลึก นอกจากนี้ ระยะการขับขี่ต่อการชาร์จหนึ่งครั้งของรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี ลิเธียม-ไอรอนฟอสเฟตก็ยาวขึ้นเช่นกัน Xian Zhang ได้ศึกษากรอบกำหนดการแบตเตอรี่ เพื่อจัดส่งแบตเตอรี่ระหว่างสถานีชาร์จแบตเตอรี (BCS) และสถานีเปลี่ยนแบตเตอรี (BSS) อย่างมีประสิทธิภาพ รูปแบบการจ่ายแบตเตอรี่ แบบสองทิศทางเพื่อลดต้นทุนการขนส่งนั้นถูกสร้างขึ้นและแก้ไขโดยวิธี PSO ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อพิจารณาถึงข้อจำกัดด้านความสามารถในการให้บริการอัลกอริทึมการจัดกลุ่ม K-mean ถูกนำมาใช้เพื่อแบ่งพาร์ติชัน BCS และ BSS ล่วงหน้าเพื่อให้การจ่ายแบตเตอรี่ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น ในที่สุดวิธีการที่เสนอได้รับการตรวจสอบโดยกรณีการขนส่งแบตเตอรี่ในเขตเมือง Bansilal Bairwa และคณะ นำเสนอแนวทางใหม่ในการให้บริการเปลี่ยนแบตเตอรี่แก่ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่สถานีเคลื่อนที สำหรับเปลี่ยนแบตเตอรี่ ประการแรก บทความนี้ กำหนดสถาปัตยกรรมโครงสร้างสำหรับการให้บริการการแลกเปลี่ยนที่ราบรื่นและมีประสิทธิภาพแก่ผู้ใช้ยังกำหนดหน้าที่ และบทบาทของเอนทิตีต่างๆ ที่มีอยู่ในองค์กร และ กำหนดความแตกต่างระหว่างสถานีชาร์จและสถานีสลับ ประการที่สอง ให้คำอธิบายสั้น ๆ เกียวกับการทำงานของกลไกที่เกียวข้องในหน่วยสลับอุปกรณ์เคลือนที่ นอกจากนีแอปพลิเคชันมือถือและการสื่อ สารระหว่างผู้ใช้กับระบบการจัดการบริการ และกำหนดวิธีที่ผู้ใช้สามารถส่งคำขอแจ้งข้อร้องเรียนผ่านแอปพลิเคชัน ประการที่สาม พลังงานที่ใช้โดยหน่วยสลับแบตเตอรี เวลาทำงาน และวิธี การชาร์จโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ข้างต้นได้รับการสนับสนุนโดยการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ กอบชัย จันทรดิลกรัตน์และคณะ นำเสนอการก่อสร้างรถจักรยานไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อเวลาใช้จักรยานไฟฟ้าได้นานขึ้น ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์กับจักรยานยนต์ไฟฟ้า 36 V, 350 W พร้อมแผงโซล่าเซลล์ 12 V, 40 W. เครื่องควบคุมการประจุไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 12/24 V, 10 Ah และอินเวอร์เตอร์ (Input 12-24 V/Output 12-80 V) 10 Ah เพี่อชาร์จแบตเตอรี ผลการทดลองพบว่าระยะเวลาการใช้งานรถจักรยานไฟฟ้าที่ความเร็ว 15 และ 30 กม./ชม. เพิ่มขึ้น
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :-
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :3 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายจักราวุฒิ เตโช บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย60
นายภานุพล ไตรรัตน์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยรองหัวหน้าโครงการวิจัย40

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด