รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000234
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาด้าน หัตถกรรมพื้นบ้านจักสานเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Development of Community Potential in Local Wisdom of Wickerwork Application for Community Economic Development on Sufficiency Economy
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :ศักยภาพชุมชน (Community potential)หัตถกรรมพื้นบ้านจักสาน (Wickerwork) การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน (Community Economic Development) การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Apply Local wisdom)
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :500000
งบประมาณทั้งโครงการ :500,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :11 พฤศจิกายน 2558
วันสิ้นสุดโครงการ :10 พฤศจิกายน 2559
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาสังคมวิทยา
กลุ่มวิชาการ :สังคมวิทยา
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจในปัจจุบัน สังคมไทยได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการพึ่งตนเองตามวิถีไทย โดยการน้อมนำแนวพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตทั้งส่วนบุคคล ชุมชน และสังคมไทยโดยรวม เพราะโดยพื้นฐานสังคมไทยมีทุนทางสังคมที่มีคุณค่ามหาศาลอยู่ในตัวอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นพื้นฐานจากการที่ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ความอุดมสมบูรณ์ด้านพืชพรรณธัญญาหาร ศิลปวัฒนธรรม ความหลากหลายในภูมิปัญญาไทยที่สั่งสมมายาวนาน และมีการกระจายอยู่ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ การพัฒนาประเทศที่เน้นวัฒนธรรมและภูมิปัญญาจึงได้รับการหยิบยกขึ้นมาเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน คนว่างงาน และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวชนบทให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น หลักการของการพัฒนาคือ การใช้ความรู้ความสามารถที่ชุมชนมีอยู่เดิมในการสร้างรายได้อย่างเป็นกระบวนการและเชื่อมโยงไปสู่การสร้างชุมชนเข้มแข็ง โดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจชุมชน ซึ่งมีลักษณะสำคัญคือ ครอบครัวเป็นหน่วยการผลิต แรงงานของสมาชิกในครอบครัวเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญที่สุด พึ่งแรงงานในครอบครัว พึ่งทรัพยากรท้องถิ่น พึ่งตัวเอง และพึ่งกันเองในชุมชนเป็นขั้นตอนพื้นฐาน เศรษฐกิจฝังตัวอยู่ในสังคมและวัฒนธรรม ธุรกิจชุมชนที่เกิดจากครอบครัวชุมชนมาจากรากฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นและพลังอันเป็นศักยภาพ ตลอดจนทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนนั้นชุมชน การจักสานไม่เพียงแต่สะท้อนความสามารถของคนในชุมชน แต่ยังได้สะท้อนให้เห็นถึงสภาพภูมิศาสตร์ สังคม ค่านิยม ตลอดจนปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตเครื่องจักสานไม้ไผ่ได้เด่นชัดอีกด้วย เช่น เครื่องมือจับสัตว์น้ำเริ่มใช้น้อยลงและอาจจะถึงขั้นยุติการสาน เพราแม่น้ำเริ่มตื้นเขิน หรือเน่าเสีย ที่ใดมีการสร้างเขื่อนกั้นน้ำยิ่งเป็นการเร่งการยุติภูมิปัญญาชาวบ้านเกี่ยวกับการทำเครื่องจักสานให้ตายไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติอย่างฉับพลัน และปัจจุบันสังคมยุคอุตสาหกรรมซึ่งนิยมการใช้เครื่องจักรผลิตของใช้ต่างๆ ไม้ไผ่ที่ใช้ทำเครื่องจักสานก็ถูกทำลายเพื่อขยายที่ทำกิน นอกจากนี้ช่างหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่สิ้นชีวิตลงเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นผู้สูงอายุ ซึ่งล้วนเป็นสาเหตุการลดปริมาณการผลิตเครื่องจักสานไม้ไผ่ลงไปจากอดีตในสัดส่วนที่รวดเร็วจนน่าวิตก องค์ความรู้ที่ชาวบ้านตำบลบางมะฝ่อ อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีป่าไผ่เป็นพืชเศรษฐกิจและเป็นสมบัติตกทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณกาลขึ้นอยู่ทั่วไปและถือเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนตำบลบางมะฝ่อ อีกทั้งยังใช้เป็นวัสดุในผลิตหัตถกรรมจักสานซึ่งเป็นอาชีพที่ก่อให้เกิดรายได้โดยตรงมายาวนานตั้งแต่คนรุ่นปู่ย่าตายาย ทำให้ชุมชนมีการผลิตสินค้าจากต้นไผ่แทบทุกครัวเรือนควบคู่กับการประกอบอาชีพทำนา (อัมพร รัตนวรสุทธิ์, สัมภาษณ์ 5 สิงหาคม 2557) ทั้งนี้ชาวบ้านมีความรู้ในการดัดแปลงแปรรูปเป็นวัสดุที่ใช้ทำเครื่องจักสานด้วยวิธีง่ายๆแต่สนองการใช้สอยได้ดี เช่น สานเครื่องดักจับสัตว์น้ำ ได้แก่ ลอบ ไซ สุ่ม สานกระบุง ตะกร้า ไว้ใส่ผลผลิตทางการเกษตร และอุปกรณ์ต่างในการดำเนินชีวิต เป็นต้น อันเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านที่ชาวบ้านเรียนรู้จากการสังเกตและการทดลองสืบต่อกันมาแต่บรรพบุรุษ และไม่สามารถผลิตด้วยเครื่องจักรตามระบบอุตสาหกรรมได้ สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นคุณลักษณะพิเศษของเครื่องจักสานที่มีคุณค่าในตัวเอง อย่างไรก็ตาม เนื่องจากยุคปัจจุบันได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ทำให้วิถีชีวิตของชาวบ้านตำบลบางมะฝ่อเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย จากการสำรวจข้อมูลภาคสนามเบื้องต้นและจากการประชุมหารือร่วมกันกับแกนนำชุมชนเพื่อค้นหาศักยภาพของชุมชน พบว่า พื้นที่แห่งนี้ต้องประสบปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากทุกปี เกษตรกรยังยากจนอยู่มากต้องแบกรับภาระหนี้สินที่เกิดจาการกู้เงินธนาคารหรือจากแหล่งเงินกู้นอกระบบอื่นๆ และสำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นจากอาชีพหัตถกรรมพื้นบ้านจักสานคือ กระบวนการผลิต ความเชี่ยวชาญ และการใช้เทคโนโลยีในการผลิต ทำให้ท้องถิ่นไม่สามารถพัฒนาได้เต็มประสิทธิภาพ อีกทั้งจำนวนครัวเรือนที่ประกอบอาชีพหัตถกรรมพื้นบ้านจักสานนี้ลดลงไปมาก คงเหลือแต่ช่างฝีมืออยู่เพียงบางคนหรือบางกลุ่มเท่านั้นที่มีความถนัดทางจักสานเป็นพิเศษ เนื่องจากยังขาดโอกาสในการสร้างและพัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะการออกแบบและกระบวนการผลิต การขาดผู้สืบทอดความรู้ อีกทั้งคนรุ่นใหม่ในชุมชนยังไม่ตระหนักในคุณค่าของการใช้ประโยชน์ป่าไผ่ในฐานะทุนทางเศรษฐกิจที่มีอยู่ในชุมชนที่เคยเป็นเศรษฐกิจฐานรากทำรายได้ให้กับชุมชนมาแล้วในอดีต ไม่เห็นความสำคัญของภูมิปัญญาอาชีพจักสานหันไปทำงานที่อื่นที่มีรายได้ดีกว่า และคาดว่าคุณค่าทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาน่าจะสูญหายไปจากชุมชนในไม่ช้า จากปัญหาที่ซับซ้อน กอปรกับต้องเผชิญกับความอยู่รอดในกระแสสังคมยุคโลกาภิวัตน์ ทำให้ชุมชนขาดการเรียนรู้อย่างเท่าทันกระแส เกิดปัญหาหนี้สินและความยากจนเป็นห่วงโซ่ เมื่อปัญหาส่วนใหญ่อยู่ที่สังคมฐานรากจึงควรมุ่งที่จะพัฒนายกระดับเศรษฐกิจของคนจนในชนชนบท เนื่องจากเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับปากท้องและเศรษฐกิจของชุมชน โดยการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาพื้นบ้านงานจักสานบนพื้นฐานของทักษะ กระบวนการ และเทคโนโลยีที่เรียบง่าย แต่เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่และเพิ่มมูลค่าให้แก่งานจักสานในเชิงพาณิชย์ อันเป็นการส่งเสริมให้ชาวบ้านหันมาพึ่งตนเองด้วยการใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านงานจักสานไม้ไผ่เป็นฐานในการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งและสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้คนในชุมชน สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างผลิตภัณฑ์ให้เป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อเป็นกลไกในส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภวัตน์และความเปลี่ยนแปลง
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อปัญหาและอุปสรรคในการนำภูมิปัญญาพื้นบ้านหัตถกรรมจักสานมาใช้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน 2. เพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาด้านหัตถกรรม พื้นบ้านจักสานเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ขอบเขตของโครงการ :ขอบเขตด้านพื้นที่ ตำบลบางมะฝ่อ อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ ขอบเขตด้านเนื้อหา 1. ปัญหาและอุปสรรคในการนำภูมิปัญญาพื้นบ้านหัตถกรรมจักสานมาใช้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน 2. พัฒนาศักยภาพของชุมชนในการใช้ประโยชน์จากไผ่เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเป็นรูปธรรม ขอบเขตด้านเวลา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :-
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :-
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :356 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางอุทัยวรรณ ภู่เทศ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด