รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000202
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการประกอบอาชีพของตำบลทับกฤช อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The Knowledge Management Local wisdoms in Professional of Tumbol Tabkrid Chumseang District Sawan Province
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :การจัดการความรู้(Knowledge Management) ภูมิปัญญาท้องถิ่น(Local Wisdoms)
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ > สาขาวิชาสังคมวิทยา
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :30000
งบประมาณทั้งโครงการ :30,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2556
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2557
ประเภทของโครงการ :การวิจัยพื้นฐาน
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาสังคมวิทยา
กลุ่มวิชาการ :สังคมวิทยา
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นความรู้ของชาวบ้าน ซึ่งเรียนรู้มาจากปู่ย่า ตายาย ญาติพี่น้อง หรือผู้มีความรู้ในท้องถิ่นต่างๆ เป็นองค์ประกอบความรู้ที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ผ่านการทดลองและนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง จนเกิดเป็นความรู้ของตนเองและสังคม ทั้งนี้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยให้เหมาะสมกับบริบทของสังคมทำให้สังคมอยู่รอดได้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นในแต่ล่ะพื้นที่จะมีบทบาทในการดำเนินวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนเราเป็นอย่างมาก ตำบลทับกฤช อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มติดแหล่งน้ำที่สำคัญคือแม่น้ำน่านและบึงบอระเพ็ด ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพดั้งเดิมที่ทำสืบต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน เช่น อาชีพจับปลา การทำปลาร้า ปลาเกลือ การต่อเรือ และอาชีพเกี่ยวกับการทำบัว เช่น การเก็บดอกบัว ใบบัว การขุดรากบัว การเก็บฝักบัวเพื่อไปจำหน่าย อาชีพต่าง ๆ เหล่านี้เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สามารถทำรายได้ให้แก่ชุมชนในตำบลทับกฤช จากความสำคัญดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการประกอบอาชีพของชาวบ้านตำบลทับกฤช อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ มีมาตั้งแต่ดั้งเดิม และส่วนใหญ่ประกอบอาชีพบนพื้นฐานการใช้ทรัพยากรในชุมชน ซึ่งอาชีพดังกล่าวได้ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นทำตามที่บรรพบุรุษสอนโดยมิได้อยู่ในรูปของระบบความรู้อย่างเป็นรูปธรรม จากข้อความดังกล่าวข้างต้น คณะผู้วิจัยต้องการที่จะศึกษาเรื่องการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการประกอบอาชีพของตำบลทับกฤช อำเภอชุมแสง จังหวัด นครสวรรค์ เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพท้องถิ่นของตำบลทับกฤชต่อไป
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :เพื่อศึกษากระบวนการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการประกอบอาชีพของ ตำบลทับกฤช อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :ขอบเขตด้านพื้นที่ ตำบลทับกฤช อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ยังพบว่ามีภูมิปัญญาด้านการประกอบอาชีพในท้องถิ่น ที่ยึดหลักการพึ่งตนเองและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน ขอบเขตด้านเนื้อหา 1.ศึกษาการประกอบอาชีพของชาวตำบลทับกฤชที่บนพื้นฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น 2.ศึกษากระบวนการจัดการความรู้ ขอบเขตด้านประชากร 1.ผู้ประกอบอาชีพทำบัว 2.ผู้ประกอบอาชีพต่อเรือ 3.ผู้ประกอบอาชีพจับปลา 4.ผู้ประกอบอาชีพทำปลาร้า 5.ผู้ประกอบอาชีพทำปลาเกลือ ขอบเขตด้านเวลา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ทราบภูมิปัญญาท้องถิ่นในการประกอบอาชีพของตำบลทับกฤช อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ได้รับการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ 2. องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้สามารถเป็นต้นแบบอย่างในการประกอบอาชีพต่าง ๆ ให้แก่คนในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียงหรือผู้ที่สนใจจะประกอบอาชีพบนรากฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น 3. เกิดคุณค่าทางการศึกษาด้วยการใช้ชุมชนเป็นฐานของการเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติ และ เป็นพื้นที่วิจัยแก่นักศึกษาของทางสถาบัน ตลอดจนเป็นชุมชนต้นแบบที่ใช้ชาวบ้าน และองค์กรในพื้นที่ต่างๆเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :1 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการความรู้ 2 แนวคิดเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น 3 บริบทตำบลทับกฤช
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :ใช้แนวคำถามประกอบการสัมภาษณ์ (Guide – line Interview) แบบเจาะลึก (In – depth Interview) และประเด็นในการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ในแต่ละประเด็น ที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น นอกจากนี้ยังใช้การสังเกตจากสีหน้าท่าทางของผู้ให้สัมภาษณ์ มีการบันทึกเสียง และใช้กล้องถ่ายรูปเพื่อเก็บข้อมูลเพิ่มเติม การเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บข้อมูลเอกสาร ได้รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัยและหนังสือต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อใช้เป็นกรอบในการศึกษา การเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยการสำรวจพื้นที่ที่จะศึกษา และนัดหมายผู้เกี่ยวข้อง โดยใช้วิธีการพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการเพื่อเป็นการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานในชุมชน อีกทั้งยังเป็นการสร้างสัมพันธภาพกับคนในชุมชน การใช้วิธีการสังเกตโดยตรง และการสังเกตแบบมีส่วนร่วมจากการเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน นอกจากนี้ยังใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) โดยเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Information) เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลการประกอบอาชีพของ ตำบลทับกฤช และใช้วิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group) เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างได้ระดมความคิดให้ได้มาซึ่งกระบวนการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการประกอบอาชีพของตำบลทับกฤช โดยผู้วิจัยทำการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลด้วยตนเอง
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :432 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
-อุทัยวรรณ ภู่เทศ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด