รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000156
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาเมต้าฮิวริสติกเพื่อเลือกทำเลที่ตั้งและจัดเส้นทางการขนส่งสำหรับการรองรับและบรรเทาภัยพิบัติฉุกเฉินในภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Development of meta-heuristics to facility location routing problem for disaster relief and emergency response in Lownorth, Thailand
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :การบรรเทาภัยพิบัติ ( disaster relief), การเลือกทำเลที่ตั้ง( facility routing problem),เมต้าฮิวริสติก (meta-heuristics)
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะวิทยาการจัดการ > สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :78000
งบประมาณทั้งโครงการ :78,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :11 มีนาคม 2558
วันสิ้นสุดโครงการ :10 มีนาคม 2559
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาเศรษฐศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :หลายปีที่ผ่านมา เหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงในหลายพื้นที่ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ได้สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน และส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ สังคมและสภาพแวดล้อมซึ่งไม่สามารถประเมินค่าได้ ภัยพิบัติมีความเชื่อมโยงกับมิติการพัฒนาและประเด็นปัญหาอื่นของประเทศ เช่น ความยากจน ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้การบริหารจัดการภัยพิบัติเป็นประเด็นท้าทายที่จะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในอนาคต (สคช., 2554)
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1.เพื่อศึกษาและพัฒนาตัวแบบทางคณิตศาสตร์สำหรับเลือกทำเลที่ตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมในรองรับสภาวะการณ์ฉุกเฉินและหาเส้นทางการขนส่งในการกระจายสิ่งของบรรเทาทุกข์ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ 2.เพื่อออกแบบวิธีการอัลกอริทึมที่สามารถใช้ในการแก้ปัญหาการเลือกทำเลที่ตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือและหาเส้นทางการขนส่งสินค้าและสิ่งของบรรเทาทุกข์ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ภายใต้วัตถุประสงค์ทางเศรษฐศาสตร์
ขอบเขตของโครงการ :งานวิจัยนี้ทำการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาการเลือกทำเลที่ตั้งที่ศูนย์ให้ความช่วยเหลือเหมาะสมใน รองรับสภาวการณ์ฉุกเฉินและหาเส้นทางการขนส่งในการกระจาย ทรัพยากรไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติเฉพาะในภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย จำนวน 9 จังหวัด ประกอบไปด้วย พิษณุโลก ตาก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี กำแพงเพชรและพิจิตร เท่านั้น ซึ่งเป็นกรณีศึกษาที่เป็นต้นแบบที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับพื้นที่ใกล้เคียงได้ ทั้งนี้การการทดสอบและเปรียบเทียบอาศัยการสร้างแบบจำลองและคำนวณด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยไม่มีการทดสอบกับสถานที่และยานพาหนะจริง ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้วิธีฮิวริสติก (heuristics) และวิธีเมต้าฮิวริสติก (meta-heuristics) ในการออกแบบวิธีการแก้ปัญหาการเลือกสถานที่ตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือและการจัดเส้นทางการขนส่ง โดยการจัดเส้นทางการขนส่งนั้น รถขนส่งจะต้องเดินทางไปส่งสิ่งของบรรเทาทุกข์ให้กับผู้ประสบภัยก่อนแล้วจึงเดินทางไปส่งสิ่งของบรรเทาทุกข์ให้กับผู้ประสบภัยก่อนแล้วจริงเดินทางไปรับสินค้าจากจุดกระจายสินค้า
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1.สามารถใช้ข้อมูลนี้เป็นแนวทางรูปแบบอัลกอริทึมที่เหมาะสมสำหรับการเลือกทำเลที่ตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือบรรเทาภัยพิบัติ โดยพิจารณาการเข้าถึงได้ของพื้นที่ รวมไปถึงรูปแบบทางคณิตศาสตร์และอัลกอริทึมที่เหมาะสมเป็น เพื่อการปรับปรุงและพัฒนากระบวนร่วมมือในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้เกิดคุณค่า สอดคล้องกับความต้องการได้ถูกต้อง ถูกที่ ถูกเวลาได้ (P)
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :งานวิจัยนี้ จะใช้ทั้งข้อมูลปฐมภูมิจากการสำรวจและเก็บข้อมูลสถานการณ์ฉุกเฉินของพื้นที่จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 9 จังหวัด และแนวทางการเชื่อมโยงเส้นทางระหว่างจังหวัดใกล้เคียง รวมถึงข้อมูลทุติยภูมิจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจากทั้งในและนอกประเทศเพื่อรวบรวมประมวลผลออกแบบอัลกอริทึมให้มีความถูกต้องเหมาะสม โดยการวิจัยจะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะเตรียมการระยะดำเนินการออกแบบอัลกอริทึม และระยะหลังดำเนินการ โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1.ทบทวนวรรณกรรมและศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตัวแบบทางคณิตศาสตร์สำหรับแก้ปัญหาการเลือกทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมของศูนย์ให้ความช่วยเหลือในการรองรับสภาวะการณ์ฉุกเฉินและหาเส้นทางการขนส่งในการกระจายทรัพยากรไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ 2.ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติ โดยอาศัยการรวบรวมข้อมูล ทั้งข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ ร่วมกับการลงพื้นที่เพื่อสำรวจเส้นทางการขนส่งระหว่างจังหวัดร่วมกับหน่วยงาน และสถานประกอบการต่างๆ และทำการสุ่มตัวอย่างและเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ และสัมภาษณ์เชิงลึกกับบุคลากรในองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการภัยพิบัติหรือให้การขนส่งความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาทุกข์ เพื่อศึกษาถึงสถานการณ์ วิธีการ ดำเนินงาน และปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ข้อมูลที่รวบรวมได้จะถูกนำมาวิเคราะห์ด้วยหลักการทางสถิติเพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัยต่างๆ รวมทั้งใช้เพื่อแสดงโครงการจัดเส้นทางขนส่งและการเลือกทำเลที่ตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือในปัจจุบัน ในการศึกษาวิจัยนี้ จำนวนตัวอย่างที่เหมาะสมถูกคำนวณตามหลัก การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ จำนวนตัวอย่างที่เหมาะสม สำหรับการสุ่มสัมภาษณ์คือ 20 ราย จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลและพัฒนาตัวแบบทางคณิตศาสตร์สำหรับแก้ปัญหาการเลือกทำเลที่ตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมและหาเส้นทางการขนส่งสินค้าเพื่อตอบสนองต่อข้อจำกัดที่มีความหลากหลาย 3.ศึกษาประเมินผลข้อมูลที่เกี่ยวข้องและพัฒนาอัลกอริทึมฮิวริสติกเพื่อแก้ปัญหาการเลือกทำเลที่ตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมและหาเส้นทางการขนส่งสินค้าแบบหลายวัตถุประสงค์ 4.ทดสอบอัลกอริทึมที่ได้รับทำการเปรียบเทียบระยะทางรวมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยใช้ข้อมูลตำแหน่งกรณีศึกษาในภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย ทั้งตำแหน่งศูนย์การใช้ความช่วยเหลือ ตำแหน่งส่งสินค้าและตำแหน่งรับสินค้าที่ได้จากการหาคำตอบของอัลกอริทึม 5.สรุปผลการทดสอบและจัดทำรายงานวิจัยสมบูรณ์ 6.เผยแพร่บทความวิจัยในวารสารวิชาการที่เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและ/หรือนานาชาติ
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :407 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายมานิตย์ สิงห์ทองชัย บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด