รหัสโครงการ : | R000000673 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | แนวทางการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานด้านการจัดซื้อวัสดุในระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | Improving processes operational material procurement in electronic government procurement (e-GP) system of the Faculty of Management Sciences, Nakhon Sawan Rajabhat University |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | แนวทางการพัฒนา, การปรับปรุงกระบวนการ, การจัดซื้อวัสดุ, ระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะวิทยาการจัดการ > สำนักงานคณบดี กลุ่มงานบริหารทั่วไป |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 15000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 15,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 18 มีนาคม 2567 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 17 มีนาคม 2568 |
ประเภทของโครงการ : | การวิจัยพื้นฐาน |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | สังคมศาสตร์ |
สาขาวิชาการ : | สาขาการตลาด |
กลุ่มวิชาการ : | อื่นๆ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ไม่ระบุ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | ปัจจุบันการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐถือเป็นส่วนประกอบหลักที่มีความสำคัญกับรัฐบาลในทุกระดับ โดยการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของกระแสการเปลี่ยนแปลงภาครัฐที่กำลังดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง บทบาทใหม่ของการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐถูกเสนอให้มีความเป็นเชิงกลยุทธ์มากขึ้น ซึ่งจะทำให้นิยามของการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐถูกนำมาใช้ในฐานะกลไกเชิงนโยบายองค์กร(Lloyd, Robert E. and Clifford P. McCue, 2018) โดยให้การจัดซื้อจัดจ้างเป็นกระบวนการจัดหาทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเข้ามาในองค์กรเพื่อให้องค์กรนั้น ๆ สามารถดำเนินการปฏิบัติงานจนประสบความสำเร็จตามเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เนื่องจากการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐนั้นเต็มไปด้วยข้อผูกมัดทางกฎระเบียบบางกฎระเบียบเป็นกฎระเบียบที่ช่วยแนะแนวทางในการตัดสินใจ เช่น การเลือกผู้เสนอราคาประมูลที่ต่ำที่สุด ในขณะที่กฎระเบียบอื่น ๆ เป็น เรื่องของระเบียบปฏิบัติในการดำเนินการ สภาพการณ์ดังกล่าวนำไปสู่คำถามว่ากระบวนการในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่ถูกวางโครงสร้างเป็นแบบแผนเช่นนี้นั้นแท้จริงแล้วจะไม่สามารถประสบความสำเร็จได้เลย ซึ่งแท้จริงแล้วกระบวนการดำเนินงานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ คือ กระบวนการให้ได้มาซึ่งสินค้าและบริการที่จำเป็นโดยผ่านวิธีการทางสัญญา ในอดีตนั้นการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐมุ่งเน้นไปที่สัญญาหรือการดำเนินการเพียงส่วนเดียว ไม่ใช่ภาพรวมทั้งระบบ ซึ่งการซื้อแต่ละครั้งแยกออกมาและมุ่งพัฒนาแนวทางการจัดทำสัญญาเป็นหลักที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากในอดีตมีปัญหาการขาดแคลนข้อมูลที่จำเป็นสำหรับเจ้าหน้าที่จัดซื้อในการดำเนินงาน หรือปัญหาภาระงานไม่เหมาะสมกับเจ้าหน้าที่ เป็นต้น (อุรา วงศ์ประสงค์ชัย,2556)
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีการจัดซื้อจัดจ้างแต่ละวิธีมุ่งเน้นให้การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุของหน่วยงานภาครัฐให้เกิดความโปร่งใส คุ้มค่า มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ที่สำตัญต้องตรวจสอบได้(ยุทธนา ปาลบุตร, 2557) ซึ่งแนวทางการพัฒนาการจัดซื้อจัดจ้างที่ดีต้องมีการวางแผนการจัดซื้ออย่างเป็นขั้นเป็นตอนและละเอียดรอบคอบ โดยต้องคำนึงถึงความคุ้มค่าของการจัดซื้อจัดจ้างให้มากที่สุด ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องเข้าใจกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนขึ้นตอนกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างอย่างถ่องแท้ในส่วนของพระราชบัญญัติ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องนั้น พบว่า มีการกำหนดเงื่อนไขและรายละเอียดของการจัดซื้อจัดจ้างประเภทต่าง ๆ อย่างชัดเจน ตลอดจนมีแนวทางที่ครอบคลุมให้องค์กรรัฐสามารถจัดซื้อสินค้าและบริการที่มีคุณภาพในราคาที่เหมาะสม ไม่จำเป็นต้องยึดเกณฑ์ด้านราคาเป็นหลัก ในทางตรงกันข้ามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ยังได้มุ่งเน้นให้หน่วยงานภาครัฐดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างโดยยึดหลักความคุ้มค่า และคำนึงถึงการใช้ประโยชน์ในระยะยาว (จักรพันธ์ ระวีย์วรากร, 2560)
ในฐานะผู้ปฏิบัติงานพัสดุที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทักษะในการทำงานปฏิบัติงานเกี่ยวกับการงานจัดซื้อจัดจ้างและการปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย ตั้งแต่เริ่มต้นจนสุดกระบวนการ โดยขั้นตอนและรายละเอียดของกระบวนการต่างๆ ต้องยึดปฏิบัติ ตามกฎระเบียบ หลักเกณฑ์ ข้อบังคับ และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ระเบียบกระทรวงการคลังว่า ด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ข้อบังคับ คู่มือแนวทางการปฏิบัติ และกฎหมายที่เกี่ยวกับงานพัสดุ ได้แก่ งานพัสดุ จัดซื้อ จัดจ้าง ในระบบบัญชี 3 มิติ และในระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ควบคุมดูแลการดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้าง การเบิกเงิน ควบคุมดูแลการเบิกจ่ายเงินตามโครงการสาขาวิชาที่รับผิดชอบ รายงานการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ควบคุมดูแลบริหาร พัสดุให้คำปรึกษาแนะนำแก่บุคลากร ดังนั้น การพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานด้านการจัดซื้อวัสดุในระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ได้ดำเนินการเพื่อศึกษาปัญหาและปรับปรุงกระบวนการที่จะนำไปสู่แนวทางการพัฒนางานด้านการจัดซื้อวัสดุในระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถพัฒนาการบริหารงานพัสดุให้ สามารถตอบสนองการใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ในแต่ละคณะและสาขาวิชา ซึ่งเป็นการปรับปรุงและพัฒนาวิธีการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามขั้นตอนการจัดซื้อวัสดุให้มีความคุ้มค้าในการใช้ จ่ายเงินงบประมาณ อย่างคุ้มค่า ลดความบกพร่อง มีความโปร่งใสเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถตรวจสอบได้เน้นการให้เกิดประโยชน์สูงสุดเป็นสำคัญ |
จุดเด่นของโครงการ : | - |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1) เพื่อศึกษาปัญหาและปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานด้านการจัดซื้อวัสดุในระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนางานด้านการจัดซื้อวัสดุในระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ให้มีประสิทธิภาพ |
ขอบเขตของโครงการ : | งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research : R2R) เพื่อค้นหาปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการดำเนินงานจริง โดยการค้นคว้าข้อมูลจาก เอกสาร/ตำราที่เกี่ยวข้อง ระเบียบปฏิบัติ/ข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ระบบหรือขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงาน พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ประกาศและกฎระเบียบอื่น ๆ ของกระทรวงการคลังและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ตลอดจน สัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องหรือผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informant) กับการจัดซื้อวัสดุในระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) โดยวิธีเฉพาะเจาะจง ทั้งงบประมาณรายได้และงบประมาณแผ่นในส่วนการบริหารที่ได้รับการจัดสรรของสาขาวิชาหรือหลักสูตรระดับปริญญาตรี จำนวน 7 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรบัญชีบัณฑิต หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ การบริหารทรัพยากรมนุษย์และการจัดการ การตลาด) หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต หลักสูตรการท่องเที่ยวและบริการ และระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต รวมถึงส่วนการบริหารของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาและอุปสรรคที่แท้จริง จากนั้นจึงวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล เพื่อนำเสนอแนวทางที่เหมาะสมในการปรับปรุงและการจัดซื้อวัสดุในระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) โดยวิธีเฉพาะเจาะจง ที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | 1) ทราบถึงปัญหาและสาเหตุหลักที่เป็นอุปสรรคในการท างานของเจ้าหน้าที่พัสดุ
2) ทราบถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติงานการจัดซื้อวัสดุที่เหมาะสมสำหรับคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ อันเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการจัดซื้อจัดจ้างได้
3) สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์อื่นๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงเป็นการส่งเสริมและผลักดันแนวทางการปฏิบัติงานที่ดีของเจ้าหน้าที่และบุคคลากรในภาพรวมของคณะวิทยาการจัดการไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์และเป้าหมายองค์กรแห่งความเป็นเลิศได้อย่างแท้จริง |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | แนวคิดเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 (กรกช อ่อนน่วมและฌาน เรืองธรรมสิงห์, 2562)
พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ได้มีการประกาศใช้ เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่ได้มี การประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2560 สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ ได้กำหนดขอบเขตการใช้บังคับกับหน่วยงานของรัฐทุกแห่ง การจัดซื้อจัดจ้างต้องก่อให้เกิดประโยชน์ สูงสุดและมีหลักการ คือ คุ้มค่า โปร่งใส มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตรวจสอบได้ เน้นเรื่องการ ส่งเสริมให้ภาคประชาชนและผู้ประกอบการมีส่วนร่วมในการป้องกันการทุจริต โดยเป็นการยกเลิก บทบัญญัติเกี่ยวกับพัสดุ การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ในกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ ข้อกำหนดต่าง ๆ ของหน่วยงานรัฐที่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติฉบับนี้ ซึ่งหน่วยงานที่ต้องอยู่ภายใต้การ ใช้บังคับของกฎหมายฉบับดังกล่าว ได้แก่ ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายด้วยวิธีการงบประมาณ องค์กรอิสระ องค์กรที่เกิดขึ้นตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ หน่วยธุรการของศาล มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หน่วยงานสังกัดรัฐสภา หน่วยงานอิสระของรัฐและหน่วยงานอื่นตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง แต่ถึงอย่างไรเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นและมีความคล่องตัวในการทำงานหากหน่วยงานใดต้องการที่จะให้มีข้อระเบียบขึ้นมาเองก็สามารถกระทำได้อยู่เพียงแต่ต้องดำเนินการสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างตามแนวทางในพระราชบัญญัติฉบับนี้ (วารี แว่นแก้ว, 2561 อ้างถึงใน กรกช อ่อนน่วมและฌาน เรืองธรรมสิงห์, 2562) แบ่งโครงสร้างของพระราชบัญญัติดังกล่าวออกเป็น 15 หมวด 132 มาตรา มีการ เพิ่มเติมภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยส่งเสริมให้ภาคประชาชนและผู้ประกอบการมีส่วนร่วมใน การป้องกันการทุจริต ในรูปแบบของข้อตกลงคุณธรรมตามโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตใน การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ซึ่งเป็นการทำข้อตกลงระหว่าง 3 ฝ่าย ได้แก่ หน่วยงานของรัฐที่จะทำการจัดซื้อ จัดจ้าง ผู้ประกอบการที่จะเข้าเสนอราคาในการจัดซื้อจัดจ้างครั้งนั้นและผู้สังเกตการณ์ว่าจะไม่ทำการทุจริตในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างครั้งนั้น ๆ โดยเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่การจัดทำร่าง TOR จนสิ้นสุด โครงการกำหนดให้มีคณะกรรมการ จำนวน 5 คณะ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดใน พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างฯ พ.ศ. 2560 กำหนดประเภทการจัดซื้อจัดจ้างหลักๆ ไว้ 3 ประเภท ได้แก่ 1) การจัดซื้อจัดจ้างทั่วไป มีวิธีการจัดซื้อจัดจ้างไว้ 3 วิธี คือ วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป วิธีคัดเลือก และวิธีเฉพาะเจาะจง 2) การจ้างที่ปรึกษา มีวิธีการจัดซื้อจัดจ้างไว้ 3 วิธี คือ วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป วิธีคัดเลือกและวิธีเฉพาะเจาะจง และ3) การจ้างออกแบบหรือควบคุมงาน มีวิธีการจัดซื้อจัดจ้างไว้ 4 วิธี คือ วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป วิธีคัดเลือก วิธีเฉพาะเจาะจง และวิธีประกวดแบบ
อย่างไรก็ตามในการจัดซื้อจัดจ้างแต่ละวิธีมุ่งเน้นให้การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุของหน่วยงานภาครัฐ เกิดความโปร่งใส คุ้มค่า มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลและตรวจสอบได้ กำหนดเรื่องการทำสัญญา ซึ่งหน่วยงานของรัฐต้อง จัดทำสัญญาตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างฯ พ.ศ. 2560 ฉบับนี้ กำหนดเรื่องการบริหารสัญญาและการตรวจรับพัสดุ โดยกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจรับไว้อย่างชัดเจน กำหนดเพิ่มเติมในเรื่องการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบการ กำหนดเรื่องการทิ้งงาน กำหนด เรื่องการบริหารพัสดุ รวมถึงกำหนดเพิ่มเติมเรื่องสิทธิ์ในการอุทธรณ์ เพิ่มเติมบทกำหนดโทษสำหรับ เจ้าหน้าที่ หรือผู้มีอำนาจซึ่งปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างฯ พ.ศ. 2560 เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตลอดจนมีบทลงโทษสำหรับผู้ที่ทำการสนับสนุนให้ทำ ความผิดด้วย เมื่อได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แล้วนั้น ก็ได้มีการประกาศระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ตามมา โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดซื้อจัด จ้างเพื่อให้กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐเกิดความเหมาะสมไม่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ กระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 จึงได้แบ่งโครงสร้างของระเบียบกระทรวงการคลังฯ ดังกล่าว ออกเป็น 223 ข้อ 10 หมวด
แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารจัดซื้อจัดจ้าง
การจัดซื้อ (Purchasing) หมายถึง งานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อสินค้าและบริการที่องค์กรต้องการการจัดซื้อ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการจัดหา (Procurement) ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ เช่น การสั่งซื้อ เร่งรัดสินค้า รับสินค้าเข้าคลัง และชำระเงินให้ซัพพลายเออร์ โดยการจัดซื้อเป็นกระบวนการที่ทำให้ได้มาซึ่งสินค้าและบริการเพื่อสนับสนุนกระบวนการผลิตและกระบวนการดำเนินงานด้านอื่น ๆ ขององค์กร ซึ่งกระบวนการจัดซื้อนั้นประกอบ ไปด้วย 3 ส่วน อ้างถึงใน จักรพันธ์ ระวีย์วรากร (2560) ดังนี้
1) การวางแผนการจัดซื้อ (Planning) การจัดซื้อนั้นควรครอบคลุมการกำหนดเป้าหมาย การจัดทำระบบและการจัด ผังงาน โดยมีการแยกแยะและกำหนดอำนาจหน้าที่ให้ชัดเจน การคัดเลือกบุคลากร การจัดทำขั้นตอน การปฏิบัติงานและแบบฟอร์มต่าง ๆ รวมถึงการกำหนดแผนงานและงบประมาณ
2) ดำเนินงานการจัดซื้อ (Doing) ในการดำเนินงานการจัดซื้อนั้น สิ่งแรกที่ควรทำคือการกำหนดกลยุทธ์ที่จะทำ ให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ขององค์การ ซึ่งประกอบไปด้วยกลยุทธ์การแข่งขัน (Competitive Strategies) และกลยุทธ์ทั่วไป (Generic Strategies) เมื่อกำหนดกลยุทธ์เป็นที่เรียบร้อยแล้วจึงกำหนดวิธีปฏิบัติต่าง ๆ เช่น การประเมินผู้ขาย การต่อรองราคา การรับมอบสินค้า ตลอดจนการ ติดตามและการตรวจสอบคุณภาพ
3. การควบคุม (Checking) ในการควบคุมการจัดซื้อนั้นต้องมีการกำหนดขอบเขตภาระหน้าที่ของ เจ้าหน้าที่หรือพนักงานจัดซื้อให้ชัดเจน มีการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานและประเมินผล ซึ่งการ ติดตามและตรวจสอบนี้ครอบคลุมการปฏิบัติงานทั้งภายในและภายนอกองค์การ เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานมุ่งสู่เป้าหมายขององค์การอย่างแท้จริงโดยเกิดความสิ้นเปลืองน้อยที่สุด นอกจากแนวคิดด้านองค์ประกอบแบบกว้างทั้ง 3 ส่วนข้างต้นแล้ว การจัดซื้อยัง ถือว่าเป็นหนึ่งในกิจกรรมทางการบริหารที่ส่งผลให้องค์การบรรลุตามแผนการดำเนินงานด้านอื่น ๆ เช่น แผนงานการผลิต หรือแผนงานการขาย เป็นต้น โดยการจัดซื้อที่ดีต้องดำเนินการโดยคำนึงถึงความเหมาะสม ซึ่งจะมุ่งเน้นไปที่เป้าหมายระยะสั้น 5 เป้าหมาย (หลัก 5R) ดังนี้
1) ผู้ส่งสินค้าที่เหมาะสม (Right Vendor) ในกระบวนการจัดซื้อนั้น หนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลกระทบในด้านลบที่ร้ายแรงที่สุดคือ การเลือกผู้ประกอบการหรือผู้ขายผิด เนื่องจากเป็นต้นทางของการได้สินค้าไม่ตรงกับความต้องการ ดังนั้น สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกในการบริหารการจัดซื้อคือการเลือกผู้ให้บริการหรือผู้ประกอบการที่ถูกต้องเหมาะสม พิจารณาคัดเลือกองค์ประกอบต่าง ๆ ของผู้ประกอบการอย่างรอบด้าน ซึ่งนอกจะส่งผลทางตรงต่อกระบวนการจัดซื้อแล้ว ยังส่งผลทางอ้อมคือเป็นการสร้างโอกาสและความสัมพันธ์ในการดำเนินธุรกิจด้วยกันในระยะยาวอีกด้วย
2) คุณภาพที่เหมาะสม (Right Quality) คุณภาพของสินค้าและบริการที่เหมาะสมกับการใช้งานมีความสำคัญและส่งผลต่อองค์การเป็นอย่างยิ่ง สินค้าและบริการที่มีคุณภาพสูงเกินกว่าความจำเป็นหรือความต้องการ นั้นนอกจากจะเป็นการทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นแล้วยังเป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรเนื่องจากการใช้งาน ไม่คุ้มค่ากับคุณสมบัติ
3) เวลาที่เหมาะสม (Right Time) การสั่งซื้อสินค้าและบริการต้องดำเนินการในเวลาที่เหมาะสม ไม่เร็วหรือช้าเกินไป การสั่งซื้อสินค้าเร็วเกินความต้องการเป็นจำนวนมากนำไปสู่ปัญหาสินค้าคงคลังทับถม สิ้นเปลืองพื้นที่และทรัพยากรในการเก็บรักษา ทั้งยังมีโอกาสที่สินค้าจะเสื่อมสภาพหรือมีสภาพที่ไม่สมบูรณ์เมื่อไม่ได้ถูกใช้งานในทันทีอีกด้วย ในทางตรงกันข้ามการสั่งซื้อสินค้าช้าเกินไปเป็นการทำให้กระบวนการผลิตหรือการดำเนินการขององค์การขาดช่วง เนื่องมาจากวัตถุดิบเข้ามาล่าช้า ไม่ทันต่อความต้องการ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้องค์การขาดรายได้หรือเสียโอกาสทางธุรกิจได้
4) ราคาที่เหมาะสม (Right Price) การจัดซื้อต้องสามารถดำเนินการได้ในราคาที่เหมาะสมยุติธรรม ไม่ควรจัดซื้อสินค้าและบริการในราคาที่สูงหรือต่ำจนเกินไป เพราะการซื้อสินค้าและบริการที่มีราคาสูงจะทำให้องค์การต้องแบกรับภาระต้นทุนสูงเกินความจำเป็น เป็นการเสียเปรียบในเชิงการแข่งขัน ส่วนการซื้อสินค้าและบริการที่มีราคาต่ำนั้นมีโอกาสสูงที่ผู้ซื้อจะได้รับสินค้าและบริการที่มีคุณภาพต่ำไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการใช้งานได้ เนื่องจากผู้ประกอบการหรือผู้ขายนั้นจำเป็นต้องลดคุณภาพของสินค้าและบริการลงเพื่อให้สามารถขายได้ในราคาที่ต่ำ นอกจากนั้น องค์การอาจสูญเสียแหล่งซื้อ สินค้าและบริการจากผู้ประกอบการรายนี้ไป เนื่องด้วยผู้ประกอบการไม่สามารถแบกรับราคาที่ต่ำ ซึ่งทำให้มีกำไรน้อยได้อย่างต่อเนื่อง
5) จำนวนที่เหมาะสม (Right Quantity) จำนวนของสินค้าที่จัดซื้อในแต่ละครั้งนั้นต้องมีความเหมาะสม ไม่มากเกินไป หรือน้อยเกินไป การซื้อสินค้าในปริมาณที่มากเกินความจำเป็นทำให้สินค้าคงคลังล้นสต็อกหรือสินค้า นั้นล้าสมัยทำให้เมื่อถึงเวลานำมาใช้จึงไม่สามารถตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างครอบคลุม ในขณะที่ หากสั่งซื้อสินค้าน้อยเกินไปนั้น นอกจากจะทำให้องค์การผู |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | - |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research : R2R) โดยการค้นคว้าข้อมูลจาก เอกสาร/ตำราที่เกี่ยวข้อง ระเบียบปฏิบัติ/ข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ระบบหรือขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงาน พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ประกาศและกฎระเบียบอื่น ๆ ของกระทรวงการคลังอื่นๆที่เกี่ยวข้อง (Documentary Research) ร่วมกับผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informant) ด้วยเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) ซึ่งมีการเตรียมคำถามนำเป็นขั้นตอนไว้ระดับหนึ่ง ร่วมกับการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก (In-depth Interview) ซึ่งเป็นการสนทนาอย่างอิสระและเป็นธรรมชาติ เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการจัดซื้อวัสดุ ทั้งงบประมาณรายได้และงบประมาณแผ่นในส่วนการบริหารที่ได้รับการจัดสรรของสาขาวิชาหรือหลักสูตรระดับปริญญาตรี จำนวน 7 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรบัญชีบัณฑิต หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ การบริหารทรัพยากรมนุษย์และการจัดการ การตลาด) หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต หลักสูตรการท่องเที่ยวและบริการ และระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต รวมถึงส่วนการบริหารของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานการจัดซื้อวัสดุในระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) ทั้งงบประมาณรายได้และงบประมาณแผ่นในส่วนการบริหารที่ได้รับการจัดสรรของสาขาวิชาหรือหลักสูตรรวมถึงผลกระทบต่อคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์อย่างรอบด้าน
ทั้งนี้ ผู้วิจัยได้แบ่งกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informant) ออกเป็น 3 กลุ่ม โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้แก่ 1) ผู้บริหารระดับคณะ จำนวน 3 คน 2) ผู้บริหารระดับสาขาวิชาหรือหลักสูตร จำนวน 8 คน และ 3) ผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 1 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 12 คน |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | - |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 4 ครั้ง |