รหัสโครงการ : | R000000672 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | ปัญหา อุปสรรคและแนวทางการบริหารงานพัสดุของผู้ปฏิบัติงานพัสดุ ในคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | Problems threat and guidelines for parcel management of parcel operators of the Faculty of Management Sciences, Nakhon Sawan Rajabhat University |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | ปัญหาและอุปสรรค, แนวทางการบริหาร, ผู้ปฏิบัติงานพัสดุ, การจัดซื้อจัดจ้าง |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะวิทยาการจัดการ > สำนักงานคณบดี กลุ่มงานบริหารทั่วไป |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 15000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 15,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 18 มีนาคม 2567 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 17 มีนาคม 2568 |
ประเภทของโครงการ : | งานวิจัยเชิงสำรวจ |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | สังคมศาสตร์ |
สาขาวิชาการ : | สาขาการตลาด |
กลุ่มวิชาการ : | อื่นๆ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ระดับชาติ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | งานพัสดุเป็นองค์ประกอบสำคัญของการดำเนินงานในองค์กรทุกแห่ง เนื่องจากพัสดุและครุภัณฑ์เป็นทรัพยากรที่สนับสนุนให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถตอบสนองต่อความต้องการขององค์กรได้อย่างเหมาะสม หากปราศจากการบริหารจัดการที่ดี องค์กรอาจเผชิญกับปัญหาด้านความล่าช้า ขาดแคลนทรัพยากร ซ้ำซ้อนในการดำเนินงาน และสิ้นเปลืองงบประมาณโดยไม่จำเป็น (ประจักษ์ ศรีจำปา, 2553)
ในบริบทของมหาวิทยาลัย การบริหารงานพัสดุถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้หน่วยงานสามารถดำเนินภารกิจด้านการเรียนการสอน การวิจัย และการพัฒนาสังคมได้อย่างราบรื่น โดยเฉพาะในคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ซึ่งมีภารกิจในการสนับสนุนการดำเนินงานของบุคลากร คณาจารย์ และนักศึกษา จำเป็นต้องมีระบบบริหารงานพัสดุที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้สามารถจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ และครุภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสม ทันต่อความต้องการ และคุ้มค่าในการใช้งาน อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คณะวิทยาการจัดการต้องเผชิญกับปัญหาหลายประการที่ส่งผลต่อกระบวนการบริหารงานพัสดุ ไม่ว่าจะเป็นความล่าช้าในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างที่เกิดจากกระบวนการอนุมัติที่ต้องผ่านหลายขั้นตอน และบางครั้งอาจมีการตีความระเบียบปฏิบัติที่แตกต่างกัน ส่งผลให้เกิดความล่าช้าและการจัดซื้อที่ไม่ทันต่อความต้องการใช้งานของหน่วยงาน (สุภารัตน์ บาลนาคม, 2564)
จากรายงานการวิเคราะห์ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างด้วยงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ พบว่า คณะวิทยาการจัดการเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่ได้รับการวิเคราะห์การดำเนินงานด้านพัสดุ โดยมีการจัดสรรงบประมาณสำหรับการจัดซื้อจัดจ้างในหมวดงบลงทุน เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของคณะ อย่างไรก็ตาม ยังพบปัญหาด้านการเบิกจ่ายงบประมาณที่ไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนด ซึ่งอาจเกิดจากกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างที่ซับซ้อนและความล่าช้าในการดำเนินงาน (รัตนาภรณ์ ปินใจ, 2567) อีกปัญหาสำคัญที่พบคือข้อจำกัดด้านบุคลากรที่รับผิดชอบงานพัสดุ โดยบุคลากรที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินงานด้านนี้อาจไม่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในเรื่องกฎหมายและระเบียบพัสดุของภาครัฐ ทำให้เกิดข้อผิดพลาดในขั้นตอนการดำเนินงาน ซึ่งในบางกรณีอาจส่งผลกระทบต่อความถูกต้องของเอกสารและความโปร่งใสในการบริหารพัสดุ นอกจากนี้ การจัดการสินค้าคงคลังที่ไม่มีประสิทธิภาพนำไปสู่ปัญหาการขาดแคลนวัสดุที่จำเป็นต่อการใช้งาน ขณะที่บางครั้งอาจมีวัสดุหรือครุภัณฑ์ค้างสต็อกเป็นจำนวนมากโดยไม่มีการใช้งาน ส่งผลให้เกิดต้นทุนจมโดยไม่จำเป็น (สุกัญญา ศรีทับทิม, 2555 อ้างถึงใน สุภารัตน์ บาลนาคม, 2564) เพื่อให้การบริหารงานพัสดุเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีการวางระบบบริหารจัดการพัสดุที่มีมาตรฐาน โดยเฉพาะการกำหนดแผนการจัดซื้อจัดจ้างที่สอดคล้องกับงบประมาณและความต้องการใช้งานจริง รวมถึงการกำหนดแนวทางป้องกันความเสี่ยงด้านความโปร่งใสในการดำเนินงาน การตรวจสอบภายในที่มีความเข้มงวดจะช่วยลดความผิดพลาดและป้องกันปัญหาการรั่วไหลของงบประมาณได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ การกำหนดแนวทางประเมินผลการบริหารพัสดุจะช่วยให้สามารถระบุจุดอ่อนและนำผลการประเมินไปปรับปรุงระบบการบริหารงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
ดังนั้น การศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางการบริหารงานพัสดุของผู้ปฏิบัติงานพัสดุในคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการพัฒนาระบบการบริหารพัสดุให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ลดปัญหาในการดำเนินงาน และสนับสนุนการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของมหาวิทยาลัยต่อไป |
จุดเด่นของโครงการ : | - |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการปฏิบัติงานพัสดุของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ตามกรอบแนวคิดการบริหารพัสดุตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อ จัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานพัสดุของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ตามกรอบแนวคิดการบริหารพัสดุตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 |
ขอบเขตของโครงการ : | 1.3.1) ขอบเขตเนื้อหา
การศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงานพัสดุของผู้ปฏิบัติงานพัสดุในคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่
1) ด้านผู้ปฏิบัติงาน
2) ด้านอุปกรณ์อำนวยความสะดวก
3) ด้านวัตถุดิบ/ปัจจัยนำเข้า
4) ด้านวิธีการทำงาน
5) ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน
นอกจากนี้ยังศึกษาแนวทางการบริหารงานพัสดุตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ที่ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่
1) การเก็บ การบันทึก การเบิกจ่าย
2) การยืม
3) การบำรุงรักษา การตรวจสอบ
4) การจำหน่ายพัสดุ
โดยการศึกษาครั้งนี้จะใช้ระเบียบ กฎหมายและปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อเสริมการดำเนินงานด้านการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ดังนี้
1) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 กำหนดแนวทางและวิธีการปฏิบัติในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุภาครัฐ และการบริหารจัดการพัสดุในหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้เกิดการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ
2) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการบริหารงานพัสดุในสำนักงานหรือหน่วยงานภาครัฐ ระเบียบนี้กำหนดวิธีการจัดเก็บ บันทึก และควบคุมพัสดุภาครัฐที่อยู่ในความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงการควบคุมการเบิกจ่ายและการตรวจสอบการใช้งาน
3) ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.) กำหนดกรอบการดำเนินงานในหน่วยงานภาครัฐเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ การใช้จ่าย และการตรวจสอบ
4) กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณและการทำงานของภาครัฐในด้านต่าง ๆ รวมถึงการตรวจสอบพัสดุภาครัฐ และการป้องกันการทุจริตในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง
1.3.2) ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน (ประเภทข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย และลูกจ้างชั่วคราว) สังกัดคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ทั้งหมด 60 คน (ข้อมูลจากกลุ่มงานเจ้าหน้าที่ สำนักงานอธิการบดี, ปี 2567) ซึ่งในจำนวนนี้รวมถึงบุคลากรที่มีหน้าที่หรือเกี่ยวข้องกับการบริหารงานพัสดุของคณะ เช่น ผู้จัดหาพัสดุ ผู้ดูแลจัดการพัสดุ ผู้รับผิดชอบการเบิกจ่าย และผู้ที่เกี่ยวข้องในการตรวจสอบและบำรุงรักษาพัสดุ
กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ เป็นบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการบริหารงานพัสดุของคณะหรือสาขาวิชา โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 30 คน ซึ่งประกอบด้วยผู้จัดหาพัสดุ ผู้ดูแลจัดการพัสดุ ผู้รับผิดชอบการเบิกจ่าย และผู้ที่เกี่ยวข้องในการตรวจสอบและบำรุงรักษาพัสดุในหน่วยงานต่าง ๆ ของคณะวิทยาการจัดการ
1.3.3) ขอบเขตด้านระยะเวลา
การศึกษาในครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ดำเนินการศึกษาตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2568
1.3.4) ขอบเขตด้านพื้นที่
การศึกษาครั้งนี้จะดำเนินการในพื้นที่ของ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัย ราชภัฏนครสวรรค์ ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดนครสวรรค์ โดยจะเน้นการเก็บข้อมูลจากผู้ปฏิบัติงานที่ทำงานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานพัสดุภายในคณะเท่านั้น เช่น แผนกจัดซื้อจัดจ้าง พัสดุ และหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการบริหารพัสดุ |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | 1.4.1) ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากระบบการบริหารจัดการพัสดุของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยเฉพาะปัญหาที่เกี่ยวข้องกับผู้ปฏิบัติงานพัสดุและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในกระบวนการ ซึ่งจะเป็นข้อมูลสำคัญในการเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และสามารถระบุจุดที่ต้องได้รับการแก้ไขหรือพัฒนาเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
1.4.2) การศึกษาในครั้งนี้จะนำไปสู่การพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการพัสดุที่เหมาะสมสำหรับคณะวิทยาการจัดการ ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในด้านการบริหารพัสดุ และส่งเสริมการทำงานที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมทั้งปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะช่วยให้การบริหารพัสดุมีความถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพสูงสุด
1.4.3) สามารถใช้ในการจัดทำคำขอตั้งงบประมาณประเภทงบลงทุน รวมทั้งเป็นข้อมูลสำคัญในการบริหารงบประมาณการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณเกิดผลสัมฤทธิ์และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน โดยมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรภาครัฐอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน
1.4.4) สามารถส่งเสริมการประยุกต์ใช้แนวทางในการบริหารจัดการสินทรัพย์ของหน่วยงานอื่น ๆ อย่างครบวงจร โดยการวางระบบและมาตรการในการบริหารสินทรัพย์ที่มุ่งเน้นการสร้างผลตอบแทนที่คุ้มค่า ลดการใช้สินทรัพย์ใหม่ที่ไม่จำเป็น และช่วยขจัดปัญหาหรืออุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานด้านพัสดุ การบริหารสินทรัพย์จะทำให้การใช้ทรัพยากรของราชการเกิดประโยชน์สูงสุด ลดการสูญเสีย การรั่วไหล และการสิ้นเปลืองทรัพยากร ซึ่งนำไปสู่การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุดในระยะยาว |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | 1. แนวคิดเกี่ยวกับหลักการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐ
2. แนวคิดเกี่ยวกับการจัดหาพัสดุ
3. แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารงานพัสดุ
4. แนวคิดเกี่ยวกับปัญหาและการแก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน
5. แนวคิดของสาเหตุการเกิดปัญหาของแผนผังอิชิกาว่า (Ishikawa Diagram) |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | -สาขาวิชาการบัญชี
-สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
-สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์และการจัดการ
-สาขาวิชาการตลาด
-สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
-สาขาวิชานิเทศศาสตร์
-สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ
- พ.ร.บ. กฎระเบียบ หนังสือเวียน ประกาศ และหลักเกณฑ์/เอกสารที่เกี่ยวข้อง
หลักการบริหารงานพัสดุ
ด้านที่ 1 ด้านการเก็บ การบันทึก การเบิกจ่าย
ด้านที่ 2 ด้านการยืม
ด้านที่ 3 ด้านการบำรุงรักษา การตรวจสอบ ด้านที่ 4 ด้านการจำหน่ายพัสดุ
ปัญหา อุปสรรคในการปฏิบัติงานพัสดุ
ด้านผู้ปฏิบัติงาน
ด้านอุปกรณ์อำนวยความสะดวก
ด้านวัตถุดิบ/ปัจจัยนำเข้า
ด้านวิธีการทำงาน
ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน
แนวทางการบริหารงานพัสดุของผู้ปฏิบัติงานพัสดุในคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research : R2R) เพื่อค้นหาปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการดำเนินงานการบริหารงานพัสดุของผู้ปฏิบัติงานพัสดุจริงในคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยผู้วิจัยกำหนดเนื้อหาในการประเมินการบริหารงานไว้ จำนวน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านผู้ปฏิบัติงาน ด้านอุปกรณ์อำนวยความสะดวก ด้านวัตถุดิบ/ปัจจัยนำเข้า ด้านวิธีการทำงานและด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน นอกจากนี้ ผู้วิจัยได้การค้นคว้าข้อมูลจาก เอกสาร/ตำราที่เกี่ยวข้อง ระเบียบปฏิบัติ/ข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงาน พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ประกาศและกฎระเบียบอื่น ๆ ของกระทรวงการคลังอื่นๆที่เกี่ยวข้องด้วยกรอบแนวคิดการบริหารพัสดุ ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านการเก็บ การบันทึก การเบิกจ่าย ด้านที่ 2 ด้านการยืม ด้านที่ 3 ด้านการบำรุงรักษา การตรวจสอบและด้านที่ 4 ด้านการจำหน่ายพัสดุ
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ บุคลากรของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน 64 คน ผู้วิจัยได้เลือกตัวแทนมาจากกลุ่มประชากรทั้งหมด ซึ่งเป็นตัวแทนบุคลากรของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 54 ตัวอย่าง จากนั้นใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ซึ่งผู้วิจัยจะแบ่งบุคลากรออกเป็นสาขาวิชาที่สังกัดในคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยจะสุ่มตัวอย่างบุคลากรอย่างเป็นสัดส่วน (Proportional Random Sampling) จำนวน 7 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์และการจัดการ สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์และสาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ หลังจากทำการกำหนดขนาดตัวอย่างของแต่ละสาขาวิชาได้แล้ว ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จะสุ่มตัวอย่างในแต่ละเขตพื้นที่โดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ซึ่งเป็นการเลือกตัวอย่างแบบไม่เจาะจง (Simple Random Sampling) |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | - |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 3 ครั้ง |