รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000668
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรมสินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Knowledge transfer of innovative eco-culture products in Nakhon Sawan Province
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :การถ่ายทอดองค์ความรู้, นวัตกรรม, สินค้าวัฒนธรรม, นิเวศศิลป์
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม > ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิชาการออกแบบสร้างสรรค์เชิงธุรกิจ
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :60200
งบประมาณทั้งโครงการ :60,200.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :17 มกราคม 2565
วันสิ้นสุดโครงการ :16 กรกฎาคม 2566
ประเภทของโครงการ :การวิจัยและพัฒนา
กลุ่มสาขาวิชาการ :มนุษยศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ไม่ระบุ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :การพัฒนาประเทศในยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน มีเป้าหมายการพัฒนาที่มุ่งเน้นการยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติ เพื่อสร้างคุณค่าใหม่ในอนาคต ด้วยการเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการ พัฒนาคนรุ่นใหม่ รวมถึงปรับรูปแบบธุรกิจ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาด ผสมผสานกับยุทธศาสตร์ที่รองรับอนาคต บนพื้นฐานของการต่อยอดอดีตและปรับปัจจุบัน พร้อมทั้งการส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐ ให้ประเทศไทยสามารถสร้างฐานรายได้และการจ้างงานใหม่ขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนในเวทีโลก ควบคู่ไปกับการยกระดับรายได้และการกินดีอยู่ดี รวมถึงการเพิ่มขึ้นของคนชั้นกลางและลดความเหลื่อมล้ำของคนในประเทศได้ในคราวเดียวกัน โดยมีตัวชี้วัดที่สำคัญ นั่นคือ การพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานผู้ประกอบการยุคใหม่ สร้างและพัฒนาผู้ประกอบการยุคใหม่ ที่มีทักษะและจิตวิญญาณของการเป็นผู้ประกอบการที่มีความสามารถในการแข่งขันและมีอัตลักษณ์ชัดเจน โดย สร้างผู้ประกอบการอัจฉริยะ สร้างโอกาสเข้าถึงบริการทางการเงิน สร้างโอกาสเข้าถึงตลาด สร้างโอกาสเข้าถึงข้อมูล และปรับบทบาทและโอกาสการเข้าถึงบริการภาครัฐ (แผนการพัฒนาประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580) ประกอบกับที่แผนแม่บทการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ที่ได้กล่าวถึงการนำการวิจัยและนวัตกรรม มาเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทย เป็นประเด็นที่สำคัญทางสังคมเพื่อให้เกิดการพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิต ประชาชนในชุมชนให้มีทักษะดิจิทัลที่สูงขึ้น สามารถใช้ดิจิทัลอย่างชาญฉลาดทั้งในการดำรงชีวิต การพัฒนาอาชีพและรายได้ การดูแลรักษาสุขภาพ ตลอดจนการนำดิจิทัลไปใช้ในชีวิตประจำวัน สร้างการเรียนรู้ร่วมกันของคนในชุมชน อีกทั้งยังเป็นกระบวนการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยในท้องถิ่น หน่วยงานราชการ และผู้ประกอบการในชุมชน ให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีได้อย่างเป็นรูปธรรม และเกิดการพัฒนาทักษะในการเสริมสร้างอาชีพใหม่ในชุมชนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตแบบบูรณาการในสังคมดิจิทัลขับเคลื่อนเศรษฐกิจท้องถิ่น แนวทางการพัฒนาได้ถูกผลักดันให้นำมาเป็นต้นแบบในการพัฒนาระดับท้องถิ่น แผนการพัฒนาจังหวัดนครสวรรค์ ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านการพัฒนาศักยภาพการผลิตทางการเกษตร อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป อุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว กำหนดกลยุทธ์ให้มีการส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน วิสาหกิจชุมชน และ SME เพื่อให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มนำไปสู่การยกระดับเศษฐกิจฐานราก (แผนพัฒนาจังหวัดนครสวรรค์. 2561-2564 ) นอกจากนี้แผนการพัฒนาดังกล่าวยังสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างสรรค์การวิจัยเชิงพาณิชย์ พัฒนานวัตกรรมและพันธกิจสัมพันธ์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ( แผนปฏิบัติราชการและแผนปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. 2564 ) ที่มุ่งพัฒนาบัณฑิตและบุคลากรควบคู่กับการพัฒนาท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท และจังหวัดอุทัยธานี ความสำคัญของที่มาดังกล่าว จึงนำมาสู่การดำเนินงาน การถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรมสินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์จังหวัดนครสวรรค์ ภายใต้แผนงาน เรื่อง การสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์ตามแนวเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากเสริมพลังท้องถิ่นจังหวัดนครสวรรค์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดทำคู่มือสำหรับการถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรมสินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์จังหวัดนครสวรรค์ เพื่ออบรมถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรมสินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์จังหวัดนครสวรรค์ และเพื่อประเมินผลการถ่ายทอดและเผยแพร่องค์ความรู้นวัตกรรมสินค้าวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ การดำเนินงานดังกล่าวเป็นการส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมของสาขาวิชาการออกแบบสร้างสรรค์เชิงธุรกิจ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อชุมชนและสังคม โดยกำหนดพื้นที่ในการดำเนินงานเป็นพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ในกลุ่มผู้ประกอบการหรือกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตสินค้าเชิงวัฒนธรรม ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขัน ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากผ้าและเส้นใยย้อมสีธรรมชาติที่เป็นผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ และเป็นนโยบายของทุกจังหวัด ที่มีมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทย กลุ่มผลิตภัณฑ์จากผักตบชวาและกลุ่มผลิตภัณฑ์จากใบตองแห้ง เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่สร้างสรรค์จากนวัตกรรม และสามารถผลักดันเข้าสู่สินค้าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้ กลุ่มผลิตภัณฑ์จากฝุ่นไม้และกะลาที่เป็นสินค้าที่แสดงถึงความเป็นอัตลักษณ์จังหวัดนครสวรรค์ นั่นคือ ผลิตภัณฑ์มังกรปั้นมือจากฝุ่นกะลา และผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ ที่เป็นผลิตกลุ่มสินค้าที่บ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) รายการแรกของจังหวัดนครสวรรค์ โดยใช้องค์ความรู้แบบนิเวศน์ศิลป์ (Eco Art) ที่เป็นการเชื่อมโยงการปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม โดยนำเอาการออกแบบที่นำทรัพยากรธรรมชาติหรือวัสดุธรรมชาติมาใช้โดยคำนึงถึงการทำให้เกิดมลภาวะกลับเข้าสู่ระบบนิเวศน์น้อยที่สุด (พศุตม์ กรรณรัตนสูตร. 2560) หรือ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ( Green Product ) ในการเพิ่มมูลค่าสินค้าให้แก่ชุมชน บนฐานทุนวัฒนธรรมของชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ จากกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ สู่ปลายน้ำ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสริมศักยภาพชุมชน ที่ทำให้เกิดการสร้างมูลค่า (Value Creation) จากต้นทุนทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีชีวิต ต้นทุนทางธรรมชาติที่มีในพื้นที่ มาพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์เดิมหรือการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ในกลุ่มเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) สู่การขยายตลาดหรือการหากลุ่มเป้าหมายใหม่ ควบคู่ไปกับการพัฒนาผู้ผลิตสินค้าชุมชนสู่การเป็นผู้ประกอบการสร้างสรรค์ (Creative Entrepreneurs) เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากเสริมพลังท้องถิ่นจังหวัดนครสวรรค์
จุดเด่นของโครงการ :งานวิจัย เรื่อง การถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรมสินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์จังหวัดนครสวรรค์ เน้นด้านการจัดการชุดองค์ความรู้จากศักยภาพของนักวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมสู่ชุมชน เพื่อพัฒนาสู่งานสร้างสรรค์เป็นสินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์จังหวัดนครสวรรค์
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1.เพื่อจัดทำคู่มือสำหรับการถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรมสินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์จังหวัดนครสวรรค์ 2.เพื่ออบรมถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรมสินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์จังหวัดนครสวรรค์ 3.เพื่อประเมินผลการถ่ายทอดและเผยแพร่องค์ความรู้นวัตกรรมสินค้าวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :ขอบเขตของการถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรมสินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์จังหวัดนครสวรรค์ มีดังนี้ 1.ขอบเขตด้านพื้นที่ การวิจัย เรื่อง การถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรมสินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์จังหวัดนครสวรรค์ คณะผู้วิจัยได้กำหนดพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ 2.ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรและกลุ่มตัวอย่างสำหรับงานวิจัยในครั้งนี้ คณะผู้วิจัยกำหนดกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มผู้ประกอบการและกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และ SME ที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับสินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์ (Eco Art) หรือ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ( Green Product )ที่เป็นการเชื่อมโยงการปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม โดยนำเอาการออกแบบที่นำทรัพยากรธรรมชาติหรือวัสดุธรรมชาติมาใช้โดยคำนึงถึงการทำให้เกิดมลภาวะกลับเข้าสู่ระบบนิเวศน์น้อยที่สุด ประกอบด้วย (1) ผู้ประกอบการประเภทผ้า เส้นใย และสิ่งทอ สีย้อมธรรมชาติ จำนวน 10 คน (2) ผู้ประกอบการประเภทฝุ่นกะลาและงานไม้ จำนวน 10 คน (3) ผู้ประกอบการประเภทเครื่องปั้นดินเผา จำนวน 10 คน 3.ขอบเขตด้านการออกแบบและพัฒนา ด้านการจัดทำคู่มือสำหรับการถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรมสินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 3 ชุด ประกอบด้วย (1) คู่มือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทผ้า เส้นใย และสิ่งทอ สีย้อมธรรมชาติ จำนวน 1 ชุด (2) คู่มือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ประเภทฝุ่นกะลาและงานไม้ จำนวน 1 ชุด (3) คู่มือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องปั้นดินเผา จำนวน 1 ชุด
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ได้ชุดคู่มือสำหรับการถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรมสินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์จังหวัดนครสวรรค์ 2. ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรมสินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์จังหวัดนครสวรรค์ 3. ได้นวัตกรชุมชน ผู้สร้างนวัตกรรม ถ่ายทอด ส่งต่อองค์ความรู้ในพื้นที่ชุมชน 4. ได้สร้างเครือข่ายกลุ่มสินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์จังหวัดนครสวรรค์ 5. ได้สนับสนุนการสร้างสรรค์สินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์จังหวัดนครสวรรค์ ต่อยอดสู่ประโยชน์เชิงพาณิชย์
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :กันยาพร กุณฑลเสพย์ และคณะ (2563) ได้ทำการวิจัย เรื่อง การพัฒนาศักยภาพหัตถกรรมสิ่งทอเพื่อการใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมชุมชนเชิงส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน เป็นการสร้างศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวทั้งเชิงวัฒนธรรมและวิถีชีวิต โดยมีพื้นที่ชุมชนบ้านชุมตาบง อำเภอชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์ และชุมชนใบตองแห้ง ตำบลอ่างทอง อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ เป็นกลุ่มต้นแบบการดำเนินการจัดการท่องเที่ยวโดยชมชนสามารถเดินต่อไปได้ ในระยะแรกคณะวิจัยทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง และช่วยจัดทำแผนงานและพาไปศึกษาดูงาน กลุ่มชุมชนตัวอย่างเพื่อเกิดการสร้างองค์ความรู้และการเกิดแรงบันดาลใจในการจัดกิจกรรมการ ท่องเที่ยวในชุมชน และจัดการวางแผนร่วมกับชุมชนโดยคณะผู้วิจัยได้เป็นพี่เลี้ยงในการสร้างชุดกิจกรรมเพื่อถ่ายทอดความรู้และทักษะเพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจใน กระบวนการ ทักษะและขั้นตอนกระบวนการของกิจกรรมด้าน ประกอบด้วย (1) สีธรรมชาติจาก วัตถุดิบท้องถิ่นและสร้างสรรค์ลวดลายด้วยสีย้อมธรรมชาติ (2) งานสิ่งทอการทอด้วยเครื่องทอลายอย่างง่าย และ(3) สิ่งทอการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า เพื่อการสร้างกิจกรรมท่องเที่ยวโดยชุมชน ก่อให้เกิดการท่องเที่ยวได้นอกจากนั้นยังสามารถนำไปต่อยอดในการสร้างรูปแบบผลิตภัณฑ์ของ ชุมชนให้เกิดความหลายหลายและเป็นแนวทางเพิ่มรายได้ของชุมชนอีกทางโดยการเพิ่มศักยภาพของกิจกรรมการท่องเที่ยวของวิสาหกิจชุมชนหรือ OTOP ด้านสิ่งทอเพื่อสื่อถึงอัตลักษณ์เพื่อเป็นพื้นฐาน สำคัญในการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน กิตติพงษ์ เกียรติวิภาค (2555) ทำการวิจัย เรื่อง การศึกษาและพัฒนาการนำผ้าฝ้ายทอมือ มาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ กรณีศึกษา : กลุ่มหมู่บ้านผ้าฝ้ายทอมือบ้านดอนหลวง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อศึกษาและพัฒนาการนำผ้าฝ้ายทอมือมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมถึงส่งเสริมงานศิลปหัตถกรรมในท้องถิ่นให้มีสินค้ามากขึ้น รายได้เพิ่มขึ้นและได้รูปแบบที่สามารถนำไปพัฒนาและต่อยอดทางความคิด รวมถึงความร่วมมือกันระหว่างชุมชนในการผลิตชิ้นงาน ผลการวิจัยพบว่า ภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติเชิงบวกในระดับมากที่สุดต่อผลิตภัณฑ์โดยประเด็นที่กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยสูงที่สุด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้ายทอมือสามารถต่อยอดพัฒนารูปแบบและลวดลายในอนาคตได้ สะท้อนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น มีรูปแบบและการประยุกต์ที่สวยงามและเป็นที่ดึงดูดใจ เป็นการใช้เทคนิคภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบเดิมมาใช้ในการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้ายทอมือสามารถพัฒนาเป็นสินค้าที่เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนได้ และสะท้อนความเป็นเอกลักษณ์และลักษณะเฉพาะของความเป็นท้องถิ่นได้อย่างชัดเจน รจนา จันทราสา และคณะ (2553) ทำการวิจัย เรื่อง การศึกษาและพัฒนาเอกลักษณ์ลวดลายบ้านเชียงเพื่อประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์ผ้าแปรรูปเพ้นท์บาติก เพื่อพัฒนารูปแบบเป็นผลิตภัณฑ์หัตถกรรมของที่ระลึกจังหวัดอุดรธานี มีวัตถุประสงค์ในงานวิจัย เพื่อวิเคราะห์เอกลักษณ์ลวดลายบ้านเชียง ในการนามาประยุกต์ร่วมกับผลิตภัณฑ์ผ้าแปรรูปเพ้นท์บาติกได้ เพื่อออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าแปรรูปเพ้นท์บาติกจังหวัดอุดรธานี จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ ให้มีความสวยงามเหมาะสมกับเอกลักษณ์ลวดลายบ้านเชียง และเพื่อประเมินผลิตภัณฑ์ผ้าแปรรูปเพ้นท์บาติกที่มีต่อผลิตภัณฑ์หัตถกรรมผ้าที่ออกแบบและพัฒนานาไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ ผลการวิจัยพบว่า (1) เอกลักษณ์ลวดลายบ้านเชียง ที่สามารถสื่อถึงเอกลักษณ์บ้านเชียงได้ชัดเจนมากที่สุด คือ ลวดลายขดก้นหอยของบ้านเชียง ผู้บริโภคมีความต้องการผลิตภัณฑ์หัตถกรรมของที่ระลึกจังหวัดอุดรธานีจากผ้าแปรรูปเพ้นท์บาติกลายบ้านเชียงประเภทชุดผ้าปูที่นอน มากที่สุด รองมาคือ คือ เฟอร์นิเจอร์ เก้าอี้ และโคมไฟประดับบ้านตามลาดับ (2) ผลการวิเคราะห์การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าแปรรูปโดยผู้เชี่ยวชาญการออกแบบ รูปแบบของชุดผ้าปูที่นอน เก้าอี้ และโคมไฟ ที่ออกแบบและพัฒนานั้นมีความเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย เหมาะสมกับวัสดุและกรรมวิธีการผลิต มีความสวยงามและลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ อยู่ในระดับมากที่สุด (3) ผลการวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์หัตถกรรมผ้าแปรรูปเพ้นท์บาติก มีความพึงพอใจเก้าอี้นั่งเล่นมากที่สุด รองลงมาคือ ชุดผ้าปูที่นอน และโคมไฟประดับบ้าน ตามลำดับ รพีพัฒน์ มั่นพรม และคณะ (2564) ทำการวิจัย เรื่อง การสร้างมูลค่าเพิ่มจากศิลปะและวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์กะลาและงานไม้ตำบลพระนอน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ได้สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ของที่ระลึกกะลาและงานไม้ จากเอกลักษณ์ ศิลปะและวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดนครสวรรค์ และส่งเสริมด้านการตลาดบนสื่อออนไลน์ ผลการวิจัย พบว่า การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกของจังหวัดนครสวรรค์ ควรจะเลือกเป็นเอกลักษณ์จากสิ่งก่อสร้างหรือแลนด์มาร์ค เนื่องจากเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว ผนวกกับการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากกะลาและงานไม้ ที่มีสินค้าโดดเด่น นั่นคือ แบบจำลองรถตุ๊กตุ๊ก ดังนั้น ควรให้นำเอาเอกลักษณ์จากสิ่งก่อสร้างหรือแลนด์มาร์คออกแบบร่วมกับแบบจำลองรถตุ๊กตุ๊ก ในแนวคิดการใช้แบบจำลองรถตุ๊กตุ๊ก นำเที่ยวไปยังสถานที่สำคัญต่าง ๆ เพื่อเป็นต้นแบบในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจังหวัดนครสวรรค์ ด้านการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ โดยการสร้างสรรค์รูปแบบบรรจุภัณฑ์เป็นกล่องกระดาษคราฟสีน้ำตาล สื่อถึงผลิตภัณฑ์กะลาและงานไม้ ออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์ที่สื่อถึงผลิตภัณฑ์อย่างชัดเจน เพิ่มเติมข้อมูลรายละเอียดที่สำคัญให้ครบถ้วนตามมาตรฐานการออกแบบบรรจุภัณฑ์ และในส่วนสุดท้ายการพัฒนาด้านการส่งเสริมการตลาด โดยการพัฒนาตลาดออนไลน์ เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายและการโฆษณาสินค้า และการประชาสัมพันธ์กิจกรรมเพื่อกระตุ้นยอดจำหน่ายให้ดีขึ้น ตลอดทั้งกระบวนการวิจัยได้ทำการบูรณาการกับการเรียนการสอนในศาสตร์สาขาวิชาการออกแบบสร้างสรรค์เชิงธุรกิจ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกับชุมชนสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :กรอบแนวคิดกระบวนการพัฒนา (กลางน้ำ) 1. การจัดการชุดองค์ความรู้สําหรับการถ่ายทอด (1) ชุดองค์ความรู้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทผ้า เส้นใย และสิ่งทอ สีย้อมธรรมชาติ (2) ชุดองค์ความรู้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทฝุ่นกะลาและงานไม้ (3) ชุดองค์ความรู้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทเครื ่องปั้นดินเผา 2. กระบวนการอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรม (1) กิจกรรมที่ 1 การอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้กลุ่มผลิตภัณฑ์ ประเภทผ้า เส้นใย และสิ่งทอสีย้อมธรรมชาติ (2) กิจกรรมที่ 2 การอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้กลุ่มผลิตภัณฑ์ ประเภทฝุ่นกะลาและงานไม้ (3) กิจกรรมที่ 3 การอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้กลุ่มผลิตภัณฑ์ ประเภทเครื่องปั้นนดินเผา 3. การประเมินผลการถ่ายทอดและเผยแพร่องค์ความรู้นวัตกรรม 4. การสร้างนวัตกรชุมชนผู้สร้างนวัตกรรม ถ่ายทอดส่งต่อองค์ความรู้ ในพื้นที่ชุมชน 5.การหนุนเสริมกระบวนการด้วยการสร้างเครือข่ายกลุ่มสินค้าวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :1. การจัดการชุดองค์ความรู้สำหรับการถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรม การจัดทำคู่มือสำหรับการถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรมสินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 3 ชุด ประกอบด้วย (1) คู่มือชุดองค์ความรู้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทผ้า เส้นใย และสิ่งทอ สีย้อมธรรมชาติ (2) คู่มือชุดองค์ความรู้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทฝุ่นกะลาและงานไม้ (3) คู่มือชุดองค์ความรู้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องปั้นดินเผา 2. การอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรม การอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรมสินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 2 วัน ในการจัดงานแสดงสินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์จังหวัดนครสวรรค์ (ตลาดสินค้าวัฒนธรรม) ประกอบด้วย 3 กิจกรรม (1) กิจกรรมที่ 1 การอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทผ้า เส้นใย และสิ่งทอ สีย้อมธรรมชาติ (2) กิจกรรมที่ 2 การอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทฝุ่นกะลาและงานไม้ (3) กิจกรรมที่ 3 การอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องปั้นดินเผา 3. การประเมินผลการถ่ายทอดและเผยแพร่องค์ความรู้นวัตกรรม การประเมินผลองค์ความรู้และทักษะ ที่ได้รับจากการถ่ายทอดและเผยแพร่องค์ความรู้นวัตกรรมสินค้าวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ โดยประเมินผลกิจกรรม ในงานแสดงสินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์จังหวัดนครสวรรค์ (ตลาดสินค้าวัฒนธรรม) ประกอบด้วย 3 กิจกรรม (1) การประเมินผลองค์ความรู้และทักษะ ในกิจกรรมที่ 1 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทผ้า เส้นใย และสิ่งทอ สีย้อมธรรมชาติ (2) การประเมินผลองค์ความรู้และทักษะ ในกิจกรรมที่ 2 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทฝุ่นกะลาและงานไม้ (3) การประเมินผลองค์ความรู้และทักษะ ในกิจกรรมที่ 3 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องปั้นดินเผา 4. การสร้างนวัตกรรมชุมชนผู้สร้างนวัตกรรม ถ่ายทอดส่งตอองคืความรู้ในพื้นที่ชุมชน โดยการ คัดเลือกจากผู้เข้าร่วมโครงการ พัฒนาเป็นผู้สร้างนวัตกรรมถ่ายทอดส่งต่อองค์ความรู้ในพื้นที่ชุมชน ทั้ง 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :งานวิจัย เรื่อง การถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรมสินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์จังหวัดนครสวรรค์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1.จัดทำคู่มือสำหรับการถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรมสินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์จังหวัดนครสวรรค์ 2.อบรมถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรมสินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์จังหวัดนครสวรรค์ 3.ประเมินผลการถ่ายทอดและเผยแพร่องค์ความรู้นวัตกรรมสินค้าวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งมีผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ประกอบด้วย 1. ได้ชุดคู่มือสำหรับการถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรมสินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์จังหวัดนครสวรรค์ 2. ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรมสินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์จังหวัดนครสวรรค์ 3. ได้นวัตกรชุมชน ผู้สร้างนวัตกรรม ถ่ายทอด ส่งต่อองค์ความรู้ในพื้นที่ชุมชน 4. ได้สร้างเครือข่ายกลุ่มสินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์จังหวัดนครสวรรค์ 5. ได้สนับสนุนการสร้างสรรค์สินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์จังหวัดนครสวรรค์ ต่อยอดสู่ประโยชน์เชิงพาณิชย์
จำนวนเข้าชมโครงการ :5 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวกันยาพร กุณฑลเสพย์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย50
นายรพีพัฒน์ มั่นพรม บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย20
นางสาวสุจิตรา อยู่หนู บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย15
นายนัฐท์ธีรนนช์ รอดชื่น บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย15

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด