รหัสโครงการ : | R000000666 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | การพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะของบุคลากร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | Development of information database system for training and development skill of personnel Faculty of Management Science, Nakhon Sawan Rajabhat University |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | database development skill |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะวิทยาการจัดการ > สำนักงานคณบดี กลุ่มงานส่งเสริมวิชาการ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 15000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 15,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 06 ธันวาคม 2565 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 05 ธันวาคม 2566 |
ประเภทของโครงการ : | งานวิจัยประยุกต์ |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี |
สาขาวิชาการ : | สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ |
กลุ่มวิชาการ : | อื่นๆ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ไม่ระบุ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | ปัจจุบันนี้เป็นที่ยอมรับว่าระบบสารสนเทศมีความสำคัญและจำเป็นอย่างมากต่อการพัฒนาเพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นงานในหน้าที่ประจำวันหรืองานส่งเสริมการบริหารงานใน หน่วยงานต่างๆ ระบบสารสนเทศด้านการบริหารจัดการบุคลากรก็เช่นเดียวกัน เป็นระบบที่มี ความสำคัญต่อการพัฒนาองค์กรเพื่อก่อให้เกิดการขับเคลื่อนองค์กรและการพัฒนาบุคลากรอย่างมี ประสิทธิภาพ ระบบสารสนเทศมีความสำคัญในหลายด้านทั้งด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม โดยเฉพาะด้านการศึกษาที่สามารถพัฒนาให้ระบบการจัดการศึกษาสะดวก รวดเร็ว ทันเวลา และได้ข้อมูลที่ถูกต้อง และที่สำคัญเป็นช่องทางสำหรับติดต่อสื่อสารตลอดจนการบริการจัดการข้อมูลที่ทันสมัย ดังนั้นการพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยจะก่อประโยชน์ให้กับองค์กร หรือสถาบันการศึกษาเป็นอย่างมาก ซึ่งระบบสารสนเทศสามารถแบ่งออกเป็นระบบย่อยๆได้มากมาย เช่น ระบบประมวลผลข้อมูล ระบบสารสนเทศการจัดการ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ หรือระบบผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น ซึ่งระบบสารสนเทศแต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกันในการดำเนินงาน และการใช้ฐานข้อมูล จึงต้องได้รับออกแบบและพัฒนาขึ้นตามคุณสมบัติเฉพาะ อย่างไรก็ตามการพัฒนาระบบสารสนเทศจะมีลักษณะร่วมกันของการดำเนินงานที่เป็นระบบและต้องอาศัยความเข้าใจในขั้นตอนการดำเนินงาน การศึกษาเรื่องการพัฒนาระบบ (System Development) จึงเป็นสิ่งสำคัญ ไม่แต่เฉพาะบุคคลที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับสารสนเทศแต่มีความจำเป็นสำหรับสมาชิกอื่นขององค์การที่ต้องเกี่ยวข้องในฐานะผู้ใช้ระบบนั้นด้วย ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการศึกษาแนวคิดการจัดการสารสนเทศในการสร้างความเข้มแข็งด้านการบริการบุคลากรในระดับวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย (Xie,J., 2011) การใช้งานประโยชน์ และอุปสรรคของระบบสารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เพื่อทดสอบการรับรู้ ความเข้าใจของผู้สอนเกี่ยวกับประโยชน์และอุปสรรคของระบบสารสนเทศทรัพยากรมนุษย์และสำรวจ ความสัมพันธ์ของความหลากหลายด้านทัศนคติในกลุ่มผู้เข้าร่วม (Elena, Y. L. and et al., 2014)
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ก็ได้เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะของบุคลากรเช่นเดียวกัน ซึ่งถือได้ว่าระบบดังกล่าวจะเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อหน่วยงานเพราะทำให้บุคลากรได้เพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ ทักษะและเจตคติในการปฏิบัติงาน การปรับตัวให้ทันกับวิทยาการเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังช่วยให้ก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน ทั้งยังทำให้หน่วยงานได้รับผลผลิตเพิ่มขึ้นและลดความสิ้นเปลือง เมื่อได้รับการพัฒนาแล้ว ความสามารถและความประพฤติของบุคลากรจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่หน่วยงานต้องการ ทางผู้วิจัยจึงได้มีการออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูลบุคลากรเพื่อใช้ในการจัดเก็บข้อมูลบุคลากรของคณะวิทยาการจัดการ ในการนี้เพื่อเป็นการต่อยอดการพัฒนาระบบและเชื่อมต่อข้อมูลและฐานข้อมูลร่วมกันในหน่วยงานให้มีความเหมาะสมกับการใช้งานของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จึงมีความประสงค์ที่จะพัฒนาระบบระบบฐานข้อมูลสารสนเทศการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะของบุคลากรให้สามารถรองรับการขยายตัวและการพัฒนาขององค์กรในอนาคต โดยเห็นควรให้ออกแบบและพัฒนาระบบในรูปของเว็บแอพพลิเคชั่น (Web Application) ที่สามารถสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตดำเนินการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ลด ความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บข้อมูล และทำการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นฐานข้อมูลกลางที่เหมาะแก่การประมวลผลข้อมูลบุคลากร ทั้งนี้ ในปัจจุบันการจัดเก็บข้อมูลบุคลากรคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ได้จัดเก็บในรูปแบบเอกสารและไฟล์ดิจิตอลแบบออฟไลน์ ยังไม่มีการจัดเก็บในรูปแบบของระบบสารสนเทศบุคลากรออนไลน์ ข้อมูลที่จัดเก็บเป็นข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล และไม่จัดให้อยู่ในรูปของสารสนเทศที่พร้อมนำไปใช้งานได้ทันทีทำให้การค้นหา และการเรียกใช้ข้อมูลเป็นไปด้วยความล่าช้า ไม่เป็นปัจจุบันและขาดสารสนเทศที่เหมาะแก่การนำไปใช้งานได้จริง
จากปัญหา และความสำคัญดังกล่าว ผู้วิจัยจึงมีความประสงค์ศึกษาในหัวข้อการพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะของบุคลากร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยทำการศึกษาความพร้อมการใช้งานระบบสารสนเทศผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และออกแบบการพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะของบุคลากร สำหรับการใช้งาน ในองค์กรให้มีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบสามารถเชื่อมต่อข้อมูลและใช้ฐานข้อมูลร่วมกันในส่วนงานต่าง ๆ ซึ่งผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลสารสนเทศที่ถูกจัดเก็บและประมวลผลผ่านระบบไปใช้ในการวางแผนกลยุทธ์การบริหารจัดการได้อย่างเป็นระบบ รวดเร็ว เพื่อพัฒนาศักยภาพการทำงานของบุคลากรภายในหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นต่อไป |
จุดเด่นของโครงการ : | - |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1) เพื่อศึกษาออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะของบุคลากร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบฐานข้อมูลสารสนเทศการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะของบุคลากร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ที่พัฒนาขึ้น
3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อระบบฐานข้อมูลสารสนเทศการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะของบุคลากร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ที่พัฒนาขึ้น |
ขอบเขตของโครงการ : | 1) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1.1) ประชากรที่ใช้ในการทำวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนที่สังกัดคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
1.2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ผู้วิจัยจะแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้สำหรับประเมินประสิทธิภาพระบบที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีส่วนในการทดสอบหรือใช้งานระบบฐานข้อมูลสารสนเทศการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะของบุคลากรที่พัฒนาขึ้น จำนวน 15 คน (Nielsen and Mack, 1994) โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบระบบฐานข้อมูลสารสนเทศการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะของบุคลากรที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนที่สังกัดคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน 30 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
2) ตัวแปรที่วิจัย มีดังนี้
1) ตัวแปรต้น คือ ระบบฐานข้อมูลสารสนเทศการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะของบุคลากร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
2) ตัวแปรตาม คือ
2.1) ประสิทธิภาพของระบบฐานข้อมูลสารสนเทศการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะของบุคลากร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น
2.2) ความพึงพอใจของผู้ใช้งานต่อระบบฐานข้อมูลสารสนเทศการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะของบุคลากร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | 1) ได้ระบบสารสนเทศเพื่ออำนวยความสะดวกและช่วยจัดการด้านการประมวลผลของข้อมูลด้านบุคลากรในคณะฯ ให้มีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้งาน และเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลอื่น ๆ ภายในมหาวิทยาลัยฯ และองค์กรอื่น ๆ
2) ได้ระบบฐานข้อมูลสารสนเทศการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะของบุคลากร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ที่พัฒนาขึ้นที่ทำงานผ่าน เครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่สามารถรองรับการขยายตัว และการพัฒนาขององค์กรในอนาคต
3) ทราบระดับความพึงพอใจในการใช้ระบบฐานข้อมูลสารสนเทศการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะของบุคลากร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้ในการปฏิบัติงานได้จริง
4) บุคลากรสามารถบริหารจัดการข้อมูลส่วนตัวผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ได้ทั้งเรียกดู แก้ไข เพิ่ม ลบ และส่งออกข้อมูลภายใต้สิทธิ์ที่กำหนดได้
5) เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง (งานประกันคุณภาพ งานประชาสัมพันธ์ งานวิชาการ ฯลฯ) สามารถบริหารจัดการข้อมูลบุคลากรผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ ทั้งปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ลดความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บข้อมูล ลดการสูญหายของข้อมูล ลดขั้นตอนการทำงานลดเวลาในการค้นหาข้อมูล ลดค่าใช้จ่ายและสามารถส่งออกข้อมูล บุคลากรได้ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
6) ผู้บริหารและหน่วยงานต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยสามารถใช้ฐานข้อมูลร่วมกันผ่านเครือข่าย อินเตอร์เน็ตได้ เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล สามารถค้นหาข้อมูล วิเคราะห์ ข้อมูลบุคลากร ช่วยในการตัดสินใจได้เร็วขึ้นทำกับสภาพการณ์ และสนับสนุนการทำงานด้านบุคลากร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | Mongkhon et al.(2017) ทำการศึกษาเรื่อง ระบบสมัครอบรมคอร์สบริการวิชาการออนไลน์ คณะบริหารธุรกิจ และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลสุวรรณภูมิ ผลการวิจัยพบว่า ผลการพัฒนา ระบบสมัครอบรมคอร์สบริการวิชาการออนไลน์คณะ บริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีส่วนประกอบ หลักของระบบ 3 ส่วน ได้แก่ 1) Database System & Administration System เป็นส่วนของระบบฐานข้อมูลและ ระบบบริหารจัดการข้อมูลของระบบ 2) Authentication System เป็นส่วนที่ทำหน้าที่พิสูจน์สิทธิ์ของผู้ใช้ก่อนที่จะ เชื่อมต่อเข้าไปใช้งานภายในเว็บไซต์ระบบฐานข้อมูล โครงงานนักศึกษา และ 3) User เป็นส่วนของกลุ่มผู้ใช้ที่ เข้ามาใช้งานในระบบที่ประกอบ ด้วยการลงทะเบียนผู้ใช้ การลงทะเบียนเข้ารับบริการวิชาการ การอนุมัติการ ลงทะเบียนเข้าอบรม การจัดการข้อมูลเพื่อรองรับการ ทำงานของระบบที่มีความแตกต่างกันตามกลุ่มของผู้ใช้ระบบและผลการหาประสิทธิภาพระบบสมัครอบรมคอร์ส บริการวิชาการออนไลน์พบว่า กลุ่มผู้มีประสบการณ์ด้าน การพัฒนาระบบทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และกลุ่ม 75 ผู้พัฒนาระบบและกลุ่มผู้ใช้งานเห็นว่า ระบบมีความ เหมาะสมอยู่ในระดับดีทั้งโดยรวมและรายด้าน และ Siriwat (2016) ได้ศึกษาและพัฒนาระบบลงทะเบียนเรียนออนไลน์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา ผลการศึกษาพบว่าระบบ ลงทะเบียนเรียนออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นเป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้งาน มีส่วนช่วยในการลดปัญหาโดยเฉพาะ ลดจำนวนบุคลากรในการดำเนินงาน ลดความล่าช้าที่ เกิดขึ้นจากระบบงาน ลดข้อผิดพลาด ช่วยส่งผลให้การทำงานโดยรวมรวดเร็วและมีคุณภาพมากขึ้น สามารถนำไปใช้ได้จริง สอดคล้องกับ Pichet and Amnat (2010) ทำการพัฒนาระบบการฝึกอบรมผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยพัฒนาขึ้นมาบน พื้นฐานการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการ บริหารจัดการฝึกอบรม เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้เข้า อบรมในการสมัครอบรมและการฝึกอบรม อำนวยความสะดวกให้กับผู้จัดการอบรมและวิทยากร ในการจัดการเกี่ยวกับหลักสูตรและจัดการฝึกอบรม ในด้านการพัฒนา ระบบใช้ระบบจัดการฐานข้อมูล MySQL ภาษา PHP ระบบ ปฏิบัติการ Microsoft Windows 2000 Server และ แสดงผลบนโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ทั่วไปทำงานผ่าน เครือข่ายอินเทอร์เน็ต จากการทดสอบประสิทธิภาพและ คุณภาพของระบบ โดยใช้แบบสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน มีผลทดสอบประสิทธิภาพและคุณภาพของ ระบบเฉลี่ยในระดับดีมาก และใช้แบบสอบถามจาก ประชากรกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน มีผลความพึงพอใจของระบบเฉลี่ยในระดับพึงพอใจมาก สามารถนำไปใช้ งานกับงานฝึกอบรมขององค์กรได้
พารุณี ยิ้มสบาย (2550) ได้ศึกษาการพัฒนาระบบฐานข้อมูลงานวิจัยนิสิตแพทย์ คณะ แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อให้ได้ระบบสืบค้นฐานข้อมูลงานวิจัยของนิสิตแพทย์ที่มีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็วในการสืบค้นผ่านอินเตอร์เน็ต และลดการสูญหาย อันเนื่องมาจากมีงานวิจัยปริมาณมากงานวิจัยนี้ได้พัฒนา จากภาษา PHP และ MySQL ผลการวิจัยพบว่า เมื่อประเมินความพึงพอใจของผู้นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 4 จำนวน 167 คน มีค่าความพึงพอใจอยู่ในระดับดี และเป็นระบบฐานข้อมูลที่เหมาะสมต่อการใช้งาน การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ “8th National and 1st International Conference on Innovative Management Science for Sustainable Society” 851
อุดม จีนประดับ และคณะ (2555) ได้ศึกษาการพัฒนาระบบฐานข้อมูลการตรวจสอบภายในของกระทรวงอุสาหกรรม โดยงานวิจัยนี้ได้พัฒนาระบบฐานข้อมูลการตรวจสอบภายในและนำเสนอเป็นรายงานในรูปแบบ สารสนเทศให้กับผู้บริหาร. การพัฒนาระบบฐานข้อมูลได้ใช้ Microsoft SQL Server ผลการวิจัยพบว่า ระบบ ฐานข้อมูลที่พัฒนาช่วยให้การตรวจสอบภายในของกระทรวงมีขั้นตอนที่ชัดเจน ผู้ที่มีหน้าที่ตรวจสอบสามารถรายงาน ผลในประเด็นต่างๆได้ครบถ้วน รวดเร็ว มีผลประเมินความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก
รัชฎา ขันทอง มณเฑียร รัตนศิริวงศ์กุล และ มาลีรัตน์ โสดานิล (2558) ได้ศึกษาการพัฒนาระบบ สารสนเทศเพื่อติดตามยอดเงินค้างชำระโดยวิธีการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ โดยงานวิจัยนี้เป็นโปรแกรมช่วยในการ ติดตามยอดค้างชำระ ซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้กับฝ่ายบัญชี ฝ่ายขาย และผู้บริหาร ในการตรวจสอบ อันจะเป็น การปะหยัดเวลาและสะดวกในการติดตามลูกค้ามากขึ้น. การพัฒนาระบบได้ใช้ PHP และ MySQL เป็นระบบจัดการ ฐานข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ระบบสารสนเทศช่วยติดตามยอดเงินค้างชำระได้สะดวกรวดเร็ว เหมาะสมแก่การใช้ งานจริง มีผลประเมินความพึงพอใจเท่ากับ 4.25 อยู่ระดับดี
วิชชา ฉิมพลี และคณะ (2555) ได้ศึกษาการออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูลการบริหารและ เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโคกโคเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยผู้วิจัยได้พัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านองค์ความรู้ งานวิจัยของชุมชน และกิจกรรมต่างๆของตำบลโคโคเฒ่า ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้ตำบลมีระบบประมวลผล ข้อมูลที่ทันต่อเหตุการณ์ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนได้ งานวิจัยนี้ได้ พัฒนาระบบด้วย PHP และ MySQL ผลการวิจัยพบว่า เมื่อมีระบบฐานข้อมูลทำให้ตำบลโคกโคเฒ่าเป็นที่รู้จักมาก ขึ้น มีการใช้งานที่ง่าย และช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งได้ มีผลประเมินความพึงพอใจโดยรวมเป็น 3.97 อยู่ในระดับมาก
กรชนก ทัพโยธา และ พยุง มีสัจ (2555) ได้ศึกษาการพัฒนาระบบสารสนเทศการวางแผนและ งบประมาณ กรณีศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอี่ยมละออ โดยผู้วิจัยได้พัฒนาระบบที่ช่วยบริหารจัดการด้านงบประมาณของวิทยาลัยในแต่ละปีงบประมาณ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถใช้วิเคราะห์และตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินงานตามแผนได้ประจำปีงบประมาณ ซึ่งระบบนี้พัฒนาโดยใช้ MySQL ในการจัดการฐานข้อมูล และพัฒนา เป็น Web Application เพื่อให้การใช้งานสะดวก รวดเร็ว และใช้งานง่าย. ผลการวิจัยพบว่า ระบบสามารถนำเสนอ รายงานการติดตามการใช้งบประมาณให้ผู้บริหารได้อย่างถูกต้อง สะดวก มีผลประเมินความพึงพอใจเป็น 3.71 อยู่ ในระดับดี |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | สมมุติฐานงานวิจัย
1) ระบบฐานข้อมูลสารสนเทศการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะของบุคลากร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพในระดับดี
2) ความพึงพอใจของผู้ใช้งานต่อระบบฐานข้อมูลสารสนเทศการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะของบุคลากร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์อยู่ในระดับมาก |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | วิธีดำเนินการวิจัย
1) ศึกษาความต้องการและเก็บรวมรวมข้อมูลเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูลสารสนเทศการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะของบุคลากร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
2) วิเคราะห์และออกแบบระบบฐานข้อมูลสารสนเทศการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะของบุคลากร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ในรูปแบบเว็บแอพพลิเคชั่น การจัดเก็บ และส่งออกข้อมูล ซึ่งจัดเก็บข้อมูล โดยมีหัวข้อตัวอย่างดังต่อไปนี้
1) ข้อมูลพื้นฐานของบุคลากร ซึ่งประกอบด้วยการจัดการข้อมูล ดังนี้
1.1) ข้อมูลหน่วยงาน แผนก/ฝ่าย/กลุ่มงาน
1.2) ข้อมูลตำแหน่งงาน
1.3) ข้อมูลตำแหน่งทางวิชาการ
1.4) ข้อมูลระดับการศึกษา
1.5) ข้อมูลประเภทบุคคล
2) ทะเบียนการฝึกอบรมและการพัฒนา
2.1) ข้อมูลรายละเอียดส่วนบุคคล
2.2) ข้อมูลที่พักอาศัย
2.3) ข้อมูลการจ้าง/แหล่งงบประมาณที่จ้าง
2.4) ข้อมูลตำแหน่ง/เลขประจำตำแหน่ง
2.5) ข้อมูลวุฒิที่บรรจุ
2.6) ข้อมูลสายวิชาการ/สนับสนุน
2.7) ข้อมูลบรรจุเป็นข้าราชการ/พนักงานมหาวิทยาลัย/ลูกจ้างชั่วคราว
2.9) ประวัติการศึกษา/ต่ำกว่าตรี/ตรี/โท/เอก/วุฒิ/สาขา
2.10) ประวัติการอบรม/ประชุมวิชาการ/สัมมนา/ศึกษาดูงาน
2.11) การนำเสนอผลงานวิชาการ
2.12) ข้อมูลสถานที่/ประชุม/อบรม/สัมมนา/ศึกษาดูงาน
2.13) สถานการณ์การพัฒนาตนเอง
3) รายงานบุคลากร สามารถเลือกรายงานข้อมูลได้ดังนี้
3.1) รายงานข้อมูลบุคลากรแยกเป็นรายบุคคล
3.2) รายงานข้อมูลแยกตามตำแหน่ง/สาขา/แผนก
3.3) รายงานข้อมูลแยกตามประเภทบุคลากร
3.4) รายงานข้อมูลแยกตามวัน/เดือน/ปีที่บรรจุ
4) ระบบที่พัฒนาสามารถกำหนดสิทธิ์ของผู้ใช้งานระบบได้ เป็นการกำหนดสิทธิตามระดับ ของผู้ใช้งาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันการเข้าไปดำเนินการต่าง ๆ กับข้อมูลของผู้ใช้ที่ไม่มีส่วน เกี่ยวข้องและเป็นการรักษาความลับของข้อมูล เช่น การบันทึก การแก้ไข/ปรับปรุง และการลบ เป็นต้น ซึ่งมีการกำหนดสิทธิ์ ดังต่อไปนี้
4.1) ผู้ดูแลระบบ สามารถบริหารจัดการข้อมูลต่าง ๆ ของระบบได้ทุกส่วน
4.2) ผู้บริหาร สามารถเรียกดูข้อมูลต่าง ๆ ในระบบได้ และส่งออกข้อมูลได้
4.3) เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคลากร สามารถ เรียกดู บันทึก แก้ไข/ปรับปรุง และลบ ข้อมูล ต่างๆ ภายใต้สิทธิที่กำหนด และสามารถส่งออกข้อมูลได้
4.4) บุคลากร สามารถ เรียกดู บันทึก แก้ไข/ปรับปรุง และลบ ข้อมูลของตนเองได้ ภายใต้สิทธิที่กำหนด
4.5) บุคคลทั่วไปหรือผู้เยี่ยมชม สามารถเรียกดูรายชื่อ ค้นหาบุคลากรได้
5) ระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถทำงานผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สามารถปรับปรุงข้อมูลให้เป็น ปัจจุบัน ช่วยลดความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บข้อมูล ลดการสูญหายของข้อมูล ลดขั้นตอนการทำงาน ลดเวลาในการค้นหาข้อมูล ลดค่าใช้จ่าย และสามารถส่งออกข้อมูลบุคลากรได้
6) ระบบสำหรับผู้ดูแลระบบและระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูล
6.1) ระบบฐานข้อมูลบริหารงานบุคลากร ที่พัฒนาขึ้นต้องเป็นแบบ Web Application พร้อมทั้งแสดงผล Web Site ไม่ว่าจะเป็นระบบ Intranet หรือ Internet โดยผ่าน Browser เพียงตัวเดียว
6.2) ระบบจะต้องมีหน้าจอสำหรับผู้ดูแลระบบ เพื่อใช้สำหรับควบคุมการใช้งาน การกำหนดสิทธิการใช้งานโปรแกรมในส่วนต่าง ๆ ระบบตรวจสอบการเข้าออกของผู้ใช้
6.2.1) ผู้ดูแลระบบสามารถดำเนินการเพิ่มเติมจำนวนกลุ่มผู้ใช้งานและสามารถเลือกกำหนดสิทธิ์การใช้งานได้ครอบคลุมทุกสิทธิ์ทุกเมนู
6.2.2) มีระบบรักษาความปลอดภัยของแต่ละระดับ ได้แก่ ผู้ใช้งาน ผู้ดูแลระบบ โดยแยกหน่วยงานย่อยได้ตามโครงสร้างขององค์กร
6.2.3) มีระบบการบันทึกรายละเอียดของผู้เข้าใช้ ได้แก่ IP Address, วัน-เวลา และชื่อผู้ใช้งาน เพื่อใช้ในการตรวจสอบบันทึกการทำงาน
6.2.4) ระบบฐานข้อมูลบริหารงานบุคลากร ที่พัฒนาขึ้นต้องสามารถทำงานร่วมกับโปรแกรมบริหารจัดการฐานข้อมูล MySQL หรือ Microsoft SQL Server Standard
3) พัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะของบุคลากร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ตามตัวอย่าง ข้อ 2
4) อัพโหลดระบบฐานข้อมูลระบบฐานข้อมูลสารสนเทศการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะของบุคลากร สำหรับการนำไปใช้งานจริงผ่านเครือข่ายของมหาวิทยาลัยฯ
5) ให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินประสิทธิภาพของระบบ พร้อมปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำ
6) ทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ 1 เพื่อประเมินประสิทธิระบบฐานข้อมูลสารสนเทศการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะของบุคลากรและกลุ่มที่ 2 เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบระบบฐานข้อมูลสารสนเทศการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะของบุคลากรที่พัฒนาขึ้น
7) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
7.1) แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลการใช้ระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ
7.2) ซอฟต์แวร์ (Software)
7.2.1) โปรแกรมแปลภาษาพีเอชพี (PHP Interpreter)
7.2.2) โปรแกรมบริหารจัดการฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล (MySQL)
7.2.3) โปรแกรมดรีมเวฟเวอร์ (Dreamweaver)
7.2.4) โปรแกรมจำลองเว็บเซิร์ฟเวอร์เอ็กแอ็ม (XAMPP)
8) นำระบบที่พัฒนาขึ้นไปใช้งานจริงและจัดทำเอกสารคู่มือ
9) วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติและสรุปผลการวิจัย |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | - |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 32 ครั้ง |