รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000662
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การยกระดับนวัตกรรมชุมชนสู่การขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรม ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The Enhancement of Community Innovation in Driving Cultural Capital for Nakhonsawan Province
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :นวัตกรรมชุมชน, ทุนทางวัฒนธรรม, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, จังหวัดนครสวรรค์
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี > ภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
ลักษณะโครงการวิจัย :แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :-
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :180000
งบประมาณทั้งโครงการ :180,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :17 ตุลาคม 2565
วันสิ้นสุดโครงการ :17 เมษายน 2567
ประเภทของโครงการ :การวิจัยและพัฒนา
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ไม่ระบุ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :การยกระดับนวัตกรรมชุมชนสู่การขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรม เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยใช้ฐานทุนและศักยภาพของชุมชนในการดำเนินงานเชิงพัฒนา และเป็นส่วนหนึ่งของพลังทางสังคมที่หนุนเสริมการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล 4 ด้าน ได้แก่ (1) การลดความเลื่อมล้ำของสังคม เน้นการกระจายให้กิจกรรมครอบคลุมทุกกลุ่มประชากร โดยเฉพาะกิจกรรมด้านการพัฒนาอาชีพและผลิตภัณฑ์ (2) การสร้างความเป็นธรรม ในการเข้าถึงบริการสาธารณะที่จัดโดยหน่วยงานรัฐในพื้นที่ หรือบริการที่มีจำเป็นต่อการดำรงชีพที่ดำเนินการโดยชุมชน (3) การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน และการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นวิถีของชุมชนท้องถิ่น และ (4) สร้างความต่อเนื่องและยั่งยืน เน้นการต่อยอดงานของชุมชนในการเพิ่มคุณภาพ เพิ่มผลิตภัณฑ์ เพิ่มคนดำเนินการ และการขยายตลาด (สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.), 2561) จังหวัดนครสวรรค์ มีวิสัยทัศน์การพัฒนาว่า “เป็นศูนย์กลางด้านเกษตรและอุตสาหกรรม เมืองท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและธรรมชาติ สังคมมีความเข้มแข็ง และสิ่งแวดล้อมที่ดี” จากการวิเคราะห์ข้อมูลประเด็นการพัฒนาของจังหวัดนครสวรรค์ที่เชื่อมโยงกับตัวชี้วัดการพัฒนาระดับจังหวัด ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2564) จากรายงานการติดตามประเมินผลการพัฒนาในระยะแผนพัฒนา ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564 ประกอบด้วย 4 มิติ มีประเด็นการพัฒนาที่จังหวัดนครสวรรค์ต้องให้ความสำคัญเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงสู่ประเด็นการพัฒนาของจังหวัดได้ชัดเจนยิ่งขึ้น สรุปได้ดังนี้ (1) ภาพรวมสภาวการณ์การพัฒนา ภาพรวมการพัฒนาของจังหวัดนครสวรรค์อยู่ในระดับใกล้เคียงกับค่ากลางของประเทศ ซึ่งตัวชี้วัด (Composite Index) ของจังหวัดทั้งประเทศมีค่ากลางอยู่ที่ 31.27 ขณะที่ค่าคะแนนตัวชี้วัดของจังหวัดนครสวรรค์อยู่ที่ 29.73 ซึ่งเมื่อพิจารณาตัวชี้วัดทั้ง 4 มิติ พบว่า มิติการพัฒนาแบบทั่วถึง มิติการเติบโตทางเศรษฐกิจ มิติการเติบโตทางเศรษฐกิจสีเขียว เป็นปัญหาสำคัญของจังหวัด โดยเฉพาะการกระจายรายได้ และรายได้เฉลี่ยของครัวเรือนและผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดหดตัว รวมทั้งปัญหาหนี้สินของเกษตรกร ขณะที่การพัฒนาทางเศรษฐกิจสีเขียว พบปัญหาปริมาณขยะ การใช้พลังงานน้ำมันและไฟฟ้าในจังหวัดสูง ส่วนประสิทธิภาพของภาครัฐ ตัวชี้วัดที่เป็นปัญหา คือ การเข้าถึงบริการน้ำประปา ไฟฟ้า และอินเตอร์เน็ต และรวมทั้งความสามารถในการจัดเก็บภาษีท้องถิ่นต่ำ อย่างไรก็ตาม มีตัวชี้วัดหลายตัวที่มีค่าสูงกว่าค่ากลางของประเทศ อาทิ การเข้าถึงบริการสาธารณสุขและการบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพ ผลิตภาพของแรงงาน อัตราการว่างงาน และการออม (2) มิติการพัฒนาแบบทั่วถึง เป็นการวัดความยากจนและความเหลื่อมล้ำ โครงข่ายความคุ้มครองทางสังคม การเข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคม พบว่า ตัวชี้วัดในมิตินี้อยู่ในระดับต่ำกว่าค่ากลางของประเทศ โดยเฉพาะสัมประสิทธิ์การกระจายรายได้ (ร้อยละ 0.52) มีค่าสูงกว่าค่ากลางของประเทศ (ร้อยละ 0.41) รวมทั้ง ผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคมต่อกำลังแรงงาน (ร้อยละ 18.00) มีค่าต่ำกว่าค่ากลางของประเทศ (ร้อยละ 18.76) ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลประชากรของจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร อย่างไรก็ตาม สิ่งที่จังหวัดต้องเร่งดำเนินการแก้ไข คือ ปัญหาการกระจายรายได้ และ ระบบโครงข่ายความคุ้มครองทางสังคม และขณะเดียวกัน ศักยภาพของจังหวัด คือ การเข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคม สะท้อนได้จากตัวชี้วัด อัตราส่วนแพทย์ต่อประชากร จำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยประชากรไทย ค่าคะแนนเฉลี่ย O-NET ม.3 ที่สูงกว่าค่ากลางของประเทศเล็กน้อย ซึ่งเป็นทิศทางที่ดีในการพัฒนาจังหวัด (3) มิติการเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นการวัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และขีดความสามารถทางการแข่งขัน พบว่า ตัวชี้วัดในมิตินี้อยู่ในระดับต่ำกว่าค่ากลางของประเทศ โดยเฉพาะ ความมั่นคงทางด้านรายได้ (ร้อยละ - 4.57) มีค่าน้อยกว่าค่ากลางของประเทศ (ร้อยละ 1.75) อัตราการเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) (ร้อยละ - 4.78) มีค่าน้อยกว่าค่ากลางของประเทศ (ร้อยละ - 0.41) และปัญหาหนี้สิน (ร้อยละ 8.61 เท่า) สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ (ร้อยละ 6.67 เท่า) ซึ่งเป็นผลจากการตกต่ำและชะลอตัวของระบบเศรษฐกิจ ดังนั้น ประเด็นการพัฒนาที่จังหวัดควรต้องให้ความสำคัญ ได้แก่ การสร้างและพัฒนาอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน ในขณะที่ อัตราการว่างงานต่ำ อัตราการออมครัวเรือนสูง และผลิตภาพของแรงงานสูง ถือเป็นศักยภาพที่สำคัญในการพัฒนาจังหวัด (4) มิติการเติบโตทางเศรษฐกิจสีเขียว เป็นการวัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและ ทรัพยากรธรรมชาติ และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ พบว่า ตัวชี้วัดในมิตินี้อยู่ในระดับต่ำกว่าค่ากลางของประเทศ โดยเฉพาะ ปริมาณขยะในจังหวัด (412,815 ตัน) สูงกว่าค่ากลางของประเทศ (247,105 ตัน) ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง (355 ลิตร/คน) สูงกว่าค่ากลางของประเทศ (284 ลิตร/คน) ปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคครัวเรือน (509 กิโลวัตต์-ชั่วโมง/คน) สูงกว่าค่ากลางของประเทศ (464 กิโลวัตต์-ชั่วโมง/คน) ดังนั้น ประเด็นการพัฒนาที่จังหวัดควรต้องให้ความสำคัญ ได้แก่ การพัฒนาระบบการกำจัดขยะอย่างถูกต้องทางหลักวิชาการและนำขยะมาสร้างมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งการปลูกจิตสำนึกการใช้พลังงานอย่างประหยัดและคิดค้นพลังงานทดแทน (5) ประสิทธิภาพของภาครัฐ เป็นการวัดความสามารถการให้บริการสาธารณะ ความสามารถการจัดเก็บรายได้ภาษีของท้องถิ่น ความสามารถในการบริหารงบประมาณของจังหวัด พบว่า ตัวชี้วัดในมิตินี้อยู่ในระดับสูงกว่าค่ากลางของประเทศ โดยเฉพาะ สถานพยาบาลที่ได้รับการรับรองคุณภาพ HA (ร้อยละ 100.00) สูงกว่าค่ากลางของประเทศ (ร้อยละ 74.76) ในขณะที่ ครัวเรือนที่สามารถเข้าถึงน้ำประปา (ร้อยละ 13.53) ต่ำกว่าค่ากลางของประเทศ (ร้อยละ 15.77) ครัวเรือนที่เข้าถึงไฟฟ้า (ร้อยละ 83.22) ต่ำกว่าค่ากลางของประเทศ (ร้อยละ 88.41) และการเข้าถึงบริการอินเตอร์เน็ต (ร้อยละ 31.06) ต่ำกว่าค่ากลางของประเทศ (ร้อยละ 32.73) ทั้งนี้ จังหวัดนครสวรรค์ควรต้องให้ความสำคัญต่อการเพิ่มความสามารถการให้บริการสาธารณะ ความสามารถการจัดเก็บรายได้ภาษีของท้องถิ่น จากการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น จากพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล (U2T) จังหวัดนครสวรรค์ ปี พ.ศ. 2564 รวม 19 แห่ง ภายใต้การดำเนินงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ เพื่อให้เกิดการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ที่มีความครอบคลุมในประเด็นต่าง ๆ ตามปัญหาและความต้องการของชุมชน ได้แก่ การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ (การยกระดับสินค้า OTOP/อาชีพอื่น ๆ) การสร้างและพัฒนา Creative Economy (การยกระดับการท่องเที่ยว) การนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน และการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม/Circular Economy (การเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน) ที่ส่งผลต่อการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมของตำบลเป้าหมาย ทุนทางวัฒนธรรมมี 3 รูปแบบ ได้แก่ (1) สิ่งที่ฝังอยู่ในตัวตนและกลุ่มคนมาอย่างยาวนาน (Embodies state) เช่น ความคิดจินตนาการความริเริ่มและความเชื่อ (2) สิ่งที่เป็นรูปธรรม (Objectified state) สวัสดีในรูปแบบของสินค้าวัฒนธรรม เช่น รูปภาพ หนังสือ สิ่งก่อสร้างสถานที่ที่เป็นมรดกโลก (3) ความเป็นสถาบัน (Institutionalization state) ซึ่งสามารถทำให้เกิดความเป็นรูปแบบ เช่น กติกา การยอมรับที่หลาย ๆ คนเห็นร่วมกัน เช่น การยอมรับในสถาบันพระมหากษัตริย์ วัดและโรงเรียน (Bourdieu, 1986) นอกจากนี้ ทุนทางวัฒนธรรม ยังรวมถึงมรดกทางวัฒนธรรมในแต่ละชุมชน ซึ่งแบ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรม (Tangible Cultural Heritage) คือ สิ่งที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น เช่น สถานที่ ที่อยู่อาศัย ชุมชน อาคาร รวมถึงงานฝีมือ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เป็นต้น และมรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นนามธรรม (Intangible Cultural Heritage) รวมถึงประเพณีขนบธรรมเนียม ภาษา เพลง พิธีกรรม เทศกาล ทักษะพิเศษ เป็นต้น (ICOMOS, 1999) ซึ่งมรดกวัฒนธรรมเหล่านี้ เป็นต้นทุนสำคัญในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เพราะอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมและประเพณีที่แตกต่าง ในแต่ละท้องถิ่นนั้น เป็นสิ่งที่ดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี (นรินทร์ สังข์รักษา และสมชาย ลักขณานุรักษ์, 2555) การนำทุนวัฒนธรรม เช่น เรื่องราว เรื่องราว เนื้อหา ของวัฒนธรรมไทยมาเป็นส่วน หนึ่ง ในการเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการ หรือสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าหรือบริการของตนเพื่อสร้างจุดขาย สอดคล้องกับการพัฒนาทุนวัฒนธรรมในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 ที่ได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยมุ่งไปที่การเชื่อมโยงระหว่างทุน 6 ทุน คือ ทุนธรรมชาติ ทุนกายภาพ ทุนสังคม ทุนมนุษย์ ทุนการเงิน และทุนวัฒนธรรม โดยทุนวัฒนธรรมเป็นจุดศูนย์ กลางที่เชื่อมโยงกับทุนประเภทอื่น ๆ ทุนวัฒนธรรมซึ่งถือว่าเป็นเหมือนกิจกรรมต้นน้ำ (Upstream) ในห่วงโซ่มูลค่าของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ การบำรุงรักษามรดกศิลปวัฒนธรรม และการนำทุนวัฒนธรรมมาเพิ่มคุณค่าและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคมรวมถึงส่งเสริมอุตสาหกรรม วัฒนธรรมได้ถูกบรรจุไว้เป็นส่วนหนึ่งในพันธกิจของกระทรวงวัฒนธรรม และในแผนแม่บทวัฒนธรรมแห่งชาติ (2560-2569) รวมถึงการนำไปใช้ในการพัฒนาการท่องเที่ยว ที่เรียกว่าการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้แบ่งการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ออกเป็น 4 ลักษณะ ตาม อัตลักษณ์ของทุนทางวัฒนธรรมที่มีความโดดเด่นแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ได้แก่ (1) มรดกทางวัฒ
จุดเด่นของโครงการ :การนำใช้ข้อมูลทุนทางสังคมที่แสดงศักยภาพของชุมชน และข้อมูลจากการศึกษาความสำคัญของเมืองพระบางและเมืองนครสวรรค์ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ร่วมกับร่องรอยทางโบราณคดี ในการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมในชุมชน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและสร้างรายได้ให้กับชุมชนต่อไป
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อค้นหาและถอดบทเรียนทุนทางสังคมและศักยภาพของชุมชนในการขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรม 2. เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลทุนทางสังคมที่แสดงศักยภาพของชุมชนในการขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรมสู่การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดนครสวรรค์ 3. เพื่อสร้างนวัตกรชุมชนในการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์ของชุมชน
ขอบเขตของโครงการ :1. การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกรณีศึกษาเฉพาะพื้นที่ ที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับนวัตกรรมชุมชนสู่การขับเคลื่อนทุนทางสังคมในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ จากปูมประวัติศาสตร์เมืองพระบางสู่เมืองนครสวรรค์ในมุมมองหลักฐานทางประวัติศาสตร์ 2. ขอบเขตด้านพื้นที่ ในการวิจัยครั้งนี้ ได้ทำการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับนวัตกรรมชุมชนสู่การขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ จากปูมประวัติศาสตร์เมืองพระบางสู่เมืองนครสวรรค์ในมุมมองหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โดยเลือกพื้นที่ศึกษาแบบเจาะจง จำนวน 7 พื้นที่ ประกอบด้วย (1) ตำบลจันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ (2) ตำบลพยุหะ อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ (3) ตำบลท่าน้ำอ้อย อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ (4) ตำบลตาสัง อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ (5) ตำบลโพธิ์ประสาท อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ (6) ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ และ (7) ตำบลบ้านแก่ง อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ 3. ขอบเขตด้านประชากร เนื่องจากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาปรากฏการณ์ที่อาศัยผลของการศึกษาเชิงคุณภาพ เพื่อเป็นฐานสำหรับทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้สำหรับปรากฏการณ์นั้น จึงเน้นศึกษาผู้ให้ข้อมูลที่เป็นผู้มีความรู้หรือมีประสบการณ์โดยตรงกับเรื่องที่ต้องการศึกษา (Information-rich Case) มีความพร้อมและสมัครใจในการให้ข้อมูลในฐานะผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Institution) เพื่อทำการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group Discussion) ได้แก่ (1) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย (1.1) ปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 2 คน (1.2) ผู้นำชุมชนที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ที่คนในชุมชนให้ความเคารพนับถือ จำนวน 5 คน (1.3) ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญสามารถบอกเล่าเรื่องราวความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับทุนทางสังคมที่แสดงศักยภาพของชุมชนในการขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรม จำนวน 5 คน ผู้วิจัยได้กำหนดจำนวนผู้ให้ข้อมูลสำคัญไว้เป็นเบื้องต้น เพื่อทำการสัมภาษณ์เชิงลึก ในการให้ข้อมูลสำคัญเพื่อตอบคำถามการวิจัยในแต่ละประเด็น อย่างน้อยพื้นที่ละ 12 คน ในการวิจัยครั้งนี้ เลือกพื้นที่แบบเจาะจง 7 พื้นที่ รวมจำนวนผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 84 คน (2) การสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group Discussion) ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง โดยเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจและเกี่ยวข้องกับประเด็นการยกระดับนวัตกรรมชุมชนสู่การขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 7 พื้นที่ พื้นที่ละ 5 คน รวม 35 คน โดยกำหนดให้มีการสนทนากลุ่มย่อยในพื้นที่การวิจัย ประกอบด้วย (2.1) ผู้นำไม่เป็นทางการหรือตัวแทนของพื้นที่ จำนวน 1 คน (2.2) ตัวแทนภาคราชการที่เป็นทางการ จำนวน 1 คน (2.3) ผู้เชี่ยวชาญในชุมชนที่ได้รับการยกย่องและมีชื่อเสียงในด้านศาสตร์/วิชาสาขา/แขนงที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ใช้ในการศึกษาวิจัย จำนวน 1 คน (2.4) ประชาชนทั่วไปที่อยู่นอกพื้นที่ จำนวน 1 คน (2.5) ประชาชนในพื้นที่ที่มีภูมิลำเนาและอาศัยอยู่ในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 10 ปีจำนวน 1 คน ทั้งนี้ ผู้วิจัยคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Institution) โดยวิธีเลือกตามทฤษฎี (Theoretical Sampling) จากผู้ที่สามารถให้ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้ครอบคลุมตรงประเด็น และการเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบลูกโซ่ (Snowball Technique) ที่เมื่อผู้วิจัยทำการเลือกและเก็บข้อมูลกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้ระยะหนึ่งแล้ว ก็จะรู้ว่าควรศึกษาในประเด็นใดเพื่อให้ได้คำตอบของงานวิจัยชัดเจนยิ่งขึ้น เมื่อผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บข้อมูลต่อไป จนพบว่าแม้จะสัมภาษณ์คนอื่น ๆ ต่อไปก็ไม่ได้ข้อมูลใหม่เพิ่มเติมอีกเรียกได้ว่าข้อมูลมีความอิ่มตัว (Saturation of Data) ผู้วิจัยจึงหยุดเก็บข้อมูล
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ทราบข้อมูลทุนทางสังคมที่แสดงสถานะและศักยภาพของชุมชนในการขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรม 2. สามารถนำใช้ข้อมูลทุนทางสังคมที่แสดงศักยภาพของชุมชนในการออกแบบและพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมไปประยุกต์ใช้ในชุมชนและสังคม ที่มีเงื่อนไขของกระบวนการเสริมสร้างเครือข่ายการขับเคลื่อนทุนทางทางสังคมและวัฒนธรรมชุมชน 3. สร้างนวัตกรชุมชนที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรม และสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้อื่นได้ 4. สามารถนำผลการวิจัยที่เป็นข้อค้นพบไปเสนอเป็นแนวทางในการพัฒนาเชิงนโยบายต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พัฒนาชุมชน พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด รวมถึงหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมจากการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ โดยเฉพาะนโยบายการปฏิรูปการพัฒนาของประเทศ ในด้านการพัฒนานวัตกรรมบนฐานทุนทางสังคมและวัฒนธรรมชุมชน สู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจจากทุนทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชน และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศตามที่รัฐบาลได้กำหนดทิศทางไว้
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :1. แนวคิดเกี่ยวกับทุนทางสังคม 2. แนวคิดเกี่ยวกับทุนทางวัฒนธรรม 3. แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับเศรษฐกิจชุมชน 4. แนวคิดเกี่ยวกับนวัตกรรมชุมชน 5. การศึกษาและถอดบทเรียนชุมชน
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :1. การค้นหาทุนและศักยภาพของชุมชนในการขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรม 4 ระดับ ได้แก่ 1) ทุนทางสังคมระดับบุคคล 2) ระดับกลุ่มทางสังคม องค์กรชุมชน 3) หน่วยงานและแหล่งประโยชน์ และ 4) หมู่บ้าน/ชุมชนจัดการตนเอง โดยการสอบทานเทียบเคียงงานหรือกิจกรรมของทุนทางสังคมกับนวัตกรรมชุมชนสู่การขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรม ทั้งในระดับบุคคล ครัวเรือน กลุ่มชุมชน และเครือข่าย รวมทั้งความพร้อมในการที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อให้เกิดการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดนครสวรรค์ 2. สร้าง Learning and Innovation Platform (LIP) เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดกระบวนการเรียนรู้และถ่ายทอดความรู้ให้กับชุมชน และสร้างนวัตกรชุมชนที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาชุมชนเป้าหมาย โดยนำใช้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ร่วมกับการวิเคราะห์ทุนทางสังคมในการขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรม 3. สร้างนวัตกรชุมชนที่มีความสามารถในการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์ของชุมชน รวมทั้งสามารถเป็นแกนนำในการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อหนุนให้ชุมชนมีพื้นที่และโอกาสเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาเอกสาร 1.1 แนวคิดในการศึกษาเอกสาร ใช้แนวคิดใน 5 เรื่องหลัก คือ แนวคิดเกี่ยวกับทุนทางสังคมและทุนทางวัฒนธรรม การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน การศึกษาและถอดบทเรียนชุมชน การวิเคราะห์และนำใช้ข้อมูลพื้นฐานตำบล และโครงสร้างและศักยภาพของชุมชนในการขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรม 1.2 แหล่งเอกสาร ศึกษาแหล่งเอกสารเพื่อการวิจัยจากแหล่งต่าง ๆ เช่น เอกสารอ้างอิงทั่วไป เอกสารปฐมภูมิ (Primary Literature) และเอกสารทุติยภูมิ (Secondary Literature) 1.3 การวิเคราะห์เอกสาร ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) โดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์สาระสำคัญที่นำไปสู่การวิจัย 1.4 การตรวจสอบเอกสาร ตรวจสอบความเชื่อถือของเอกสาร โดยให้ความสำคัญของผู้เขียน แหล่งผลิต หน่วยงานที่รับผิดชอบ วิธีการได้มาซึ่งเอกสารและข้อมูลเหล่านั้น รวมถึงวิธีการเผยแพร่ และการตรวจสอบทางด้านความคิดของผู้วิจัยในประเด็นเรื่องที่ศึกษากับผู้ทรงคุณวุฒิ ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาภาคสนาม 2.1 ระเบียบวิธีวิจัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนาโดยใช้พื้นที่เป็นฐานการเรียนรู้ (Community Base Development) 2.2 พื้นที่การศึกษา ในการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับนวัตกรรมชุมชนสู่การขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ จากปูมประวัติศาสตร์เมืองพระบางสู่เมืองนครสวรรค์ในมุมมองหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เลือกพื้นที่ศึกษาแบบเจาะจง จำนวน 7 พื้นที่ ประกอบด้วย (1) ตำบลจันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ (2) ตำบลพยุหะ อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ (3) ตำบลท่าน้ำอ้อย อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ (4) ตำบลตาสัง อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ (5) ตำบลโพธิ์ประสาท อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ (6) ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ และ (7) ตำบลบ้านแก่ง อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ 2.3 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เนื่องจากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาปรากฏการณ์ที่อาศัยผลของการศึกษาเชิงคุณภาพ เพื่อเป็นฐานสำหรับทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้สำหรับปรากฏการณ์นั้น จึงเน้นศึกษาผู้ให้ข้อมูลที่เป็นผู้มีความรู้หรือมีประสบการณ์โดยตรงกับเรื่องที่ต้องการศึกษา (Information-rich Case) มีความพร้อมและสมัครใจในการให้ข้อมูลในฐานะผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Institution) เพื่อทำการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group Discussion) ได้แก่ (1) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย (1.1) ปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 2 คน (1.2) ผู้นำชุมชนที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ที่คนในชุมชนให้ความเคารพนับถือ จำนวน 5 คน (1.3) ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญสามารถบอกเล่าเรื่องราวความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับทุนทางสังคมที่แสดงศักยภาพของชุมชนในการขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรม จำนวน 5 คน ผู้วิจัยได้กำหนดจำนวนผู้ให้ข้อมูลสำคัญไว้เป็นเบื้องต้น เพื่อทำการสัมภาษณ์เชิงลึก ในการให้ข้อมูลสำคัญเพื่อตอบคำถามการวิจัยในแต่ละประเด็น อย่างน้อยพื้นที่ละ 12 คน ในการวิจัยครั้งนี้ เลือกพื้นที่แบบเจาะจง 7 พื้นที่ รวมจำนวนผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 84 คน (2) การสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group Discussion) ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง โดยเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจและเกี่ยวข้องกับประเด็นการยกระดับนวัตกรรมชุมชนสู่การขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 7 พื้นที่ พื้นที่ละ 5 คน รวม 35 คน โดยกำหนดให้มีการสนทนากลุ่มย่อยในพื้นที่การวิจัย ประกอบด้วย (2.1) ผู้นำไม่เป็นทางการหรือตัวแทนของพื้นที่ จำนวน 1 คน (2.2) ตัวแทนภาคราชการที่เป็นทางการ จำนวน 1 คน (2.3) ผู้เชี่ยวชาญในชุมชนที่ได้รับการยกย่องและมีชื่อเสียงในด้านศาสตร์/วิชาสาขา/แขนงที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ใช้ในการศึกษาวิจัย จำนวน 1 คน (2.4) ประชาชนทั่วไปที่อยู่นอกพื้นที่ จำนวน 1 คน (2.5) ประชาชนในพื้นที่ที่มีภูมิลำเนาและอาศัยอยู่ในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 10 ปีจำนวน 1 คน ทั้งนี้ ผู้วิจัยคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Institution) โดยวิธีเลือกตามทฤษฎี (Theoretical Sampling) จากผู้ที่สามารถให้ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้ครอบคลุมตรงประเด็น และการเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบลูกโซ่ (Snowball Technique) ที่เมื่อผู้วิจัยทำการเลือกและเก็บข้อมูลกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้ระยะหนึ่งแล้ว ก็จะรู้ว่าควรศึกษาในประเด็นใดเพื่อให้ได้คำตอบของงานวิจัยชัดเจนยิ่งขึ้น เมื่อผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บข้อมูลต่อไป จนพบว่าแม้จะสัมภาษณ์คนอื่น ๆ ต่อไปก็ไม่ได้ข้อมูลใหม่เพิ่มเติมอีกเรียกได้ว่าข้อมูลมีความอิ่มตัว (Saturation of Data) ผู้วิจัยจึงหยุดเก็บข้อมูล 2.4 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ใช้เครื่องมือในการศึกษาทุนทางสังคมที่แสดงศักยภาพของชุมชนในการขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่ และแบบสัมภาษณ์โครงสร้าง (Starred Interview) เพื่อใช้เป็นกรอบในการเก็บข้อมูลด้วยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group Discussion) 2.5 การวิเคราะห์ข้อมูล และการตรวจสอบข้อมูล ใช้กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) นับตั้งแต่แรกเข้าพื้นที่ศึกษา ข้อมูลที่ได้ถูกวิเคราะห์โดยการตั้งสมมติฐานชั่วคราว มีการตรวจสอบจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ตลอดเวลา และข้อมูลที่ได้ถูกตรวจสอบระหว่างการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย โดยข้อมูลบางส่วนได้รับการตรวจสอบข้ามพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลก่อนที่ผู้วิจัยจะตีความ หรือตัดสินสร้างข้อสรุปในคำถามและข้อกำหนดนั้น การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มย่อยทำให้ได้เนื้อหาการวิเคราะห์ในรูปของแบบบันทึก หรือใบแสดงผลการศึกษา (Transcript) โดยข้อมูลที่ได้เหล่านี้ มุ่งบรรยายลักษณะเงื่อนไขและสภาพเหตุการณ์ที่เป็นจริงในปัจจุบันของการยกระดับนวัตกรรมชุมชนสู่การขับ เคลื่อนทุนทางวัฒนธรรม ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ขั้นตอนที่ 3 การเชื่อมโยงข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ทุนทางวัฒนธรรม กับองค์ความรู้ของชุมชนท้องถิ่น โดยการสร้าง Learning and Innovation Platform (LIP) เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดกระบวนการเรียนรู้และถ่ายทอดความรู้ให้กับชุมชน และสร้างนวัตกรชุมชนที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาชุมชนเป้าหมาย โดยนำใช้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ร่วมกับการวิเคราะห์ทุนทางสังคมในการขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรม 3.1 พัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชน จากการเชื่อมโยงข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ทุนทางวัฒนธรรม กับองค์ความรู้ของชุมชนท้องถิ่น ของทุนทางสังคม 4 ระดับ ได้แก่ (1) ทุนทางสังคมระดับบุคคล (2) ทุนทางสังคมระดับกลุ่ม/องค์กรชุมชน (3) ทุนทางสังคมระดับหน่วยงาน/แหล่งประโยชน์ และ (4) ทุนทางสังคมระดับหมู่บ้าน (ชุมชน) โดยการสอบทานเทียบเคียงงานหรือกิจกรรมของทุนทางสังคมกับนวัตกรรมชุมชนสู่การขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรม ทั้งในระดับบุคคล ครัวเรือน กลุ่มชุมชน และเครือข่าย 3.2 สร้าง Learning and Innovation Platform เพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับนวัตกรชุมชนในการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์ให้กับชุมชน จากการดำเนินการทบทวนทุนทางสังคมและศักยภาพของพื้นที่ร่วมกับการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาเกี่ยวกับการขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรม จะนำสู่ข้อมูล 2 ส่วน ได้แก่ (1) ข้อมูลทุนทางสังคมและศักยภาพของพื้นที่ (2) สถานการณ์ปัญหาเกี่ยวกับการขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรม 3.3 พัฒนาวัตกรชุมชน ที่มีทักษะการรับและปรับใช้นวัตกรรมพร้อมใช้/เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับบริบท สามารถถ่ายทอดความรู้ไปสู่ผู้อื่นได้ ตามฐานคิดการใช้พื้นที่เป็นฐานในการพัฒนา (Area-based development) การสร้างการมีส่วนร่วมและความเป็นเจ้าของ ก่อให้เกิดรูปธรรมการดำเนินงานเกี่ยวกับทุนทางวัฒนธรรม ทั้งในระดับบุคคลและครัวเรือน ระดับกลุ่ม ระดับชุมชน และระดับเครือข่าย ซึ่งมีการดำเนินนวัตกรรมชุมชนหลากหลายรูปแบบ เช่น การถ่ายทอดภูมิปัญญา การจัดตั้งกลุ่มอาชีพ การจัดตั้งตลาดชุมชน การจัดบริการสุขภาพ เป็นต้น
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :การนำใช้ข้อมูลทุนทางสังคมที่แสดงศักยภาพของชุมชนในการขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรม และข้อมูลจากการศึกษาความสำคัญของเมืองพระบางและเมืองนครสวรรค์ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ร่วมกับร่องรอยทางโบราณคดี ในการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมในชุมชน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและสร้างรายได้ให้กับชุมชนต่อไป
จำนวนเข้าชมโครงการ :138 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางชยภรณ บุญเรืองศักดิ์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย50
นางสาวสิริพร บูรณาหิรัณห์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย50

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด