รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000658
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาระบบการจัดการความรู้และการจัดการงานประชาสัมพันธ์ของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : A Development of Knowledge Management and System of the Human Research Ethics Committee of Nakhon Sawan Rajabhat University
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :ระบบการจัดการ, งานประชาสัมพันธ์, การจัดการjavascript:WebForm_DoPostBackWithOptions(new WebForm_PostBackOptions("Wizard1$StartNavigationTemplateContainerID$StartNextLinkButton", "", true, "", "ความรู้, จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์, มหาวิทยาลัยราชภัฏ, นครสวรรค์
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :สถาบันวิจัยและพัฒนา > กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :50000
งบประมาณทั้งโครงการ :50,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :02 กุมภาพันธ์ 2565
วันสิ้นสุดโครงการ :30 มีนาคม 2567
ประเภทของโครงการ :การวิจัยและพัฒนา
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขาวิชาการ :สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :วิทยาการคอมพิวเตอร์
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :งานด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของประเทศไทยมีพัฒนาการของการดำเนินการมานานหลายทศวรรษ โดยการยึดหลักจริยธรรมสากลที่ใช้ยึดถือปฏิบัติ ได้แก่ Belmont Report, Declaration of Helsinki, International Ethical Guidelines for Biomedical Research Involving Human Subjects (CIOMS), International Ethical Guidelines for Epidemiological Studies (CIOMS and WHO) และ ICH GCP Guidelines ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าของศาสตร์สาขาต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านวิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ เกิดจากการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ซึ่งต้องยึดหลักความเป็นอยู่ที่ดีของอาสาสมัครเป็นสิ่งสำคัญก่อนความสนใจทางวิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วัตถุประสงค์ในการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เข้าใจสาเหตุ การพัฒนา การป้องกัน การวินิจฉัย กระบวนรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น เช่นเดียวกับการทำวิจัยด้านสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ แม้ว่าไม่มีการใช้สิ่งแทรกแซงที่อาจทำให้เกิดอันตรายต่ออาสาสมัคร แต่การศึกษาวิจัยโดยใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์หรือการสำรวจ ก็อาจทำให้เกิดความเสี่ยงหรือผลกระทบต่ออาสาสมัครทางด้านเศรษฐกิจ สังคม จิตใจ อาจก่อให้เกิดตราบาปต่ออาสาสมัคร ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับอาสาสมัครวิจัยที่เป็นภาระที่ผู้วิจัยต้องรับผิดชอบเสมอ ผู้ทำการวิจัยจะต้องปกป้องชีวิต สุขภาพ ความเป็นส่วนตัว และความมีศักดิ์ศรีของอาสาสมัคร ซึ่งนักวิจัยส่วนมากยังไม่เข้าใจหรือยังไม่ได้ตระหนักถึงเรื่องนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการวิจัย จึงได้มีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย รวมทั้งสร้างกลไกในการควบคุมคุณภาพงานวิจัยของมหาวิทยาลัย โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการจริยธรรรมการวิจัยในมนุษย์ ภายใต้สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ขึ้น เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของโครงการวิจัย โดยนำหลักการปกป้องคุ้มครองสิทธิ ความปลอดภัย ความเป็นอยู่ที่ดีของผู้เข้าร่วมวิจัยหรืออาสาสมัครที่เข้าสู่โครงการวิจัย ทำให้เกิดกระบวนการพัฒนางานประกันคุณภาพงานวิจัย อ้างอิงตามมาตรฐานสากล ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญและเป็นส่วนหนึ่งของคุณภาพงานวิจัยที่ดีและเป็นหลักสากล ซึ่งนักวิจัยส่วนมากยังไม่เข้าใจหรือยังไม่ได้ตระหนักถึงเรื่องนี้ ปัจจุบันความรู้ด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มีอยู่ในรูปแบบเอกสาร การประชาสัมพันธ์ ส่วนมากในรูปแบบกระดาษ ติดประกาศ หรือส่งเข้าอีเมล์ของบุคคลากร ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมในมนุษย์เหล่านี้อยู่กระจัดกระจาย ยังไม่มีแหล่งรวมความรู้ที่จะอธิบายความหมาย หลักการ และทำไมต้องยื่นขอจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ งานวิจัยใดต้องยื่นขอฯ และงานใดไม่ต้องยื่นขอฯ ประเภทรูปแบบการยื่นขอฯ มีกี่แบบอะไรบ้าง ขั้นตอนและวิธีการยื่นขอฯ รวมทั้งเกณฑ์ ประเด็นการพิจารณา จึงเป็นเหตุทำให้บุคคลากร นักวิจัยและนักศึกษาบางส่วนไม่เข้าใจ ไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ไม่ทราบว่าจะยื่นขออย่างไร ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันและสังคมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อ การสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ เป็นแหล่งรวมองค์ความรู้ และจัดการงานต่างๆ ได้ตลอดเวลา ดังนั้นคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาะบบการจัดการความรู้และการจัดการงานประชาสัมพันธ์ของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เพื่อเป็นแหล่งรวมองค์ความรู้ไว้ที่เดียวกันที่จะอธิบายความหมาย หลักการ เหตุผลทำไมต้องยื่นขอจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ งานวิจัยใดต้องยื่นขอฯ และงานใดไม่ต้องยื่นขอฯ ประเภทรูปแบบการยื่นขอฯ มีกี่แบบ อะไรบ้าง ขั้นตอนและวิธีการยื่นขอฯ เกณฑ์ ประเด็นการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยฯ และลิงค์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งช่วยจัดการข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวกิจกรรมต่างๆ ของคณะกรรมการฯ ระบบนี้จะช่วยส่งเสริมและอำนวยความสะดวกให้กับบุคคลากร นักวิจัย นักศึกษาและผู้สนใจในงานจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความเข้าใจรื่องการปกป้องสิทธิ ความปลอดภัย และความเป็นอยู่ที่ดีของผู้เข้าร่วมการวิจัย ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้ทางวิทยาศาสตร์อันจะก่อให้เกิดคุณต่อทางวิทยาศาสตร์และทางสังคมต่อไป ส่งผลทำให้การทำวิจัยเป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
จุดเด่นของโครงการ :วิจัยและพัฒนา เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการงานประชาสมพันธ์และการจัดการองค์ความรู้ที่่เกี่่ยวข้องกับงานจริยธรรมการวิจันในมนุษย์
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1) เพื่อศึกษาความต้องการของผู้ใช้ระบบการจัดการความรู้และการจัดการงานประชาสัมพันธ์ของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2) เพื่อพัฒนาระบบการจัดการความรู้และการจัดการงานประชาสัมพันธ์ของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจในประสิทธิภาพของระบบการจัดการความรู้และการจัดการงานประชาสัมพันธ์ของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองและพัฒนา – เพื่อนำผลลัพธ์ และใช้ในแก้ไขปัญหา การวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยทำการสอบถามกลุ่มตัวอย่างของผู้ต้องการใช้ระบบเพื่อต้องการทราบความต้องการระบบฯ ส่วนที่ 2 เป็นการพัฒนาระบบฯในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชัน ส่วนที่ 3 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยทำการสอบถามกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับความพึงพอใจในประสิทธิภาพของระบบการจัดการความรู้และการจัดการงานประชาสัมพันธ์ของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง - ประชากร ได้แก่ คณะกรรมการ/อนุกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ เจ้าหน้าที่กองบริหารการวิจัยที่รับผิดชอบด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ จำนวน 45 คน นักวิจัย บัณฑิตศึกษา และอาจารย์ที่จะยื่นขอจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ จำนวน 150 คน และนักศึกษาปี 4 ที่ทำวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ จำนวน 620 คน รวมประชากรทั้งหมด 815 คน - กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทำวิจัย แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ 1) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทำวิจัยเพื่อศึกษาความต้องการของผู้ใช้ระบบการจัดการความรู้และการจัดการงานประชาสัมพันธ์ของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 7 กลุ่มๆ ละ 3 คน (ยกเว้นเจ้าหน้าที่มีจำนวน 2 คน) เป็นตัวแทนในการตอบแบบสอบถาม รวมจำนวน 20 คน ซึ่งประกอบด้วย คณะกรรมการ/อนุกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ เจ้าหน้าที่กองบริหารการวิจัยที่รับผิดชอบด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ นักวิจัย บัณฑิตศึกษา นักศึกษาปี 4 ที่ทำวิจัย และอาจารย์ที่มีประสบการณ์ยื่นขอจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ 2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองใช้และประเมินระบบการจัดการความรู้และการจัดการงานประชาสัมพันธ์ของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ นักวิจัย อาจารย์ และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ จำนวน 268 คน การคํานวณขนาดกลุ่มตัว อย่างโดยใช้หลักการคำนวณทางสถิติ โดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน (Taro Yamane, 1973) ถ้าทราบจํานวนประชากร จะนิยมใช้สูตร เมื่อ n = จํานวนตัวอย่างทีต้องการ N = จํานวนประชากร e = ค่าคลาดเคลือนของการประมาณค่าที่ 0.05 จากสูตรนี้ กลุ่มตัวอย่างที่ได้ คือ n = 815 / (1+(815*0.05^2)) = จำนวน 268 คน • เกณฑ์การคัดเข้า บุคคลากรทั้งเพศชายและหญิง อายุระหว่าง 20-60 ปี เป็นบุคคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ที่สนใจและสมัครใจในการเข้าร่วมโครงการ • เกณฑ์การคัดออก บุคคลากรที่สนใจและสมัครใจในการเข้าร่วม แต่ไม่ได้ทดลองใช้ระบบฯ รวมทั้งผู้ ที่สมัครแล้ว แต่แจ้งมาว่าไม่สนใจเข้าร่วมแล้ว • เกณฑ์ถอดถอน บุคคลากรที่เข้าร่วมทดลองระบบแล้วแต่ไม่ได้ตอบแบบสอบถามหรือตอบแบบ สอบถามไม่ครบ • เกณฑ์การยุติโครงการ – ไม่มี -- • วิธีการเข้าถึงอาสาสมัคร โดยทำการประชาสัมพันธ์ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์เชิญให้เข้าร่วมทดลองใช้และประเมินระบบฯ ไปยัง บุคคลากร อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาทั้ง 5 คณะและ 6 สำนักฯ ในมหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ • การเก็บรวบรวมข้อมูล แบบออฟไลน์ อาสาสมัครสามารถกรอกข้อมูลในแบบสอบถามที่เป็นกระดาษที่วางไว้ให้แต่ละคณะหรือสำนัก เมื่อตอบแบบสอบถามประเมินนี้เสร็จแล้ว กรุณาส่งกับคืนที่เจ้าหน้าที่ที่คณะหรือที่สำนักฯ แบบออนไลน์ อาสาสมัครสามารถคลิกลิงค์หรือสแกน QR code ในหนังสือเชิญหรือในใบประชาสัมพันธ์ที่ได้แจกไปยังทุกคณะและทุกสำนักงานเพื่อทำแบบสอบถามการประเมินความพึงพอใจในประสิทธิ ภาพของระบบฯ โดยได้อธิบายในคำชี้แจงของแบบประเมิน ว่าอาสาสมัครต้องทำการใช้ระบบที่อยู่ที่ URL ที่ระบุไว้ ให้กับอาสาสมัครได้ทดลองใช้ระบบ หลังจากทดลองใช้ระบบแล้ว ถ้ากลุ่มอาสาสมัครสมัครใจในการเข้าร่วม ก็ให้ตอบแบบสอบถามนี้ ขอบเขตด้านข้อมูล ประกอบด้วย - ข้อมูลองค์ความรู้ ประกอบด้วย ระเบียบ คำสั่งสภาแต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมในมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ คำสั่งแต่งตั้งอนุกรรมการคณะกรรมการจริยธรรมในมนุษย์ ข้อมูลคณะกรรมการ ขั้นตอนการยื่นโครงการวิจัยเพื่อขอรับพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ เกณฑ์การพิจารณา (เกณฑ์ยกเว้น เกณฑ์เร่งรัด เกณฑ์เต็มรูปแบบ) แบบฟอร์มการยื่นขอจริยธรรมในมนุษย์ ความเป็นมาคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และ คำถามที่พบบ่อย และรวมลิงค์เว็บไซต์ รวมลิงค์เอกสาร บทความ เอกสารเผยแพร่ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งคู่มือสำหรับการยื่นโครงการวิจัยเพื่อเสนอขอรับการพิจารณาด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ - ข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์ ประกอบด้วย ข้อมูลประกาศจากคณะกรรมการฯ ข้อมูลการจัดการประชุม ข้อมูลการจัดการอบรมสัมมนา และข้อมูลกำหนดการรับโครงการวิจัยเพื่อพิจารณารับรองจริยธรรมในมนุษย์ ข้อมูลกิจกรรมที่คณะกรรมการฯ จัดทำ รวมทั้งภาพ วิดีโอการจัดกิจกรรม ขอบเขตด้านระบบ ระบบนี้พัฒนาระบบในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชันแบบ Responsive สามารถเข้าถึงได้ทั้งสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และเดสก์ท็อป ขอบเขตของระบบ มีดังนี้ - จัดการข่าวประชาสัมพันธ์ต่างๆ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในมนุษย์ - จัดทำอินโฟกราฟิคขั้นตอนกระบวนการยื่นขอรับการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ - จัดการระเบียบ / ประกาศ / คำสั่ง / คู่มือวิธีการดำเนินการมาตรฐาน (SOPs) - จัดการดาวน์โหลดแบบฟอร์มการขอยื่นรับการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ - จัดทำอินโฟกราฟิคโครงสร้างคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ และ คณะอนุกรรมการ จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (กรรมการสมทบ) - จัดการแหล่งรวมองค์ความรู้ ได้แก่ องค์ความรู้เกี่ยวกับ HEC อบรมจริยธรรมออนไลน์ เอกสาร เผยแพร่ และลิงค์ที่น่าสนใจ - จัดการสื่อมัลติมีเดียการอบรมจริยธรรมออนไลน์ - จัดการภาพ วิดีโอ กิจกรรม - จัดการข้อมูลเกี่ยวกับเรา - จัดการคำถามที่พบบ่อย ขอบเขตด้านเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความต้องการของผู้ใช้ระบบการจัดการความรู้และการจัดการงานประชาสัมพันธ์ ของงานจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2) ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการพัฒนาระบบ ประกอบด้วย - PHP เป็นภาษาสําหรับพัฒนาระบบ - HTML5 เป็นภาษาสําหรับพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน - Xampp เป็นโปรแกรม Apache web server ไว้จำลอง web server - MySQL เป็นโปรแกรมจัดการฐานข?อมูล - Sublime Text 3 เป็นโปรแกรมแก้ไขข้อความ และเขียนโค้ด - Draw.io เป็นโปรแกรมสร้างหน้าจอระบบสําหรับติดต่อกับผู้ใช้ - Chrome หรือ Firefox เป็น Web browser สําหรับติดต่อกับระบบ 3) แบบประเมินความพึงพอใจในประสิทธิภาพของระบบการจัดการความรู้และการจัดการงานประชาสัมพันธ์ของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : 1) ได้ระบบการจัดการความรู้และการจัดการงานประชาสัมพันธ์ของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2) สามารถช่วยให้เจ้าหน้าที่และคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์จัดการความรู้และจัดการงานประชาสัมพันธ์ของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3) สามารถช่วยให้อาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์มีความรู้ ความเข้าใจในงานจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ได้อย่างถูกต้อง 4) สามารถเป็นเครื่องมือในการสื่อสารระหว่างผู้ใช้งาน เจ้าหน้าที่ และผู้ประเมินงานจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ โดยทำให้ข้อมูลต่าง ๆ ถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบ เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด 5) สามารถค้นหาข้อมูลได้ถูกต้องแม่นยำ เพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานและเจ้าหน้าที่ และประโยชน์ต่อหน่วยงานในการดำเนินการต่าง ๆ เป็นไปตามหลักปฎิบัติ 6) สามารถช่วยพัฒนาให้งานวิจัยของมหาวิทยาลัยมีคุณภาพ มีความปลอดภัยแก่อาสาสมัคร เพื่อให้ผลงานวิจัยเป็นที่เชื่อถือได้ และเกิดประโยชน์ต่อสังคม
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :คำถามของการวิจัย ความต้องการของผู้ใช้ระบบการจัดการความรู้และการจัดการงานประชาสัมพันธ์ของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์มีอะไรบ้าง สมมุติฐานของการวิจัย ผู้ใช้ระบบการจัดการความรู้และการจัดการงานประชาสัมพันธ์ของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มีความพึงพอใจในประสิทธิภาพของระบบฯ อยู่ในระดับมาก
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :1) ทำการศึกษาเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสำรวจเว็บงานจริยธรรมของสถาบันต่างๆ 2) จัดทำแบบสอบถามความต้องการของผู้ใช้ระบบฯ และแบบประเมินความพึงพอใจในประสิทธิภาพของระบบการจัดการความรู้และการจัดการงานประชาสัมพันธ์ของงานจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ แล้วนำแบบสอบถามและแบบประเมินระบบนี้ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพ 3) ทำการสอบถามกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 20 คนด้วยความสมัครใจ ซึ่งประกอบด้วย คณะกรรมการ/อนุกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ เจ้าหน้าที่กองบริหารการวิจัยที่รับผิดชอบด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ นักวิจัย บัณฑิตศึกษา นักศึกษาปี 4 ที่ทำวิจัย และอาจารย์ที่มีประสบการณ์ยื่นขอจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ 4) วิเคราะห์และสรุปผลความต้องการระบบฯ 5) ทำการวิเคราะห์ออกแบบระบบด้วยหลักการพัฒนาระบบเชิงวัตถุด้วย UML และได้เลือกใช้ 2 ไดอะแกรมในการออกแบบ คือ 1) Use Case Diagram ในการออกแบบจากมุมมองผู้ใช้ภายนอก และ 2) Class Diagram ใช้ออกแบบโมดูลต่าง ๆ ในการใช้ประมวลผล 6) ทำการออกแบบหน้าจอรับข้อมูล (Input) และหน้าจอแสดงผลรายงาน (Report) 7) พัฒนาระบบการจัดการความรู้และการจัดการงานประชาสัมพันธ์ของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยใช้ภาษา PHP เป็นภาษาในการพัฒนาระบบ ใช้โปรแกรม MySQL เป็นโปรแกรมการจัดการฐานข้อมูล และใช้ Apache เป็น Web Server 8) ทำการทดสอบและประเมินระบบจากผู้ที่สนใจและสมัครใจเข้าร่วมทดสอบจำนวน 268 คน 9) นำมาวิเคราะห์และสรุปผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบฯ 10) จัดทำรายงาน
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองและพัฒนา – เพื่อนำผลลัพธ์ และใช้ในแก้ไขปัญหา การวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยทำการสอบถามกลุ่มตัวอย่างของผู้ต้องการใช้ระบบเพื่อต้องการทราบความต้องการระบบฯ ส่วนที่ 2 เป็นการพัฒนาระบบฯในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชัน ส่วนที่ 3 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยทำการสอบถามกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับความพึงพอใจในประสิทธิภาพของระบบการจัดการความรู้และการจัดการงานประชาสัมพันธ์ของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
จำนวนเข้าชมโครงการ :8 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวอรสา เตติวัฒน์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย50

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด