รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000656
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การศึกษาวิธีสกัดแอนโทไซยานินเพื่อการผลิตน้ำกระเจี๊ยบเข้มข้นเชิงพาณิชย์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The study of anthocyanins extraction for commercial concentrated roselle beverage production
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :แอนโทไซยานิน, การสกัด, กระเจี๊ยบแดง, เข้มข้น, การผลิตอาหาร
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม > ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิชาอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :70000
งบประมาณทั้งโครงการ :70,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :30 มีนาคม 2566
วันสิ้นสุดโครงการ :29 มีนาคม 2567
ประเภทของโครงการ :การพัฒนาทดลอง
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขาวิชาการ :ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและอุตสาหกรรม
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : กระเจี๊ยบแดง(Hibiscus sabdariffa L.) มีชื่อสามัญว่า roselle หรือ Jamaican sorrel หรือ Java jute เป็นพืชล้มลุกที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาและแพร่หลายไปทั่วโลกกระเจี๊ยบแดงสามารถปลูกได้ทั่วไปในพื้นที่เขตร้อนหรือกึ่งร้อน เป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อยและสามารถเจริญเติบโตได้ดีในประเทศไทยจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกกระเจี๊ยบแดงมากที่สุดคือจังหวัดศรีสะเกษ รองลงมาคือ ราชบุรี สุรินทร์ กาญจนบุรี และนครสวรรค์ โดยในปี 2564 มีผลผลิตรวมทั้งประเทศ 2,748 ตัน ในจังหวัดนครสวรรค์มีการปลูกกระเจี๊ยบแดงในแถบพื้นอำเภอตาคลีและลาดยาวเป็นจำนวนมาก มีการนำมาแปรรูปโดยการตากแห้ง และส่งขายทั้งในรูปแบบออนไลน์ และออฟไลน์ทั้วในและต่างประเทศ แต่ยังไม่พบการแปรรูปเพื่อจำหน่ายในรูปแบบน้ำกระเจี๊ยบเข้มข้น กระเจี๊ยบแดงเป็นพืชที่มีคุณค่าทางอาหารสูงและเป็นพืชสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางยาได้ทุกส่วน แต่ส่วนที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์คือส่วนที่เป็นกลีบเลี้ยงดอกที่เรียกกันทั่วไปว่ากลีบกระเจี๊ยบ หรือดอกกระเจี๊ยบ โดยดอกกระเจี๊ยบจะประกอบไปด้วยสารอาหารได้แก่ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน วิตามิน เอ บี ซี ไนอาซิน ธาตุแคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส และรงควัุตถุซึ่งเป็นส่วนที่มีสีแดงเข้มอันเกิดจากมีสารแอนโทไซยานินอยู่มาก แอนโทไซยานินจัดเป็นเป็นรงควัตถุสีแดงที่ละลายน้ำได้ จัดอยู่ในกลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoid) เป็นสารให้สีตามธรรมชาติ กระเจี๊ยบมีสรรพคุณในการลดความดันโลหิต ลดไขมันในเลือด ยับยั้งแบคทีเรียและเชื้อรา ขับปัสสาวะ แก้ไอ ขับเสมหะ ดังนั้นจึงมีความนิยมบริโภคเครื่องดื่มน้ำกระเจี๊ยบกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก และถูกจัดเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคในเทรนอาหารมาแรงปี 2022 นอกจากจะมีสรรพคุณทางยาแล้วน้ำกระเจี๊ยบยังมีกลิ่นรสที่ดี เป็นที่นิยม วิธีการสกัดแบบดั้งเดิมในกระบวนการผลิตน้ำกระเจี๊ยบพร้อมดื่ม และน้ำกระเจี๊ยบเข้มข้น คือ การต้มในน้ำเดือด เพื่อสกัดสารแอนโทไซยานินออกมากทำให้ได้น้ำกระเจี๊ยบสีแดงเข้ม ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวก แต่เนื่องจากความคงตัวของสีจากแอนโทไซยานินจะขึ้นอยู่กับ โครงสร้าง ความเข้มข้นของรงควัตถุ ค่าความเป็นกรด-ด่าง อุณหภูมิ ความเข้มของแสง โลหะ เอนไซม์ ออกซิเจน และ ascorbic acid ซึ่งเมื่อให้ความร้อนที่อุณหภูมิสูงจะส่งผลให้การสลายตัวของแอนโทไซยานินในน้ำผลไม้เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นในขั้นตอนการต้มสกัดด้วยอุณหภูมิที่สูงและระยะเวลานานด้วยวิธีการดังเดิมนี้จะส่งผลให้แอนโทไซยานินบางส่วนจึงถูกทำลายไปในขั้นตอนการต้มสกัด ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาวิธีการสกัดแอนโทไซยานินที่เหมาะสมเพื่อการผลิตน้ำกระเจี๊ยบเข้มข้นเชิงพาณิชย์ด้วยเทคนิคการต้มสกัดภายใต้ความดันให้ได้ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่มีคุณภาพและคุณค่าทางโภชนาการสูงที่สุด เพื่อนำไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบของศูนย์นวัตกรรมอาหารต้นแม่น้ำเจ้าพระยา และเพื่อเป็นองค์ความรู้สำหรับถ่ายทอดให้กับชุมชนในพื้นที่ตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยและศูนย์นวัตกรรมอาหารต้นแม่น้ำเจ้าพระยา อีกทั้งยังเป็นการบูรณาการกับการเรียนการสอนโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการฝึกปฏิบัติทดลองแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาวิจัยนี้เพื่อจัดจำหน่ายจริงในตลาดนัดเกษตรของภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร
จุดเด่นของโครงการ :เป็นการศึกษาสภาวะที่เหมาะสม
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อศึกษาวิธีการสกัดแอนโทไซยานินที่เหมาะสมเพื่อการผลิตน้ำกระเจี๊ยบเข้มข้น 2. เพื่อศึกษาคุณภาพด้านกายภาพ เคมี และจุลินทรีย์ ของผลิตภัณฑ์น้ำกระเจี๊ยบที่ผ่านการสกัด 3. เพื่อให้สาขาวิชาอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์นำผลงานวิจัยไปใช้ในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์น้ำกระเจี๊ยบเข้มข้นเพื่อจำหน่ายเชิงพาณิชย์
ขอบเขตของโครงการ :ศึกษาวิธีสกัดแอนโทไซยานินเพื่อการผลิตน้ำกระเจี๊ยบเข้มข้น ในสภาวะความดันสูงกว่าบรรยายกาศ ที่อุณหภูมิต่ำ เปรียบเทียบกับวิธีการสกัดภายใต้ความดันบรรยากาศ (0 Mpa) โดยใช้กระเจี๊ยบแดงแห้งจากจังหวัดนครสวรรค์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ได้สภาวะที่เหมาะสมในการสกัดแอนโทไซยานินสำหรับกระบวนผลิตน้ำกระเจี๊ยบเข้มข้นเชิงพาณิชย์โดยจะนำไปใช้เป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบในศูนย์นวัตกรรม 2. ได้ผลการทดสอบคุณภาพด้านกายภาพ เคมี และจุลินทรีย์ ของผลิตภัณฑ์น้ำกระเจี๊ยบที่ผ่านการสกัด 3. ได้ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่มีปริมาณแอนโทไซยานินสูง 4. ได้นำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ให้เกิดมูลค่าเพิ่ม 5. สามารถนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการผลิตเชิงพาณิชย์ 6. นักศึกษาได้บูรณาการในการเรียนการสอนและนำผลจากงานวิจัยไปผลิตจำหน่ายได้จริง
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : กระเจี๊ยบแดง(Hibiscus sabdariffa L.) มีชื่อสามัญว่า roselle หรือ Jamaican sorrel หรือ Java jute เป็นพืชล้มลุกที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาและแพร่หลายไปทั่วโลกกระเจี๊ยบแดงสามารถปลูกได้ทั่วไปในพื้นที่เขตร้อนหรือกึ่งร้อน เป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อยและสามารถเจริญเติบโตได้ดีในประเทศไทยจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกกระเจี๊ยบแดงมากที่สุดคือจังหวัดศรีสะเกษ รองลงมาคือ ราชบุรี สุรินทร์ กาญจนบุรี และนครสวรรค์ โดยในปี 2564 มีผลผลิตรวมทั้งประเทศ 2,748 ตัน ในจังหวัดนครสวรรค์มีการปลูกกระเจี๊ยบแดงในแถบพื้นอำเภอตาคลีและลาดยาวเป็นจำนวนมาก มีการนำมาแปรรูปโดยการตากแห้ง และส่งขายทั้งในรูปแบบออนไลน์ และออฟไลน์ทั้วในและต่างประเทศ แต่ยังไม่พบการแปรรูปเพื่อจำหน่ายในรูปแบบน้ำกระเจี๊ยบเข้มข้น กระเจี๊ยบแดงเป็นพืชที่มีคุณค่าทางอาหารสูงและเป็นพืชสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางยาได้ทุกส่วน แต่ส่วนที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์คือส่วนที่เป็นกลีบเลี้ยงดอกที่เรียกกันทั่วไปว่ากลีบกระเจี๊ยบ หรือดอกกระเจี๊ยบ โดยดอกกระเจี๊ยบจะประกอบไปด้วยสารอาหารได้แก่ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน วิตามิน เอ บี ซี ไนอาซิน ธาตุแคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส และรงควัุตถุซึ่งเป็นส่วนที่มีสีแดงเข้มอันเกิดจากมีสารแอนโทไซยานินอยู่มาก แอนโทไซยานินจัดเป็นเป็นรงควัตถุสีแดงที่ละลายน้ำได้ จัดอยู่ในกลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoid) เป็นสารให้สีตามธรรมชาติ กระเจี๊ยบมีสรรพคุณในการลดความดันโลหิต ลดไขมันในเลือด ยับยั้งแบคทีเรียและเชื้อรา ขับปัสสาวะ แก้ไอ ขับเสมหะ ดังนั้นจึงมีความนิยมบริโภคเครื่องดื่มน้ำกระเจี๊ยบกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก และถูกจัดเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคในเทรนอาหารมาแรงปี 2022 นอกจากจะมีสรรพคุณทางยาแล้วน้ำกระเจี๊ยบยังมีกลิ่นรสที่ดี เป็นที่นิยม วิธีการสกัดแบบดั้งเดิมในกระบวนการผลิตน้ำกระเจี๊ยบพร้อมดื่ม และน้ำกระเจี๊ยบเข้มข้น คือ การต้มในน้ำเดือด เพื่อสกัดสารแอนโทไซยานินออกมากทำให้ได้น้ำกระเจี๊ยบสีแดงเข้ม ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวก แต่เนื่องจากความคงตัวของสีจากแอนโทไซยานินจะขึ้นอยู่กับ โครงสร้าง ความเข้มข้นของรงควัตถุ ค่าความเป็นกรด-ด่าง อุณหภูมิ ความเข้มของแสง โลหะ เอนไซม์ ออกซิเจน และ ascorbic acid ซึ่งเมื่อให้ความร้อนที่อุณหภูมิสูงจะส่งผลให้การสลายตัวของแอนโทไซยานินในน้ำผลไม้เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นในขั้นตอนการต้มสกัดด้วยอุณหภูมิที่สูงและระยะเวลานานด้วยวิธีการดังเดิมนี้จะส่งผลให้แอนโทไซยานินบางส่วนจึงถูกทำลายไปในขั้นตอนการต้มสกัด
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :ศึกษาวิธีการสกัดแอนโทไซยานินที่เหมาะสมเพื่อการผลิตน้ำกระเจี๊ยบเข้มข้นเชิงพาณิชย์ด้วยเทคนิคการต้มสกัดภายใต้ความดันให้ได้ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่มีคุณภาพและคุณค่าทางโภชนาการสูงที่สุด เพื่อนำไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบของศูนย์นวัตกรรมอาหารต้นแม่น้ำเจ้าพระยา และเพื่อเป็นองค์ความรู้สำหรับถ่ายทอดให้กับชุมชนในพื้นที่ตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยและศูนย์นวัตกรรมอาหารต้นแม่น้ำเจ้าพระยา อีกทั้งยังเป็นการบูรณาการกับการเรียนการสอนโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการฝึกปฏิบัติทดลองแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาวิจัยนี้เพื่อจัดจำหน่ายจริงในตลาดนัดเกษตรของภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :1. ศึกษาวิธีสกัดแอนโทไซยานินเพื่อการผลิตน้ำกระเจี๊ยบเข้มข้น 1.1 การเตรียมตัวอย่าง ตัวอย่างกระเจี๊ยบแดงถูกนำไปทำแห้งด้วยเครื่องอบแห้งแบบลมร้อนที่อุณหภูมิ จนมีค่าวอเตอร์แอคติวิตี้ต่ำกว่า 0.5 จากนั้นเก็บในภาชนะปิดสนิทป้องกันอากาศ เพื่อเตรียมสำหรับการทดลองขั้นตอนต่อไป 1.2 นำตัวอย่างกระเจี๊ยบแห้งผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1:15 w/v จากนั้นนำไปต้มสกัดด้วยเครื่องต้มสกัดภายใต้ความดัน 0 , 0.05 และ 0.1 Mpa ที่อุณหภูมิ 60; 70 และ 80 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30, 45 และ 60 นาที จากนั้นนำไปกรองและเก็บไว้ในที่เย็นก่อนนำไปวิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพ เคมี และปริมาณแอนโทไซยานิน เพื่อเลือกสภาวะที่มีปริมาณแอนโทไซยานินสูงที่สุดมาใช้ในการผลิตน้ำกระเจี๊ยบเข้มข้นต่อไป 1.3 นำน้ำกระเจี๊ยบที่สกัดได้จากสภาวะที่เหมาะสมมาผลิตเป็นน้ำกระเจี๊ยบเข้มข้นโดยเติมน้ำตาลทรายให้ได้ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมดเป็น 45 องศาบริกซ์และเติมเกลือ 0.15% ต้มที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 นาที และบรรจุร้อนในขวดแก้ว ลดอุณหภูมิลงทันทีโดยใช้น้ำเย็นให้เหลือ 40 องศาเซลเซียส เช็ดทำความสะอาด แล้วนำมาทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัสเปรียบเทียบกับน้ำกระเจี๊ยบสูตรดั้งเดิม 2.ศึกษาคุณภาพทางกายภาพ 2.1 วัดค่าสีด้วยเครื่องวัดค่าสียี่ห้อ Hunter Lab 3. ศึกษาคุณภาพทางเคมี 3.1 วัดค่าความเป็นกรด - ด่าง ด้วยเครื่องวัดความเป็นกรด-ด่าง (pH meter) 3.2 วัดค่าปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด (%TSS) ด้วยเครื่อง Refractometer 4. ศึกษาคุณภาพทางจุลินทรีย์ 4.1จำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมด 4.2 ยีสต์และรา 5. ศึกษาปริมาณแอนโทไซยานินที่ได้จากการสกัดที่สภาวะต่าง ๆ ด้วยเครื่องวัดค่าการดูดกลืนแสง (UV-VIS Spectrophotometer) 6. ทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัส
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :145 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวพรพรรณ จิอู๋ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย65
นางสาวชื่นจิต พงษ์พูล บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย5
นางเบญจพร รอดอาวุธ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย5
นางสาวณิชา กาวิละ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย5
นายณัฐวุฒิ เนียมสอน บุคลากรภายนอกมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย20

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด