รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000653
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การเพิ่มมูลค่าของเสียในห่วงโซ่คุณค่าผลิตภัณฑ์โกโก้เป็นเชื้อเพลิงอัดแท่ง
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Value Creation Waste in Cocoa Products Value Chain as Fuel Briquette
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :ของเสียจากผลิตภัณฑ์โกโก้, เชื้อเพลิงอัดแท่ง
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม > ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :70000
งบประมาณทั้งโครงการ :70,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :30 มีนาคม 2566
วันสิ้นสุดโครงการ :29 มีนาคม 2567
ประเภทของโครงการ :การวิจัยและพัฒนา
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขาวิชาการ :สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
กลุ่มวิชาการ :วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :ไม่ระบุ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ประเทศไทยมีแนวคิดในการส่งเสริมพืชเศรษฐกิจในอนาคตที่มีตลาดรองรับและมีราคาที่มีเสถียรภาพ สามารถแข่งขันได้ในระยะยาว ส่งเสริมการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า รวมทั้งส่งเสริมการปลูก ส่งเสริมการตั้งโรงงานแปรรูปและส่งเสริมการตลาดใช้นโยบายตลาดนำการผลิต (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2564) โกโก้เป็นหนึ่งของพืชเศรษฐกิจในอนาคตอนาคตที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีการส่งเสริมพัฒนาการผลิตและการตลาดให้เป็นสินค้าเศรษฐกิจสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร เนื่องจากมีความต้องการของตลาดโลกสูง โดยเฉพาะเมล็ดโกโก้ปีละกว่า 3 ล้านตันและขยายตัวทุกปี ส่วนช็อคโกแลตคาดว่าเมื่อถึงปี 2569 มีมูลค่าค้าขายปีละกว่า 5 ล้านล้านบาท ประกอบกับประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกและสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม สามารถปลูกโกโก้ได้ทุกภาค ในปี พ.ศ. 2563 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกโกโก้ 5,913 ไร่ (รัชณภัค และคณะ, 2564) กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกโกโก้ จังหวัดอุทัยธานี ได้ปรับเปลี่ยนการปลูกพืชเชิงเดี่ยวจำพวกสับปะรด อ้อย และมันสำปะหลัง มาเพาะปลูกพืชโกโก้ตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) เนื่องจากราคาตกต่ำและโกโก้สามารถเก็บผลผลิตได้ตลอดทั้งปี ทำให้สามารถสร้างรายได้ที่แน่นอนและต่อเนื่อง พื้นที่ปลูกโกโก้ของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกโกโก้ จังหวัดอุทัยธานี มีประมาณ 298 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ยรวม 350 ตันต่อปี ได้มีการนำผลโกโก้สุกมาเพิ่มคุณค่าโดยการนำแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เมล็ดโกโก้และผงโกโก้ เมื่อนำวัตถุดิบผลโกโก้สุกเข้ามาในกระบวนการผลิตจะได้วัตถุดิบเมล็ดโกโก้ ร้อยละ 40 โดยน้ำหนักของผลโกโก้ และเปลือกโกโก้เป็นของเสีย ร้อยละ 60 โดยน้ำหนักของผลโกโก้ มีของเสียเกิดขึ้นในชุมชนปริมาณมากเฉลี่ยประมาณ 210 ตันต่อปี โดยการกองของเสียกลางแจ้งและยังไม่ได้มีการกำจัดอย่างถูกต้อง ทำให้เกิดการเน่าเปื่อยและส่งกลิ่นเหม็นในชุมชน ดังนั้นทางกลุ่มผู้วิจัยจึงได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จึงมีแนวคิดในการนำเปลือกโกโก้ที่ได้จากกระบวนการผลิตของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกโกโก้ จังหวัดอุทัยธานี มาทำการแปรรูปของเสียผลิตเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่งเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อเพิ่มมูลค่าในห่วงโซ่คุณค่าผลิตภัณฑ์โกโก้ โดยเริ่มจากการหาปริมาณส่วนผสมของเปลือกโกโก้ เศษวัสดุทางการเกษตรอื่น ๆ และตัวประสาน ซึ่งเป็นการวิเคราะห์สมบัติของเชื้อเพลิงอัดแท่งจากของเสีย ซึ่งผลที่ได้นั้นทางกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกโกโก้ สามารถนำเชื้อเพลิงอัดแท่งนำไปจัดจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิต และหารายได้เสริมจากการขายเชื้อเพลิงอัดแท่งในช่วงนอกฤดูการเก็บเกี่ยวอีกด้วย
จุดเด่นของโครงการ :ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้เกษตรกรเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์
วัตถุประสงค์ของโครงการ :เพื่อวิเคราะห์สัดส่วนของเชื้อเพลิงอัดแท่งจากของเสียในห่วงโซ่คุณค่าผลิตภัณฑ์จากโกโก้ที่ให้พลังงานความร้อนที่เหมาะสม
ขอบเขตของโครงการ :1.ของเสียในห่วงโซ่คุณค่าผลิตภัณฑ์จากโกโก้ ประกอบด้วย เปลือกโกโก้ 2.กระบวนการแปรรูปชีวมวลหรือของเสียให้เป็นเชื้อเพลิงอัดแท่งด้วยกรรมวิธีกระบวนการอัดเย็นแบบตัวประสาน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1.อัตราส่วนที่เหมาะสมในการผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากของเสียในห่วงโซ่คุณค่าผลิตภัณฑ์จากโกโก้ 2.สร้างรายได้เสริมแก่เกษตรกร 3.ลดปริมาณของเสียและลดการรบกวนจากกลิ่นของเสียจากกระบวนการผลิตโกโก้
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :เป็นการนำแนวคิดการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับห่วงโซ่คุณค่าผลิตภัณฑ์โกโก้ โดยการนำของเสียที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มาผลิตเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่ง โดยการนำทฤษฎีการออกแบบการทดลองแบบ Mixture Design มาหาส่วนผสมของเชื้อเพลิงอัดแท่งที่เหมาะสมและมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :สภาพปัจจุบัน 1.ของเสียจากกระบวนการผลิตโกโก้ ประมาณ 210 ตันต่อปี 2.ของเสียที่เกิดขึ้นยังไม่มีการกำจัดที่ถูกต้อง ส่งปัญหาเน่าเสียและเกิดกลิ่นรบกวนในชุมชน 3.ของเสียที่เกิดจากการแปรรูปผลิตภัณฑ์โกโก้ ยังไม่ได้มีการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ กระบวนการวิจัย 1.วิเคราะห์สัดส่วนที่เหมาะสมของเชื้อเพลิงอัดแท่งจากของเสียในห่วงโซ่คุณค่าผลิตภัณฑ์จากโกโก้ เป้าหมาย 1.เชื้อเพลิงอัดแท่งจากห่วงโซ่คุณค่าผลิตภัณฑ์จากโกโก้สำหรับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกโกโก้ จังหวัดอุทัยธานี 2.สร้างรายได้เพิ่มสำหรับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกโกโก้ จังหวัดอุทัยธานี 3.ลดปัญหาของเสียจากห่วงโซ่คุณค่าผลิตภัณฑ์จากโกโก้ที่ก่อปัญหาสิ่งแวดล้อม
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :1.ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับของเสียจากกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากโกโก้ 2.ดำเนินการคัดแยกของเสียของเสียที่ได้จากกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากโกโก้ที่สามารถนำกลับไปใช้ได้ 3.ดำเนินการดำเนินการวิเคราะห์ของเสียที่ได้จากกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากโกโก้ที่สามารถนำกลับไปใช้ได้ 4.ดำเนินการทดลองหาสัดส่วนของเชื้อเพลิงอัดแท่ง ด้วยวิธีการ Mixture Design โดยใช้วิธีการ Constrained Component Mixture Design 5.ดำเนินการจัดเตรียมเศษวัตถุดิบต่าง ๆ เพื่ออัดแท่งถ่านตามสัดส่วนที่ได้จากวิธีการ Mixture Design 6.ดำเนินการตรวจวัดค่าพารามิเตอร์ ที่สนใจศึกษา เช่น ค่าความร้อน ค่าความชื้น ปริมาณคาร์บอนคงตัว ปริมาณสารที่ระเหยได้ และขี้เถ้า
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :26 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวภริตา พิมพันธุ์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย50
นายปิยะกิจ กิจติตุลากานนท์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย20
นางมาศสกุล ภักดีอาษา บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย20
นางสาวกรรณิการ์ มิ่งเมือง บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย10

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด