รหัสโครงการ : | R000000652 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | การพัฒนาระบบควบคุมคุณภาพการผลิตอุปกรณ์การเกษตร ด้วยโปรแกรม AppSheet ผ่านระบบออนไลน์ |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | Developing Quality Control System for Agricultural Equipment Production With AppSheet Program Online System. |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | ระบบควบคุมคุณภาพ, โปรแกรม AppSheet, |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม > ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 70000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 70,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 30 มีนาคม 2566 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 29 มีนาคม 2567 |
ประเภทของโครงการ : | งานวิจัยประยุกต์ |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี |
สาขาวิชาการ : | สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย |
กลุ่มวิชาการ : | วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ไม่ระบุ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | ห้างหุ้นส่วนจำกัด ลิ่มเชียงเส็ง นครสวรรค์ ได้ดำเนินการในการผลิตอุปกรณ์และเครื่องจักรทางการ
เกษตรให้กับเกษตรกรมายาวนานกว่า 40 ปี โดยทางห้างหุ้นส่วนจำกัด ลิ่มเชียงเส็ง นครสวรรค์
ทำการจัดจำหน่ายอุปกรณ์และเครื่องจักรทางการเกษตรที่งในแบรนด์ ลิ่มเชียงเส็ง (LCS) และ รับ
ผลิตเพื่อนำไปจัดจำหน่ายในแบรนด์อื่นๆ เช่น ยันม่าร์ (Yanmar) โดยทางห้างหุ้นส่วนจำกัด ลิ่มเชียง
เส็ง นครสวรรค์ สามารถทำการผลิตผานไถได้ประมาณ 2,500 - 3,000 ชิ้นต่อปี ซึ่งแน่นอนว่าการผลิต
อุปกรณ์และเครื่องจักรทางการเกษตรให้แก่ผู้จัดจำหน่ายในแบรนด์อื่นๆ นั้นจะต้องมีการการันตีใน
ด้านคุณภาพของสินค้า ซึ่งเป็นข้อกำหนดมีลูกค้าต้องการการยืนจากผู้ผลิต โดยปกติแล้วทางห้างหุ้น
ส่วนจำกัด ลิ่มเชียงเส็ง นครสวรรค์ มีแนวทางโดยทำการจดบันทึกข้อมูลคุณภาพในแต่ละ
กระบวนการด้วยการบันทึกลงเอกสาร แต่ในบ้างครั้งมักเกิดปัญหา เช่น การทำเอกสารเสียหาย การ
ทำเอกสารสูญหาย หรือในบ้างกรณีที่มีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งการทำงานของพนักงานอาจทำให้ส่ง
ผลต่อการตรวจสอบคุณภาพของงาน ซึ่งส่งผลต่อกำลังการผลิตและความน่าเชื่อถือของห้างหุ้นส่วน
จำกัด ลิ่มเชียงเส็ง นครสวรรค์ ดังนั้นทางห้างหุ้นส่วนจำกัด ลิ่มเชียงเส็ง นครสวรรค์และคณะผู้วิจัย
จึงประชุมหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยได้ผลสรุปแนวทางในการดำเนินการ คือ การ
จัดทำระบบควบคุมคุณภาพการผลิตอุปกรณ์การเกษตร ด้วยโปรแกรม AppSheet ผ่านระบบ
ออนไลน์ เพื่อแก้ไขปัญหาที่ได้กล่าวในข้างต้น และสามารถตรวจสอบข้อมูลคุณภาพได้แบบเรียลไทม์
โดยทางห้างหุ้นส่วนจำกัด ลิ่มเชียงเส็ง นครสวรรค์ได้สนับสนุนทุนวิจัยในโครงการนี้ โดยแบ่งเป็น
เงินสด (In cash) 50,000 บาท และการสนับสนุนจากบริษัท (In Kind) อีกจำนวน 50,000 บาท |
จุดเด่นของโครงการ : | เป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1. เพื่อพัฒนาระบบควบคุมคุณภาพในกระบวนการผลิต
2. เพื่อสร้างระบบควบคุมคุณภาพแบบเรียลไทม์ ผ่านช่องทางออนไลน์
3. สามารถกำกับติดตามความผิดปกติในกระบวนการผลิต |
ขอบเขตของโครงการ : | 1. ศึกษากระบวนการทำงานของการผลิตผานไถ
2. ศึกษาในส่วนการตรวจสอบคุณภาพชิ้นงานในแต่ละกระบวนการผลิตผานไถ
3. ศึกษาและพัฒนาเฉพาะในส่วนของโปรแกรมในการบันทึกและติดตามคุณภาพชิ้นงานในแต่ละกระบวนการผลิตผานไถ
4. ในการออกแบบโปรแกรมในการบันทึกและติดตามคุณภาพชิ้นงาน จะใช้โปรแกรม AppSheet |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | 1. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ลิ่มเชียงเส็ง นครสวรรค์ ได้โปรแกรมในการบันทึกและติดตามคุณภาพชิ้นงานแบบออนไลน์
2.ห้างหุ้นส่วนจำกัด ลิ่มเชียงเส็ง นครสวรรค์ สามารถตรวจสอบคุณภาพ ชิ้นงานและสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที
3. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ลิ่มเชียงเส็ง นครสวรรค์ สามารถหาแนวทางในการพัฒนากระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มคุณภาพชิ้นงาน |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | ดำรงค์ฤทธิ์ จันทรา (2563) ได้ทำการศึกษาเรื่องการประยุกต์ใช้โปรแกรม Apsheet พัฒนาแอปพลิเคชัน เพื่อใช้ในการสอนพลศึกษา เรื่องสัญลักษณ์ของผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บอล ของนักศึกษาชั้นปีที่4 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ การวิจัยเรื่อง การประยุกต์ใช้โปรแกรม Apsheet พัฒนาแอปพลิเคชัน เพื่อใช้ในการสอนพล ศึกษาเรื่องสัญลักษณ์ของผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บอล ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อใช้ในการสอนพลศึกษา เรื่องสัญลักษณ์ ของผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บอล 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์หลังการเรียนโดยใช้แอปพลิเคชัน ของนักศึกษา ชั้นปีที่ 4 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75 3) เพื่อศึกษาผลความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ที่ได้ศึกษา บทเรียนจากแอปพลิเคชัน เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ แอปพลิเคชันเรื่องสัญลักษณ์ของผู้ ตัดสินกีฬาวอลเลย์บอล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบประเมินคุณภาพแอปพลิเคชัน แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าเฉลี่ย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือนักศึกษาพล ศึกษาที่เรียนรายวิชาการเป็นผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสินและการเป็นเจ้าหน้าที่กีฬาวอลเลย์บอล โดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายจำนวน 30 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลวิเคราะห์การประเมินคุณภาพแอปพลิเคชัน สำหรับใช้เป็นสื่อการสอน พลศึกษาเรื่องสัญลักษณ์ของผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บอล พบว่าการประเมินคุณภาพโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x?= 4.84) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.58 2) ผลการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ นักศึกษาหลังเรียนเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75 จากนักศึกษา พบว่า คะแนนแบบทดสอบหลังเรียน เฉลี่ยคิด เป็นร้อยละ 85.45 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 ที่ก าหนดไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผล การศึกษาผลความพึงพอใจของนักศึกษาที่ได้ศึกษาบทเรียนจากแอปพลิเคชัน เรื่องสัญลักษณ์ผู้ตัดสินกีฬา วอลเลย์บอล ผลการวิจัยพบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x?= 4.51) ความพึงพอใจมาก ที่สุดแอปพลิเคชันมีผลช่วยให้เกิดความน่าสนใจในการเรียนมากยิ่งขึ้น (x?= 4.95) รองลงมาคือด้านแอปพลิเคชันมีความสะดวกง่ายต่อการใช้งาน (x?= 4.85) แอปพลิเคชั่นช่วยให้สะดวกเรียนรู้ที่ไหนก็ได้ (x?= 4.75) เนื้อหามีความชัดเจน กระชับ เข้าใจง่าย (x?= 4.59) และมีระดับความพึงพอใจระดับมาก ด้านรายละเอียดของบทเรียนมีความครบถ้วนอ่านแล้วเข้าใจง่าย (x?= 4.48) ด้านการจัดวางเมนูมีความ เหมาะสม (x?= 4.45) ด้านสีตัวอักษรกับพื้นหลังมีความเหมาะสม (x?= 4.43) ด้านรูปแบบของ แอปพลิเคชันมีความน่าสนใจ (x?= 4.36) ด้านรูปภาพมีความน่าสนใจ ดูเข้าใจง่าย (x?= 4.13) ด้านอักษร ในแอปพลิเคชันมีความชัดเจน (x?= 4.12) ตามลำดับ
โรงเรียนช่างฝีมือทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย (2564) ได้ทำการศึกษาเรื่องการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) เรื่อง แอปพลิเคชันเพื่อบริหารจัดการข้อมูลของนักเรียนช่างฝีมือทหาร (Application for MTTS Students’ Data Management) โดยการวางรากฐานเพื่อเข้าสู่ Digital Transformation นั้น ฐานข้อมูล (Data Base) เป็นปัจจัย เริ่มต้นที่สำคัญ เมื่อมีปริมาณข้อมูลที่ต้องการมากพอที่จะสามารถนำมาวิเคราะห์ (Data Analysis) ใช้ ประกอบการวางแผนการดำเนินการภารกิจต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยปัจจัยที่สำคัญในหลักนี้ กรมนักเรียนจึงสร้างแอปพลิเคชันเพื่อบริหารจัดการข้อมูลของนักเรียนช่างฝีมือทหาร (Application for MTTS Students' Data Management ขึ้นเพื่อรวบรวมข้อมูลที่สำคัญในด้านต่าง ๆ อาทิ ข้อมูล ประวัติส่วน ข้อมูลของผู้ปกครอง ข้อมูลด้านการเรียน ข้อมูลด้านความสนใจ และข้อมูลการติดต่อ เป็นต้น วัตถุประสงค์ของคู่มือการสร้าง แอปพลิเคชันเพื่อบริหารจัดการข้อมูลของ นักเรียนช่างฝีมือทหาร วัตถุประสงค์ 1.) เพื่อเป็นองค์ความรู้ในการสร้างแอปพลิเคชันด้วย AppSheet (Front End) และ Google Sheets (Back End) 2.) เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างฐานข้อมูลนั้น ๆ ที่สามารถนำมาใช้ตอบสนองภารกิจ และ เป็นข้อมูลเพื่อประกอบพิจารณาวางแผนบริหารจัดการการดำเนินการที่สอดคล้องกับภารกิจของหน่วย 3.) เพื่อกระตุ้นถึงความสำคัญในการเตรียมความพร้อมระบบงานแบบแพลตฟอร์มในยุค ดิจิทัล (Digital Age) 4.) เพื่อส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาแล้ว มาประยุกต์ใช้งานและต่อยอด ในภารกิจของหน่วย ลดการสูญเสียทรัพยากรในการพัฒนาเทคโนโลยีที่ไม่จำเป็น ในการสร้างแอปพลิเคชันผู้พัฒนา จำเป็นต้องทราบวัตถุประสงค์ของการสร้าง แอปพลิเคชันมารองรับการทำงานนั้น ๆ เพื่อพิจารณาเครื่องมือในการสร้างแอปพลิเคชันที่เหมาะสม ลด ขั้นตอนที่ยุ่งยากที่ในการสร้าง รวมไปถึงทรัพยากรที่จำเป็น "แอปพลิเคชันเพื่อบริหารจัดการข้อมูลของนักเรียนช่างฝีมือทหาร" เป็นแอปพลิเคชัน ที่ถูกออกแบบมาเพื่อรวบรวมข้อมูลของนักเรียนช่างฝีมือทหาร พร้อมทั้งนำข้อมูลมาประมวลผลเพื่อ จัดการและเรียบเรียงข้อมูลอย่างง่าย เป็นแอปพลิเคชันในรูปแบบ Web Application เพื่อให้สามารถ เข้าถึงอุปกรณ์ของผู้ใช้งานได้ เมื่อพิจารณาถึงคุณสมบัติของแอปพลิเคชันแล้ว จำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่ สำคัญและเหมาะสม ประกอบไปด้วย 1. AppSheet เป็น Platform สำหรับสร้างแอปพลิเคชัน โดยไม่จำเป็นต้องเขียน Code สามารถสร้างและดีไซน์แอปพลิเคชันบน Web Service ของทาง AppSheet ซึ่งง่ายต่อการใช้ งานและประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย 2. Google Sheets เป็นแอปพลิเคชั่นในกลุ่มของ Google Drive ซึ่งเป็นนวัตกรรม ของ Google มีลักษณะการทำงานคล้ายกันกับ Microsoft Excel ที่สามารถสร้าง Column, Row สามารถใส่ข้อมูลต่าง ๆ ลงไปใน Cell และคำนวณสูตรต่าง ๆ ได้ 3. Google Apps Script เป็นภาษาโปรแกรมที่เขียนไว้ใช้กับ Google Docs, Google Sheets, Google Slides และ Google Forms เพื่อให้สามารถสร้างฟังก์ชั่นใหม่ ๆ หรือ กำหนดการทำงานนอกเหนือจากสิ่งที่ Apps ทำได้ ตามความต้องการของผู้พัฒนา 4. Google Forms เป็นส่วนหนึ่งในบริการของกลุ่ม Google Docs ที่ช่วยให้เราสร้าง แบบสอบถามออนไลน์ หรือใช้สำหรับรวบรวมข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ในการใช้ งาน Go๐gle Forms ผู้ใช้สามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้งานได้หลายรูปแบบอาทิ เช่น การทำแบบฟอร์ม จความคิดเห็น การทำแบบฟอร์มสำรวจความพึงพอใจ การทำแบบฟอร์มลงทะเบียน แ ลงคะแนนเสียง เป็นต้นได้ผลสรุปดังนี้ล 1. ผู้บังคับบัญชาสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลของนักเรียนช่างฝีมือทหารได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกสถานที ที่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ 2. ผู้บังคับบัญชาสามารถตอบรับภารกิจจากผู้บังคับบัญชาชั้นสูงได้ทันท่วงที ด้วยข้อมูล ที่ถูกต้องและแม่นยำ 3. ผู้บังคับบัญชาสามารถนำข้อมูลมาใช้พิจารณาและวิเคราะภารกิจ เพื่อกำหนด แผนการปฏิบัติได้อย่างเหมาะสมและครบถ้วนฐานข้อมูลสามารถแจกจ่ายให้กับหน่วยงานที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง โดยไม่เกิดการสูญเสียหรือสูญหายของข้อมูล 5. ไม่มีค่าใช้จ่ายในการใช้บริการ แอปพลิเคชั่นเพื่อบริหารจัดการข้อมูลของนักเรียน ช่างฝีมือทหาร 6. แอปพลิเคชั่นเพื่อบริหารจัดการข้อมูลของนักเรียนช่างฝีมือทหาร สามารถต่อยอดสู่ การจัดระบบฐานข้อมูลที่รองรับกับ Digital Transformation ได้ในอนาคต
วรินธร บุญยะโรจน์ , คณาวุฒิ อินทร์แก้ว (2564) ได้ทำการศึกษาเรื่องการพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมสมรรถนะของอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Active Teaching สำหรับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่21 โครงการวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อสร้างต้นแบบแอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมสมรรถนะของอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Active Teaching โดยการพัฒนาแอปพลิเคชันจะรองรับการทำงานในรูปแบบแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ และเว็บแอปพลิเคชันโดยแอปพลิเคชัน AppSheet ถูกพัฒนาขึ้นบนระบบบริการแบบคลาวด์ การออกแบบแอปพลิเคชันคำนึงถึงการออกแบบส่วนผู้ใช้งาน ให้สามารถใช้งานได้ง่าย และสามารถรองรับการใช้งานผ่านอุปกรณ์สมาร์ทโฟน และผ่านเว็บเบราว์เซอร์ รวมถึงการควบคุมการเข้าใช้งาน ซึ่งในการออกแบบและการพัฒนาแอปพลิเคชันได้กำหนดรูปแบบให้มีการทำงานร่วมกันของบุคคล 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้สอน/อาจารย์(Teacher) และกลุ่มที่ 2 ผู้เรียน/นักศึกษา (Student) พร้อมทั้งมีผู้ดูแลระบบ (Admin) ช่วยทำหน้าที่จัดการข้อมูลภายในต้นแบบแอปพลิเคชัน จากการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งาน แอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้น พบว่า ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานแอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมสมรรถนะของอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Active Teaching สำหรับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับ ดี มีค่าเฉลี่ยรวม 4.14 ค่า S.D. เท่ากับ 0.25 และ ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานต้นแบบแอปพลิเคชันฯ จำนวน 10 คน ให้ คะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยอยู่ในระดับ ดี ซึ่งการใช้ ต้นแบบแอปพลิเคชันฯ ดังกล่าว มีส่วนช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองมีส่วนร่วมในการเรียน และฝึกการทำงานร่วมกันระหว่างเพื่อนในชั้นเรียนผ่านรูปแบบออนไลน์ผ่าน Website และ Mobile Application จึงทำให้สะดวกในการ ใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลา
วราภรณ์ ปิ่นแก้ว (2562) ได้ทำการศึกษาเรื่องการปรับปรุงคุณภาพกระบวนการตรวจสอบด้วยสายตาของโรงงานผลิตแผ่นพิมพ์วงจรอิเล็กทรอนิกส์ผู้ทำการศึกษามุ่งเน้นศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจากขั้นตอนการตรวจสอบก่อนการส่งมอบผลิตภัณฑ์เพื่อน าไปวิเคราะห์สาเหตุที่เก |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | การตรวจสอบคุณภาพในกระบวนการผลิตเป็นกระบวนการสำคัญที่ช่วยลดของเสียและปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการตรวจสอบคุณภาพไม่เพียงแต่ช่วยลดของเสียและต้นทุน การผลิตเท่านั้นแต่ยังช่วยในการสร้างความเชื่อมั่นและความพึงพอใจในลูกค้า ซึ่งจำเป็นต้องนำองค์ความรู้และหลักการทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมาทำการปรับประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาตรวจสอบคุณภาพในกระบวนการผลิตทั้งหมด โดยมีหลักการทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
2.1. หลักการและทฤษฎีควบคุมคุณภาพในอุตสาหกรรม
2.2. หลักการและทฤษฎีการสุ่มงาน
2.3. หลักการและทฤษฎีแอปชีท (App Sheet)
2.4 หลักการและทฤษฎี แผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram) |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | 1.ศึกษาวิธีการปฏิบัติงานในการผลิตผานไถในแต่ละกระบวนการ
2. ศึกษาตำแหน่งในการตรวจสอบคุณภาพของชิ้นงานในทุกๆ กระบวนการที่เป็นข้อกำหนดของลูกค้าและของสถานประกอบการ
3. ศึกษาและออกแบบหน้าจอการทำงานจากประสบการณ์ของผู้ใช้งาน (UX : User Experience)และส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งานกับระบบ (UI : User Interface)
4. เขียนโปรแกรม AppSheet เพื่อสร้างระบบควบคุมคุณภาพการผลิตอุปกรณ์การเกษตร ด้วยโปรแกรม ผ่านระบบออนไลน์
5. ทดสอบระบบควบคุมคุณภาพการผลิตอุปกรณ์การเกษตร
6. ปรับแก้ไขจากผลการทดสอบระบบควบคุมคุณภาพการผลิตอุปกรณ์การเกษตร
7. ทดสอบระบบควบคุมคุณภาพการผลิตอุปกรณ์การเกษตร เพื่อยืนยันผลการทำงานของระบบ
8. จัดทำรูปเล่มและเผยแพร่องค์ความรู้ตามเงื่อนไขแหล่งทุน |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | - |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 136 ครั้ง |