รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000650
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาโปรแกรมดูแลตนเองด้านการยศาสตร์เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูก โครงร่างในกลุ่มอาชีพเกษตรกรชาวนาโดยประยุกต์ใช้ยางยืดร่วมกับการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Development of an ergonomics self-care program about Musculoskeletal in Farmers by applied Elastic Band with Stretching
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :โปรแกรมดูแลตนเองด้านการยศาสตร์เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง, ยางยืด, การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะครุศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :50000
งบประมาณทั้งโครงการ :50,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :30 มีนาคม 2566
วันสิ้นสุดโครงการ :29 มกราคม 2567
ประเภทของโครงการ :การวิจัยและพัฒนา
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิทยาศาสตร์การแพทย์
สาขาวิชาการ :สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตสาศตร์
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ไม่ระบุ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :เมื่อกล่าวถึงคําว่า การยศาสตร์ หรือ ergonomics ผู้คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักชื่อนี้ ศาสตร์ทางด้านนี้ยังเป็นที่รู้จักในวงจํากัดเฉพาะในบางสาขาอาชีพเท่านั้น ได้แก่ ทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สุขศาสตร์ อุตสาหกรรมวิศวกรรมบางสาขา และทางด้านจิตวิทยาอุตสาหกรรม เป็นต้น สถาบันแห่งชาติเพื่อความปลอดภัยด้านอาชีวอนามัย (National Institute for Occupational Safety and Health - NIOSH) ได้ให้ความหมายของคําว่า Ergonomics คือ ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับคนในที่ทํางานโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเครียด การบาดเจ็บและโรคที่เกี่ยวกับกระดูกและกล้ามเนื้อจากการทํางานซึ่งเกิดจากการทํางานที่ต้องออกแรงเกิดขีดจํากัดของมนุษย์แบบซ้ำๆ การทํางานในทาทางที่ไม่เหมาะสม การทํางานกับเครื่องมือ สถานีงาน และสิ่งแวดล้อมการทํางานที่ออกแบบมาไม่เหมาะสมสําหรับผู้ปฏิบัติงาน(NIOSH, 2015) สําหรับประเทศไทยนั้น ราชบัณฑิตยสถาน (2554) ได้บัญญัติคําว่า การยศาสตร์ (Ergonomics) หมายถึง วิทยาการที่ว่าด้วยการจัดสภาวะงานเพื่อให้คนทํางานอยูในสภาวะที่สบายและมีสวัสดิภาพ ทําให้ได้ผลงานดีตามเป้าหมายที่กําหนดไว้อย่างยุติธรรม ได้ระบบงานที่ให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิผล คนทํางานมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความเจ็บป่วยและเกิดอุบัติเหตุจากงานน้อยที่สุด ความผิดปกติทางกระดูกและกล้ามเนื้อจากการทํางาน (Work –related Musculoskeletal Disorders : WMSDs) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากปัจจัยเสี่ยงทางด้านการยศาสตร์ ซึ่งมีอัตราความชุกที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี เกษตรกรชาวนา ถือเป็นกระดูกสันหลังของชาติและประเทศไทยถือเป็นแหล่งผลิตข้าวส่งออกรายใหญ่ ของโลก ซึ่งปัญหาใหญ่ในการประกอบอาชีพเกษตรกรชาวนานั้น คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าปัญหาที่ใหญ่ที่สุดคือ ปัญหาทางด้านสารเคมี แต่อย่างไรจากการรายงานโรคที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพเกษตรกรชาวนาของสำนักงานโรคจากการประกอบอาชีพ และสิ่งแวดล้อมกรมควบคุมโรคในปีพ.ศ.2558 พบกลุ่มโรคกระดูกและกล้ามเนื้อมากที่สุดถึงร้อยละ 45.0 ซึ่งปัญหาเกี่ยวกับกระดูกและกล้ามเนื้อของชาวนานั้นเกี่ยวข้องโดยตรงกับหลักการยศาสตร์ในทุกขั้นตอนของการทำงาน ดังที่วารุณีพันธ์วงศ์ และกาญจนา ปินตาคำ (2560: 125-133) พบว่า ปัจจัยคุกคามต่อสุขภาพคือ ปัจจัยคุกคามด้านการยศาสตร์และจิตสังคมมากที่สุด โดยพบมากในขั้นตอนการเก็บเกี่ยวข้าวมากที่สุด ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาทางการยศาสตร์ คือ ปวดหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าว ปวดไหล่จากการเก็บเกี่ยวข้าว ปวดขาจากการเก็บเกี่ยวข้าว และปวดคอจากการเก็บเกี่ยวข้าว นอกจากนี้วารุณีพันธ์วงศ์ และกาญจนา ปินตาคำ (2560: 125-133) ยังพบปัญหาสุขภาพด้านการยศาสตร์ในทุกขั้นตอนของการทำนาดังนี้ ขั้นตอนการดูแลรักษาต้นข้าว คือ ปวดหลังจากการดูแลรักษาต้นข้าว เช่น การแบกเครื่องพ่นยา แบกปุ๋ย ปวดไหล่จากการดูแลรักษาต้นข้าว เช่น การแบกเครื่องพ่นยา แบกปุ๋ย ปวดขาจากการดูแลรักษาต้นข้าว เช่น การเดินใส่ปุ๋ย การเดินฉีดพ่นยาและปวดคอจากการดูแลรักษาต้นข้าวเช่น การใส่ปุ๋ย ขั้นตอนการเพาะปลูก คือ ปวดหลังจากการเพาะปลูกข้าว ปวดไหล่จากการเพาะปลูกข้าว ปวดคอจากการเพาะปลูกข้าว และปวดขาจากการเพาะปลูกข้าว ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของรุ้งทิพย์พันธุเมธากุล และคณะ (2555) โดยพบความผิดปกติของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อในชาวนาตำบลศิลา อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่นเนื่องจากการทำ นาดำ ชาวนาจำ เป็นต้องทำ งานในลักษณะก้มๆ เงยๆ ในท่าที่ไม่ถูกต้อง ยืนหรือเดินไปมาเป็นส่วนใหญ่ จึงส่งผลทำให้เกิดแรงกดตรงกล้ามเนื้อสันหลังส่วนล่างซึ่งจะมีอาการเกร็งตัว ทำให้เกิดอาการปวดตรงกลางหลังส่วนล่าง นอกจากการศึกษาของวารุณี พันธ์วงศ์ และกาญจนา ปินตาคำ ยังมีการศึกษาในลักษณะที่คล้ายกัน ดังเช่นงานวิจัยของนภมณ ยารวง (2559) ศึกษาอาการปวดหลังส่วนล่างในเกษตรกรชาวนากับบทบาทของพยาบาลชุมชน จังหวัดเชียงราย พบว่า ในขั้นตอนการเก็บเกี่ยวเกษตรกรชาวนาต้องก้มโค้งลำตัวไปข้างหน้าหรือด้านข้างและการยกของหนักทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อโดยเฉพาะหลังส่วนล่าง ร้อยละ 80.30 สอดคล้องกับงานวิจัยของดาริวรรณ เศรษฐีธรรม และคณะ (2556) ศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงและปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาวะสุขภาพของเกษตรกรทำนา อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร พบว่าในขั้นเกี่ยวข้าวเกษตรกรชาวนาจะปวดมือ ร้อยละ 91.9 และปวดกล้ามเนื้อจากการยกถุงใส่ข้าวเปลือก จากข้อมูลปัจจัยคุกคามต่อสุขภาพของเกษตรกรชาวนา พบปัจจัยด้านการยศาสตร์มากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของสุวัสสา เพ็งสีแสง (2552) ที่ศึกษาปัญหาด้านการยศาสตร์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในชาวนา ตำบลศรีวิชัย อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร พบชาวนามีอาการเจ็บปวดร่างกายจากการทำนา ร้อยละ99.73 มีอาการเจ็บปวดทุกวันร้อยละ 93.94 ซึ่งในขั้นตอนการทำนาดำ มีผลทำให้มีอาการเจ็บปวดหลัง ร้อยละ 99.72 ในระดับความเจ็บปวดที่มาก ร้อยละ 89.53 ซึ่งจะเป็นได้ว่าในแต่ละขั้นตอนในการทำนานั้นมีปัจจัยคุกคามต่อสุขภาพหลากหลายด้านที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน โดยก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดร่างกาย ปัญหาทางด้านการยศาสตร์ที่เกิดขึ้นเหล่านี้จะเห็นได้ว่า เกิดขึ้นที่บริเวณกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างของร่างกายที่มาจากสาเหตุของการทำงานที่ผิดปกติ โดยมิได้รับการป้องกัน และแก้ไข สุวัสสา เพ็งสีแสง (2552) ได้กล่าวว่า ปัญหาทางด้านการยศาสตร์ของชาวนาเหล่านี้จะลดลงได้อาศัยการจัดการปรับปรุงลักษณะการทำงานอย่างมีระบบ ต้องอาศัยหน่วยงานและบุคลากรหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มาให้ความรู้ให้คำ แนะนำ และจัดกิจกรรมส่งเสริม เช่น การออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อ เพื่อป้องกันและลดปัญหาทางด้านการยศาสตร์ที่เกิดขึ้น เพราะการบำบัดฟื้นฟูให้สามารถกลับมาทำงานได้ปกติจะช่วยทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเกษตรกรชาวนาไม่ลดลง ไม่สูญเสียรายได้ไปโดยเปล่าประโยชน์ การดูแลตนเองเพื่อจัดการกับปัญหาทางการยศาสตร์ของเกษตรกรชาวนาจึงถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะการดูแลด้านการยศาสตร์ในการใช้ท่าทางการทำงานที่เหมาะสม และการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ รวมถึงเมื่อเกิดการบาดเจ็บเกษตรกรชาวนาควรที่จะมีความรู้เพื่อบำบัดการบาดเจ็บด้วยตนเอง หรือให้คนในครอบครัวช่วยดูแลการบาดเจ็บได้ จากผลการศึกษาของ Parekh and Phatak (2015) ได้ยืนยันว่า การให้คำแนะนำด้านการยศาสตร์ ร่วมกับการทำกายภาพบำบัดมีผลลดปวดและเพิ่มความสามารถในการทำงานของข้อเข่าได้ดีกว่าการ ให้คำแนะนำด้านการยศาสตร์เพียงอย่างเดียว โดยรูปแบบของโปรแกรมที่เหมาะสมในการนำไปใช้ เพื่อเพิ่มสมรรถภาพทางกาย ควรเป็นการให้ความรู้และการสนับสนุนการจัดการตนเองร่วมกับการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถ ในการจัดการตนเอง ด้วยเหตุนี้การพัฒนาโปรแกรมการดูแลตนเองด้านการยศาสตร์โดยบูรณาการกิจกรรมการดูแลตนเองด้านการยศาสตร์ที่ใช้ทั้งการปรับเปลี่ยนท่าทาง ร่วมกับการออกกำลังเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ซึ่งกิจกรรมเป็นแนวคิดที่สร้างขึ้นโดยมีจุดเน้นเรื่องการดูแลตนเองเหล่านี้ถือเป็นความต้องการการดูแลตนเองที่จำเป็นตามแนวคิดในทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็มร่วมกับรูปแบบการพัฒนาความสามารถในการดูแลตนเอง ที่ประกอบด้วยการเสริมสร้าง ความตระหนักในความสามารถเพื่อการดูแลตนเอง การสร้างความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติ และการสนับสนุนความสามารถในการนำความรู้ และความเข้าใจที่ได้ไปใช้ปรับเปลี่ยนแบบแผนการดำเนินชีวิตเพื่อการดูแลตนเอง ดังที่โอเร็มได้อธิบายมโนทัศน์ของการดูแลไว้ว่า “การดูแลตนเองเป็นการปฏิบัติกิจกรรมที่บุคคลริเริ่มและกระทำเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองในการดำรงไว้ซึ่งชีวิตมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี” (Orem, 2001) จากปัญหาที่เกิดขึ้นผู้วิจัยเห็นว่าการประยุกต์ใช้หลักวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬาเข้ามาพัฒนาโปรแกรมการดูแลตนเองน่าจะมีส่วนช่วยลดปัญหาทางด้านการยศาสตร์ของเกษตรกรชาวนาได้ โดยมุ่งเน้นที่การเพิ่มความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อ และการพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อควบคู่กัน เพื่อป้องกันการบาดเจ็บกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างของเกษตรกรชาวนา การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ (Stretching) เป็นหนึ่งในวิธีการฝึกที่ช่วยพัฒนาความอ่อนตัว เพระช่วยเพิ่มความสามารถของข้อต่อ เอ็น และกล้ามเนื้อทําให้เกิดการเคลื่อนไหวของร่างกายได้ตลอดมุมการเคลื่อนไหว ช่วยลดการบาดเจ็บ และป้องกันการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อและโครงร่างได้ เพราะถ้าไม่มีความอ่อนตัว อาจทําให้กล้ามเนื้อต้องยืดตัวอย่างกะทันหัน หรือยืดเกินความสามารถ ส่งผลให้กล้ามเนื้อฉีกขาดเกิดการบาดเจ็บนั่นเอง กาย การยืดเหยียดกล้ามเนื้อมีหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับว่าในขณะนั้นต้องการอะไร เช่นการยืดเหยียดเพื่อให้เกิดการผ่อนคลาย การยืดเหยียดเพื่อเพิ่มมุมของการเคลื่อนไหว หรือแม้แต่การยืดเหยียดเพื่อกระตุ้นการรับรู้ของระบบประสาทกล้ามเนื้อ ในส่วนของการพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อนั้น “ยางยืด” ถือว่าเป็นอุปกรณ์หนึ่งที่ถูกพูดถึงมากในยุคปัจจุบัน และได้ถูกนำประยุกต์ดัดแปลงใช้เป็นอุปกรณ์สำหรับการฝึก และออกกำลังกาย โดยเฉพาะการฝึกแบบยืดเหยียดที่ใช้แรงต้านจากยาง โดยมีข้อดีคือ มีราคาถูก และสามารถพกพาได้สะดวก หรือนำติดตัวไปใช้ในสถานที่ต่างๆได้ อีกทั้งยังมีจุดเด่น คือ ยางยืดจะมีปฏิกิริยาสะท้อนกลับ หรือมีแรงดึงกลับจากการถูกดึงให้ยืด ออกที่เรียกว่า “Stretch reflex” ทุกครั้งที่ยางถูกดึงให้ยืดออกซึ่งเป็นคุณสมบัติพิเศษของยางยืดดังกล่าวส่งผลต่อการช่วยกระตุ้นระบบประสาท ส่วนที่รับรู้ความรู้ตึงของกล้ามเนื้อและข้อต่อ (Proprioception) ให้มีปฏิกิริยาการรับรู้และตอบสนองต่อแรงดึงของยางที่กำลังถูกยืด นอกจากนี้ยางยืดสามารถนำมาใช้เป็นอุปกรณ์ในการฝึกด้วยแรงต้าน (Resistance training) เพื่อพัฒนาเสริมสร้างความแข็งแรงและคว
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาโปรแกรมการดูแลตนเองด้านการยศาสตร์เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในกลุ่มอาชีพเกษตรกรชาวนาโดยประยุกต์ใช้ยางยืดร่วมกับการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ 2. เพื่อพัฒนาโปรแกรมการดูแลตนเองด้านการยศาสตร์เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในกลุ่มอาชีพเกษตรกรชาวนาโดยประยุกต์ใช้ยางยืดร่วมกับการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
ขอบเขตของโครงการ :ารวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา (Research and Development) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะพัฒนาโปรแกรมการดูแลตนเองด้านการยศาสตร์เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในกลุ่มอาชีพชาวนาโดยประยุกต์ใช้ยางยืดร่วมกับการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ กลุ่มประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ เกษตรกรชาวนาในเขต ตำบลท่าน้ำอ้อย และตำบลม่วงหัก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรจำนวน 386 คน ผู้วิจัยได้ทำการประมาณค่าสัดส่วนของกลุ่มตัวอย่าง จากตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 195 คน การสุ่มตัวอย่างผู้วิจัยจะสุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์จากการประเมินปัญหาด้านการยศาสตร์เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง และมีความสมัครใจในการเข้าร่วม แต่หากจำนวนเกิน 195 คน ให้ทำการจับสลาก โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) ในการการพัฒนาโปรแกรม ประกอบด้วย 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาทางการยศาสตร์ของเกษตรกรชาวนา ประกอบด้วยการวิเคราะห์สถานการณ์การดูแลตนเอง ปัญหาความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ และองค์ความรู้ที่มีอยู่ของกลุ่มตัวอย่าง ระยะที่ 2 คือ การพัฒนาโปรแกรมการดูแลตนเองโดยใช้องค์ความรู้จากการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาทางการยศาสตร์ของเกษตรกรชาวนา และหลักการใช้ยางยืดร่วมกับการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ซึ่งมุ่นเน้นการมีส่วนร่วมของเกษตรกรชาวนาในการประเมินปัจจัยเสี่ยงด้านการยศาสตร์ การออกแบบ และการตัดสินใจเลือกแนวทางการดูแลตนเอง และ การส่งเสริมความสามารถในลงมือปฏิบัติอย่างมีเป้าหมาย และประเมินผลการดูแลตนเอง ระยะที่ 3 คือ การตรวจสอบคุณสมบัติของโปรแกรม โดยตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา และประเมินความเหมาะสมในการนำไปใช้ และระยะที่ 4 คือการประเมินผลของโปรแกรมโดยการนำโปรแกรมการดูแลตนเองไปใช้ เพื่อตรวจสอบระดับความสามารถในการดูแลตนเองของเกษตรกรชาวนาจากปัญหาการยศาสตร์ โดยมีตัวแปรอิสระ คือ โปรแกรมการดูแลตนเองด้านการยศาสตร์เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในกลุ่มอาชีพชาวนาโดยประยุกต์ใช้ยางยืดร่วมกับการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ตัวแปรตาม คือ ปัญหาด้านการยศาสตร์เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในกลุ่มอาชีพเกษตรกรชาวนา
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ทำให้ทราบถึงปัญหาและแนวทางการพัฒนาโปรแกรมดูแลตนเองด้านการยศาสตร์เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในกลุ่มอาชีพเกษตรกรชาวนาโดยประยุกต์ใช้ยางยืดร่วมกับการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ 2. ได้โปรแกรมดูแลตนเองด้านการยศาสตร์เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในกลุ่มอาชีพเกษตรกรชาวนาโดยประยุกต์ใช้ยางยืดร่วมกับการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :ความหมายของการยศาสตร์ การยศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจของปฏิกิริยาระหว่างคนและองค์ประกอบต่างๆ รวมถึงการนำทฤษฎีหลักการและข้อมูลไปใช้ออกแบบอุปกรณ์และสถานที่ปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับ ผู้ปฏิบัติงานเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานโดยอาศัยความสอดคล้องกันระหว่างคนเครื่องมือ และ สิ่งแวดล้อม โดยผู้ปฏิบัติงานและนักการยศาสตร์จะร่วมกันดำเนินการออกแบบและประเมินหน้าที่งาน ผลิตภัณฑ์ และระบบตลอดจนสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ ความสามารถและข้อจำกัดของแต่ละบุคคล อีกทั้งเพื่อเสริมสร้างสภาพความเป็นอยู่ที่ดีให้กับผู้ปฏิบัติงาน และประสิทธิภาพของระบบโดยรวม (International Ergonomics Association, 2015; Mark & Warm,1987; Sanders & McCormick, 1987; Saylor Academy, 2011; Te-Hsin & Kleiner, 2001; University of Utah, 2009; Wegge, 2012) ขอบเขตของการยศาสตร์ สมาคมการยศาสตร์นานาชาติ(International Ergonomics Association, 2000 อ้างถึงใน Scott, Kogi, and McPhee, 2009) ได้นำเสนอถึงขอบเขตของการยศาสตร์ว่ามี3 สาขา ซึ่งได้แก่ การยศาสตร์ ด้านกายภาพ การยศาสตร์ด้านการรับรู้และการยศาสตร์ด้านการจัดการองค์กร ประโยชน์และความสำคัญของการใช้การยศาสตร์ การใช้การยศาสตร์ในการปฏิบัติงานเพื่อให้พนักงานมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตที่ดี (Abarqhouei & Nasab, 2011) โดยมีนักวิชาการหลายคนได้เห็นว่า การใช้การยศาสตร์นั้น มีประโยชน์ใน ด้านการลดต้นทุน เพิ่มผลิตภาพ เพิ่มคุณภาพในการปฏิบัติงาน เสริมสร้างให้พนักงานมีความผูกพันต่อ องค์กรตลอดจนเสริมสร้างวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เพราะพนักงานที่มีสุขภาพกายและ สุขภาพจิตที่ดีนั้นเป็นทรัพยากรที่สำคัญยิ่งขององค์กร การใช้การยศาสตร์นอกจากช่วยเสริมสร้างวัฒนธรรม องค์กรด้านความปลอดภัยและสุขภาพที่ดีแล้ว ยังช่วยให้เกิดประสิทธิภาพการปฏิบัติงานที่ดีมากขึ้นอีกด้วย (สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ, 2550; เอกรินทร์ วิทูโรจน์อำไพ, 2558; Middlesworth, 2014) ปัญหาด้านการยศาสร์ของเกษตรกรชาวนาไทย ดาริวรรณ เศรษฐีธรรม, กาญจนา นาถะพินธุ, วรรณภา อิชิดะและทวีศักดิ์ ปัดเต (2556: 4-12) พบว่า การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง เพื่อหาระดับความรู้ พฤติกรรมเสี่ยงของเกษตรกรทำนาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะสุขภาพและสภาวะสุขภาพของเกษตรกรทานาปลูกข้าวศึกษาในกลุ่มชาวนา 233 คน จาก 6 หมู่บ้านในอำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร โดยใช้แบบสอบถามถามข้อมูลในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาผลการศึกษาพบว่าพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพในการทำนาก้มเงยขณะปักดำกล้า และเกี่ยวข้าวปฏิบัติบ่อยๆ ร้อยละ 46.4 และปฏิบัติทุกครั้ง ร้อยละ 44.6 ใช้ข้อมือ หรือมือ นานๆ ขณะเกี่ยวข้าว ปฏิบัติบางครั้ง ร้อยละ 45.5 ปฏิบัติทุกครั้งร้อยละ 43.8 ดื่มสุราในเวลาทำนา ปฏิบัติทุกครั้ง บ่อยๆ และบางครั้งรวมกัน ร้อยละ 32.6 เป็นต้น ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะสุขภาพของเกษตรกรทำนาคือ การปักดำนามีความสัมพันธ์กับการปวดกล้ามเนื้อเอวของชาวนา 6.35 เท่า ของชาวนาที่ไม่ทำกิจกรรมปักดานา (95%p-value=0.001) และการกำจัดวัชพืช ทำให้ปวดกล้ามเนื้อเอว5.56 เท่า มากกว่าชาวนาที่ไม่ทำกิจกรรมนี้ (95%, p-value=0.003) ชาวนาได้รับผลกระทบจากรถไถนา คือได้รับแรงสั่นสะเทือนร้อยละ 87.9 การปวดกล้ามเนื้อเกิดจากแบกภาชนะใส่เมล็ดข้าวเปลือกร้อยละ 90.1 เคลื่อนไหวร่างกายไม่ถูกต้อง ร้อยละ95.7 ปวดมือจากการเกี่ยวข้าว ร้อยละ 91.8 กิจกรรมในกระบวนการทำนาที่ทำให้ปวดกล้ามเนื้อ ได้แก่ เกี่ยวข้าวร้อยละ 87.1 ปักดำกล้า ร้อยละ 79.8 กำจัดวัชพืช ร้อยละ 74.3 เตรียมพื้นที่ ร้อยละ 59.5 หว่านเมล็ดข้าวเปลือกร้อยละ 55.8 เก็บเมล็ดพันธุ์ ร้อยละ 43.4 ปัญหาการปวดกล้ามเนื้อและการบาดเจ็บในกลุ่มคนทำนา พบว่ามีสาเหตุจากพฤติกรรมเสี่ยงและปัจจัย ดังนั้น การศึกษาต่อไปควรออกแบบกิจกรรมแทรกแซงเพื่อแก้ไขปัญหา วารุณีพันธ์วงศ์ และกาญจนา ปินตาคำ (2560: 125-133) ทำการศึกษาปัจจัยคุกคามต่อสุขภาพของเกษตรกรชาวนา การวิจัยเป็นแบบเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือเกษตรชาวนา จำนวน 221 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม เกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป และสิ่งคุกคามต่อสุขภาพ ได้ค่าความเชื่อมั่นที่ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบ ปัจจัยคุกคามต่อสุขภาพในขั้นตอนการเก็บเกี่ยวข้าวมากที่สุด รองลงมาคือขั้นตอนการดูแลรักษาต้นข้าว ขั้นตอนการเพาะปลูกข้าวและขั้นตอนการเตรียมพื้นที่เพาะปลูกข้าวตามลำ ดับ หากพิจารณาเป็นรายด้านพบ ขั้นตอนการเตรียมพื้นที่เพาะปลูก พบปัจจัยคุกคามด้านกายภาพมากที่สุด ขั้นตอนการเพาะปลูกข้าว ขั้นตอนการดูแลรักษาต้น และขั้นตอนการเก็บเกี่ยวข้าว พบปัจจัยคุกคามด้านการยศาสตร์และจิตสังคมมากที่สุด จะเห็นได้ว่าปัจจัยทางด้านการยศาสตร์และจิตสังคมถือว่าเป็นปัญหาที่สำคัญของเกษตรกรชาวนาที่ควรตระหนักและหาแนวทางในการออกแบบกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อไปขั้นตอนการเพาะปลูก พบปัจจัยคุกคามต่อสุขภาพของเกษตรกรชาวนา ด้านการยศาสตร์และจิตสังคมมากที่สุด คือ ปวดหลังจากการเพาะปลูกข้าว ปวดไหล่จากการเพาะปลูกข้าว ปวดคอจากการเพาะปลูกข้าว และปวดขาจากการเพาะปลูกข้าว ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของรุ้งทิพย์พันธุเมธากุล และคณะ (2555) โดยพบความผิดปกติของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อในชาวนาตำบลศิลา อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่นเนื่องจากการทำ นาดำ ชาวนาจำ เป็นต้องทำ งานในลักษณะก้มๆ เงยๆ ในท่าที่ไม่ถูกต้อง ยืนหรือเดินไปมาเป็นส่วนใหญ่ จึงส่งผลทำ ให้เกิดแรงกดตรงกล้ามเนื้อสันหลังส่วนล่างซึ่งจะมีอาการเกร็งตัว ทำ ให้เกิดอาการปวดตรงกลางหลังส่วนล่าง ขั้นตอนการดูแลรักษาต้นข้าว พบปัจจัยคุกคามต่อสุขภาพของเกษตรกรชาวนา ด้านการยศาสตร์และจิตสังคมมากที่สุด คือ ปวดหลังจากการดูแลรักษาต้นข้าว เช่น การแบกเครื่องพ่นยา แบกปุ๋ย ปวดไหล่จากการดูแลรักษาต้นข้าว เช่น การแบกเครื่องพ่นยา แบกปุ๋ย ปวดขาจากการดูแลรักษาต้นข้าว เช่น การเดินใส่ปุ๋ย การเดินฉีดพ่นยาและปวดคอจากการดูแลรักษาต้นข้าวเช่น การใส่ปุ๋ย(วารุณี พันธ์วงศ์ และกาญจนา ปินตาคำ (2560: 125-133) ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวข้าว พบปัจจัยคุกคามต่อสุขภาพของเกษตรกรชาวนา ด้านการยศาสตร์และจิตสังคมมากที่สุด โดยมีระดับความเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง คือ ปวดหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าว ปวดไหล่จากการเก็บเกี่ยวข้าว ปวดขาจากการเก็บเกี่ยวข้าว และปวดคอจากการเก็บเกี่ยวข้าว ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของนภมณ ยารวง (2559) ศึกษาอาการปวดหลังส่วนล่างในเกษตรกรชาวนากับบทบาทของพยาบาลชุมชน จังหวัดเชียงราย พบว่า ในขั้นตอนการเก็บเกี่ยวเกษตรกรชาวนาต้องก้มโค้งลำตัวไปข้างหน้าหรือด้านข้างและการยกของหนักทำ ให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อโดยเฉพาะหลังส่วนล่าง ร้อยละ 80.30 และสอดคล้องกับงานวิจัยของดาริวรรณ เศรษฐีธรรม และคณะ (2556) ศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงและปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาวะสุขภาพของเกษตรกรทำนา อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร พบว่าในขั้นเกี่ยวข้าวเกษตรกรชาวนาจะปวดมือ ร้อยละ 91.9 เคียวบาดมือ ร้อยละ 51.3 และปวดกล้ามเนื้อจากการยกถุงใส่ข้าวเปลือกแพ้ฝุ่นข้าวเปลือก และบาดเจ็บอื่นๆจากข้อมูลปัจจัยคุกคามต่อสุขภาพของเกษตรกรชาวนา พบปัจจัยด้านการยศาสตร์และจิตสังคมมากที่สุดซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของสุวัสสา เพ็งสีแสง (2552) ที่ศึกษาปัญหาด้านการยศาสตร์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในชาวนา ตำบลศรีวิชัย อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร พบชาวนามีอาการเจ็บปวดร่างกายจากการทำ นาร้อยละ99.73 มีอาการเจ็บปวดทุกวันร้อยละ93.94 ซึ่งในขั้นตอนการทำ นาดำ มีผลทำ ให้มีอาการเจ็บปวดหลัง ร้อยละ 99.72 ในระดับความเจ็บปวดที่มาก ร้อยละ 89.53 ซึ่งจะเป็นได้ว่าในแต่ละขั้นตอนในการทำ นานั้นมีปัจจัยคุกคามต่อสุขภาพหลากหลายด้านที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน โดยก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดร่างกายซึ่งต้องอาศัยการจัดการปรับปรุงลักษณะการทำ งานอย่างมีระบบเพื่อลดปัญหา ต้องอาศัยหน่วยงานและบุคลากรหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มาให้ความรู้ให้คำ แนะนำ และจัดกิจกรรมส่งเสริม เช่น การออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อ เพื่อป้องกันและลดปัญหาทางด้านการยศาสตร์ที่เกิดขึ้น จะเห็นได้ว่าปัจจัยทางด้านการยศาสตร์และจิตสังคมถือว่าเป็นปัญหาที่สำคัญของเกษตรกรชาวนาที่ควรตระหนักและหาแนวทางในการออกแบบกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อไป หลักวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา วิทยาศาสตร์การกีฬา (อังกฤษ: Sport science) เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าถึงผลของการมีส่วนร่วมในการเล่นกีฬาหรือการออกกำลังกายในกิจกรรมต่าง ๆ โดยประยุกต์ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับเทคนิคเฉพาะทาง เพื่อพัฒนาศักยภาพร่างกายของนักกีฬา ให้สามารถเล่นกีฬาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยหลักวิชาทางด้านสรีรวิทยา จิตวิทยา สังคมวิทยา หรืออื่น ๆ ดังนั้นวิทยาศาสตร์การกีฬาจึงเป็นการรวมวิชาต่าง ๆมากมายหรือที่เรียกว่า สหวิทยาการ ที่มีเนื้อหารสาระครอบคลุมในสาขาวิชาต่าง ๆ เช่น สรีรวิทยาการกีฬา จิตวิทยาการกีฬา สังคมวิทยาการกีฬา เวชศาสตร์การกีฬา โภชนาการการกีฬา เทคโนโลยีการกีฬา วิทยวิธีทางกีฬา วิทยาการการจัดการการกีฬา อื่น ๆ วิทยาศาสตร์การกีฬาเป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ โดยนำหลักวิชาต่าง ๆ เช่นกายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยาการออกกำลังกาย การแพทย์ โภชนาการ จิตวิทยา วิทยาศาสตร์การเทคโนโลยีต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในการออกกำลังกาย การฝึกซ้อมกีฬา การแข่งขันกีฬา ตลอดจนการดูแลสุขภาพร่างกายอย่างเป็นขั้นตอน สาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา 1. กายวิภาคศาสตร์ คือ ศาสตร์ที่ให้ความรู้รายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้าง
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :ตัวแปรต้น โปรแกรมการดูแลตนเองด้านการยศาสตร์เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในกลุ่มอาชีพเกษตรกรชาวนาโดยประยุกต์ใช้หลักทางวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา ตัวแปรตาม ปัญหาด้านการยศาสตร์เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในกลุ่มอาชีพเกษตรกรชาวนา
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ เกษตรกรชาวนาในเขตตำบลท่าน้ำอ้อย และตำบลม่วงหัก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรจำนวน 386 คน ผู้วิจัยได้ทำการประมาณค่าสัดส่วนของกลุ่มตัวอย่าง จากตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 195 คน การสุ่มตัวอย่างผู้วิจัยจะสุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์จากการประเมินปัญหาด้านการยศาสตร์เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง และมีความสมัครใจในการเข้าร่วม แต่หากจำนวนเกิน 195 คน ให้ทำการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. แบบประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์โดยวิธี REBA 2. โปรแกรมดูแลตนเองด้านการยศาสตร์เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในกลุ่มอาชีพเกษตรกรชาวนาโดยประยุกต์ใช้ ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ แบบประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์โดยวิธี REBAยางยืดร่วมกับการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการประยุกต์ใช้ แบบประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์โดยวิธี REBA โดยมีลำดับขั้นตอนในการสร้างและประยุกต์ใช้ดังต่อไปนี้ 1. ศึกษาเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับแบบประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ เอกสาร หนังสือบทความและวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้อง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนํามาเป็นแนวคิดในการประยุกต์ใช้แบบประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์โดยวิธี REBA 2. ทำการออกแบบแบบประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์โดยวิธี REBA 3. นำแบบประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์โดยวิธี REBA ที่พัฒนาขึ้นไปหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) โดยให้ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้เกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์โดยวิธี REBA จำนวน 5 ท่าน เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของโปรแกรมการฝึก ซึ่งคำนวณจากความสอดคล้องระหว่างประเด็นที่ต้องการวัดกับคำถามที่ สร้างขึ้น ดัชนีที่ใช้แสดงค่าความสอดคล้อง เรียกว่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง ข้อคำถามและวัตถุประสงค์ (Item-Objective Congruence Index : IOC) โดยผู้เชี่ยวชาญจะต้องประเมินด้วยคะแนน 3 ระดับ คือ +1 = สอดคล้อง หรือแน่ ใจว่าแบบประเมินข้อนั้นวัดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ระบุไว้จริง 0 = ไม่แน่ ใจว่าแบบประเมินข้อนั้นวัดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ระบุ ไว้ -1 = ไม่สอดคล้อง หรือแน่ ใจว่าแบบประเมินข้อนั้นไม่ได้วัด จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ระบุไว้ หมายเหตุ: ค่าดัชนีความสอดคล้องที่ยอมรับได้ต้องมีค่าตั้งแต่0.50 ขึ้นไป โปรแกรมดูแลตนเองด้านการยศาสตร์เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในกลุ่มอาชีพเกษตรกรชาวนาโดยประยุกต์ใช้ยางยืดร่วมกับการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการออกแบบโปรแกรมดูแลตนเองด้านการยศาสตร์เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในกลุ่มอาชีพเกษตรกรชาวนาโดยประยุกต์ใช้ยางยืดร่วมกับการยืดเหยียดกล้ามเนื้อโดยมีลำดับขั้นตอนในการสร้างและประยุกต์ใช้ดังต่อไปนี้ 1. ศึกษาเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมดูแลตนเองด้านการยศาสตร์ ปัญหาด้านการยศาสตร์เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในกลุ่มอาชีพเกษตรกรชาวนา และหลักการใช้ยางยืดร่วมกับการยืดเหยียดกล้ามเนื้อในการแก้ปัญหาด้านการยศาสตร์เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในกลุ่มอาชีพเกษตรกรชาวนา เอกสาร หนังสือบทความและวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้อง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนํามาเป็นแนวคิดในการออกแบบโปรแกรมดูแลตนเองด้านการยศาสตร์เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในกลุ่มอาชีพเกษตรกรชาวนาโดยประยุกต์ใช้ยางยืดร่วมกับการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ 2. พัฒนาโปรแกรมดูแลตนเองด้านการยศาสตร์เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในกลุ่มอาชีพเกษตรกรชาวนาโดยประยุกต์ใช้ยางยืดร่วมกับการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ โดยใช้วิธีการประชุม แบบ AIC กับกลุ่มเกษตรกรชาวนา 3. ตรวจสอบพัฒนาโปรแกรมดูแลตนเองด้านการยศาสตร์เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในกลุ่มอาชีพเกษตรกรชาวนาโดยประยุกต์ใช้ยางยืดร่วมกับการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ โดยใช้วิธีการการสนทนากลุ่ม (focus group) กับผู้เชี่ยวชาญสาขาที่เกี่ยวข้องจำนวน 5 คน 4. ทดลองใช้โปรแกรมดูแลตนเองด้านการยศาสตร์เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในกลุ่มอาชีพเกษตรกรชาวนาโดยประยุกต์ใช้ยางยืดร่วมกับการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ โดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) 5. ประเมินประสิทธิภาพ ปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาโปรแกรมดูแลตนเองด้านการยศาสตร์เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในกลุ่มอาชีพเกษตรกรชาวนาโดยประยุกต์ใช้ยางยืดร่วมกับการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ แล้วทดลองซ้ำโดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) การเก็บรวบรวมข้อมูล ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาโปรแกรมดูแลตนเองด้านการยศาสตร์เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในกลุ่มอาชีพเกษตรกรชาวนาโดยประยุกต์ใช้ยางยืดร่วมกับการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ขั้นตอนที่ 2 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในกลุ่มอาชีพเกษตรกรชาวนาของกลุ่มตัวอย่าง ขั้นตอนที่ 3 วิเคราะห์ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างและนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหา และแนวทางการพัฒนาโปรแกรมดูแลตนเองด้านการยศาสตร์เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในกลุ่มอาชีพเกษตรกรชาวนาโดยประยุกต์ใช้ยางยืดร่วมกับการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ขั้นตอนที่ 4 พัฒนาโปรแกรมดูแลตนเองด้านการยศาสตร์เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในกลุ่มอาชีพเกษตรกรชาวนาโดยประยุกต์ใช้ยางยืดร่วมกับการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ โดยใช้วิธีการประชุม แบบ AIC กับกลุ่มเกษตรกรชาวนา ขั้นตอนที่ 5 ตรวจสอบพัฒนาโปรแกรมดูแลตนเองด้านการยศาสตร์เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในกลุ่มอาชีพเกษตรกรชาวนาโดยประยุกต์ใช้ยางยืดร่วมกับการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ โดยใช้วิธีการการสนทนากลุ่ม (focus group) กับผู้เชี่ยวชาญสาขาที่เกี่ยวข้องจำนวน 5 คน ขั้นตอนที่ 6 ทดลองใช้โปรแกรมดูแลตนเองด้านการยศาสตร์เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในกลุ่มอาชีพเกษตรกรชาวนาโดยประยุกต์ใช้ยางยืดร่วมกับการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ โดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) ขั้นตอนที่ 7 การประเมินประสิทธิภาพ ปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาโปรแกรมดูแลตนเองด้านการยศาสตร์เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในกลุ่มอาชีพเกษตรกรชาวนาโดยประยุกต์ใช้ยางยืดร่วมกับการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ แล้วทดลองซ้ำโดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) หมายเหตุ: การบาดเจ็บที่อาจจะเกิดขึ้น หรืออาจจะไม่เกิดขึ้น ในระหว่างการทดลองก็ตาม ผู้ผู้วิจัยได้เตรียมความพร้อม ในการป้องกันและช่วยเหลือ อย่างทันที โดยดำเนินการดังต่อไปนี้ 1. ก่อนเข้าร่วมการทดสอบ กลุ่มตัวอย่างต้องทำการตรวจคัดกรองไวรัสโคโรนา โควิด-19 ด้วยชุดตรวจ ATK โดยที่พยาบาลวิชาชีพจะเป็นผู้อธิบายวิธีการ และดำเนินการตรวจทุกขั้นตอน 2. ในระหว่างการทดลองของกลุ่มตัวอย่าง มีพยาบาลวิชาชีพ ทำหน้าที่ปฐมพยาบาลเบื้องต้น เฝ้าร่วมสังเกตการณ์ที่ร่วมสังเกตการณ์ครั้งนี้ ต้องพร้อมด้วยเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ เครื่องมือช่วยเหลือ และมีรถพยาบาลในกรณีฉุกเฉิน โดยหากเกิดเหตุฉุกเฉิน ภายหลังจากการประเมินการบาดเจ็บจะดำเนินการจัดส่งกลุ่มตัวอย่างไปยังสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด โดยผู้วิจัยจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการรักษาพยาบาลจากอันตราย และการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการทำวิจัย รวมถึงอาการเรื้อรังที่อาจเกิดขึ้นกับกลุ่มตัวอย่าง 3. ผู้วิจัยจะทำการเก็บรักษาข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างทุกคนที่ใช้ในการวิจัยไว้เป็นความลับและเป็นอย่างดี โดยจะไม่มีการเปิดเผยหรือระบุชื่อ-นามสกุลของผู้เข้าร่วมการวิจัยในเอกสาร ซึ่งการเก็บเอกสารของกลุ่มตัวอย่างนั้น จะเก็บไว้ภายในบ้านของผู้วิจัยเอง ซึ่งอยู่กับครอบครัวเท่านั้น สำหรับข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างที่อยู่ภายในคอมพิวเตอร์นั้น โดยผู้วิจัยใช้คอมพิวเตอร์ (โน๊ตบุ๊ค) เพียงคนเดียวเท่านั้น และได้สร้างรหัสผ่านในการเปิดหน้าจอคอมพิวเตอร์ และผู้วิจัยจะดำเนินการเก็บข้อมูลไว้เป็นความลับจนกว่าจะได้รับการเผยแพร่ผลงานวิจัย และจะดำเนินการทำลายข้อมูล การวิจัยดังกล่าวต่อไป การวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิจัยครั้งนี้ผู้ทำการวิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูลดังต่อไปนี้ 1. วิเคราะห์ผล การประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง 1.1 หาค่าเฉลี่ย (mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) ของคะแนนการประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างของกลุ่มตัวอย่าง ช่วงก่อนการทดลอง และหลังการทดลอง 1.2 ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนการประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในกลุ่มอาชีพเกษตรกรชาวนาของกลุ่มตัวอย่าง โดยการวิเคราะห์แบบ Anova repeated 1.3ทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. วิเคราะห์เชิงคุณภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงพรรณนา โดยดำเนินการในช่วงของการเก็บข้อมูล โดยนำข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การประชุมแบบ AIC และการสนทนากลุ่ม มาถอดออกเป็นความเรียง นำมาเขียนขยายความ แล้วนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์โดยการเปรียบเทียบความคงที่ของข้อมูล แล้วนำมาวิเคราะห์ผลจัดเป็นรายข้อ
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :125 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายสยาม ทองใบ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย40

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด