รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000644
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Development of Academic Achievement History Using Jigsaw Techniques fo Grade 4 Demonstration School Nakhonsawan Rajabhat University
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, เทคนิคจิ๊กซอว์, โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะครุศาสตร์ > โรงเรียนสาธิต
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :25000
งบประมาณทั้งโครงการ :25,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :17 มกราคม 2565
วันสิ้นสุดโครงการ :16 มกราคม 2566
ประเภทของโครงการ :การวิจัยและพัฒนา
กลุ่มสาขาวิชาการ :อื่นๆ
สาขาวิชาการ :อื่นๆ
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :กระบวนและเทคนิคการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงในรูปแบบใหม่ๆอยู่ตลอดเวลาครูผู้สอนต้องคิดค้นนวัตกรรม กระบวนจัดการเรียนการสอนและเทคนิคการสอนให้ทันกับยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพื่อการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะการเรียนรู้ในด้านต่างๆ ที่ทันสมัยสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคปัจจุบันจึงต้องมีการพัฒนาให้ครบทุกด้าน คือ ทั้งอารมณ์ สังคม สติปัญญาและเทคนิคการเรียนรู้ต่างๆที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ดังนั้น การศึกษาถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งและเป็นเครื่องมือที่จะพัฒนาคนในทุกมิติ กล่าวคือ การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ ในด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยผ่านกระบวนการคิด การเผชิญกับสถานการณ์ และประยุกต์ความรู้ความสามารถมาใช้ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาต่างๆ จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็นทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เป็นสาระการเรียนรู้หนึ่งที่สถานศึกษาต้องใช้เป็นสาระหลักให้นักเรียนต้องเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซึ่งในหลักสูตรดังกล่าวกำหนดให้สาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม มีสาระย่อยอีก ได้แก่ สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์ และสาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ จึงเป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมศักยภาพ การเป็นพลเมืองดีให้แก่ผู้เรียนโดยมีเป้าหมายของการพัฒนาความเป็นพลเมืองดี ดังนั้นการปลูกฝังความมีระเบียบวินัย คุณธรรม ความซื่อสัตย์ ความเป็นมนุษย์ ความกตัญญู รู้คุณ รักเกียรติภูมิแห่งตน เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม มีความรู้จักคิดวิเคราะห์ การทำงานเป็นกลุ่ม เคารพสิทธิของผู้อื่น เสียสละรักประเทศชาติ ศรัทธาในศาสนา เห็นคุณค่าอนุรักษ์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการจัดการศึกษาให้มีความสอดคล้องเหมาะสมกับผู้เรียนเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญ เนื่องจากรูปแบบและวิธีการสอนในปัจจุบันเน้นการสอนแบบบรรยาย ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่ายในการเรียนการเรียนรู้แบบหรรษาคือ รูปแบบของการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้รับทั้งความรู้และความสนุกสนานให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างร่าเริง รื่นรมย์ มีอารมณ์ดี รู้สึกผ่อนคลาย ในขณะที่ซึมซับความรู้เข้าสู่สมองอย่างไม่รู้ตัว การเรียนรู้แบบหรรษาเป็นการออกแบบเพื่อการเรียนการสอนอย่างสนุกสนาน มีความบันเทิงหรรษาการนำความบันเทิงเข้ามาใช้จัดการศึกษาเริ่มมาตั้งแต่ศตวรรษที่ผ่านมาได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบันว่าเป็นเครื่องมือทางการศึกษาที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้การเรียนรู้แบบหรรษาจัดได้หลายรูปแบบเช่นภาพยนตร์รายการโทรทัศน์พิพิธภัณฑ์ ซอฟต์แวร์ (Software) เกมส์เว็บไซต์ (website) เป็นต้น ภาพยนตร์ แสง สีเสียง (Sound effect) รูปแบบการศึกษาดังกล่าวสามารถสร้างความสนใจแก่ผู้เรียน การเรียนยุคใหม่เป็นการช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงที่ประสบด้วยตนเองมากกว่าการเรียนการสอนในห้องเรียน และการเรียนรู้ด้วยเทคนิควิธีใหม่ๆ ในการจัดการเรียนรู้ เป็นวิธีสอนแบบหนึ่งที่ดึงดูดความสนใจความตั้งใจของผู้เรียน เนื่องจากมีความสนุกสนานในขณะจัดการเรียนการเรียนรู้ การนำแนวความคิดการเรียนรู้แบบจิ๊กซอว์มาทดลองกับการจัดการเรียนการรู้พบว่ามีผลดีต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนจูงใจผู้เรียนให้มีความคิดวิเคราะห์ทบทวนความเชื่อความรู้และการรับรู้ของตนในเชิงวิเคราะห์วิจารณ์มากขึ้นการสร้างจินตนาการของเด็กๆ เป็นการสร้างภาพที่นำความน่าตื่นตาตื่นใจเสริมสร้างความอยากรู้อยากเห็นซึ่งจะนำไปสู่การรักการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง การศึกษาของประเทศไทยในยุค 4.0 กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดมาตรฐานการศึกษาของชาติกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์ของคนไทย คือตอบสนองวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศสู่ความ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยจะต้องธำรงความเป็นไทยและแข่งขันได้ในเวทีโลก และมีคุณลักษณะด้านนักเรียนรู้ ได้แก่ เป็นผู้มีความเพียร ใฝ่เรียนรู้ และมีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อก้าวทันยุคดิจิทัลและโลกในอนาคต และมีสมรรถนะที่เกิดจากความรอบรู้ต่างๆ มีการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาไทย มีทักษะชีวิตเพื่อสร้างงานหรือสัมมาอาชีพบนพื้นฐานของความพอเพียงมีความมั่นคง ในชีวิตและคุณภาพชีวิตที่ดีต่อตนเองครอบครัว และสังคม หลักสูตรสมรรถนะ 6 ด้านของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้จัดการศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจการดำรงชีวิตของมนุษย์ การอยู่ร่วมกันในสังคมปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมรู้จักจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเข้าใจถึงการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์และเหตุปัจจัยต่างๆนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิต รายวิชาประวัติศาสตร์ เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้จัดการศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจการดำรงชีวิตของมนุษย์ การอยู่ร่วมกันในสังคม ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม รู้จักจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เข้าใจถึงการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์และเหตุปัจจัยต่างๆ นำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิต รายวิชาประวัติศาสตร์ เป็นสาระส่วนหนึ่งของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม มีความสำคัญว่าด้วยเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่มีเรื่องราวของประเทศชาติองค์พระมหากษัตริย์คุณงามความดีต่อชาติบ้านเมืองและความสำคัญต่างๆ ดังเห็นได้ในพระราชเสาวนีย์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถที่พระราชทานแก่พสกนิกรในวันคล้ายวันพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2551 ณ ศาลาดุสิดาลัยตอนหนึ่งว่า “...อเมริกาเขาก็สอนประวัติศาสตร์บ้านเมืองเขาที่ไหนประเทศไหน เขาก็สอน แต่ประเทศไทยไม่มีไม่ทราบว่าแผ่นดินนี้ อยู่รอดมาได้จนบัดนี้เพราะใคร หรือว่าอย่างไรกัน อันนี้น่าตกใจชาวต่างประเทศยังไม่ค่อยทราบว่านักเรียนไทยไม่มีการสอนประวัติศาสตร์เลย..” (ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์, 2553) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนรายวิชาประวัติศาสตร์ โดยสถานศึกษาจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์เป็นวิชาเฉพาะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบทของสถานศึกษาและคำนึงถึงหลักของการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญและในการจัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์จะต้องจัดกิจกรรมที่มีการนำวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมมีความหลากหลายมีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 การจัดการเรียนรู้แบบจิ๊กซอว์เป็นวิธีการเรียนรู้ที่มีการปฏิสัมพันธ์เกื้อหนุนกันในกลุ่มสมาชิกมีการพึ่งพาช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ส่งเสริมให้นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกันในทางที่จะช่วยให้กลุ่มบรรลุเป้าหมาย เกิดความคุณลักษณะที่ดีต่อนักเรียนในด้าน ความห่วงใย ความไว้วางใจ การส่งเสริม และช่วยซึ่งกันและกันในการทำงานต่างๆ ร่วมกันเพื่อกำหนดภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของสมาชิกในกลุ่มการเรียนรู้ทุกคนจะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบ และพยายามทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถไม่มีใครที่จะได้รับประโยชน์โดยไม่ทำหน้าที่ของตน ดังนั้น กลุ่มจึงจำเป็นต้องมีระบบการตรวจสอบผลงาน ทั้งที่เป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มรวมทั้งการใช้ทักษะระหว่างบุคคลและทักษะกลุ่มย่อยในการเรียนรู้แบบร่วมมือจะประสบความสำเร็จได้ต้องอาศัยทักษะที่สำคัญๆ หลายประการ เช่น ทักษะทางสังคม ทักษะการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ทักษะการทางานกลุ่ม ทักษะการสื่อสารและทักษะการแก้ปัญหาขัดแย้งรวมทั้งการเคารพยอมรับ และไว้วางใจกันและกัน แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นสรุปองค์ความรู้สามารถสร้างชิ้นงานของตนเองและกลุ่มได้อย่างสร้างสรรค์ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง ผู้วิจัยจึงได้สังเคราะห์การจัดการเรียนรู้โดยวิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับการเรียนรู้แบบจิ๊กซอว์ ซึ่งมีงานวิจัยสนับสนุนผลการจัดการเรียนรู้แบบจิ๊กซอว์ดังกล่าว คือ สมนึก อ่อนแสง.2554,น. 11 ผลการเรียนรู้ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับเทคนิคจิ๊กซอว์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและเจตคติต่อการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่านักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับเทคนิคจิ๊กซอว์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาประวัติศาสตร์ไทย โดยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ดังนั้นพบว่าสภาพปัญหาของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาประวัติศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ที่มีปัญหา ผู้เรียนขาดเทคนิคในการถ่ายทอดเนื้อหา ความรู้เดิมไม่เพียงพอ และความสามารถในการเรียนรู้ รับรู้ที่แตกต่างกันของผู้เรียนในการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกัน เป็นกลุ่มเล็กๆ ส่งเสริมให้นักเรียนทำงานร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน โดยผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลจากแบบบันทึกผลการเรียน (ปพ.5) ของแต่ละปี พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในภาพรวมไม่ถึงร้อยละ 80 ของแต่ละปี เช่น ในปี พ.ศ.2562 มีผลสัมฤทธิ์ร้อยละ 74 ในปี พ.ศ.2563 มีผลสัมฤทธิ์ร้อยละ 75 และในปี 2564 มีผลสัมฤทธิ์ร้อยละ 77 จากข้อมูลเบื้องต้นยังส่งผลกระทบต่อเนื่องให้ผู้เรียนหลายด้าน เช่น นักเรียนขาดความสนใจในการเรียนรู้ คะแนนสอบไม่ผ่านเกณฑ์ ส่งผลให้เกิดนักเรียนขาดเรียน เป็นต้น ผู้วิจัยจึงศึกษาหาวิเคราะห์ข้อมูล คิดค้นเทคนิควิธีการและเทคโนโลยีที่เหมาะสมด้านการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนมากที่สุดก็ คือ วิธีการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์เพราะเป็นเทคนิควิธีการเรียนรู้ที่มีการปฏิสัมพันธ์เกื้อหนุนกันในกลุ่มโดยให้นักเรียนสะท้อนการเรียนรู้ในมิติต่างๆ ร่วมกันโดยผู้วิจัยศึกษาหน่วยการเรียนรู้ที่มีปัญหาในการเรียนรู้ของรายวิชาประวัติศาสตร์ที่ต้องการจะพัฒนาการเรียนรู้ในรายวิชาประวัติศาสตร์ ผู้วิจัยสนใจจะสร้างสื่อการจัดการเรียนรู้จากด้วยเทคนิควิธีและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์จากเหตุผลดังกล่าวทำให้ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เพื่อที่จะพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนให้มีสมรรถนะและทักษะที่เหมาะสมในปัจจุบันรวมทั้งเป็นการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนให้สูงขึ้นตามมาตรฐานที่กำหนด และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและประสบการณ์เรียนรู้ด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์รายวิชาประวัติศาสตร์ทั้งทาง ด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย ตลอดจนสภาพแวดล้อมที่ดี มีความสุข สนุกสนานกับการเรียนรู้ช่วยให้นักเรียนมีการพัฒนากระบวนการคิดเพื่อนำผลการศึกษาวิจัยมาพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนให้บรรลุผลสำเร็จในการเรียนรู้ จากเหตุผลของความเป็นมาและความสำคัญที่กล่าวมาข้างต้นที่เน้นการพัฒนาการศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม รายวิชาประวัติศาสตร์ในรูปแบบของการจัดการเรียนรู้ ด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ และผู้วิจัยจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของรายวิชาประวัติศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1-4 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เพื่อประโยชน์ต่อการศึกษาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ผู้วิจัยได้แก้ไขปัญหาและยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนมีพัฒนาการทาง กระบวนการคิด และนำผลของการศึกษาวิจัยมาพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้สำหรับนักเรียนให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและสอดคล้องกับสมรรถนะทั้ง 6 ด้านที่นักเรียนควรมี ซึ่งจะก่อเกิดทักษะที่เหมาะสมเข้ากับยุคสังคมในปัจจุบันได้ศึกษาแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงการเรียนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ให้มีประสิทธิภาพ ให้สอดคล้องกับการเรียนการสอนในยุคปฏิรูปการศึกษาซึ่งเน้นยึดผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อให้ผู้เรียนได้บรรลุวัตถุประสงค์
จุดเด่นของโครงการ :จากการดำเนินการวิจัย เรื่อง“การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์”ตามขั้นตอนที่ได้เสนอไว้นั้นปรากฎผลการวิจัยเป็นตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ 1.ผลการพัฒนาคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ในวิชาประวัติศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 80/80 ที่พัฒนาขึ้น พบว่ามีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ (E1) 83.48/ (E2) 84.33 ซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้ในสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 1 2.ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์รายวิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ สูงกว่าก่อนเรียนที่ตั้งไว้ในสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2 3.ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ รายวิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ คือ ( x ? ) = 3.58 (S.D.) = 0.87 โดยมีความพอใจมาก ที่ตั้งไว้ในสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 3
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อสร้างและหาคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ในวิชาประวัติศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 80/80 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์รายวิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ รายวิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :1. รูปแบบการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยรูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง โดยใช้กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว ในรูปแบบ (One Group Pre-test Post-test Design) กับนักเรียน จำนวน 26 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 1 ห้องเรียน เรื่องการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2. ขอบเขตด้านเนื้อหา เนื้อหาการดำเนินการวิจัยในครั้งนี้ เป็นเนื้อหาสาระกลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม รายวิชา ประวัติศาสตร์ หน่วนการเรียนรู้ที่ 1-4 เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์” ประกอบด้วย 4 หน่วยการเรียนรู้ ดังนี้ คือ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ช่วงเวลา ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ,หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง หลักฐานทางประวัติศาสตร์,หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง การตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทย,และหน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง พัฒนาการของอาณาจักรสุโขทัย โดยจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 แผน เวลา 20 ชั่วโมง มีแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาประวัติศาสตร์เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อในการวัดผลการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียนพร้อมแบบประเมินความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ 3. ขอบเขตด้านประชากร ประชากรในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 26 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 4. ขอบเขตด้านแหล่งข้อมูล แหล่งข้อมูลมี 2 แหล่ง ได้แก่ แหล่งที่ 1 ข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ ข้อมูลที่ศึกษาโดยตรงจากนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ แหล่งที่ 2 ข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ ข้อมูลที่ศึกษาจากเอกสารวิชาการ สิ่งพิมพ์ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 5. ขอบเขตด้านสถานที่ พื้นที่ที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เลขที่ 398 หมู่ที่ 9 ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 6. ขอบเขตด้านตัวแปรที่ศึกษา ขอบเขตด้านตัวแปรในการศึกษาเรื่องการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ประกอบด้วย ตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม ดังนี้ ตัวแปรอิสระ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์รายวิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตัวแปรตาม ได้แก่ 1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้เทคนิคจิ๊กซอว์วิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้รายวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์วิชาประวัติศาสตร์เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 7. ขอบเขตด้านระยะเวลา ในการวิจัยทางการศึกษา เรื่องการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ได้ทราบประสิทธิภาพถึงแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ได้ผลสัมฤทธิ์ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2. ได้ทราบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น และเกิดการเรียนรู้ได้เต็ม ศักยภาพ นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้ 3. ได้ทราบถึงความพึงพอใจของนักเรียนและกระบวนการการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์และสามารถนำไปปรับใช้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆได้ 4. เป็นแนวทางการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อปรับใช้กับสาระการเรียนรู้อื่นๆได้
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :1. ภาษาไทย (1) หนังสือ: กระทรวงศึกษาธิการ .หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย ,2551. ________. กระทรวงศึกษาธิการ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553, (กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพคุรุสภา ลาดพร้าว), 2542. กระทรวงศึกษาธิการ. กรมวิชาการ. (2550). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์8o8890 กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : กระทรงศึกษาธิการ, (2551). กรมวิชาการ.2545. เข้าถึงได้จาก [ออนไลน์] http://sornordon.wordpress.com/. ค้นหาเมื่อ 15 มกราคม 2563. เกสร แสงนนท์. เทคนิคการผลิต e-Book. พระนครศรีอยุธยา: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2563. จุฑามาศ กันติ๊บ. การพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้เรื่องการเขียนสะกดคำโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ 2 ร่วมกับเกมการศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.2554). ชูศรี วงศ์รัตนะ. เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: ไทเนรมิตกิจอินเตอร์โปรเกรสซิพ,2550. ทิศนา แขมมณี. รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.2550. ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2555. บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น. ปริญญา ปั้นสุวรรณ.การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ 2 กับแบบปกติ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.2553. จุฑามาศ กันติ๊บ. การพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้เรื่องการเขียนสะกดคำโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ 2 ร่วมกับเกมการศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากรม,2554. ปกรณ์ ประจัญบาน. สถิติขั้นสูงสำหรับการวิจัยและประเมิน(Advanced Statistics for Research and Evauauation). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2552. ภาสกร เรืองรอง. การพัฒนาอีบุ๊กบนคอมพิวเตอร์แบบพกพา e-Book บน Tablet PC. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์พรทิชา, 2557. มาเรียม นิลพันธุ์. วิธีวิจัยทางการศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ 5. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย ศิลปากร,2555. สมบัติ ท้ายเรือคํา. พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์. 2546. สมยศ นาวีการ. “การพัฒนาองค์การและการจูงใจ” .กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ดวงกมล, 2521. (2) รายงานการวิจัย/วิทยานิพนธ์ กนกวรรณ สมีดีและอภิชา แดงจำรูญ. “การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book)เรื่อง กฎหมายใกล้ตัว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1”. วิทยานิพนธ์คณะศึกษาศาสตร, คณะศึกษาศาสตร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2562. กรรณิการ์ กลับสกุล. “การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่อง กฎหมายในชีวิตประจำวันสำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2560. ทัศนกร สมใจหวังและน้ำมนต์ เรืองฤทธิ์. “การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์บนแท็บเล็ต เรื่อง ความรู้สู่อาเซียน สาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2”.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2558. นงนุช สลับศรี. “การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบการ์ตูนเรื่องคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4 โรงเรียนวัดดอนดำรงธรรม”. วิทยานิพนธ์คณะศึกษาศาสตร สาขาสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยบูรพา, 2562. นงลักษณ์ เขียวมณี. “การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีและความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี, 2561. ผุสดี แสงอ่อน. “ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารงานของโรงเรียนสวนป่าอุปถัมภ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2”.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัญฑิต. คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา, 2555. พระปลัดสถาพร ปุ่มเป้า. “การพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์วรรณคดีเรื่องนิราศภูเขาทองโดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1” วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย. คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลยันเรศวร, 2563. พระมหาโยธิน ไกรษร. “หนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์เรื่อง “การให้ทาน” เพื่อส่งเสริมการอ่านตีความโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TAI สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3”.วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย. คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลยันเรศวร, 2563. พระมหาวรเมธ ฐานวฑฺฒโก (นวลรักษา). “การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง หลักธรรมนำชาวพุทธ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดมงคล อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุร”.วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2561. พัดชา อินทรัศมี. “การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) เรื่อง การใช้ห้องสมุด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1”. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2555. ภาวิณี ภูมิเอี่ยม. “การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านบทร้อยกรองประเภทกาพย์ยานี 11 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5”. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2558. มนชิดา เรืองรัมย์. “การพัฒนาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการสอนภาษาไทย. บัณฑิตวิยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556. วัฒนาพร ระงับทุกข์. การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ : เลิฟ แอนด์ลิพเพรส.(2545). วัชราภรณ์ กองมณี. การพัฒนาแผนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ โดยเน้นกิจกรรม การเรียนรู้แบบร่วมมือ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (สำเนา). (2546). วัชรา เล่าเรียนดี. เทคนิคและยุทธวิธีพัฒนาทักษะการคิด การจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.,(2548). วีระ วิไลแก้ว. การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative learning) โดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ (Jigsaw) เรื่องชีวิตและครอบครัวกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.(2549). วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. การออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบ Backward Design พิมพ์ครั้งที่ 3 สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.(2549). วิไลวรรณ เจือทอง. “การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาท้องถิ่นของเราชาวลพบุรีกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1” .วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 2562. ศักรินทร์ ศรีทองและธีรพงษ์ วิริยานนท์. “การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องมหาสวัสดิ์บ้านเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6”. วิทยานิพนธ์คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2558 ศุภศิริ โสมาเกตุ. “การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการเรียนและความพึงพอใจในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการเรียนรู้โดยโครงงานกับการเรียนรู้ตามคู่มือครู”.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัญฑิต คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2544. ศิริธร เชาวน์ชื่น. การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง อาณาจักรสุโขทัยชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน).มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.(2556). เศวตกนิษฐ์ ศรีสนาย. การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค Jigsaw สาระประวัติศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.(2552). สุวิดา ศรีนาค. ผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจในการเรียนรู้ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ส่งเสริมการอ่าน เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา). มหาวิทยาลัยทักษิณ.(2552). สโรชา ภาระจ่าและอรนุช ลิมตศิริ. “การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง หลักเศรษฐศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ” . วิทยานิพนธ์คณะศึกษาศาสตร สาขาวิชานวัตกรรมหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ . คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2563. อิสรีย์ น้อยมิ่ง. การศึกษาผลสัมฤทธิ์การเรียน เรื่อง การสร้างคำในภาษาไทยของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ ร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ มัลติมีเดีย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและวิธีสอน). มหาวิทยาลัย ศิลปากร.(2557). (3) รายงานวิจัย: ธัญญาดล อุปชิตกุล. “การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-books) เรื่อง หลักภาษาและการใช้ภาษา รายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน (ท 31102)กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4” รายงานวิจัยโรงเรียนโคกโพธิ์ไชยศึกษา, 2559. เศวตกนิษฐ์ ศรีสนาย. (2552). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค Jigsaw สาระประวัติศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. อำนวย รุ่งรัศมี. การสอนวิทยาศาสตร์แบบกลวิธี. มหาสารคาม: ภาควิชาชีววิทยา คณะ วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม.(2525). อารมณ์ สนานภู่. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.2539. อาภรณ์ ใจเที่ยง. หลักการสอน (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.2550. อนุสสรา เฉลิมศรี. “การพัฒนาชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร (ฝ่ายประถม)”. รายงานวิจัยโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร (ฝ่ายประถม), 2555. (4) บทความ: ชนิดา ยอดสาลี และกาญจนา บุทส่ง. “ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 2”. วารสารวิชาการVeridian E –Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และคณะ ธีระพัฒน์ ฤทธิ์ทอง. รูปแบบการจัดกิจกรรมโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เฟื้องฟ้า พริ้นติ้ง. (2543). บุญชม ศรีสะอาด.วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์.,2553. ไพศาล หวังพานิช. การวัดผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและ จิตวิทยามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร,2523. พิสุทธา อารีราษฎร์. การพัฒนาซอฟต์แวร์ทางการศึกษา. คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัย ราชภัฏมหาสารคาม.(2551). พิชิต ฤทธิ์จรูญ.หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ:เฮ้าส์ ออฟ เคอร์ มิสท์. (2556). รัตนาภรณ์ มามีใย และกรวิภา สรรพกิจจำนง. “การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา เรื่อง หลักธรรมทาง พระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการสอนโดยใช้ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ชุดหนูบัวเบิกบานธรรม กับการสอนแบบปกติ”.วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย. ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม, 2564): 346 – 354. ระวิวรรณ ภาคพรต, มาลี โตสกุล, และเฉลิมชัย พันธ์เลิศ. (บรรณาธิการ). เพื่อนคู่คิด มิตรคู่ครูแนว ทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย.(2554). ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น. (2531). ล้วน สายยศ, และอังคณา สายยศ. เทคนิคการสร้างและข้อสอบความถนัดทางการเรียน. กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก.(2541). อารมณ์ สนานภู่. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน. อำนวย รุ่งรัศมี. การสอนวิทยาศาสตร์แบบกลวิธี. มหาสารคาม: ภาควิชาชีววิทยา คณะ วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม.(2525). (5) เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่และเอกสารอื่น ๆ: พระพรหมพิริยะ ถาวโร (มาลัยรักษ์). บทความครูมืออาชีพกับการศึกษาไทยยุคสังคม New normal , 2564. สมบัติ ท้ายเรือคำ. การวิจัยเบื้องต้น ในเอกสารประกอบการสอน . มหาวิทยาลัยมหาสารคาม: ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์, 2547. (6) สื่ออิเล็กทรอนิกส์: David McCleland, ทฤษฏีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.jir4yu.me/2018/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B9%83%E0%B8%9D%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C-three-needs-theory/ .[17 พฤษภาคม 2565] u7PSzCQ6cSbD0O-ZqAjHochNjJ34 [28เมษายน 2565] เพชราวดี จงประดับเกียรติ.การวัดและประเมินผล. [ออนไลน์] แหล่งที่มา: http://site.bsru.ac.th/petcharawadee.jo/?page_id=497 [8 เมษายน 2565] จรัล กาอินทร์. “ปัญหาการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียนมัธยมศึกษา ตอนต้น อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา:http://www.thaithesis.org/detail.php?id=5124.[28 เมษายน 2565] จามจุรี มณีแนม. “การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book)เรื่อง บุคคลสำคัญทางพระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2” . [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://clmramis.files.wordpress.com/2018/06/e0b888e0b8b2e0b8a1e0b888e0b8b8e0b8a3e0b8b5-e0b8a1e0b893e0b8b5e0b981e0b899e0b8a1.pdf. [5 เมษายน 2565] ทรูปลูกปัญญา. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ตอนที่ 4. [ออนไลน์] แหล่งที่มา:https://www.true plookpanya.com/blogdiary/4002 [7 เมษายน 2565] ประคองศรี ภาเรือง. หน่วยที่2 หลักการออกแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://vandalearning.com/หน่วยที่-2-หลักการออกแบบ. [8 เมษายน 2565] สุทธิวรรณ พีรศักดิ์โสภณ. “การสร้างเครื่องมือวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน” [ออนไลน์] แหล่งที่มา: http://www.mathayom9.go.th/nitad/analyze/achiev-1.pdf. [8 เมษายน 2565] สุรพศ ทวีศักดิ์. นักวิชาการด้านปรัชญาละศาสนา. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา:https://thematter. co/social/learning-religion-in-school/125648 [5 เมษายน 2565] หลักสูตรฐานสมรรถนะ 6 ด้าน. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://moe360.blog/2021/08/13/ competency-based-education/?fbclid=IwARbwLpSZeFej-bktXEvM8eYIrX อักษรเจริญทัศน์. การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบลูม Bloom’s Taxonomy. [ออนไลน์] แหล่งที่มา: https://www.aksorn.com/article [29 เมษายน 2565] อุไรวรรณ ศรีธิวงค์. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (achievement). [ออนไลน์] แหล่งที่มา: http://kruoiysmarteng.blogspot.com/2016/08/achievement.html .[8 เมษายน 2565] (7) งานวิจัยต่างประเทศ/ Theodora, D.B. (2001). The Effectiveness of the Jigsaw Cooperative Learning on Students’ Achievement and Attitudes toward Science. Hashemite: University of Philippines. Keller, Lally, M., & Ann, M. (2006, August). Effect of Task-type and Group Size on Foreign Language Learner output in Synchronous Computer-mediated Communication. Dissertation Abstracts International. 59(2): 311-B. Tukur, M.Y., Nurulwahida, B.H.A., & Madya, R.B.M.A. (2018). Effect of Jigsaw Strategy of Cooperative Learning on Mathematics Achievement among SecondarySchool Students. Federal University Kashere Gombe of Nigeria and UniversityUtara of Malaysia. Slavin. (Cooperative Learning: Theory Research and Practice Englewood Cliff. New Jersey: Prentice Hall. ,1990. Slavin. Cooperative Learning: Theory Research and Practice Massachusetts. A Divisions of Simon & Schuster. (1995
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 1. ประเภทการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพชราวดี จงประดับเกียรติ กล่าวว่าถ้าแบ่งประเภทการวัดผลทางการเรียนตามจุดประสงค์ของการประเมินแบ่งได้ 3 ประเภท คือ 1) การประเมินผลก่อนเรียน เป็นการประเมินผลก่อนเริ่มต้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อหาสารสนเทศของผู้เรียนเบื้องต้น ใน 2 ประเด็น ต่อไปนี้ 1 ความรู้ที่เป็นพื้นฐานของเรื่องใหม่ เพื่อนำผลการประเมินมาซ่อมเสริมให้นักเรียนทุกคนมีพื้นฐานก่อนเรียนเรื่องใหม่ ช่วยให้นักเรียนประสบผลสำเร็จในการเรียน เช่น ก่อนครูคณิตศาสตร์จะสอนเรื่องการคูณ ควรตรวจสอบความรู้พื้นฐานเรื่องการบวก 2 ความรอบรู้ในเรื่องใหม่ที่จะเรียน เพื่อนำผลมาใช้ในการวางแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะกับสภาพของผู้เรียน 2) การประเมินผลระหว่างเรียน เป็นการประเมินผลย่อยในระหว่างเรียนเพื่อตรวจสอบว่านักเรียนบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ ตามแผนการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในแต่ละหน่วยหรือไม่ หากพบว่ายังไม่ผ่านจะได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้ผ่านก่อนเข้าสู่หน่วยต่อไป ช่วยให้นักเรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ผลที่ได้จากการประเมินนำไปใช้ในการปรับปรุงข้อบกพร่อง และส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน และใช้ในการปรับปรุงข้อบกพร่องของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) การประเมินผลหลังเรียน เป็นการประเมินเมื่อสิ้นสุดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อตัดสินความสำเร็จของผู้เรียน ว่ามีความรอบรู้ในเรื่องที่เรียนระดับใด ควรได้ระดับผลการเรียนเท่าใด หากนำผลการประเมินหลังเรียนไปเปรียบเทียบกับผลการประเมินก่อนเรียนแล้วจะช่วยให้ทราบว่านักเรียนมีพัฒนาการขึ้นเพียงใดโดยถ้าแบ่งประเภทการวัดผลการศึกษาตามระบบของการประเมินแบ่งได้ 2 ประเภท คือ 1) การประเมินผลอิงกลุ่ม เป็นการประเมินที่เกิดจากพื้นฐานความเชื่อเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบุคคลตามทฤษฎีการวัดแบบดั้งเดิม การแปลความหมายผลการวัดแบบอิงกลุ่มจึงนำคะแนนของนักเรียนแต่ละคนไปเปรียบเทียบกับคะแนนของคนอื่น ๆ ในกลุ่ม ผู้ที่ได้คะแนนสูงกว่าคนส่วนใหญ่ในกลุ่มนับว่าเป็นคนเก่ง ส่วนผู้ที่ได้คะแนนต่ำกว่าคนส่วนใหญ่ในกลุ่มนับว่าเป็นคนอ่อน ผลการวัดแบบอิงกลุ่มสามารถแปลความหมายได้ว่าบุคคลนั้น เก่ง ปานกลาง หรืออ่อน เมื่อเทียบกับความสามารถโดยภาพรวมของกลุ่ม แต่ไม่สามารถบ่งชี้ได้อย่างชัดเจนว่าบุคคลนั้น บกพร่องในเนื้อหาหรือจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ใด ดังนั้นจึงไม่เหมาะสมที่จะนำการวัดผลแบบอิงกลุ่มมาใช้เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน แต่เหมาะสมที่จะใช้วัดเพื่อจัดตำแหน่งผู้เรียนตามลำดับความสามารถ 2) การประเมินผลอิงเกณฑ์ เป็นการประเมินที่มีพื้นฐานความเชื่อมาจากทฤษฎีการเรียนเพื่อรอบรู้ ที่ว่าแม้บุคคลจะมีความแตกต่างกันก็สามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้เท่าเทียมกัน ถ้าสามารถจัดประสบการณ์และเวลาให้เหมาะสมกับลักษณะของแต่ละบุคคล จากแนวคิดดังกล่าวครูผู้สอนจึงมุ่งหวังที่จะให้ผู้เรียนทุกคนมีความรอบรู้ในเนื้อหาสาระที่จัดให้ การวัดผลที่จะชี้บ่งได้ว่านักเรียนรอบรู้หรือไม่ จึงต้องกำหนดเกณฑ์การผ่านสำหรับใช้บ่งชี้ความรอบรู้ของนักเรียนในแต่ละจุดประสงค์ หากนักเรียนผ่านจุดประสงค์ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้แสดงว่านักเรียนมีความรอบรู้ในจุดประสงค์นั้นแล้ว หากไม่ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดแสดงว่ายังไม่รอบรู้จะต้องซ่อมเสริมแล้ววัดผลใหม่จนกว่าจะรอบรู้ ด้วยเหตุนี้การวัดผลแบบอิงเกณฑ์จึงเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะใช้เพื่อการปรับปรุงการเรียนการสอนในระหว่างเรียน เพราะเมื่อครูได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้จบในแต่ละแผนการเรียนรู้แล้ว สามารถใช้การวัดผลประเมินผลแบบอิงเกณฑ์ตรวจสอบได้ว่ามีนักเรียนคนใดบ้างที่ยังไม่ผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้ 2. ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นความสามารถของผู้เรียนที่แสดงออกมาในด้านต่างๆ ซึ่งเกิด จากผู้เรียนได้รับประสบการณ์จากกระบวนการเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติ การศึกษาดูงาน การอบรม การสอนของครู ได้มีผู้ให้ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไว้โดยสรุป ดังนี้ วารี รักหะบุตรได้สรุปความหมายของ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนว่า เป็นผลของการจัด กิจกรรมการเรียนการสอนที่เกิดจากความรู้ ทักษะและความสามารถในด้านต่างๆ ของนักเรียนจน เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและประสบการณ์เรียน จิรภา นุชทองม่วง สรุปว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึงความรู้ ความสามารถของ นักเรียนที่เกิดจากการเรียนรู้ผ่านกระบวนการเรียนการสอน และสามารถใช้เครื่องมือวัดได้ หยาดพิรุณ วงสุวรรณ์ สรุปว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ความรู้ ทักษะ และ ความสามารถต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในภายหลังที่นักเรียนได้รับการฝึกฝนและอบรมสั่งสอนในเรื่องที่เรียนมาแล้ว อันมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งสามารถตรวจสอบได้จากการวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน มนชิดา เรืองรัมย์ ได้ให้สรุปความหมายแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ไว้ว่า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหมายถึง แบบสอบที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการวัดผลการเรียนรู้ด้านเนื้อหาของวิชานั้นๆ และทักษะต่างๆ ของแต่ละวิชา เพื่อให้ผู้สอนทราบว่าผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถที่เกิดจากการเรียนเป็นไปตามเป้าหมายหรือมาตรฐานที่ผู้สอนตั้งไว้หรือไม่ อุไรวรรณ ศรีธิวงค์ ได้สรุปความหมายแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ไว้ว่า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คือแบบทดสอบที่ใช้วัดความรู้ และทักษะความสามารถจากการเรียนรู้ในอดีตหรือในสภาพปัจจุบันของแต่ละบุคคล นงลักษณ์ เขียวมณี ได้สรุปความหมายแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ไว้ว่า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่นักการศึกษามีความเห็นสอดคล้องกัน นั่นคือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบทดสอบ ที่มุ่งวัดความรู้และสมรรถภาพทางสมองด้านต่าง ๆ ที่นักเรียนได้รับการเรียนรู้ผ่านมาแล้ว จากการศึกษาความหมายของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ผู้วิจัยสรุปได้ว่า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดความรู้ทักษะและความสามารถทางวิชาการที่ผู้เรียนได้เรียนรู้มาแล้วว่าบรรลุผลสำเร็จตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้เพียงใด 1 ) แบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้นเอง หมายถึง แบบทดสอบที่มุ่งวัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเฉพาะกลุ่มที่สอนเป็นแบบที่ครูสร้างขึ้นใช้กัน โดยทั่วไปในสถานศึกษามีลักษณะเป็นแบบทดสอบข้อเขียน (Paper and Pencil Test) ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ (1) แบบทดสอบอัตนัย (Subjective or Essay Test) เป็นแบบทดสอบ ที่กำหนดคำถาม หรือปัญหาให้แล้ว ให้ผู้ตอบเขียน โดยแสดงความรู้ ความคิด ความพึงพอใจ ได้อย่างเต็มที่ (2) แบบทดสอบปรนัย หรือแบบให้ตอบสั้น ๆ (Objective Test or Answer) เป็นแบบทดสอบที่กำหนดให้ผู้เขียนตอบสั้น ๆ หรือมีคำตอบให้เลือกแบบจำกัดคำตอบ (Restricted Response Type) ผู้ตอบไม่มีโอกาสแสดงความรู้ ความคิดได้อย่างกว้างขวางเหมือนแบบทดสอบอัตนัย แบบทดสอบชนิดนี้ แบ่งออกเป็น 4 แบบ คือ แบบทดสอบถูก-ผิด แบบทดสอบเติมคำ แบบทดสอบจับคู่ และแบบทดสอบเลือกตอบ 2) แบบทดสอบมาตรฐาน หมายถึง แบบทดสอบที่มุ่งวัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนทั่ว ๆไป ซึ่งสร้างโดยผู้เชี่ยวชาญ มีการวิเคราะห์ และปรับปรุงอย่างดีจนมีคุณภาพ มาตรฐาน กล่าวคือ มีมาตรฐานในการดำเนินการสอบ วิธีการให้คะแนนและการแปลความหมายของคะแนน สรุปได้ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหมายถึง ประสบการณ์เรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากการฝึกอบ รมหรือจากการสอนผ่านกระบวนการวัดผลประเมินแสดงความสำเร็จในด้านความรู้ ทักษะและสมรรถนะทั้ง 6 ด้าน ที่นักเรียนควรมี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง งานวิจัยในประเทศ วัชราภรณ์ กองมณี (2546 : บทคัดย่อ) ได้พัฒนาแผนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่องสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติโดยเน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน และศึกษาความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ ผลการศึกษาพบว่านักเรียนที่เรียนด้วยแผนการสอนที่เน้นกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเรื่องสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ อยู่ในระดับมาก วีระ วิไลแก้ว (2549 : 121-123) ได้พัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค จิ๊กซอว์ (Jigsaw) เรื่อง ชีวิต และครอบครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกมลาไสย อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 จำนวน 32 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 จำนวน 6 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องชีวิต และครอบครัว สุรชัย บำรุงไทยชัยชาญ (2550 : 72-73) ได้ศึกษาการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้แบบจิ๊กซอว์ วิชา พ 31101 สุขศึกษา และพลศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพล อำเภอพล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 41 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แผนการจัดการเรียนรู้ พ 31101 สุขศึกษา และพลศึกษา ที่ใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ แบบจิ๊กซอว์ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ร้อยละ 80 จำนวน 12 แผน เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานแบบประเมินผลงาน แบบสังเกตพฤติกรรมอันพึงประสงค์ บันทึกผลการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ผลการศึกษาพบว่า การสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้แบบจิ๊กซอว์ วิชา พ31101 สุขศึกษาและพลศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพร้อยละ 87.16 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด เศวตกนิษฐ์ ศรีสนาย (2552 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ สาระประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เพื่อหาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ เพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ ผลการวิจัยพบว่า 1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ สาระประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ 87.43/85.48 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ (Jigsaw) สาระประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.7933 3. นักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ (Jigsaw) สาระประวัติศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรม การเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ (Jigsaw) ระดับดีมาก หนูเพียร สีลา (2553 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ เรื่อง การทดสอบสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ เรื่องการทดสอบสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1. แผนการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ (Jigsaw) เรื่อง การทดสอบสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 91.03/82.50 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ (Jigsaw) เรื่อง การทดสอบสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.7334 3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมตามการแผนพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ (Jigsaw) เรื่องการทดสอบสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ อยู่ในระดับมาก ศิริธร เชาวน์ชื่น (2556) ทำการวิจัยเรื่อง การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ กลุ่มร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่องอาณาจักร สุโขทัย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่ม ร่วมมือเทคนิกจิ๊กซอว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่องอาณาจักรสุโขทัย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และเพื่อ ศึกษาความเป็นผู้นาทางการเรียนของนักเรียน ผลการวิจัยพบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบกลุ่ม ร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่องอาณาจักรสุโขทัย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.20/86.61 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ดัชนี ประสิทธิผลของนักเรียนที่เรียน จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ มีค่า เท่ากับ 0.7648 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิคจิ๊กซอว์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่ม ร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์มีความเป็นผู้นำทางการเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด อิสรีย์ น้อยมิ่ง (2557) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์การเรียน เรื่อง การสร้างคำในภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ ร่วมกับ บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียน ในเรื่อง การสร้างคำในภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ ร่วมกับ บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียก่อน และหลังเรียน และศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง การสร้างคำภาษาไทย ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การสร้างคำในภาษาไทย ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ร่วมกับบทเรียน คอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ ร่วมกับบทเรียน คอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก งานวิจัยต่างประเทศ Meek (1972 : 4296 - A) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบวิธีการสอนแบบใช้ชุดการสอนกับวอธีการสอนแบบธรรมดา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้จากการใช้ชุดการสอนและวิธีสอนแบบธรรมดาสำหรับสอนนักศึกษาครู ผลการวิจัยพบว่าวิธีการสอนโดยใช้ชุดการสอนมีประสิทธิภาพสูงกว่าการสอนด้วยวิธีสอนแบบธรรมดาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 Dale (1973 : 6482 - A) ได้ทำการวิจัยเรื่อง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างการเรียนโดยวิธีการสอนปกติกับการเรียนโดยใช้ชุดการสอนของนักศึกษาปริญญาตรีมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนโดยใช้ชุดการสอนสูงกว่านักศึกษาที่เรียนโดยวิธีสอนปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 Kolebas (1992 : 4443 - A) ทำการทดลองกับนักเรียนเกรด 3 ที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์โดยการสืบเสาะหาความรู้โดยเน้นทักษะขั้นตอนของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผลการทดลองพบว่า นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนโดยวิธีการสืบเสาะหาความรู้โดยเน้นทักษะขั้นตอนของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสนใจในวิชาวิทยาศาสตร์สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการสอนแบบเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 Merwe (1996) ได้ทำการวิจัยสร้างชุดการสอนแบบสื่อประสมเพื่อเป็นเครื่องมือให้นักเรียนที่ศึกษาแบบทางไกลผลการวิจัยพบว่าการใช้ชุดการเรียนการสอนแบบสื่อประสมทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งผู้เรียนและอาจารย์ผู้สอนโดยผู้สอนจะให้การแนะนำและผู้เรียนจะศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง Hulley, & Sullivan (1998) ได้ทำการวิจัยเรื่อง “ชุดการเรียนการสอนบูรณาการวิทยาศาสตร์และสังคมศึกษากับนักเรียนเกรด 5” ในมลรัฐมิวซิสซิบปี้โรงเรียนหลักสูตรมาตรฐานการเรียนวิทยาศาสตร์แห่งชาติ จากผลการวิจัยพบว่าการเรียนโดยใช้ชุดการสอนช่วยสร้างความคิดสร้างสรรค์ สามารถบูรณาการความรู้วิทยาศาสตร์และสังคมศึกษาได้ด้วยตนเอง Theodora, D.B. (2001) ทำการวิจัยเรื่อง ผลการจัดการการเรียนรู้แบบจิ๊กซอว์ที่มีต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทัศนคติต่อวิทยาศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสอนทั้ง สองเทคนิคเพื่อนำมาวัดความสามารถในการเรียนและทัศนคติที่มีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน โดยมีเทคนิคการสอนแบบกลุ่มทดลองใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคแบบจิ๊กซอว์ ในขณะที่ อีกกลุ่มใช้เทคนิคการสอนรูปแบบดั้งเดิม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ประกอบด้วย นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2 ห้อง คัดเลือกจากโรงเรียนหญิงล้วนประเทศจอร์แดน ผลการวิจัยพบว่า จากผลการวิเคราะห์ชี้ให้เห็นความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างนักเรียนทั้งสองกลุ่ม พบว่านักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ และชอบวิธีการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์มากกว่า การเรียนรู้แบบดั้งเดิมส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น Kowalczyk (2003 : 403-A ; อ้างถึงใน โคมเพชร ธรรมโกศล. 2549 : 33) ได้ศึกษาสำรวจความเชื่อของครูระดับประถมศึกษาเกี่ยวกับการใช้หน้าที่และความสำคัญของการสอนแบบเส้นตรง การสอนแบบค้นพบและการสอนแบบสืบเสาะ ในการสอนวิทยาศาสตร์ในห้องเรียนโดยใช้เครื่องมือสอบถามครูจำนวน 28 คนเกี่ยวกับความเชื่อ แนวความคิดเกี่ยวกับวิธีแต่ละวิธีวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS ใช้สถิติเชิงบรรยายและไคสแควส์ จากการวิเคราะห์พบว่าครูส่วนใหญ่ใช้วิธีการสอนทั้งหมด 3 วิธีนี้กับห้องเรียนในหลายระดับ การสอนแบบค้นพบครูนำไปใช้สอนวิทยาศาสตร์น้อยที่สุดและพบว่าครูส่วนใหญ่มีความเชื่อว่าวิธีสอนทั้งหมดมีความผสมผสานกลมกลืนกัน ซึ่งในยุทธวิธีที่มีประสิทธิผลมากที่สุดสำหรับการสอนวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา Keller, Lally, M., & Ann, M. (2006) ทำการวิจัยเรื่อง ผลของการเรียนรู้ต่อการเรียน ภาษาต่างประเทศในการสื่อสารคอมพิวเตอร์ โดยใช้กลุ่มร่วมมือแบบจิ๊กซอว์ มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้เพื่อ ศึกษาความคิดเห็นของการจัดการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือแบบจิ๊กซอว์ ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างทักษะ กระบวนการทำงานเป็นกลุ่มร่วมมือแบบจิ๊กซอว์ พบว่าในการเรียนของนักเรียนจำนวน 62 คน ที่เรียนภาษาต่างประเทศ นักเรียนสามารถอภิปรายรายงานทางด้านคอมพิวเตอร์ด้วยระบบ (SCMC) ผสมผสานกับวิธีการเรียนแบบใหม่ๆ สามารถหาคำศัพท์ และไวยากรณ์ที่เป็นประโยชน์ได้สำเร็จตามขั้นตอนที่ออกแบบไว้ ซึ่งได้สำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวนนักเรียน 10 คน ที่เรียนด้วยกลุ่มร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ทางคอมพิวเตอร์ระบบ (SCMC) ผลปรากฏว่า นักเรียนมีความคิดเห็นในการเรียนด้วยการสัมภาษณ์ 30 นาที ซึ่งทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาต่างประเทศได้สูงกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการเรียนรู้แบบต่าง ๆ Tukur, M.Y., Nurulwahida, B.H.A., & Madya, R.B.M.A. (2018) ทำการวิจัยเรื่อง ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (SS1) ประเทศไนจีเรีย รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยเทคนิคจิ๊กซอว์ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 80 คน โดยแบ่ง นักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม โดยในกลุ่มแรกใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่ม เพื่อใช้เทคนิคการสอน แบบจิ๊กซอว์ กลุ่มที่สองใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบมีกลุ่มควบคุม เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับเทคนิค การสอนแบบดั้งเดิม ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ ได้ผลดีมากกว่าเทคนิคการสอนแบบดั้งเดิม และส่งผลให้นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนในวิชา คณิตศาสตร์ กรอบแนวคิดของการวิจัย การวิจัย เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์นี้ ผู้วิจัยได้กำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย ดังนี้ ตัวแปรอิสระ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์รายวิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตัวแปรตาม 1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้เทคนิคจิ๊กซอว์วิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้รายวิชาประวัติศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์วิชาประวัติศาสตร์
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยเรื่อง“การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์” มีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียนและเพื่อหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนเรียนรู้รายวิชาประวัติศาสตร์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียนและความพึงพอใจ ของนักเรียนในการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์รายวิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ดังรายละเอียดการวิจัยดังนี้ รูปแบบการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง โดยใช้กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว ในรูปแบบ (One Group Pre-test Post-test Design) กับนักเรียน จำนวน 26 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 1 ห้องเรียน ประชากร ประชากร ที่ใช้ในการศึกษาการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 26 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ เรื่อง“การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราช จำนวน 10 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง“การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราช แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วย เรื่อง“การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราช เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 13 ข้อ การสร้างและการหาคุณภาพเครื่องมือ ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือและหาคุณภาพเครื่องมือ โดย ผู้วิจัยมีขั้นตอนการสร้างเครื่องมือและหาคุณภาพเครื่องมือดังนี้ 1) ศึกษาแนวคิดทฤษฎีจากตําราและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อกําหนดเป็นขอบข่ายในการสร้างเครื่องมือเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ 2) ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับมาตรฐานการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยนำไปใช้ในการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง“การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 3) ศึกษาโครงสร้างหลักสูตรและเวลาเรียนของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ นำไปจัดการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง“การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน 10 แผน ของรายวิชาประวัติศาสตร์ โดยใช้เนื้อหาสาระของหน่วยการเรียนรู้ที่ 1-4 ประกอบด้วย ดังนี้ คือ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1) เรื่อง ช่วงเวลา ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ,หน่วยการเรียนรู้ที่ 2) เรื่อง หลักฐานทางประวัติศาสตร์,หน่วยการเรียนรู้ที่ 3) เรื่อง การตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทย,และหน่วยการเรียนรู้ที่ 4) เรื่อง พัฒนาการของอาณาจักรสุโขทัย โดยจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 แผน เวลา 20 ชั่วโมง โดยมีแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาประวัติศาสตร์เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อในการวัดผลการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียนพร้อมแบบประเมินความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ 4) กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ของแผนการจัดการเรียนรู้ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง“การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ในแต่ละเรื่องให้ชัดเจน โดยมีองค์ประกอบด้านความรู้ (Knowledge) เจตคติ (Attitude) และกระบวนการ (Process) และให้สอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัด 5) นําข้อมูลที่ได้จากการศึกษาความรู้ต่างๆ มาสร้างแผนการจัดการเรียนรู้และแบบทดสอบให้ครอบคลุมขอบเขตเนื้อหา“การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์” 6) นําแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ แบบทดสอบ และแบบประเมินความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้น ไปเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องตามตรงเชิงเนื้อหา ภาษา และเทคนิคการสร้างแบบสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 3 ท่าน 7) การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ หรือการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาประวัติศาสตร์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ จำนวน 10 แผน โดยผู้วิจัยพัฒนาและสร้างสรรค์สังเคราะห์ขึ้นมาใหม่เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้และการสร้างองค์ความรู้ ซึ่งมีลักษณะการสอนที่ใช้ลำดับขั้นตอนตามที่ผู้วิจัยได้สังเคราะห์ขึ้นมาจากหน่วยการเรียนรู้ที่ 1-4 และจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 แผน ในแต่ละแผนใช้เวลาในการสอน 2-3 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 60 นาที เวลาสอนทั้งหมด 20 ชั่วโมง โดยมีขั้นตอนในการพัฒนาดังนี้ 1) หน่วยการเรียนรู้ที่ 1-4 โดยมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 10 เรื่อง………. 2) มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ 3) จุดประสงค์การเรียนรู้ 4) สาระสำคัญ 5) สมรรถนะสำคัญของนักเรียน 6) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 7) สาระการเรียนรู้ 8) ชิ้นงานหรือภาระงาน (หลักฐาน / ร่องรอยแสดงความรู้) 9) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน (วิธีสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์)ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 การจัดกลุ่มผู้เรียน ขั้นที่ 2 การมอบหมายงาน ขั้นที่ 3 การศึกษาค้นคว้าหา ความรู้ ขั้นที่ 4 การถ่ายทอดความรู้ และขั้นที่ 5 การทดสอบความรู้ และมอบรางวัล 10) สื่อการเรียน/แหล่งเรียนรู้ 11) การวัดและประเมินผล การหาคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการหาคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. นำแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 แผน ที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้น ไปให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน ได้ประเมินพิจารณาตามแบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ 1) รองศาสตราจารย์ ดร.เยาวเรศ ภักดีจิตร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สายทิตย์ ยะฟู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 3) อาจารย์ทองแดง สุกเหลือง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบประเมินความคิดเห็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับตามวิธีของ ลิเคอร์ท (Likert) (บุญชม ศรีสะอาด. 2560: 103) โดยมีเกณฑ์การประเมิน ดังนี้ 5 หมายถึง เหมาะสมมากที่สุด 4 หมายถึง เหมาะสมมาก 3 หมายถึง เหมาะสมปานกลาง 2 หมายถึง เหมาะสมน้อย 1 หมายถึง เหมาะสมน้อยที่สุด ตอนท้ายเป็นแบบปลายเปิดมีไว้ให้ผู้เชี่ยวชาญให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ 2. นำคะแนนที่ได้จากการประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ของผู้เชี่ยวชาญทั้ง ท่านมาประเมินวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเพื่อหาระดับความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เกณฑ์การประเมินระดับความคิดเห็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ ตามวิธีของ ลิเคอร์ท (Likert) (บุญชม ศรีสะอาด. 2545: 103) โดยถือเกณฑ์การประเมินเป็นคะแนน ดังนี้ ระดับความคิดเห็น ค่าเฉลี่ย เหมาะสมมากที่สุด 4.51 – 5.00 เหมาะสมมาก 3.51 – 4.50 เหมาะสมปานกลาง 2.51 – 3.50 เหมาะสมน้อย 1.51 – 2.50 เหมาะสมน้อยที่สุด 1.00 – 1.50 3. ในแต่ละด้านถ้าค่าเฉลี่ยมีค่าตั้งแต่ 3.51 ขึ้นไป และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานไม่เกิน 1.00 สรุปได้ว่าแผนการสอนนั้นมีความเหมาะสมสามารถนำไปใช้ได้ แต่ก่อนที่ผู้วิจัยจะนำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้ผู้วิจัยได้ปรับปรุงแก้ไขบางส่วนในแผนการจัดการเรียนรู้ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญจนได้แผนการจัดการเรียนรู้ที่มีความเหมาะสมโดยสมบูรณ์ ซึ่งผลการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมา จำนวน 10 แผน มีความเหมาะสมตามผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนที่ 1 การทดลอง 1:100 นำรูปแบบแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านตลิ่งสูงสามัคคี อำเภอชุมตาบง จังหวัด นครสวรรค์ จำนวน 4 กลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน จำนวน 26 คน (ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง) เดือน พฤษภาคม-มิถุนายน พ.ศ 2566 แล้วนำผลการทดลองมาวิเคราะห์หาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 1) เมื่อทดลองเรียบร้อยแล้วจึงออกหนังสือนำโดยโรงสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เพื่อนำเครื่องมือการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง“การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน 10 แผน ไปทดลองกับกลุ่มประชากร 2) นำแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง“การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์วิชาประวัติศาสตร์ ไปใช้จริงกับกลุ่มประชากร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1-4 เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้วิจัย สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ ตามขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวกับแนวทางการวัดผลและประเมินผลในชั้นเรียน ประถมศึกษาปีที่ 4 รายวิชาประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและวิธีการสร้างแบบทดสอบตลอดจนวิธีการหาคุณภาพแบบทดสอบ 2) กำหนดจุดประสงค์ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ และมาตรฐานและตัวชี้วัด 3) สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบแบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ 4) นำแบบทดสอบที่สร้างขึ้นเสนอผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน ชุดเดิม เพื่อพิจารณาความสอดคล้องของแบบทดสอบ และจุดประสงค์ความเหมาะสมของภาษามาหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ซึ่งกำหนดค่าคะแนนดังนี้ คะแนน +1 สำหรับข้อคำถามที่มีความสอดคล้องกับจุดประสงค์ คะแนน 0 สำหรับข้อคำถามที่ที่ไม่แน่ใจว่ามีความสอดคล้องกับจุดประสงค์ คะแนน -1 สำหรับข้อคำถามที่ไม่ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ 5) นำแบบทดสอบที่ผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญแล้วมาเลือกข้อสอบที่มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.50 ถึง 1.0 เป็นข้อสอบที่อยู่ในเกณฑ์ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาที่ใช้ได้ 6) นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ที่แก้ไขปรับปรุงตามที่ผู้เชี่ยวชาญเสนอแนะ จำนวน 40 ข้อ ไปทดลองใช้ (Try out) กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านตลิ่งสูงสามัคคี อำเภอชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์ ปีการศึกษา 2566 (ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง) จำนวน 26 คน เพื่อหาค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนกและค่าความเชื่อมั่น 7) นำกระดาษคำตอบของนักเรียนมาตรวจให้คะแนน ข้อถูกให้ 1 คะแนน ข้อที่ตอบผิดหรือไม่ตอบหรือตอบเกิน 1 ตัวเลือก ให้ 0 คะแนน แล้วนำมาวิเคราะห์หาค่าอำนาจจำแนกเป็นรายข้อ 8) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ที่มีความเที่ยงตรงในเนื้อหาได้ค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง .20 - .80 และมีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ .20 - 1.0 นำมาเป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 9) นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ที่ผ่านเกณฑ์ และคัดเลือกไว้จำนวน 40 ข้อ 10) จัดพิมพ์แบบทดสอบที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้วจำนวน 40 ข้อเพื่อนำไปใช้ในการศึกษากับกลุ่มประชากรต่อไป แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาประวัติศาสตร์ ผู้วิจัยได้พัฒนาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาประวัติศาสตร์โดยใช้เนื้อหาในหน่วยการเรียนรู้ทั้งหมด จำนวน 4 หน่วยการเรียนรู้นำมาจัดทำแบบแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาประวัติศาสตร์โดยนำเสนอตามหัวข้อต่อไปนี้
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :ผลการวิจัย เรื่อง“การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์”มีประเด็นการอภิปรายผลดังนี้ 1. ผลจากการวิจัยวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่าการพัฒนาคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ในวิชาประวัติศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์มีค่าประสิทธิภาพตามเกณฑ์ (E1) 83.48/ (E2) 84.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ E1 80 / E2 80 ทั้งนี้เพราะ ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าเอกสารและงานที่มีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ซึ่งสอดคล้องกับผลงานวิจัยของ สุรชัย บำรุงไทยชัยชาญ (2550 : 72-73) ได้ศึกษาการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้แบบจิ๊กซอว์ วิชา พ 31101 สุขศึกษา และพลศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพล อำเภอพล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 41 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แผนการจัดการเรียนรู
จำนวนเข้าชมโครงการ :45 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายทรงพล ภูมิอินทร์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย50

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด