รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000640
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากเสริมพลังท้องถิ่นจังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Creating added value for eco-culture products based on the concept of creative economy to raise the economic base, strengthen local power in Nakhon Sawan Province
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :การสร้างมูลค่าเพิ่ม สินค้าวัฒนธรรม นิเวศศิลป์ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ยกระดับเศรษฐกิจฐานราก
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม > ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :-
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :แผนงานวิจัยหรือชุดโครงการวิจัยและโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้นแล้ว
งบประมาณที่เสนอขอ :200000
งบประมาณทั้งโครงการ :180,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :17 มกราคม 2565
วันสิ้นสุดโครงการ :16 กรกฎาคม 2566
ประเภทของโครงการ :การวิจัยและพัฒนา
กลุ่มสาขาวิชาการ :มนุษยศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ไม่ระบุ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศและนโยบายรัฐบาล ที่เกี่ยวกับการพัฒนาเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative City) คือเมืองที่มีความชัดเจนในการนําความคิดสร้างสรรค์มาพัฒนาเมืองหรือชุมชน จากรากฐานของต้นทุนทางภูมิศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม และภูมิปัญญาภายในท้องถิ่น ชุมชนของแต่ละจังหวัด จนก่อให้เกิดเอกลักษณ์ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ โดยหน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชน ผู้ประกอบการ ภาคประชาสังคม ภาคการศึกษา รวมทั้งหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีบทบาท และมีการดําเนินงานร่วมกันอย่างสอดคล้องและเกื้อกูล สามารถสร้างมูลค้าเพิ่มทาง เศรษฐกิจส่งผลให้เมืองหรือชุมชนมีสภาพสังคม สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน โดยเป็นหนึ่งในโครงการ เพื่อขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและท้องเที่ยวอย่างบูรณาการ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการบริโภค และการลงทุน รวมถึงให้สามารถเพิ่มรายได้แก่ประชาชนของประเทศ และสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจและการค้าให้กับประเทศได้ แนวทางการพัฒนาได้ถูกผลักดันให้นํามาเป็นต้นแบบในการพัฒนาระดับท้องถิ่น แผนการพัฒนาจังหวัดนครสวรรค์ ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านการพัฒนาศักยภาพการผลิตทางการเกษตร อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป อุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว กําหนดกลยุทธ์ให้มีการส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน วิสาหกิจชุมชนและ SME เพื่อให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มนําไปสู่การยกระดับเศษฐกิจฐานราก (แผนพัฒนาจังหวัดนครสวรรค์. 2561- 2564 ) นอกจากนี้แผนการพัฒนาดังกล่าวยังสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างสรรค์การวิจัยเชิงพาณิชย์พัฒนานวัตกรรมและพันธกิจสัมพันธ์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ( แผนปฏิบัติราชการและแผนปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.2564) ที่มุุ่งพัฒนาบัณฑิตและบุคลากรควบคู่กับการพัฒนาท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ชัยนาท และจังหวัดอุทัยธานี ความสําคัญของที่มาดังกล่าว จึงนํามาสู่แผนการดําเนินงานในการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์ตามแนวเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากเสริมพลังท้องถิ่นจังหวัดนครสวรรค์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างสรรค์สินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์จังหวัดนครสวรรค์ ตามแนวเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรมสินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์จังหวัดนครสวรรค์ และเพื่อส่งเสริมการตลาดสินค้าวัฒนธรรม ยกระดับเศรษฐกิจฐานราก กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ การดําเนินงานดังกล่าวเป็นการส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมของสาขาวิชาการออกแบบสร้างสรรค์เชิงธุรกิจ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยและ นวัตกรรมเพื่อชุมชนและสังคม โดยกําหนดพื้นที่ในการดําเนินงานเป็นพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ในกลุ่มผู้ประกอบการหรือกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตสินค้าเชิงวัฒนธรรม ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขัน ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากผ้าและเส้นใยย้อมสีธรรมชาติ ที่เป็นผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ และเป็นนโยบายของทุกจังหวัด ที่มีมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทย กลุ่มผลิตภัณฑ์จากผักตบชวาและกลุ่มผลิตภัณฑ์จากใบตองแห่ง เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่สร้างสรรค์จากนวัตกรรม และสามารถผลักดันเข้าสูู่่สินค้าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้ กลุ่มผลิตภัณฑ์จากฝุ่นไม้และกะลาที่เป็นสินค้าที่แสดงถึงความเป็นอัตลักษณ์จังหวัดนครสวรรค์ นั่นคือ ผลิตภัณฑ์มังกรปั้นมือจากฝุ่นกะลา และผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญที่เป็นผลิตกลุ่มสินค้าที่บ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) รายการแรกของจังหวัดนครสวรรค์ โดยใช้องค์ความรู้แบบนิเวศน์ศิลป์(Eco Art) ที่เป็นการเชื่อมโยงการปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม โดยนําเอาการออกแบบที่นําทรัพยากรธรรมชาติหรือวัสดุธรรมชาติมาใช้ โดยคํานึงถึงการทําให้เกิดมลภาวะกลับเข้าสู่ระบบนิเวศน์น้อยที่สุด (พศุตม์ กรรณรัตนสูตร. 2560) หรือ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Product) ในการเพิ่มมูลค้าสินค้าให้แก่ชุมชนบนฐานทุนวัฒนธรรมของชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ จากกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ ต้นนํ้า กลางนํ้า สู่ปลายนํ้า ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสนับสนุนสินค้าชุมชนที่เลือกใช้สดุหรือกรรมวิธีการผลิตที่ไม่ทําลายสิ่งแวดล้อม ผสมผสานกับเทคนิคการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ การใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรม ในการเพิ่มมูลค้าผลิตภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติและการแปรรูปจากวัสดุเหลือใช้ที่ผสมผสานกับความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน เพื่อส่งเสริมศักยภาพชุมชนที่ทําให้เกิดการสร้างมูลค่า (Value Creation) จากต้นทุนทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีชีวิต ต้นทุนทางธรรมชาติที่มีในพื้นที่ มาพัฒนาต่อยอด ผลิตภัณฑ์เดิมหรือการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ในกลุ่มเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) สู่การขยายตลาดหรือการหากลุ่มเป้าหมายใหม่ ควบคู่ไปกับการพัฒนาผู้ผลิตสินค้าชุมชนสู่การเป็นผู้ประกอบการสร้างสรรค์ (Creative Entrepreneurs) เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากเสริมพลังท้องถิ่น จังหวัดนครสวรรค์
จุดเด่นของโครงการ :เป็นโครงการที่เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ กลุ่มสินค้าวัฒนธรรม ที่มีลักษณะเป็นงานนิเวศศิลป์ ที่มีการผลิตที่ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สู่การผลิตเชิงพาณิชย์ ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนของจังหวัดนครสวรรค์ ที่สร้างสรรค์จากอัตลักษณ์ของนครสวรรค์
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อสร้างสรรค์สินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์จังหวัดนครสวรรค์ตามแนวเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 2. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรมสินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์จังหวัดนครสวรรค์ 3. เพื่อส่งเสริมการตลาดสินค้าวัฒนธรรมเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :1. ขอบเขตด้านพื้นที่ แผนงานวิจัย การสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์ตามแนวคิดเศรษฐกิจ สร้างสรรค์เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากเสริมพลังท้องถิ่นจังหวัดนครสวรรค์คณะผู้วิจัยได้กําหนดพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ 2. ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรและกลุ่มตัวอย่างสําหรับงานวิจัยในครั้งนี้ คณะผู้วิจัยกําหนดกลุ่มเป้าหมาย เป็นกลุ่มผู้ประกอบการและกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และที่ดําเนินกิจการเกี่ยวกับสินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์ หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่เป็นการเชื่อมโยงการปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม โดยนําเอาการออกแบบที่นําทรัพยากรธรรมชาติหรือวัสดุธรรมชาติมาใช้โดยคํานึงถึงการทําให้เกิดมลภาวะกลับเข้าสู่ระบบนิเวศน์น้อยที่สุด ประกอบด้วย 2.1 ผู้ประกอบการประเภทผ้า เส้นใยและสิ่งทอ สีย้อมธรรมชาติ จํานวน 10 คน 2.2 ผู้ประกอบการประเภทฝุ่นกะลาและงานไม้ จํานวน 10 คน 2.3 ผู้ประกอบการประเภทเครื่องปั้นดินเผา จํานวน 10 คน 3. ขอบเขตด้านการจัดการชุดองค์ความรู้ในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ 3.1 ชุดองค์ความรู้ นวัตกรรม สูตรหรืออัตราส่วนสีย้อมธรรมชาติ และการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ ประเภทผ้า เส้นใย และสิ่งทอจากสี ย้อมธรรมชาติ จํานวน 5 สูตร 3.2 ชุดองค์ความรู้ นวัตกรรม สูตรหรืออัตราส่วนการผสมผงฝุ่นกะลา และการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ประเภทฝุ่นกะลาและงานไม้ จํานวน 1 สูตร 3.3 ชุดองค์ความรู้ในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องปั้นดินเผา จํานวน 1 ชุด 4. ขอบเขตด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ 4.1 ด้านการสร้างสรรค์สินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์จังหวัดนครสวรรค์ตามแนวเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ประเภทของใช้และของที่ระลึกจาก อัตลักษณ์ของจังหวัดนครสวรรค์ จําแนกตามวัสดุ ได้แก่ (1) ผลิตภัณฑ์ประเภทผ้า เส้นใย และสิ่งทอ สีย้อมธรรมชาติ เช่น กระเป๋า เสื้อผ้า สุภาพบุรุษและสตรี จํานวน 5 ชิ้น (2) ผลิตภัณฑ์ประเภทฝุ่นกะลาและงานไม้ เช่น กรอบรูปติดผนังหรือตั้งโชว์ หรือชุดโคมไฟ จํานวน 5 ชิ้น (3) ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องปั้นดินเผา เช่น ชุดกระถางต้นไม้ ชุดของที่ระลึก จํานวน 5 ชิ้น 4.2 ด้านการจัดทําคู่มือสําหรับการถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรมสินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์จังหวัดนครสวรรค์ จํานวน 3 ชุด ประกอบด้วย (1) คู่มือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทผ้า เส้นใย และสิ่งทอ สีย้อมธรรมชาติ จํานวน 1 ชุด (2) คู่มือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ ประเภทฝุ่นกะลาและงานไม้ จํานวน 1 ชุด (3) คู่มือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องปั้นดินเผา จํานวน 1 ชุด 4.3 ด้านการสร้างแบรนด์กลาง ของสินค้าวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ จํานวน 1 แบรนด์ 4.4 ด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ?กลางของสินค้า สําหรับการส่งเสริมการตลาด สินค้าวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ จํานวน 1 รูปแบบ 4.5 ด้านการจัดทําช่องทางการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ ให้กับสินค้าวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ จํานวน 1 ช่องทาง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ได้สินค้าใหม่ในด้านสินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์จังหวัดนครสวรรค์ตามแนวเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 2. ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรมสินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์จังหวัดนครสวรรค์ 3. ได้ช่องทางการตลาดสินค้าวัฒนธรรมเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัด 4. ได้หนุนเสริมกระบวนการด้วยการสร้างเครือข่ายกลุ่มสินค้าวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ 5. ได้สร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ และชุมชนท้องถิ่น 6. ได้จัดงานแสดงสินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์จังหวัดนครสวรรค์ (ตลาดสินค้าวัฒนธรรม)
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :การดำเนินแผนงานวิจัย เรื่อง การสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากเสริมพลังท้องถิ่นจังหวัดนครสวรรค์ ประกอบด้วย โครงการที่ 1 เรื่อง การสร้างสรรค์สินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์จังหวัดนครสวรรค์ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โครงการที่ 2 เรื่อง การถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรมสินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์ จังหวัด นครสวรรค์ โครงการที่ 3 เรื่อง การส่งเสริมการตลาดสินค้าวัฒนธรรมเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ โดยมีลักษณะเป็นการวิจัยประยุกต์ที่สนับสนุนแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ผสานแนวคิดเชิงนิเวศศิลป์ ที่มีกระบวนการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ บนฐานทุนวัฒนธรรมเดิมนั่นคือภูมิปัญญา ศิลปะวัฒนธรรม วิถีชีวิต และเอกลักษณ์ของชุมชน จากการศึกษาครั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้ลงพื้นที่ศึกษาบริบทของกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องตามลำดับ ดังนี้ 1. กลุ่มสินค้าวัฒนธรรม จังหวัดนครสวรรค์ 2. เอกลักษณ์นครสวรรค์ 3. องค์ความรู้แบบนิเวศน์ศิลป์ 4. แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 5. การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น 6. การถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี 7. การสร้างแบรนด์ 8. การออกแบบบรรจุภัณฑ์ 9. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :กรอบแนวคิดแผนงานวิจัย เรื่อง การสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากเสริมพลังท้องถิ่นจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งประกอบไปด้วย กระบวนการต้นน้ำ องค์ความรู้นิเวศน์ศิลป์ (Eco-Art) ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม (Green Product) และการสร้างสรรค์สินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์ จังหวัดนครสวรรค์ ตามแนวเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กระบวนการกลางน้ำ การเพิ่มมูลค่าสินค้าชุมชนที่มีเอกลักษณ์ การพัฒนาคนและทักษะอาชีพใหม่ กระบวนการถ่ายทอดและขยายผลองค์ความรู้นวัตกรรมสินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์ จังหวัดนครสวรรค์ กระบวนการปลายน้ำ การส่งเสริมการตลาดสินค้าวัฒนธรรมเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครสวรรค์
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :แผนงานวิจัย เรื่อง การสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากเสริมพลังท้องถิ่นจังหวัดนครสวรรค์ มีวิธีการดำเนินการวิจัย ดังนี้ 1. การสร้างสรรค์สินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์จังหวัดนครสวรรค์ ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 2. การถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรมสินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์จังหวัดนครสวรรค์ 3. การส่งเสริมการตลาดสินค้าวัฒนธรรมเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ 4. การเผยแพร่ผลงานวิจัยและการนําไปใช้ประโยชน์
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :เป็นโครงการที่เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ กลุ่มสินค้าวัฒนธรรม ที่มีลักษณะเป็นงานนิเวศศิลป์ ที่มีการผลิตที่ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สู่การผลิตเชิงพาณิชย์ ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนของจังหวัดนครสวรรค์ ที่สร้างสรรค์จากอัตลักษณ์ของนครสวรรค์ การดำเนินแผนงานวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ (1) การสร้างสรรค์สินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์จังหวัดนครสวรรค์ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (2) การถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรมสินค้าวัฒนธรรมเชิงนิเวศศิลป์ จังหวัดนครสวรรค์ และ (3) การส่งเสริมการตลาดสินค้าวัฒนธรรมเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ มีลักษณะเป็นการวิจัยประยุกต์ที่สนับสนุนแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ผสานแนวคิดเชิงนิเวศศิลป์ที่มีกระบวนการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ บนฐานทุนวัฒนธรรมเดิม ภูมิปัญญา ศิลปะวัฒนธรรม วิถีชีวิตและเอกลักษณ์ของชุมชน
จำนวนเข้าชมโครงการ :411 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายรพีพัฒน์ มั่นพรม บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย50
นางสาวกันยาพร กุณฑลเสพย์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย20
นางสาวสุจิตรา อยู่หนู บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย20
นายนัฐท์ธีรนนช์ รอดชื่น บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย10

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด