รหัสโครงการ : | R000000639 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | การจัดการด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ESPReL สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | Laboratory Safety Management in According to ESPReL Standard in Department of Health Science, Faculty of Science and Technology Nakhon Sawan Rajabhat University |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | ห้องปฏิบัติการ, ความปลอดภัย, คู่มือห้องปฏิบัติการ |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 10000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 10,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 17 มกราคม 2565 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 17 มกราคม 2566 |
ประเภทของโครงการ : | งานวิจัยบูรณาการ |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | อื่นๆ |
สาขาวิชาการ : | อื่นๆ |
กลุ่มวิชาการ : | อื่นๆ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ไม่ระบุ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | ในปัจจุบันการทำงานภายในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์มีความสำคัญมาก ทั้งในกระบวนการเรียนการสอนทั้งในระดับมัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษา รวมถึงในหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งในด้านของการจัดการการศึกษาและการตรวจวิเคราะห์และการบริการวิชาการในด้านวิทยาศาสตร์ ที่ต้องใช้อุปกรณ์เครื่องมือทางด้านวิทยาศาสตร์และสารเคมีในการเรียนการสอนหรือทำวิจัยซึ่งก่อให้เกิดอันตรายและเสี่ยงต่อความปลอดภัยของอาจารย์ นักศึกษา เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้สารเคมีหลากหลายชนิดสารเคมีบางชนิดเป็นสารที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอีกทั้งผู้เข้ามาใช้ห้องปฏิบัติการขาดความรู้ ความชำนาญในการใช้อุปกรณ์ รวมถึงข้อพึงระวังในเรื่องความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการจึงส่งผลให้เกิดปัญหาจากความผิดพลาดในการทดลองและอุปกรณ์เครื่องมือที่ทดสอบที่เกี่ยวข้องเกิดการชำรุดได้
การพัฒนาและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจะต้องพัฒนาทางด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ควบคู่กับการพัฒนาบุคคลให้มีความรู้และมีพฤติกรรมความปลอดภัย ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ในสถานศึกษามักมีหลากหลายสาขาวิชาที่ต้องเกี่ยวข้องกับการเข้าศึกษาค้นคว้าในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ซึ่งถ้าหากเกิดความปลอดภัยและพฤติกรรมในการปฏิบัติตนในห้องวิทยาศาสตร์ที่ไม่เหมาะสมก็อาจเกิดอันตรายได้
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เป็นสาขาที่ผลิตนักศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพในหลายแขนง คือหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต อาชีวอนามัยและความปลอดภัย หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต วิทยาศาสตร์การกีฬาและส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งในแต่ละหลักสูตรมีรายวิชาที่จำเป็นจะต้องมีห้องปฏิบัติการในรายวิชาที่มีการปฏิบัติเพื่อใช้ในการฝึกทักษะและปฏิบัติเพื่อให้เกิดทักษะและความชำนาญเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ ห้องปฏิบัติการเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่มีบทบาทและมีความสำคัญต่อกระบวนการเรียนการสอนในภาคปฏิบัติของนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ เพื่อให้เกิดความรู้ทักษะในสาขาวิชาชีพ ดังนั้นสิ่งที่มีผลต่อการฝึกทักษะปฏิบัติคือ ห้องปฏิบัติการมีความสะอาด มีการจัดวางเครื่องมือเป็นระเบียบ มีอุปกรณ์มีจำนวนเพียงพอต่อการเรียนการสอน สภาพแวดล้อมห้องปฏิบัติการเหมาะสมกับการเรียนการสอน จากการสำรวจห้องปฏิบัติการยังขาดการพัฒนากระบวนการการมีส่วนร่วมของห้องปฏิบัติการ การใช้เครื่องมือในการพัฒนาความปลอดภัย การบริหารการจัดการทางด้านเอกสาร เพื่อให้มีการจัดการระบบของห้องปฏิบัติการที่ดีขึ้น จึงควรหาแนวทางจัดการความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
ซึ่งเป็นข้อกำหนดไว้ในมาตรฐาน ESPReL ประกอบด้วย (1)การบริหารจัดการด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ (2) ระบบจัดการสารเคมี (3)ระบบจัดการของเสีย (4) ลักษณะทางกายภาพของห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์และเครื่องมือ (5)ระบบป้องกันและแก้ไขอันตราย(6)การให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ (7) การจัดการข้อมูลเอกสาร มาประยุกต์ใช้ในการจัดการห้องปฏิบัติการ เพื่อให้เกิดการจัดการห้องปฏิบัติการที่เป็นระบบและปลอดภัย ซึ่งส่งผลให้นักศึกษา อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และผู้มาใช้บริการทั้งด้านการเรียน การสอนการวิจัยและการบริการวิชาการได้มีความสะดวก เป็นระบบและปลอดภัยที่ได้มาตรฐานมากขึ้น จากความสำคัญดังกล่าว งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อจะจัดการห้องปฏิบัติการให้มีระบบมากขึ้น เนื่องจากเป็นห้องปฏิบัติการที่ยังไม่มีการจัดการระบบอย่างเป็นรูปธรรม มีการดำเนินกิจกรรมภายในห้องปฏิบัติการที่มีวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่หลากหลายและเฉพาะทาง โดยจะนำข้อกำหนดด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ 7 องค์ประกอบ มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการ |
จุดเด่นของโครงการ : | โครงการวิจัยนี้ จุดเด่นคือการนำแบบประเมิน ESPReL Checklist ซึ่งเป็นข้อกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ เป็นเอกสารเบื้องต้นเพื่อให้ห้องปฏิบัติการสามารถ ประเมินสถานภาพห้องปฏิบัติการบนเอกสารและในระบบออนไลน์ได้ นำไปสู่การปรับปรุงและยกระดับห้องปฏิบัติการได้ตามมาตรฐานความปลอดภัยต่อไป |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1. เพื่อพัฒนาระบบการจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการสาธารณสุขศาสตร์ (ห้อง 825) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ อาคาร 8 ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
2. เพื่อพัฒนาระบบการจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (ห้อง 834) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ อาคาร 8 ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
3. เพื่อจัดทำคู่มือการบริหารจัดการระบบความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการสาธารณสุขศาสตร์ (ห้อง 825) และห้องปฏิบัติการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (ห้อง 834) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ อาคาร 8 ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี |
ขอบเขตของโครงการ : | ขอบเขตของการวิจัย (Research Scope)
1. ขอบเขตด้านเนื้อหา (Content Scope)
ห้องปฏิบัติการสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ การจัดการระบบห้องปฏิบัติการโดยนำข้อกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ 7 องค์ประกอบ มาประยุกต์ใช้ในการจัดระบบ และจัดทำคู่มือการจัดการห้องปฏิบัติการความปลอดภัย
2 .ขอบเขตด้านประชากร (Population Scope)
นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (อาชีวอนามัยและความปลอดภัย) ชั้นปีที่ 1-4 รวมทั้งสิ้น 155 คน
3. ขอบเขตด้านตัวแปร (Variable Scope)
การศึกษาครั้งนี้เป็นการสำรวจความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ และทดสอบการใช้คู่มือห้องปฏิบัติก่อนปฏิบัติและหลังปฏิบัติในการใช้ห้องปฏิบัติการของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต(อาชีวอนามัยและความปลอดภัย) โดยการใช้แบบสำรวจ ESPReL Checklist และแบบทดสอบก่อนและหลังการใช้คู่มือห้องปฏิบัติการ
4. ขอบเขตด้านเวลา (Timing Scope)
การศึกษาครั้งนี้ ศึกษาในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม 2564 ถึงกันยายน พ.ศ. 2565
5. ขอบเขตด้านพื้นที่ (Area Scope)
ห้องปฏิบัติการ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ (ส่วนย่านมัทรี) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | 1 . ห้องปฏิบัติการสาธารณสุขศาสตร์ ห้องปฏิบัติการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มีระบบในการจัดการห้องปฏิบัติการที่เป็นระบบมากขึ้นและสอดคล้องกับข้อกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
2 มีคู่มือในการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการสาธารณสุขศาสตร์ ห้องปฏิบัติการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการใช้ห้องปฏิบัติการให้เกิดความปลอดภัยและเป็นระบบ |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการสาธารณสุขศาสตร์ (ห้อง 825) และห้องปฏิบัติการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (ห้อง 834) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ อาคาร 8 ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี และจัดทำคู่มือการจัดการระบบความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ โดยผู้วิจัยได้ทำการทบทวนวรรณกรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลในการสนับสนุนงานวิจัยเล่มนี้ โดยหัวข้อดังต่อไปนี้
1 ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
2 มาตรฐานความปลอดภัยกับห้องปฏิบัติการ
3 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | 1. สมมติฐานของการวิจัย
แบบประเมิน ESPReL Checklist และคู่มือการจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ส่งผลให้มีการจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
2. กรอบแนวคิดการวิจัย (Conceptual framework)
ตัวแปรอิสระ
- หลักสูตรที่ศึกษา
- ชั้นปี
-แบบประเมิน ESPReL Checklist รายการตามข้อกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ 7 องค์ประกอบ
ตัวแปรตาม
-คู่มือการจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
-ความรู้ ความเข้าใจก่อนและหลังการจัดทำคู่มือความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการปลอดภัย |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้
เป็นเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล โดยผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามขึ้นตามกรอบแนวคิดของการวิจัยและเนื้อหา ดังนี้
1 แบบสอบถามแบบตรวจสอบรายการ
2 แบบสอบถามข้อมูลการใช้ห้องปฏิบัติการ
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการดำเนินงานการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอน การเก็บข้อมูลจากห้องปฏิบัติการและกลุ่มตัวอย่าง ดำเนินการดังนี้
1.วิเคราะห์ข้อมูลจากการ Checklist รายการตามข้อกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ 7 องค์ประกอบ
2.จัดระบบห้องปฏิบัติการ ตามข้อกำหดมาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ 7 องค์ประกอบ
3.นำแบบสอบถามให้กับกลุ่มตัวอย่างเพื่อประเมินห้องปฏิบัติการ
4.เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามมาทำการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยได้วางระบบการวิเคราะห์ ดังนี้
1.ข้อมูลที่ได้จากเอกสาร ผู้วิจัยนำข้อมูลจากเอกสารซึ่งประกอบด้วย เอกสาร บทความ ข้อกำหนด งานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย นำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
2.สถิติเชิงพรรณนา นำมาวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อใช้ในการพรรณนาลักษณะของข้อมูลทั่วไป และนำเสนอในรูปแบบของการแจกแจงความถี่
3.สถิติ t-test จะนำมาวิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างในการทำแบบทดสอบ เพื่อทดสอบความแตกต่าง เปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ย ใช้สำหรับการทดสอบข้อมูลที่มีการแจกแจงปกติ (Normal Distribution) โดยกำหนดความเชื่อมั่นระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาระบบการจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการสาธารณสุขศาสตร์ (ห้อง 825) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ อาคาร 8 ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี 2) เพื่อพัฒนาระบบการจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (ห้อง 834) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ อาคาร 8 ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี 3) เพื่อจัดทำคู่มือการจัดการระบบความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการสาธารณสุขศาสตร์ (ห้อง 825) และห้องปฏิบัติการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สำหรับนักศึกษา โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 ที่ใช้ห้องปฏิบัติการสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ จำนวน 120 คนโดยในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ
ผลการศึกษาพบว่า 1) จากการใช้เครื่องมือการสำรวจห้องปฏิบัติการ โดยใช้ ESPReL Checklist ห้องปฏิบัติการสาธารณสุขศาสตร์และห้องปฏิบัติการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ที่ทำได้ครบถ้วนตามองค์ประกอบข้อย่อย มีแค่องค์ประกอบที่ 1,7 องค์ประกอบที่ต้องปรับปรุงเกณฑ์การประเมิน คือ องค์ประกอบที่ 4-6 ส่วนองค์ประกอบที่ 2-3 ไม่เกี่ยวข้อง เนื่องจากสาขาวิชาวิ |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 72 ครั้ง |