รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000638
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การสร้างแอปพลิเคชันเพื่อพัฒนาการรับรู้การใช้คำปรากฎร่วมของนักศึกษาที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The Application Establishment to Develop the Collocation Awareness of EFL Students
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :คำปรากฏร่วม, การสร้างแอปพลิเคชั่น
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ > สาขาวิชาภาษาต่างประเทศ
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :50000
งบประมาณทั้งโครงการ :50,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :17 มกราคม 2565
วันสิ้นสุดโครงการ :16 มกราคม 2566
ประเภทของโครงการ :การวิจัยและพัฒนา
กลุ่มสาขาวิชาการ :มนุษยศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ไม่ระบุ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ในปัจจุบันไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าภาษาอังกฤษนั้นทวีความสำคัญมากขึ้นในฐานะภาษาโลก (English as a global language) เนื่องจากเป็นภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารในยุคแห่งสังคมข่าวสารโดยใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลข่าวสาร การติดต่อซื้อ ขายการศึกษาต่อการประกอบธุรกิจ การท่องเที่ยว รวมถึงการแสวงหาวิทยาการใหม่ ๆ อาจกล่าวได้ว่า ภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ภาษาอังกฤษจึงถือเป็นภาษาที่สองที่สำคัญของ เกือบทุกประเทศบนโลกและในด้านการดำเนินชีวิตประจำวันของเราทุกคนไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่าจะต้องมีการปฏิสัมพันธ์กับชาวต่างชาติเสมอ ด้วยเหตุนี้การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษจึงยึดแนวการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารมากขึ้นโดยเน้นความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารและให้ความสำคัญกับการพัฒนาการใช้ภาษาทุกทักษะ คือ ทักษะการฟัง การพูด การอ่านและการเขียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้และประสบการณ์การเรียนมาใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ การใช้ภาษาอังกฤษ ไม่ว่าในฐานะเป็นภาษาที่สองหรือเป็นภาษาต่างประเทศ คำศัพท์นับว่ามีบทบาทที่สำคัญเพราะคำศัพท์เป็นส่วนหนึ่งของภาษาที่ช่วยพัฒนาการเรียนรู้และช่วยให้มนุษย์สื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง (Vygotsky, 1986) สำหรับการเรียนรู้ภาษาที่สองนั้น ผู้เรียนจำเป็นต้องรู้คำศัพท์ที่จะใช้ในภาษานั้นโดยผู้เรียนที่มีคำศัพท์จำนวนมากและมีความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ประเภทต่าง ๆจะมีความสามารถในการสื่อสารที่ดี ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ Lewis (2000) ผู้เรียนภาษาต้องเรียนรู้คำศัพท์ให้มากที่สุดเพราะมีมากกว่า 70% ของคำศัพท์ที่เป็นคำปรากฏร่วมที่ถูกนำมาใช้ในทักษะทางการสื่อสารทั้ง 4 ด้าน คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน และ Nation (2001) ได้กล่าวว่า ความรู้ด้านคำศัพท์นั้น สามารถแบ่งได้ 2 ประเภทหลัก คือ ความรู้คำศัพท์ในเชิงรับ (Receptive knowledge) และความรู้คำศัพท์ในเชิงสร้าง (Productive knowledge) ซึ่งความรู้คำศัพท์เชิงรับ คือความสามารถในการเข้าใจคำศัพท์เมื่อได้ฟัง หรือได้อ่าน และความรู้เชิงสร้างคือความสามารถการนำคำศัพท์ ไปใช้เพื่อการสื่อสารได้ นอกจากนี้ การเรียนรู้คำศัพท์ที่มีประสิทธิภาพคือ การเรียนรู้คำศัพท์ในลักษณะกลุ่มคำ (Lexical chunks) แทนที่การเรียนรู้คำศัพท์ในรูปแบบคำเดี่ยว ๆ และอาศัยการเชื่อมคำศัพท์ด้วยระบบ ไวยากรณ์ (Hill, 2000) นักภาษาศาสตร์หลายท่านไม่ว่าจะเป็น Lewis (2001) Hill (2001) Conzett (2001) Woolard (2001) และ Nation (2001) ต่างมีความเห็นตรงกันว่า การเรียนรู้กลุ่มคำชนิดที่เรียกว่า คำปรากฏร่วม หรือ Collocations นั้น มีความสำคัญและช่วยให้ผู้เรียนภาษาต่างประเทศ หรือภาษาที่สอง สามารถประสบความสำเร็จในการใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องและคล่องแคล่ว นอกจากนี้ (Shamsudin et al., 2013) ได้กล่าวว่า คำปรากฏร่วม (Collocations) เป็นลักษณะของภาษารูปแบบหนึ่งที่มีความสำคัญในการเรียนภาษาต่างประเทศ สาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยส่วนใหญ่เขียนและพูดภาษาอังกฤษไม่ได้มาตรฐานเพราะผู้เรียน มักถูกสอนเพียง 2 ส่วน คือ คำศัพท์และไวยากรณ์แต่ในความเป็นจริงคำศัพท์ในภาษาอังกฤษส่วนใหญ่จะถูกใช้ เป็นกลุ่มคำองค์ประกอบที่สำคัญในการแต่งประโยคภาษาอังกฤษให้ได้มาตรฐาน มี 3 ส่วน คือ คำศัพท์ (Vocabulary) + ไวยากรณ์ (Grammar) + คำปรากฏร่วม (Collocations) ซึ่งคำปรากฏร่วม (Collocations) เป็นการเชื่อมคำการจัดวางคำหรือกลุ่มคำที่จำเป็นต้องใช้ร่วมกันในประโยคที่เจ้าของภาษานิยมใช้และเห็นว่า ถูกต้องตามมาตรฐาน (เนาวรัตน์ อินทรประสิทธิ์, 2556) ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ สุปรานี พุ้ยมอมและคณะ (2555) ที่กล่าวว่าปัญหาในการเรียนภาษาอังกฤษคือผู้เรียนมักได้รับการสอนที่เน้นเรื่องไวยากรณ์เป็นอันดับแรกแต่ขาดการเน้นเรื่องการสื่อสารหรือวงคำศัพท์ต่าง ๆ เช่น กริยาวลี (Verb Phrase) สำนวน (Idiom) คำแสลง (Slang) หรือคำปรากฏร่วม (Collocation) และหากขาดความรู้ในเรื่องการใช้คำศัพท์ที่ปรากฏร่วม อาจทำให้ผู้ฟังโดยเฉพาะเจ้าของภาษาไม่เข้าใจสิ่งที่ผู้พูดหรือผู้เขียนต้องการสื่อความหมายหรืออาจเป็นที่เข้าใจแต่ยังสับสนอยู่บ้าง (McCarthy & O’Dell, 2007) ผู้เรียน EFL ส่วนใหญ่มักเกิดข้อผิดพลาดในการใช้ collocations เนื่องจากการแทรกแซงของภาษาแม่ (ภู่เจริญศิลป์, 2557) การใช้ collocations ที่ไม่ถูกต้อง และไม่เหมาะสมนั้นแสดงให้เห็นถึงความสามารถทางภาษาอังกฤษของผู้เรียนและนอกจากนี้ปัจจัยอื่นที่ต้องให้ ความสำคัญในเรื่อง คืออิทธิพลของ L1 นอกจากนี้ยังมีหลักฐานการวิจัย และ (Yamashita และ Jiang, 2010) ที่ชี้ให้เห็นว่า L1 นั้นมีอิทธิพลต่อการใช้ คำปรากฏร่วมของผู้เรียน Wilkins (1972 as cited in Lewis (Ed.), 2000) กล่าวว่า หากปราศจากไวยากรณ์ก็พอสื่อสารได้แต่หากปราศจากคำศัพท์แล้วก็ไม่สามารถสื่อสารได้เลย ดังนั้น การเรียนการสอนภาษา ผู้สอนควรสอดแทรกคำศัพท์ที่ปรากฏร่วม (Collocation) ในทุกรายวิชาทาง ภาษา ซึ่งโดยปกติแล้วการใช้ภาษาในการสื่อสารนั้นใช้การสื่อสารในรูปแบบประโยคที่ประกอบด้วยกลุ่มคำหลายๆกลุ่มภาษาประกอบด้วยคำศัพท์ที่มีไวยากรณ์อยู่ในตัวไม่ใช่ไวยากรณ์เป็นตัวกำหนดคำศัพท์ และสิ่งนี้คือ หัวใจสำคัญของแนวการสอนภาษาที่เน้นคำศัพท์ (lexical approach) นอกจากนั้นแล้ววงศ์ วรรธนพิเชษฐ (2556) ได้เสนอแนวคิดว่า คำปรากฏร่วม (Collocation) เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ถูกใช้ในภาษาอังกฤษเป็น อย่างมากแต่กลับถูกกละเลยในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ดังนั้นการเน้นการท่องจำคำศัพท์จำนวนมากจึง ไม่ทำให้ประสบความสำเร็จในการเรียนภาษาอังกฤษ เทียบเท่ากับการฝึกให้จดจำคำศัพท์เป็นกลุ่มคำและหาก ผู้เรียนรู้จักคำปรากฏร่วมหลายคำก็จะสามารถใช้ประโยคภาษาอังกฤษที่ถูกต้องได้มากขึ้น จากที่กล่าวมาข้างต้น คณะผู้วิจัยเห็นถึงความสำคัญของคำปรากฏร่วมที่มีต่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันที่ใช้พัฒนาการรับรู้การใช้ คำปรากฏร่วมของนักศึกษาที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองเพื่อนำผลการวิจัยและแอปพลิเคชัน ที่ได้มาเป็นแนวทางในการพัฒนาและจัดการเรียนการสอน และส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการใช้ภาษาอังกฤษให้ใกล้เคียงกับเจ้าของภาษาได้มากยิ่งขึ้น
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1.เพื่อศึกษาความผิดพลาดของการใช้คำปรากฏร่วมของนักศึกษาที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง 2.เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันที่ใช้พัฒนาการรับรู้การใช้คำปรากฏร่วมของนักศึกษาที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :1.การวิจัยนี้มุ่งบริบทการใช้คำปรากฏร่วมเชิงไวยากรณ์ (Grammatical Collocation) โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1.1 Adjective + Preposition 1.2 Verb + Preposition 1.3 Noun + Preposition 2.การวิจัยนี้มุ่งศึกษาคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน ประมาณ 3,000 คำโดยเรียกคำศัพท์กลุ่มนี้ว่า Oxford 3000? และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้พจนานุกรมภาษาอังกฤษ Oxford Collocations Dictionary for Students of English (2009) 3. ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาระดับความผิดพลาดของการใช้คำปรากฏร่วมได้แก่ นักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษ และสาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต และนักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษ หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 60 คน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1.ผลการวิจัยครั้งนี้ทำให้ได้ทราบถึง ข้อผิดพลาด ในการใช้คำปรากฏร่วมของนักศึกษาที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองมหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ 2.ผลการวิจัยครั้งนี้ทำให้ได้แนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนคำศัพท์รวมทั้งกลวิธีการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษในลักษณะคำปรากฏร่วมมากยิ่งขึ้น 3.ผลการวิจัยครั้งนี้ทำให้ได้แอปพลิเคชันที่ส่งผลต่อการพัฒนาความสามารถในการใช้คำปรากฎร่วมภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้อง ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :1. จัดทำแบบทดสอบวัดความสามารถด้านการใช้คำปรากฏร่วม (Collocation) โดยเป็นแบบทดสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 60 ข้อ จากนั้นทำการตรวจสอบคุณภาพความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) จากผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาอังกฤษ จำนวน 3 ท่าน ซึ่งค่าความเที่ยงตรงในเชิงเนื้อหามีค่า IOC มากกว่า 0.5 มีจำนวน 45 ข้อ ผู้วิจัยจึงนำแบบทดสอบไปเก็บข้อมูลในขั้นตอนต่อไป 2. ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการใช้คำปรากฏร่วม (Collocation) จากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ และ หลักสูตรครุศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน 60 คน 3. นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อผิดพลาดด้านการใช้คำปรากฏร่วมและสรุปเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อพัฒนาการรับรู้การใช้คำปรากฏร่วมของนักศึกษาที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 4. นำแอปพลิเคชันไปทดลองใช้กับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ จำนวน 30 คน 5. นำข้อผิดพลาดและข้อเสนอแนะจากผู้ทดลองใช้แอปพลิเคชันมาปรับปรุงพัฒนาแอปพลิเคชันให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น 6. ประเมินคุณภาพแอปพลิเคชันจากผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษและด้านเทคโนโลยี จำนวน 3 คน โดยการตอบแบบคุณภาพแอปพลิเคชัน โดยใช้แบบประเมินมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (5 Rating Scale) จำนวน 20 ข้อ 7. ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้แอปพลิเคชัน โดยการตอบแบบความพึงพอใจแอปพลิเคชัน จากนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ และ หลักสูตรครุศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน 60 คน โดยใช้แบบประเมินมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (5 Rating Scale) จำนวน 20 ข้อ
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :70 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสุภาวดี ในเสนา บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย50
นางสาวธิดากุล บุญรักษา บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย50

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด