รหัสโครงการ : | R000000637 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาที่ส่งเสริมทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่21 สำหรับโรงเรียนประถมศึกษานอกเขตเมือง |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | Model of developing teachers in learning experiences organization based on stem education promote thinking skills of early childhood in the 21st century for Primary Schools outside the municipality |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | รูปแบบการพัฒนาครู สะเต็มศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย ทักษะการคิด |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะครุศาสตร์ > ภาควิชาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 50000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 50,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 17 มกราคม 2565 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 17 มกราคม 2566 |
ประเภทของโครงการ : | การวิจัยและพัฒนา |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | สังคมศาสตร์ |
สาขาวิชาการ : | สาขาการศึกษา |
กลุ่มวิชาการ : | อื่นๆ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ระดับชาติ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | สังคมแห่งศตวรรษที่ 21 ที่มีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการเทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างรวดเร็ว
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเป็นวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่ซึ่งเป็นสังคมแห่งความรู้ มีบทบาทสำคัญในสังคมในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศในมิติของ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล?อม การศึกษา (สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, 2557) ในส่วนของการศึกษามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งเพราะการศึกษาจะช่วยพัฒนาคน พัฒนาสังคมและพัฒนาประเทศชาติให้มีความก้าวหน้าทั้งทางด้านวิทยาการและเทคโนโลยีให้มีความเท่าเทียมกับนานาอารยประเทศและช่วยนำพาประเทศให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันและยกระดับเศรษฐกิจสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับการมุ่งสร้างกำลังคนด้านสะเต็ม เพื่อยกระดับประเทศเข้าสู่ประเทศไทย 4.0 โดยอาศัยแนวคิด 2 ประการคือ การสร้างความเข?มแข็งจากภายใน และภายในประเทศเข?มแข็งก็จะเชื่อมโยงกับประเทภายนอก (สุวิทย? เมษินทรีย?, 2559 อ้างถึงใน สำนักวิชาการสำนักงานเลขาธิการสภาผู?แทนราษฎร)
สะเต็มศึกษา (STEM Education) เป็นแนวทางจัดการศึกษาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สามารถบูรณาการความรู้ทั้ง 4 สาขาวิชา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ คณิตศาสตร์ ไปใช้ในการเชื่อมโยงแก้ไขปัญหาในชีวิตจริงรวมทั้งพัฒนากระบวนหรือผลผลิตใหม่ควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2558) โดยผู้เรียนจะได้รับการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ ฝึกทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ การสืบเสาะหาข้อมูล ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง การทำงานเป็นกลุ่ม และนำความรู้มาออกแบบชิ้นงานหรือวิธีการเพื่อตอบสนองความต้องการหรือแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในการดำชีวิตในศตวรรษที่21 สะเต็มศึกษามีลักษณะสำคัญ 5 ประการคือ1) การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้บูรณาการความรู้และทักษะของวิชาที่เกี่ยวข้องในสะเต็มศึกษาในระหว?างเรียน 2) การท้าทายผู้เรียนให้ได้แก้ปัญหาหรือสถานการณ์ที่ผู้สอนกำหนด 3) มีกิจกรรมกระตุ้นการเรียนรู้แบบตื่นตัวของผู้เรียน 4) การพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ให้กับผู้เรียนผ่านกิจกรรมหรือสถานการณ์ที่ครูผู้สอนกำหนดให้และ 5) การเชื่อมโยงสถานการณ์หรือปัญหาที่ใช้ในกิจกรรมกับชีวิตประจำวันของผู้เรียนหรือการประกอบอาชีพใน (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2558)
ในปัจจุบันการศึกษาในประเทศไทยใช้นโยบาย STEM ในการพัฒนาระบบการศึกษาโดยเริ่มตั้งแต่ระดับการศึกษาปฐมวัยจนถึงระดับอุดมศึกษา (ดวงกมล เพิ่มพูนทวีทรัพย์, 2554) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเป?นเรื่องใหม่จึงทําให้ครูมีความรู้ความเข้าใจที่คลุมเครือทั้งในด้านความหมายรูปแบบและแนวทางในการจัดการเรียนการสอน จากการติดตามผลการดําเนินงานของผู้บริหารสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาวิชาชีพครูตามแนวทางสะเต็มศึกษาพบว่า ครูยังมีความเข้าใจที่ไม่ชัดเจนเกี่ยวกับแนวทางการจัดการเรียนรู?แบบสะเต็มศึกษา (สุทธิดา จํารัส, 2559) และสอดคล้องกับงานวิจัยของ ปรียาภรณ์ คงแก้ว (2561) ที่ทำการศึกษาสภาพและปัญหาของครูในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาสําหรับเด็กวัยอนุบาล พบว่า ในด้านการวางแผนการจัดการเรียนรู้ครูพบปัญหาในการคัดเลือกสาระการเรียนรู้โดยไม่สามารถคัดเลือกเนื้อหาที่เชื่อมโยงสาระการเรียนรู้กับปัญหาในชีวิตประจําวันของเด็กได้ขาดความเข้าใจเกี่ยวบูรณาการสาระการเรียนรู้สะเต็มศึกษาในส่วนของสาระการเรียนรู้เทคโนโลยีและสาระการเรียนรู้วิศวกรรมศาสตร์ทําให้ไม่สามารถคัดเลือกเนื้อหามาบูรณาการได้ครบทั้ง 4 สาระการเรียนรู้ในด้านการจัดการเรียนรู้พบ
ว่าครูพบปัญหาในการส่งเสริมให้เด็กมีส่วนร่วมในการนําข้อมูลมาใช้ในการออกแบบชิ้นงานหรือแก้ไขปัญหาที่มีลักษณะแปลกใหม์ในด้านการประเมินผลการเรียนรู้พบว่าครูมีปัญหาประเมินความคิดสร้างสรรค์ของเด็กในการออกแบบชิ้นงานหรือวิธีแก้ไขปัญหา การพัฒนาครูปฐมวัยให้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถจัดประสบการณ์แบบสะเต็มให้กับเด็กปฐมวัยได้เกิดการเรียนรู้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับวัย เนื่องจากครูปฐมวัยมีความสำคัญอย่างยิ่งในการวางรากฐานการเรียนรู้ให้กับเด็กปฐมวัยและมีบทบาทที่สำคัญในการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ ดังนั้นครูปฐมวัยจึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อส?งเสริมทักษะการคิด และให้เด็กปฐมวัยมีความสามารถที่จะดำเนินชีวิตต่อไปได้ในศตวรรษที่ 21
ความเหลื่อมลํ้าทางการศึกษายังคงเป็นประเด็นท้าทายสำคัญของประเทศไทยโดยเฉพาะโรงเรียนนอกเขตเมืองเป็นโรงเรียนที่มีบริบทที่อยู่นอกเขตเมืองเป็นชุมชนชนบทที่มีความยากจน ขาดแคลน ขาดโอกาส
ขาดการกระจายรายได้ไปสู่ชุมชนที่อยู่นอกเขตเศรษฐกิจ ทำให้เกิดขาดแคลนงบประมาณและบุคลากรครูที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในรายวิชา และครูไม่ครบชั้นเรียน เนื่องจากในปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดสัดส่วนครูไว้ที่ครู 1 คนต่อนักเรียน 20 คน (อัครนัย ขวัญอยู่, 2558) ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลให้นักเรียนขาดโอกาสที่จะได้เรียนรู้การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่นคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้เพราะโรงเรียนขาดแคลนงบประมาณ และขาด แคลนครูที่มีความรู้ในการใช้เทคโนโลยี และปัญหาเหล่านี้ส่งผลให้ครูในโรงเรียนนอกเขตเมืองรับภาระงานที่หนักกว่าครูทั่วไป เพราะต้องทำการสอนหลายชั้นและยังต้องช่วยผู้บริหารจัดทำงาน เอกสารต่าง ๆ เพื่อส่งให้กับหน่วยงานต้นสังกัด (กัญภร เอี่ยมพญา,2565) ทำให้ครูไม่มีเวลาในการพัฒนาตนเองและหาความรู้ใหม่ๆในการออกแบบการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมเด็กในศตวรรษที่21
ดังนั้นคณะผู้วิจัย จึงสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาครูด?านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาที่ส่งเสริมทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่21 สำหรับโรงเรียนประถมศึกษานอกเขตเมือง เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาครูปฐมวัยให้มีความรู้ความเข้าใจในการจัดประสบการณ์แบบสะเต็มศึกษาและสามารถนำความรู้ไปจัดประสบการณ์ให้กับเด็กได้เกิดองค์ความรู้โดยบูรณาการ 4 วิชา และนำมาประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยเชื่อมโยงในกระบวนการเรียนรู้ การสร้างผลงานหรือชิ้นงานจากการคิด และการแก้ปัญหาอันส่งผลต่อการเตรียมความพร้อมให้กับเด็กปฐมวัยให้เกิดทักษะการดำเนินชีวิตสู่ความสำเร็จในศตวรรษที่ 21 |
จุดเด่นของโครงการ : | การพัฒนาครู |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1. เพื่อสร้งรูปแบบการพัฒนาครูปฐมวัยด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาที่ส่งเสริมทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนประถมศึกษานอกเขตเมือง
2. เพื่อศึกษาผลการพัฒนาครูปฐมวัยด?านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาที่ส่งเสริมทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่21ในโรงเรียนประถมศึกษานอกเขตเมือง |
ขอบเขตของโครงการ : | การวิจัยเรื่องรูปแบบการพัฒนาครูด?านการจัดประสบการณ?การเรียนรู?แบบสะเต็มศึกษาที่ส?งเสริมทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 สำหรับโรงเรียนประถมศึกษานอกเขตเมือง มีขอบเขตการวิจัยดังนี้
1. ขอบเขตด้านกระบวนการวิจัย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาครูด?านการจัดประสบการณ?การเรียนรู?แบบสะเต็มศึกษาที่ส?งเสริมทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่21 สำหรับโรงเรียนประถมศึกษานอกเขตเมือง โดยการดำเนินการวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา (Research and Development) และกระบวนการมีส่วนร่วมของ ครู นักการศึกษาในมิติการศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาความต้องการของครู
2. ขอบเขตด้านแหล่งข้อมูล การวิจัยครั้งนี้กำหนดขอบเขตแหล่งข้อมูลดังนี้ 1. ครูปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตประถมศึกษานครสวรรค์ 1-3 ที่อยู่นอกเขตเมืองนครสวรรค์ ในอำเภอโกรกพระ อำเภอเก้าเลี้ยว อำเภอพยุหะคีรี อำเภอลาดยาว อำเภอชุมแสง อำเภอแม่เปิน อำเภอชุมตาบง อำเภอบรรพตพิสัย อำเภอท่าตะโก อำเภอไพศาลี อำเภอตาคลี อำเภอหนองบัว อำเภอตากฟ้า อำเภอแม่วงศก์ จำนวน 450 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
2. ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาปฐมวัย และการวัดและประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย ด้านหลักสูตรและการสอน จำนวน 5 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
3. ขอบเขตด้านตัวแปร
1. ตัวแปรต้น คือ รูปแบบการพัฒนาครูด?านการจัดประสบการณ?การเรียนรู?แบบสะเต็มศึกษาที่ส?งเสริมทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21
2. ตัวแปรตาม
2.1 ความรู้ความเข้าใจของครูในการจัดประสบการณ?การเรียนรู?แบบสะเต็มศึกษาที่ส?งเสริมทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21
2.2 ความพึงพอใจของครูปฐมวัยในการใช้รูปแบบการพัฒนาครูด?านการจัดประสบการณ?การเรียนรู?แบบสะเต็มศึกษาที่ส?งเสริมทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | 1. ครูปฐมวัยความรู้ความเข้าใจ มีประสบการณ์และมีความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาที่ส่งเสริมทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21
2. รูปแบบการพัฒนาครูด?านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาที่ส?งเสริมทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดประสบการณ?การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาที่ส่เสริมทักษะการคิดของเด็ก
ปฐมวัยในศตวรรษที่21 สำหรับโรงเรียนประถมศึกษานอกเขตเมือง ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่
เกี่ยวข้องดังนี้
1. แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับรูปแบบ
1.1 ความหมายของรูปแบบ
1.2 องค?ประกอบของรูปแบบ
1.3 ประเภทของรูปแบบ
1.4 การพัฒนารูปแบบ
1.5 การตรวจสอบรูปแบบ
2. แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดประสบการณ?การเรียนรู?แบบสะเต็มศึกษา
2.1 ความหมายของการจัดประสบการณ?เรียนรู?แบบสะเต็มศึกษา
2.2 หลักการจัดประสบการณ?การเรียนรู?แบบคิดสะเต็มศึกษา
2.3 สาระการเรียนรู?สะเต็มศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
2.3 การวัดและประเมินผลการจัดประสบการณ?การเรียนรู?แบบสะเต็มศึกษา
2.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข?อง
3. แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข?องทักษะการคิดของเด็กปฐมวัย
3.1 ความหมายของทักษะการคิด
3.2 ความสำคัญของทักษะการคิด
3.3 องค?ประกอบของทักษะการคิด |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | - |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | การวิจัยเรื่อง รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาที่ส่งเสริมทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่21 สำหรับโรงเรียนประถมศึกษานอกเขตเมือง ดำเนินการในลักษณะของการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) ที่ใช้กระบวนการวิจัยเป็นพื้นฐานในการพัฒนา รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาที่ส่งเสริมทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 สำหรับโรงเรียนประถมศึกษานอกเขตเมือง ขั้นตอนการพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูจากการศึกษา เอกสาร แนวคิด งานวิจัย ทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบ และจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการวิจัยผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาที่ส่งเสริมทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่21 สำหรับโรงเรียนประถมศึกษานอกเขตเมือง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ คือครูผู้สอนในชั้นปฐมวัย จำนวน 450 คน ขั้นตอนที่ 2 ออกแบบและพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาที่ส่งเสริมทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 สำหรับโรงเรียนประถมศึกษานอกเขตเมือง ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้และประเมินรูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ สะเต็มศึกษาที่ส่งเสริมทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่21 สำหรับโรงเรียนประถมศึกษานอกเขตเมือง กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูผู้สอนในชั้นปฐมวัย |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | - |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 209 ครั้ง |