รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000636
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมสุขภาวะทางกายสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีภาวะน้ำหนักเกิน
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Development of a program to promote physical well-being for preschool children who are overweight
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :โปรแกรมส่งเสริมสุขภาวะทางกาย,เด็กปฐมวัยที่มีภาวะน้ำหนักเกิน
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะครุศาสตร์ > ภาควิชาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :50000
งบประมาณทั้งโครงการ :50,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :17 มกราคม 2565
วันสิ้นสุดโครงการ :17 กรกฎาคม 2567
ประเภทของโครงการ :การวิจัยและพัฒนา
กลุ่มสาขาวิชาการ :มนุษยศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาการศึกษา
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2559-2560) มีเป้าหมายสำคัญร่วมกัน คือการพัฒนาและสร้างเสริมศักยภาพคนไทยให้เป็น ศูนย์กลางในการพัฒนาประเทศสู่เป้าหมายที่วางไว้ โดยเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า การพัฒนาคนให้เติบโต อย่างมีคุณภาพต้องเริ่มต้นตั้งแต่ช่วงปฐมวัย เพราะเป็นช่วงเวลา สร้างรากฐานแห่งการพัฒนาในทุกด้าน ทั้ง ด้านร่างกาย อารมณ์สังคม สติปัญญา ภาษา จริยธรรม และความคิดสร้างสรรค์ อีกทั้งสมองยังมีการพัฒนา อย่างรวดเร็วในช่วง 3 ขวบปีแรก ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สำคัญอย่างมากต่อพัฒนาการและอนาคตของเด็ก เด็กต้อง ได้รับความรักและการดูแลเอาใจใส่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ จึงจะสามารถ พัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการคว้าโอกาสในชีวิต สามารถล้มแล้วลุกขึ้นได้ และเจริญเติบโตอย่างเข้มแข็ง จากข้อมูลรายงานประจำ ปี 2565 เฝ้าระวังทางโภชนาการ (กรมอนามัยสำนักโภชนาการ,2565) พบว่า ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปีมีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ปีงบประมาณ 2561-2565 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 9.2 ในปีงบประมาณ 2561 เป็นร้อยละ 11.5 ในปีงบประมาณ 2562 และลดลงเป็นร้อยละ 9.1 และ 8.7 ในปีงบประมาณ 2563 และปีงบประมาณ 2564 ตามลำดับ และเพิ่มขึ้นในปีงบประมาณ 2565 เป็นร้อย ละ 9.5 เมื่อพิจารณารายเขตสุขภาพ พบว่า ในปีงบประมาณ 2565 เขตสุขภาพที่ 7, 10 และ 12 มีร้อยละของ เด็กอายุ 0-5 ปี มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ผ่านค่าเป้าหมายที่กำหนด (ไม่เกินร้อยละ 9) คือ ร้อยละ 7.8, 8.1 และ 7.2 ปัญหาภาวะน้ำหนักเกินในเด็ก จะส่งผลให้เด็กเหล่านี้พบกับปัญหาโรคไม่ ติดต่อเรื้อรังเพิ่มขึ้น โรคอ้วน เป็นภาวะทางสุขภาพที่เกิดจากหลายปัจจัย ทั้งทางพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต ส่งผลเพิ่มความ เสี่ยงต่อโรคต่างๆ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน โรคหัวใจ โรคอัมพฤกษ์อัมพาต โรคมะเร็งบางชนิด และยังกระทบต่อปัญหาทางกายภาพ เช่น มีการอุดกั้นทางเดินหายใจ หรือ โรคนอนกรน ข้อเข่าเสื่อม เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต ซึ่งภาวะน้ำหนักเกินนั้น ส่งผลกระทบต่อเด็กทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม (นริสรา พึ่งโพธิ์สภ, 2552) สาเหตุของปัญหาดังกล่าวมาจากหลายปัจจัย เช่น วิธีการเลี้ยงดูของ ครอบครัว ที่สร้างเสริมนิสัยการบริโภคที่ไม่ถูกต้อง รวมทั้งสื่อโฆษณา ต่าง ๆ ที่ไม่คำนึงถึงประโยชน์ของ ผู้บริโภค นำพาให้เด็ก เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพที่เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่มีขอบเขต การส่งเสริมสุขภาวะทางกายแก่เด็กวัยอนุบาล สะท้อนให้ห็นว่าครอบครัว ผู้ปกครอง โรงเรียน ครู และผู้เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัยอนุบาล มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสุขภาวะทางกายให้ 2 ประสบความสำเร็จ ในส่วนของครอบครัว ผู้ปกครองนับเป็นบุคคลสำคัญที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งเสริมสุข ภาวะทางกายของเด็กโดยตรง เด็กในวัยก่อนเรียน เป็นวัยที่เริ่มซุกซน และเคลื่อนไหวได้ดี จึงมักไม่ยอมอยู่นิ่ง และเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง นอกจากนี้เด็กวัยนี้มีพฤติกรรมการเลียนแบบผู้ใหญ่ ดังนั้น การออกกำลังกายของ เด็กวัยนี้จึงมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างทักษะการเคลื่อนไหวทักษะในการรับความรู้สึก ทักษะความจำ ช่วย ส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการของร่างกาย ตลอดจนส่งเสริมการทำงานที่สัมพันธ์กันของอวัยวะต่าง ๆ รวมไปถึงการพัฒนาการด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของเด็กและผู้ที่เลี้ยงดู เนื่องจากสุขภาพเป็นภาวะแห่ง ความสมบูรณ์ของร่างกาย จิตใจ อารมณ์สังคม และจิตวิญญาณ สุขภาพดีจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนา บุคคลจึงพยายามหาวิธีที่จะดูแลสุขภาพเพื่อไม่ให้เกิด ภาวะเจ็บป่วย แต่การที่มนุษย์เราจะมีสุขภาพที่สมบูรณ์ แข็งแรงได้นั้น ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมสุขภาพของแต่ละบุคคล (ประเวศ วะสี, 2544) เนื่องจากพัฒนาการทุกด้านมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของ พัฒนาการด้านหนึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น เด็กที่สุขภาพไม่ดี เด็กมีภาวะอ้วน น้ำหนักเกิน ทำให้ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นยาก และความมั่นใจในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เพราะการมีสุขภาพที่ดีย่อม เป็นพื้นฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต การดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานเป็นสิ่งที่ทุกคนพึงปฏิบัติใน ชีวิตประจำวันอย่างสม่ำเสมอให้ติดเป็นนิสัย เพื่อการส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง เป็นการป้องกันโรคและภัยต่อ สุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้นรวมทั้งมีการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง เพื่อเป็นรากฐานในการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีและ ถาวรเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งการมุ่ง พัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กปฐมวัยจึงต้องให้ทั้งความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์การฝึกปฏิบัติใน ด้านสุขภาพที่ถูกต้องเพื่อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ดีลดปัญหาด้านสุขภาพจนมี ร่างกายที่แข็งแรง สมบูรณ์มีความสามารถที่จะพัฒนาศักยภาพในด้านอื่น ๆ เช่น ในด้านสติปัญญา ด้านอารมณ์ จิตใจ และด้านสังคมให้มีความพร้อมได้( ประไพ ประดิษฐ์สุขถาวร,2555) กิจกรรมทางกาย ซึ่งสามารถทำระหว่างที่มีเวลาว่างได้ หลักในการออกกำลังกายจะต้องคำนึงถึง ระยะเวลา ความแรง ความบ่อย รวมทั้งมีการอบอุ่นร่างกาย และผ่อนคลาย การมีกิจกรรมทางกายอย่าง สม่ำเสมอ เป็นประจำ ทำให้ร่างกายมีเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อและมีการใช้พลังงานพื้นฐานเพิ่มขึ้น สิ่งเหล่านี้จะช่วย ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้เพิ่มขึ้นในระยะยาว (WHO, 2000) ซึ่ง ตัวอย่างของกิจกรรมการออกกำลังกาย เช่น การเดิน หรือการออกกำลังกายแบบแอโรบิก ชนิดต่าง ๆ เช่น ว่ายน้ำ เต้นรำ เป็นต้น โดยเฉพาะในวัยแรกเกิด ถึง 6 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยที่อยู่ระหว่างการมีพัฒนาการทางกลไกการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกายที่เหมาะสม ในช่วงวัยนี้จึงต้องเป็นกิจกรรมที่ได้รับการออกแบบให้ส่งเสริมพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวพื้นฐาน ของเด็ก เล็ก ได้แก่ กิจกรรมการเดิน การทรงตัว การวิ่ง กระโดด ปีนป่าย ขว้างปา การเต้นประกอบจังหวะเพลง การ 3 ทำท่ากายบริหาร ฯลฯ ทั้งนี้การใช้ร่างกายเป็นสื่อในการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ของเด็ก มีผลต่อพัฒนาการ ของระบบกล้ามเนื้อโครงสร้าง พัฒนาการเคลื่อนไหว รวมทั้งพัฒนาการประสานสัมพันธ์ของระบบอวัยวะต่าง ๆ ที่ช่วยในการทรงตัว ขณะเคลื่อนไหวไปตามอุปกรณ์ที่ออกแบบไว้ ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ในความสามารถ ของตน สร้างความมั่นใจและความรู้จักตนเอง ซึ่งจะส่งผลต่อพัฒนาการด้านบุคลิกภาพของตัวเด็กเองใน อนาคต จากปัญหาดังกล่าว คณะผู้วิจัย จึงสนใจพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมสุขภาวะทางกายสำหรับเด็กปฐมวัยที่ มีภาวะน้ำหนักเกิน เพื่อแก้ไขปัญหา ภาวะน้ำหนักเกินของเด็กปฐมวัย ด้วยการทำท่ากายบริหารตามโปรแกรม แต่ละวัน เพื่อส่งเสริมสุขภาพให้เด็กปฐมวัยมีน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐานและมีสุขภาพที่แข็งแรง
จุดเด่นของโครงการ :การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมสุขภาวะทางกายสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีภาวะน้ำหนักเกิน
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อวิเคราะห์สาเหตุภาวะน้ำหนักเกินและแนวโน้มภาวะน้ำหนักเกินในเด็กปฐมวัย 2. เพื่อพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาวะทางกายสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีภาวะน้ำหนักเกิน 3. เพื่อประเมินผลการใช้โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาวะทางกายสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีภาวะน้ำหนักเกิน
ขอบเขตของโครงการ :การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมสุขภาวะทางกายสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีภาวะน้ำหนักเกิน มีขอบเขตการ วิจัย ดังนี้ 1.ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กปฐมวัย จำนวน 9 โรงเรียน อายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 3ในโรงเรียนอนุบาล ที่นักศึกษาฝึกสอนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จำนวน 3จังหวัด ดังนี้ จังหวัดอุทัยธานี ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลวัดหนองขุนชาติ 240 คน,จังหวัดชัยนาท ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลสรรคบุรี 120 คน, จังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลลาดยาว 150 คน , โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 240 คน, โรงเรียนอนุบาลนครสวรรค์ 390 คน, โรงเรียนอนุบาลเมืองนครสวรรค์ (เขากบ วิวรณ์สุขวิทยา) 240 คน, โรงเรียนอนุบาลบรรพตพิสัย (วัดส้มเสี้ยว)90 คน, โรงเรียนเขาทอง 30 คน, อนุบาลโกรกพระ (ประชานูทิศ) 60 คน รวม 1,560 คน 2. กลุ่มตัวอย่าง คือเด็กปฐมวัย อายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 3 จำนวน 50 คน ที่ มีภาวะ ทางโภชนาการเกินน้ำหนัก โดยใช้เกณฑ์น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง มีค่ามากกว่า +2S.D ขึ้นไป ตามเกณฑ์ อ้างอิงการเจริญเติบโตของเพศชายและหญิง อายุ 2-7 ปีของ สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวง สาธารณสุข (กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 2558) เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือก 4 3. ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 10 สัปดาห์ 4. ตัวแปรที่ศึกษา ประกอบด้วย 3.1 ตัวแปรต้น คือ โปรแกรมส่งเสริมสุขภาวะทางกายส ำหรับเด็กปฐมวัย 3.2 ตัวแปรตาม คือ ภาวะน้ำหนัก
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ได้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาวะทางกายที่มีคุณภาพเหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีภาวะน้ำหนักเกิน 2. นำโปรแกรมสุขภาวะทางกาย ที่ได้จากการวิจัยในเด็กปฐมวัย ไปเป็นแนวทางในการส่งเสริมเด็กที่มี ภาวะน้ำหนักเกินอื่นๆ ให้มีน้ำหนักตัวเหมาะสมต่อไป 3. เป็นแนวทางในการทำวิจัยสำหรับผู้เกี่ยวข้องกับเด็กที่มีน้ำหนักเกิน ในประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจอัน เป็นประโยชน์ต่อไป
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :การพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาวะทางกายสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ผู้วิจัยได้ ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1. สุขภาวะทางกายเด็กปฐมวัย 1.1 ความหมายและความสำคัญของสุขภาวะเด็กปฐมวัย 1.2 ความหมายของสุขภาวะทางกาย 1.3 องค์ประกอบของสุขภาวะเด็กปฐมวัย 1.4 เป้าหมายของการส่งเสริมสุขภาวะเด็กปฐมวัย 1.5 พฤติกรรมบ่งชี้สุขภาวะทางกายของเด็กเด็กปฐมวัย 2. ภาวะน้ำหนักเกิน 2.1 ความหมายของภาวะน้ำหนักเกิน 2.2 สาเหตุของภาวะน้ำหนักเกินในเด็ก 2.3 ผลกระทบและภาวะแทรกซ้อนของภาวะน้ำหนักเกินในเด็ก 2.4 เกณฑ์การประเมินภาวะโภชนาการเกินในเด็ก 2.5 การป้องกันภาวะน้ำหนักเกินในเด็ก 2.6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะน้ำหนักเกิน 3. การส่งเสริมสุขภาวะทางกายของเด็กปฐมวัย 3.1 แนวทางการส่งเสริมสุขภาวะทางกายสำหรับเด็กปฐมวัย 3.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะทางกายเด็กปฐมวัย 4. การพัฒนาโปรแกรม 4.1 กระบวนการพัฒนาโปรแกรม 4.2 การประเมินผลโปรแกรม 4.3 โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาวะทางกายสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีภาวะน้ำหนักเกิน
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :โปรแกรมส่งเสริมสุขภาวะทางกายสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีภาวะน้ำหนักเกิน 1.โปรแกรมออกกำลังกาย 5 วัน โดย วันที่ 1 ท่ากายบริหารพื้นฐาน 5 ท่า วันที่ 2 ท่ากายบริหารพื้นฐานพร้อมอุปกรณ์ 5ท่า วันที่ 3 เต้นประกอบจังหวะเพลงออกกำลังกาย เพลง เต้นกันหน่อย วันที่ 4 เต้นประกอบจังหวะเพลงออกกำลังกาย เพลง พระอาทิตย์ยิ้มแฉ่ง วันที่ 5 สนุกกับเสียงเพลง เคลื่อนไหวร่างกาย ตามจินตนาการ เพลง ออกกำลังกายรับแสงตะวันยามเช้า
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :ตอนที่ 1 วิเคราะห์สาเหตุภาวะน้ำหนักเกินและแนวโน้มภาวะน้ำหนักเกินในเด็กปฐมวัย 1. ศึกษาวิเคราะห์สาเหตุภาวะน้ำหนักเกินและแนวโน้มภาวะน้ำหนักเกินในเด็กปฐมวัย 1.1 ศึกษาเอกสาร วารสาร บทความและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ สาเหตุภาวะน้ำหนักเกินและ แนวโน้มภาวะน้ำหนักเกินในเด็กปฐมวัย 1.2 ออกแบบและสร้างแบบสอบถามและแบบบันทึกเด็กปฐมวัยที่มีภาวะน้ำหนักเกิน 1.3 ติดต่อประสานงานกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท และอำเภอเมืองอุทัยธานี เพื่อสอบถามและสัมภาษณ์เกี่ยวกับ ข้อมูลเด็กปฐมวัยที่มีภาวะน้ำหนักเกิน 1.4 วิเคราะห์ข้อมูลสาเหตุภาวะน้ำหนักเกินและแนวโน้มภาวะน้ำหนักเกินในเด็กปฐมวัย เพื่อ นำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการออกแบบโปรแกรมส่งเสริมสุขภาวะทางกายสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีภาวะ น้ำหนักเกิน 2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามและแบบบันทึกเด็กปฐมวัยที่มีภาวะน้ำหนักเกิน 3. การสร้างเครื่องมือ แบบสอบถามและแบบบันทึกเด็กปฐมวัยที่มีภาวะน้ำหนักเกิน มีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้ 3.1 ศึกษา ค้นคว้าเอกสาร ตำรา บทความวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแบบสอบถาม และแบบบันทึกเด็กปฐมวัยที่มีภาวะน้ำหนักเกิน 3.2 ศึกษาเกี่ยวกับการสร้างเครื่องมือแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ 3.3 กำหนดประเด็นสำหรับการพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ 3.4 สร้างแบบสอบถามความคิดเห็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และกำหนด ประเด็นสำหรับการพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ 3.5 แบบสอบถามความคิดเห็นที่สร้างขึ้น เสนอต่อทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน เพื่อพิจารณา ความสอดคล้องของข้อคำถาม 3.6 วิเคราะห์ค่าความสอดคล้องของแบบสอบถามและพิจารณาการผ่านเกณฑ์ต้องมีค่าความ สอดคล้อง ตั้งแต่ .05 ขึ้นไป 3.7 ปรับปรุงแบบสอบถามความคิดเห็นตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ 3.8 จัดทำแบบสอบถามความคิดเห็นฉบับสมบูรณ์ เพื่อนำไปใช้เก็บข้อมูลต่อไป 71 4. การดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล การดำเนินการโดยผู้วิจัย และผู้ช่วยนักวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูล โดยประสานงานผู้ที่เกี่ยวข้อง นัด หมายเวลา และสถานที่ 5. การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ตอนที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมสุขภาวะทางกายสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีภาวะน้ำหนักเกิน 1. การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมสุขภาวะทางกายสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีภาวะน้ำหนักเกิน 1.1 สังเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี และหลักการที่ได้จากการศึกษาข้อมูลพื้นฐานมากำหนดกรอบ แนวคิดการพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมสุขภาวะทางกายสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีภาวะน้ำหนักเกิน 1.2 สังเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี และหลักการที่ได้จากการศึกษาข้อมูลพื้นฐานมากำหนด รายละเอียดของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาวะทางกายสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ซึ่งประกอบด้วย ลักษณะกิจกรรมของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาวะทางกายสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีภาวะน้ำหนักเกิน เอกสารและสื่อ ประกอบการใช้โปรแกรม ระยะเวลาดำเนินการใช้โปรแกรม และการประเมินผลโปรแกรม 1.3กำหนดเนื้อหาที่ใช้ในโปรแกรมส่งเสริมสุขภาวะทางกายสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีภาวะ น้ำหนักเกิน จากการสังเคราะห์บทความ เอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยนำข้อมูลที่ได้กำหนด เนื้อหาของโปรแกรม ซึ่งประกอบด้วย ท่ากายบริหารพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย 1.4 สร้างแผนการดำเนินการของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาวะทางกายสำหรับเด็กปฐมวัยที่มี ภาวะน้ำหนักเกิน เป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์สัปดาห์ละ 5 วัน วันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี และ วันศุกร์ วันละ 20-30 นาที ช่วงเวลา 09.00-09.30 น. 1.5 สร้างแผนการจัดกิจกรรมของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาวะทางกายสำหรับเด็กปฐมวัยที่มี ภาวะน้ำหนักเกิน เอกสารประกอบการบรรยาย และสื่อที่ใช้ในการจัดกิจกรรม จากนั้นนำแผนการจัดกิจกรรม ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมที่สร้างขึ้นเสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิ นำแผนการจัดกิจกรรมและสื่อที่ใช้ในการจัดกิจกรรมที่ ได้ปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ แล้วนำไปทดลองใช้ 1.6 การประเมินผลโปรแกรมส่งเสริมสุขภาวะทางกายสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีภาวะน้ำหนัก เกิน ใช้แบบบันทึก หาค่าเฉลี่ย เพื่อเปรียบเทียบผล น้ำหนักของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลัง เข้าโปรแกรมส่งเสริม สุขภาวะทางกายสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีภาวะน้ำหนักเกิน 72 2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ คู่มือการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาวะทางกายสำหรับเด็ก ปฐมวัย 3. การสร้างเครื่องมือ คู่มือการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาวะทางกายสำหรับเด็กปฐมวัย มีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้ 3.1 ศึกษา ค้นคว้าเอกสาร ตำรา บทความวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ โปรแกรม ส่งเสริมสุขภาวะทางกาย ท่ากายบริหารเบื้องต้น การออกกำลังของเด็กปฐมวัย 3.2 ศึกษาเกี่ยวกับการสร้างเครื่องมือแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ 3.3 กำหนดประเด็นสำหรับการพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ 3.4 สร้างแบบสอบถามความคิดเห็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และกำหนด ประเด็นสำหรับการพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ 3.5 นำคู่มือการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาวะทางกายสำหรับเด็กปฐมวัย ที่สร้างขึ้น เสนอต่อ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการวัดและประเมินผล จำนวน 3 ท่าน เพื่อพิจารณาความสอดคล้องของข้อคำถาม 3.6 วิเคราะห์ค่าความสอดคล้องของแบบสอบถามและพิจารณาการผ่านเกณฑ์ต้องมีค่าความ สอดคล้อง ตั้งแต่ .05 ขึ้นไป ผลการวิเคราะห์ พบว่าค่า IOC ของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาวะทางกายสำหรับเด็ก ปฐมวัยที่มีภาวะน้ำหนักเกิน มีค่าเท่ากับ 1.00 3.7 ปรับปรุงคู่มือการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาวะทางกายสำหรับเด็กปฐมวัยตาม ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ 3.8 จัดทำคู่มือการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาวะทางกายสำหรับเด็กปฐมวัยฉบับสมบูรณ์ เพื่อ นำไปใช้เก็บข้อมูลต่อไป 4. การดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล 4.1 กำหนดแบบแผนการทดลอง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi – Experimental Research) แบบ 2 กลุ่ม มีการ ทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (The Pretest-Posttest Control Group Design) 73 ดังตารางที่6 แบบแผนการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง การวัดก่อนการทดลอง การวัดหลังการทดลอง E O1 X O2 C O3 O4 E = เด็กปฐมวัยกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมสุขภาพ C = เด็กปฐมวัยกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรมสุขภาพ O1 O3 = ค่าที่วัดน้ำหนักและเปอร์เซ็นต์ไขมันได้ก่อนการทดลอง O2 O4 = ค่าที่วัดน้ำหนักและเปอร์เซ็นต์ไขมันได้หลังการทดลอง X = ตัวแปรที่จัดกระทำ (การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมสุขภาวะทางกายสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีภาวะน้ำหนักเกิน) 5. การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์เปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลอง เป็นค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ตอนที่3 การประเมินผลโปรแกรมส่งเสริมสุขภาวะทางกายสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีภาวะน้ำหนักเกิน 1. การประเมินผลโปรแกรมส่งเสริมสุขภาวะทางกายสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีภาวะน้ำหนักเกิน 1.1 กำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.1.1.ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กปฐมวัย จำนวน 9 โรงเรียน อายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษา อยู่ชั้นอนุบาล 3 ในโรงเรียนอนุบาล ที่นักศึกษาฝึกสอนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จำนวน 3 จังหวัด ดังนี้ จังหวัดอุทัยธานี ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลวัดหนองขุนชาติ 240 คน,จังหวัดชัยนาท ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลสรรค บุรี 120 คน,จังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลลาดยาว 150 คน , โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏ นครสวรรค์ 240 คน, โรงเรียนอนุบาลนครสวรรค์ 390 คน, โรงเรียนอนุบาลเมืองนครสวรรค์ (เขากบ วิวรณ์สุข วิทยา) 240 คน, โรงเรียนอนุบาลบรรพตพิสัย (วัดส้มเสี้ยว)90 คน, โรงเรียนเขาทอง 30 คน, อนุบาลโกรกพระ (ประชานูทิศ) 60 คน รวม 1,560 คน 1.1.2. กลุ่มตัวอย่าง คือเด็กปฐมวัย มีภาวะทางโภชนาการเกินน้ำหนักเกิน อายุ 5-6 ปี ที่ กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 3 ในโรงเรียนอนุบาล ที่นักศึกษาฝึกสอนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จำนวน 3 จังหวัด โดยใช้เกณฑ์น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง มีค่ามากกว่า +2S.D ขึ้นไป ตามเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโต 74 ของเพศชายและหญิง อายุ 2-7 ปีของ สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 2558) เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือก นำมาสุ่มห้องเรียนด้วยวิธีการจับฉลาก แบ่งเป็นเด็ก ปฐมวัย กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม ดังนี้ จังหวัดอุทัยธานี ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลวัดหนองขุนชาติ เด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 3 จำนวน 6 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรม จำนวน 3 คน และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรม จำนวน 3 คน จังหวัดชัยนาท ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลสรรคบุรี เด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 3 จำนวน 4 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรม จำนวน 2 คน และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรม จำนวน 2 คน จังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่ เด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนอนุบาลลาดยาว จำนวน 4 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรม จำนวน 2 คน และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรม จำนวน 2 คน เด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน 8 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรม จำนวน 4 คน และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรม จำนวน 4 คน เด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนอนุบาลนครสวรรค์จำนวน 13 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรม จำนวน 7 คน และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรม จำ
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :โปรแกรมส่งเสริมสุขภาวะทางกายสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีภาวะน้ำหนักเกิน
จำนวนเข้าชมโครงการ :271 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวบัณฑิตา อินสมบัติ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย20
นางสาวอังศุมาลิน ติดตระกูลชัย บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย80

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด