รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000634
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การปรับปรุงกระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพโดยแนวคิดแบบลีน
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Lean Management for improve the process of internship
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :ลีน
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม > สำนักงานคณบดี
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :10000
งบประมาณทั้งโครงการ :10,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :17 มกราคม 2565
วันสิ้นสุดโครงการ :16 มิถุนายน 2566
ประเภทของโครงการ :อื่นๆ
กลุ่มสาขาวิชาการ :อื่นๆ
สาขาวิชาการ :อื่นๆ
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ไม่ระบุ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :การฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาทำให้นักศึกษาได้มีโอกาสสร้างความเข้าใจและเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริงเป็นการเตรียมความพร้อมและพัฒนาทักษะทางวิชาชีพ ทั้งทักษะทางด้านวิชาการ โดยเป็นการฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการหรือหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งนักศึกษาต้องมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรูปแบบและกระบวนการยื่นขอฝึกประสบการณ์วิชาชีพ การประสานงานกับหน่วยงานที่นักศึกษามีความประสงค์เข้ารับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพหลายขั้นตอน คือการขอความอนุเคราะห์การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ การตอบรับจากสถานประกอบการแล้ว จึงจะสามารถดำเนินการส่งตัวนักศึกษาเพื่อเข้ารับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพได้ในส่วนนี้ต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ 5-10 วัน ซึ่งขึ้นอยู่กับการตอบรับของสถานประกอบการ การจัดส่งเอกสารของนักศึกษาด้วย บางกรณีนักศึกษาไม่ทราบขั้นตอนและวิธีการที่ถูกต้อง จึงทำให้นักศึกษาต้องเลื่อนเวลาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพออกไปประกอบกับสถานการณ์ปัจจุบันระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้การดำเนินการรับ-ส่ง เอกสารระหว่างหน่วยงานและนักศึกษาล่าช้าลงไปอีก และทางคณะฯ ต้องจัดเก็บเอกสารตั้งแต่การยื่นขอฝึกประสบการณ์วิชาชีพไปจนถึงการประเมินและส่งตัวนักศึกษากลับจากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ซึ่งขั้นตอนมีความซ้ำซ้อน ต้องใช้ทรัพยากร เช่น กระดาษ หมึกพิมพ์ ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายทั้งในส่วนของเอกสารที่ต้องแนบเพื่อยื่นขอฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และสำนักงาน คือ เอกสารทั้งหมดของกระบวนการดำเนินงานทั้งต้องจัดเก็บ จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นส่งผลกระทบโดยตรงต่อนักศึกษาและผู้ปฏิบัติงานเพราะทำให้การฝึกประสบการณ์วิชาชีพเสร็จสิ้นช้าลงกว่าที่นักศึกษาคาดการณ์ไว้และค่อนข้างลำบากในการเดินทางหรือติดต่อสื่อสารระหว่างมหาวิทยาลัย สถานประกอบการและนักศึกษา การบันทึกข้อมูล การดำเนินการจัดทำ จัดเก็บเอกสาร มีขั้นตอนซ้ำซ้อนและค่อนข้างใช้เวลาเช่นเดียวกัน ผู้วิจัยจึงได้ตระหนักถึงความจำเป็นเป็นที่จะต้องปรับปรุงวิธีการดำเนินงานโดยใช้แนวคิดแบบลีน คือ การดำเนินการทบทวนกระบวนการทำงานและผลการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเปลี่ยนขั้นตอนการปฏิบัติงานใหม่ให้สั้นกว่าเดิม ทำให้ง่ายไม่มีความยุ่งยากซับซ้อนและนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เพิ่มช่องทางในการติดต่อสื่อสารเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักศึกษาลดระยะเวลา ในการปฏิบัติงาน ลดต้นทุนในการดำเนินการทั้งในส่วนของนักศึกษาและสำนักงานด้วย
จุดเด่นของโครงการ :การลดขั้นตอนและระยะเวลาในการปฏิบัติงาน
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1 เพื่อลดขั้นตอนและเวลาในการยื่นขอฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาและขั้นตอนการดำเนินงานของผู้ปฏิบัติงาน 2 เพื่อผลิตสื่อประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจในขั้นตอนการดำเนินการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษา
ขอบเขตของโครงการ :ประชากรกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาคณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน 50 คน บุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวน 10 คน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :ระโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.3.1 ได้สื่อประชาสัมพันธ์ขั้นตอนการยื่นฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษา 1.3.2 การยื่นขอฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษา สะดวกและรวดเร็วขึ้น 1.3.3 สามารถลดเวลา ลดต้นทุนในการดำเนินการทั้งในส่วนของนักศึกษาและผู้ปฏิบัติงาน 1.3.4 นักศึกษาและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง มีความพึงพอใจในการใช้บริการยื่นขอฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :ไพรวัลย์ รัตนมา (2560) จากการศึกษาวิจัยเรื่อง “แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพ การให้บริการประชาชนของข้าราชการศาลยุติธรรม จังหวัดสุราษฎร์ธานี” พบว่า ปัจจัย ส่งผลต่อประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนของข้าราชการศาลยุติธรรม จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านความเท่าเทียมกัน ส่วนด้านความพอเพียงของการบริการ และด้านความสะดวกรวดเร็ว อยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความสะดวกรวดเร็ว สำหรับผล การเปรียบเทียบที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า จำแนกตามสถานะผู้มาใช้บริการและศาลที่มีใช้บริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปรับให้ มีความชัดเจน ส่วนแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนของข้าราชการศาลยุติธรรม จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า ศาลควรจัดให้มีแผนผังและขั้นตอนระยะเวลา การปฏิบัติงาน ควรมีเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษา แนะนำ แบบฟอร์มที่ใช้ควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เพื่อจะได้กรอกข้อมูลได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน และควรมีจุดบริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ เพื่อให้การบริการมีความรวดเร็ว ชนัตถ์พร คำมณี (2561) จากการศึกษาวิจัยเรื่อง “การนำแนวคิดลีนมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการให้บริการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ กรณีศึกษา โรงเรียนสอนขับรถ หาดใหญ่ คาร์ เทรนเนอร์” พบว่าภายหลังการนำแนวคิดลีนมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการให้บริการนั้น มีคุณค่าหรือประโยชน์เกิดขึ้นในการให้บริการคือ เจ้าหน้าที่สามารถให้บริการด้วยความถูกต้อง สะดวก และรวดเร็วขึ้น ลูกค้ามีความพึงพอใจและเชื่อมั่นต่อการให้บริการ ลูกค้าได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและชัดเจน เจ้าหน้าที่สามารถให้บริการได้อย่างเต็มที่และทั่วถึง ช่วยลดระยะเวลาในการติดต่อสอบถามและสมัครเรียน ลูกค้าสามารถทำตามขั้นตอนที่ได้แจ้งไว้อย่างถูกต้อง ลดความสับสนในการรับบริการของลูกค้าลดจำนวนนักเรียนที่มาช้ากว่าเวลาที่กำหนด ลดขั้นตอน การทำงานที่ซ้ำซ้อนและยุ่งยากลงได้ ลดความผิดพลาดในกระบวนการทำงานและการให้บริการ ลดขั้นตอนงานที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ ลดงานเอกสารที่ไม่จำเป็นช่วยให้กระบวนการทำงานมีความถูกต้อง ประหยัดเวลา และมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ยังมีการสื่อสารและร่วมกันวางแผน การทำงานกันมากขึ้น ส่งผลให้การให้บริการมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง รวดเร็ว และเจ้าหน้าที่ยังมีความเข้าใจในการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการให้บริการ เนื่องจากเห็นถึงคุณค่าและประโยชน์หลังจากที่ได้ปรับปรุงกระบวนการให้บริการแล้ว เพ็ญวิสาข์ เอกกะยอ (2555) จากการศึกษาวิจัยเรื่อง “การใช้หลักการลีนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บเอกสารและการออกหนังสือด้วยซอฟต์แวร์เสรี กรณีศึกษา สำนักงานโรงพยาบาลสงขลานคริทร์” พบว่าระบบการบริหารจัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์มาพัฒนาระบบ การจัดเก็บเอกสารและออกเลขหนังสือด้วยซอฟต์แวร์เสรีและนำหลักการลีนมาใช้ในกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ทำให้ลดกระบวนการค้นหาเอกสารจาก 7 ขั้นตอน เหลือ 2 ขั้นตอน การออกเลขหนังสือจาก 6 ขั้นตอน เหลือ 2 ขั้นตอน และเพิ่มประสิทธิภาพการค้นหาเอกสารร้อยละ 13.04 เป็นร้อยละ 40 การออกเลขหนังสือจากร้อยละ 9.09 เป็นร้อยละ 60 วรธิดา รัตนโค้น (2559) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการนำแนวคิดลีนมาประยุกต์ใช้เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในกระบวนการทำงานของแผนกบัญชี โดยใช้หลักการ ECRS วิเคราะห์ความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นและลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อนในกระบวนการ ผลจากการทดลองพบว่าสามารถลดเวลาในการปฏิบัติงานโดยรวมลงจาก 475 นาที เหลือ 365 นาที ลดลง 110 นาที คิดเป็นร้อยละ 23.16 และสามารถลดจำนวนรายงานของเอกสารลงจาก 39 รายงาน เหลือ 32 รายงาน ลดลงทั้งสิ้น 7 รายงาน คิดเป็นร้อยละ 18 ทำให้สามารถลดระยะเวลาและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น สุวัฒน์ งามดี (2560) ได้ทำการศึกษาการประยุกต์ใช้แนวคิดลีน เพื่อลดเวลานำในกระบวนการรายงานผลตัวชี้วัดของแผนกลยุทธ์ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งของการบริหารแผนกลยุทธ์ คือ การติดตามผลการดำเนินงานของตัวชี้วัด ซึ่งจะทำให้แผนกลยุทธ์สามารถบรรลุได้ตามเป้าหมาย การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดเวลานำในกระบวนการรายงานผลตัวชี้วัดของแผนกลยุทธ์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยใช้แนวคิดลีน การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการรายงานข้อมูลตัวชี้วัดได้ทำในเดือนมีนาคม 2560 นำมาเขียนผังการไหลของงาน แล้ววิเคราะห์กระบวนการที่สร้างคุณค่า กระบวนการที่ไม่สร้างคุณค่าแล้วจึงปรับปรุงกระบวนการด้วยเทคนิค ECRS เพื่อตัดงานที่ไม่สร้างคุณค่าออก รวบงานที่สามารถทำร่วมกันได้จัดเรียงระบบทำงานใหม่ และการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้ง่ายขึ้น แก้ปัญหาขั้นตอนทำงานที่เป็นคอขวด และเพิ่มความรวดเร็วใน การทำงานด้วยเทคนิคการควบคุมด้วยสายตาแล้วจึงจัดทำกระบวนการรายงานผลตัวชี้วัดขึ้นใหม่หลังการปรับปรุง ผลการศึกษา และปรับปรุงการทำงานพบว่า ขั้นตอนการรายงานผลตัวชี้วัดลดลงจาก 37 ขั้นตอน เหลือ 9 ขั้นตอน คิดเป็นร้อยละ 75.68 และเวลานำลดลงจาก 2,630 นาที เหลือ 765 นาที คิดเป็นร้อยละ 70.91 และได้จัดทำเป็นมาตรฐานการทำงานเพื่อใช้เป็นแนวทางการในการทำงานในองค์กร ดามธรรม จินากูล (2557) ได้ทำการศึกษาการประยุกต์ใช้ลีน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพงานทุนอุดหนุนโครงการวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษาและงานทุนการศึกษาแก่นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่คณาจารย์ได้รับทุนวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก โดยจะศึกษาถึงการประยุกต์ใช้ระบบลีน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพงานทุนอุดหนุนโครงการวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษา และงานทุนการศึกษาแก่นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่คณาจารย์ได้รับทุนวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่ขอทุนอุดหนุนโครงการวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์ ระดับบัณฑิตศึกษา และงานทุนการศึกษาแก่นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่คณาจารย์ได้รับทุนวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 จำนวน รวมทั้งสิ้น 760 ตัวอย่าง ศึกษาวิจัยแบบทดลองโดยกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน การวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพรรณนา เช่น ความถี่ ร้อยละ วิเคราะห์เปรียบเทียบผลก่อน การดำเนินกิจกรรมและหลังดำเนินกิจกรรม โดยใช้สถิติ T-test Independent ผลการวิจัยพบว่า การใช้เครื่องมือลีน สามารถลดงานที่ไม่มีคุณค่าลงคิดเป็นร้อยละ72.52 ลดความสูญเปล่าได้ร้อยละ 52.48 ลดเวลานำได้คิดเป็นร้อยละ 52.14 ลดรอบเวลางานได้คิดเป็นร้อยละ 51.44 ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพโดยรวมทั้งหมดของการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 48.83 ลดขั้นตอนของงานลงคิดเป็นร้อยละ 39.11 ผลของการปรับปรุงสภาพโดยรวมสามารถเพิ่ม อัตราส่วนหลายรายการคิดเป็นร้อยละ 38.45 สามารถเพิ่มอัตรางานดีที่ผ่านตั้งแต่ครั้งแรกได้ดีขึ้นคิดเป็นร้อยละ 19.72
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับแนวคิดลีน แนวคิดสำนักงานลีน สำนักงานลีน ได้ถูกพัฒนามาจากการผลิตแบบลีน ซึ่งเป็นแนวคิดเริ่มต้นของลีนที่ต้องการ นำมาพัฒนาระบบธุรกิจโดยเฉพาะฝ่ายผลิต เพื่อลดต้นทุนการผลิต พัฒนาผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ให้มีผลิตภาพที่สูงขึ้น เพื่อตอบสนองกำไรสูงสุด ซึ่งต่อมาได้มีการพัฒนามาใช้ทั่วทั้งบริษัทโดยเฉพาะงานสำนักงานที่มีทั้งฝ่ายรับสินค้า ฝ่ายจัดส่ง ฯลฯ ซึ่งงานส่วนใหญ่เป็นงานสำนักงานประเภทเอกสาร ฯลฯ งานสำนักงานในภาคธุรกิจมีส่วนคล้ายกับงานสำนักงานของมหาวิทยาลัย ซึ่งสถาบันการศึกษาในประเทศอังกฤษและอเมริกาได้นำแนวคิด สำนักงานลีน มาใช้ในมหาวิทยาลัย ซึ่งจุดประสงค์ของการนำหลักการสำนักงานลีน มาใช้ในมหาวิทยาลัย (ดามธรรม จินากูล, 2562) เช่น 1) ลดค่าใช้จ่าย (Reduced overall operating costs) 2) ลดการใช้กระดาษ (Reduced paperwork) 3) งานลื่นไหลดีขึ้น (Improved work flow) 4) ผลิตภัณฑ์ดีขึ้น (Improved productivity) 5) การทำงานเป็นทีมดีขึ้น (Better teamwork) 6) ลดภาวะเครียดของพนักงาน (Reduced staff stress) 7) เพิ่มความพึงพอใจให้กับผู้รับบริการ (Improved customer satisfaction (internal& external)) 8) ทำให้เวลารองานลดลง (Improved lead times (waiting times)) 9) ลดวัสดุคงคลัง (Reduced inventory levels and costs) 10) พัฒนาให้การทำงาน ผลิตเอกสารและบริการดีขึ้น (Improved quality of service/product) 11) ช่วยให้ทำงานง่ายขึ้น (Engaged workers) 12) ทำให้รอบการทำงานสั้นลง (Improved cycle times) 13) ทำให้การบริหารพื้นที่ใช้สอยดีขึ้น (Organized workplace)
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :การวิจัยนี้เป็นการศึกษากระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ โดยวัตถุประสงค์เพื่อลดขั้นตอนและเวลาในการยื่นขอฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาและขั้นตอนการดำเนินงานของผู้ปฏิบัติงาน และลดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นภายในกระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ โดยใช้เทคนิคลีนในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งมีแนวทางและวิธีดำเนินงานวิจัยดังนี้ ศึกษาข้อมูลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง รวบรวมข้อมูลแบบประเมินความพึงพอใจ และปัญหาจากแบบสอบถาม ศึกษาเวลาการปฏิบัติงานในปัจจุบัน วาดแผนผังการไหลของกระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในปัจจุบัน วิเคราะห์หาความสูญเปล่า 8 ประการ พัฒนากระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพโดยใช้เครื่องมือลีน ECRS วาดแผนผังการไหลของกระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในอนาคต นำไปทดลองใช้ในการปฏิบัติงานจริงและศึกษาเวลาในการปฏิบัติงานใหม่ และประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ ตรวจสอบ ประเมินผล
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :การปรับปรุงกระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพโดยแนวคิดแบบลีน เพื่อลดระยะเวลาและขั้นตอนในการปฏิบัติงาน
จำนวนเข้าชมโครงการ :23 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวศศิธร พรมอยู่ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย60

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด