รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000632
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การส่งเสริมและยกระดับโรงงานต้นแบบนวัตกรรมยาและผลิตภัณฑ์สมุนไพรให้เป็นไปตามมาตรฐาน GMP เพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้บริการกับวิสาหกิจชุมชน
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Promotion and upgrading of innovative pharmaceutical and herbal products pilot plant according to standards under the standard factory GMP to enhance the service for community enterprises
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :สมุนไพร โรงงานต้นแบบ วิสาหกิจชุมชน
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :สถาบันวิจัยและพัฒนา > กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :400000
งบประมาณทั้งโครงการ :400,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :08 มิถุนายน 2566
วันสิ้นสุดโครงการ :07 มิถุนายน 2567
ประเภทของโครงการ :การวิจัยและพัฒนา
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขาวิชาการ :อื่นๆ
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ไม่ระบุ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ถึงแม้ประเทศไทยจะมีศักยภาพในการผลิตพืชสมุนไพรมาก แต่ยาและผลิตภัณฑ์สมุนไพรจะต้องผลิตจากโรงงานที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน สะอาด มีกระบวนการผลิตและมีวัตถุดิบที่มีคุณภาพ รวมทั้งจำเป็นต้องมีงานวิจัยต่างๆ ที่สนับสนุนให้เห็นถึงประโยชน์ของสมุนไพร ซึ่งจะช่วยให้แพทย์และผู้ป่วยเกิดความมั่นใจ อย่างไรก็ตามการจะพัฒนาโรงงานผลิตยาสมุนไพรให้มีคุณภาพที่น่าเชื่อถือได้และได้มาตรฐานจะมีต้นทุนค่อนข้างสูง และมีขั้นตอนในการตรวจประเมินหลายขั้นตอน อีกทั้งรัฐบาลยังได้ให้ความสนใจเรื่องสมุนไพรเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นทรัพยากรสำคัญที่จะนำมาผลิตยา ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ.2566-2570 ในแผนกลยุทธ์ที่ 1 ไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง อีกทั้งโรงงานผลิตยาสมุนไพรจะต้องมีลักษณะสถานที่ผลิตและสถานที่จัดเก็บตามคำแนะนำของคณะกรรมการผลิตภัณฑ์สมุนไพรประกาศกำหนดตามมาตรา 6 (10) แห่งพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 และในการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรจะต้องสร้างความมั่นใจว่าผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้มีคุณภาพ สามารถตอบสนองวัตถุประสงค์ของผู้บริโภคได้ ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการที่ประจำอยู่สถานที่ดังกล่าว ต้องผ่านการอบรมหลักสูตรตามหลักเกณฑ์วิธีการที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนด ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรตามพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2564 ดังกล่าวโดยเคร่งครัด (พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562, ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรตามพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2564) โรงงานต้นแบบนวัตกรรมผลิตยาสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ได้ดำเนินการจัดตั้งเมื่อปี 2565 เพื่อให้เป็นโรงงานต้นแบบในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากงานวิจัย การยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์สมุนไพร อีกทั้งเป็นสถานที่ศึกษาดูงานในการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาวิทยาลัยการแพทย์ทางเลือกและการสาธารณสุขและหน่วยงานอื่น นอกจากนี้ยังเป็นการสนับสนุนการใช้นโยบายยาสมุนไพรเพื่อทดแทนยาแผนปัจจุบันของกระทรวงสาธารณสุขและสามารถกระจายยาสมุนไพรเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพได้อย่างทั่วถึงในโรงพยาบาลการแพทย์ทางเลือกและบริบาลผู้สูงอายุ หลวงพ่อพัฒน์ ปุญฺญกาโม เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ทั้งนี้โรงงานต้นแบบนวัตกรรมผลิตยาสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรยังเป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างภาคการศึกษา ภาคอุตสาหกรรมและวิสาหกิจชุมชนที่ผู้ประกอบการมีความต้องการมีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการวิจัย การผลิตยาสมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพร เนื่องด้วยโรงงานต้นแบบนวัตกรรมผลิตยาสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ยังไม่ผ่านการรับรองมาตรฐานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิต (GMP) ดังนั้นเพื่อส่งเสริมการผลิตยาสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรให้ได้มาตรฐาน อันจะเป็นการสร้างความมั่นใจต่อผู้บริโภคและเป็นการเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน จึงจำเป็นต้องมีแผนการดำเนินงานเร่งรัดให้โรงงานสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามมาตรฐาน
จุดเด่นของโครงการ :แปลนโรงงานต้นแบบนวัตกรรมผลิตยาสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพร ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GM
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาภายในโรงงาน และปรับปรุงแบบแปลนและสายการผลิตโรงงานให้ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GMP 2. เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรในโรงงานต้นแบบให้เป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐาน GMP 3. จัดทำเอกสารในการขอรับรองตามมาตรฐาน GMP
ขอบเขตของโครงการ :1. วิเคราะห์สภาพปัญหาภายในโรงงาน และปรับปรุงแบบแปลนและสายการผลิตโรงงานต้นแบบนวัตกรรมผลิตยาสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรตามข้อเสนอแนะของกระทรวงสาธารณสุข 2. พัฒนาศักยภาพบุคลากรในโรงงานต้นแบบให้เป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐาน GMP 3. จัดทำเอกสารในการขอรับรองตามมาตรฐาน GMP
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ได้แปลนและสายการผลิตของโรงงานต้นแบบนวัตกรรมผลิตยาสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ผ่านรับการรับรองตามมาตรฐาน GMP 2. บุคลากรในโรงงานมีความรู้ความเข้าใจในข้อกำหนดมาตรฐาน GMP 3. ได้เอกสารเพื่อขอรับรองตามมาตรฐาน GMP
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :- แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห?งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ.2566-2570 กล่าวว่า แผนกลยุทธ์ที่ 1 ไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง อีกทั้งโรงงานผลิตยาสมุนไพรจะต้องมีลักษณะสถานที่ผลิตและสถานที่จัดเก็บตามคำแนะนำของคณะกรรมการผลิตภัณฑ์สมุนไพรประกาศกำหนดตามมาตรา 6 (10) แห่งพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 - พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562, ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรตามพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2564 กล่าวว่า นการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรจะต้องสร้างความมั่นใจว่าผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้มีคุณภาพ สามารถตอบสนองวัตถุประสงค์ของผู้บริโภคได้ ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการที่ประจำอยู่สถานที่ดังกล่าว ต้องผ่านการอบรมหลักสูตรตามหลักเกณฑ์วิธีการที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนด ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรตามพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2564 ดังกล่าวโดยเคร่งครัด
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :GMP (Good Manufacturing Practice) เป็นระบบคุณภาพที่ใช้สร้างและควบคุมกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมอาหารและยา มีจุดประสงค์เพื่อให้สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ได้อย่างมีคุณภาพและปลอดภัย เหมาะสำหรับการบริโภค โดยเน้นไปที่การป้องกันและขจัดความเสี่ยงที่อาจจะทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นอันตราย หรือเกิดความไม่ปลอดภัยแก่ผู้บริโภค GMP จึงเป็นข้อกำหนดขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในการผลิตและควบคุมกระบวนการผลิตที่กำหนดขึ้นเพื่อให้ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการปฏิบัติตาม ผลิตภัณฑ์สมุนไพร หมายความว่า ยาจากสมุนไพร ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรตามกระบวนการผลิตยาแผนปัจจุปันหรือมีการประยุกต์กระบวนการผลิตแบบยาแผนปัจจุบันมาใช้ประกอบในการผลิตด้วย ยาสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรจำเป็นต้องผ่านความมั่นใจถึงความปลอดภัยและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ มาตรฐานดังกล่าวจะเป็นหลักฐานสําคัญอย่างเป็นรูปธรรม ในการให้ข้อมูลว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆ ผลิตตามกระบวนการที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ทั้งในด้านคุณภาพและความปลอดภัย ดังนั้น ในการดำเนินการครั้งนี้จึงมุ่งหวังให้โรงงานต้นแบบนวัตกรรมผลิตยาสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพร ได้รับการรับรองตามโรงงานต้นแบบนวัตกรรมผลิตยาสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพร
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :1. สำรวจปัญหาภายในโรงงานต้นแบบนวัตกรรมผลิตยาสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพร 2. ปรับปรุงแบบแปลนและสายการผลิตของโรงงานต้นแบบนวัตกรรมผลิตยาสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรตามสภาพปัญหาที่พบ 3. ยื่นเสนอแบบแปลนและสายการผลิตเพื่อให้กระทรวงสาธารณสุขพิจารณา 4. ปรับปรุงแบบแปลนและสายการผลิตภายในโรงงานตามข้อเสนอแนะของกระทรวงสาธารณสุข 5. ยื่นขออนุญาตแบบแปลนอาคารสถานที่ผลิตเพื่อขอรับรองมาตรฐาน GMP 6. พัฒนาศักยภาพบุคลากรในโรงงานต้นแบบให้เป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐาน GMP โดยจัดโครงการอบรมหลักสูตรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้กับบุคลากร 7. จัดทำเอกสารในการขอรับรองตามมาตรฐาน GMP ตามคำแนะนำของที่ปรึกษาระบบคุณภาพ เพื่อขอการตรวจรับรองตามมาตรฐาน GMP
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :เป็นโครงการวิจัยเชิงนโยบายของมหาวิทยาลัยราชขภัฏนครสวรรค์ สอดคล้องกับแผนยุทธ์ศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 การแสวงหารายได้และสร้างความมั่นคงทางการเงินของมหาวิทยาลัยในระยะยาว (Future of Revenue Model) โดยมีผลสำเร็จ คือ แปลนโรงงานต้นแบบนวัตกรรมผลิตยาสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพร ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GMP
จำนวนเข้าชมโครงการ :573 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาววิรังรอง แสงอรุณเลิศ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย20
นายธีระยุทธ เตียนธนา บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย15
นางสาวชนกานต์ สกุลแถว บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย15
นายรณชัย วันทอง บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย10
นางสาวเปล่งรัศมี ศรีนรคุตร์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย10
นางสาวกฤษยานี สาระมูล บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย10
นายพันธ์ระวี หมวดศรี บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย20

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด