รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000631
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :ระบบเตาปฏิกรณ์แก๊สซิฟายเออร์ชนิดไหลลงหลายคอคอดจากพลังานหมุนเวียนไมยราบยักษ์ประยุกต์ให้ความร้อนโดยเทคโนโลยีรังสีอินฟาเรด
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Multi Core Downdraft Gasifier System from The Mimosa Pigra L. Renewable Application Heating System by Infrared Technology
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :Multi Core, Downdraft, Gasifier, Mimosa Pigra L. ,Renewable
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :สถาบันวิจัยและพัฒนา > กลุ่มงานฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :70000
งบประมาณทั้งโครงการ :70,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :30 มีนาคม 2566
วันสิ้นสุดโครงการ :29 มีนาคม 2567
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขาวิชาการ :ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและอุตสาหกรรม
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ไม่ระบุ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ข้อมูลด้านพลังงานโดยกระทรวงพลังงานรายงานมูลค่าการใช้พลังงาน ปี พ.ศ.2564 อยู่ที่ 1.967 พันล้าน โดยเพิ่มขึ้นจาก พ.ศ. 2563 ร้อยละ 8.79 โดยมีการใช้พลังงานทดแทนลดลง และมีร้อยการนำเข้าพลังงานอยู่ที่ระดับร้อยละ 64 ปริมาณการใช้พลังงานทดแทนในปี พ.ศ. 2564 มีมูลค่า 69,622 ล้านบาทมีมูลค่าลดลงจากปี พ.ศ. 2563 ร้อยละ 8.58 ข้อมูลที่กล่าวมาส่งผลกระทบต่อการใช้พลังงานรวมที่แนวโน้มสูงมากขึ้น แต่แนวโน้มที่สูงเพิ่มมากขึ้นกลับมีการใช้พลังงานทดแทนที่ลดลง พลังงานทดแทนมีนิยามที่สอดคล้องกับพลังงานหมุนเวียนและจากประเด็นข้างต้นผู้วิจัยได้ตระหนักถึงกระแสส่งเสริมให้ใช้พลังงานหมุนเวียนให้เพิ่มมากขึ้นเนื่องจากประเด็นสิ่งแวดล้อมโลกมีการส่งเสริมให้เลือกใช้แหล่งพลังงานที่สามารถหมุนเวียนใช้แล้วสร้างใหม่ได้ ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาค้นคว้าระบบพลังงานที่สามารถใช้พลังงานหมุนเวียน และจากการศึกษาเบื้องต้นพบว่าพืชต่างๆ โดยเฉพาะไม้ยืนต้นสามารถนำมาสร้างพลังงานได้ด้วยเทคโนโลยีแก๊สซิฟายเออร์ ผู้วิจัยพบว่าเทคโนโลยีแก๊สซิฟายเออร์ชนิดไหลลงเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการนำพืชไม้ยืนต้นมาเป็นแหล่งสร้างก๊าซเชื้อเพลิงเพื่อนำไปเป็นแหล่งเชื้อเพลิงต่อไป หลักกการทำงานเทคโนโลยีแก๊สซิฟายเออร์ชนิดไหลลง คือ ทิศทางการเคลื่อนที่ของแหล่งเชื้อเพลิงและก๊าซเชื้อเพลิงเคลื่อนที่ในทิศทางลง ส่งผลให้ของแข็ง สารระเหย และน้ำมันดินที่เกิดขึ้นมีปริมาณลดลงเนื่องจากการเคลื่อนที่ผ่านบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงภายในเตาปฏิกรณ์ และเถ้าและฝุ่นละอองมีปริมาณน้อยกว่าแบบอื่น และจากการสืบค้นพบว่าเทคโนโลยีเตาปฏิกรณ์แก๊สซิฟายเออร์ชนิดไหลลงในประเทศไทยมีการพัฒนากระบวนการออกแบบให้มีจำนวนคอคอด 1 คอคอดเท่านั้น คอคอดเป็นส่วนที่สำคัญในเทคโนโลยีเตาปฏิกรณ์แก๊สซิฟายเออร์ชนิดไหลลงเนื่องจากเป็นบริเวณเชื้อเพลิงสัมผัสกับอากาศและความร้อนมากร้อนมากที่สุด ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนวทางการศึกษาการลดขนาดตอตอดแต่มีจำนวนหลายคอคอดเพื่อยังคงพื้นที่การสัมผัสอากาศและความร้อนดังเดิม จากการสืบค้นเพื่อหาแหล่งพลังงานหมุนเวียน พบว่า ไม้ไมยราบยักษ์ จัดเป็นวัชพืชต่างถิ่นประเภทหนึ่ง มีการเจริญเติบโตและแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมทั้งน้ำท่วมขังและแห้งแล้ง ไมยราบยักษ์เป็นพืชตระกูลถั่ว ไม้ยืนต้น ลำต้นมีความยาวมากกว่า 3 เมตร มีหนามบริเวณต้น กิ่งยาวประมาณ 2 - 6 เมตร ลำต้นแข็ง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-7 เซนติเมตร ทางผู้วิจัยจึงได้นำคุณสมบัติดังที่กล่าวมาประยุกต์เป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนสอดคล้องกับงานวิจัยของ ปัญจรัตน์ และคณะ(2554) ที่ได้นำเสนอให้นำไมยราบยักษ์เป็นแหล่งพลังงานความร้อนในรูปของถ่านอัดแท่ง ทางผู้วิจัยจึงได้นำแนวคิดการนำไม้ไมยราบยักษ์ผนวกเข้ากับเทคโนโลยีแก๊สซิฟายเออร์ชนิดไหลลงหลายคอคอดเพื่อเป็นแหล่งเชื้อเพลิงให้กับเตาอินฟราเรดอีกทอดหนึ่ง ทางผู้วิจัยมุ่งหวังพัฒนางานวิจัยเพื่อให้เกิดความตระหนักด้านพลังงานหมุนเวียนให้เพิ่มมากขึ้น และเป็นแหล่งความรู้แก่ผู้มีความสนใจนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ประโยชน์ทั้งเชิงความรู้และต่อยอดไปถึงระดับเชิงพานิชย์ เช่น การนำไปใช้ในกระบวนการอบปลา กล้วยซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้ให้กับประชากรในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ เป็นต้น
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :เพื่อทดสอบประสิทธิภาพเตาปฏิกรณ์แก๊สซิฟายเออร์ชนิดไหลงหลายคอคอด เพื่อทดสอบประสิทธิภาพความร้อนของซิงค์แก๊สที่ได้จากเตาปฏิกรณ์ประยุกต์เป็นแหล่งเชื้อเพลิงสำหรับเตาอินฟราเรด
ขอบเขตของโครงการ :พลังงานหมุนเวียนในการทดสอบคือพืชไมยราบยักษ์ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ เตาปฏิกรณ์ ขนาดปริมาตร 5 ลิตร ภายในกำหนดคอคอดจำนวน 3 คอคอด
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :ต้นแบบระบบเตาปฏิกรณ์แก๊สซิฟายเออร์ชนิดไหลลงหลายคอคอดนำไปสู่การใช้ประยุกต์ในเชิงพานิชย์ได้ด้วยการยื่นจดอนุสิทธิบัตร เกิดระบบนิเวศการนำไม้ไมยราบเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนแปรเป็นพลังงานความร้อนสำรับการดำเนินกิจการขนาดเล็กได้ สร้างรายได้ให้กับผู้ปลูกพืชไมยราบเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นอีกชนิดหนึ่ง
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :ผู้วิจัยพบว่าเทคโนโลยีแก๊สซิฟายเออร์ชนิดไหลลงเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการนำพืชไม้ยืนต้นมาเป็นแหล่งสร้างก๊าซเชื้อเพลิงเพื่อนำไปเป็นแหล่งเชื้อเพลิงต่อไป หลักกการทำงานเทคโนโลยีแก๊สซิฟายเออร์ชนิดไหลลง คือ ทิศทางการเคลื่อนที่ของแหล่งเชื้อเพลิงและก๊าซเชื้อเพลิงเคลื่อนที่ในทิศทางลง ส่งผลให้ของแข็ง สารระเหย และน้ำมันดินที่เกิดขึ้นมีปริมาณลดลงเนื่องจากการเคลื่อนที่ผ่านบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงภายในเตาปฏิกรณ์ และเถ้าและฝุ่นละอองมีปริมาณน้อยกว่าแบบอื่น และจากการสืบค้นพบว่าเทคโนโลยีเตาปฏิกรณ์แก๊สซิฟายเออร์ชนิดไหลลงในประเทศไทยมีการพัฒนากระบวนการออกแบบให้มีจำนวนคอคอด 1 คอคอดเท่านั้น คอคอดเป็นส่วนที่สำคัญในเทคโนโลยีเตาปฏิกรณ์แก๊สซิฟายเออร์ชนิดไหลลงเนื่องจากเป็นบริเวณเชื้อเพลิงสัมผัสกับอากาศและความร้อนมากร้อนมากที่สุด ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนวทางการศึกษาการลดขนาดตอตอดแต่มีจำนวนหลายคอคอดเพื่อยังคงพื้นที่การสัมผัสอากาศและความร้อนดังเดิม ไม้ไมยราบยักษ์ จัดเป็นวัชพืชต่างถิ่นประเภทหนึ่ง มีการเจริญเติบโตและแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมทั้งน้ำท่วมขังและแห้งแล้ง ไมยราบยักษ์เป็นพืชตระกูลถั่ว ไม้ยืนต้น ลำต้นมีความยาวมากกว่า 3 เมตร มีหนามบริเวณต้น กิ่งยาวประมาณ 2 - 6 เมตร ลำต้นแข็ง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-7 เซนติเมตร ทางผู้วิจัยจึงได้นำคุณสมบัติดังที่กล่าวมาประยุกต์เป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนสอดคล้องกับงานวิจัยของ ปัญจรัตน์ และคณะ(2554) ที่ได้นำเสนอให้นำไมยราบยักษ์เป็นแหล่งพลังงานความร้อนในรูปของถ่านอัดแท่ง ทางผู้วิจัยจึงได้นำแนวคิดการนำไม้ไมยราบยักษ์ผนวกเข้ากับเทคโนโลยีแก๊สซิฟายเออร์ชนิดไหลลงหลายคอคอดเพื่อเป็นแหล่งเชื้อเพลิงให้กับเตาอินฟราเรดอีกทอดหนึ่ง
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :ดำเนินการออกแบบเตาแก๊สซิฟายเออร์ชนิดไหลลงสามคอคอด ภายใต้เงื่อนไขปริมาตรเตาบรรจุเชื้อ 5 ลิตร วัดค่าความชื้นไม้ไมยราบก่อนและหลังจากผึ่งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์จำนวน 18 ชั่วโมง บันทึกข้อมูล คำนวณค่าความชื้นในเนื้อไม้ไมยราบ หั่นไม้ไมยราบออกเป็นอัตราส่วน ความยาวต่อเส้นผ่านศูนย์กลาง โดยกำหนดอัตราส่วน 1:1 1:2 2:1 วัดค่าความชื้นไม้ไมยราบก่อนและหลังกระบวนการอบลดความชื้นด้วยอุณหภูมิ 105 องศาเซลเซียส เวลา 7 ชั่วโมง บันทึกข้อมูลคำนวณค่าความชื้นในเนื้อไม้ไมยราบ นำไม้ไมยราบบรรจุลงในถังบรรจุเชื้อเพลิงในเตาปฏิกรณ์แก๊สซิฟายเออร์ชนิดไหลลง ครั้งละ 3 ลิตร(ปริมาตรถังบรรจุเชื้อเพลิง) ดำเนินการเก็บผลค่าความร้อนเตาแก๊สซิฟายเออร์ชนิดไหลลง ณ ตำแหน่งต่างๆ ที่กำหนด บันทึกค่าทุก 5 นาที นำผลที่ได้วิเคราะห์ลักษณะอุณหภูมิที่เกิดขึ้น คำนวณค่าประสิทธิภาพความร้อนเตา แก๊สซิฟายเออร์ชนิดไหลลง นำซิงค์แก๊สที่ได้จากเตาแก๊สซิฟายเออร์ชนิดไหลลง ป้อนเป็นแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงให้เตาอินฟราเรด ดำเนินการวัดค่าประสิทธิภาพความด้วยกระบวนการการให้ความร้อนที่ 100 องศาเซลเซียส
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :137 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายปฐมพงค์ จิโน บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย60
นางศรัณรัตน์ คงมั่น บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย40

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด