รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000630
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :อัตลักษณ์กับวาทกรรมความปกติใหม่ในเรื่องสั้นแนวโควิด
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Identity of Covid’s short story, New normal, Covid-19
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :อัตลักษณ์เรื่องสั้นแนวโควิด, วาทกรรมความปกติใหม่, โควิด-19
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ > สาขาวิชาภาษาไทย
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :65000
งบประมาณทั้งโครงการ :65,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :30 มีนาคม 2566
วันสิ้นสุดโครงการ :29 มีนาคม 2567
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยพื้นฐาน(ทฤษฎี)/บริสุทธิ์
กลุ่มสาขาวิชาการ :มนุษยศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ไม่ระบุ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :เรื่องสั้นแนวโควิด เป็นประเภทวรรณกรรมที่เป็นทั้งผลิตผลและพลังชี้นำขับเคลื่อนสังคมในช่วงระยะเวลาของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ในด้านหนึ่งเรื่องสั้นแนวโควิดทำหน้าที่บันทึกเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั้งในมิติของการแพร่ระบาด และผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งจากตัวโรคโควิด-19 และมาตรการทางสังคมในนามวาทกรรม “ความปกติใหม่ (New Normal)” ที่ส่งผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงในมิติสุขภาพ การบริหารจัดการด้านสาธารณสุข เศรษฐกิจ สังคม ค่านิยม วัฒนธรรม ตลอดจนอารมณ์ความรู้สึกของคนไทยร่วมสมัยที่มีประสบการณ์การดำเนินชีวิตภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ร่วมกัน ซึ่งการทำหน้าที่ของเรื่องสั้นแนวโควิดในลักษณะนี้ เป็นสิ่งที่สอดคล้องกับธรรมชาติในการสะท้อนสังคมของวรรณกรรม ดังที่ ตรีศิลป์ บุญขจร (2553: 94) กล่าวว่า วรรณกรรมในฐานะภาพสะท้อนของค่านิยม ความรู้สึกของมนุษย์ในท่ามกลาง ความเปลี่ยนแปลงในสังคม ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ และปฏิกิริยาสนองตอบต่อประสบการณ์ของมนุษย์ วรรณกรรมแสดงทั้งความปรารถนาและความใฝ่ฝันของมนุษย์อันจัดได้ว่าเป็นปรอทวัดปฏิกิริยาของมนุษย์ต่อพลังกดดันในสังคม ทว่า ในอีกด้านหนึ่งนักประพันธ์ได้แสดงทัศนะ มุมมอง วิพากษ์วิจารณ์ จนถึงขั้นเสนอทางออกเพื่อลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เรื่องสั้นแนวโควิดจึงมีบทบาทในการชี้นำและขับเคลื่อนสังคมด้วย ซึ่งบทบาทดังกล่าวนี้ได้รับการเปรียบเทียบว่าเป็นดั่ง “โคมฉาย” หรือ “โคมไฟ” ในการนำทางสังคม ดังที่ จรรยวรรณ เทพศรีเมือง (2560: 42) กล่าวไว้สรุปได้ว่า ในปัจจุบันนักประพันธ์ส่วนมากพยายามสร้างสรรค์บทประพันธ์ในลักษณะสะท้อนภาพควบคู่ไปกับการชี้นำสังคม โดยกระทำอย่างแนบเนียน เพื่อชี้นำหรือจูงใจผู้เขียนไปในทิศทางที่นักประพันธ์ต้องการ ซึ่งความแนบเนียนดังกล่าวเกิดขึ้นจากสาเหตุ ดังที่ โจนาธาน คัลเลอร์ (2561: 196) กล่าวว่า วรรณกรรมเชื่อมโยงกับประสบการณ์โดยอ้อมของผู้อ่าน ทำให้ผู้อ่านทราบว่าเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์นั้น ๆ จะรู้สึกเช่นไร ด้วยเหตุนี้จึงมีแนวโน้มที่จะกระทำหรือรู้สึกไปในทางใดทางหนึ่ง ตามที่ถูกกระตุ้นให้มีอารมณ์ร่วมกับตัวละคร โดยแสดงให้เห็นสิ่งต่าง ๆ จากมุมมองของพวกเขา วรรณกรรมจึงเรียกร้องให้เกิดอารมณ์ร่วม และอารมณ์ร่วมนั้นมีบทบาทในการสร้างอัตลักษณ์ เรากลายเป็นแบบที่เราเป็นโดยแบ่งปันความรู้สึกร่วมกับตัวละครที่เราอ่าน เรื่องสั้นแนวโควิดจึงเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญในการศึกษาวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปรากฏการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ปฏิกิริยาของผู้คนและสังคม พฤติกรรมและการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมทั้งในระดับปัจเจกชนและกลุ่มสังคม ทั้งในมิติของพฤติกรรมภายนอกและพฤติกรรมภายในซึ่งเป็นเรื่องของความคิดและอารมณ์ความรู้สึก ตลอดจนแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจากพลังขับเคลื่อนทางสังคมเพื่อรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ซึ่งเรื่องสั้นแนวโควิดก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของพลังขับเคลื่อนทางสังคมดังกล่าวด้วย เนื่องจากเรื่องสั้นเหล่านี้ประกอบสร้างขึ้นผ่านศิลปะภาษาอย่างมีเหตุผลและความเข้มข้นทางอารมณ์ที่สามารถส่งผลกระทบและสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของคนในสังคมได้นั่นเอง ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงได้เลือกศึกษาวิจัย เรื่องสั้นแนวโควิด ในหัวข้อ “อัตลักษณ์กับวาทกรรมความปกติใหม่ในเรื่องสั้นแนวโควิด” โดยมุ่งศึกษาและสร้างองค์ความรู้ทั้งในมิติวรรณกรรมและมิติทางสังคมเกี่ยวกับการรับมือกับผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตภายใต้วาทกรรมความปกติใหม่ (New Normal) ซึ่งองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัยนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งการศึกษาทางด้านสังคมและการศึกษาทางด้านวรรณกรรม คุณประโยชน์ต่อการศึกษาทางด้านสังคม องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัยนี้จะนำไปสู่ความเข้าใจพฤติกรรม การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของปัจเจกชนและกลุ่มสังคมอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ส่วนคุณประโยชน์ต่อการศึกษาทางด้านวรรณกรรม องค์ความรู้ที่ได้จะมี 2 ส่วน คือส่วนที่เป็นทฤษฎีการประพันธ์ และส่วนที่เป็นทฤษฎีการวิจารณ์วรรณกรรม กล่าวคือ ในมิติการประพันธ์เกิดเป็นทฤษฎีความรู้ด้านกลวิธีการประพันธ์เรื่องอย่างสร้างสรรค์และมีพลังในการขับเคลื่อนสังคม และในมิติการวิจารณ์วรรณกรรม เกิดเป็นองค์ความรู้ในการศึกษาวิจัยและวิจารณ์วรรณกรรมที่ประกอบสร้างขึ้นจากปัจจัยเฉพาะที่เป็นวิกฤตการณ์ของสังคมต่อไป ทั้งในมิติของการประกอบสร้างเรื่อง กลวิธีการประพันธ์ และการชี้นำสังคม โดยมีการศึกษาวิจัยเรื่องสั้นแนวโควิด ซึ่งประกอบสร้างเรื่องขึ้นจากปัจจัยเฉพาะที่เป็นการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 เป็นกรณีศึกษาต้นแบบ ทั้งนี้ จากการศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 พบว่า ยังไม่มีการศึกษาวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโรคและการต้องดำเนินชีวิตภายใต้วาทกรรมความปกติใหม่ จากแหล่งข้อมูลประเภทเรื่องสั้นแนวโควิดมาก่อน งานวิจัยทางสังคมที่เกี่ยวกับสถานการณ์โควิดโดยทั่วไป จะเป็นการศึกษาผ่านทางเอกสาร การสัมภาษณ์และการสำรวจความคิดเห็นของผู้ได้รับผลกระทบหรือเกี่ยวข้อง และการจัดเสวนา ดังเช่นการศึกษาในโครงการวัฒนธรรมไทยในกระแสการเปลี่ยนแปลงจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะได้รับการชื่นชมจากนานาประเทศในฐานะประเทศตัวอย่างที่ดีในอันดับต้น ๆ ของโลก และเป็นบทเรียนต่อประชาคมโลกในการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) แต่เนื่องจากการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตภายใต้วาทกรรมความปกติใหม่เพื่อความอยู่รอดปลอดภัยจากโรคโควิด-19 นั้น ก็ส่งผลกระทบต่อทั้งวิถีชีวิต และความอยู่รอดทางเศรษฐกิจ วิถีชีวิตดังกล่าวจึงสร้างความตึงเครียดให้แก่ประชาชนด้วย เช่นเดียวกับโครงการศึกษาผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจจากสถานการณ์การระบาดของโควิด- 19: กลไกการรับมือและมาตรการช่วยเหลือ โดยการสนับสนุนของ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ภายใต้แผนงาน economic and social monitor เพื่อการจัดทำรายงานสถานการณ์และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ที่มีลักษณะเป็นการศึกษาวิจัยในทางสังคม ซึ่งนำเสนอปัญหา ผลกระทบ การเปลี่ยนแปลง มาตรการ และการเยียวยาจากภาครัฐ ซึ่งผู้วิจัยในโครงการนี้ได้นำเสนอปัญหาและผลกระทบที่พบจากการวิจัยทางเอกสารและกลุ่มตัวอย่าง โดยได้มีข้อเสนอแนะต่อการดำเนินนโยบายและมาตรการต่าง ๆ เพื่อรับมือกับวิกฤตการณ์โควิด และการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวได้ตรงหรือสอดคล้องกับสภาพปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม งานวิจัยทางสังคมนั้นมีลักษณะเป็นการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในด้านสถิติข้อมูลเป็นหลัก การวิจัยเรื่อง อัตลักษณ์กับวาทกรรมความปกติใหม่ในเรื่องสั้นแนวโควิด ซึ่งมีแหล่งข้อมูลในการศึกษาวิจัยหลักเป็นวรรณกรรมเรื่องสั้น ที่การนำเสนอข้อมูลมีทั้งในลักษณะของข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุการณ์และสถิติข้อมูล ตลอดจนการบันทึกและถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของปัจเจกชนและกลุ่มสังคมในการเผชิญวิกฤตการณ์โควิดภายใต้บริบทความหลากหลายของเพศ วัย การศึกษา อาชีพ และพื้นที่ จึงสามารถสร้างองค์ความรู้ทางสังคมเกี่ยวกับสถานการณ์โควิดได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติของอารมณ์ความรู้สึกของบุคคลและกลุ่มบุคคล อนึ่ง ในส่วนของการวิจัยทางวรรณกรรม พบการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับวรรณกรรมโควิดในแหล่งข้อมูลประเภทอื่น ได้แก่ วรรณกรรมเพลง ได้แก่ การวิจัยเรื่องการสื่อความหมาย และกลวิธีการใช้ภาษาในเพลงเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด 19 ของ รุ่งรัตน์ ทองสกุล (วารสารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 (2021): กรกฎาคม – ธันวาคม) วรรณกรรมเพลงกล่อมเด็กจังหวัดลำปาง : การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อ การเปลี่ยนแปลงและความคงอยู่ ของ อรทัย สุขจ๊ะ ขนิษฐา ใจมโน สนม ครุฑเมือง และบุญเหลือ ใจมโน (วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2564) และการวิจัยเรื่องเรียนรู้วิกฤติสาธารณภัยโควิด-19: บันทึกอารมณ์และความคิด ผ่านการสืบสรรค์วรรณศิลป์ในบทเพลงไทยร่วมสมัย ของ นิตยา แก้วคัลนา (วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 (2022): มกราคม - เมษายน 2565) และวรรณกรรมการ์ตูน ได้แก่ การวิจัยเรื่องวาทกรรม “โควิด 19” ในการ์ตูนขายหัวเราะ ชุด “KnowCovid : รู้ทันโควิด”: สื่อเผยแพร่อุดมการณ์รัฐ ของ สุพรรษา ภักตรนิกร (วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 (2022): มกราคม - เมษายน 2565) ดังนั้น การทำการวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากโควิดและวาทกรรมเพื่อทางรอดจากโควิดอย่างวาทกรรมความปกติใหม่ จากแหล่งข้อมูลประเภทเรื่องสั้น จึงสามารถเพิ่มความหลากหลายในการสร้างองค์ความรู้ทางวรรณกรรมและการศึกษาภาพสะท้อนสังคมผ่านวรรณกรรมได้เป็นอย่างดีในอีกมิติหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงเลือกที่จะศึกษาวิจัย อัตลักษณ์กับวาทกรรมความปกติใหม่ในเรื่องสั้นแนวโควิด จากวรรณกรรมเรื่องสั้นแนวโควิด เพื่อนำไปสู่ข้อค้นพบที่เป็นองค์ความรู้ในมิติวรรณกรรมและมิติสังคม ดังรายละเอียดที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น โดยจะได้แสดงผลการศึกษาเป็นองค์ความรู้สำคัญใน 3 มิติ ได้แก่ องค
จุดเด่นของโครงการ :เป็นงานวิจัยที่นำไปสู่ข้อค้นพบที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ในเชิงมิติวรรณกรรมและมิติสังคม ในประเด็นดังต่อไปนี้ ได้แก่ การสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับอัตลักษณ์การประกอบสร้างเรื่องของเรื่องสั้นแนวโควิด องค์ความรู้เกี่ยวกับมิติการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของปัจเจกชนและกลุ่มสังคมอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และ องค์ความรู้เกี่ยวกับพลังวรรณกรรมของเรื่องสั้นแนวโควิดใน การชี้นำขับเคลื่อนสังคมในภาวะวิกฤตการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับอัตลักษณ์การประกอบสร้างเรื่องของเรื่องสั้นแนวโควิด 2. เพื่อศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับบทบาทของเรื่องสั้นที่ส่งผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในสังคมอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
ขอบเขตของโครงการ :ศึกษาวิเคราะห์เรื่องสั้นแนวโควิด จำนวน 37 เรื่อง ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ได้แก่ 1. เรื่องสั้นเรื่องคุณพยายามแล้ว ของ คงเดช จาตุรันต์รัศมี (พ.ศ.2563) 2. เรื่องสั้นเรื่องTime Traveler Breakpoint at 2020 ของ จิดานันท์ เหลืองเพียรสมุท (พ.ศ. 2563) 3. เรื่องสั้นเรื่องหัวนอนปลายเท้า ของ จิรัฏฐ์ ประเสริฐทรัพย์ (พ.ศ. 2563) 4. เรื่องสั้นเรื่องข่าวดีจากนกกางเขน ของ จิราภรณ์ วิหวา (พ.ศ. 2563) 5. เรื่องสั้นเรื่องดอกไม้ ประตู แจกัน ดินทราย ต้นไม้ใหม่ ของ ฉัตรรวี เสนธนิสศักดิ์ (พ.ศ. 2563) 6. เรื่องสั้นเรื่อง Watch from Home ของ ธนชาติ ศิริภัทราชัย (พ.ศ. 2563) 7. เรื่องสั้นเรื่องความชื้นสัมพัทธ์ต่างหากที่เป็นตัวแบ่งฤดูกาล มิใช่อุณหภูมิตามที่เขาหลอกลวง ของ ภู กระดาษ (พ.ศ. 2563) 8. เรื่องสั้นเรื่องโลมา ของ วิศุทธิ์ พรนิมิต (พ.ศ. 2563) 9. เรื่องสั้นเรื่องนั่นคือแมงกะพรุนหรือโคมไฟที่ห้อยย้อย ของ อ้อมแก้ว กัลยาณพงศ์ (พ.ศ. 2563) 10. เรื่องสั้นเรื่องความไม่ปรากฏ ของ อารยา ราษฎร์จำเริญสุข (พ.ศ. 2563) 11. เรื่องสั้นเรื่องคนที่ไม่ใช่ ยังไงก็สังหารจอมทัพอัศวินไม่ได้ ของ อุทิศ เหมะมูล (พ.ศ. 2563) 12. เรื่องสั้นเรื่องขอโทษ ของ อุรุดา โควินท์ (พ.ศ. 2563) 13. เรื่องสั้นเรื่องหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ของ ภัทรา ภูกาญจนมรกต (พ.ศ. 2563) 14. เรื่องสั้นเรื่องรถประจำทางในคืนที่วิ่งไปอย่างไม่ธรรมดา ของ วิภาพ คัญทัพ (พ.ศ. 2563) 15. เรื่องสั้นเรื่องกอด ของ จรัญ ยั่งยืน (พ.ศ. 2563) 16. เรื่องสั้นเรื่องฝนแรกแห่งเดือนมีนาคม ของ สุริยา แดนลำโขง (พ.ศ. 2563) 17. เรื่องสั้นเรื่องระยะห่าง ของ เรวัต อริยกุลชัย (พ.ศ. 2563) 18. เรื่องสั้นเรื่องบ้านนอก ออกกรุง ของ ณัฐภูมิ ฤทธิ์นอก (พ.ศ. 2563) 19. เรื่องสั้นเรื่องจากเลถึงดอย ปลาและนาขั้นบันได ของ วินทกานท์ (พ.ศ. 2563) 20. เรื่องสั้นเรื่องบันทึกเป็นท่อน ๆ (24 เฟรมต่อวินาที) ของ จำลอง ฝั่งชลจิตร (พ.ศ.2564) 21. เรื่องสั้นเรื่องโรคระบาดจากห้องคลอด (โควิด-19) ของ จำลอง ฝั่งชลจิตร (พ.ศ. 2564) 22. เรื่องสั้นเรื่องจัดบ้านครั้งเดียว ของ จำลอง ฝั่งชลจิตร (พ.ศ. 2564) 23. เรื่องสั้นเรื่องสตูลไม่ไกล ของ จำลอง ฝั่งชลจิตร (พ.ศ. 2564) 24. เรื่องสั้นเรื่องอ่อนเค็ม ของ จำลอง ฝั่งชลจิตร (พ.ศ. 2564) 25. เรื่องสั้นเรื่องไวรัสล้างความจริง ของ มายาโรส (พ.ศ. 2564) 26. เรื่องสั้นเรื่องทางรอด I ทางตาย I ทางเลือก IIของ ธุวัฒธรรพ์ (พ.ศ. 2564) 27. เรื่องสั้นเรื่องย่าจ๋า ของ ริญญาทวีสกุล (พ.ศ. 2564) 28. เรื่องสั้นเรื่องออกซิเจน ของ leGGyDan (พ.ศ. 2564) 29. เรื่องสั้นเรื่องแค่ควัน ของ นินหวา (พ.ศ. 2564) 30. เรื่องสั้นเรื่อง 21 นาฬิกาครั้งสุดท้าย ของ กิตติศักดิ์ คงคา (พ.ศ. 2564) 31. เรื่องสั้นเรื่องเสียง : 319 ของ ธีรภัทร์ (พ.ศ. 2564) 32. เรื่องสั้นเรื่องไปตามทางที่เธอย่อมรู้ดี ของ ลายา (พ.ศ.2564) 33. เรื่องสั้นเรื่องคืนล็อกดาวน์ ของ คำเธียร (พ.ศ.2564) 34. เรื่องสั้นเรื่องเช้าที่ตะวันสีทองไม่ส่องแสง ของ ลายา 35. เรื่องสั้นเรื่องสร้างสะพาน ของ แพน พงศ์พนรัตน์ (พ.ศ. 2564) 36. เรื่องสั้นเรื่องติอาร์ท ของ ทวิวัฒน์ (พ.ศ.2564) 37. เรื่องสั้นเรื่องคำพิพากษาคดีข้ามเวลา ของ ชวลักษณ์ (พ.ศ. 2564) ประกอบ การวิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างในโครงการอบรมสัมมนาเพื่อถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับนักศึกษา และบุคลากรครู
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. การสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับอัตลักษณ์ของเรื่องสั้นแนวโควิด 2. การสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์โควิด-19 3. นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เข้าร่วมโครงการมีทักษะด้านวรรณกรรมและวรรณกรรมวิจารณ์สูงขึ้น 4. นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เข้าร่วมโครงการมีทักษะการดำเนินชีวิตในสถานการณ์วิกฤตการณ์โควิด-19 ที่สูงขึ้น และให้คำแนะนำแก่ผู้อื่นได้ 5. บุคลากรครูที่เข้าร่วมโครงการมีทักษะการดำเนินชีวิตในสถานการณ์วิกฤตการณ์โควิด-19 ที่สูงขึ้น และให้คำแนะนำแก่ผู้อื่นได้ 6. ผลงานตีพิมพ์ ระดับชาติ TCI 1 7. หนังสือเผยแพร่องค์ความรู้ (E- Book) จากงานวิจัยไปยังห้องสมุดของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :1. การศึกษาในโครงการวัฒนธรรมไทยในกระแสการเปลี่ยนแปลงจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ผลการวิจัยพบว่า ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะได้รับการชื่นชมจากนานาประเทศในฐานะประเทศตัวอย่างที่ดีในอันดับต้น ๆ ของโลก และเป็นบทเรียนต่อประชาคมโลกในการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) แต่เนื่องจากการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตภายใต้วาทกรรมความปกติใหม่เพื่อความอยู่รอดปลอดภัยจากโรคโควิด-19 นั้น ก็ส่งผลกระทบต่อทั้งวิถีชีวิต และความอยู่รอดทางเศรษฐกิจ วิถีชีวิตดังกล่าวจึงสร้างความตึงเครียดให้แก่ประชาชนด้วย 2. กลวิธีการใช้ภาษาในเพลงเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด 19 ของ รุ่งรัตน์ ทองสกุล (วารสารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 (2021): กรกฎาคม – ธันวาคม) ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านการสื่อความหมาย พบจำนวน 8 ลักษณะ ตามลำดับที่พบ ได้แก่ การให้คำแนะนำในการดำเนินชีวิต การให้กำลังใจ การปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์ การให้ความช่วยเหลือและสร้างความสามัคคี สถานการณ์การแพร่ระบาด สภาพสังคมที่มีการแพร่ระบาด อาการของผู้ป่วย และการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ และ 2) ด้านกลวิธีทางภาษา ได้แก่ 2.1) กลวิธีทางศัพท์ พบ 5 ลักษณะ ได้แก่ การซ้ำ การเล่นคำ คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ และภาษาไทยถิ่น และ 2.2) กลวิธีทางภาพพจน์ พบ 7 ลักษณะ ได้แก่ ปฏิปุจฉาพจน์ อติพจน์ อุปมา อุปลักษณ์ บุคลาธิษฐาน ปฏิภาคพจน์ และนามนัย การสื่อความหมาย และกลวิธีทางภาษาที่นำเสนอผ่าน บทเพลงที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ COVID-19 ทำให้เห็นการนำเสนอเรื่องราวที่มีคุณค่าต่อผู้คน สังคม หน่วยงานต่าง ๆ โดยผู้ประพันธ์เพลงได้ใช้กลวิธีทางภาษาในการถ่ายทอดบทเพลงได้อย่างน่าสนใจ 3. การวิจัยเรื่องเรียนรู้วิกฤติสาธารณภัยโควิด-19: บันทึกอารมณ์และความคิด ผ่านการสืบสรรค์วรรณศิลป์ในบทเพลงไทยร่วมสมัย ของ นิตยา แก้วคัลนา (วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 (2022): มกราคม - เมษายน 2565) ผลการวิจัยพบว่า บทเพลงไทยร่วมสมัยในสื่อสังคมออนไลน์มีมิติของการสืบสรรค์วรรณศิลป์เพื่อสื่อประสบการณ์ทางอารมณ์และความรู้สึกของผู้คนในวิกฤตการณ์สาธารณภัยโควิด-19 ได้แก่ ความหวาดกลัว วิตกกังวล และทุกข์ใจท่ามกลางการระบาดของโรคโควิด-19 ความรัก คิดถึง ห่วงใยในสถานการณ์วิกฤติของโรคโควิด-19 ความเหงา เศร้า เสียใจ และหดหู่ในวิกฤตการณ์ที่เกิดจากโรคโควิด-19 ความรังเกียจโรคร้ายโควิด-19 ความเบื่อหน่ายในบริบทของโควิด-19 และอารมณ์ขันในห้วงเวลาวิกฤติโควิด-19 ส่วนการสื่อ “สาร” ในสังคมไทยในวิกฤตการณ์สาธารณภัยโควิด-19 มีจุดมุ่งหมายเพื่อสื่อ “สาร” คือ การป้องกันการติดเชื้อ การให้กำลังใจ การเตือนภัย การยกย่องและขอขอบคุณบุคลากรทาง การแพทย์และสาธารณสุข และการประชาสัมพันธ์ให้ฉีดวัคซีน ในด้านมุมมองเกี่ยวกับชีวิตและสังคมในสถานการณ์วิกฤติโควิด-19 พบว่าโรคโควิด-19 เป็นโรคร้ายทำลายและคุกคามมนุษย์ ส่งผลกระทบเป็นปัญหาด้านการงานและการเงิน คนไทยควรร่วมมือกันต้านภัยร้ายและมีจิตสำนึกแบ่งปัน ขอผู้นำบ้านเมืองฟังเสียงความเดือดร้อนของประชาชน วอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ขับไล่โรคร้ายออกจากชีวิตและสังคมไทย ปัญหาการบริหารจัดการของภาครัฐ การเรียน-สอนออนไลน์สู่วิถีชีวิตปกติใหม่ของครู-นักเรียน ด่านทดสอบชีวิตมนุษย์ และหวังไว้ไทยต้องชนะโรคโควิด-19 4. การวิจัยเรื่องวาทกรรม “โควิด 19” ในการ์ตูนขายหัวเราะ ชุด “KnowCovid : รู้ทันโควิด”: สื่อเผยแพร่อุดมการณ์รัฐ ของ สุพรรษา ภักตรนิกร (วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 (2022): มกราคม - เมษายน 2565) ผลการวิจัยพบว่า กลวิธีทางภาษาที่ใช้ในสื่อสิ่งพิมพ์จำนวน 6 วิธี คือ การเลือกใช้คำศัพท์ การใช้รูปแบบประโยค กลวิธีทางวรรณศิลป์ที่ประกอบด้วยอุปลักษณ์ ปฏิพากย์ และใช้คำขวัญ อีกทั้งมีการสื่อมูลบท การสื่อความหมายด้วยภาพ และกลวิธีสร้างมุกตลก 5 วิธี คือ การล้อเลียนสิ่งที่อยู่ในสังคม การสร้างสถานการณ์ที่เกินความเป็นปกติ การพลิกความคาดหมาย การทำผิดขั้นตอน และการเชื่อมโยงสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้อง กลวิธีทางภาษาเหล่านี้ผลิตสร้างและเผยแพร่ชุดความคิดหลักสามชุดเพื่อประโยชน์และความมั่นคงของรัฐ ประกอบไปด้วยรัฐมีมาตรการควบคุมโรคโควิด 19 ที่มีประสิทธิภาพ ประชาชนเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาโรคโควิด 19 จึงต้องมีหน้าที่ร่วมกันแก้ไขตามมาตรการรัฐ และโรคโควิด 19 มีสถานะเป็นศัตรูที่สามารถต่อสู้หรือควบคุมจัดการได้
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :1. แนวคิดการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคม แนวคิดการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ยึดตามแนวทางของเวโก (อ้างถึงใน นฤมล นิราทร, 2559: 9) มีกรอบแนวคิดสำคัญในการศึกษา โดยให้ความสำคัญต่อความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ ดังต่อไปนี้ สิ่งที่เปลี่ยนแปลง (Identity of change) ระดับของการเปลี่ยนแปลง (Level of change) ช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลง (Duration of change) ขนาดของการเปลี่ยนแปลง (Magnitude of change) อัตราการเปลี่ยนแปลง (Rate of change) ต้นตอของการเปลี่ยนแปลง (Source of change) และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง (Consequences of change) ซึ่งผู้วิจัยจะได้นำแนวคิดดังกล่าวมาใช้ในการศึกษาวิจัยการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยเป็นการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างก่อนการเกิดการแพร่ระบาดและภายหลังการเกิดการแพร่ระบาดในเรื่องการนำเสนอภาพการแพร่ระบาดและผลกระทบจากการแพร่ระบาดในเรื่องสั้นแนวโควิด ร่วมกับการศึกษาในเชิงเปรียบเทียบกับผลการศึกษาวิจัยทางสังคมเกี่ยวกับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่มีผู้ศึกษาวิจัยไว้แล้ว เพื่อนำมาแปรผลและสรุปเป็นองค์ความรู้ 2. แนวคิดทฤษฎีภาพสะท้อนของวรรณกรรม ทฤษฎีภาพสะท้อนของวรรณกรรม เป็นทฤษฎีที่ตระหนักถึงและให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรมกับการศึกษาทางด้านสังคมวิทยา ดังที่ ตรีศิลป์ บุญขจร (2553: 92) กล่าวว่า วรรณกรรมและสังคมวิทยา (Sociology) ต่างให้ความสำคัญต่อการทำความเข้าใจมนุษย์ทั้งในฐานะที่เป็นปัจเจกบุคคลและในฐานะสมาชิกในสังคม การปรับตัวของมนุษย์ในสังคม และอุดมคติ วรรณคดีบันทึกประสบการณ์ทางความรู้สึกและความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ในสังคม ให้ภาพของมนุษย์ในสังคมตั้งแต่ระดับเล็กที่สุดคือครอบครัว สถาบันการเมืองและรัฐ บทบาทของมนุษย์ในสถานการณ์ต่างๆ ในสังคม ขณะที่สังคมวิทยามุ่งศึกษาวิเคราะห์ประเด็นเหล่านี้อย่างวัตถุวิสัย วรรณกรรมและสังคมวิทยาจึงเป็นทั้งแหล่งข้อมูลและองค์ความรู้ที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องและอิงอาศัยกันได้ในการแสวงหาคำตอบต่อความเข้าใจเกี่ยวกับมนุษย์และสังคม ด้วยเหตุนี้จึงเกิดเป็นทฤษฎีภาพสะท้อนของวรรณกรรมที่มุ่งศึกษาวรรณกรรมในเชิงเปรียบเทียบแบบข้ามศาสตร์โดยใช้ข้อมูลและองค์ความรู้ทางด้านสังคมวิทยา ซึ่งผู้วิจัยจะได้นำทฤษฎีภาพสะท้อนของวรรณกรรมนี้มาศึกษาวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบ การเปลี่ยนแปลง และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมในสังคมอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) 3. แนวคิดทฤษฎีศาสตร์แห่งเรื่องเล่า แนวคิดทฤษฎีศาสตร์แห่งเรื่องเล่า เป็นทฤษฎีที่มุ่งศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบของเรื่องเล่า อันได้แก่ มุมมองการเล่าเรื่อง ตัวละคร โครงเรื่อง แก่นเรื่องความขัดแย้ง ฉาก เทคนิคภาพและเสียง ในการทำความเข้าใจเรื่องเล่าในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งผู้วิจัยก็จะได้นำทฤษฎีศาสตร์แห่งเรื่องเล่ามาใช้ในการศึกษาและสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับอัตลักษณ์การสร้างเรื่องเล่าของวรรณกรรมเรื่องสั้นแนวโควิด โดยมุ่งเน้นการศึกษาเรื่องเล่าในแนวทางที่ “มุ่งศึกษาการเล่าเรื่องของตัวบทที่ตั้งคำถามเกี่ยวกับมิติอำนาจในการประกอบสร้าง ความหมาย อัตลักษณ์ ภาพตัวแทน หรืออุดมการณ์ต่างๆ และการถอดรหัสข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจเรื่องเล่า” (ขจิตขวัญ วิกิจสาละ, 2564: 9) ในการทำความเข้าใจและสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นการเฉพาะของกลุ่มวรรณกรรมเรื่องสั้นแนวโควิด 4. แนวคิดการศึกษาเรื่องอัตลักษณ์ แนวคิดการศึกษาเรื่องอัตลักษณ์ เป็นแนวคิดที่มุ่งศึกษาเพื่อทำความเข้าใจลักษณะของ “ตัวตน”และการสร้างความเป็น “ตัวตน” ของสรรพสิ่ง ทั้งในระดับบุคคล สังคม องค์กร รวมถึง “เรื่องเล่า” ด้วย การสร้างอัตลักษณ์หรือความเป็น “ตัวตน” นั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายใต้สิ่งแวดล้อมของวาทกรรมหรือ ชุดความคิดอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างที่ส่งอิทธิพลต่อความคิดในการประกอบสร้างอัตลักษณ์หรือตัวตนนั้น ๆ ดังที่ อภิญญา เฟื่องฟูสกุล (2546: 75) กล่าวว่า ปัจเจกภาพหรือ “ตัวตน” เป็นเพียงผลของชุดวาทกรรมต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้ “ตัวตน” จึงไม่ใช่สิ่งที่คงทนถาวร แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามที่วาทกรรมหยิบยื่นให้ดังนั้นเมื่อสถานการณ์เปลี่ยน อัตลักษณ์ก็สามารถเปลี่ยนได้เช่นกัน เรื่องเล่า เป็นสิ่งที่ประกอบสร้างขึ้นจากชุดวาทกรรมเช่นเดียวกัน วาทกรรมเหล่านี้ส่งผลโดยตรงต่อการประกอบสร้างอัตลักษณ์ของเรื่องเล่าได้ในลักษณะเช่นเดียวกับส่งผลกระทบต่อการประกอบสร้างอัตลักษณ์หรือปัจเจกภาพของบุคคล ทั้งนี้ กระบวนการสร้างอัตลักษณ์ของเรื่องเล่า มีกระบวนการ ดังที่ คงกฤช ไตรยวงศ์ (2550: 36) กล่าวว่า อัตลักษณ์ของเรื่องเล่าประกอบสร้างขึ้นด้วยการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของโครงเรื่อง (plot) โดยเกิดจากความสัมพันธ์เชิงวิภาษระหว่างความลงรอย (concordance) กับความแปร่งแย้ง (discordance) คำว่าความลงรอยหมายถึงการจัดระเบียบซึ่งเรียกตามคำของอริสโตเติลว่า "การร้อยเรียงข้อเท็จจริง" (arrangement of fact) ส่วนคำว่าความแปร่งแย้ง หมายถึงความผันผวนของชะตากรรม (reversal of fortune) ซึ่งทำให้โครงเรื่องเป็นการจัดระเบียบ เหตุการณ์จากจุดเริ่มเรื่องไปสู่ตอนท้ายเรื่องให้เป็นองค์รวม โครงเรื่องทำหน้าที่ในการทำให้เกิดเรื่องราวหนึ่งจากสิ่งที่มีความหลากหลาย หรือเปลี่ยนรูปความแตกต่างหลากหลายนั้นไปเป็นเรื่องราวหนึ่งเรื่อง
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่มีวิธีการดำเนินการวิจัยที่สำคัญคือ 1. ศึกษาเรื่องสั้นแนวโควิด จำนวน 37 เรื่อง ได้แก่ 1. เรื่องสั้นเรื่องคุณพยายามแล้ว ของ คงเดช จาตุรันต์รัศมี (พ.ศ. 2563) 2. เรื่องสั้นเรื่อง Time Traveler Breakpoint at 2020 ของ จิดานันท์ เหลืองเพียรสมุท (พ.ศ. 2563) 3. เรื่องสั้นเรื่องหัวนอนปลายเท้า ของ จิรัฏฐ์ ประเสริฐทรัพย์ (พ.ศ. 2563) 4. เรื่องสั้นเรื่องข่าวดีจากนกกางเขน ของ จิราภรณ์ วิหวา (พ.ศ. 2563) 5. เรื่องสั้นเรื่องดอกไม้ ประตู แจกัน ดินทราย ต้นไม้ใหม่ ของ ฉัตรรวี เสนธนิสศักดิ์ (พ.ศ. 2563) 6. เรื่องสั้นเรื่อง Watch from Home ของ ธนชาติ ศิริภัทราชัย (พ.ศ. 2563) 7. เรื่องสั้นเรื่องความชื้นสัมพัทธ์ต่างหากที่เป็นตัวแบ่งฤดูกาล มิใช่อุณหภูมิตามที่เขาหลอกลวง ของ ภู กระดาษ (พ.ศ. 2563) 8. เรื่องสั้นเรื่องโลมา ของ วิศุทธิ์ พรนิมิต (พ.ศ. 2563) 9. เรื่องสั้นเรื่องนั่นคือแมงกะพรุนหรือโคมไฟที่ห้อยย้อย ของ อ้อมแก้ว กัลยาณพงศ์ (พ.ศ. 2563) 10. เรื่องสั้นเรื่องความไม่ปรากฏ ของ อารยา ราษฎร์จำเริญสุข (พ.ศ. 2563) 11. เรื่องสั้นเรื่องคนที่ไม่ใช่ ยังไงก็สังหารจอมทัพอัศวินไม่ได้ ของ อุทิศ เหมะมูล (พ.ศ. 2563) 12. เรื่องสั้นเรื่องขอโทษ ของ อุรุดา โควินท์ (พ.ศ. 2563) 13. เรื่องสั้นเรื่องหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ของ ภัทรา ภูกาญจนมรกต (พ.ศ. 2563) 14. เรื่องสั้นเรื่องรถประจำทางในคืนที่วิ่งไปอย่างไม่ธรรมดา ของ วิภาพ คัญทัพ (พ.ศ. 2563) 15. เรื่องสั้นเรื่องกอด ของ จรัญ ยั่งยืน (พ.ศ. 2563) 16. เรื่องสั้นเรื่องฝนแรกแห่งเดือนมีนาคม ของ สุริยา แดนลำโขง (พ.ศ. 2563) 17. เรื่องสั้นเรื่องระยะห่าง ของ เรวัต อริยกุลชัย (พ.ศ. 2563) 18. เรื่องสั้นเรื่องบ้านนอก ออกกรุง ของ ณัฐภูมิ ฤทธิ์นอก (พ.ศ. 2563) 19. เรื่องสั้นเรื่องจากเลถึงดอย ปลาและนาขั้นบันได ของ วินทกานท์ (พ.ศ. 2563) 20. เรื่องสั้นเรื่องบันทึกเป็นท่อน ๆ (24 เฟรมต่อวินาที) ของ จำลอง ฝั่งชลจิตร (พ.ศ. 2564) 21. เรื่องสั้นเรื่องโรคระบาดจากห้องคลอด (โควิด-19) ของ จำลอง ฝั่งชลจิตร (พ.ศ. 2564) 22. เรื่องสั้นเรื่องจัดบ้านครั้งเดียว ของ จำลอง ฝั่งชลจิตร (พ.ศ. 2564) 23. เรื่องสั้นเรื่องสตูลไม่ไกล ของ จำลอง ฝั่งชลจิตร (พ.ศ. 2564) 24. เรื่องสั้นเรื่องอ่อนเค็ม ของ จำลอง ฝั่งชลจิตร (พ.ศ. 2564) 25. เรื่องสั้นเรื่อง Post-Truth ไวรัสล้างความจริง ของ มายาโรส (พ.ศ. 2564) 26. เรื่องสั้นเรื่องทางรอด I ทางตาย I ทางเลือก II ของ ธุวัฒธรรพ์ (พ.ศ. 2564) 27. เรื่องสั้นเรื่องย่าจ๋า ของ ริญญาทวีสกุล (พ.ศ. 2564) 28. เรื่องสั้นเรื่องออกซิเจน ของ leGGyDan (พ.ศ. 2564) 29. เรื่องสั้นเรื่องแค่ควัน ของ นินหวา (พ.ศ. 2564) 30. เรื่องสั้นเรื่อง 21 นาฬิกาครั้งสุดท้าย ของ กิตติศักดิ์ คงคา (พ.ศ. 2564) 31. เรื่องสั้นเรื่องเสียง : 319 ของ ธีรภัทร์ (พ.ศ. 2564) 32. เรื่องสั้นเรื่องไปตามทางที่เธอย่อมรู้ดี ของ ลายา (พ.ศ. 2564) 33. เรื่องสั้นเรื่องคืนล็อกดาวน์ ของ คำเธียร (พ.ศ. 2564) 34. เรื่องสั้นเรื่องเช้าที่ตะวันสีทองไม่ส่องแสง ของ ลายา (พ.ศ. 2564) 35. เรื่องสั้นเรื่องสร้างสะพาน ของ แพน พงศ์พนรัตน์ (พ.ศ. 2564) 36. เรื่องสั้นเรื่องติอาร์ท ของ ทวิวัฒน์ (พ.ศ. 2564) 37. เรื่องสั้นเรื่องคำพิพากษาคดีข้ามเวลา ของ ชวลักษณ์ (พ.ศ. 2564) 2. ศึกษาตำรา งานวิจัย วิทยานิพนธ์ และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการประกอบสร้างเรื่องเล่า การวิจารณ์วรรณกรรมตามทฤษฎีภาพสะท้อน แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับอัตลักษณ์ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) วาทกรรมความปกติใหม่ และทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม 4. วิเคราะห์วรรณกรรมเรื่องสั้นแนวโควิดในประเด็นตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ 5. ถ่ายทอดองค์ความรู้แก่นักศึกษาที่กำลังศึกษาหรือผ่านการศึกษาในรายวิชาวรรณกรรมวิจารณ์ วรรณกรรมกับการวิจารณ์ วรรณกรรมกับการวิจารณ์สำหรับครู และวรรณกรรมร่วมสมัย ในโครงการอบรม โดยเน้นการสะท้อนคิดเชิงสร้างสรรค์ (creative reflecting) ซึ่งมีหลักการที่สำคัญ ดังที่ วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล (2562: 1) กล่าวว่า “เป็นวิธีการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนสะท้อนคิดตนเอง (self - reflection) โดยการใช้พลังคำถาม (power questions) ตลอดจนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เรียน โดยไม่ใช้อำนาจการสั่งการ หรือยัดเยียดความคิดของตนเองให้แก่ผู้เรียน ซึ่งช่วยทำให้ผู้เรียนทบทวนกระบวนการทางความคิด (Thinking process) หรือความคิดของตนเอง มองเห็นความสามารถและศักยภาพที่ซ่อนอยู่แต่ยังไม่ได้นำออกมาใช้” 6. วิเคราะห์ความเห็นและความรู้สึกของนักศึกษาที่มีต่อประเด็นผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมจากโรคติดเชื้อโควิด-19 ที่ปรากฏผ่านวรรณกรรมเรื่องสั้นแนวโควิด และการตระหนักของนักศึกษาถึงบทบาทการชี้นำขับเคลื่อนสังคมโดยวรรณกรรมเรื่องสั้นแนวโควิด เพื่อสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ทางด้านวรรณกรรมและทางสังคมร่วมกับข้อมูลองค์ความรู้ที่วิเคราะห์ได้จากตัวบทวรรณกรรมเรื่องสั้นแนวโควิด 7. ถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับวรรณกรรมและภาพแทนปรากฏการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ตลอดจนผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงที่นำเสนอผ่านวรรณกรรมเรื่องสั้นแนวโควิด สู่บุคลากรครูในเขตพื้นที่นครสวรรค์ ในฐานะที่เป็นบุคลากรที่มีพลังทางสังคมในพื้นที่ ในรูปแบบการจัดเวทีเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดและถ่ายทอดองค์ความรู้ 8. วิเคราะห์ความเห็นและมุมมองของบุคลากรครูในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ต่อประเด็นอัตลักษณ์และการนำเสนอภาพแทนปรากฏการณ์ ผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอันเนื่องมาจาก การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 9. สังเคราะห์องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัยวรรณกรรมเรื่องสั้นแนวโควิด ทัศนะของนักศึกษา และบุคลากรครูในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ในประเด็นอัตลักษณ์ของวรรณกรรมเรื่องสั้นแนวโควิด องค์ความรู้เกี่ยวกับปัญหา ผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และองค์ความรู้เกี่ยวกับบทบาทของวรรณกรรมเรื่องสั้นแนวโควิดในการชี้นำขับเคลื่อนสังคม 5. สรุปผลการวิจัยในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :โครงการวิจัย อัตลักษณ์กับวาทกรรมความปกติใหม่ในเรื่องสั้นแนวโควิด เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ศึกษาและสร้างองค์ความรู้ทั้งในมิติวรรณกรรมและมิติทางสังคมในการรับมือกับผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 และการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตภายใต้วาทกรรมเพื่อความอยู่รอดตามแนวคิดความปกติใหม่ (New Normal) องค์ความรู้ดังกล่าวจะนำไปสู่ความเข้าใจพฤติกรรม การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของปัจเจกชนและกลุ่มสังคมอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 ตลอดจนเกิดองค์ความรู้ในการทำความเข้าใจบทบาทของวรรณกรรมและความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของวรรณกรรมในการบันทึกและชี้นำขับเคลื่อนสังคมในภาวะวิกฤตเช่นการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ มีขอบเขตในการศึกษาวิจัย โดยเป็นการศึกษาวิจัยจาก เรื่องสั้นแนวโควิด จำนวน 37 เรื่อง ที่ประพันธ์ขึ้นในช่วง พ.ศ. 2563-2564 ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับความคิดและพฤติกรรมของสังคมในสถานการ
จำนวนเข้าชมโครงการ :214 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวอนัญญา วารีสอาด บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด