รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000629
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อรับรองการพิจารณาคุณภาพงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The development of an information system to certify research quality consideration of Nakhon Sawan Rajabhat University
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :การพัฒนาระบบ,รับรองการพิจารณาคุณภาพงานวิจัย,มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :สถาบันวิจัยและพัฒนา > กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :20000
งบประมาณทั้งโครงการ :20,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :30 มีนาคม 2566
วันสิ้นสุดโครงการ :29 มีนาคม 2567
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขาวิชาการ :สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :วิทยาการคอมพิวเตอร์
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการทำการ วิจัย ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยฯ ได้ทำวิจัยเพื่อบริการวิชาการแก่สังคม และการวิจัยเป็นปัจจัยสำคัญที่บ่งชี้คุณภาพทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษา และเป็นภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ในการปฏิบัติภารกิจ ทั้งทุนอุดหนุนการทำวิจัยจากกองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และทุนอุดหนุนการทำวิจัยจากเงินภายนอก จึงต้องมีระบบที่เอื้ออำนวยคอยสนับสนุนให้หน่วยงานสามารถปฏิบัติงานได้รวดเร็ว ถูกต้องมีปประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในปัจจุบันมีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อติดตามกระบวนการและขั้นตอนในการพิจารณาคุณภาพงานวิจัยของคณะกรรมการพิจารณาคุณภาพงานวิจัยเพื่อปิดทุนขึ้นมาช่วยในการกำกับควบคุม และแจ้งเตือนแก่คณะกรรมการพิจารณาคุณภาพงานวิจัย เมื่อถึงระยะเวลาที่กำหนดที่ต้องส่งผลการพิจารณางานวิจัยคืนแก่สถาบันวิจัยและพัฒนา โดยระบบดังกล่าวมีขั้นตอนการเบิกงวดเงินที่ 2, 3 และ 4 ที่เป็นเพียงการบริหารจัดการทุนอุดหนุนการทำวิจัยจากกองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์เพียงเท่านั้น และยังเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลอยู่ในรูปแบบเอกสารควบคู่กับการจัดเก็บไฟล์เอกสาร และการลงรับเอกสารจากผู้บริหารที่ไม่อยู่ในรูปแบบออนไลน์ จึงทำให้อาจเกิดความล่าช้าในการดำเนินงานของผู้บริหารเมื่อติดภาระกิจนอกสะถานที่ ส่วนผู้วิจัยที่ดำเนินการจัดส่งเอกให้สถาบันวิจัยฯ ประสบปัญหาในการติดตามสถานะงานวิจัยของตนเอง ต้องดำเนินการติดตามผ่านทางโทรศัพท์หรือการติดต่อสื่อสารในรูปแบบอื่นๆ กับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบด้านการบริหารงานวิจัย ซึ่งก่อให้เกิดความล่าช้า ไม่คล่องตัว และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดูแลด้านการบริหารงานวิจัยและกองทุนวิจัย ยังขาดระบบสารสนเทศเพื่อรับรองการพิจารณาคุณภาพงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ที่ครอบคลุมกองทุนวิจัยที่สถาบันวิจัยฯ รับผิดชอบ มาช่วยสนับสนุนกระบวนการทำงานดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานดังกล่าวมีความถูกต้อง สะดวก รวดเร็ว ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะดำการพัฒนาระบบสารสนเทศการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อรับรองการพิจารณาคุณภาพงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ขึ้นเพื่อทดแทนระบบเดิม ตามกระบวนการและขั้นตอนการปฏิบัติงานของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ในการจัดการกับข้อมูลที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก และเพื่อแก้ไขปัญหาในด้านต่างๆ ดังที่กล่าวมาข้างต้น เพื่อให้บุคลากรนักวิจัย ผู้ทำวิจัย รวมถึงผู้บริหารหน่วยงานผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง นำประโยชน์จากการพัฒนาระบบนี้ไปใช้ในการบริหารจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตามเป้าหมายของสถาบันวิจัยและพัฒนา และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อรับรองการพิจารณาคุณภาพงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เพื่อทดแทนระบบเดิม 2. เพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรนักวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 3. เพื่อลดปัญหาการติดตามเอกสารจากผู้วิจัย 4. เพื่อลดปริมาณการใช้ทรัพยากรกระดาษ และป้องกันการสูญหาของเอกสาร
ขอบเขตของโครงการ :1. ด้านพื้นที่ - มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2. ด้านประชากร กลุ่มตัวอย่าง - ผู้วิจัย ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ - บุคลากรนักวิจัย ผู้บริหารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และคณะกรรมการตรวจพิจารณาคุณภาพงานวิจัย 3. ด้านเนื้อหา - ระบบรับ-ส่งเอกสารงานวิจัย งวดที่ 2, 3 และ 4 - ระบบจัดการคณะกรรมการพิจารณางานวิจัย - ระบบบันทึกความเห็น คณะกรรมการตรวจพิจารณาคุณภาพงานวิจัย - ระบบแสดงผลการติดตามงานวิจัย - ระบบให้ผู้บริหารสามารถสั่งการ หรือมอบหมายงานถึงผู้ปฏิบัติงานผ่านระบบออนไลน์ได้
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ระบบสามารถลดขั้นตอนการดำเนินงานของการรับรองการพิจารณาคุณภาพงานวิจัย 2. ระบบสามารถช่วยลดปริมาณกระดาษในการดำเนินการจัดส่งเอกสาร
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :ไพรัช ธัชยพงษ์ (2539, น. 55 - 60) กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นการประยุกต์เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน และอุปกรณ์โทรคมนาคมทั้งหลายโดยมีคอมพิวเตอร์เป็ นเครื่องมือที่ช่วยในการเก็บและข้อมูลบันทึก เพื่อนำมาใช้ในการประมวลผลให้เกิดเป็นสารสนเทศ สำหรับจัดส่งไปให้ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติใช้งาน ซึ่งการจัดส่งนั้น อาจเป็นระบบโทรคมนาคม เช่น ระบบโทรสาร ระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือระบบอื่น ในหน่วยงานหรือในธุรกิจต่าง ๆ มุ่งไปที่การคิดค้น วิภา เจริญภัณฑารักษ์ (2549, น. 2) ให้ความหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การรวมกันระหว่างเทคโนโลยีและสารสนเทศ ส่วนเทคโนโลยีเป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีอื่น ๆ เช่น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูล เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์นั้นมีองค์ประกอบอยู่ด้วยก่อน 5 องค์ประกอบ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ บุคลากร ข้อมูล และกระบวนการทำงานส่วนสารสนเทศซึ่งเป็นสิ่งที่ได้มาจากการนำข้อมูลข่าวสารมาเข้าสู่ระบบการประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ใช้ในการปฏิบัติงานในองค์การนั้น มีสิ่งที่ผู้บริหารองค์การจะต้องคำนึงถึง 2 สิ่งที่สำคัญได้แก่ ความต้องการของธุรกิจและโครงสร้างพื้นฐานของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในองค์การมีการเน้นในงานด้านการประมวลผล การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการตัดสินใจ ดำเนินการควบคุม ติดตาม และวิเคราะห์ผลงานของผู้บริหาร กมลวัฒน์ สุวรรณพัฒน์ และกาญจนา วิริยะพันธ์ (2552) ได้พัฒนาระบบติดตามและตรวจสอบทรัพย์สินและบุคคลโดยใช้เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี พบว่าสามารถช่วยปรับปรุงกระบวนการในการติดตามและตรวจสอบตำแหน่งและการเคลื่อนที่ของทรัพย์สินและบุคคลให้มีประสิทธิภาพ สะดวกสบาย ถูกต้องและทันสมัยมากขึ้น ชัชรัตน์ สีน้ำเงิน (2554) ได้ศึกษาการออกแบบและพัฒนาระบบติดตามการดำเนินงานการรับ-ส่งหนังสือราชการ กรณีศึกษา โดยได้นำเอาสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาใช้แทนสื่อแบบเดิมในรูปแบบเอกสารจริง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บข้อมูลการ รับ-ส่งหนังสือราชการและยังช่วยลดปัญหาการสืบค้นข้อมูลติดตามการดำเนินงานของหนังสือราชการได้สะดวก รวดเร็ว ลดระยะเวลาในการติดตามข้อมูลหนังสือราชการได้ดียิ่งขึ้น
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :- แนวคิดด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศ - หลักทฤษฎีวงจรการพัฒนาระบบ(System Development Life Cycle : SDLC) - งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :1. ศึกษากระบวนการทำงานของสถาบันวิจัยและพัฒนา 2. ร่างการออกแบบระบบสารสนเทศ 3. ตรวจสอบข้อมูลความถูกต้อง ตรงตามต้องการของผู้ใช้งาน 4. ดำเนินการพัฒนาระบบ 5. ติดตั้งระบบ ทดสอบระบบ 6. ปรับปรุงแก้ไข้ระบบ 7. เปิดการใช้งานระบบ 8. ประเมินการใช้งานของระบบสารสนเทศ
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :237 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางดวงพร สีระวัตร บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย50
นายนภดล แข็งการนา บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย50

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด