รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000628
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาและสร้างสรรค์ต่างหูจากวัสดุไม้ไผ่ผสมผสานกับลวดลายผ้าทอเพื่อศึกษาอัตลักษณ์ตำบลแม่เปิน อำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Development and creation of bamboo earrings combined with woven fabric patterns for studying identity in mae Poen District, Nakhon Sawan Province.
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :การพัฒนา, สร้างสรรค์, ต่างหู, อัตลักษณ์, ไม้ไผ่, ลวดลายผ้าทอ
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ > สาขาวิชาศิลปะ
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :50000
งบประมาณทั้งโครงการ :50,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :30 มีนาคม 2566
วันสิ้นสุดโครงการ :29 มีนาคม 2567
ประเภทของโครงการ :งานสร้างสรรค์(ออกแบบ)
กลุ่มสาขาวิชาการ :มนุษยศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ของปัญหาที่ทำการวิจัย ในห้วงเวลาที่ประเทศชาติ กำลังเผชิญปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจ และประชาชนทุกระดับ ประสบปัญหาต่างๆ ปัญหาหนึ่งที่ประชาชนระดับรากหญ้า ซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ของประเทศถูกรุมเร้าคือ ปัญหาความยากจน รัฐบาลซึ่งได้ประกาศสงครามกับความยากจน โดยได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาว่า จะจัดให้มีโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์เพื่อให้แต่ละชุมชนได้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการพัฒนาสินค้าโดยรัฐ พร้อมที่จะเข้าไปช่วยเหลือในด้านความรู้ใหม่ๆ และการบริหารจัดการเพื่อเชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้วยระบบร้านค้าเครือข่ายและอินเตอร์เน็ตเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาท้องถิ่น สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างรายได้ด้วยการนำทรัพยากร ภูมิปัญญาในท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพ มีจุดเด่นและมูลค่าเพิ่มเป็นที่ต้องการของตลาด ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ได้มีชุมชนต่างๆ สร้างผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ขึ้นมาเพื่อจัดจำหน่ายเป็นจำนวนมาก ซึ่งผลิตภัณฑ์ล้วนมีความหลากหลายทั้งในด้านคุณสมบัติ วัตถุดิบ และประโยชน์การใช้งาน ผู้วิจัยพบว่า ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ที่จำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน ยังขาดรูปแบบลวดลายและคุณสมบัติที่เป็นจุดดึงดูดผู้บริโภค ซึ่งทำให้การเจาะกลุ่มเป้าหมายเพื่อเพิ่มมูลค่าและความนิยมยังไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร นอกจากนี้ผู้วิจัยยังพบปัญหาในการเลือกใช้รูปแบบลวดลายกับวัตถุดิบในการสร้างผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)ซึ่งผู้ผลิตยังคงยึดแนวทางในการใช้รูปแบบลวดลายแบบดั้งเดิมซึ่งเป็นที่นิยมในท้องตลาด แต่รูปแบบลวดลายเหล่านั้นอาจะไม่เหมาะสมกับคุณสมบัติเฉพาะของวัตถุดิบที่ใช้ ทำให้ผลิตภัณฑ์ขาดจุดดึงดูดที่น่าสนใจ และการใช้รูปแบบลวดลายที่มีอยู่ในปัจจุบัน ยังสิ้นเปลืองการใช้วัตถุดิบในปริมาณมากเพื่อให้ได้รูปแบบลวดลายที่ต้องการ ซึ่งจะทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงตามไปด้วย ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้เลือกศึกษาผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) จากพื้นที่อำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ และได้พบว่า รูปแบบลวดลายของผลิตภัณฑ์ประเภทกระเป๋าซึ่งผลิตจากพื้นที่อำเภอ ยังเป็นรูปแบบลวดลายเดิมๆ ซึ่งพบได้ทั่วไป ไม่มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ขาดความน่าสนใจทั้งประโยชน์ใช้สอยและความสวยงาม ซึ่งผลที่ได้คือผลิตภัณฑ์ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร และทำให้การลงทุนในด้านวัตถุดิบประสบปัญหาขาดทุนอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงมีความเห็นว่า ควรจะมีการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ในท้องถิ่นของอำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ พัฒนาภูมิปัญญาให้แก่ผู้ผลิตในท้องถิ่น ด้วยการนำเอาวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาศึกษาเพื่อหาคุณสมบัติเฉพาะที่จะสามารถนำมาแปรรูปเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ประเภทต่างหูได้ โดยการศึกษาวัตถุดิบไม้ไผ่ ในพื้นที่อำเภอแม่เปิน เพื่อการลดต้นทุนในด้านวัตถุดิบ ซึ่งผลจากการศึกษาที่ได้จะนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนารูปแบบลวดลายของผลิตภัณฑ์ต่างหูให้มีความสวยงามและเหมาะสมกับวัตถุดิบนั้นๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าตัวผลิตภัณฑ์ที่เกิดผลเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง และเพิ่มมูลค่าในด้านความสวยงามอีกด้วย
จุดเด่นของโครงการ :ออกแบบสร้างสรรค์ต่างหูจากไม้ไผ่และผ้าทอ จากกลุ่มหัตถกรรมไม้ไผ่และผ้าทอ ตำบลแม่เปิน อำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์
วัตถุประสงค์ของโครงการ :ศึกษาลวดลายไม้ไผ่และลวดลายผ้าทอเพื่อนำมาวิเคราะห์เป็นผลิตภัณฑ์จากต่างหู ต.แม่เปิน อ.แม่เปินจ.นครสวรรค์ สร้างสรรค์เครื่องประดับต่างหูจากวัสดุไม้ไผ่และผสมผสานลวดลายผ้าทอ เพื่อเป็นแนวทางหนึ่งในการส่งเสริมพัฒนาอาชีพต่อยอดเชิงพาณิชย์
ขอบเขตของโครงการ :ขอบเขตด้านพื้นที่ ผู้วิจัยแบ่งพื้นที่ในการศึกษาดังนี้ พื้นที่ในการศึกษากลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านพนาสวรรค์อำเภอแม่เปินจังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มหัตถกรรมจักสานผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่อำเภอแม่เปินจังหวัดนครสวรรค์ ขอบเขตของงานวิจัยขอบเขตด้านเนื้อหา ตัวแปรต้นรูปแบบของผลิตภัณฑ์และประสิทธิภาพของเครื่องประดับ ตัวแปรตาม ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ต่างหูlประโยชน์ใช้สอยและความสวยงาม ความพึงพอใจของผู้บริโภคเกี่ยวกับรูปแบบการใช้สีและการผสมผสานลวดลาย
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :เพื่อเป็นประโยชน์และต่อผู้ผลิตการสร้างผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น ที่มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาด เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาอาชีพในท้องถิ่น คณาจารย์และนักศึกษาสาขาวิชาศิลปกรรม และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สามารถนำข้อมูลที่ได้ใช้เป็นการค้นคว้าหาข้อมูลสำหรับรายวิชาเรียน/วิจัย/วิทยานิพนธ์
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :วุฒิชัยวิถาทานัง (2559 )ศึกษาเรื่องการศึกษาและพัฒนารูปแบบผลติภัณฑ์หัตถกรรมงานจักสานประเภทผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกของตกแต่งและเครื่องเรือนจังหวัดพระนครศรีอยุธยาการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรม งานจักสานประเภทผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกผลิตภัณฑ์ของตกแต่งและเครื่องเรือนแล้วนำข้อมูลที่ได้ มาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาและประยุกต์ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมงานจักสานแบบใหม่และในขั้นตอนสุดท้ายที่ได้หลังจากการพัฒนาและออกแบบศึกษาความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างที่มีรูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมงานจักสานที่ได้ออกแบบและพัฒนาขึ้นโดยพื้นที่หลักในการวิจัยและเก็บข้อมูลกลุ่มสร้างงานเครื่องจักสานจังหวัดพระนครศรีอยุธยากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ผู้จำหน่ายช่างผู้ผลิตนักท่องเที่ยวที่อยู่ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยาแนวความคิดในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ต้องการนำรูปแบบเครื่องจักสานที่มีอยู่แล้วในชุมชนมาประยุกต์เพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้งานในรูปแบบใหม่ผู้วิจัยได้มองเห็นข้อจำกัดในการสร้างงานของช่างผู้ผลิตที่มีความถนัดเฉพาะด้านทำให้ไม่สามารถที่จะสร้างงานในแบบที่ยากและแปลกใหม่ได้จึงเน้นในเรื่องการนำผลิตภัณฑ์ที่ทำอยู่เป็นประจำมาประยุกต์โดยใช้รูปทรงเรขาคณิตเป็นหลักในการออกแบบเพื่อให้เกิดการใช้งานแบบใหม่รูปแบบใหม่เน้นการผลิตที่ง่ายต่อการใช้เครื่องมือและความสามารถของช่างผู้ผลิตเพื่อเพิ่มแนวทางในการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผล ที่ได้จากการออกแบบรูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมงานจักสานนั้นเมื่อศึกษาจากความพึงพอใจของผู้สนใจผลิตภัณฑ์พบว่าระดับความพึงพอใจของผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมงานจักสานด้านรูปแบบด้านประโยชน์ใช้สอยด้านความสวยงามด้านความคงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาแต่ละรายการพบว่า ด้านประโยชน์ใช้สอย มีความพึงพอใจอยู่ใระดับมากที่สุด รองลงมาคือด้านรูปแบบด้านความคงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรม และด้านความสวยงามตามลำดับ จากการศึกษาสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่มที่เรื่องที่ เครื่องประดับกล่าวถึงความหมายของเครื่องประดับว่าขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ในการสร้างสรรค์ซึ่งอาจแบ่งได้ ประการดังนี้ ความหมายโดยทั่วไป หมายถึง วัตถุหรือสิ่งของที่นำมาใช้ประดับตกแต่งร่างกายเพื่อสร้างเสริมความสวยงาม หรืออาจต้องการแสดงถึงสถานภาพทางสังคมการใช้เครื่องประดับในแต่ละ พื้นที่มีความแตกต่างกันทั้งในด้านวัสดุที่ใช้ผลิตและรูปร่างลักษณะโดยพื้นฐานมาจากรสนิยมความเชื่อศิลปวัฒนธรรมตลอดจนลักษณะทางภูมิศาสตร์ ความหมายในเชิงพาณิชย์หมายถึงสิ่งของหรือวัตถุที่ผลิตขึ้นเพื่อจำหน่ายสำหรับใช้ตกแต่งร่างกายโดยส่วนใหญ่จะใช้วัสดุที่มีมูลค่าหรือมีรูปแบบเป็นที่นิยมมีการผลิตเป็นจำนวนมาก ในระบบอุตสาหกรรมเพื่อจำหน่ายได้มากขึ้นรายละเอียดของการสร้างสรรค์จึงแตกต่างไปตามความต้องการของผู้บริโภคที่มีแนวโน้มของผู้บริโภคในแต่ละโอกาสในการสวมใส่ความหมายในเชิงสร้างสรรค์และศิลปะ หมายถึง วัตถุหรือสิ่งของที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อสวมใส่บนร่างกายสามารถสร้างให้เกิดความรู้สึกต่อผู้พบเห็นหรือผู้สวมใส่เอง ผู้สร้างสรรค์งานอาจเรียกได้ว่าเป็นศิลปินเพราะเป็นผู้ที่คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเครื่องประดับออกสู่สายตาผู้พบเห็น(ยุวดี;ทองอ่อน;2559 : 32) (สุภาวี ศิรินคราภรณ์,2556 : 68)กล่าวว่าเครื่องประดับมีความหมายไปถึงจิตใจของผู้สวมใส่วัตถุชิ้นงามนั้นเครื่องประดับสามารถสื่อสารทำให้รู้สภาพจิตใจ>และเปลี่ยนแปลงจิตใจให้อ่อนโยนหรือเข้มแข็งขึ้นถึงแม้ว่าบางคนจะมองว่าเป็นสิ่งที่นอกเหนือไปจากปัจจัยที่มนุษย์ต้องการแต่หากสามารถนำประโยชน์จากพลังของเครื่องประดับมาใช้ในเชิงของการยกระดับจิตใจได้คุณค่าของมันจะมีมากกว่าความเป็นสินค้าและมากกว่าความสวยงามที่จับต้องได้แต่เพียงภายนอก กล่าวโดยสรุป เครื่องประดับหมายถึงผลงานที่มนุษย์สร้างสรรค์>อาจเป็นลักษณะมิติหรือผลิตภัณฑ์lมิติที่มีความงามตามความพอใจของแต่ละบุคคลใช้ประดับตกแต่งส่วนต่างๆของร่างกาย เสริมบุคลิกภาพของผู้สวมใส่และสร้างความรู้สึกให้เกิดความมั่นใจเมื่อได้ใช้งานสามารถผลิตได้เพียงชิ้นเดียวหรืออาจผลิตได้ในระบบอุตสาหกรรม เครื่องประดับจะแสดงออกถึงเรื่องราวที่มีความงามซึ่งอาจจะมีที่มาจากความเชื่อหรือความพึงพอใจในสุนทรียะที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับร่างกายมนุษย์เครื่องประดับเชิงศิลปะมีความเป็นไปได้สูงในการจำหน่ายเพราะถึงจะมีรูปทรงที่แปลกมีการใช้วัสดุที่ราคาไม่สูงแต่อาจไม่สะดวกในขณะสวมใส่แต่ก็ยังเป็นงานที่มองเห็นว่าใส่ได้มีกลุ่มคนที่นิยมงานลักษณะเฉพาะหรือกลุ่มคนที่มีความสนใจในศิลปะที่ชื่นชอบงานในกลุ่มนี้มีศิลปินและนักออกแบบหลายคนที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักส่วนใหญ่จะอยู่ทางฝั่งตะวันตกเพราะต้นกำเนิดของงานกลุ่มนี้เริ่มต้นขึ้นที่นั่นเมื่อราวๆปีที่ผ่านมา (คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยศิลปากรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง) จิวเวลรี่อาร์ตเป็นสิ่งที่แสดงออกถึงความเชื่อมโยงระหว่างมนุษย์กับบางอย่างที่อาจจับต้องไม่ได้ทางร่างกายหรือจิตวิญญาณงานในกลุ่มนี้อาจพบเห็นได้ไม่แพร่หลายนักแต่ถ้าคุณเป็นคนที่ ชื่นชอบศิลปะมีหลายๆ คนกล่าวว่างานศิลปะเครื่องประดับแบบนี้ก็เหมือนกับงานประติมากรรมขนาดเล็กที่เกี่ยวเกาะไว้กับร่างกายมนุษย์เรียกกันว่าเป็นงานบางชิ้นเมื่อใส่แล้วอาจขยับตัวเดินไม่ได้เนื่องจากศิลปินต้องการให้เครื่องประดับทำงานในลักษณะนั้นกับร่างกายที่หยุดนิ่งของผู้สวมใส่ในสภาพพื้นที่โดยรอบเช่นนั้นก็เป็นได้(คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยศิลปากรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จากการศึกษาประวัติศาสตร์ในอดีตจะเห็นว่าทุกชาติมีการสวมใส่เครื่องประดับซึ่งเป็นสิ่งที่ปรากฏควบคู่แต่ละรูปแบบนั้นก็แตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่าจะเลือกสวมใส่ให้เข้ากับบุคลิกอย่างไรเครื่องประดับอาจจำแนกออกเป็นประเภทใหญ่คือเครื่องประดับประเภทอัญมณีและเครื่องตกแต่งทำด้วยผ้าหรือของใช้ในการแต่งกายไม่ว่าจะเป็นเครื่องประดับของบุรุษหรือสตรีล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ช่วยเสริมสร้างให้บุคลิกภาพของผู้สวมใส่ดูดีหรือน่ามองมีเสน่ห์น่าเลื่อมใสและยังช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นในภาพลักษณ์ของคุณมากขึ้น เครื่องประดับไม่ใช่เพียงวัตถุที่สวยงามที่นำมาใช้สวมใส่เพื่อประดับร่างกายหรือเพื่อเสริมบารมีเท่านั้นแต่เครื่องประดับยังสามารถสื่อสารถึงความรู้สึกและสามารถเปลี่ยนแปลงได้มีความเข้มแข็งขึ้นหรืออาจทำให้อ่อนโยนลงดังความหมายที่กล่าวข้างต้น มนุษย์เราสามารถใช้จินตนาการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อตอบสนองต่อการดำเนินชีวิตของตน ได้ดีที่สุดผลแห่งความสามารถทางด้านนี้จะเห็นได้จากศิลปะทุกแขนงที่มนุษย์ได้คิดประดิษฐ์ขึ้นเครื่องประดับจึงเป็นผลงานที่ล้ำค่าเพราะใช้กระบวนการสร้างสรรค์การคิดอาจมีการสร้างรูปแบบและลวดลายที่แตกต่างกันไปตามสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มชนนั้นๆเช่นความนิยมในเครื่องประดับของคนไทยโบราณที่จะแตกต่างจากสมัยปัจจุบันหรือความนิยมของคนอินเดียก็จะแตกต่างจากคนไทยทั้งในเรื่องแบบลวดลายและชนิดของเครื่องประดับ(วัฒนะ จูฑะวิภาค,2547) พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของการประดับตกแต่งร่างกายในยุคแรกเริ่มเป็นเพียงการประยุกต์ใช้สิ่งที่ธรรมชาติให้มาดอกไม้หินเปลือกหอยเมล็ดพืชจากนั้นเมื่อมนุษย์รู้จักการหลอมโลหะประกอบกับมีการค้นพบความสวยงามของอัญมณีต่างๆจึงเริ่มนำสิ่งเหล่านี้มาทำเป็นเครื่องประดับร่างกายดังปรากฏหลักฐาน เครื่องประดับเหล่านั้นผูกพันและมีความเกี่ยวเนื่องกับวิถีของมนุษย์เกี่ยวเนื่องกับวิถีของมนุษย์ทุกแหล่งอารยธรรมของโลกความหมายและบทบาทของเครื่องประดับที่มีอยู่เดิมจึงเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่เปลี่ยนแปลงไปนอกจากนี้เครื่องประดับยังเป็นตัวแทนของอำนาจเหนือธรรมชาติความกลัวความเชื่อทางศาสนาสถานะทางสังคมฐานะทรัพย์สินรวมถึงการเป็นตัวแทนของผูกพันทางจิตใจทางครอบครัวของคนรักและอื่นๆเรื่อยมา(สำนักงานกองทุนสนับสนุน,2544 : 232) การออกแบบควรอยู่บนพื้นฐานของความรู้เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องนำหลักองค์ประกอบทางศิลปะเข้ามาในตัวงานการพัฒนาศักยภาพของนักออกแบบแต่ละคนและแนวทางของรูปแบบย่อมไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวเป็นไปตามแนวทางของงานลักษณะท้องถิ่นการดำรงอยู่เปลี่ยนแปลงพัฒนาหรือสูญหายไปตามสภาพแวดล้อมสภาพสังคม และเหตุการณ์ต่างๆที่ปรากฏขึ้นรอบตัวศิลปินและนักออกแบบและการเริ่มต้นไม่ควรถูกจำกัดด้วยข้อที่กำหนดที่ไม่ทำให้เกิดการพัฒนาทางความคิดสร้างสรรค์หรือไม่นำงานศิลปะมาประยุกต์ใช้ทำให้เกิดช่องว่างในการสื่อสารระหว่างผู้มีพื้นฐานทางศิลปะและการออกแบบมีจำนวนน้อยและผู้ไม่เข้าใจมีเป็นจำนวนมาก(สำนักงานกองทุนสนับสนุน;2544) วรรณรัตน์อินทร์อ่ำ(2536 : 108)ได้กล่าวถึงการพิจารณาความสัมพันธ์ของรูปแบบงานเครื่องประดับและเปรียบเทียบงานเครื่องประดับในลักษณะเดียวกันเพื่อหาข้อดีข้อเสียปรับปรุงแก้ไขศึกษาเทคนิคต่างๆในการสร้างสรรค์งานควรจะพิจารณาเมื่อพบเห็นรูปแบบงานต่างๆควรจดจำรูปแบบเพื่อจะเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์งานครั้งต่อไป สมมติฐานงานวิจัย ผู้วิจัยได้ออกแบบโดยการใช้หลักการศึกษารูปแบบลวดลายจากไม้ไผ่เพื่อพัฒนาเป็นต่างหู เป็นแนวทางพัฒนาอาชีพในท้องถิ่น สามารถพัฒนาสินค้าแบบเดิมๆ ที่ยังไม่ค่อยได้รับการยอมรับแนวคิดใหม่ ในการพัฒนาออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ หลักเกณฑ์ด้านการออกแบบ และได้รูปแบบผลิตภัณฑ์ที่สวยงามและทันสมัยเป็นที่พึงพอใจของผู้บริโภค
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :ผู้วิจัยได้ออกแบบโดยการใช้หลักการศึกษารูปแบบลวดลายจากไม้ไผ่เพื่อพัฒนาเป็นต่างหู เป็นแนวทางพัฒนาอาชีพในท้องถิ่น สามารถพัฒนาสินค้าแบบเดิมๆ ที่ยังไม่ค่อยได้รับการยอมรับแนวคิดใหม่ ในการพัฒนาออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ หลักเกณฑ์ด้านการออกแบบ และได้รูปแบบผลิตภัณฑ์ที่สวยงามและทันสมัยเป็นที่พึงพอใจของผู้บริโภค
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :การวิจัยเรื่องนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมMixed Method Research)เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Method)ร่วมกับการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Method)ได้ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาและออกแบบต่างหูจากวัดสุไม้ไผ่และลวดลายผ้าทอ จังหวัดนครสวรรค์ ช่วงการศึกษาที่ผู้วิจัยใช้การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (โดยการศึกษาวิจัยเอกสาร (รวมถึงวิจัยและบทความที่เกี่ยวข้อง วิธีการและดำเนินการรวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ ช่วงการศึกษาที่1 ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลจากแหล่ง ปฐมภูมิ (Primary Data)การสัมภาษณ์ แบบสอบถาม โดยมีการผสมสานระหว่างขั้นวิจัยปฐมภูมิและการวิจัยขั้นทุติยภูมิ (Secondary Data)ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mixed Method Research)เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Method)ร่วมกับการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Method)ซึ่งจะเน้นการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling)วิธีการและดำเนินการรวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ในช่วงการศึกษาที่เป็นการพัฒนางานออกแบบต่างหูจากวัสดุไม้ไผ่ผสมผสานกับลวดลายผ้าทอเพื่อค้นหาอัตลักษณ์ ต.แม่เปิน อ.แม่เปิน จ.นครสวรรค์ เพื่อส่งเสริมเป็นการพัฒนาอาชีพเพื่อเป็น ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาชาวบ้านการออกแบบสร้างสรรค์พัฒนาเครื่องประดับประเภทต่างหู สามารถช่วยส่งเสริมการการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น (249, 249, 250)
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :พัฒนาภูมิปัญญาให้แก่ผู้ผลิตในท้องถิ่น ด้วยการนำเอาวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาศึกษาเพื่อหาคุณสมบัติเฉพาะที่จะสามารถนำมาแปรรูปเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ประเภทต่างหูได้ โดยการศึกษาวัตถุดิบไม้ไผ่ ในพื้นที่อำเภอแม่เปิน เพื่อการลดต้นทุนในด้านวัตถุดิบ ซึ่งผลจากการศึกษาที่ได้จะนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนารูปแบบลวดลายของผลิตภัณฑ์ต่างหูให้มีความสวยงามและเหมาะสมกับวัตถุดิบนั้นๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าตัวผลิตภัณฑ์ที่เกิดผลเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง และเพิ่มมูลค่าในด้านความสวยงามอีกด้วย
จำนวนเข้าชมโครงการ :52 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวศมลพรรณ ธนะสุข บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด