รหัสโครงการ : | R000000627 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | สร้างสรรค์ลวดลายผ้าทอผ้าตีนจกจากแรงบันดาลใจ "ดอกพะยอม" สำหรับออกแบบแฟชั่นร่วมสมัยสู่เชิงพาณิชย์ |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | Create graphic of Tin Jok weaving fabric inspired by Phayom flowers (White meranti) for contemporary fashion design to commercial. |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | สร้างสรรค์,ลวดลาย,ผ้าทอผ้าตีนจก,ออกแบบแฟชั่นร่วมสมัย,เชิงพาณิชย์ |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม > ภาควิชาการออกแบบและเทคโนโลยีเซรามิก |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 90000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 90,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 30 มีนาคม 2566 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 29 มีนาคม 2567 |
ประเภทของโครงการ : | งานสร้างสรรค์(ออกแบบ) |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | มนุษยศาสตร์ |
สาขาวิชาการ : | สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
กลุ่มวิชาการ : | อื่นๆ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ระดับชาติ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | แผนการพัฒนายุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีประเด็นในการพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานผู้ประกอบการยุคใหม่ สร้างและพัฒนาผู้ประกอบการยุคใหม่ที่มีทักษะและจิตวิญญาณของการเป็นผู้ประกอบการที่มีความสามารถในการแข่งขันและมีอัตลักษณ์ชัดเจนโดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ซึ่งเป็นตัวชี้วัดหนึ่งของยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน(สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580) ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ในการวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นและยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ.2564-2569 ในยุทธศาสตร์ที่ 2 : การพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งด้วยทุนทรัพยากรอัตลักษณ์ ความคิดสร้างสรรค์ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ใช้ศักยภาพของพื้นที่ เน้นการตอบสนองความต้องการในแต่ละพื้นที่ควบคู่ไปกับการสร้างความเข้มแข็งในระดับพื้นที่การดำรงไว้ซึ่งอัตลักษณ์รวมถึงการใช้ประโยชน์จากความเข้มแข็งมาต่อยอดและยกระดับมูลค่าในห่วงโซ่การผลิตสินค้าและบริการให้มีมูลค่าสูงขึ้น ด้วยการใช้ความคิดสร้างสรรค์โดยสอดคล้องกับอนุรักษ์ ฟื้นฟู สร้างคุณค่า ความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับชุมชน และผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมไทย(Cultural Product of Thailand: CPOT) เช่น งานผ้า เครื่องประดับ เครื่องแต่งกาย ของที่ระลึก
จากแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ในการปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม โดยใช้ชุมชนเป็นฐานอนุรักษ์พัฒนาและสืบสานมรดกทางศิลปะและวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์และวัฒนธรรมโดยสร้างสรรค์คุณค่าสินค้ามุ่งเน้นการใช้องค์ความรู้และนวัตกรรมผนวกกับจุดแข็งในด้านความหลากหลายทางทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรม และวิถีชีวิต เพื่อสร้างคุณค่าให้กับสินค้าและบริการ ความเชื่อมโยงกับนโยบายของกระทรววัฒนธรรม "สืบสาน รักษา ต่อยอด และปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยหลักธรรมาภิบาล” และแผนการบูรณาการฯ เพื่อสร้างความยั่งยืนทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ได้แก่ การสร้างมูลค่าให้กับผ้าไทย และสร้างความตระหนักรับรู้ การอนุรักษ์ สืบสานมรดกภูมิปัญญาผ้า รวมทั้งยังเป็นสิ่งสะท้อนวิถีชีวิตของชุมชนและท้องถิ่นอย่างยั่งยืน และการพัฒนา/ต่อยอดโดยจัดให้มีการอนุรักษ์ต่อยอดภูมิปัญญาเกี่ยวกับการแปรรูปผ้าไทยผลิตเป็นสินค้าต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการส่งเสริมเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ และสร้างเศรษฐกิจฐานรากในระดับจังหวัดและชุมชนต่าง ๆ
การมุ่งพัฒนาประเทศไปสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์จึงเป็นทางเลือกที่ หลีกเลี่ยงไม่ได้ในการพยายามยกระดับประเทศไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า และบริการเพื่อที่จะได้นำมาสู่การเจริญเติบโตและความกินดีอยู่ดีของคนในประเทศ ซึ่งในทางปฏิบัติ ประเทศไทยจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการเพิ่มผลิตภาพการผลิต ของประเทศ (Productivity) เพื่อให้สามารถเท่าเทียมกับประเทศผู้นำาทางเศรษฐกิจ ในภูมิภาครายใหม่อย่าง เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ไต้หวัน และมาเลเซีย สำคัญของการขับ เคลื่อนระบบเศรษฐกิจและสังคมจากการปรับโครงสร้างไปสู่ระดับสูงขึ้นคือการสร้าง “ระบบเศรษฐกิจที่เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างนวัตกรรม” (Efficiency-driven and Innovation-driven Economy) โดยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปสู่ระดับการพัฒนา ที่สูงขึ้นนี้จึงเป็นปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นในการก้าวไปสู่การเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์จากการสร้างความคิดสร้างสรรค์และสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆให้ออกมาสู่สังคมอันจะเป็นการช่วยต่อยอดไปสู่การสร้างสรรค์และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยในระยะยาว
การทอผ้าเป็นหัตถกรรมและศิลปะอย่างหนึ่งที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณเนื่องจากการทอผ้าเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตเครื่องนุ่งห่มซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่สำคัญของมนุษย์ นอกจากนี้การทอผ้ายังถือเป็นงานศิลปะประเภทหนึ่ง เนื่องจากการทอผ้ามาการใช้ลวดลายของผืนผ้าตามชาติพันธุ์ จึงมีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งรูปแบบและลวดลายบนผืนผ้าจะบ่งบอกเรื่องเล่าเหตุการณ์ต่างๆ ที่ผ่านระยะเวลามานาน รวมทั้งยังบ่งบอกถึงเอกลักษณ์และวัฒนธรรม ความเชื่อ ความเป็นมาของกลุ่ม ชาติพันธุ์นั้นๆ โดยลวดลายและสัญลักษณ์เหล่านี้ บางลายมีชื่อเรียกที่สอบต่อกันมานาน บางลวดลายมีชื่อเป็นภาษาท้องถิ่น
ในปัจจุบันการพัฒนาลวดลายบนผลิตภัณฑ์สิ่งทอสามารถคิดค้นรูปแบบและลวดลายที่แปลกใหม่สามารถตอบสนองความต้องการได้หลากหลายซึ่งมีแบบลวดลายและสีสันที่สวยงามจึงทำให้การออกแบบลวดลายเป็นการสร้างสรรค์ที่ต้องอาศัยประสบการณ์ความรู้และความเข้าใจในการออกแบบในการสร้างผืนผ้าธรรมดาให้มีคุณค่าและสะท้อนเอกลักษณ์ และวัฒนธรรมไทย เมื่อนำมาตัดเย็บ สวมใส่
ผ้าทอตีนจก เป็นผ้าทอพื้นเมืองชนิดหนึ่งในประเทศไทยที่อาศัยทักษะและระยะเวลา รังสรรค์ลวดลายบนผืนผ้าแต่ละชิ้นงานขึ้นมา ซึ่งเป็นการบ่งบอกถึงพยายามอุตสาหะและความประณีตของผู้ทออย่างมาก ซึ่งนับว่าเป็นศาสตร์และศิลป์ที่แสดงถึงภูมิปัญญาที่แฝงด้วยความเชื่อมโยงของวิถีชีวิต ความเชื่อ และพิธีกรรม ซึ่งได้รับการถ่ายทอดและสืบสานกันมาจากรุ่นสู่รุ่นสิ่งสำคัญคือการสอดแทรกภูมิปัญญาแห่งงานศิลป์ ผสมผสาน ความประณีตบรรจง ที่แสดงให้เห็นความสุนทรียะและความเจริญรุ่งเรืองของท้องถิ่นที่มีความอุดมไปด้วยภูมิปัญญาที่ทรงคุณค่าทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม รวมไปถึงความเป็นอยู่ของกลุ่มคน ผ่านทางเส้น สาย สี และลวดลายของผืนผ้าอันเป็นรากฐานทางศิลปวัฒนธรรมและสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นมาในอดีตที่เชื่อมโยงปับปัจจุบัน ที่งดงาม
จากทุนเดิมของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ในการดำเนินโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำของรายได้และขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของพื้นที่ เป็นฐานในการพัฒนาระดับประเทศ โดยมีพันธกิจในการวิจัย บริการวิชาการ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนท้องถิ่น ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการสร้างสรรค์ ลวดลายของผ้าทอตีนจก ที่มีการผสมผสานระหว่างภูมิปัญญา ความเชื่อ ความหมายและการประยุกต์ลวดลายสมัยใหม่ ของผ้าทอตีนจกภายใต้แนวคิดลวดลายประยุกต์สมัยใหม่ เพื่อให้เกิดผลงานแฟชั่นร่วมสมัย และสามารถนำลายผ้ามาสร้างเป็น เอกลักษณ์และจุดเด่นของชุมชน และยังสามารถประยุกต์ในได้ในชีวิตประจำวัน ที่มีความหลากหลายในการใช้งานในการ โอกาสในการสร้างกลไกที่สามารถรองรับเศรษฐกิจที่หมุนเวียน(Circular Economy)ในพื้นที่ แล้วนำกลับไปสู่การกระจายและสร้างการเติบโตในชุมชน มีการสร้างระบบ กลไก เครื่องมือ และข้อมูลที่พัฒนาขึ้น ตามความต้องการของตลาดกับผลิตภัณฑ์ชุมชนฐานราก มุ่งประเด็นการพัฒนาไปยังกลุ่มเศรษฐกิจสร้างสรรค์โดยเป็นการใช้ทุนทางปัญญา หรือองค์ความรู้ และทักษะ การประยุกต์นำความคิดสร้างสรรค์ (หรือองค์ความรู้) นั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในเชิงพาณิชย์ ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนงานสิ่งทอ ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ผลิตที่สะท้อนวิถีชีวิต ภูมิปัญญาและเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม เนื่องจากกลุ่มผู้ผลิตงานสิ่งทอเป็นอีกหนึ่งกลุ่มชุมชนที่ได้รับผลกระทบในปัญหาการตกค้างของผลผลิตในชุมชน ในการระบายสินค้า อีกทั้งยังมีความต้องการในด้านการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่และการตลาดที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค |
จุดเด่นของโครงการ : | การเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนท้องถิ่น ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการสร้างสรรค์ ลวดลายของผ้าทอตีนจก ที่มีการผสมผสานระหว่างภูมิปัญญา ความเชื่อ ความหมายและการประยุกต์ลวดลายสมัยใหม่ ของผ้าทอตีนจกภายใต้แนวคิดลวดลายประยุกต์สมัยใหม่ เพื่อให้เกิดผลงานแฟชั่นร่วมสมัย และสามารถนำลายผ้ามาสร้างเป็น เอกลักษณ์และจุดเด่นของชุมชน และยังสามารถประยุกต์ในได้ในชีวิตประจำวัน |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1. เพื่อสร้างสรรค์ลายลายผ้าตีนจก จากแนวคิดภูมิปัญญาการทอตีนจก
2. เพื่อออกแบบรูปแบบเสื้อผ้าแฟชั่นร่วมสมัย
3. เพื่อประเมินระดับความพึงพอใจของลวดลายตีนจก และรูปแบบเสื้อผ้าแฟชั่นร่วมสมัย |
ขอบเขตของโครงการ : | 1.ขอบเขตด้านเนื้อหา
1.1 หลักการออกแบบลวดลาย
1.2 โครงสร้างลาย สี ความหมาย ผ้าทอตีนจก
1.3 แนวคิดในกระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน ลวดลาย โดยในงานวิจัยนี้ผู้วิจัยได้เเลือกกรณีศึกษา สร้างสรรค์ลวดลากจากแนวคิดดอกไม้ พะยอม ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และคนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดที่ปลูกต้นพะยอมไว้ประจำบ้าน จะช่วยทำให้คนในบ้านมีนิสัยที่อ่อนน้อม เพราะคำว่าพะยอมมีความหมายว่า การยินยอม ตกลง ผ่อนผัน หรือประนีประนอมนั่นเอง และยังเชื่อว่าจะช่วยทำให้ไม่ขัดสนในเรื่องต่าง ๆ รวมไปถึงเรื่องเงินทอง
1.4 แนวคิดในกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานชุดแฟชั่นร่วมสมัย
2. ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2.1 ผู้เชี่ยวชาญ ปราญชาวบ้าน และผู้ผู้เชี่ยวชาญการออกแบบ จำนวน 5คน
2.2 กลุ่มตัวอย่าง คือผู้บริโภคและผู้ที่ชื่นชอบการแต่งการผ้าไทย รวมทั้งนักท่องเที่ยว ตลาดนัดซาวไฮ่ อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี (แหล่งขายผ้าทอตีนจก) โดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยบัง้อญ จำนวน 100 คน จากตาราง Krejcie and Morgan |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | 1. ได้ต้นแบบลวดลายผ้าทอตีนจก งานสิ่งทอที่เป็นเอกลักษณ์และภูมิปัญญา
2. ได้ต้นแบบผลิตภัณฑ์ ชุดแฟชั่นร่วมสมัย
3. ได้แนวทางในการพัฒนาสินค้าเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ รวมทั้งได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | การออกแบบลวดลาย
สำหรับความหมายของการออกแบบลวดลายเป็นคำที่แยกออกมาเป็น 2 คำ คือ “การออกแบบ” กับ “ลวดลาย” จาก 2 คำนี้เมื่อเรามาแยกความหมายเป็น 2 ประเด็นดังนี้คือ
ความหมายของคำว่า “การออกแบบ ” จากคำว่า “การออกแบบ ” นี้มี นักวิชาการได้ให้ความหมายไว้มากมายดังนี้
วิรุณ ตั้งเจริญ (2526 : 19) กล่าวไว้ว่า การออกแบบ (Design) คือ การวางแผน สร้างสรรค์รูปแบบโดยวางแผนจัดส่วนประกอบของการออกแบบให้สัมพันธ์กับประโยชน์ใช้สอย วัสดุและการผลิตของสิ่งที่ต้องการออกแบบนั้น เช่น การออกแบบหมวก คือ การวางแผนสร้าง หมวกในรูปแบบใหม่ โดยเน้นความเหมาะสมของรูปทรง สี เส้น ฯลฯ
พีนาลิน สาริยา (2549 : 4) กล่าวว่า การออกแบบคือ การรู้จัก วางแผนกำหนด ขั้นตอนในการสร้างงานอย่างเหมาะสมสวยงาม เพื่อประโยชน์ใช้สอยในรูปแบบต่าง ๆ หรืออีก นัยหนึ่ง การออกแบบคือ การกำหนดความนึกคิด (Idea) ตามประเภทและวัตถุประสงค์ในการ สร้างผลงาน โดยสอดคล้องกับคุณสมบัติของวัสดุที่นำมาใช้
มาโนช กงกะนันท์ (2538 : 27 อ้างในอ้อยทิพย์ พลศรี, 2545 : 1) กล่าวไว้ว่า การออกแบบคือ กระบวนการสร้างสรรค์ประเภทหนึ่งของมนุษย์ โดยมีทัศนธาตุและลักษณะของ ทัศนธาตุเป็นองค์ประกอบ ใช้ทฤษฎีต่าง ๆ เป็นแนวทางและใช้วัสดุนานาชนิดเป็นวัตถุดิบในการ สร้างสรรค์ โดยที่นักออกแบบจะต้องมีขั้นตอนในการปฏิบัติงานหลายขั้น ตลอดกระบวนการ สร้างสรรค์นั้น
ปราโมทย์ แสงพลสิทธิ์ (2540 : 33) กล่าวไว้ว่า การออกแบบหมายถึง การ เตรียมการโดยการอาศัยขั้นตอนหรือแบบแผนที่บรรจุไว้เป็นเครื่องมือของโครงการที่กำหนดขึ้น ตามจุดมุ่งหมายทางการออกแบบในสาขาวิชาชีพนั้น ๆ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้
ธารทิพย์ เสรินทวัฒน์ (2550 : 44) กล่าวไว้ว่า การออกแบบคือ การแก้ปัญหา และรู้หลักการในศิลปะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ใช้สอยและเกิดความงาม โดยการสร้างสรรค์ ผลงานขึ้นมาโดยไม่ลอกเลียนของเดิมหรือความคิดเดิมที่มีมาก่อน
ศิริพรณ์ ปีเตอร์ (2549 : 3) กล่าวไว้ว่า การออกแบบหมายถึง การวาด ภาพ สิ่งของที่อาจจะถูกนำไปผลิตการจัดการและการวางแผนทั่วไป การสร้างต้นแบบจากเส้น รูปร่าง หรือรูปทรงเพื่อการประดับตกแต่งบนพื้นปูพรม แจกันและอื่นๆ
สาคร คันรโชติ (2528 : 6) กล่าวไว้ว่า การออกแบบหมายถึง การปรับปรุง แบบ ผลงานหรือสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่แล้วให้เหมาะสมมีความแปลกใหม่เพิ่มขึ้น
จากความหมายของการออกแบบ จากนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมาย ข้างต้นนั้นเราพอสรุปได้ว่า การออกแบบ หมายถึง การรู้จักแก้ปัญหาและเข้าใจในเรื่อง องค์ประกอบทางศิลปะ มาใช้ในการออกแบบและมีการวาง แผน คิดสร้างสรรค์ประกอบการ ออกแบบให้สัมพันธ์กับประโยชน์ใช้สอยรวมไปถึงวัสดุ อุปกรณ์นั้นๆ
คำจำกัดความของเศรษฐกิจสร้างสรรค์
เศรษฐกิจสร้างสรรค์คือกระบวนการหรือกิจกรรม (Process or Activity) โดย เกิดจาก 2 ส่วนปัจจัยหลักด้วยกันคือ 1) ทุนทางปัญญา หรือองค์ความรู้ และ 2) ทักษะ การประยุกต์นำความคิดสร้างสรรค์ (หรือองค์ความรู้) นั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในเชิงพาณิชย์ โดย
1. ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital)
สามารถอยู่ในรูปแบบของ “ฐานความรู้” เดิม หรือ “ความรู้ใหม่” ที่จะสามารถนำไปใช้ต่อยอดความคิดโดยทุนในลักษณะนี้สามารถเกิดได้จากทุนมนุษย์ (Human Capital) เช่น ศึกษาและการฝึกอบรมที่นำมาสู่ความคิดใหม่ๆ ทุนทางวัฒนธรรม (Culture Capital) เช่น วัฒนธรรมดั้งเดิมของไทย และทุนทางสังคม (Social Capital) เช่น ขนบธรรมเนียมและองค์ความรู้ในท้องถิ่น เป็นต้น
2. ทักษะการประยุกต์ (Adaptive Skills)
ได้แก่ ทักษะที่สนับสนุนการนำองค์ความรู้และทุนทางปัญญานั้นมาประยุกต์ให้เกิดการผลิต/บริการที่สามารถสร้างคุณค่า/มูลค่าได้อย่างเป็นรูปธรรม
ดังนั้น คำว่า “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” อันประกอบไปด้วยคำว่า 1) เศรษฐกิจ (Economy) และ 2) สร้างสรรค์ (Creative) จะเกิดขึ้นได้ต้องมีทั้งสองส่วนนี้เกิดคู่กัน การมีเพียงความคิดสร้างสรรค์ (หรือองค์ความรู้) แต่เพียงอย่างเดียวไม่สามารถสร้าง ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้ถ้าความคิดนั้นไม่ได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ แก่ผู้สร้างสรรค์ การนำความคิดเข้าไปประสานกับการดำเนินธุรกิจทำให้เกิดการต่อยอด ไปสู่ทั้งการสร้าง “ความแตกต่าง” ซึ่งจะส่งผลต่อการ “สร้างมูลค่า” และท้ายที่สุด เป็นการ “สร้างคุณค่า” ซึ่งความหมายของคำว่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์นี้สอดคล้องกับคำว่า นวัตกรรม (Innovation) โดย Swann (2007) ได้ระบุความหมายของนวัตกรรม ไว้ว่า “The Successful Exploitation of New Ideas” ซึ่งหมายถึง “การใช้ประโยชน์ จากความคิดใหม่ๆ” |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | กรอบแนวคิดในการดำเนินงานเพื่อทำความเข้าใจโดยการศึกษาข้อมูล ความต้องการในการพัฒนาและนำมาวิเคราะห์เพื่อสร้างโจทย์วิจัย และค้นหาเอกลักษณ์ท้องถิ่นที่โดดเด่นและมีศักยภาพที่เหมาะสมสำหรับการสร้างสรรค์ลายผ้าเมื่อได้อัตลักษณ์ของท้องถิ่นแล้วจึงแปลงอัตลักษณ์ท้องถิ่นออกมาเป็นลายผ้า โดยผ่านกระบวนการออกแบบลวดลายผ้าทอจากอัตลักษณ์ท้องถิ่น จนพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบลวดลายผ้าทอตามอัตลักษณ์ท้องถิ่น |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | ผู้วิจัยได้แบ่งการดำเนินงานเป็น 4 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวของ และทำการสร้างสรรค์ลวดลายตามกรอบแนวคิด ผ้าทอตีนจก โดยทำการสร้างสรรค์ลวดลายด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยมีลายหลัก และลายประยุกต์ของผ้าทอตีนจก รวมทั้งลายประยุกต์ ทั้งนี้เพื่อให้ได้งานที่สร้างสรรค์ยังคงรูปแบบลวดลายโบราณดั้งเดิม และลายประยุกต์ขึ้นมาใหม่จากลายหลักที่มีความสอดคล้องกับลายต้นแบบเดิม
ระยะที่ 2 นำลวดลายที่ได้สร้างสรรค์ตามแนวคิด นำเสนอต่อผู้เชียวชาญที่มีความชำนาญ ปราญชาวบ้าน ทางด้านการออกแบบและทารทอผ้าตีนจก เพื่อทำการประเมินความเหมาะของลวดลาย จำนวน 5 ท่าน
ระยะที่ 3 ผู้วิจัยได้ทำการสรุปผลการประเมินความเหมาะสมของลวดลายจากผู้เชี่ยวชาญ นำมาสร้างสรรค์เป็นผืนผ้าทอตีนจก และทำการสร้างสรรค์รูปแบบเสื้อผ้าแฟชั่นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อได้แบบร่างของรูปแบบเสื้อผ้าโดยทำการสร้างแบบร่าง จำนวน 3 รูปแบบ ดังนี้ 1. ชุดแต่งกายสำหรับทำงาน ชาย-หญิง 2. ชุดแต่งกายสำหรับลำลอง ชาย-หญิง 3. ชุดแต่งกายสำหรับงานเลี้ยงชาย-หญิง
ระยะที่ 4 เมื่อได้ภาพร่างรูปแบบเสื้อผ้าแฟชั่น นำไปประเมินความเหมาะสำต่อผู้เชี่ยวชาญ จากนั้นนำไปตัดเย็บชุดต้นแบบ จำนวน 6 ชุด และนำไปประเมินความพึงพอใจจากผู้บริโภค |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | การสร้างสรรค์ ลวดลายของผ้าทอตีนจก ที่มีการผสมผสานระหว่างภูมิปัญญา ความเชื่อ ความหมายและการประยุกต์ลวดลายสมัยใหม่ ของผ้าทอตีนจกภายใต้แนวคิดลวดลายประยุกต์สมัยใหม่ เพื่อให้เกิดผลงานแฟชั่นร่วมสมัย และสามารถนำลายผ้ามาสร้างเป็น เอกลักษณ์และจุดเด่นของชุมชน และยังสามารถประยุกต์ในได้ในชีวิตประจำวัน ที่มีความหลากหลายในการใช้งานในการ โอกาสในการสร้างกลไกที่สามารถรองรับเศรษฐกิจที่หมุนเวียน(Circular Economy)ในพื้นที่ แล้วนำกลับไปสู่การกระจายและสร้างการเติบโตในชุมชน มีการสร้างระบบ กลไก เครื่องมือ และข้อมูลที่พัฒนาขึ้น ตามความต้องการของตลาดกับผลิตภัณฑ์ชุมชนฐานราก มุ่งประเด็นการพัฒนาไปยังกลุ่มเศรษฐกิจสร้างสรรค์โดยเป็นการใช้ทุนทางปัญญา หรือองค์ความรู้ และทักษะ การประยุกต์นำความคิดสร้างสรรค์ (หรือองค์ความรู้) นั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในเชิงพาณิชย์ ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนงานสิ่งทอ ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ผลิตที่สะท้อนวิถีชีวิต ภูมิปัญญาและเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม เนื่องจากกลุ่มผู้ผลิตงานสิ่งทอเป็นอีกหนึ่งกลุ่มชุมชนที่ได้รับผลกระทบในปัญหาการตกค้างของผลผลิตในชุมชน ในการระบายสินค้า อีกทั้งยังมีความต้องการในด้านการพัฒ |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 201 ครั้ง |