รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000625
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :นวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งเสริมทักษะทางสมองสู่การบ่มเพาะคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Innovation of Learning Through Digital Technology That Promotes Brain Skills to Cultivate Morality and Ethics for Children and Youth
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :นวัตกรรมการเรียนรู้ , เทคโนโลยีดิจิทัล, ทักษะสมอง , คุณธรรมจริยธรรม , เด็กและเยาวชน
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :280000
งบประมาณทั้งโครงการ :280,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2565
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2566
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาการศึกษา
กลุ่มวิชาการ :หลักสูตรและการสอนการวัดและประเมิณผลการศึกษา
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :การศึกษาเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของคนไทยทุกคน ที่รัฐต้องจัดให้เพื่อพัฒนาคนไทยทุกช่วงวัยให้มีความเจริญงอกงามทุกด้าน เพื่อเป็นต้นทุนทางปัญญาที่สำคัญในการพัฒนาทักษะ คุณลักษณะและสมรรถนะในการประกอบสัมมาชีพ และการดำรงชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างเป็นสุขอันจะนำไปสู่เสถียรภาพ และความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติที่ต้องพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมนานาประเทศในเวทีโลกท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกศตวรรษที่ 21 และตามเจตนารมณ์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 – 2579 ในยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัยและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้มีเป้าหมายให้ผู้เรียนมีทักษะและคุณลักษณะพื้นฐานของพลเมืองไทย และทักษะและคุณลักษณะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ผู้เรียนที่มีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพิ่มขึ้น ผู้เรียนทุกระดับการศึกษามีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความมีวินัย และมีจิตสาธารณะเพิ่มขึ้น สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่าขึ้นไปที่จัดกิจกรรมสะท้อนการสร้างวินัย จิตสาธารณะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์เพิ่มขึ้น และมุ่งให้คนทุกช่วงวัยมีทักษะ ความรู้ความสามารถ และสมรรถนะตามมาตรฐานการศึกษาและมาตรฐานวิชาชีพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ตามศักยภาพ พัฒนาเด็กแรกเกิด – 5 ปี ให้มีพัฒนาการสมวัยเพิ่มขึ้น นักเรียนมีคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) แต่ละวิชาผ่านเกณฑ์คะแนนร้อยละ 50 ขึ้นไปเพิ่มขึ้น ผู้สูงวัยที่ได้รับบริการการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพและทักษะชีวิตเพิ่มขึ้น และมีสาขาและวิชาชีพที่เปิดโอกาสให้ผู้สูงวัยได้รับการส่งเสริมให้ทำงานและถ่ายทอดความรู้/ประสบการณ์เพิ่มขึ้น ตลอดจนมีแหล่งเรียนรู้ สื่อตำราเรียน นวัตกรรม และสื่อการเรียนรู้มีคุณภาพและมาตรฐาน และประชาชนสามารถเข้าถึงได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ โดยแหล่งเรียนรู้ที่ได้รับการพัฒนาให้สามารถจัดการศึกษา/จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น สื่อสารมวลชนที่เผยแพร่หรือจัดรายการเพื่อการศึกษาเพิ่มขึ้น สื่อตำราเรียน และสื่อการเรียนรู้ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานคุณภาพจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ และได้รับการพัฒนาโดยการมีส่วนร่วมจากภาครัฐและเอกชนเพิ่มขึ้น(สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา,2560) การเข้าใจตนเองและเข้าใจผู้อื่นเป็นทักษะสำคัญที่จะทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านสังคมต่อไป ซึ่งพัฒนาการด้านการคิดเหล่านี้ต้องอาศัยทักษะสำคัญที่เรียกว่า Executive Functions (EF) เป็นพื้นฐานทั้งสิ้น เด็กที่มีการพัฒนาทักษะด้าน EF ดีตามวัย จะควบคุมอารมณ์ ความต้องการ ความอยากได้ สามารถยั้งใจได้กำกับตนเองให้มุ่งมั่นจดจ่อจนนำไปสู่ความสำเร็จได้ เมื่อเด็กโตขึ้นจนย่างเข้าสู่วัยเรียนและวัยรุ่น ทักษะด้าน EF จะยิ่งมีความสำคัญต่อความสำเร็จทางการเรียนมากขึ้น เพราะเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นเป็นวัยที่ต้องรับผิดชอบตัวเองมากขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่มีสิ่งมาล่อใจมากมาย เด็กจึงต้องรู้จักบริหารจัดการตนเอง ในเกือบทุกเรื่องจึงจะประสบความสำเร็จได้ การฝึกทักษะด้าน EF ตั้งแต่วัยเด็กเล็ก จึงมีความสำคัญเพราะจะเป็นพื้นฐานในการคิดที่ซับซ้อนขึ้นเรื่อย ๆ เช่น การตัดสินใจ (Decision Making) ความอดทน มานะพยายาม ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค(Grit) และความสามารถในการฟื้นตัวได้ เปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาสได้ (Resillience) เพื่อกำกับตนเองไปสู่ความสำเร็จต่อไป ทั้งนี้ เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มาพร้อมกับโลกาภิวัตน์ ได้ทำให้โลกเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว สลับซับซ้อน พลิกผันและคาดการณ์ได้ยาก เกือบทุกอย่างรอบตัวเปลี่ยนไปหมด เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทเกือบทุกด้าน คนส่วนใหญ่อยู่กับสมาร์ทโฟน วิถีการใช้ชีวิตของผู้คนเปลี่ยน อาชีพหลายอย่างหายไป อาชีพแปลกๆ ใหม่ๆ เข้ามาแทนที่ข่าวสารท่วมท้น ความรู้หาง่ายแค่ปลายนิ้ว เศรษฐกิจผันผวนง่าย วัฒนธรรมหลากหลายและหลั่งไหล ผู้คนอพยพข้ามถิ่น ทรัพยากรน้อยลงและเสื่อมลง ความขัดแย้งในมิติต่างๆ สูงขึ้น ดังนั้น เด็กไทยของเราจะเติบโตไปใช้ชีวิตในโลกยุคใหม่แบบนี้ได้ ย่อมต้องมีคุณลักษณะแบบใหม่ไปด้วย เราจะสร้างแบบคนรุ่นเก่า ที่ทำงานเก่งตามคำสั่ง คิดในกรอบเดิม ๆ แก้ปัญหาแบบเดิม ๆ อยู่สบายตามใจฉัน ถึงก็ช่างไม่ถึงก็ช่าง ฯลฯ ไม่ได้อีกต่อไป นักคิดและนักการศึกษาทั่วโลกได้ชี้ไว้ว่า คนรุ่นใหม่จะอยู่รอดปลอดภัย มั่นคง และทำให้โลกน่าอยู่ต่อไปได้ จะต้องมีทักษะที่เรียกกันว่า “ทักษะศตวรรษที่ 21” (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน RLG (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป), 2561) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ตระหนักถึงภารกิจที่สำคัญในการพัฒนาประชากรของชาติดังนี้“คนไทยในอนาคตจะต้องมีความพร้อมทั้งกาย ใจ สติปัญญา มีพัฒนาการที่ดีรอบด้านและมีสุขภาวะที่ดีในทุกช่วงวัย มีจิตสาธารณะ รับผิดชอบต่อสังคมและผู้อื่น มัธยัสถ์ อดออม โอบอ้อมอารี มีวินัย รักษาศีลธรรม และเป็นพลเมืองดีของชาติ มีหลักคิดที่ถูกต้อง มีทักษะที่จําเป็นในศตวรรษที่ 21 มีทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาที่ 3 และอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น มีนิสัยรักการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สู่การเป็นคนไทย ที่มีทักษะสูง เป็นนวัตกร นักคิด ผู้ประกอบการ เกษตรกรยุคใหม่และอื่น ๆโดยมีสัมมาชีพตามความถนัดของตนเอง”(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2562) โดยได้ทำการศึกษา วิเคราะห์นโยบายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของรัฐบาลจากยุทธศาสตร์ชาติ(พ.ศ. 2561-2580) ซึ่งจะต้องนําไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้ประเทศไทยบรรลุวิสัยทัศน์“ประเทศไทย มีความมั่นคงมั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาและว่าด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2565) ได้กำหนดทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในระยะ 5 ปี ด้านการศึกษาไว้ ดังนี้ 1) ให้มีการยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ให้มีคุณภาพเท่าเทียมและทั่วถึง 2) การพัฒนาศักยภาพคนในทุกช่วงวัยให้สนับสนุนการเจริญเติบโตของประเทศ และ 3)การพัฒนาผลิตภาพแรงงาน เป็นการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนากําลังคนและแรงงาน (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,2559) การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อรองรับสังคมไทยในยุคดิจิทัล เป็นแนวคิด กลวิธี และแนวทางการจัดการเรียนรู้ เพื่อหาทางออกให้แก่ การพัฒนาระบบการศึกษาของไทยให้มีความตระหนักรู้ต่อแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมและครอบครัวในยุคต่อไปที่กําาลังมาถึงพร้อมเป็น แนวทางการพัฒนาการศึกษาควบคู่กับการพัฒนาประเทศตามนโยบายของ รัฐบาลเกี่ยวกับเศรษฐกิจยุคดิจิทัลที่กําาลังเป็นนโยบายหลักในการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในอนาคต การเสนอแนวทางพัฒนาองค์ความรู้หรือชุดโปรแกรมทางการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชนนั้น ควรมุ่งเน้นเกี่ยวกับ การรูเหนังสือ (Literacy) เป็นสำคัญ ดังเช่น การรู้เกี่ยวกับการคิดคํานวณ ความเป็นเหตุเป็นผลกระบวนการแก่ปัญหา การรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ สารสนเทศและเทคโนโลยี เศรษฐศาสตร์ ความรู้เสมือนจริง และความตระหนักต่อตนเอง และสังคมโลก ขณะเดียวกัน ควรเน้นการพัฒนาในเรื่องการคิดสร้างสรรค์ การปรับตัว การจัดการปัญหาที่ซับซ้อน การควบคุมตนเอง การจัดการความเสี่ยง การคิดใช้เหตุผล การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การทำงานเป็นทีมการสร้างทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและสังคม หากเยาวชนมีความรู้ เจตคติ และทักษะเหล่านี้แล้ว จะสามารถนําาไปสู่ผลิตผล ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนในการเพิ่มศักยภาพ โดยเฉพาะความสามารถในการวางแผน การสรุป การใช้ทักษะควบคุมเครื่องมือและ อุปกรณ์ ตลอดจนการใช้กระบวนการทางปัญญาในการดำเนินชีวิต องค์ประกอบดังที่กล่าวมานี้จะนําาไปสู่การพัฒนาการศึกษา แบบเป็นพลวัตรและแปรเปลี่ยนไปตามความผันแปรของสถานการณ์โลกทำให้คนไทยเกิดความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และยังเป็นการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทางการศึกษาได้ตระหนักต่อการเตรียมความพร้อมในการดำรงสถานะของสถาบันการศึกษาและดำเนินไปควบคู่กับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีรวมถึงการตระหนักคิดเชิงปรัชญาที่เป็นฐานคติ ในการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาให้สอดคล้องกับสังคมโลกที่นับวันจะก้าวสู่สังคมดิจิทัลทุกขณะเพื่อให้ก้าวทันต่อการ เปลี่ยนแปลงในอนาคตต่อไป จึงควรอย่างยิ่งที่กระทรวงศึกษาธิการ ต้องเปลี่ยนแปลงแนวทางในการจัดการศึกษาใหม่ ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัยการอาชีวศึกษา และรวมถึงการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาให้มีความสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศที่จะก้าวสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบในอนาคต เพื่อเตรียมผู้เรียนให้พร้อมรับมือกับ สังคมในยุคดิจิทัล แนวทางที่สำคัญในการขับเคลื่อนดังกล่าวคือ การนํา Digital Age Education เข้ามาเป็นแนวคิดเชิงปรัชญาในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามนุษย์ให้เป็นคนที่สมบูรณ์(เจษฎา กิตติสุนทร และวาสนา กีรติจำเริญ,2560) การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งเสริมทักษะทางสมองสู่การบ่มเพาะคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน ดังกล่าวจะส่งเสริมให้คนในชุมชน สถานศึกษา และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถจัดการศึกษาพัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านวิทยาศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคมในปัจจุบัน ทั้งได้ สื่อการเรียนรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถพัฒนาทักษะทางสมองสำหรับเด็กและเยาวชน ประยุกต์ใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของเด็กและเยาวชน เสริมสร้างทักษะทางสมอง ส่งเสริมทักษะการคิด ฝึกให้ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้เป็น แก้ปัญหาเป็น อยู่กับคนอื่นเป็น และมีความสุขเป็น ตลอดจนส่งเสริมและพัฒนาความจำที่นำมาใช้งาน การยั้งคิด และควบคุมแรงปรารถนาของตนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม การยืดหยุ่นความคิด สามารถปรับเปลี่ยนความคิดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป การใส่ใจจดจ่อมุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่อง การควบคุมอารมณ์ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ การรู้จักประเมินตนเอง การริเริ่มและลงมือทำงานตลอดจนเกิดความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมายในสำเร็จต่อไป
จุดเด่นของโครงการ :การวิจัย เรื่อง นวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งเสริมทักษะทางสมองสู่การบ่มเพาะคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)พัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งเสริมทักษะทางสมองสู่การบ่มเพาะคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน 2)ศึกษาผลการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งเสริมทักษะทางสมองสู่การบ่มเพาะคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน และ 3)ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อนวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งเสริมทักษะทางสมองสู่การบ่มเพาะคุณธรรมจริยธรรม กลุ่มเป่าหมายการวิจัย ประกอบด้วย ครูผู้สอน และนักเรียนเด็กปฐมวัย และนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครสวรรค์ เป็นการวิจัยประยุกต์(Applied research) โดยใช้วิธิการศึกษาวิเคราะห์ จากเอกสารที่เกี่ยวข้องควบคู่ไปกับประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สัมภาษณ์ พัฒนาและทดลองใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ และนําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งเสริมทักษะทางสมองสู่การบ่มเพาะคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1.เพื่อพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งเสริมทักษะทางสมองสู่การบ่มเพาะคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน 2.เพื่อศึกษาผลการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งเสริมทักษะทางสมองสู่การบ่มเพาะคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน 3.เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อนวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งเสริมทักษะทางสมองสู่การบ่มเพาะคุณธรรมจริยธรรม
ขอบเขตของโครงการ :ขอบเขตด้านประชากร กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนระดับปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์ สังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครสวรรค์ ขอบเขตด้านเนื้อหา การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งเสริมทักษะทางสมองและการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน ขอบเขตด้านตัวแปร ตัวแปรที่ศึกษา การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งเสริมทักษะทางสมองสู่การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1.ได้นวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งเสริมทักษะทางสมองสู่การบ่มเพาะคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน 2.ได้ทราบผลการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งเสริมทักษะทางสมองสู่การบ่มเพาะคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน 3.ได้ทราบความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อนวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งเสริมทักษะทางสมองสู่การบ่มเพาะคุณธรรมจริยธรรม 4.เป็นแนวทางในการจัดการศึกษา การจัดประสบการณ์การเรียนรู้และการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนการสอนต่อไป
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :ทักษะทางสมอง Executive Functions (EF) คือ กระบวนการทำงานของสมองส่วนหน้า ซึ่งมีความสำคัญในการควบคุมอารมณ์ ความคิด การวางแผนและการแก้ไขปัญหา ซึ่งลูกจะสามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ จากความจำมาสู่การกระทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้ดีขึ้น ช่วงวัยที่เหมาะสมจะพัฒนา EF คือ ช่วง 3 – 6 ปี เพราะหากเป็นช่วงวัยเรียน วัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ก็พัฒนาได้ แต่จะได้ไม่มากเท่ากับเด็กปฐมวัย Executive Functions (EF) ประกอบด้วย 9 ทักษะ ได้แก่ 1. ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน (Working Memory) กิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ การให้ลูกดื่มนมแม่ในช่วง 6 เดือน ให้ลูกทานอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนให้เพียงพอ แสดงความรักด้วยการกอด หอม พูดคุยกับลูกบ่อยๆ เพื่อให้ลูกรู้สึกอบอุ่น เล่านิทาน อ่านหนังสือกับลูก ให้ลูกเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า เพื่อให้จดจำได้ดีขึ้น 2. ทักษะการยั้งคิด (Inhibitory Control) คือ การควบคุมอารมณ์ตนเอง รู้ว่าสิ่งใดควรทำ – ไม่ควรทำ เช่น ไม่นำของเพื่อนมาเป็นของตนเอง เป็นต้น กิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ ของเล่นเสริมพัฒนาการที่ต้องใช้สมาธิ ใช้สมองในการวางแผน และคิดแก้ไขปัญหาส่งเสริมด้านดนตรีกับลูกบ่อยๆ หากลูกมีความกังวลใจ ให้ลูกเล่าออกมาอย่าเก็บไว้ เพื่อช่วยระบายความรู้สึกสอนให้ลูกรู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเอง เช่น เวลารู้สึกโมโห ให้นับตัวเลข 1-10 หรือหายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ จนรู้สึกดีขึ้น ไม่หงุดหงิดโวยวาย หรือไปทำร้ายคนอื่น 3. ทักษะการยืดหยุ่นความคิด (Shift Cognitive Flexibility)คือ ทักษะที่ช่วยให้ลูกรู้จักปรับตัว ยืดหยุ่น และรู้จักแก้ไขปัญหาได้ตามแต่ละสถานการณ์ กิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ กิจกรรมด้านศิลปะ เช่น การวาดรูป ระบายสี การปั้น การพับ ตัด ปะ ฝึกให้ลูกทำของเล่นจากวัสดุเหลือใช้การต่อบล็อกเป็นรูปทรงต่าง ๆ 4.ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus) เป็นสิ่งสำคัญ เพราะการที่ลูกมีสมาธิ ไม่วอกแวก จะช่วยให้ลูกเรียนรู้ได้ดี กิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ การอ่านหนังสือ การฟังเพลง วาดรูป ระบายสี การเรียนรู้ผ่านการเล่น การต่อจิ๊กซอว์ / ต่อบล็อกรูปทรงต่างๆ การสวดมนต์ ไหว้พระก่อนนอน 5.การควบคุมอารมณ์ (Emotion Control) ช่วยให้ลูกรู้จักควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดี ไม่โมโห หงุดหงิดง่าย กิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ การอ่านนิทานที่เกี่ยวกับลักษณะนิสัยที่ดี ให้ลูกได้เล่นร่วมกับผู้อื่น เพื่อรู้จักการแบ่งปัน อดทนรอคอย ไม่แซงคิว ให้ลูกช่วยงานบ้าน และช่วยเลือกเสื้อผ้าที่ไม่ใช้บริจาคสิ่งของไปให้เด็กคนอื่นๆ ที่ขาดแคลน 6.การวางแผนและการจัดการ (Planning and Organizing) เป็นการฝึกให้ลูกรู้จักตั้งเป้าหมายและคิดวางแผนด้วยตนเอง กิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ สอนให้ลูกเรียนรู้เรื่องเวลา สอนให้ลูกรู้จักตั้งเป้าหมายง่าย ๆ เช่น เก็บออมเงินเพื่อซื้อของที่อยากได้ด้วยตนเอง ให้ลูกรับผิดชอบงานในบ้าน โดยให้เขาเลือกเองก็ได้ ลูกจะได้ทำอย่างมีความสุข 7.การประเมินตนเอง (Self-Monitoring) สอนให้ลูกรู้จักประเมินตนเอง และแก้ไขปรับปรุง ข้อนี้จะสอนต่อจากเรื่องการวางแผนก็ได้ โดยทำเป็นตารางงานบ้านให้ลูกไว้ งานชิ้นไหนที่ทำแล้วก็ให้ใส่เครื่องหมายถูก ถ้างานชิ้นไหนยังไม่ได้ทำ ก็ลองถามเขาว่างานชิ้นนี้เขายังไม่ทำเพราะเหตุใด เช่น เป้าหมายนั้นยากไป จะได้ช่วยกันแก้ไขให้ดีขึ้น 8.การริเริ่มและลงมือทำ (Initiating)เป็นการฝึกให้ลูกกล้าคิด กล้าทำอะไรใหม่ๆ กิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ เปิดโอกาสให้ลูกแสดงความคิดเห็น และเลือกทำในสิ่งที่ตนเองสนใจเมื่อลูกวาดรูประบายสี ลองให้เขาเล่าผลงานของเขาว่าสิ่งๆ นั้นคืออะไร เขาจะเล่าด้วยความภูมิใจ พาลูกไปเล่นกับเด็กคนอื่นๆ บ้าง เพื่อให้มีสังคม และได้แสดงความคิดเห็นของตนเอง 9.มีความเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย (Goal-Directed Persistence) ช่วยให้ลูกไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคง่ายๆ จะตั้งใจทำจนกว่าจะสำเร็จ กิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ กิจกรรมด้านดนตรี กีฬา และศิลปะการต่อจิ๊กซอว์ ต่อบล็อก ของเล่นไม้ เกมตึกถล่ม หมากฮอส หมากรุก วัยเด็กต้น ๆ ระบบการยับยั้ง (inhibitory control) และความจำใช้งาน (working memory) เป็นกิจบริหารพื้นฐานอย่างหนึ่ง ที่ทำให้การพัฒนากิจบริหารที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นอื่น ๆ เช่นการแก้ปัญหาเป็นไปได้ ระบบการยับยั้งและความจำใช้งานเป็นระบบแรก ๆ สุดที่ปรากฏ คือพบการพัฒนาเบื้องต้นได้ในทารกวัย 7-12 เดือนและหลังจากนั้นในวัยก่อนปฐมศึกษา เด็ก ๆ จะแสดงประสิทธิภาพในงานเกี่ยวกับการยับยั้งและความจำใช้งานที่ดีขึ้นอย่างรวดเร็วโดยปกติในระหว่างอายุ 3-5 ขวบ นอกจากนั้นแล้วก็อยู่ในช่วงเวลานี้ด้วย ที่ความสามารถในการทำงานหลาย ๆ งานได้พร้อมกัน (cognitive flexibility) พฤติกรรมมีเป้าหมาย (goal-directed behavior) และการวางแผนเริ่มเกิดการพัฒนา อย่างไรก็ดี เด็กวัยก่อนปฐมศึกษายังไม่มีสมรรถภาพทางการบริหารที่สมบูรณ์ จึงยังเกิดการทำงานผิดพลาดเกี่ยวข้องกับสมรรถภาพที่กำลังเติบโตขึ้น แต่โดยปกติจะไม่ใช่เป็นเพราะความไม่มีสมรรถภาพเหล่านั้น แต่เป็นเพราะว่า เด็ก ๆ ยังไม่มีความสำนึกว่าเมื่อไรและอย่างไรที่จะใช้วิธีการบริหารหนึ่ง ๆ ในกรณีเช่นนั้น ก่อนวัยรุ่น เด็กก่อนวัยรุ่นยังปรากฏการเจริญขึ้นของ EF บางอย่างที่รวดเร็วอีกด้วยพร้อมกับการเจริญขึ้นอย่างสมบูรณ์ของหน้าที่บางอย่าง ซึ่งบอกเป็นนัยว่า การพัฒนาของ EF ไม่ได้เป็นการเจริญขึ้นในแนว ในช่วงก่อนวัยรุ่น เด็ก ๆ มีสมรรถภาพที่เพิ่มขึ้นอย่างสำคัญเกี่ยวกับความจำใช้งานทางภาษา (verbal working memory) พฤติกรรมมีเป้าหมาย (โดยอาจมีช่วงที่พัฒนาเร็วที่สุดใกล้อายุ 12 ขวบ) การยับยั้งการตอบสนอง (response inhibition) และความใส่ใจโดยเลือก และการวางแผนและทักษะในการจัดระเบียบต่าง ๆ นอกจากนั้นแล้ว ในระหว่างวัย 8-10 ขวบ cognitive flexibility (การคิดถึงหลาย ๆ เรื่องได้พร้อมกัน) โดยเฉพาะจะเริ่มเทียบกับระดับของผู้ใหญ่ อย่างไรก็ดี เปรียบเหมือนกับรูปแบบการพัฒนาที่เกิดขึ้นในวัยเด็กต้น ๆ สมรรถภาพการบริหารในเด็กก่อนวัยรุ่นมีขีดจำกัด เพราะว่าไม่สามารถใช้สมรรถภาพเหล่านี้ในกรณีต่าง ๆ กันอย่างสม่ำเสมอ อันเป็นผลจากการพัฒนาที่ยังเป็นไปอยู่ในระบบการยับยั้ง (inhibitory control) การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ความหมายของคำว่าคุณธรรม คุณธรรมใสนความหมายตามพจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายว่า สภาพคุณงามความดี ส่วนพจนานุกรมศัพท์ปรัชญาฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายว่า หลักที่มนุษย์ถือเป็นแนวทางที่ถูกต้องในการดำเนินชีวิต เช่น ถือว่า ความยุติธรรม ความเมตตา เป็นคุณธรรม ส่วนศัพท์ศาสนาสากลฉบับบัณฑิตยสถานให้ความหมายว่า การทำดีจนเป็นนิสัย และจากการศึกษาค้นคว้าเอกสารเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมพบว่ามีนักศึกษาหลายท่านได้กล่าวถึง ความหมายคุณธรรมจริยธรรม ไว้ดังต่อไปนี้ วีระพงศ์ ถิ่นแสนดี (2550 : 22) ได้ให้ความหมายของคุณธรรมไว้ว่า หมายถึง ความดีอันสูงสุดที่ปลูกฝังในอุปนิสัยอันดีงาม อันเป็นเครื่องควบคุมความประพฤติของบุคคลที่แสดงออกตามที่ตนปรารถนา อนุรักษ์ บูรณธนิต (2550 : 14) กล่าวว่า คุณธรรมและลักษณะที่พึงประสงค์ มีความหมายใกล้เคียงและจำเป็นจะต้องปฏิบัติร่วมกันอย่างต่อเนื่อง จึงมีการนำคำเหล่านี้มาพูดต่อกัน เพื่อให้เกิดความหมายที่ครบสมบูรณ์ที่สุด การมีความคิดที่ดีงาม มีแนวปฏิบัติที่ถูกต้อง จึงเป็นของคู่กันและเป็นสิ่งที่ต้องการของสังคมปัจจุบัน ความหมายของคำว่าจริยธรรม จริยธรรม(Ethics) ถือว่าเป็นเรื่องหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในวงการศึกษาทั้งทางตะวันตกและตะวันออก เพราะจริยธรรมมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์อันที่จะทำให้มนุษย์มีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข เนื่องจากจริยธรรมเป็นนามธรรม มีขอบเขตกว้างขวางมาก จึงได้มีนักการศึกษาหลายท่านให้ความหมายของคำว่าจริยธรรมใกล้เคียงหรือแตกต่างกันไป ดังนี้ ธอนไดค์ และมาร์ฮาร์ต (Thorndike & Barnhart 1957 : 629) ได้ให้ความหมายของจริยธรรมว่า จริยธรรม หมายถึง คุณธรรม หรือการกระทำที่ถูกต้อง หรือขอบเขตของระเบียบหรือหลักความประพฤติ เพียเจท์ (Piaget 1960 : 1 ) เป็นบุคคลแรกที่ได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องจริยธรรมของเด็กได้อธิบายไว้ว่า จริยธรรมเป็นลักษณะประสบการณ์ของมนุษย์และหน้าที่เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ในการหาความร่วมมือเกี่ยวกับการจัดเตรียมทางสังคมในเรื่องความสนใจและอนามัยของบุคคล เป็นความสัมพันธ์ร่วมกันในรูปของการกระทำและสิทธิ โคลเบอร์ก (Kohlberg 1976 : 4-5)ศึกษาจริยธรรมตามแนวของเพียเจท์และให้ได้ความหมายของจริยธรรมว่า ไม่ได้หมายถึง การกระทำตามสิ่งที่สังคมเห็นว่าดีหรือถูกต้อง แต่เป็นสิ่งที่บุคคลควรกระทำเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ขัดแย้งกันแล้วตัดสินใจโดยยึดหลักความยุติธรรม องค์ประกอบทางจริยธรรม บลูมและแคทวูล (Bloom and Krathwohl.อ้างถึงในกลุ่มส่งเสริมการสอนและประเมินผล 2548: 4-6) ได้แบ่งลำดับขั้นการพัฒนาจริยธรรมไว้ 5 ขั้นดังนี้ 1. การรับรู้ (Receiving or attending) เป็นความไวในการรับรู้ของบุคคลเพื่อการเก็บเรื่องราวต่างๆได้อย่างรวดเร็วซึ่งแบ่งได้ 3 ระยะดังนี้ 1.1 การรู้จักเป็นการนึกคิดต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งอยู่ในจิตสำนึกของมนุษย์ 1.2 การอยากรับรู้เป็นความเต็มใจที่จะยอมรับในสิ่งนั้นๆ 1.3 การเลือกรับรู้เป็นการควบคุมเพื่อแยกความรู้สึกในสิ่งที่ได้รับรู้ 2. การตอบสนอง (Responding) เป็นการแสดงความเต็มใจที่จะนำตัวเองเข้าไปผูกพันกับเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆซึ่งได้แบ่งเป็น 3 ระยะดังนี้ 2.1 ตอบตามสั่งทำเพราะเชื่อฟังแต่มีความรู้สึกต่อต้านเล็กน้อย 2.2 เต็มใจตอบทำด้วยความเต็มใจของตัวเองมิได้เกรงกลัวใดๆ 2.3 ยินดีตอบทำด้วยความรู้สึกพึงพอใจสนุกสนาน 3. การเห็นคุณค่า (Valuing) เป็นการแสดงออกถึงความเชื่อมั่นในสิ่งนั้นเพราะมองเห็นคุณค่าแบ่งออกเป็น 3 ระยะดังนี้ 3.1 ยอมรับคุณค่าเป็นการเห็นด้วยและยอมรับในความเชื่อของบุคคล 3.2 นิยมคุณค่าเป็นการแสดงถึงความนิยมในคุณค่าด้วยการยกย่องชมเชยในสิ่งที่เขายอมรับ 3.3 ปกป้องเป็นการแสดงออกถึงการยึดถือในสิ่งนั้นและยังปกป้องปฏิเสธที่จะกระทำในสิ่งที่ขัดแย้งกับสิ่งที่ยอมรับนั้นๆ 4. การจัดระบบ (Organization) เป็นการนำคุณค่าที่ยอมรับมาจัดระบบว่าคุณค่านั้นๆมีความสำคัญมากน้อยเพียงใดแบ่งออกเป็น 2 ระยะคือ 4.1 การสร้างความคิดรวบยอดของคุณค่าเป็นการสร้างค่านิยมในสิ่งที่ตัวเองเห็นคุณค่า 4.2 การจัดระบบค่านิยมเป็นการนำเอาคุณค่าในหลายๆสิ่งมาจัดระบบซึ่งจะนำไปสู่อุดมการณ์ของบุคคลนั้นๆ 5. การสร้างลักษณะนิสัย (Characterization by a complex) เป็นการนำเอาระบบคุณค่าที่ยึดถือมาปฏิบัติในลักษณะที่เป็นนิสัยประจำตัวแบ่งเป็น 2 ระยะคือ 5.1 ขยายระบบค่านิยม เป็นการนำระบบคุณค่ามาจัดระบบการแสดงออกในลักษณะที่มีแนวโน้มจะประพฤติปฏิบัติเช่นเดียวกันในสถานการณ์อย่างเดียวกัน 5.2 สร้างลักษณะนิสัยเป็นจุดสูงสุดของกระบวนการพัฒนาจริยธรรมเป็นขั้นที่นำทุกสิ่งทุกอย่างมาจัดกระทำเป็นลักษณะนิสัยของตนเองอย่างสมบูรณ์แบบ การจัดการเรียนการสอนในยุคโลกดิจิทัล การจัดการเรียนการสอนในยุคโลกดิจิตอลนั้นครูควรมีบทบาทในการเป็นผู้อำนวยความสะดวกและชี้แนะแนวทางเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ และบางครั้งอาจจะต้องเป็นผู้ร่วมเรียนรู้ไปพร้อมกับผู้เรียนด้วย ดังนั้นครูในยุคนี้จึงต้องมีคุณลักษณะที่เรียกว่า E-Teacher เช่น ต้องมีประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้แบบใหม่โดยจัดการเรียนการสอนผ่านระบบอินเทอร์เน็ตและสื่อเทคโนโลยี มีทักษะในการแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ เพื่อขยายองค์ความรู้ของตนเองตลอดเวลา มีความสามารถในการถ่ายทอดหรือขยายความรู้ของตนเองสู่นักเรียนผ่านสื่อเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสามารถในการเสาะหาและคัดเลือกเนื้อหาความรู้หรือเนื้อหาที่ทันสมัย เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนผ่านทางสื่อเทคโนโลยี สามารถใช้สื่อเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลทั้งในฐานะที่เป็นผู้ผลิตความรู้ ผู้กระจายความรู้ และผู้ใช้ความรู้ เป็นต้น ในการจัดการศึกษาของชาติสิ่งจำเป็นที่จะต้องหยิบยกมาพิจารณาและพัฒนาไปให้ถึง นั่นคือ ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นโลกยุคดิจิตอลที่ทุกคนต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ 3R และ 7C นั่นคือ 3R ได้แก่ การอ่าน (Reading) การเขียน (writing)และคณิตศาสตร์ (arithmetics) ส่วน 7C ได้แก่ คิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา (Critical thinking & problem solving) คิดสร้าง สรรค์และคิดค้นนวัตกรรม (Creativity & innovation) เข้าใจบนวัฒนธรรมที่แตก ต่างหลากหลาย (Cross-cultural under standing) ความร่วมมือ ทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ (Collaboration, teamwork & leadership) การสื่อสาร รู้เท่าทันสื่อ และข้อมูลสารสนเทศ (Communications, information & media literacy) มีทักษะ ด้านคอมพิวเตอร์และสื่อเทคโนโลยี (Com puting & ICT literacy) และมีทักษะการเรียนรู้และอาชีพ (Career & learning skills) เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในยุคดิจิทัล เทคโนโลยีกำเนิดมาจากความรู้ความสามารถของมนุษย์ที่มุ่งหวังนำความรู้จากธรรมชาติวิทยามาคิดค้นและดัดแปลง เพื่อแก้ปัญหาพื้นฐานต่าง ๆ ในแต่ละด้านเพื่อความสะดวกสบาย และเพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้าในการดำรงชีวิต ไม่เว้นแม่แต่ในด้านของการศึกษา วันนี้การศึกษาของเราเข้าสู่ยุคดิจิทัล 4.0 มีความเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้างในยุคเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 4.0 มาติดตามกัน เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาคืออะไร มีแหล่งข้อมูลหลาย ๆ แห่งให้ความหมายของเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (Technology in Education) ในหมายความว่า การนำเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ มาใช้กับงานด้านการศึกษา โดยประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ในด้านการศึกษา เช่น การจัดการเรียนการสอน เพื่อให้การศึกษาการสอนการเรียนมีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอาจเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่าเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ปัจจุบันเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในระบบการศึกษา เรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ขาดไม่ได้ที่จะช่วยให้การศึกษามีการพัฒนาและเติบโตไปในวงกว้าง ซึ่งมีข้อดีก็คือเป็นการลดความเหลื่อมล้ำโอกาสทางการศึกษาได้เป็นอย่างมาก โดยสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงข้อมูลความรู้นั่นเอง เทคโนโลยีถูกนำมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการวางรากฐานในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ ตั้งแต่เริ่มมีการนำเทคโนโลยีแบบต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในการศึกษา ดังเช่นตัวอย่างต่อไปนี้ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม จะเห็นได้ว่าวิวัฒนาการด้านการศึกษาช่วยส่งผ่านข้อมูลข่าวสาร และความรู้ ที่สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้เรียนผู้ศึกษาผ่านเทคโนโลยีด้านคมนาคมในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การสื่อสารทางไกล การศึกษาผ่านทางไกล เป็นต้น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีพื้นฐานและใช้บ่อยที่สุด ไม่ว่าจะเป็นด้านซอฟต์แวร์ที่มีการสร้างระบบและโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ มาให้ผู้สอนและผู้เรียนได้มีโอกาสถ่ายถอดความรู้ และศึกษาหาความรู้ไปด้วยกัน อีกทั้งความสะดวกสบายจากอุปกรณ์ที่มีความทันสมัยมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างฮาร์ดแวร์ หรือคอมพิวเตอร์ที่มีหน้าที่รับข้อมูล ประมวลผลข้อมูล และนำเสนอข้อมูลในสิ่งที่เราศึกษาความรู้ ซึ่งทำให้สะดวกรวดเร็วในการศึกษาข้อมูลได้อย่างสะดวกรวดเร็ว เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ นอกจากคอมพิวเตอร์แล้ว ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้เราสามารถสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ ได้จากแหล่งข้อมูลที่มีอยู่ทั่วโลก หรือจะติดต่อสื่อสารรับส่งข้อมูลกันได้ ก็คือการใช้เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือที่คุ้นเคยกันก็คือการใช้งานอินเทอร์เน็ต การศึกษายุคดิจิทัล ที่ผ่านมาเทคโนโลยีมีบทบาทอย่างมากในด้านการศึกษาคือ เปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาของประเทศจากเดิมไปสู่การศึกษาแบบดิจิทัล เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เข้าถึงแหล่งทรัพยากรความรู้และสื่อการเรียนการสอนที่มีคุณภาพได้อย่างเท่าเทียมกัน องค์ประกอบของเทคโนโลยีการศึกษาในยุคดิจิทัล องค์ประกอบของเทคโนโลยีการศึกษาที่มีมาแต่เดิมคงไม่มีมีการเปลี่ยนแปลง หากเพียงแต่เปลี่ยนมุมมองให้เข้ากับยุคสมัยที่ว่าเป็นยุคแห่งดิจิทัล และก็ประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสถานการณ์นั่นเอง ดังนี้ Connectivity องค์ประกอบด้านเครื่องคอมพิวเตอร์และการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีเป็นไปอย่างก้าวกระโดดในแต่ละช่วงปี แท็บเล็ตและสมาร์ตโฟนคือรูปแบบหนึ่งที่แสดงให้เห็นวิวัฒนาการทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีที่ตอบสนองการใช้งานและเรียนรู้แห่งยุคดิจิทัล ตามติดมาด้วยโปรแกรมประยุกต์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่หรือคุ้นเคยที่เรียกติดปากว่า แอปพลิเคชัน ผ่านเทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่ประยุกต์ใช้ร่วมกับเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยมากขึ้นในปัจจุบัน Capacity building การสร้างขีดความสามารถการเรียนรู้ของผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในการผลักดันการเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปอย่างได้ผล ดังเห็นได้จากพฤติกรรมผลักดันนโยบายจากผู้บริหารหน่วยงานสถานศึกษา แต่แนวการตอบรับนโยบายของครูผู้สอน ตลอดจนถึงผู้สร้างสื่อและเจ้าหน้าที่ทางด้านเทคนิค และที่สำคัญที่สุดคือ ตัวผู้เรียนนั่นเอง Content สิ่งสำคัญที่เป็นเหมือนศูนย์กลางขององค์ประกอบคือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เพื่อการสื่อสารแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ ไม่ว่าเทคโนโลยีจะเปลี่ยนแปลงไปเท่าใด แต่ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานที่สอดคล้องและเหมาะสมกับเนื้อหาอยู่ดี Culture วัฒนธรรมคือองค์ประกอบที่สะท้อนให้เห็นการเปลี่ยนแปลงได้มากที่สุด ในการเรียนการสอนที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงจากการเรียนการสอนที่ครูพบกับนักเรียน และให้ความรู้ตามที่กำหนดไว้ในตารางเรียน เทคโนโลยีที่นำมาประยุกต์ใช้ก็สร้างวัฒนธรรมอีกรูปแบบหนึ่งได้เช่นกันในยุคของดิจิทัล นั่นคือ วัฒนธรรมของสังคมออนไลน์ที่ประยุกต์ตามพฤติกรรมของเทคโนโลยี ตัวอย่างเช่น วัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เปลี่ยนจากการพูดคุยกันในห้องเรียนไปเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เป็นต้น
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :ปัจจัยนำเข้า -บริบทด้านทักษะทางสมอง -การพัฒนาทักษะทางสมอง -การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล -การพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา -การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม กระบวนการ -ศึกษาบริบทด้านนวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล -สร้างและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งเสริมทักษะทางสมองสู่การบ่มเพาะคุณธรรมจริยธรรม -ศึกษาผลการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งเสริมทักษะทางสมองสู่การบ่มเพาะคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน ผลผลิตที่ได้ -ผลการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งเสริมทักษะทางสมองสู่การบ่มเพาะคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน -ทักษะทางสมองของเด็กและเยาวชน -ผลการประเมินคุณธรรมจริยธรรมของเด็กและเยาวชน -ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อนวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :1.ระเบียบวิธีวิจัย การวิจัยครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) ของผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อเก็บข้อมูล โดยใช้เทคนิค AIC และหรือ PRA สํารวจ สัมภาษณ์เจาะลึก เสวนากลุ่ม การสังเกต จัดประชุมกลุ่มย่อย และทดลองปฏิบัติการตามแนวทางที่ได้ 2.แหล่งข้อมูล 2.1 แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ เป็นการศึกษาข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ สิ่งพิมพ์ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและข้อมูลระดับชุมชนหรือสถานศึกษาเพื่อให้ได้แนวคิดทฤษฎีที่สามารถนําไปใช้ในการวางแนวทางในการศึกษาพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาและการอภิปรายอ้างอิง 2.2 ข้อมูลปฐมภูมิ เป็นข้อมูลที่ศึกษาได้จากการเก็บข้อมูลโดยตรงจากประชากรที่ศึกษา และเป็นการศึกษารายละเอียดต่อเนื่องจากข้อมูลทุติยภูมิ และข้อมูลด้านการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งเสริมทักษะทางสมองสู่การบ่มเพาะคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน 3.กลุ่มประชากร กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนระดับปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์ สังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครสวรรค์ 4.ขั้นตอนการวิจัย กิจกรรมที่ 1 ศึกษาบริบทด้านนวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งเสริมทักษะทางสมองสู่การบ่มเพาะคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน กิจกรรมที่ 2 สร้างและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งเสริมทักษะทางสมองสู่การบ่มเพาะคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน กิจกรรมที่ 3 ศึกษาผลการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งเสริมทักษะทางสมองสู่การบ่มเพาะคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน กิจกรรมที่ 4 ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อนวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งเสริมทักษะทางสมองสู่การบ่มเพาะคุณธรรมจริยธรรม
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :การวิจัย เรื่อง นวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งเสริมทักษะทางสมองสู่การบ่มเพาะคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)พัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งเสริมทักษะทางสมองสู่การบ่มเพาะคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน 2)ศึกษาผลการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งเสริมทักษะทางสมองสู่การบ่มเพาะคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน และ 3)ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อนวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งเสริมทักษะทางสมองสู่การบ่มเพาะคุณธรรมจริยธรรม กลุ่มเป่าหมายการวิจัย ประกอบด้วย ครูผู้สอน และนักเรียนเด็กปฐมวัย และนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครสวรรค์ เป็นการวิจัยประยุกต์(Applied research) โดยใช้วิธิการศึกษาวิเคราะห์ จากเอกสารที่เกี่ยวข้องควบคู่ไปกับประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สัมภาษณ์ พัฒนาและทดลองใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ และนําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งเสริมทักษะทางสมองสู่การบ่มเพาะคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด
จำนวนเข้าชมโครงการ :516 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวเยาวเรศ ภักดีจิตร บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย50

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด