รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000624
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :พัฒนาการของกลุ่มทุนในจังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The development of the capitalist in Nakhon Sawan province
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :กลุ่มทุน นครสวรรค์ เศรษฐกิจ
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ > สาขาวิชาประวัติศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :30000
งบประมาณทั้งโครงการ :30,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2565
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2566
ประเภทของโครงการ :การวิจัยพื้นฐาน
กลุ่มสาขาวิชาการ :มนุษยศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :นครสวรรค์เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน เป็นศูนย์กลางการคมนาคมในภูมิภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน ผู้ที่เดินทางไป-มาระหว่างกรุงเทพมหานคร หรือจังหวัดในภาคกลางกับจังหวัดในภาคเหนือจะต้องผ่านจังหวัดนครสวรรค์ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้นครสวรรค์มีความเจริญทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูงในฐานะเมือง “ประตูสู่ภาคเหนือ” การคมนาคมของนครสวรรค์ในอดีตใช้เส้นทางสัญจรทางน้ำเป็นหลัก เนื่องจากนครสวรรค์มีสภาพภูมิศาสตร์เป็นแหล่งรวมของแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่านบริเวณปากน้ำโพ เรือขนสินค้าจากภาคเหนือจะล่องผ่านนครสวรรค์ ทำให้นครสวรรค์กลายเป็นแหล่งรวมสินค้า อีกทั้งผลจากข้อตกลงในสนธิสัญญาเบาว์ริง พ.ศ. 2398 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของไทยจากระบบการผลิตแบบยังชีพไปสู่การผลิตเพื่อการค้า โดยมีสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ข้าว ไม้สัก ดีบุก และยางพารา ข้าวและไม้สักถือเป็นสินค้าที่มีอิทธิพลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของนครสวรรค์เป็นอย่างมาก เนื่องจากนครสวรรค์มีพื้นที่เหมาะสมต่อการปลูกข้าว จึงทำให้นครสวรรค์กลายเป็นเมืองสำคัญในการผลิตและค้าข้าว อีกทั้งการค้าไม้สักที่มีแหล่งผลิตอยู่บริเวณภาคเหนือของไทย เมื่อมีการตัดไม้จะผูกเป็นแพล่องตามแม่น้ำลงมาจนถึงปากน้ำโพ บริเวณปากน้ำโพจึงมีสภาพเป็นชุมทางการค้า เป็นที่ชุมนุมของเรือค้าข้าว และไม้สักจากภาคเหนือ ดึงดูดชาวจีนให้เข้ามาทำการค้า ประมาณกันว่าใน พ.ศ. 2447 มีชาวจีนในนครสวรรค์ถึง 6,000 คน ซึ่งสูงเป็นอันดับสามรองจากกรุงเทพฯ และภูเก็ต ต่อมามีการขยายเส้นทางคมนาคมโดยรถไฟไปถึงเชียงใหม่ใน พ.ศ. 2465 ตามมาด้วยการสร้างถนนและการเปิดสะพานเดชาติวงศ์ ใน พ.ศ. 2493 จากนั้นมีการขยายถนนและสร้างถนนสายเอเชียในเวลาต่อมา ทำให้เศรษฐกิจของนครสวรรค์เติบโตขึ้นอย่างมาก เกิดกลุ่มนายทุนที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับเงื่อนไขใหม่ของสังคม เริ่มต้นพัฒนาธุรกิจและสะสมทุนของตนเรื่อยมาและเพิ่มจำนวนขึ้นมากมายหลายกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มทุนชาวจีน ชาวไทยเชื้อสายจีน และนายทุนท้องถิ่นที่ได้เริ่มต้นลงทุนทำธุรกิจ สะสมทุน ขยายทุน และพัฒนาทุนของตัวเองตามบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป งานวิจัยนี้จึงพยายามศึกษาพัฒนาการของกลุ่มทุนในจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดกลุ่มทุนในจังหวัดนครสวรรค์ โดยเน้นที่กลุ่มทุนชั้นนำหรือกลุ่มทุนขนาดใหญ่ที่มีบทบาทสำคัญในจังหวัดนครสวรรค์ว่ามีพัฒนาการอย่างไร มีวิธีการปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างไร และอะไรเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวของกลุ่มทุนในจังหวัดนครสวรรค์
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อศึกษาความเป็นมาและพัฒนาการของกลุ่มทุนในจังหวัดนครสวรรค์ 2. เพื่อศึกษาบริบททางสังคมของกลุ่มทุนในจังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :ศึกษาพัฒนาการของเศรษฐกิจของกลุ่มทุนในจังหวัดนครสวรรค์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ทราบถึงความเป็นมาและพัฒนาการของกลุ่มทุนในจังหวัดนครสวรรค์ 2. ทราบถึงบริบททางสังคมของกลุ่มทุนในจังหวัดนครสวรรค์
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :Krisak Choonhavan (1984). The growth of domestic capital and Thai industrialization เป็นการวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจของไทยที่มีลักษณะทันสมัยแต่ไม่พัฒนา เนื่องจากเศรษฐกิจไทยตกอยู่ในสภาวะการพึ่งพาและถูกครอบงำโดยปัจจัยภายนอก อันได้แก่ ทุน เทคโนโลยี ตลาด การวางกฎและนโยบาย และการปฏิบัติตามกฎระเบียบระหว่างประเทศ ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการของระบบทุนนิยมในสังคมไทยไปสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการเพิ่มพลังการผลิต ชนชั้นนายทุน การสะสมทุนของกลุ่มคนที่มีความชำนาญโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มนักธุรกิจเชื้อสายจีนที่เข้ามามีบทบาทในภาคการค้า การเงิน การธนาคาร และภาคอุตสาหกรรม พอพันธ์ อุยยานนท์ (2558) เรื่อง ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ 5 ภูมิภาคของไทย ได้ให้ภาพรวมของการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคต่าง ๆ ของไทย ระยะเวลายาวครอบคลุมภายหลังการลงนามสนธิสัญญาเบาว์ริงใน พ.ศ. 2398 จนถึงปัจจุบัน โดยใช้มุมมองทางด้านภูมิภาค ทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างและพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมระยะยาวได้ ซึ่งช่วยให้เข้าใจในส่วนของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของลุ่มแม่น้ำน่าน ทั้งด้านการเกษตรเข้าสู่การอุตสาหกรรมที่เน้นการค้าและบริการ แทนการแลกเปลี่ยนแบบในอดีต การเติบโตของประชากรและเมืองตลอดจนบทบาททางเศรษฐกิจของกลุ่มชาวจีนอพยพ การย้ายถิ่น ตลาดแรงงานของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ และการพัฒนาการคมนาคมและขนส่งของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างเป็นลำดับ จากงานศึกษาข้างต้น ทำให้ทราบถึงพัฒนาการทางเศรษฐกิจ และสังคมเป็นในภาพรวม ขณะที่การศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการของกลุ่มทุนในจังหวัดนครสวรรค์ยังมีผู้ให้ความสนใจอยู่น้อย ดังนั้นเพื่อเป็นการขยายพรมแดนความรู้ผู้วิจัยจึงทำการศึกษาในประเด็นของพัฒนาการของกลุ่มทุนในจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อทำความเข้าใจท้องถิ่นให้มากยิ่งขึ้น
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :กรอบแนวคิดของโครงการวิจัยเป็นการศึกษาพัฒนาการของกลุ่มทุนในจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อให้เข้าใจว่าการสะสมทุนจนทำให้กลุ่มทุนต่าง ๆ มีพลังทางเศรษฐกิจในแต่ละยุคสมัยมีบริบทและเงื่อนไขที่แตกต่างกัน แม้ว่าจังหวัดนครสวรรค์จะมีความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นอันดับต้น ๆ ของภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน แต่ก็ยังขาดการศึกษาอย่างเป็นระบบเพื่อทำความเข้าใจพัฒนาการของกลุ่มทุนที่มีพลังขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของจังหวัด การศึกษาในประเด็นดังกล่าวจึงมีประโยชน์ต่อการศึกษาพัฒนาการของกลุ่มทุนในจังหวัดนครสวรรค์ อันจะเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาองค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของจังหวัดนครสวรรค์ได้อย่างเป็นระบบ
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :ผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร ได้แก่ งานวิจัย ตำรา หนังสือ บทความวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และการวิจัยภาคสนาม โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ จากนั้นนำเสนอรายงานผลการวิจัยโดยใช้การนำเสนอแนวประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์ตามระเบียบวิธีทางประวัติศาสตร์
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :33 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางณัฏฐิรา กาญจนศิลป์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด