รหัสโครงการ : | R000000623 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | การเพิ่มขีดความสามารถของวิสาหกิจชุมชนด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางให้ได้มาตรฐานสากล |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | Empowerment of Community Enterprise by Process of Science, Research and Innovation to Enhance Cosmetic Products and Build Strength to International Standard |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | เพิ่มขีดความสามารถ,วิสาหกิจชุมชน,ยกระดับ,มาตรฐานสากล,เครื่องสำอาง |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | สถาบันวิจัยและพัฒนา > กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 156833 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 156,833.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 19 มกราคม 2565 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 18 มกราคม 2566 |
ประเภทของโครงการ : | การพัฒนาทดลอง |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ |
สาขาวิชาการ : | สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช |
กลุ่มวิชาการ : | เครื่องสำอาง |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ระดับชาติ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุนชนสมุนไพรบำรุงผมและปิดผมขาวอัญชันแฮร์ที่มีในปัจจุบัน ได้แก่ ครีมปกปิดผมขาวในรูปแบบตลับและแบบครีม ครีมนวดผม และเซรั่มบำรุงผม เป็นต้น แม้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะสามารถใช้ปกปิดผมขาวได้จริง แต่ก็ยังพบปัญหาหลายประการ เช่น ปัญหาการแยกชั้นซึ่งสร้างความไม่น่าเชื่อถือให้กับผลิตภัณฑ์ ข้อจำกัดในการเก็บที่ต้องเก็บในตู้เย็นทำให้ไม่สามารถส่งออกได้ ไม่มีการทดสอบการระคายเคือง ไม่มีการทดสอบประสิทธิภาพจริงของผลิตภัณฑ์ว่าสามารถปกปิดผมขาวได้นานเท่าไร เป็นเพียงการบอกต่อจากลุ่มคนที่ใช้จริง และขายผลิตภัณฑ์จากการออกบูธเท่านั้น
กลุ่มวิสาหกิจชุนชนสมุนไพรบำรุงผมและปิดผมขาวอัญชันแฮร์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เป็นวิสาหกิจชุมชนที่เกิดจาการรวมตัวของกลุ่มแม่บ้านทหารบกและชุมชนใกล้เคียงที่มีความสนใจเกี่ยวกับสมุนไพร มีการใช้สมุนไพรที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยมีการทดลองใช้เพื่อผลิตและจำหน่ายซึ่งเห็นผลดีและมีการเติบโตของยอดขาย ปัจจุบันเป็นแหล่งผลิตสินค้าที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีสมาชิกประมาณ 25 คน
กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางนั้นมีกระบวนการเบื้องต้นอยู่ด้วนกัน 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนาสูตร (Formula Development) ขั้นตอนที่ 2 การทดสอบความคงตัวของสูตร (Stability Test) ขั้นตอนที่ 3 การทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ (Performance Test) ขั้นตอนที่ 4 การทดสอบการระคายเคือง (Irritation Test) หากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดำเนินการตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ดังที่กล่าวมาข้างต้น จะทำให้ผลิตภัณฑ์สามารถขอรับการรับรองตามมาตรฐานระดับสากลได้ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความน่าเชื่อถือ ความปลอดภัย สร้างจุดขาย และสามารถเพิ่มยอดขายของผลิตภัณฑ์ได้ในที่สุด
จากการประเมินผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุนชนสมุนไพรบำรุงผมและปิดผมขาวอัญชันแฮร์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ พบว่ายังขาดกระบวนการในการพัฒนาเรื่องของ 1) การทดสอบความคงตัวของสูตร (Stability Test) 2) การทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ (Performance Test) ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 3) การทดสอบการระคายเคือง (Irritation test) ดังนั้นจึงควรที่จะร่วมพัฒนายกระดับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มนี้ให้เป็นต้นแบบในการยกระดับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอื่น ๆ เพื่อขยายผลในโอกาสต่อไป |
จุดเด่นของโครงการ : | ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ได้มอบหมายให้ข้าพเจ้ารับผิดชอบโครงการพัฒนานวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรซึ่งเป็นโครงการภายใต้โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มีการเชิญผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และจังหวัดใกล้เคียงเข้าร่วมการคัดเลือกเพื่อสรรหาผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในการเข้าร่วมโครงการโดยมีการสัมภาษณ์และลงพื้นที่เพื่อประเมินศักยภาพของผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชน ซึ่งพบว่ามีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรบำรุงผมและปิดผมขาวอัญชันแฮร์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ผ่านการคัดเลือกในรอบที่ 1 แต่ไม่ผ่านการคัดเลือกในรอบสุดท้ายทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการพัฒนานวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรของ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ในครั้งนั้นได้ แต่ท้ายที่สุดกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรบำรุงผมและปิดผมขาวอัญชันแฮร์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นสินค้า OTOP ดีเด่นของจังหวัดนครสวรรค์ ในปี พ.ศ. 2562 เพื่อเป็นตัวแทนของจังหวัดในการประกวดสินค้า OTOP ในระดับประเทศ แสดงให้เห็นศักยภาพของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มนี้ในการพยายามสร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์
แต่ปัญหาของกลุ่มวิสาหกิจชุนชน กลุ่มนี้คือ ขาดองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์หรือการวิจัยที่จะเข้าไปช่วยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีปัญหาทั้งเรื่องของความไม่เสถียรของสูตรทำให้เกิดการแยกชั้น ขาดกระบวนการทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ที่น่าเชื่อถือ การวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภค เป็นต้น แม้ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรบำรุงผมและปิดผมขาวอัญชันแฮร์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ จะพบปัญหาดังกล่าวแต่ก็สามารถทำยอดขายได้ดีในตลาดระดับล่างและยังสามารถส่งออกไปขายในประเทศเพื่อนบ้านได้ อีกทั้งจุดขายที่ชัดเจนของผลิตภัณพ์คือ การใช้สมุนไพรเพื่อปิดผมขาว โดยไม่ใช้สีที่เป็นสารเคมี เมื่อวิเคราะห์ศักยภาพของกลุ่มที่มีผู้นำที่เข้มแข็ง ประกอบกับความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ปกปิดผมขาวที่มาจากสมุนไพรเพิ่มมากขึ้นตามจำนวนประชากรสูงวัยที่เพิ่มมากขึ้นแล้ว จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เข้าไปช่วยแก้ไขและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพระดับสากล เพื่อส่งเสริมและยกระดับรายได้วิสาหกิจชุมชนขนาดเล็กในพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ให้เป็นต้นแบบและสามารถขยายผลสู่วิสาหกิจชุมชนอื่น ๆ ได้ต่อไปในอนาคต |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของวิสาหกิจชุมชนด้วยการใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของกลุ่มวิสาหกิจชุนชนสมุนไพรบำรุงผมและปิดผมขาวอัญชันแฮร์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
2. เพื่อยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของกลุ่มวิสาหกิจชุนชนสมุนไพรบำรุงผมและปิดผมขาวอัญชันแฮร์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ให้ได้มาตรฐานสากล |
ขอบเขตของโครงการ : | - |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | 1. ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเกี่ยวกับเส้นผมและหนังศรีษะ (Hair Care Product) ที่ได้มาตรฐานระดับสากล
2. บทความวิจัยได้รับการตีพิมพ์ใน Proceeding ระดับชาติ |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | - |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | แนวคิดในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุนชนสมุนไพรบำรุงผมและปิดผมขาวอัญชันแฮร์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ คือ การใช้กระบวนการในการพัฒนาสูตร 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนาสูตร (Formula Development) ขั้นตอนที่ 2 การทดสอบความคงตัวของสูตร (Stability Test) ขั้นตอนที่ 3 การทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ (Performance Test) ขั้นตอนที่ 4 การทดสอบการระคายเคือง (Irritation Test) ซึ่งข้าพเจ้ามีประสบการณ์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวร่วมกับนักวิจัยในบริษัทเอกชนของประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลา 6 ปี และหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ข้าพเจ้าได้พัฒนาจนได้รับรางวัลชมเชยประเภท Product จากการประกวด Chair Man Awards 2009 การประกวดนวัตกรรมเครือสหพัฒน์ 2552 คือ ผลิตภัณฑ์ Hair Tonic ประสบการณ์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางประกอบกับเครือข่ายนักวิจัยชาวญี่ปุ่น จะเป็นประโยชน์ในการช่วยยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุนชนสมุนไพรบำรุงผมและปิดผมขาวอัญชันแฮร์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ให้ได้รับการพัฒนาตามกระบวนการวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพให้ได้มาตรฐานสากล โดยมุ่งหวังให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนนี้สามารถเพิ่มยอดขาย สร้างรายได้ เศรษฐกิจชุมชนดีขึ้นและเป็นต้นแบบของกลุ่มวิสาหกิจชุนชนเพื่อขยายผลแก่วิสาหกิจชุมชนอื่นต่อไป |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | วิธีการดำเนินงาน
ขั้นตอนที่ 1 : รวบรวมข้อมูลโดยการลงพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์กลุ่มวิสาหกิจชุมชน พร้อมทั้งคัดเลือกประเด็นปัญหา จัดเรียงลำดับความสำคัญของปัญหา
ขันตอนที่ 2 : วิเคราะห์ปัญหาและประเมินศักยภาพ และขอบเขตของงานภายใต้ระยะเวลาที่กำหนด
ขั้นตอนที่ 3 : ทดลองในห้องปฏฺิบัติการ : การพัฒนาสูตร (Formula Development) เพื่อแก้ปัญหาเรื่องความไม่เสถียรของผลิตภัณฑ์ ด้วยกระบวนการ (Stability Test)
ขั้นตอนที่ 4 : ทดลองในห้องปฏฺิบัติการ : การแก้ปัญหาเรื่องการระคายเคือง (Irritation Test)
ขั้นตอนที่ 5 : ทดลองในห้องปฏฺิบัติการ : การทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Performance Test)
ขั้นตอนที่ 6 : Home Use Test
ขั้นตอนที่ 7 : คัดเลือกสูตรที่มีประสิทธิภาพ
ขั้นตอนที่ 8 : ส่งเสริมการขายด้วยการสร้าง Claiming Point จากคุณภาพของผลิตภัณฑ์ |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | - |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 231 ครั้ง |