รหัสโครงการ : | R000000621 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | การพัฒนาระบบประชุมอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | Development Electronic Meeting System Of Nakhon Sawan Rajabhat University |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | การพัฒนาระบบ, การประชุมอิเล็กทรอนิกส์, วาระการประชุม, รายงานการประชุม |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 15000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 15,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 06 ธันวาคม 2565 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 06 ธันวาคม 2566 |
ประเภทของโครงการ : | การวิจัยและพัฒนา |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ |
สาขาวิชาการ : | ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและอุตสาหกรรม |
กลุ่มวิชาการ : | อื่นๆ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ไม่ระบุ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศได้นำระบบการประชุมอิเล็กทรอนิกส์ ที่พัฒนาโดยสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เข้ามาปรับใช้เพื่อให้บริการสำหรับการประชุมอิเล็กทรอนิกส์ ในคณะ สำนัก และหน่วยงานอื่น ๆ ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ในปี 2560 โดยมีความสามารถในการสร้างวันประชุม การสร้างวาระการประชุม การบันทึกมติที่ประชุม และออกรายงานการประชุม ด้วยขั้นตอนการดำเนินงานจริงของเลขานุการการประชุม ทำให้ระบบที่นำมาใช้งานไม่รองรับการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากระบบที่ได้รับมาปรับใช้งาน ไม่มีส่วนการจัดการของผู้ดูแลระบบ เมื่อพบปัญหาต้องดำเนินการแก้ไขข้อมูล หรือจัดการข้อมูล ผู้ดูแลระบบ ไม่สามารถเข้าถึงการจัดการข้อมูลผ่านเว็บแอปพลิเคชันได้โดยตรง จำเป็นต้องเข้าไปยังฐานข้อมูล เพื่อทำการปรับแก้ไขข้อมูล ซึ่งเสี่ยงต่อการรักษาความปลอดภัย และอาจเกิดข้อผิดพลาดการต่อประมวลผลข้อมูลได้ อีกทั้งกรณีที่มีการเพิ่มผู้เข้าร่วมประชุมที่เป็นบุคคลภายนอก ผู้เข้าร่วมไม่สามารถเปลี่ยนแปลงรหัสผ่านได้เอง หากลืมรหัสผ่านต้องแจ้งผู้ดูแลระบบเท่านั้น
การจัดการข้อมูลส่วนเลขานุการการประชุม ตั้งแต่ขั้นตอนการเพิ่มวันประชุม การเพิ่มข้อมูลบุคคล การเพิ่มวาระการประชุม เมื่อมีการเผยแพร่แล้ว ระบบไม่สามารถแก้ไขข้อมูลได้ ซึ่งในการปฏิบัติงานจริงข้อมูลมีโอกาสปรับแก้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา โดยเฉพาะข้อมูลวาระการประชุมที่รวบรวมจากหลายส่วนงานที่ไม่สามารถควบคุมได้ ทั้งนี้ยังรวมถึงการใช้งานบนอุปกรณ์บนโทรศัพท์มือถือ หากไฟล์แนบเป็นไฟล์ pdf (Portable Document Format) อุปกรณ์จำเป็นต้องโหลดไฟล์ดังกล่างเข้าอุปกรณ์ก่อน จึงจะสามารถดูข้อมูลได้ ทำให้สิ้นเปลืองหน่วยความจำอุปกรณ์ของผู้ใช้งาน จึงจำเป็นต้องพัฒนาส่วนการประมวลผลภาพ เพื่อแสดงข้อมูลโดยไม่ต้องบันทึกลงอุปกรณ์ อีกทั้งระบบที่ใช้งานอยู่ ไม่มีฟังก์ชันการแจ้งเตือนเชิญเข้าร่วมประชุม และฟังก์ชันตรวจสอบรายงานในระบบ ก่อนเชิญรับรองรายงานการประชุม อีกทั้งการแจ้งเตือนที่มีอยู่ เป็นเพียงการแจ้งเตือนผ่านอีเมล์สำหรับการเชิญรับรองรายงานการประชุมเท่านั้น และระบบไม่มีการแสดงข้อมูลการลดใช้กระดาษแบบรายเดือนและการแสดงกราฟข้อมูล
จากเหตุผลข้างต้น ผู้วิจัยจึงได้พัฒนาระบบการประชุมอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ขึ้นใหม่ เพื่อให้เหมาะกับการใช้งานขององค์กรในปัจจุบันยิ่งขึ้น รองรับการใช้งานที่หลากหลายทั้งในส่วนของเลขาการประชุมและผู้เข้าร่วมประชุม เพิ่มประสิทธิภาพตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ให้ระบบใช้งานได้อย่างสะดวกรวดเร็ว มีความถูกต้องและความปลอดภัยของข้อมูล ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 อีกทั้งสามารถส่งแจ้งเตือนเพื่อเชิญประชุม เชิญตรวจรายงาน และเชิญรับรองรายงานการประชุม ทำให้ระบบงานเกิดความรวดเร็ว ช่วยส่งเสริมการทำงานเป็นทีม การสื่อสาร และการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
|
จุดเด่นของโครงการ : | - |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1. เพื่อศึกษาปัญหาการใช้งานระบบประชุมอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2. เพื่อพัฒนาระบบประชุมอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ที่เหมาะกับการใช้งานขององค์กรในปัจจุบัน 3. เพื่อประเมินความพึงพอใจระบบประชุมอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ |
ขอบเขตของโครงการ : | 1. ด้านพื้นที่ - มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2. ด้านประชากร กลุ่มตัวอย่าง 2.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย บุคคลภายในและภายนอก มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2.3 กลุ่มตัวอย่าง 1.บุคลกรภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ที่ใช้ระบบประชุมอิเล็กทรอนิกส์ 2.บุคลากรผู้ดูแลการประชุมประจำหน่วยงาน/คณะ ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 3. ด้านเนื้อหา - ระบบจัดการข้อมูลเรื่องประชุม และวาระการประชุม - ระบบจัดการข้อมูลผู้เข้าร่วมประชุม - ระบบแจ้งเตือนผู้เข้าร่วมประชุม - ระบบบันทึกมติที่ประชุม และออกรายงานการประชุม - ระบบประมวลผลข้อมูลสถิติลดการใช้กระดาษ |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | 1. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์มีระบบสารสนเทศ เพื่อใช้สำหรับประชุมอิเล็กทรอนิกส์ ที่เหมาะแก่การใช้งานในองค์กร 2. ได้ข้อมูลสารสนเทศที่บันทึกในระบบ ที่สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการบริหารได้ |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | ปรีดา ศิริรังสี (2561) ได้มีการนำเสนอเทคนิคการประชุมและการเขียนรายงานการประชุม พบว่าองค์ประกอบของการประชุม ลักษณะการประชุม ขั้นตอนกระบวนการประชุม การจัดทำระเบียบวาระการประชุม มีผลต่อประสิทธิภาพในการจัดประชุม
นิพนธ์ เปรมกมล (2550) ได้ศึกษาการพัฒนาระบบการจัดการประชุมคณะกรรมาธิการให้เป็นการประชุมแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Committee) ซึ่งผลการศึกษาจะเป็นแนวทางให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาระบบการจัดการประชุมคณะกรรมาธิการให้ทันสมัย สามารถช่วยปรับปรุงกระบวนการในการพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพ ถูกต้องมากขึ้น
พิสมัย พวงคำ (2563) ได้พัฒนากระบวนงานการจัดประชุมของที่ประชุมคณะกรรมการประจำสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยประยุกต์ใช้ Google Suite พบว่า ในการจัดการะประชุมคณะกรรมการประจำสำนักงานอธิการบดี ทำให้มีประสิทธิภาพในการจัดการประชุมเพิ่มขึ้น สามารถเข้าถึงได้ทุกอุปกรณ์ที่สามารถใช้เว็บแอปพลิเคชันได้ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้ทรัพยากร มีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก และมีความชัดเจนและสามารถเรียนรู้การใช้งานได้เข้าใจง่าย ทำให้การทำงานและการประสานงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
วิไลลักษณ์ กาประสิทธิ์ และปภาวี รัตนธรรม (2562) ได้มีการพัฒนาระบบจัดการการประชุมระดับสาขา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในรูปแบบออนไลน์ ผลการวิจัยจากการพัฒนาระบบจัดการการประชุมระดับสาขา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำแนกประเภทผู้ใช้งานเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ผู้ดูแลระบบ และกรรมการ โดยผู้ดูแลระบบ สามารถเข้าสู่ระบบหรือแก้ไขข้อมูลส่วนตัว สามารถค้นหาและจัดการข้อมูลผู้ประชุม สามารถค้นหาและจัดการข้อมูลวาระการประชุม สามารถกำหนดผู้เข้าประชุมวาระการประชุมและรายละเอียดการประชุม และสามารถจัดการรายงานการประชุมได้ ส่วนกรรมการสามารถเข้าสู่ระบบหรือแก้ไขข้อมูลส่วนตัวได้ สามารถ ดู ค้นหา ข้อมูลผู้ประชุมได้ สามารถ ดู ค้นหา ดาวน์โหลดข้อมูลวาระการประชุมได้ และสามารถดู ค้นหา ดาวน์โหลด ข้อมูลรายงานการประชุมได้ ทำให้รองรับและอำนวยความสะดวกในการจัดการประชุมได้ เพื่อใช้ในการจัดเก็บและค้นหาเอกสาร โดยจะช่วยลดปริมาณกระดาษ การจัดเก็บและการสืบค้นเอกสารอย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการป้องกันการสูญหาของเอกสารและรักษาคุณภาพของเอกสารให้อยู่ในสภาพเดิม
ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลผลงานวิจัยดังกล่าว และนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบประชุมอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | - แนวคิดด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศ
- หลักทฤษฎีวงจรการพัฒนาระบบ(System Development Life Cycle : SDLC)
- งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | การพัฒนาระบบประชุมอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ผู้วิจัยได้นำแนวคิดการวิจัยมาประยุกต์ใช้สำหรับการดำเนินการวิจัย โดยมีขั้นตอนดำเนินการวิจัย ดังนี้ 1. ศึกษากระบวนการทำงานในการจัดประชุม 2. ร่างการออกแบบระบบสารสนเทศ 3. ตรวจสอบข้อมูลความถูกต้อง ตรงตามต้องการของผู้ใช้งาน 4. ดำเนินการพัฒนาระบบ 5. ติดตั้งระบบ ทดสอบระบบ 6. ปรับปรุงแก้ไข้ระบบ 7. เปิดการใช้งานระบบ 8. ประเมินการใช้งานของระบบสารสนเทศ |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | - |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 149 ครั้ง |