รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000619
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :เรื่องแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดินของประชาชนในการเผาขยะและเผาพืชไร่ทางการเกษตรส่งผลกระทบต่อมลภาวะที่เป็นพิษ
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :People's Land Using Guidelines for Incinerating Waste and Burning Agricultural Crops Affect Toxic Pollution
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :มลภาวะที่เป็นพิษ
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ > สาขาวิชานิติศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :90000
งบประมาณทั้งโครงการ :90,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2565
วันสิ้นสุดโครงการ :01 กันยายน 2566
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยพื้นฐาน(ทฤษฎี)/บริสุทธิ์
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขานิติศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :กฎหมายมหาชน
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ปัจจุบันชุมชนเมืองมีการขยายพื้นที่ออกมายังเขตชานเมืองทำให้มีการสร้างบ้านจัดสรรเป็นที่อยู่อาศัยในโครงการต่างๆ มีการซื้อที่ดินจากชาวบ้านเพื่อนทำบ้านจัดสรรขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เมื่อเมืองมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ก็ทำให้มีคนเข้ามาอยู่อาศัยและซื้อบ้านที่อยู่อาศัยตามโครงการหมู่บ้านจัดสรรต่างๆ เพิ่มมากขึ้น เมืองมีการขยายการเติบโตขึ้น แต่วิถีชีวิตของคนเมืองกับส่วนทางกับคนที่อยู่อาศัยดั้งเดิมหรือชุมชนดั้งเดิม อยู่อาศัยในบริเวณชุมชนมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษได้รับที่ดินเป็นมรดกตกทอดในถิ่นที่อยู่อาศัย ภูมิปัญญาดั้งเดิม วิถีชีวิตแบบดั้งเดิม โดยประกอบอาชีพทำการเกษตร ทำไร่ ทำนา ปลูกข้าว ปลูกอ้อย เผาถ่าน เมื่อสังคมเมืองมีการขยายตัวเข้ามาสู่ท้องถิ่นโดยรอบของตัวเมืองนครสวรรค์ แต่คน และชุมชน ยังมีวิถีชีวิตแบบเดิมที่ยังคงอยู่ หมู่บ้านจัดสรรก็จะรายล้อมอยู่กับผู้คนในชุมชนเดิมที่ประกอบอาชีพการเกษตร การเติบโตของชุมชนเมืองกับชุมชนท้องถิ่น จากเมื่อก่อนเผาขยะ และเผาเศษวัชพืชทางการเกษตรเหลือใช้ในที่ดินโล่งๆ ของตนเองซึ่งตนเองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ หรือเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครอง หรือเป็นผู้ใช้ประโยชน์บนที่ดินในฐานะผู้เช่าทรัพย์ ก็มีความเคยชินกับการเผาขยะและเศษวัชพืชเหลือใช้แบบเดิมๆ แต่ปัญหาของการเผาขยะหรือพืชไร่นั้นเกิดขึ้นเนื่องจากชุมชนซึ่งเป็นสังคมการเกษตรเปลี่ยนจากเดิมกลายเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของประชาชนจำนวนมากที่มีการอพยพถิ่นฐานเข้ามา เนื่องจากเป็นคนในนครสวรรค์โดยกำเนิด หรือคนที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามาทำงานในตัวเมือง หรือย้ายถิ่นฐานมาจากจังหวัดอื่นมาซื้อบ้านเป็นที่อยู่อาศัย ปรากฏว่าการเผาขยะ เศษวัสดุจากพืชไร่ ก็จะส่งผลกระทบในการอยู่อาศัยของคน เพราะชาวบ้านที่ทำการเกษตรรอบหมู่บ้านจัดสรร ก็ยังคงเผาขยะในเวลาช่วงกลางวันและเผาขยะในช่วงเย็น ยิ่งในช่วงฤดูหนาวอากาศในชั้นบรรยากาศก็จะต่ำมาก ควันพิษซึ่งก๊าชคาร์บอนไดออกไซค์ก็จะลอยต่ำมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะมีการเผาขยะ เศษวัสดุหรือใช้ในฤดูไหนก็ตาม มลภาวะเป็นพิษทางอากาศก็ยังมีผลต่อการสูดเข้าไปในร่างกาย และเป็นผลต่อสุขอนามัย การเผาพืชไร่ต่างๆ เศษวัสดุจะลอยขึ้นในอากาศและตกอยู่ในบ้านเรือนประชาชน ส่งผลต่อภาวะเรือนกระจกในอากาศ ส่งผลเสียต่อการเป็นโรคทางเดินหายใจ และมีก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซค์เป็นจำนวนมากที่ลอย ปนเปื้อนอยู่ในอากาศ ส่งผลต่อการเป็นโรคมะเร็ง และระบบทางเดินหายใจได้ ถึงแม้จะมีการร้องเรียนต่อหน่วยงานรัฐ เช่น เจ้าที่ตำรวจ หรือ องค์การบริหารส่วนตำบลนครสวรรค์ตก ก็ตามเพียงแค่ระงับเหตุที่เกิดขึ้นเป็นครั้งๆไป ปัญหาดังกล่าวยังไม่ได้รับการแก้ไขที่ถูกต้องถูกวิธี การใช้ประโยชน์บนที่ดินของตนองนั้นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ผู้มีสิทธิครอบครอง หรือผู้เช่า หรืออาศัยสิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์นั้นมีสิทธิใช้สอย ใช้ประโยชน์ในที่ดินได้ตามกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๑๓๖ แต่การใช้ทรัพย์นั้นต้องไม่กระทบสิทธิ หรือละเมิดสิทธิตามกฎหมายของผู้อื่น แต่ตามข้อเท็จจริงปรากฏว่าชาวบ้านยังคงใช้สิทธิในการเผาขยะ เผาพืชไร่ทางการเกษตรที่เหลือใช้บนที่ดินของตนเอง ส่งผลกระทบต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าว ได้รับมลพิษที่เป็นพิษทางอากาศ ผู้วิจัยเห็นว่าเป็นปัญหาที่เกิดในชุมชนที่มีผลกระทบต่อสุขภาพระยะยาวจึงต้องการศึกษาแนวทางการบริหารจัดการ ระหว่างผู้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ บุคคลที่เป็นเจ้าของบ้านจัดสรร และหน่วยงานภาครัฐ และเจ้าหน้าที่รัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางการแก้ไขที่ถูกต้อง ให้สามารถหาแนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
จุดเด่นของโครงการ :การมีส่วนร่วมของประชาชน
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1.เพื่อศึกษา หลักการ แนวคิด และทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน 2.เพื่อศึกษากฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวกับที่ดิน 3. ศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ประกอบการ ในการบริหารจัดการเผาขยะและพืชทางการเกษตร
ขอบเขตของโครงการ :หลักการ แนวคิด และทฤษฎี แนวคิด - สิทธิชุมชน - การบริหารจัดการ - การมีส่วนร่วมของประชาชน - การพัฒนาอย่างยั่งยืน - การใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาด ทฤษฎี - กรรมสิทธิ์ - หลักการกระจายอำนาจ กฎหมาย - ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๔ - ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๐ และแก้ไขเพิ่มเติม - รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ - พระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๓๕ - พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 - พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ 6. การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ (Information) ที่เกี่ยวข้อง กฎหมายไทย - ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 - ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2490 และแก้ไขเพิ่มเติม - รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 - พระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 - พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 - พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2535 งานวิจัยที่เกี่ยวช้อง ศันสนีย์ ชูแวว และคณะ. (2557). การวิจัยแบบมีส่วนร่วมเพื่อการจัดการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำบึง บอระเพ็ดอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม. ฐิตาภรณ์ น้อยนาลุ่ม. 2563. ข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบว่าด้วยการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด จังหวัด นครสวรรค์. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม. ดนัยณัฐ จิระวัฒนาสมกุล. 2563. กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์. วิทยานิพนธ์นิติศาสตร ดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1 ผลการวิจัยครั้งนี้ รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ประกอบการ ในการบริหารจัดการเผาขยะและพืชทางการเกษตร 2 ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปตีพิมพ์เผยเเพร่ในวารสารวิชาการในระดับชาติหรือนานาชาติได้อย่างน้อย 1 เรื่อง
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :7. เอกสารอ้างอิงของโครงการวิจัย กฎหมายไทย - ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 - ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2490 และแก้ไขเพิ่มเติม - รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 - พระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 - พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 - พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2535 เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2554). หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชนว่าด้วยรัฐ รัฐธรรมนูญและกฎหมาย. พิมพ์ ครั้งที่ 5. กรุงเทพ. วิญญูชน. เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. หลักความเป็นเอกภาพของรัฐและหลักกระจายอำนาจในการปกครองส่วนท้องถิ่น ของไทย. Online : http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=139 เข้าถึงเมื่อ 3 พฤษภาคม 2565. บัญญัติ สุชีวะ. คำอธิบายกฎหมายลักษณะทรัพย์. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ: กรุงสยาม, 2564. ประมูล สุวรรณศร. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1-4 ว่าด้วยทรัพย์. กรุงเทพฯ: นิติบรรณการ, 2525. สุนีย์ มัลลิกะมาลย์. (2545). รัฐธรรมนูญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพิทักษ์รักษา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพ. สุนีย์ มัลลิกะมาลย์ และพราวพรรณราย มัลลิกะมาลย์. (2555). แนวทางการส่งเสริมการมี ส่วนร่วมของ ประชาชนในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชนเมืองเพื่อลดภาวะโลกร้อน. กรุงเทพ. สถาบันบัณฑิตพัฒนบ ริหารศาสตร์. งานวิจัย ฐิตาภรณ์ น้อยนาลุ่ม. 2563. "ข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบว่าด้วยการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด จังหวัด นครสวรรค์." วิทยานิพนธ์นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม. ดนัยณัฐ จิระวัฒนาสมกุล. 2563. "กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์." วิทยานิพนธ์นิติศาสตร ดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :สมมติฐานการวิจัย ?????????? เพื่อศึกษารูปแบบ แนวทาง การมีส่วนร่วมของประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ประกอบการ และชุมชน การบริหารจัดการการเผาขยะและวัชพืชไร่ทางการเกษตรร่วมกัน เพื่อไม่ก่อให้เกิดปัญหามลภาวะเป็นพิษ แก่คนในชุมชน การใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างชาญฉลาดและการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรอบแนวคิดการวิจัย สมมติฐานการวิจัย ?????????? เพื่อศึกษารูปแบบ แนวทาง การมีส่วนร่วมของประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ประกอบการ และชุมชน การบริหารจัดการการเผาขยะและวัชพืชไร่ทางการเกษตรร่วมกัน เพื่อไม่ก่อให้เกิดปัญหามลภาวะเป็นพิษ แก่คนในชุมชน การใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างชาญฉลาดและการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรอบแนวคิดการวิจัย สมมติฐานการวิจัย เพื่อศึกษารูปแบบ แนวทาง การมีส่วนร่วมของประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ประกอบการ และชุมชน การบริหารจัดการการเผาขยะและวัชพืชไร่ทางการเกษตรร่วมกัน เพื่อไม่ก่อให้เกิดปัญหามลภาวะเป็นพิษ แก่คนในชุมชน การใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างชาญฉลาดและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :8. วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ 1.การวิจัยเอกสาร (Documentary research) 1) หลักการ ทฤษฎี และแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดิน 2) กฎหมายไทยเกี่ยวกับที่ดิน และพระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อม และพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง 3) เอกสารอื่น ๆ เอกสารอื่น ๆ ได้แก่ รายงานวิจัย ตำรา เอกสารรายงานการประชุมสัมมนา และวิทยานิพนธ์และบทความ รวมทั้งเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อนำข้อมูลที่ได้รับมาประกอบการศึกษา หาแนวทางการการใช้ประโยชน์ที่ดินของประชาชนในการเผาขยะและเผาพืชไร่ทางการเกษตรส่งผลกระทบต่อมลภาวะที่เป็นพิษ การวิจัยกำหนดกลุ่มประชากรที่ศึกษาใช้เก็บรวบรวมข้อมูลตามวิธีวิทยาการวิจัยที่กำหนดเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการการเผาขยะและเผาพืชไร่ ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในหน่วยงานภาครัฐ เกษตรกรผู้ใช้พื้นที่ทำการเกษตร และเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ประชาชนในพื้นที่ตำบลนครสวรรค์ตก เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ใช้ประชากรในการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ประกอบด้วย 2) ประชากรสัมภาษณ์เชิงลึก (In- depth Interview) จำนวน 21 คน ประกอบด้วย (1) นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนครสวรรค์ตกจำนวน 1 คน (2) ปลัดตำบลองค์การบริหารส่วนตำบลนครสวรรค์ตกจำนวน 1 คน (3) ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครสวรรค์จำนวน 1 คน (4) เกษตรกร จำนวน 5 คน (5) ประชาชน จำนวน10 คน (6) ผู้ประกอบการหมู่บ้านจัดสรร จำนวน 3 คน 3. การสนทนากลุ่ม (Focus group) มีผู้เกี่ยวข้องในการหาคำตอบแนวทางการการใช้ประโยชน์ที่ดินของประชาชนในการเผาขยะและเผาพืชไร่ทางการเกษตรส่งผลกระทบต่อมลภาวะที่เป็นพิษ ประกอบด้วย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการหมู่บ้านจัดสรร ประชาชน เกษตรกร จำนวนทั้งหมด 21 คน ออกแบบร่วมกันเพื่อหาแนวทางแนวทางการการใช้ประโยชน์ที่ดินของประชาชนในการเผาขยะและเผาพืชไร่ทางการเกษตรส่งผลกระทบต่อมลภาวะที่เป็นพิษ ขอบเขตด้านประชากร ประชากรศึกษา ประกอบด้วย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการหมู่บ้านจัดสรร ประชาชน เกษตรกร ขอบเขตด้านพื้นที่การศึกษา พื้นที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นพื้นที่ในเขต ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เป็นพื้นที่ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เนื่องจากเป็นพื้นที่ในการศึกษาและเป็นพื้นที่ที่ใช้ประชากรในการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และประชากรสนทนากลุ่ม (Focus group)
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :การมีส่วนร่วมของประชาชน
จำนวนเข้าชมโครงการ :123 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวฐิตาภรณ์ น้อยนาลุ่ม บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด