รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000617
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในจังหวัดนครสวรรค์ในสถานการณ์แพร่ระบาดของ เชื้อไวรัสโคโรน่า (Covid-19)
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Factors affecting the consumers' purchase decisions with electronic commerce in Nakhon Sawan Province from the spread of COVID-19 virus
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, ตัดสินใจซื้อ, ปัจจัย
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะวิทยาการจัดการ > สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :20000
งบประมาณทั้งโครงการ :20,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2564
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2565
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยเชิงสำรวจ
กลุ่มสาขาวิชาการ :มนุษยศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :จากการศึกษาข้อมูลจากรายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ประจำปี 2563 พบว่า กิจกรรมด้านการซื้อสินค้าออนไลน์ของประชาชนในประเทศไทยมีอัตราการซื้ออยู่ที่ ร้อยละ 67.3 โดยการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลางในการซื้อสินค้า ซึ่งจากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วนี้เป็นสาเหตุทำให้การค้าระหว่างผู้ค้ากลับกลุ่มลูกค้าขยายตัวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากผลตอบแทนที่คุ้มค่าจากการขายสินค้าที่ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง และการขายสินค้าที่สะดวกรวดเร็ว ทุกที่ ทุกเวลา และยังสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้โดยตรง ทำให้ผู้ประกอบการในประเทศไทย รวมถึงผู้ประกอบการธุรกิจในจังหวัดนครสวรรค์ได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นช่องทางในการซื้อขายสินค้า ซึ่งจากกระบวนการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ผู้บริโภคยังไม่เห็นสินค้าจริง ไม่เห็นคุณภาพของสินค้าที่แท้จริง และไม่สามารถต่อรองราคาสินค้าได้ แต่เหตุผลใดที่ผู้บริโภคโดยส่วนใหญ่ตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งจะเห็นได้ว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือการขายสินค้าออนไลน์นั้นได้รับความนิยมจากผู้บริโภคและมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องทั้งในเชิงมูลค่าและตัวเลขจำนวนผู้ใช้ ส่งผลให้ตลาดนี้เป็นที่สนใจของธุรกิจต่าง ๆ ที่ต้องการเข้ามาเพิ่มช่องทางในการขายสินและสร้างฐานลูกค้าให้แก่ธุรกิจของตน การตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์นั้นผู้บริโภคต้องคำนึงถึงปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่เกี่ยวข้องกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นสำคัญในการเปรียบเทียบกับการซื้อในช่องทางปกติ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ผู้ประกอบการธุรกิจควรทำการศึกษาเพื่อให้เกิดการรับรู้และเข้าใจถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคได้อย่างลึกซึ้ง และสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาสินค้าหรือบริการที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคได้ ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในจังหวัดนครสวรรค์ในสถานการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (Covid-19) เพื่อให้ผู้ประกอบการธุรกิจในจังหวัดนครสวรรค์สามารถรับรู้พฤติกรรมของผู้บริโภคและการตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคสูงสุด
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดดิจิทัลที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในจังหวัดนครสวรรค์ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยด้านบุคคลที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในจังหวัดนครสวรรค์ 3. เพื่อศึกษาการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดนครสวรรค์ในสถานการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (Covid-19)
ขอบเขตของโครงการ :งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยเป็นการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคในจังหวัดนครสวรรค์ที่ซื้อสินค้าออนไลน์ โดยใช้แบบสอบถาม และการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบสถิติ ซึ่งเป็นการวิจัยในเชิงปริมาณ (Quantitative Research) 1. ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.1 ประชากรในการวิจัย กลุ่มประชากรในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริโภคในจังหวัดนครสวรรค์ที่ซื้อสินค้าออนไลน์ ซึ่งไม่สามารถนับจำนวนได้ 7.1.2 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ ผู้บริโภคในจังหวัดนครสวรรค์ที่ซื้อสินค้าออนไลน์ จำนวน 400 ราย จากจำนวนประชากรทั้งหมด ด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจงเฉพาะผู้ที่เคยซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ เครือข่ายสังคมออนไลน์ และแอปพลิเคชันขายสินค้า เป็นต้น โดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างสำเร็จรูปของเครจซีและมอร์แกน (Krejcie and Morgan) 2. ขอบเขตด้านเนื้อหา 2.1 ตัวแปรต้น ประกอบด้วย ปัจจัยด้านบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ (Product) ราคา (Price) ช่องทางการจัดจำหน่ายออนไลน์ (Place) การส่งเสริมการขาย (Promotion) การให้บริการส่วนบุคคล (Personalization) และการรักษาความเป็นส่วนตัว (Privacy) (วิเชียร วงศ์ณิชชากุล และคณะ, 2550) 2.2 ตัวแปรตาม ประกอบด้วย การตัดสินใจซื้อสินค้าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ ด้านการรับรู้ถึงปัญหาและความต้องการ ด้านการหาข้อมูลของผู้บริโภค ด้านการประเมินทางเลือก ด้านการตัดสินใจซื้อและด้านพฤติกรรมหลังการซื้อ (ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ, 2552)
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ได้ทราบถึงปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในจังหวัดนครสวรรค์ 2. ได้ทราบถึงปัจจัยด้านบุคคลมีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในจังหวัดนครสวรรค์ 3. ได้ทราบถึงการตัดสินใจซื้อสินค้าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในจังหวัดนครสวรรค์ 4. ทำให้ผู้ประกอบการสามารถนำผลการวิจัยไปปรับปรุงปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และวิเคราะห์ปัจจัยด้านบุคคลของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้นเป็นการช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : โกศล จิตวิรัต (2561) กล่าวใน บทความวิชาการ เรื่อง โมเดลการปรับตัวขององค์การธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการ ทำลายล้างของเทคโนโลยีดิจิทัลในศตวรรษที่ 21 ว่า การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลอิทธิพลเชิงสาเหตุการปรับตัวขององค์การธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการทำลายล้างของเทคโนโลยีดิจิทัลในศตวรรษที่ 21 โดยโมเดลถูกพัฒนาขึ้นจากข้อมูลที่เป็นรากเหง้าของปรากฏการณ์ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ และยืนยันผลด้วยเทคนิคการวิจัยเชิงอนาคต แล้วนำมาทำการพัฒนาต่อด้วยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นองค์การธุรกิจ จำนวน 458 ราย โดยอาศัยเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS และ LISREL ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ปรากฏว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างมีนัยสำคัญ เป็นการยืนยันได้ว่าโมเดลการปรับตัวขององค์การ ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการทำลายล้างของเทคโนโลยีดิจิทัลในศตวรรษที่ 21 สามารถอธิบายความเหมาะสมได้ด้วยอิทธิพลเชิงสาเหตุจำนวน 6 องค์ประกอบ ดังนี้ (1) การปรับตัวสู่องค์การดิจิทัล (2) การใช้เทคโนโลยีทดแทนแรงงานคน (3) การสร้างนวัตกรรม (4) ขับเคลื่อนทุกสิ่งเข้าสู่อินเทอร์เน็ต (5) การพัฒนาตลาดออนไลน์ และ (6) การจัดการประสบการณ์ลูกค้า ธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์และคณะ (2561) กล่าวใน บทความวิชาการ เรื่อง ปัญหายุทธศาสตร์เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารภาครัฐว่า การศึกษาปัญหายุทธศาสตร์เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารภาครัฐนี้เป็นการศึกษาทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยผลการวิจัยพบว่า ผลของการศึกษาสภาพปัญหาตามยุทธศาสตร์เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารภาครัฐ พบว่า บุคลากรมีการใช้ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารภาครัฐ ยังไม่สามารถบรรลุผลดี เท่าที่ควรซึ่งเกิดจากปัญหาที่สำคัญ 4 ประการ (1) บุคลากรภาครัฐยังไม่ได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ ความสามารถในเทคโนโลยีดิจิทัลเท่าที่ควร (2) อุปกรณ์ของเทคโนโลยีที่มีอยู่ยังไม่มีความทันสมัย เท่าที่ควร (3) การจัดเตรียมและการเชื่อต่อข้อมูลขนาดใหญ่ของหน่วยงานภาครัฐยังไม่สมบูรณ์ ครบด้าน ทำให้การใช้ข้อมูลดังกล่าวยังไม่เกิดประโยชน์มากนัก และ (4) ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการบริหารภาครัฐในปัจจุบัน พบว่า วัตถุประสงค์ความเป็นไปได้ และคุณค่าและประโยชน์ ต่อสังคม มีความเหมาะสมและมีการนำไปปฏิบัติในระดับปานกลาง ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัย เชิงปริมาณที่พบว่า การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารภาครัฐ โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับ ปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านและเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านบริการอัจฉริยะ อยู่ในระดับสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการปรับเปลี่ยน การทำงานภาครัฐเป็นเทคโนโลยีดิจิทัล การพัฒนาแพลตฟอร์มบริการ พื้นฐานภาครัฐ และด้านการเปิดเผยข้อมูลและประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการทำงานภาครัฐ ตามลำดับ สิริชัย แสงสุวรรณ (2558) กล่าวใน การค้นคว้าอิสระ เรื่อง พฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัลของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครว่า การศึกษาถึงพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัลของผู้บริโภค ในเขต กรุงเทพมหานคร เป็นการนำผลสำรวจด้วยแบบสอบถามมาศึกษาเจาะลึกที่กลุ่มศักยภาพ คือ กลุ่มที่มีจำนวนมากสุด ได้แก่ผู้ใช้สื่อดิจิทัล อายุระหว่าง 26-33 ปี และกิจกรรมสามอันดับแรก คือ ไลค์ โพสท์ แชร์ จึงนำมากำหนดคุณสมบัติกลุ่มตัวอย่างที่จะใช้ในการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีวัตถุประสงค์ในการเลือกใช้สื่อดิจิทัลในการประกอบการ ตัดสินใจซื้อสินค้า โดยมีจำนวน 197 คน คิดเป็นร้อยละ 49.3 ซึ่งเมื่อเจาะกลุ่มผู้ใช้งาน อายุระหว่าง 26-33 ปีจะพบว่า ผู้บริโภคเลือกใช้สื่อดิจิทัลเพื่อประโยชน์ต่าง ๆ ได้แก่ ความสะดวกในการติดต่อ เพื่อน และเครือข่าย ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีความถี่ในการใช้งานมากกว่า 2 ครั้งต่อวัน มักใช้สื่อดิจิทัลในระหว่างการเดินทาง บนรถ และหลังเลิกเรียน เลิกงานถึงเที่ยงคืน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างทั้ง 9 คน มีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ทุกวัน อุปกรณ์ดิจิทัลที่นิยมใช้ได้แก่สมาร์ทโฟน สื่อสังคมออนไลน์ ที่ใช้แต่ละคนจะใช้งานหลายสื่อ คนที่กดไลค์วันละหลายครั้ง เพราะเหตุผลที่ว่าเพี่อสนับสนุนเพจ ร้านค้าหรือแบรนด์ที่ตนชื่นชอบ ต้องการคูปองหรือส่วนลด เพื่อติดตามข่าวสารแบรนด์สินค้านั้น เพื่อชมเพื่อนให้เพื่อนทราบว่า ตนเองได้เห็นภาพที่เพื่อนโพสท์แล้ว กลุ่มตัวอย่างที่ชอบการโพสท์ รูปภาพที่ตนเองไปในสถานที่ต่าง ๆ กิจกรรมในชีวิตประจำวัน รวมถึงวันหยุด กลุ่มตัวอย่าง ที่ชอบ การแบ่งปันเนื้อหาต่าง ๆ เมื่ออ่านข่าว หรือดูคลิปถ้าน่าสนใจจะแชร์ต่อทันทีแชร์ข้อมูลความรู้ที่น่าจะเป็นประโยชน์แชร์เรื่องสนุก คลิปตลกต่าง ๆ คลิปที่ อยู่ในกระแส แสงเพ็ชร พระฉายและคณะ (2562) กล่าวใน บทความวิชาการ เรื่อง การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อสนับสนุนรูปแบบเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ว่า การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลที่ใช้ส่งเสริมและสนับสนุนรูปแบบเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน และประเมินคุณภาพของนวัตกรรมดิจิทัลที่ใช้ส่งเสริมสนับสนุนรูปแบบเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน การวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาสภาพการณ์ของผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน ซึ่งภาพรวมมีความต้องการองค์ประกอบอยู่ในระดับมาก ทั้งความสามารถในการสืบค้นและติดต่อกับผู้ประกอบการ การสืบค้นและนำเสนอสินค้าและบริการ การสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ และการแสดงสินค้าที่ได้รับความนิยม 2) การพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลแบ่งออกเป็น 8 ฟังก์ชัน ประกอบด้วยฟังก์ชันเผยแพร่สินค้าฟังก์ชันเผยแพร่ร้านค้าและธุรกิจ ฟังก์ชันเผยแพร่สินค้ายอดนิยม ฟังก์ชันเผยแพร่ข่าว/จดหมายของชุมชน ฟังก์ชันซื้อขายสินค้า ฟังก์ชันปฏิทินประชาสัมพันธ์ ฟังก์ชันห้องเรียนออนไลน์ และฟังก์ชันประวัติคำถามและคำตอบที่น่าสนใจ 3) การประเมินนวัตกรรม ดิจิทัล ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาประกอบด้วย กลุ่มประชากรผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 141 ราย และกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนในเขตพื้นที่อำเภอโชคชัย อำเภอห้วยแถลง อำเภอปักธงชัย จำนวน 60 ราย โดยใช้วิธีการสุ่ม โดยใช้แบบสำรวจสภาพการณ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน ร่วมกับการพัฒนาเว็บไซต์ตามรูปแบบวงจรพัฒนาซอฟต์แวร์ (SDLC) และความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการทดลอง ใช้งานและประเมินคุณภาพในการทำงานของนวัตกรรมดิจิทัลพบว่า ภาพรวมของระบบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ทั้งในด้านความทันสมัยของเว็บไซต์ เนื้อหาครอบคลุมและถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์ ความยืดหยุ่น ในการใช้งานและการติดต่อประสานงาน ความสวยงาม และความสะดวกในการใช้งาน ความเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :1. กรอบแนวคิดในการดำเนินงานวิจัย ผู้วิจัยได้กำหนดการกรอบแนวคิด โดยเริ่มจากการศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางตลาดออนไลน์ ปัจจัยทางด้านบุคคล และการตัดสินใจซื้อสินค้าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อนำผลการวิเคราะห์มานำเสนอแก่ผู้ประกอบการธุรกิจในการสร้างการรับรู้และเข้าใจถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคได้อย่างลึกซึ้ง และสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาสินค้าหรือบริการที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคได้ 2. สมมติฐานการวิจัย 2.1 ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในจังหวัดนครสวรรค์ 2.2 ปัจจัยด้านบุคคลมีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในจังหวัดนครสวรรค์
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :-
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :127 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวจิตาพัชญ์ ใยเทศ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย50
นางลฎาภา ร่มภูชัยพฤกษ์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย50

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด