รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000613
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :จากเมืองพระบางสู่เมืองนครสวรรค์ : ในมุมมองหลักฐานทางประวัติศาสตร์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Transition of Phra Bang to Nakhon Sawan in view of historical evidence
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :เมืองพระบาง , เมืองนครสวรรค์, หลักฐานทางประวัติศาสตร์,ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น Phra Bang,Nakhon Sawan, Historical Sources, Local History
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :สถาบันวิจัยและพัฒนา
ลักษณะโครงการวิจัย :แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :-
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :70000
งบประมาณทั้งโครงการ :70,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :17 มกราคม 2565
วันสิ้นสุดโครงการ :17 มกราคม 2566
ประเภทของโครงการ :การวิจัยพื้นฐาน
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :เมืองนครสวรรค์เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มาแต่โบราณ ดังปรากฏร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณมาตั้งแต่สมัยยุคหินใหม่เรื่อยมาจนถึงสมัยทวารวดีกระจัดกระจายในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา หลักฐานโบราณวัตถ โบราณสถานที่พบล้วนแสดงให้เห็นถึงการเข้ามาของพ่อค้าจากต่างถิ่น เพื่อทำการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างพื้นที่ตอนในกับพื้นที่ชายฝั่งทะเล จากความเจริญของการค้าระหว่างภูมิภาคได้ส่งผลให้ชุมชนเหล่านี้พัฒนาขึ้นเป็นบ้านเมืองในยุคต้นประวัติศาสตร์ เช่น แหล่งโบราณคดีบ้านจันเสน อำเภอตาคลี แหล่งโบราณคดีเมืองบนโคกไม้เดน อำเภอพยุหะคีรี และแหล่งโบราณคดีดงแม่นางเมือง อำเภอบรรพตพิสัย ที่สัมพันธ์กับชุมชนในพื้นที่เมืองอู่ทอง (จังหวัดสุพรรณบุรี) ออกแก้ว (เวียดนาม) และสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง (อาณาจักรฟูนัน กลุ่มชาติพันธุ์จาม) รวมถึงโบราณวัตถุอิทธิพลอารยธรรมอินเดีย ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 12-18 ละโว้ได้กลายเป็นชุมทางการค้าสำคัญในวัฒนธรรมขอม ได้ขยายอำนาจควบคุมการค้าระหว่างอ่าวเมาะตะมะกับลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ชุมชนในพื้นที่นครสวรรค์พัฒนาขึ้นเป็นบ้านเมืองและขยายตัวเข้าสู่พื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา โดยที่ตั้งของตัวเมืองนครสวรรค์ปัจจุบันเริ่มปรากฏขึ้นบริเวณเขากบและชุมทางการค้าริมฝั่งแม่น้ำปิง อย่างไรก็ตาม ความสำคัญของเมืองนครสวรรค์เริ่มปรากฏชัดขึ้นในสมัยสุโขทัย เมื่อจารึกหลักที่ 1 จารึกพ่อขุนรามคำแหง ได้กล่าวถึงชื่อเมืองพระบาง เป็นเมืองหนึ่งในกลุ่มเมืองภายใต้อำนาจรัฐสุโขทัยในปลายพุทธศตวรรษที่ 18 และเมืองพระบางได้ทวีความสำคัญในปลายพุทธศตวรรษที่ 19 - ต้นพุทธศตวรรษ 20 เมืองพระบางเป็นพื้นที่หนึ่งที่เผชิญกับการแผ่ขยายอำนาจจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) จากอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาที่ต้องการขยายครอบครองเส้นทางการค้าตอนในซึ่งอยู่ในอำนาจของรัฐสุโขทัย (ดนัย ไชยโยธา, 2540 : 15-18) ด้วยเหตุดังกล่าวทำให้พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) ต้องส่งฑูตไปเจรจาเพื่อขอเมืองชัยนาทคืน และทรงเร่งกระชับอำนาจในเขตปกครอง เช่น ทรงสร้างและย้ายมาประทับที่เมืองนครชุม การสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองในหัวเมืองสำคัญ ประกอบด้วย เมืองสุโขทัย เมืองศรีสัชนาลัย เมืองบางพาน และเมืองพระบาง (http://www.db.sac.or.th วันที่สืบค้น 14 มีนาคม 2565) นับเป็นการย้ำความสำคัญของเมืองพระบางต่อการปกครองและเศรษฐกิจของสุโขทัยในการควบคุมเส้นทางการค้าของรัฐตอนในผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำปิง และลุ่มน้ำป่าสัก โดยมีสินค้าสำคัญคือ แร่เหล็ก แร่ทองแดง และของป่า ภายหลังการสวรรคตของพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) อำนาจรัฐสุโขทัยอ่อนแอลง บ้านเมืองต่าง ๆ แยกตัวเป็นอิสระ กระทั่งปี พ.ศ. 1962 เกิดการแย่งชิงราชสมบัติระหว่างพระยารามกับพระยาบาลเมืองที่เมืองพระบาง ในครั้งนั้นสมเด็จพระอินทราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยาทรงยกทัพขึ้นมามาคุมเชิงที่เมืองพระบางในฐานะเมืองปลายเขตแดนของกรุงศรีอยุธยา (กรมศิลปากร, 2504 : 4) และได้สถาปนาพระยาบาลเมืองเป็นพระมหาธรรมราชาที่ 4 ครองเมืองสุโขทัยนับเป็นการสิ้นสุดอำนาจรัฐสุโขทัยที่มีเหนือเมืองพระบาง (http://www.db.sac.or.th วันที่สืบค้น 14 มีนาคม 2565) การขยายตัวของการค้าระหว่างจีนและอินเดีย ทำให้บรรดาบ้านเมืองและรัฐต่าง ๆ ทำสงครามแย่งชิงดินแดนและสถาปนาอาณาจักรขึ้นบนผืนแผ่นดินใหญ่ในพุทธศตวรรษที่ 20-21 อาทิ อาณาจักรล้านนา อาณาจักรพุกาม และอาณาจักรอยุธยา ส่งผลให้หัวเมืองเหนือกลายเป็นสมรภูมิรบระหว่างมหาอำนาจทั้ง 3 กระทั่งปี พ.ศ. 2006 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถย้ายมาประทับที่เมืองเมืองพิษณุโลก และจัดการปกครองหัวเมืองตามลำดับความสำคัญและขนาดของเมือง โดยเมืองพระบางได้เปลี่ยนชื่อเป็นเมืองนครสวรรค์มีฐานะเป็นเมืองชั้นตรีมีบทบาทในการสงครามร่วมกับและเมืองพิจิตร เมืองพิชัย หัวเมืองชั้นโท เช่น เมืองกำแพงเพชร และเมืองสวรรคโลก (ดนัย ไชยโยธา, 2543 : 307) รวมถึงการเป็นเมืองประชุมพลในการทำสงครามระหว่างอาณาจักรพุกามกับกรุงศรีอยุธยามาจนสิ้นสมัยอยุธยา เห็นได้ว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้บ้านเมืองในพื้นที่นครสวรรค์ปรากฏตัวตนในประวัติศาสตร์นั้นมาจากปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งซึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่างพื้นที่ตอนในกับชายฝั่งทะเลจึงเป็นชุมทางการค้าสำคัญมาแต่โบราณ ประกอบกับภูมิศาสตร์ของเมืองเป็นที่ราบลุ่มอุดมสมบูรณ์และจุดรวมของแม่นำสายสำคัญจากลุ่มน้ำปิง วัง ยม น่านทางตอนเหนือ และลุ่มน้ำป่าสักทางตะวันออก เชื่อมกับบ้านเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางจึงทำให้เมืองนครสวรรค์เป็นเมืองที่มีความโด่ดเด่นทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม งานวิจัย เรื่อง “จากเมืองพระบางสู่เมืองนครสวรรค์ : ในมุมมองหลักฐานทางประวัติศาสตร์” สมมติฐานว่า “เมืองนครสวรรค์ปรากฏชื่อเมืองในสมัยสุโขทัยว่าเมืองพระบาง แต่หากพิจารณาถึงร่องรอยโบราณวัตถุสถานกลับรูปแบบของงานศิลปกรรมสมัยอยุธยามากกว่าสมัยสุโขทัย” ดังนั้นการทำความเข้าใจในร่องรอยทางโบราณวัตถุสถานร่วมกับการวิเคราะห์หลักฐานทางประวัติศาสตร์จึงเป็นแนวทางหนึ่งในการอธิบายความสำคัญและพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของเมืองนครสวรรค์ในฐานะชุมชนเมืองภายใต้อำนาจรัฐสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา อีกทั้งงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยที่สอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2579), ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี,ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ พ.ศ. 2561 – 2565 รวมไปถึง งานวิจัยชิ้นนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเป็นฐานข้อมูลในการดำเนินการตาม “แผนพลิกโฉมมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570)” ตามกรอบระยะเวลาและขั้นตอนการดำเนินการของกฎกระทรวงการจัดกลุ่ม สถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2564 ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์พิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบเลือกสังกัด กลุ่มที่ 3 พัฒนาชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนอื่น (Area-Based and Community Engagement) เนื่องจากมีความโดดเด่นทั้งผลการดาเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา (Performance) และศักยภาพของสถาบันอุดมศึกษา(Potential) ที่จะสามารถพัฒนาสู่ความเป็นเลิศได้อย่างก้าวกระโดด การรับรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์เมืองนครสวรรค์ในปัจจุบันยังขาดการรวบรวมหลักฐานและการอธิบายหลักฐานให้สัมพันธ์กับบทบาทและความสำคัญของเมืองนครสวรรค์ในสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา ส่งผลให้การรับรู้เรื่องราวความเป็นมาของท้องถิ่น ชุมชน อาจคลาดเคลื่อนหรือเลือนหายและถูกแทนที่ด้วยค่านิยมสมัยใหม่ทำให้การสืบทอดเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมแบบไร้ราก
จุดเด่นของโครงการ :เป็นการศึกษาประวัติศาสตร์ของเมืองนครสวรรค์โดยใช้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี และตำนาน
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อศึกษาและรวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ที่เกี่ยวกับเมืองนครสวรรค์ในสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา 2. อธิบายความสำคัญของเมืองนครสวรรค์ในสมัยสุโขทัยและอยุธยาจากกลักฐานทางประวัติศาสตร์
ขอบเขตของโครงการ :งานศึกษาเรื่อง “จากเมืองพระบางสู่เมืองนครสวรรค์ในมุมมองหลักฐานทางประวัติศาสตร์” ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยกำหนดขอบเขตการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา ร่วมกับตำนานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับเมืองนครสวรรค์ และนำเสนอรายงานการวิจัย (Report of Research) โดยใช้วิธีการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) ตามระเบียบวิธีการทางประวัติศาสตร์ (History Method) โดยมีขอบเขตการศึกษาค้นคว้า ดังนี้ 1. ขอบเขตด้านแหล่งข้อมูล ในการศึกษาครั้งนี้ใช้ข้อมูลเอกสารเป็นข้อมูลหลักที่นำมาใช้ในการศึกษางานวิจัยครั้งนี้ โดยใช้ข้อมูลจากจารึก พระราชพงศาวดาร จดหมายเหตุ เอกสารจากส่วนราชการ กฎหมาย พระราชกำหนด ร่วมกับเอกสารชั้นรอง เช่น วิทยานิพนธ์ หนังสือ บทความวิชาการจากวารสารต่าง ๆ เพื่อนำข้อมูลที่มีผู้ศึกษาไว้มาวิเคราะห์ร่วมกันในการนำเสนอข้อมูลทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี วัฒนธรรม ในจังหวัดนครสวรรค์ในสมัยจารีต โดยใช้การนำเสนอแบบพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) มาลำดับเหตุการณ์ตามช่วงเวลาเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาต่าง ๆ 2. ขอบเขตด้านเวลา การศึกษาครั้งนี้ให้ความสำคัญกับบทบาทของรัฐสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยาที่มีต่อพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ โดยแบ่งตามศูนย์กลางของอำนาจรัฐในแต่ละช่วงเวลา
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1.เพื่อศึกษาและรวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ที่เกี่ยวกับเมืองนครสวรรค์ในสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา 2.อธิบายความสำคัญของเมืองนครสวรรค์ในสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ 3.นำองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยไปเผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับชาติ (TCI 1) และนำความรู้มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :แนวคิดในการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและประวัติศาสตร์พื้นที่ มักประสบปัญหาในการให้ความหมายและการกำหนดขอบเขตการศึกษา ทั้งนี้เป็นผลมาจากความสนใจของผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่มีหลากหลาย ส่งผลให้ให้การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นขาดแนวทางที่ชัดเจน อีกทั้งการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไม่สามารถแยกความสำคัญของท้องถิ่นจากอำนาจรัฐส่วนกลางได้ ในงานวิจัยนี้กำหนดกรอบการวิจัยโดยอาศัยแนวคิดการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นแบบองค์รวม (ยงยุทธ ชูแว่นและประมวล มณีโรจน์, 2546) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับอิทธิพลทางความคิดมาจาก สำนักคิด Annales (วนิดา ทัทเทิล, 2555 : 219-221) และนักวิชาการคนสำคัญในสังคมไทย เช่น นิธิ เอียวศรีวงศ์, ศรีศักร วัลลิโภดม, ฉัตรทิพย์ นาถสุภา, อานันท์ กาญจนพันธ์ ฯลฯ เป็นการศึกษาที่โยงระบบต่าง ๆ ของชุมชนหนึ่ง ๆ เข้าหากันอย่างสอดคล้องกลมกลืน ดังนั้น การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นแบบองค์รวม จึงเน้นศึกษาความเปลี่ยนแปลงและผลของความเปลี่ยนแปลงภายในชุมชนหนึ่ง ๆ อย่างรอบด้าน การศึกษาในลักษณะนี้ย่อมทำให้มองเห็นความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นภายในชุมชน รวมทั้งมองเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง แนวคิดในการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและประวัติศาสตร์พื้นที่ มักประสบปัญหาในการให้ความหมายและการกำหนดขอบเขตการศึกษา ทั้งนี้เป็นผลมาจากความสนใจของผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่มีหลากหลาย ส่งผลให้ให้การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นขาดแนวทางที่ชัดเจน อีกทั้งการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไม่สามารถแยกความสำคัญของท้องถิ่นจากอำนาจรัฐส่วนกลางได้ ในงานวิจัยนี้กำหนดกรอบการวิจัยโดยอาศัยแนวคิดการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นแบบองค์รวม (ยงยุทธ ชูแว่นและประมวล มณีโรจน์, 2546) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับอิทธิพลทางความคิดมาจาก สำนักคิด Annales (วนิดา ทัทเทิล, 2555 : 219-221) และนักวิชาการคนสำคัญในสังคมไทย เช่น นิธิ เอียวศรีวงศ์, ศรีศักร วัลลิโภดม, ฉัตรทิพย์ นาถสุภา, อานันท์ กาญจนพันธ์ ฯลฯ เป็นการศึกษาที่โยงระบบต่าง ๆ ของชุมชนหนึ่ง ๆ เข้าหากันอย่างสอดคล้องกลมกลืน ดังนั้น การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นแบบองค์รวม จึงเน้นศึกษาความเปลี่ยนแปลงและผลของความเปลี่ยนแปลงภายในชุมชนหนึ่ง ๆ อย่างรอบด้าน การศึกษาในลักษณะนี้ย่อมทำให้มองเห็นความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นภายในชุมชน รวมทั้งมองเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดย ยงยุทธ ชูแว่น ได้กล่าวถึงความสำคัญของประวัติศาสตร์ท้องถิ่น 2 ประการ ดังนี้ ประการแรก เป็นการสร้างสำนึกประวัติศาสตร์ของประชาชนในท้องถิ่นให้ตระหนักถึงคุณค่าของตนเองและชุมชน องค์ความรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจะช่วยฟื้นฟูสำนึกประวัติศาสตร์ในชุมชน ซึ่งส่งผลให้มีความเชื่อมั่นในตนเองที่จะนำเอาภูมิปัญญาของบรรพบุรุษมาประยุกต์ใช้มากขึ้น ประการที่สอง เป็นความรู้ที่เป็นประโยชน์สำหรับการกำหนดนโยบายการพัฒนาให้เหมาะสมกับศักยภาพและข้อจำกัดของแต่ละท้องถิ่น เพื่อเป็นพื้นฐานความรู้ (ยงยุทธ ชูแว่น 2549 : 218-236) เห็นได้ว่า ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเป็นองค์ความรู้สำคัญในการพัฒนาสังคมให้เหมาะสมหรือสอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น ซึ่งอดีตที่ผ่านมาการศึกษาประวัติศาสตร์มักให้ความสำคัญกับศุนย์กลางอำนาจรัฐโดยละเลยท้องถิ่น ดังนั้นการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจึงเป็นการฟื้นตัวตนของผู้คน ชุมชน ท้องถิ่นผ่านหลักฐานจากภาครัฐร่วมกับการรับรู้ของท้องถิ่น สมมุติฐานการวิจัย เมืองนครสวรรค์เป็นเมืองสำคัญทางการเมือง เศรษฐกิจต่อรัฐไทยโดยสมัยสุโขทัยปรากฏชื่อเมืองพระบาง และทวีความสำคัญขึ้นในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไทย) ดังปรากฏการสร้างรอยพระบาทที่เขากบ ในช่วงปลายสมัยสุโขทัยพื้นที่แห่งนี้กลายเป็นพื้นที่สำคัญที่รัฐสุโขทัยและอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาพยายามเข้ามาครอบครอง กระทั่งตกเป็นของรัฐกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระบาทไตรโลกนาถและได้รับชื่อเมืองนครสวรรค์มาจนถึงปัจจุบัน ภายใต้การปกครองของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาเมืองนครสวรรค์มีบทบาทสำคัญในฐานะเมืองยุทธศาสตร์การสงครามกับพม่า และเป็นหัวเมืองสำคัญในทางเศรษฐกิจเนื่องจากเป็นจุดรวมของแม่น้ำจากหัวเมืองเหนือกับลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :ในการดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร ได้แก่ ศึกษาเอกสารที่เป็นงานวิจัย ตำรา หนังสือ เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยนำข้อมูลที่ได้มาดำเนินการด้วย วิธีการทางประวัติศาสตร์ ดังนี้ -การวิเคราะห์และประเมินค่าหลักฐานภายนอก -การวิเคราะห์และประเมินค่าหลักฐานภายใน -การตีความหลักฐาน -การสังเคราะห์ข้อมูล -เรียบเรียงข้อมูล
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :เป็นการศึกษาประวัติศาสตร์ของเมืองนครสวรรค์ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์มาจนถึงสมัยอยุธยา โดยอ้างอิงข้อมูลตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี และตำนาน เพื่ออธิบายความสำคัญของเมืองนครสวรรค์ในแต่ละช่วงเวลา
จำนวนเข้าชมโครงการ :833 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางพิมพ์อุมา ธัญธนกุล บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย95
นางสาวศิรินุช ครุฑธกะ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย5

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด