รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000612
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การยกระดับนวัตกรรมชุมชนสู่การขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ จากปูมประวัติศาสตร์สู่นวัตกรรมเศรษฐกิจชุมชน
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The Enhancement of Community Innovation in Driving Local Economy System for Nakhonsawan Province: From History to Innovative Local Econimy
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :การท่องเที่ยว ทุนทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :สถาบันวิจัยและพัฒนา > กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย
ลักษณะโครงการวิจัย :แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :-
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :250000
งบประมาณทั้งโครงการ :250,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :17 ตุลาคม 2565
วันสิ้นสุดโครงการ :17 ตุลาคม 2566
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยบูรณาการ
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :กรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ระหว่าง พ.ศ.2561- พ.ศ. 2580 ได้กําหนดกรอบพัฒนาประเทศให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นําไปสู่การพัฒนาให้คนไทยมีความสุข และตอบสนองตอบต่อการบรรลุซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติ ในการที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างรายได้ระดับสูงเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และสร้างความสุขของคนไทย สังคมมีความมั่นคง เสมอภาคและเป็นธรรม ประเทศสามารถแข่งขันได้ในระบบเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมหลัก การขับเคลื่อนการทํางานของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวตามยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว 20 ปี ที่กําหนดวิสัยทัศน์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2579 คือ “ประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพชั้นนําของโลกที่เติบโตอย่างมีดุลยภาพบนพื้นฐาน ความเป็นไทยเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และกระจายรายได้สู่ประชาชนทุกภาคส่วนอย่างยั่งยืน” จากวิสัยทัศน์ดังกล่าวชี้ชัดให้เห็นว่า การท่องเที่ยวมีเป้าหมายสําคัญต่อการส่งเสริมพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และกระจายรายได้สู่ประชาชนทุกภาคส่วน โดยเฉพาะชุมชนท้องถิ่นที่มีต้นทุนทางสังคมวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถนํามาสร้างสรรค์เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สะท้อนความเป็นอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ของวิถีชีวิตความเป็นคนไทยสู่นักท่องเที่ยวได้อย่างชัดเจนตามทิศทางแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนและสร้างสรรค์ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2559- พ.ศ. 2563 ขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) โดยมีประเด็นยุทธศาสตร์ที สําคัญ คือ 1.ส่งเสริมการเพิ่มคุณค่าและมูลค่าของต้นทุนทรัพยากรชุมชนสู่การเป็นสินค้าและบริการบนฐานอัตลักษณ์เอกลักษณ์ และการมีส่วนร่วมของชุมชนสู่ต้นแบบเป็นแหล่งเรียนรู้การพัฒนาและจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนในระดับต่าง ๆ 2.การเสริมสร้างคุณภาพทักษะและความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ในชุมชนให้มีศักยภาพในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบพึ่งพาตนเอง บนฐานความพอเพียงและความรู้โดยเน้นองค์ความรู้และการพัฒนาบุคลากรสําหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชน 3.พัฒนาการบริหารจัดการการตลาดการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มุ่งเน้นการสร้างสมดุลของความสุขของทั้งคนในชุมชนและนักท่องเที่ยว 4. การขับเคลื่อนระบบการบริหารจัดการ และการทํางานเชื่อมโยงเชิงเครือข่ายประชารัฐที่มีเอกภาพ มั่นคง และยั่งยืน 5.การพัฒนาดัชนีชี้วัดความสุขระหว่างชุมชนและนักท่องเที่ยวตลอดจนพัฒนาไปสู่การเป็นแหล่งเรียนรู้ในภูมิภาคอาเซียน จากยุทธศาสตร์ดังกล่าวจึงเป็นทิศทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มีความจําเป็นต้องบูรณาการการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และสถาบันการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง การยกระดับนวัตกรรมชุมชนสู่การขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจชุมชน เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยใช้ฐานทุนและศักยภาพของชุมชนในการดําเนินงานเชิงพัฒนา และเป็นส่วนหนึ่งของพลังทางสังคมที่หนุนเสริมการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล 4 ด้าน ได้แก่ 1.การลดความเลื่อมลํ้าของสังคม เน้นการกระจายให้กิจกรรมครอบคลุมทุกกลุ่มประชากร โดยเฉพาะกิจกรรมด้านการพัฒนาอาชีพและผลิตภัณฑ์ 2.การสร้างความเป็นธรรม ในการเข้าถึงบริการสาธารณะที่จัดโดยหน่วยงานรัฐในพื้นที่หรือบริการที่มีจําเป็นต่อการดํารงชีพที่ดําเนินการโดยชุมชน 3.การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน และการน้อมนําปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นวิถีของชุมชนท้องถิ่น และ 4.สร้างความต่อเนื่องและยั่งยืน เน้นการต่อยอดงานของชุมชนในการเพิ่มคุณภาพ เพิ่มผลิตภัณฑ์ เพิ่มคนดําเนินการและการขยายตลาดด้วย วิสัยทัศน์ของจังหวัดนครสวรรค์ในการพัฒนาว่า "เป็นศูนย์กลางด้านเกษตรและอุตสาหกรรม เมืองท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและธรรมชาติ สังคมมีความเข้มแข็งและสิ่งแวดล้อมที่ดี" ด้วยศักยภาพทางประวัติศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติของเมืองนครสวรรค์สามารถนํามาพัฒนาร่วมกันเพื่อยกระดับนวัตกรรมชุมชนสู่การขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจชุมชน เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยใช้ฐานทุนทางวัฒนธรรมและศักยภาพของชุมชนในกาสร้างนวัตกรชุมชน รวมถึงออกแบบและพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ทั้งนี้เมืองนครสวรรค์เป็นเมืองที่มีความสําคัญทางประวัติศาสตร์มาแต่โบราณ ดังปรากฏร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณมาตั้งแต่สมัยยุคหินใหม่เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ดังพบหลักฐานโบราณวัตถุ โบราณสถาน ตำนาน เรื่องเล่า หลักฐานลายลักษณ์อักษรที่พบล้วนแสดงให้เห็นถึงการเข้ามาของพ่อค้าจากต่างถิ่น เพื่อทําการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างพื้นที ตอนในกับพื้นที่ ชายฝั่งทะเล ความเจริญของการค้าระหว่างภูมิภาคได้ส่งผลให้ชุมชนเหล่านี้ พัฒนาขึ้นเป็นบ้านเมืองในยุคต้นประวัติศาสตร์ เช่น แหล่งโบราณคดีบ้านจันเสน อําเภอตาคลี แหล่งโบราณคดีเมืองบนโคกไม้เดน อําเภอพยุหะคีรี และแหล่งโบราณคดีดงแม่นางเมือง อําเภอบรรพตพิสัย มีสัมพันธ์กับชุมชนในพื้นที่เมืองอู่ทอง (จังหวัดสุพรรณบุรี) ออกแก้ว (เวียดนาม) และสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง (อาณาจักรฟูนัน กลุ่มชาติพันธุ์จาม) รวมถึงโบราณวัตถุอิทธิพลอารยธรรมอินเดีย ต่อมาในพุทธศตวรรษที 12-18 ละโว้ได้กลายเป็นชุมทางการค้าสําคัญในวัฒนธรรมขอม ได้ขยายอํานาจควบคุมการค้าระหว่างอ่าวเมาะตะมะกับลุ่มแม่นำเจ้าพระยา ทําให้ชุมชนในพื้นที นครสวรรค์พัฒนาขึ้นเป็นบ้านเมืองและขยายตัวเข้าสู่พื้นที่ ลุ่มแม่นํ้าเจ้าพระยา โดยที่ตั้งของตัวเมืองนครสวรรค์ปัจจุบันเริ่มปรากฏขึ้นบริเวณเขากบและชุมทางการค้าริมฝั่งแม่นำปิงในสมัยสุโขทัยในปลายพุทธศตวรรษที 18โดยจารึกหลักที่ 1 (จารึกพ่อขุนรามคำแหง) ได้กล่าวถึงชื่อเมืองพระบาง เป็นเมืองหนึ่งในกลุ่มเมืองภายใต้อํานาจรัฐสุโขทัย และเมืองพระบางได้ทวีความสําคัญในปลายพุทธศตวรรษที่ 19- ต้นพุทธศตวรรษที่ 20 เมืองพระบางเป็นพื้นที่หนึ่งที่เผชิญกับการแผ่ขยายอํานาจจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง)จากอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาที่ ต้องการครอบครองเส้นทางการค้าตอนในซึ่งอยู่ในอํานาจของรัฐสุโขทัย ด้วยเหตุดังกล่าวทําให้พระมหาธรรมราชาที (ลิไทย) ต้องส่งฑูตไปเจรจาเพื่อขอเมืองชัยนาทคืน และทรงเร่งกระชับอํานาจในเขตปกครอง เช่น ทรงสร้างและย้ายมาประทับที่เมืองนครชุม สร้างรอยพระพุทธบาทจําลองในหัวเมืองสําคัญ คือ เมืองสุโขทัย เมืองศรีสัชนาลัย เมืองบางพานและเมืองพระบาง นับเป็นการย้ำความสําคัญของเมืองพระบางต่อการปกครองและเศรษฐกิจของสุโขทัยในการควบคุมเส้นทางการค้าของรัฐตอนในผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา แม่นำปิง และลุ่มน้ำป่าสัก โดยมีสินค้าสําคัญคือ แร่เหล็ก แร่ทองแดง และของป่า หลังพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) สวรรคตคลงอํานาจรัฐสุโขทัยอ่อนแอลง บ้านเมืองต่าง ๆ แยกตัวเป็นอิสระ กระทั่งปี พ.ศ. 1962 เกิดการแย่งชิงราชสมบัติระหว่างพระยารามกับพระยาบาลเมืองที่เมืองพระบาง ในครั้งนั้นสมเด็จพระอินราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยาทรงยกทัพขึ้นมามาคุมเชิงทีเมืองพระบางในฐานะเมืองปลายเขตแดนของกรุงศรีอยุธยาและได้สถาปนาพระยาบาลเมืองเป็นพระมหาธรรมราชาที่ 4 ครองเมืองสุโขทัยนับเป็นการสิ้นสุดอํานาจรัฐสุโขทัยมีเหนือเมืองพระบาง การขยายตัวของการค้าระหว่างจีนและอินเดีย ทําให้บรรดาบ้านเมืองและรัฐต่าง ๆ ทําสงครามแย่งชิงดินแดนและสถาปนาอาณาจักรขึ้นบนผืนแผ่นดินใหญ่ในพุทธศตวรรษที 20-21 เช่น อาณาจักรล้านนา อาณาจักรพุกาม และอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ส่งผลให้หัวเมืองเหนือกลายเป็นสมรภูมิรบระหว่างมหาอํานาจทั้ง 3 กระทั่งปี พ.ศ. 2006 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงย้ายมาประทับที่เมืองเมืองพิษณุโลก และจัดการปกครองหัวเมืองตามลําดับความสําคัญและขนาดของเมือง โดยเมืองพระบางได้เปลี่ยนชื่อเป็นเมืองนครสวรรค์มีฐานะเป็นเมืองชั้นตรีมีบทบาทในการสงครามร่วมกับและเมืองพิจิตร เมืองพิชัย หัวเมืองชั้นโท เช่น เมืองกําแพงเพชร และเมืองสวรรคโลก รวมถึงการเป็นเมืองประชุมพลในการทําสงครามระหว่างอาณาจักรพุกามกับกรุงศรีอยุธยามาจนสิ้นสมัยอยุธยา เห็นได้ว่าปัจจัยที่ทําให้บ้านเมืองในพื้นที่นครสวรรค์ปรากฏตัวตนในประวัติศาสตร์นั้นมาจากปัจจัยด้านทําเลที่ตั้งซึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่างพื้นที่ตอนในกับชายฝั่งทะเลจึงเป็นชุมทางการค้ามาแต่โบราณ ประกอบกับภูมิศาสตร์ของเมืองเป็นที่ราบลุ่มอุดมสมบูรณ์และจุดรวมของแม่น้ำสายจากลุ่มน้ำปิง วัง ยม น่านทางตอนเหนือ และลุ่มน้ำป่าสักทางตะวันออก เชื่อมกับบ้านเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางส่งผลให้เมืองนครสวรรค์เป็นเมืองที่มีความโด่ดเด่นทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นได้ว่าจังหวัดนครสวรรค์เป็นพื้นที่หนึ่งที่มีทุนทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม หากแต่ยังขาดการศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์โดยใช้พื้นที่เป็นหลักในการอธิบายตัวตน จึงนำมาสู่การจัดทำโครงการชุด “การยกระดับนวัตกรรมชุมชนสู่การขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์จากปูมประวัติศาสตร์สู่นวัตกรรมเศรษฐกิจชุมชน” โดยกำหนดโครงการวิจัยย่อยจำนวน 2 โครงการ ประกอบด้วย โครงการย่อยที่ 1 จากเมืองพระบางสู่เมืองนครสวรรค์ในมุมมองหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และ โครงการย่อยที่ 2 การยกระดับนวัตกรรมชุมชนสู่การขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ด้วยศักยภาพทางประวัติศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติของเมืองนครสวรรค์ สามารถนำมาร่วมกันยกระดับนวัตกรรมชุมชนสู่การขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรม โดยเป็นการศึกษาความสำคัญของเมืองพระบางและเมืองนครสวรรค์ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ร่วมกับร่องรอยทางโบราณคดี เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการสร้างรายได้ให้กับชุมชนผ่านเส้นทางท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของจังหวัดนครสวรรค์ต่อไป
จุดเด่นของโครงการ :เป็นนำองค์ความรู้ท่งประวัติศาสตร์มาพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชน
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อศึกษาและรวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมสู่การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชน 2. เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลทุนทางสังคมที่แสดงศักยภาพของชุมชนในการขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรม สู่การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดนครสวรรค์ 3. เพื่อสร้างนวัตกรชุมชนในการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์ของชุมชน
ขอบเขตของโครงการ :ในการวิจัยกำหนดพื้นที่เป้าหมาย 7 ตำบล ประกอบด้วย 1.ตำบลจันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ 2.ตำบลพยุหะ อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ 3.ตำบลท่าน้ำอ้อย อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ 4.ตำบลตาสัง อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ 5.ตำบลโพธิ์ประสาท อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ 6.ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ 7. ตำบลบ้านแก่ง อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นพื้นที่มีมีทุนทางสังคมและวัฒนธรรม โดยพบร่องรอยการตั้งถิ่นฐานชุมชนมาตั้งแต่สมัยทวารวดี ปัจจุบันพื้นที่เหล่านี้มีผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานประกอบอาชีพ โดยขาดการรับรู้ถึงความสำคัญของชุมชนในบริบทประวัติศาสตร์ที่อาจเป็นทุนทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ได้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมสู่การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชน 2. สามารถนำใช้ข้อมูลทุนทางสังคมในการขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรม ในการออกแบบและพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดนครสวรรค์ 3. มีนวัตกรชุมชนที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรม และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์ของชุมชนให้กับผู้อื่นได้
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :แนวคิดในการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและประวัติศาสตร์พื้นที่ มักประสบปัญหาในการให้ความหมายและการกำหนดขอบเขตการศึกษา ทั้งนี้เป็นผลมาจากความสนใจของผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่มีหลากหลาย ส่งผลให้ให้การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นขาดแนวทางที่ชัดเจน อีกทั้งการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไม่สามารถแยกความสำคัญของท้องถิ่นจากอำนาจรัฐส่วนกลางได้ ในงานวิจัยนี้กำหนดกรอบการวิจัยโดยอาศัยแนวคิดการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นแบบองค์รวม (ยงยุทธ ชูแว่นและประมวล มณีโรจน์, 2546) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับอิทธิพลทางความคิดมาจาก สำนักคิด Annales (วนิดา ทัทเทิล, 2555 : 219-221) และนักวิชาการคนสำคัญในสังคมไทย เช่น นิธิ เอียวศรีวงศ์, ศรีศักร วัลลิโภดม, ฉัตรทิพย์ นาถสุภา, อานันท์ กาญจนพันธ์ ฯลฯ เป็นการศึกษาที่โยงระบบต่าง ๆ ของชุมชนหนึ่ง ๆ เข้าหากันอย่างสอดคล้องกลมกลืน ดังนั้น การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นแบบองค์รวม จึงเน้นศึกษาความเปลี่ยนแปลงและผลของความเปลี่ยนแปลงภายในชุมชนหนึ่ง ๆ อย่างรอบด้าน การศึกษาในลักษณะนี้ย่อมทำให้มองเห็นความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นภายในชุมชน รวมทั้งมองเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง แนวคิดในการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและประวัติศาสตร์พื้นที่ มักประสบปัญหาในการให้ความหมายและการกำหนดขอบเขตการศึกษา ทั้งนี้เป็นผลมาจากความสนใจของผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่มีหลากหลาย ส่งผลให้ให้การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นขาดแนวทางที่ชัดเจน อีกทั้งการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไม่สามารถแยกความสำคัญของท้องถิ่นจากอำนาจรัฐส่วนกลางได้ ในงานวิจัยนี้กำหนดกรอบการวิจัยโดยอาศัยแนวคิดการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นแบบองค์รวม (ยงยุทธ ชูแว่นและประมวล มณีโรจน์, 2546) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับอิทธิพลทางความคิดมาจาก สำนักคิด Annales (วนิดา ทัทเทิล, 2555 : 219-221) และนักวิชาการคนสำคัญในสังคมไทย เช่น นิธิ เอียวศรีวงศ์, ศรีศักร วัลลิโภดม, ฉัตรทิพย์ นาถสุภา, อานันท์ กาญจนพันธ์ ฯลฯ เป็นการศึกษาที่โยงระบบต่าง ๆ ของชุมชนหนึ่ง ๆ เข้าหากันอย่างสอดคล้องกลมกลืน ดังนั้น การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นแบบองค์รวม จึงเน้นศึกษาความเปลี่ยนแปลงและผลของความเปลี่ยนแปลงภายในชุมชนหนึ่ง ๆ อย่างรอบด้าน การศึกษาในลักษณะนี้ย่อมทำให้มองเห็นความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นภายในชุมชน รวมทั้งมองเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดย ยงยุทธ ชูแว่น ได้กล่าวถึงความสำคัญของประวัติศาสตร์ท้องถิ่น 2 ประการ ดังนี้ ประการแรก เป็นการสร้างสำนึกประวัติศาสตร์ของประชาชนในท้องถิ่นให้ตระหนักถึงคุณค่าของตนเองและชุมชน องค์ความรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจะช่วยฟื้นฟูสำนึกประวัติศาสตร์ในชุมชน ซึ่งส่งผลให้มีความเชื่อมั่นในตนเองที่จะนำเอาภูมิปัญญาของบรรพบุรุษมาประยุกต์ใช้มากขึ้น ประการที่สอง เป็นความรู้ที่เป็นประโยชน์สำหรับการกำหนดนโยบายการพัฒนาให้เหมาะสมกับศักยภาพและข้อจำกัดของแต่ละท้องถิ่น เพื่อเป็นพื้นฐานความรู้ (ยงยุทธ ชูแว่น 2549 : 218-236) เห็นได้ว่า ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเป็นองค์ความรู้สำคัญในการพัฒนาสังคมให้เหมาะสมหรือสอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น ซึ่งอดีตที่ผ่านมาการศึกษาประวัติศาสตร์มักให้ความสำคัญกับศุนย์กลางอำนาจรัฐโดยละเลยท้องถิ่น ดังนั้นการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจึงเป็นการฟื้นตัวตนของผู้คน ชุมชน ท้องถิ่นผ่านหลักฐานจากภาครัฐร่วมกับการรับรู้ของท้องถิ่น
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :1. การศึกษาข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร ได้แก่ ศึกษาเอกสารที่เป็นงานวิจัย ตำรา หนังสือ เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยนำข้อมูลที่ได้มาดำเนินการด้วย วิธีการทางประวัติศาสตร์ ดังนี้ การวิเคราะห์และประเมินค่าหลักฐานภายนอก การวิเคราะห์และประเมินค่าหลักฐานภายใน การตีความหลักฐาน การสังเคราะห์ข้อมูลและนำมาเรียบเรียงเป็นองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์ 2. พัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดนครสวรรค์ โดยนำใช้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์และทุนทางสังคมที่แสดงศักยภาพของชุมชนในการขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรม 3. สร้าง Learning and Innovation Platform (LIP) การขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรม เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดกระบวนการเรียนรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์ของชุมชนให้กับนวัตกรชุมชน
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :ด้วยศักยภาพทางประวัติศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติของเมืองนครสวรรค์ สามารถนำมาร่วมกันยกระดับนวัตกรรมชุมชนสู่การขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรม โดยเป็นการศึกษาความสำคัญของเมืองพระบางและเมืองนครสวรรค์ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ร่วมกับร่องรอยทางโบราณคดี เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการสร้างรายได้ให้กับชุมชนผ่านเส้นทางท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของจังหวัดนครสวรรค์ต่อไป
จำนวนเข้าชมโครงการ :247 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางพิมพ์อุมา ธัญธนกุล บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย40
นางชยภรณ บุญเรืองศักดิ์์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยรองหัวหน้าโครงการวิจัย25
นางสาวสิริพร เสมาทอง บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยรองหัวหน้าโครงการวิจัย25
นางสาวศิรินุช ครุฑธกะ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย10

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด