รหัสโครงการ : | R000000610 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | การส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำประมงพื้นบ้านพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด การใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างชาญฉลาดและยั่งยืน |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | Promoting of local wisdom, local fishery in Bueng Boraphet wetlands. Smart and Sustainable Utilization of Resources |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | พื้นที่ชุ่มน้ำ,ทรัพยากรธรรมชาติ,การอนุรักษ์,ภูมิปัญญาท้องถิ่น,ประมงพื้นบ้าน,การใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาด,การมีส่วนร่วมของประชาชน,มาตรการส่งเสริม |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ > สาขาวิชานิติศาสตร์ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | - |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 50000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 50,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 17 ตุลาคม 2565 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 17 ตุลาคม 2566 |
ประเภทของโครงการ : | การวิจัยพื้นฐาน |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | สังคมศาสตร์ |
สาขาวิชาการ : | สาขานิติศาสตร์ |
กลุ่มวิชาการ : | กฎหมายมหาชน |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ระดับชาติ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | โดยบึงบอระเพ็ดเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ มีประชาชนอาศัยอยู่ในบึงและอาศัยอยู่โดยรอบบึงบอระเพ็ด ประกอบอาชีพทางการเกษตร และ ทำประมง และประกอบธุรกิจการท่องเที่ยว โดยเรือนำเที่ยวในบึงบอระเพ็ด ชมบึงบัว ดูนกน้ำ ดูระบบนิเวศทางธรรมชาติของบึงบอระเพ็ด ซึ่งบึงบอระเพ็ดนั้นมีมีความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศธรรมชาติของบึงบอระเพ็ด ซึ่งบึงบอระเพ็ดเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ เป็นที่อนุบาลสัตว์น้ำ ของแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำน่าน ในฤดูน้ำหลากน้ำจะไหลเข้ามาในบึงบอระเพ็ดเป็นการรักษาระบบนิเวศทางน้ำ เป็นแหล่งเพาะพันธ์สัตว์น้ำของกรมประมง แบ่งพื้นที่เป็นเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ จำนวน 66,750 ไร่ เป็นเขตหวงห้ามจับสัตว์น้ำ และแบ่งเป็นพื้นที่ให้ประชาชนจับสัตว์น้ำได้ในบริเวณที่อนุญาติให้จับสัตว์อนุญาติ ซึ่งบึงบอระเพ็ดมีปลาน้ำจืดหลากหลายชนิด หลากหลายสายพันธุ์ มีปลาหายากและอนุรักษ์ของกรมประมง เช่น ปลาเสือตอ และปลาอีกหลากหลายชนิดในบึงบอระเพ็ดเริ่มที่จะสูญหายและพบยากในบริเวณบึงบอระเพ็ด ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบึงบอระเพ็ดและโดยรอบบึงบอระเพ็ดนั้น มีวิถีชีวิตอยู่กับบึงบอระเพ็ด อาศัยทำมาหากินจากการจับสัตว์น้ำ โดยมีการทำประมงพื้นบ้านเพื่อการดำรงชีวิต ซึ่งในปัจจุบันการจับสัตว์น้ำในบึงบอระเพ็ด มีการลักลอบจับสัตว์น้ำ จับสัตว์น้ำโดยผิดกฎหมาย และจับสัตว์น้ำในที่ห้ามจับ ใช้ไฟฟ้าซ็อตปลา การจับสัตว์น้ำเป็นไปเพื่อการพาณิชย์มากขึ้น เนื่องจากบึงบอระเพ็ดมีท่าแพปลาอยู่หลายแห่ง เช่น ท่าปลาดินแดง ท่าปลาทับกฤช ท่าปลาอุทยานนกน้ำ ท่าปลาเขาพนมเศษ ท่าปลารางบัว ท่าปลาคลองขุด ท่าปลาปลวงสูง ฯลฯ จะเห็นว่าจากท่าแพปลาปลาที่รับซื้อปลาจากผู้ที่ทำการประมง มีจำนวนมากบ่งบอกถึงการจับสัตว์น้ำในบึงบอระเพ็ดที่มีปลาเป็นจำนวนมาก และปรากฎตามรายงานของศูนย์วิจัยสัตว์น้ำบึงบอระเพ็ด ซึ่งวิถีชีวิตแบบดังเดิมโดยเป็นการทำประมงพื้นบ้านและ ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจับสัตว์น้ำ ใช้เครื่องมือจับสัตว์น้ำที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้น ลอบดักปลาในการจับสัตว์น้ำจากการที่ชาวประมงพื้นบ้านใช้จับสัตว์น้ำ ลดน้อยลง เนื่องจากต้องการจับสัตว์น้ำให้ได้ปริมาณเพิ่มมากขึ้น จึงเปลี่ยนเครื่องมือจับสัตว์น้ำ มีการใช้เครื่องผิดกฎหมายในการจับสัตว์น้ำ การซ็อตปลาที่ต้องการจับสัตว์น้ำเป็นจำนวนมากนั้นทำให้ปลาตัวเล็กตัวน้อย ตายเป็นจำนวนมาก การที่ประชาชนที่ทำการประมงในบึงบอระเพ็ดเปลี่ยนวิถีชีวิตจากเดิมโดยแต่เดิมนั้นวิถีชีวิตของคนกับบึงบอระเพ็ดจะเป็นในทางอาศัยพึ่งพากับธรรมชาติ เมื่อวิถีชีวิตเปลี่ยนเป็นการหาเพื่อการพาณิชย์มากขึ้น การทำลายทรัพยากรก็เพิ่มมากขึ้น ทำให้วิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจับสัตว์น้ำเริ่มค่อยๆเลื่อนหายไปด้วยเช่นกัน การที่มีการส่งเสริมให้มีการทำประมงพื้นบ้านเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของบึงบอระเพ็ดซึ่งเป็นการเรียนรู้วิถีชีวิตของคนกับบึงบอระเพ็ด และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางธรรมชาติอย่างยั่งยืน ดูวิถีของคนกับบึงบอระเพ็ด เป็นเสน่ห์ในการศึกษาวิถีชีวิตของชุมชนดั้งเดิม การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ และการอนุรักษ์ และการฟื้นฟู และคุ้มครองทรัพยากรทางธรรมชาติ
การทำประมงพื้นบ้านโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นสิ่งที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ เป็นประเพณีวัฒนธรรมของการทำประมงพื้นบ้าน เป็นการสืบทอดภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่นไปยังลูกหลาน เมื่อมีการจับสัตว์น้ำได้ ประชาชนก็นำมาทำการถนอมอาหาร เป็นปลาเกลือ ปลารมควันตามภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นการเพิ่มมูลค่าของอาหาร เก็บไว้ได้นาน มีการนำมาจำหน่ายในทางพาณิชย์ ซึ่งปลาบึงบอระเพ็ดจะมีรสชาติที่อร่อย และเป็นปลาน้ำจืดจากบึงเป็นบึงธรรมชาติ ดังนั้นควรส่งเสริมให้ประชาชนทำการประมงพื้นบ้าน โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจับสัตว์น้ำ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ และฟื้นฟู ทรัพยากรทางธรรมชาติของบึงบอระเพ็ดให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ดั้งเดิม และเป็นการใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาดและยั่งยืน เพื่อจะได้เป็นรูปแบบการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ดตามหลักเกณฑ์อนุสัญญาแรมซาร์จะได้ขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติตามอนุสัญญาแรมซาร์ เพื่อยับยั้งการถูกทำลายของระบบนิเวศวิทยาพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความหลากหลายทางธรรมชาติ |
จุดเด่นของโครงการ : | ส่งเสริมให้ประชาชนทำการประมงพื้นบ้าน โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจับสัตว์น้ำ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ และฟื้นฟู ทรัพยากรทางธรรมชาติของบึงบอระเพ็ดให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ดั้งเดิม และเป็นการใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาดและยั่งยืน เพื่อจะได้เป็นรูปแบบการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ดตามหลักเกณฑ์อนุสัญญาแรมซาร์จะได้ขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติตามอนุสัญญาแรมซาร์ เพื่อยับยั้งการถูกทำลายของระบบนิเวศวิทยาพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความหลากหลายทางธรรมชาติ |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1.เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กฎหมายไทยและกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับพื้นที่ชุมน้ำ
2.เพื่อหาแนวทางการมีส่วนร่วมภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำประมงพื้นบ้านของพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดร่วมกันระหว่างประชาชนเจ้าหน้าที่รัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3.Model Law รูปแบบการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น การทำประมงพื้นบ้านพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดและจัดทำคู่มือเผยแพร่การส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำประมงพื้นบ้านชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด |
ขอบเขตของโครงการ : | ขอบเขตการวิจัย
3.1 ขอบเขตด้านเนื้อหา
การวิจัยมีขอบเขตคลอบคลุมถึงประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
1) ขอบเขตด้านแนวคิดและกฎหมาย
1.1) ขอบเขตด้านหลักการ ทฤษฎี และแนวคิด
หลักการ
- หลักการบริหารจัดการ
- หลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- หลักการอนุรักษ์
- หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน
- หลักการให้บริการสาธารณะ
แนวคิด
- ภูมิปัญญาท้องถิ่น
- แนวคิดการกำกับดูแล
- แนวคิดการใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาด
1.2) กฎหมาย
กฎหมายไทย
กฎหมายที่ให้สิทธิแก่ประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมและอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติมีดังต่อไปนี้
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
- ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ การคุ้มครอง การส่งเสริม และการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติ มีดังต่อไปนี้
- พระราชบัญญัติประมง พ.ศ. 2558
- พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
- พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507
- พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
- พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518
- พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พ.ศ. 2485
พระราชบัญญัติจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละฉบับมีบทบัญญัติที่ให้อำนาจหน้าที่แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีดังต่อไปนี้
- พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537
- พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540
- พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
- พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457
ระเบียบปฏิบัติของหน่วยงานภาครัฐในการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ด มีดังต่อไปนี้
- ประกาศเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ดตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
- ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องกำหนดเขตห้ามล่าสัตว์ป่าตาม พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503
กฎหมายระหว่างประเทศ
- อนุสัญญาแรมซาร์ ค.ศ. 1975 (พ.ศ. 2518) (Ramsar Convention on Wetlands ค.ศ. 1975) (พ.ศ. 2518)
- อนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพ ค.ศ. 1992) (พ.ศ. 2535) (Convention on Biological Diversity, 1992) (พ.ศ. 2535)
3.2 ขอบเขตด้านประชากร
การวิจัยกำหนดกลุ่มประชากรที่ศึกษาใช้เก็บรวบรวมข้อมูลตามวิธีวิทยาการวิจัยที่กำหนดเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ด ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในหน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการธุรกิจแพปลา เกษตรกรผู้ใช้พื้นที่ทำการเกษตรในพื้นที่ภายในบริเวณเขตบึงบอระเพ็ดและบริเวณรอบบึงบอระเพ็ด ประชาชนในพื้นที่ภายในบริเวณเขตบึงบอระเพ็ดและบริเวณรอบบึงบอระเพ็ด เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ใช้ประชากรในการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ประกอบด้วย
1) ประชากรสัมภาษณ์เชิงลึก (In- depth Interview) จำนวน 30 คน ประกอบด้วย
(1) ประมงจังหวัดนครสวรรค์
(2) ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์
(3) ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครสวรรค์
(4) ผู้อำนวยการโครงการชลประทานนครสวรรค์
(5) หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด
(6) หัวหน้าสถานีวิจัยสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด
(7) ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์
(8) นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพระนอน
(9) นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแควใหญ่
(10) นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกรียงไกร
(11) นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพนมเศษ
(12) นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทับกฤช
(13) นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังมหากร
(14) ประชาชนที่ใช้ประโยชน์บึงบอระเพ็ด
(15) ประชาชนที่อาศัยโดยรอบบึงบอระเพ็ด
(16) ผู้ประกอบการภาคเอกชน
(17) ปราชญ์ชาวบ้าน
2 การสนทนากลุ่ม (Focus group) มีผู้เกี่ยวข้องในการหาคำตอบแนวทางการขอขึ้นทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด ตามหลักเกณฑ์ อนุสัญญาแรมซาร์ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องกับบึงบอระเพ็ดตามขอบเขตแห่งอำนาจตามกฎหมาย ประชาชนผู้ใช้ประโยชน์พื้นที่บึงบอระเพ็ด นักกฎหมาย และนักวิชาการ ปราชญ์ชาวบ้าน จำนวนทั้งหมด 30 คน ออกแบบร่วมกันเพื่อหาแนวทาง |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | 1.ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติและTCIกลุ่ม 1 จำนวน 1 บทความ
2.ได้รับแนวทางการรองรับการขึ้นทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดตามอนุสัญญาแรมซ่า
3.ได้รับแนวทางการคุ้มครองและการส่งเสริมการทำประมงพื้นบ้านพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด
4.ได้สื่อออนไลน์ส่งเสริมด้านกฎหมายภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำประมงพื้นบ้านบึงบอระเพ็ดจำนวน 1 ชุด |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | คำนิยามศัพท์
พื้นที่ชุ่มน้ำ (Wetlands) หมายความว่า พื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด
ทรัพยากรธรรมชาติ (Natural Resources) หมายความว่า ระบบนิเวศวิทยาของบึงบอระเพ็ดมีความหลากหลายทางชีวภาพ มีพืชพันธุ์ไม้น้ำและสัตว์นานาชนิด บึงบัว นกน้ำหลากหลายสายพันธุ์ การอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ
การอนุรักษ์ (Conservation) หมายความว่า การคุ้มครองและใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติของพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดของประชาชนในท้องถิ่นโดยมีการบริหารจัดการที่เหมาะสมเพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาตินั้นคงมีอยู่ให้ได้ใช้ประโยชน์อย่างยาวนาน ตอบสนองความต้องการของคนรุ่นต่อไปได้
ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายความว่า ความสามารถในการใช้พื้นความรู้สร้างสรรค์งานเพื่อพัฒนาและดำรงชีวิตของคนในท้องถิ่น
ประมงพื้นบ้าน หมายความว่า การทำการประมงในบึงบอระเพ็ดไม่ว่าจะใช้ เรือประมง หรือใช้เครื่องมือโดยไม่ใช้เรือประมง
การใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาด (Wise Use) หมายความว่า การคุ้มครองพื้นที่ชุ่มน้ำของบึงบอระเพ็ดโดยการใช้อย่างชาญฉลาด เป็นการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนในทรัพยากรทางธรรมชาติของพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดเพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น โดยที่สามารถคงไว้ซึ่งคุณค่าทางธรรมชาติของระบบนิเวศของบึงบอระเพ็ดไว้ได้ตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ยังคงมีทรัพยากรใช้และหมุนเวียนต่อไปได้
การมีส่วนร่วมของประชาชน (Public Participation) หมายความว่า กระบวนการหรือการดำเนินการโดยสมัครใจของภาคประชาชนที่จะเข้ามามีส่วนร่วมหรือเกี่ยวข้องในขั้นตอนต่าง ๆ ขององค์กรภาครัฐ ในการดำเนินกิจกรรมโดยประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ การส่งเสริม การใช้ประโยชน์ในทรัพยากร การฟื้นฟู โดยการเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด
มาตรการส่งเสริม (Supporting Measures) หมายความว่า แนวทางสนับสนุนเพื่อเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด
1.1) ขอบเขตด้านหลักการ ทฤษฎี และแนวคิด
หลักการ
- หลักการบริหารจัดการ
- หลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- หลักการอนุรักษ์
- หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน
- หลักการให้บริการสาธารณะ
แนวคิด
- ภูมิปัญญาท้องถิ่น
- แนวคิดการกำกับดูแล
- แนวคิดการใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาด
1.2) กฎหมาย
กฎหมายไทย
กฎหมายที่ให้สิทธิแก่ประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมและอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติมีดังต่อไปนี้
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
- ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ การคุ้มครอง การส่งเสริม และการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติ มีดังต่อไปนี้
- พระราชบัญญัติประมง พ.ศ. 2558
- พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
- พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507
- พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
- พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518
- พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พ.ศ. 2485
พระราชบัญญัติจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละฉบับมีบทบัญญัติที่ให้อำนาจหน้าที่แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีดังต่อไปนี้
- พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537
- พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540
- พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
- พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457
ระเบียบปฏิบัติของหน่วยงานภาครัฐในการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ด มีดังต่อไปนี้
- ประกาศเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ดตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
- ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องกำหนดเขตห้ามล่าสัตว์ป่าตาม พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503
กฎหมายระหว่างประเทศ
- อนุสัญญาแรมซาร์ ค.ศ. 1975 (พ.ศ. 2518) (Ramsar Convention on Wetlands ค.ศ. 1975) (พ.ศ. 2518)
- อนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพ ค.ศ. 1992) (พ.ศ. 2535) (Convention on Biological Diversity, 1992) (พ.ศ. 2535) |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | สมมุติฐานการวิจัย
การมีส่วนร่วมของประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดตามขอบเขตแห่งอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ในการส่งเสริมการอนุรักษ์การทำประมงพื้นบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น การฟื้นฟู คุ้มครอง การใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างชาญฉลาดและยั่งยืน เพื่อเป็นแนวทางในการขึ้นทะเบียนพื้นทีชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศตามอนุสัญญาแรมซาร์ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติของบึงบอระเพ็ดให้มีระบบนิเวศทางธรรมชาติที่สมบูรณ์และยั่งยืน |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | การวิจัยกำหนดกลุ่มประชากรที่ศึกษาใช้เก็บรวบรวมข้อมูลตามวิธีวิทยาการวิจัยที่กำหนดเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ด ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในหน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการธุรกิจแพปลา เกษตรกรผู้ใช้พื้นที่ทำการเกษตรในพื้นที่ภายในบริเวณเขตบึงบอระเพ็ดและบริเวณรอบบึงบอระเพ็ด ประชาชนในพื้นที่ภายในบริเวณเขตบึงบอระเพ็ดและบริเวณรอบบึงบอระเพ็ด
การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ประกอบด้วย
1) ประชากรสัมภาษณ์เชิงลึก (In- depth Interview) จำนวน 30 คน ประกอบด้วย
(1) ประมงจังหวัดนครสวรรค์
(2) ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์
(3) ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครสวรรค์
(4) ผู้อำนวยการโครงการชลประทานนครสวรรค์
(5) หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด
(6) หัวหน้าสถานีวิจัยสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด
(7) ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์
(8) นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพระนอน
(9) นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแควใหญ่
(10) นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกรียงไกร
(11) นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพนมเศษ
(12) นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทับกฤช
(13) นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังมหากร
(14) ประชาชนที่ใช้ประโยชน์บึงบอระเพ็ด
(15) ประชาชนที่อาศัยโดยรอบบึงบอระเพ็ด
(16) ผู้ประกอบการภาคเอกชน
(17) ปราชญ์ชาวบ้าน
การสนทนากลุ่ม (Focus group) มีผู้เกี่ยวข้องในการหาคำตอบแนวทางการขอขึ้นทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด ตามหลักเกณฑ์ อนุสัญญาแรมซาร์ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องกับบึงบอระเพ็ดตามขอบเขตแห่งอำนาจตามกฎหมาย ประชาชนผู้ใช้ประโยชน์พื้นที่บึงบอระเพ็ด นักกฎหมาย และนักวิชาการ ปราชญ์ชาวบ้าน จำนวนทั้งหมด 30 คน ออกแบบร่วมกันเพื่อหาแนวทาง
ด้านพื้นที่การศึกษา
พื้นที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นพื้นที่ในเขตบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ เป็นพื้นที่ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เนื่องจากเป็นพื้นที่เขตบึงบอระเพ็ดและเป็นพื้นที่ที่ใช้ประชากรในการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และประชากรสนทนากลุ่ม (Focus group) |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | ผู้วิจัยศึกษาและวิเคราะห์กฎหมายไทยและกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับพื้นที่ชุมน้ำ หาแนวทางการมีส่วนร่วมภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำประมงพื้นบ้านของพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดร่วมกันระหว่างประชาชนเจ้าหน้าที่รัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสร้างModel Law รูปแบบการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น การทำประมงพื้นบ้านพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดและจัดทำคู่มือเผยแพร่การส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำประมงพื้นบ้านชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 195 ครั้ง |