รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000609
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล AR และ VR สามภาษา (ไทย-อังกฤษ-จีน)เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน (อุทยานนกน้ำนครสวรรค์)ในเขตพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Development of Digital Media Technology AR and VR in Three Languages to Promote Sustainable Ecotourism (Nakhon Sawan Bird Park) in Bueng Boraphet Wetlands Nakhon Sawan Province
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เทคโนโลยีเสมือนผสานโลกแห่งความจริง เทคโนโลยีการจำลองสภาพแวดล้อมจริงและสภาพแวดล้อมจากจินตนาการแบบ 360 องศา การเรียนรู้ภาษาผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล ARและ VR
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ > สาขาวิชาภาษาต่างประเทศ
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :100000
งบประมาณทั้งโครงการ :100,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :17 มกราคม 2565
วันสิ้นสุดโครงการ :17 มกราคม 2566
ประเภทของโครงการ :การวิจัยพื้นฐาน
กลุ่มสาขาวิชาการ :มนุษยศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ปัจจุบันอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีความสำคัญอย่างมากเนื่องจากสามารถสร้างรายได้ให้แก่ประเทศต่าง ๆ นอกจากนี้ยังเป็นการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ และจุดเด่นของประเทศต่าง ๆ ได้โดยเฉพาะประเทศไทยจากข้อมูลการท่องเที่ยวในอดีตพบว่ามีอัตราการเจริญเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง (อัญชลี อติแพทย์, 2553) นอกจากนี้ยังพบว่าการท่องเที่ยวภายในประเทศไทยไม่เพียงแต่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจด้านอุตสาหกรรรมการท่องเที่ยวแต่ยังสามารถขับเคลื่อนธุรกิจต่าง ๆ เช่น ธุรกิจสายการบิน ธุรกิจโรงแรมและที่พัก ธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจการนำเที่ยว และธุรกิจชุมชน จากข้อมูลการท่องเที่ยวพบว่าการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (Ecotourism) เป็นรูปแบบหนึ่งของการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนซึ่งหมายถึงการการท่องเที่ยวที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมและผู้ที่มาท่องเที่ยวนั้นจำเป็นต้องไม่ทำลายสภาพแวดล้อม เช่น ทรัพยากรทางธรรมชาติของแหล่งท่องเที่ยวและชุมชน (วีกิพีเดีย, 2562) ยิ่งไปกว่านั้นแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนสามารถนำไปปรับใช้ได้กับการท่องเที่ยวหลากหลายรูปแบบ ทั้งนี้รวมถึงการท่องเที่ยวมวลชน (mass tourism) การท่องเที่ยวแบบเฉพาะกลุ่ม (niche tourism) แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนนั้นจำเป็นต้องคำนึงถึงด้านสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมวัฒนธรรม และมีแนวทางการท่องเที่ยวเชิงกิจกรรมที่เน้นความยั่งยืนประกอบด้วย 1) ใช้ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการท่องเที่ยวโดยอนุรักษ์ไว้ซึ่งระบบนิเวศ ทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ 2) เคารพและอนุรักษ์ภูมิปัญญา มรดกทางสังคมวัฒนธรรมดั้งเดิมวิถีชีวิตค่านิยมของชุมชนท้องถิ่น รวมถึงการทำความเข้าใจและเคารพในวัฒนธรรมที่แตกต่าง 3) ก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจในระยะยาวและเป็นรูปธรรมต่อทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้ได้รับผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม เช่น สร้างการจ้างงานที่มั่นคงสร้างโอกาสการมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นและทำประโยชน์แก่สังคมท้องถิ่นที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวรวมถึงมีส่วนในการแก้ปัญหาความยากจน (World Tourism Organization, 2019) จังหวัดนครสวรรค์เป็นอีกเมืองหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวจากข้อมูลพบว่าสำนักงานท่องเที่ยวจังหวัดนครสวรรค์ได้มีประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวไว้ดังต่อไปนี้ การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงเกษตรภายนอกเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์์ซึ่งภายในเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์ยังมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงชุมชนที่น่าสนใจได้แก่บริเวณบึงบอระเพ็ดซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 4000 ไร่ แบ่งเป็นเขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์นำ้ เขตอนุญาตให้ทำการประมง ซึ่งบริเวณบึงบอระเพ็ดมีมากกว่า 5,000 ครัวเรือนปราฎตามการรายงานของกรมประมง (ฐิตาภรณ์ น้อยนาลุ่ม, 2564) ซึ่งเขตพื้นที่บึงบอระเพ็ดดังกล่าวมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ เช่น อุทยานนกน้ำ บึงบัว และพิพิธพันธ์สัตว์น้ำ และอื่น ๆ สืบเนื่องจากสถานการณ์์ฺปัจจุบันจากการระบาดของไวรัสโคโรน่าหรือโควิด 19 ส่งผลให้เศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวภายในจังหวัดนครสวรรค์ลดน้อยลงดังนั้นจึงทำให้รายได้ของคนในเขตพื้นที่จากธุรกิจนำเที่ยว ธุรกิจที่พัก ธุรกิจร้านอาหาร และธุรกิจชุมชนลดน้อยลงด้วย จากที่กล่าวมาข้างต้นผู้วิจัยจึงต้องการส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวภายในจังหวัดนครสวรรค์โดยการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ชุมน้ำบึงบอระเพ็ดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน อีกทั้งการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืนสามารถทำในรูปแบบสื่อดิจิทัลเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมด้วยตนเองของประชาชนในเขตพื้นที่ และผู้ที่สนใจ ดังนั้นการวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างยั่งยืนโดยใช้เทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกแห่งความจริง และการจำลองภาพให้เสมือนจริงแบบ 360 องศา สามภาษา (ไทย-อังกฤษ-จีน) ในเขตพื้นที่ชุมน้ำบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์?
จุดเด่นของโครงการ :เป็นการสร้างสื่อเทคโนโลยี AR และ VR สามภาษาเพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อสร้างสื่อเทคโนโลนีดิจิทัลเทคโนโลยีออนไลน์ AR และ VR สามภาษา (ไทย-อังกฤษ-จีน) ในการเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรม และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน (อุทยานนกน้ำนครสวรรค์) ในเขตพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดจังหวัดนครสวรรค์?? 2. เพื่อศึกษาคุณภาพภาพสื่อดิจิทัลเทคโนโลยีออนไลน์ AR และ VR สามภาษา (ไทย-อังกฤษ-จีน) ด้านการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน (อุทยานนกน้ำนครสวรรค์) ในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดจังหวัดนครสวรรค์?? 3. เพื่อสำรวจความพึงพอใจของประชาชนในเขตพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด และประชาชนทั่วไปด้านการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แบบยั่งยืน (อุทยานนกน้ำนครสวรรค์) โดยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล AR และ VR สามภาษา (ไทย-อังกฤษ-จีน)?
ขอบเขตของโครงการ :ภายในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด อุทยานนกน้ำ จังหวัดนครสวรรค์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1) ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถพัฒนาทักษะการเรียนรู้ภาษา (อังกฤษ-ไทย-จีน) เพื่อการสื่อสารและวัฒนธรรมอีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวอนุรักษ์อย่างยั่งยืนโดยการเรียนรู้แหล่งท่องเที่ยวของชาวนครสวรรค์ (อุทยานนกน้ำนครสวรรค์) ในเขตพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดให้แก่ ประชาชนทั่วไป นักท่องเที่ยว และผู้ที่สนใจ 2) ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัล Augmented Reality (AR) และ Virtual Reality (VR) เป็นสื่อในการเรียนรู้และพัฒนาทักษะการสื่อสารสามภาษา (อังกฤษ-ไทย-จีน) ให้แก่ผู้ที่สนใจในการเรียนรู้แหล่งท่องเที่ยวในเขตพีื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด (อุทยานนกน้ำนครสวรรค์) จังหวัดนครวรรค์ 3) ผลการวิจัยในครั้งนี้จะทำให้ได้สื่อเทคโนโลยี Augmented Reality (AR) และ Virtual Reality (VR) จำนวน 1 เรื่อง ที่เป็นการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวอนุรักษ์อย่างยั่งยืน (อุทยานนกน้ำนครสวรรค์) ของพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ 4) การวิจัยครั้งนี้เป็นการส่งเสริมการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนที่เน้นการสร้างความยั่งยืนในการพัฒนาอีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันด้านธุรกิจการบริการและการท่องเที่ยวที่มีศักยภาพให้เติบโต 5) ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการในระดับชาติหรือนานาชาติได้อย่างน้อย 1 เรื่อง
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :1. แนวคิดและทฤษฎีเทคโนโลยีโลกเสมือนผสานความจริง (Augmented Reality: AR) 2. แนวคิดและทฤษฎีการจำลองภาพให้เสมือนจริงแบบ 360 องศา 3. ทฤษฎีการสร้างและพัฒนาสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ภาษา 4. ทฤษฎีแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง?(Self-directed Learning) 5. แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการท่องเที่ยว
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :1. สื่อเทคโนโลนีดิจิทัลเทคโนโลยีออนไลน์ AR และ VR สามภาษา (ไทย-อังกฤษ-จีน) สามารถส่งเสริมและประชาสัมพันธ์แหล่งการท่องเที่ยวและการเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน (อุทยานนกน้ำนครสวรรค์) ในเขตพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดจังหวัดนครสวรรค์?? 2. คุณภาพภาพสื่อดิจิทัลเทคโนโลยีออนไลน์ AR และ VR สามภาษา (ไทย-อังกฤษ-จีน) ด้านการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน (อุทยานนกน้ำนครสวรรค์) ในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดจังหวัดนครสวรรค์?อยู่ในเกณฑ์ดี 3. ประชาชนที่วไป และนักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แบบยั่งยืน (อุทยานนกน้ำนครสวรรค์) โดยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล AR และ VR สามภาษา (ไทย-อังกฤษ-จีน)?
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :1. เก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาบริบทและศักยภาพของท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แบบยั่งยืนในเขตพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด โดยการสัมภาษณ์กลุ่มผู้นำชุมชน ตัวแทนกลุ่มอาชีพต่าง ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด (อุทยานนกน้ำนครสวรรค์) 2. สํารวจความต้องการของประชาชนทั่วไปด้านการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แบบยั่งยืน (อุทยานนกนํ้านครสวรรค์) โดยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล AR และ VR สามภาษา (ไทย-อังกฤษ-จีน) 3. สรุปแนวความคิด (Concept mapping) ในการออกแบบจากการสัมภาษณ์เชิงลึก และความต้องการของประชาชนทั่วไปด้านการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แบบยั่งยืน (อุทยานนกนํ้านครสวรรค์) โดยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล AR และ VR สามภาษา (ไทย-อังกฤษ-จีน) 4. สังเคราะห์ข้อมูลการศึกษาบริบทและความต้องการเพื่อกําหนดเป็นกรอบเนื้อหาของสื่อให้แก่ ประชาชนในเขตพื้นที่ชุ่มนํ้าบึงบอระเพ็ด ผู้ที่สนใจ และนักท่องเที่ยวภายในประเทศไทยและต่างประเทศ 5. ยกร่างสื่อเทคโนโลนีดิจิทัลเทคโนโลยีออนไลน์ AR และ VR สามภาษา (ไทย-อังกฤษ-จีน) ในการเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรม และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน (อุทยานนกนํ้านครสวรรค์) ในเขตพื้นที่ชุ่มนํ้าบึงบอระเพ็ดจังหวัดนครสวรรค์ 6. ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเข้าสู่กระบวนการผลิตต่อไป 7. นำสื่อดิจิทัลเทคโนโลยีออนไลน์ AR และ VR สามภาษา (ไทย-อังกฤษ-จีน) ไปทดลองใช้เพื่อศึกษา คุณภาพภาพของสื่อด้านการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน (อุทยานนกนํ้านครสวรรค์) ในพื้นที่ชุ่มนํ้าบึงบอระเพ็ดจังหวัดนครสวรรค์ 8. สร้างป้ายสัญลักษณ์ (Marker) ให้กับภาพที่เป็นจุดเด่นในแต่ละสถานที่เพื่อให้ผู้อ่านเห็น ความเคลื่อนไหวผ่านโมเดล 3 มิติ และคลิปวิดีโอที่ซ่อนอยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ ผ่านสัญลักษณ์ 9. สํารวจความพึงพอใจของประชาชนในเขตพื้นที่ชุ่มนํ้าบึงบอระเพ็ด และประชาชนทั่วไปด้านการ ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แบบยั่งยืน (อุทยานนกนํ้านครสวรรค์) โดยการใช์เทคโนโลยีดิจิทัล AR และ VR สามภาษา (ไทย-อังกฤษ-จีน) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1. แบบสํารวจความต้องการและความพึงพอใจของประชาชนทั่วไปด้านการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แบบยั่งยืน (อุทยานนกนํ้านครสวรรค์) โดยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล AR และ VR สามภาษา (ไทย-อังกฤษ-จีน) 2. แบบสัมภาษณ์สัมภาษณ์เก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาบริบทและศักยภาพของท้องถิ่น ที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แบบยั่งยืนในเขตพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด โดยการสัมภาษณ์กลุ่มผู้นำชุมชน ตัวแทนกลุ่มอาชีพต่าง ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด (อุทยานนกน้ำนครสวรรค์) โดยมีเนื้อหา ใน 4 ประเด็นดังนี้ 1. จุดเด่นที่ควรส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ของพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ (อุทยานนกน้ำ) 2. จุดด้อยที่ควรพัฒนาของ พื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ (อุทยานนกน้ำ) 3. ช่องทางการ ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับ การท่องเที่ยวของพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ (อุทยานนกน้ำ) ในอดีต 4. ความต้องการในการ ประชาสัมพันธ์พื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ (อุทยานนก น้ำ) โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเทคโนโลยีออนไลน์ AR และ VR สามภาษา (ไทย-อังกฤษ-จีน) สำหรับนักท่องเที่ยวภายในประเทศและต่างประเทศ การเก็บรวบรวมข้อมูล วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้ระบบ AR และ VR ในการนำเสนอข้อมูล ได้แก่ นกประจำถิ่น นกอพยพ นกอพยพและนกประจำถิ่น ประวัติอุทยานนกน้ำ แหล่งท่องเที่ยวในอุทยานนกน้ำให้กับประชาชนทั่วไปที่มาท่องเที่ยวในเขตชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ (อุทยานนกน้ำ) วิธีการการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์โดยสัมภาษณ์กลุ่มผู้นําชุมชน ตัวแทนกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนในพื้นที่ชุ่มนํ้าบึงบอระเพ็ดเพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาบริบทและศักยภาพของ ท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แบบยั่งยืน ในเขตพื้นที่ชุ่มนํ้าบึงบอระเพ็ด (อุทยานนกนํ้านครสวรรค์) สถิติที่ใช้ในการวิจัย 1) ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึกในการเก็บข้อมูลและประเด่นความต้องการการใช้สื่อในการประชาสัมพันธ์ AR และ VR การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืนในพื้นที่อุทยานนกน้ำนครสวรรค์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนา 3) การวิเคราะห์ข้อมูลแบบประเมินความพึงพอใจในการใช้ระบบ AR และ VR วิเคราะห์โดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ประชากรที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้คือ กลุ่มผู้นำชุมชน, ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณเขตพื้นที่ชุ่มนํ้าบึงบอระเพ็ด, ผู้ประกอบการเอกชน, ผู้ประกอบการรัฐ และนักท่องเที่ยวทั่วไปในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์หรือจังหวัดใกล้เคียงที่เดินทางมาท่องเที่ยวที่อุธยานนกน้ำ จํานวน 500 คน ขนาดตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างในการสัมภาษณ์ครั้งนี้มีจำนวนทั้งหมด 120 คน ได้แก่ กลุ่มผู้นำชุมชน จำนวน 5 คน, ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณเขตพื้นที่ชุ่มนํ้าบึงบอระเพ็ด จำนวน 25 คน, ผู้ประกอบการเอกชน จำนวน 5 คน, ผู้ประกอบการรัฐ จำนวน 5 คน, และนักท่องเที่ยวทั่วไปในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์หรือจังหวัดใกล้เคียง จำนวน 80 คน, การสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นการเลือกกลุ่มที่ผู้วิจัยใช้ และเหตุผลที่ผู้วิจัยในการสุ่มแบบดังกล่าวคือเพื่อความสะดวกและเหมาะสมในการวิจัยใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่สัมภาษณ์ จำนวน 40 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสำรวจความต้องการและความพึงพอใจในครั้งนี้มีจำนวน 80 คน สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (Convenient Sampling) เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างตาม ความสะดวกในเรื่องที่ศึกษา เช่น ใกล้บ้าน นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยววิธีการกำหนดกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :เป็นโครงการพัฒนาสื่อโดยใช้เทคดนโลยี AR และ VR เพื่อส่งเสริมการและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในจังหวัดนครสวรรค์ บึงบอระเพ็ด อุทยานนกน้ำ
จำนวนเข้าชมโครงการ :109 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาววิมลพร ระเวงวัลย์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย50
นางสาวศราธรณ์ หมั่นปรุ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย50

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด