รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000606
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :เเนวทางการรองรับการขึ้นทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดที่มีความสำคัญระหว่างนานาชาติตามอนุสัญญาเเรมซาร์ เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาดเเละยั่งยืน
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Guidelines to support the registration of important wetlands in Bueng Boraphet during the Ramsar Convention for smart and sustainable use
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :การใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาด
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ > สาขาวิชานิติศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :-
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :250000
งบประมาณทั้งโครงการ :250,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :17 ตุลาคม 2565
วันสิ้นสุดโครงการ :17 ตุลาคม 2566
ประเภทของโครงการ :การวิจัยพื้นฐาน
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขานิติศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :กฎหมายมหาชน
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :บึงบอระเพ็ดเป็นบึงน้ำจืดมีลักษณะเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำขนาดใหญ่ที่สุดของภาคเหนือตอนล่าง ตั้งอยู่ในเขตปกครอง 3 พื้นที่ คือ อำเภอเมือง อำเภอท่าตะโก และอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ มีขนาดของพื้นที่ 132,737.50 ไร่ บึงแห่งนี้มีสภาพเป็นที่ราบลุ่ม มีแหล่งน้ำธรรมชาติต่าง ๆ ไหลมารวมกันและไหลผ่านพื้นที่ลงสู่แม่น้ำน่าน ในปี พ.ศ. 2470 ได้มีการสร้างทำนบกั้นน้ำและประตูระบายน้ำ ทำให้น้ำฝน น้ำป่าไหลบ่าลงมาถูกเก็บกักไว้ เกิดเป็นบึงน้ำจืดขนาดใหญ่ น้ำที่ท่วมเกินระดับเก็บกักไหลลงสู่แม่น้ำน่านทางประตูระบายน้ำ ด้านเหนือของบึงมีแม่น้ำน่านไหลผ่าน ด้านใต้มีลำห้วยไหลลงบึง ด้านตะวันออกมีพื้นที่น้ำจรดถึงเขาพนมเศษ ระดับความลึกเฉลี่ยของน้ำในบึงประมาณ 1.6 เมตร ในบึงมีเกาะเล็กประมาณ 10 เกาะ เนื้อที่รวมประมาณ 1.44 ตารางกิโลเมตร (900 ไร่) มีพืชลอยน้ำเกาะกลุ่มอยู่ทั่วไป มีทุ่งบัว และบริเวณที่ลุ่มชื้นแฉะ ป่าพรุ ป่าละเมาะริมบึง ซึ่งเป็นพื้นที่รอยต่อระหว่างระบบนิเวศน้ำและบก มีพืชน้ำขึ้นอยู่หนาแน่น รอบบึงเป็นทุ่งนาและทุ่งหญ้า เนื่องจากมีลำน้ำลำห้วยไหลลงสู่บึง จึงพัดพาตะกอนและธาตุอาหารมาสะสม ทำให้อุดมด้วยพืชและสัตว์นานาชนิด ที่สำคัญคือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำวัยอ่อนให้กับแม่น้ำ เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยหากินสร้างรังวางไข่ ของนกนานาชนิด บึงบอระเพ็ดมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก เป็นระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำ เป็นแหล่งน้ำที่มีความเหมาะสมสำหรับทรัพยากรประมง จึงเป็นแหล่งประมงของชุมชนที่เป็นเศรษฐกิจสำคัญของชาวนครสวรรค์ นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่รองรับน้ำที่ไหลมาจากภาคเหนือ ช่วยป้องกันน้ำหลากท่วมพื้นที่ตอนล่าง เป็นส่วนหนึ่งของต้นกำเนิดแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นสายเลือดและเส้นชีวิตของชาวไทย เป็นพื้นที่ที่รองรับและเก็บกักตะกอน ธาตุอาหาร รวมถึงสารพิษจากพื้นที่เกษตรกรรมในภาคเหนือตอนบน เป็นแหล่งน้ำสำคัญเพื่อการเกษตร เป็นแหล่งทรัพยากรประมงที่สำคัญที่สุดแหล่งหนึ่งของประเทศไทย มีคุณค่าทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม เป็นแหล่งประกอบอาชีพและรายได้ของชุมชน มีประโยชน์ต่อการคมนาคม มีคุณค่าทางนันทนาการและการท่องเที่ยว รวมทั้งเป็นแหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นแหล่งพันธุกรรมของพืชและสัตว์นานาชนิด มีคุณค่าทางนิเวศวิทยาการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ สำหรับบึงบอระเพ็ดโดยพื้นฐานเป็นพื้นที่ที่มีลักษณะของระบบนิเวศที่มีความอุดมสมบูรณ์และเป็นแหล่งน้ำที่ประชาชนในบริเวณนั้นได้ใช้ประโยชน์ทั้งทางด้านการอุปโภค บริโภค การประกอบอาชีพ การนันทนาการและการท่องเที่ยว บึงบอระเพ็ดมีลักษณะของการเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงได้ยื่นขอขึ้นทะเบียนเป็น Ramsar Site เมื่อ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2551 แต่ยังไม่ได้รับการพิจารณาให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำระหว่างประเทศตามอนุสัญญาแรมซ่าร์ จากสภาพของบึงบอระเพ็ดที่มีลักษณะเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำตามหลักเกณฑ์ของพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญ กรมประมงจึงได้ยื่นขอขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำตามอนุสัญญาแรมซาร์ว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ (Ramsar Convention on Wetlands, 1975) (พ.ศ. 2518) เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2551 และอยู่ในระหว่างการพิจารณาการขอขึ้นทะเบียน เป็นเวลา 15 ปีล่วงเลยมาจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่ได้รับการพิจารณา จึงสะท้อนให้เห็นว่าบึงบอระเพ็ดในปัจจุบันเผชิญกับปัญหาหลักในเรื่อง ความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศทางน้ำ ใน 2 สาเหตุ คือปัญหาความเสื่อมโทรมตามธรรมชาติและเกิดจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรบึงบอระเพ็ดในการทำประมง การเกษตร เนื่องจากพื้นที่บึงบอระเพ็ดนั้นมีเขตติดต่อกันหลายอำเภอมีเขตอนุรักษ์ห้ามจับสัตว์น้ำ และมีเขตอนุญาตให้ประชาชนจับสัตว์น้ำในเขตบึงบอระเพ็ดได้ และจากการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางระบบนิเวศทางธรรมชาติ และการตั้งร้านค้าของผู้ประกอบการธุรกิจเอกชน โรงแรม และ การลักลอบจับสัตว์น้ำในเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ และลักลอบสูบน้ำในบริเวณบึงบอระเพ็ด การทำนาบัว และทำนาข้าวในเขตบึงบอระเพ็ด การตกค้างของสารเคมีที่ปนเปื้อนอยู่ในบริเวณบึงบอระเพ็ด การที่ธนารักษ์ให้เช่าพื้นที่ราขพัสดุในเขตพื้นที่ของบึงบอระเพ็ดให้ประชาชนเพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตรและเป็นที่อยู่อาศัย เพื่อแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่บึงบอระเพ็ดใน พ.ศ 2563 ให้ประชาชนเข้ามาตรวจสอบสิทธิในการเช่าถือประโยชน์ในที่ดินบึงบอระเพ็ดกับกรมธนารักษ์ โดยปฏิบัติตามเงื่อนไขของกรมธนารักษ์เพื่อลดปัญหาการบุกรุกที่ดินของบึงบอระเพ็ด หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องต้องมีมาตรการควบคุมการใช้ประโยชน์พื้นที่เช่าราชพัสดุ โดยต้องมีมาตราการส่งเสริมให้ประชาชนทำการเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่เช่าในเขตบึงบอระเพ็ด เพื่อลดปัญหาสารเคมีตกค้างในบริเวณพื้นที่บึง หน่วยงานประมงซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการดูแลพื้นที่บึงบอระเพ็ดตามขอบเขตแห่งอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย มีการส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงปลาในกระชังในพื้นที่บึงบอระเพ็ดและอนุญาติให้ประชาชนจับสัตว์น้ำและทำการประมงในพื้นที่อนุญาติให้ทำการจับสัตว์น้ำได้ แต่ต้องมีการรักษาระดับน้ำเพื่อการขยายพันธ์ของสัตว์น้ำโดยมีการสูบน้ำจากแม่น้ำน่านเข้ามารักษาระดับน้ำในบึงบอระเพ็ด และยังมีการผันน้ำจากบึงบอระเพ็ดไปใช้ทำคลองชลประทานให้พื้นที่ที่อยู่รอบบึงบอระเพ็ดทำการเกษตร และใช้อุปโภค และการบริโภค ดังนั้นจะเห็นว่าบึงบอระเพ็ดมีหลายหน่วยงานตามขอบเขตอำนาจแห่งกฎหมายในพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยงานนั้นๆ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายในการปฏิบัติงาน เช่น กระทรวงการเกษตร กรมประมง กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม กรมธนารักษ์ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องตามขอบเขตแห่งอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย โดยมีการบริหารจัดการร่วมกันตามอำนาจหน้าที่ แต่ปัญหาความเสื่อมโทรมทางระบบนิเวศทางธรรมชาติก็ยังคงมีอยู่ จากปัญหาดังกล่าวข้างต้นทำให้บึงบอระเพ็ดเสื่อมโทรม ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางธรรมชาติ เนื่องจากบึงบอระเพ็ดเป็นที่อยู่ของนกน้ำ และนกอพยพย้ายถิ่น มีความหลากหลายทางธรรมชาติ และเป็นที่อนุรักษ์เพาะพันธ์สัตว์น้ำจืด เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำของกรมประมง จากการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีอยู่ในบึงบอระเพ็ดส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศถูกทำลายลงผู้วิจัยจึงเห็นว่าควรหาแนวทางการขึ้นทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดที่มีความสำคัญเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ ตามอนุสัญญาแรมซาร์ สำหรับประเทศไทยโดยสภาพทางภูมิศาสตร์เป็นพื้นที่ราบลุ่มมีพื้นที่ชุ่มน้ำกระจายไปทั่วภูมิภาคของประเทศ จำนวน 50 แห่ง (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2558 ,หน้า 5-8) และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น Ramsar Site จำนวน 14 แห่ง คือ พื้นที่ชุ่มน้ำพรุควนขี้เสียนในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง พื้นที่ชุ่มน้ำดอนหอยหลอด จังหวัดสมุทรสงคราม พื้นที่ชุ่มน้ำปากแม่น้ำกระบี่ จังหวัดกระบี่ พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พื้นที่ชุ่มน้ำบึงหนองหาร จังหวัดสกลนคร พื้นที่ชุ่มน้ำเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ พื้นที่ชุ่มน้ำเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพสยามราชกุมารี (พรุโต๊ะแดง) จังหวัดนราธิวาส พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม – เขตห้ามล่าสัตว์ป่า หมู่เกาะลิบง – ปากน้ำตรัง จังหวัดตรัง พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติแหลมสน – ปากคลองกะเปอร์ – ปากแม่น้ำกระบุรี จังหวัดระนอง พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา จังหวัดพังงา พื้นที่ชุ่มน้ำเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย จังหวัดเชียงราย พื้นที่ชุ่มน้ำกุดทิง จังหวัดบึงกาฬ (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2558 ,หน้า 5-8) โดยศึกษาแนวทางจากพื้นที่ชุ่มน้ำดังกล่าวข้างต้นที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น Ramsar Site มาใช้เป็นแนวทางการบริหารจัดการระหว่างประชาชนผู้ใช้ประโยชน์เข้ามามีส่วนร่วม ร่วมกับ หน่วยงานรัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ เพื่อเป็นแนวทางให้พื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ เพื่อให้มีการปกป้อง ดูแล รักษาระบบนิเวศของบึงบอระเพ็ดให้มีความอุดมสมบูรณ์และรักษาความสมดุลของระบบนิเวศทางธรรมชาติที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ และเป็นการใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาดและยั่งยืน และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการรักษาระบบนิเวศทางธรรมชาติของบึงบอระเพ็ด ตามหลักเกณฑ์ของอนุสัญญาแรมซาร์ ซึ่งพื้นที่ชุ่มน้ำในประเทศภาคีสมาชิกจะต้องมีพันธะปฏิบัติตามอนุสัญญาดังกล่าว ประเทศไทยก็เป็นภาคีสมาชิกตามอนุสัญญาแรมซาร์ด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่แรมซ่าร์นั้นจะสะท้อนให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ตามระบบนิเวศและมีการจัดการที่ดีที่สามารถคงความอุดมสมบูรณ์ไว้ได้ในขณะเดียวกันก็เป็นพื้นที่ที่ยอมให้มีการนำไปใช้ประโยชน์ของประชาชนซึ่งก็เป็นไปตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable development) และยังเป็นพื้นที่อาศัยชั่วคราวของนกน้ำที่อพยพมาอันเป็นหลักการสำคัญสำหรับการเป็นพื้นที่แรมซ่าร์ และให้มีการส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบเกษตรอินทรีย์ ดังนั้นความสำคัญของการจะทำให้บึงบอระเพ็ดได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่แรมซ่าร์ตามที่ขอไปนั้นก็ต้องพิจารณาว่าบึงบอระเพ็ดมีสภาพของระบบนิเวศที่ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์จากการบริหารจัดการและจากการใช้ประโยชน์ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อบึงบอระเพ็ด แต่ในสภาวการณ์ปัจจุบันกลับพบว่ามิได้เป็นไปเช่นนั้น
จุดเด่นของโครงการ :การมีส่วนร่วมของประชาชน ภาครัฐ เจ้าหน้าที่รัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดร่วมกัน การใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างชาญฉลาด การพัฒนาอย่างยั่งยืน เเละสนับสนุนส่งเสริม การทำเกษตรอินทรีย์บนพื้นที่ที่ให้เกษตรกรได้รับสิทธิการเช่าพื้นที่บึงบอระเพ็ดทำการเกษตร การส่งเสริมการทำประมงพื้นบ้าน การใช้เครื่องมือจับสัตว์น้ำเเบบภูมิปัญญาท้องถิ่น การทำสื่อ AR เเละ สื่อ VR สามภาษา ไทย อังกฤษ จีน ส่งเสริมการท่องเที่ยวอุทยานนกน้ำ จังหวัดนครสวรรค์
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อศึกษาและวิจัย หลักการ ทฤษฎี และแนวคิดเกี่ยวกับพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด 2. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดตามกฏหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายไทย 3. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์หารูปแบบแนวทางการขอขึ้นทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ
ขอบเขตของโครงการ :งานวิจัยนี้เป็นชุดโครงการวิจัยมี 3 โครงการย่อย ซึ่งแต่ละโครงการมีขอบเขตการวิจัยดังนี้ โครงการย่อยที่ 1 การส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์พื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาดอย่างยั่งยืน วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาสำรวจความรู้และความเข้าใจของเกษตรกรเกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด 2. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กฎหมายไทย และกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับพื้นที่ชุ่มน้ำ 3. เพื่อพัฒนาการจัดทำสื่อออนไลน์ให้ความรู้และความเข้าใจด้านกฎหมายในการทำเกษตรอินทรีย์บนพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด 4. เพื่อศึกษาวิเคราะห์หารูปแบบการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด โครงการย่อยที่ 2 การส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำประมงพื้นบ้านพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด การใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างชาญฉลาดและยั่งยืน วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1 เพื่อสำรวจความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการทำประมงพื้นบ้านในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด 2 เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กฎหมายไทย และกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับพื้นที่ชุ่มน้ำ 3 เพื่อพัฒนาจัดทำสื่อออนไลน์ให้ความรู้ด้านกฎหมายเกี่ยวกับการทำประมงพื้นบ้านพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด 4. เพื่อศึกษาวิเคราะห์หารูปแบบการส่งเสริมการทำประมงพื้นบ้านพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด โครงการย่อยที่ 3 การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล AR และ VR สามภาษา (ไทย-อังกฤษ-จีน) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืนในเขตชุมชนบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อสร้างสื่อเทคโนโลนีดิจิทัลเทคโนโลยีออนไลน์ AR และ VR สามภาษา (ไทย-อังกฤษ-จีน) ในการเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรม และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน (อุทยานนกน้ำนครสวรรค์) ในเขตพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดจังหวัดนครสวรรค์ 2. เพื่อศึกษาคุณภาพภาพสื่อดิจิทัลเทคโนโลยีออนไลน์ AR และ VR สามภาษา (ไทย-อังกฤษ-จีน) ด้านการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน (อุทยานนกน้ำนครสวรรค์) ในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดจังหวัดนครสวรรค์ 3. เพื่อสำรวจความพึงพอใจของประชาชนในเขตพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด และประชาชนทั่วไปด้านการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แบบยั่งยืน (อุทยานนกน้ำนครสวรรค์) โดยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล AR และ VR สามภาษา (ไทย-อังกฤษ-จีน)
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :ด้านประชาชนจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากความอุดมสมบูรณ์ของบึงบอระเพ็ด โดยได้ใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางธรรมชาติของพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดในด้านการทำการประมงพื้นบ้าน ใช้ทรัพยากรเป็นแหล่งน้ำจากบึงเพื่ออาชีพเกษตรกรรม การอุปโภค การบริโภคและการส่งเสริมการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ก่อให้เกิดรายได้หมุนเวียนทั้ง ประชาชน ภาคเอกชน และหน่วยงานภาครัฐ ด้านสิ่งแวดล้อมที่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้นจะเสื่อมโทรมตามธรรมชาติเป็นการหมุนเวียนพึ่งพาอาศัยกันระหว่างคนกับธรรมชาติและมีผลดีกับประชาชนในพื้นที่จะได้มีแหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และมีอากาศที่บริสุทธิ์เป็นปอดทางธรรมชาติให้กับคนในพื้นที่และบริเวณใกล้เคียงและเป็นแหล่งศึกษาและค้นคว้าของระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์ ของพันธุ์ไม้น้ำหลากหลายสายพันธุ์ และนกน้ำ ปลาน้ำจืด หลากหลายสายพันธุ์ เป็นบึงน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่ยังคงอุดมสมบูรณ์ตามบึงที่เกิดจากแหล่งธรรมชาติ การเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำตามอนุสัญญาแรมซ่าร์ ทำให้บึงบอระเพ็ดได้รับการรับรองขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำระดับนานาชาติ ส่งผลให้มีมาตรการในการส่งเสริม สนับสนุน และคุ้มครองบึงบอระเพ็ดจะมีการส่งเสริมและการอนุรักษ์ และการดูแลฟื้นฟูทรัพยากรทางธรรมชาติอย่างถูกต้อง
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :ทบทวนวรรณกรรมดังนี้ กฎหมายไทย กฎหมายที่ให้สิทธิแก่ประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมและอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติมีดังต่อไปนี้ - รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ การคุ้มครอง การส่งเสริม และการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติ มีดังต่อไปนี้ - พระราชบัญญัติประมง พ.ศ. 2558 - พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 - พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 - พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 - พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 - พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 - พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พ.ศ. 2485 พระราชบัญญัติจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละฉบับมีบทบัญญัติที่ให้อำนาจหน้าที่แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีดังต่อไปนี้ - พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 - พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 - พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 - พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ระเบียบปฏิบัติของหน่วยงานภาครัฐในการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ด มีดังต่อไปนี้ - ประกาศเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ดตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 - ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องกำหนดเขตห้ามล่าสัตว์ป่าตาม พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 กฎหมายระหว่างประเทศ - อนุสัญญาแรมซาร์ ค.ศ. 1975 (พ.ศ. 2518) (Ramsar Convention on Wetlands ค.ศ. 1975) (พ.ศ. 2518) - อนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพ ค.ศ. 1992) (พ.ศ. 2535) (Convention on Biological Diversity, 1992) (พ.ศ. 2535)
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :การวิจัยมีขอบเขตคลอบคลุมถึงประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ 1) ขอบเขตด้านแนวคิดและกฎหมาย 1.1) ขอบเขตด้านหลักการ ทฤษฎี และแนวคิด หลักการ - หลักการบริหารจัดการ - หลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน - หลักการอนุรักษ์ - หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน - หลักการให้บริการสาธารณะ - หลักการกระจายอำนาจ แนวคิด - แนวคิดการกำกับดูแล - แนวคิดการใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาด 1.2) กฎหมาย กฎหมายไทย กฎหมายที่ให้สิทธิแก่ประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมและอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติมีดังต่อไปนี้ - รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ การคุ้มครอง การส่งเสริม และการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติ มีดังต่อไปนี้ - พระราชบัญญัติประมง พ.ศ. 2558 - พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 - พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 - พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 - พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 - พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 - พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พ.ศ. 2485 พระราชบัญญัติจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละฉบับมีบทบัญญัติที่ให้อำนาจหน้าที่แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีดังต่อไปนี้ - พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 - พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 - พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 - พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ระเบียบปฏิบัติของหน่วยงานภาครัฐในการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ด มีดังต่อไปนี้ - ประกาศเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ดตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 - ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องกำหนดเขตห้ามล่าสัตว์ป่าตาม พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 กฎหมายระหว่างประเทศ - อนุสัญญาแรมซาร์ ค.ศ. 1975 (พ.ศ. 2518) (Ramsar Convention on Wetlands ค.ศ. 1975) (พ.ศ. 2518) - อนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพ ค.ศ. 1992) (พ.ศ. 2535) (Convention on Biological Diversity, 1992) (พ.ศ. 2535)
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :การวิจัยกำหนดกลุ่มประชากรที่ศึกษาใช้เก็บรวบรวมข้อมูลตามวิธีวิทยาการวิจัยที่กำหนดเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ด ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในหน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการธุรกิจแพปลา เกษตรกรผู้ใช้พื้นที่ทำการเกษตรในพื้นที่ภายในบริเวณเขตบึงบอระเพ็ดและบริเวณรอบบึงบอระเพ็ด ประชาชนในพื้นที่ภายในบริเวณเขตบึงบอระเพ็ดและบริเวณรอบบึงบอระเพ็ด เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ใช้ประชากรในการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ประกอบด้วย 1) ประชากรสัมภาษณ์เชิงลึก (In- depth Interview) จำนวน ๓0 คน ประกอบด้วย (1) ประมงจังหวัดนครสวรรค์ (2) ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์ (3) ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครสวรรค์ (4) ผู้อำนวยการโครงการชลประทานนครสวรรค์ (5) หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด (6) หัวหน้าสถานีวิจัยสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด (7) ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ (8) นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพระนอน (9) นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแควใหญ่ (10) นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกรียงไกร (11) นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพนมเศษ (12) นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทับกฤช (13) นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังมหากร (14) ประชาชนที่ใช้ประโยชน์บึงบอระเพ็ด (15) ประชาชนที่อาศัยโดยรอบบึงบอระเพ็ด (1๖) ผู้ประกอบการภาคเอกชน 2 การสนทนากลุ่ม (Focus group) มีผู้เกี่ยวข้องในการหาคำตอบแนวทางการขอขึ้นทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด ตามหลักเกณฑ์ อนุสัญญาแรมซาร์ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องกับบึงบอระเพ็ดตามขอบเขตแห่งอำนาจตามกฎหมาย ประชาชนผู้ใช้ประโยชน์พื้นที่บึงบอระเพ็ด นักกฎหมาย และนักวิชาการ จำนวนทั้งหมด 30 คน ออกแบบร่วมกันเพื่อหาแนวทาง 3 การรับฟังความคิดเห็น (Hearing) เป็นประชากรที่ร่วมประชุมสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็น (Hearing) ด้วยการวิพากษ์และแสดงความคิดเห็นต่อแนวทางการขอขึ้นทะเบียนต่อพื้นที่ชุ่มน้ำตามอนุสัญญาแรมซาร์ ในการยืนยันความครบถ้วนเหมาะสมของแนวทางการขอขึ้นทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดตามอนุสัญญาแรมซาร์ จำนวน 70 คน ประกอบด้วยกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ด
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :การใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาดในการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติ การมีส่วนร่วมร่วมกันในการบริหารจัดการพื้นที่บึงบอระเพ็ด โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน เกิดการบูรณาการร่วมกัน เพื่อเกิดประโยชน์ในการใช้ทรัพยากรอย่างชาญฉลาดเเละเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน
จำนวนเข้าชมโครงการ :416 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวฐิตาภรณ์ น้อยนาลุ่ม บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย50
นางสาวนนทพัทธ์ ตรีณรงค์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย10
นางสาววิมลพร ระเวงวัลย์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย20
นางสาวศราธรณ์ หมั่นปรุ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย20

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด