รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000604
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การศึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์และส่งเสริมการตลาดของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฝรั่งอินทรีย์ (บ้านตะคร้อ) เพื่อขยายตลาดไปสู่กลุ่มเป้าหมายใหม่
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :A Study of Product Development and Marketing Promotion of Organic Guava Community Enterprise (Ban Takhro) to Expand Market to New Target Groups.
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :-
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะวิทยาการจัดการ > สาขาวิชาการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :42800
งบประมาณทั้งโครงการ :42,800.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :30 พฤศจิกายน 2563
วันสิ้นสุดโครงการ :29 พฤศจิกายน 2564
ประเภทของโครงการ :อื่นๆ
กลุ่มสาขาวิชาการ :อื่นๆ
สาขาวิชาการ :อื่นๆ
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ภาคการเกษตรในประเทศไทยมีการปลูกผลไม้หลากหลายชนิด และมีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งการปลูกผลไม้ไทยของเกษตรกรในปัจจุบันมีคุณภาพมากขึ้น จึงมีศักยภาพในการส่งออกจำหน่ายในตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะในรูปแบบผลไม้สด ทำให้เกษตรกรไทยได้เปลี่ยนวิถีการผลิตแบบพอมีพอกินมาเป็นการผลิตเพื่อขาย และมุ่งเน้นการเพิ่มผลผลิตด้านปริมาณในลักษณะของเกษตรเชิงเดี่ยว ซึ่งเกษตรกรต้องอาศัยสารเคมีแทบทุกขั้นตอนของการผลิตรวมถึงการกำจัดแมลงและศัตรูพืชที่ต้องมีการใช้สารเคมีเป็นจำนวนมาก จากการสำรวจพบว่า ประเทศไทยมีการนำเข้าสารเคมีทางการเกษตรเพิ่มขึ้นทุกปี (กรมควบคุม มลพิษ, 2556) ซึ่งการใช้สารเคมีเป็นจำนวนมากทางการเกษตรส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพโดยรวมของชุมชม ได้แก่ ภาวะด้านสุขภาพที่แย่ลง ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้สารเคมีและบริโภคผลผลิตที่มีสารเคมีตกค้าง นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดการเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติทั้งด้านสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นสภาพดิน น้ำ และอากาศ โดยเฉพาะทรัพยากรที่สำคัญต่อการเกษตร คือ “ทรัพยากรดิน” ซึ่งทำให้เกิดปัญหาในหลายๆ ด้าน เช่น ปัญหาโครงสร้างของดินและสิ่งมีชีวิตในดินถูกทำลาย ดินเสื่อม คุณภาพ ซึ่งปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตของเกษตรกรโดยตรง ในปัจจุบันพบว่า เกษตรกรจำนวนมากได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงที่เน้นการพัฒนาด้วยวิธีการผลิตแบบใหม่ที่พึ่งพาเคมีภัณฑ์เพื่อให้ได้ผลผลิตจำนวนมาก อย่างไรก็ตามการจำหน่ายผลไม้ในรูปแบบผลไม้สดมักมีการคัดคุณภาพตามเกรดของสินค้าเพื่อการส่งออก ทำให้มีผลผลิตส่วนหนึ่งที่มีคุณภาพต่ำกว่า เช่น มีตำหนิ ขนาดผลเล็ก มีสารปนเปื้อน ส่งผลทำให้พบปัญหาสินค้าล้นตลาด ราคาตก การเน่าเสียระหว่างการรอจำหน่าย (สำนักบริหารการนำเข้าส่งออกสินค้าทั่วไป, 2553) จากความสำคัญดังกล่าว เกษตรอินทรีย์ จึงเป็นแนวทางทำการเกษตรเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี ไม่มีการปนเปื้อน ทำให้ได้ผลผลิตที่มีความปลอดภัยและเป็นที่ต้องการของตลาดในปัจจุบัน เพื่อการขยายตลาดไปสู่กลุ่มเป้าหมายใหม่อีกทางหนึ่งด้วย ภาคเกษตรมีบทบาทสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย และเป็นฐานการผลิตที่ควรได้รับการสนับสนุนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มสำหรับการค้าและการส่งออก รวมถึงในมิติการพัฒนาสู่แหล่งการผลิตอาหารที่สำคัญของโลก เนื่องจากความเหมาะสมทางภูมิประเทศและภูมิอากาศ การมีภูมิปัญญาด้านการผลิตและการประยุกต์ดัดแปลง ผลผลิตทางการเกษตร อีกทั้งยังมีวัฒนธรรมอาหารที่เข้มแข็งและหลากหลาย ซึ่งส่งผลให้ประเทศไทยสามารถเป็นผู้ผลิตอาหารส่งออกที่สำคัญรายใหญ่ของโลก (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2554) จากความสำคัญดังกล่าว ทำให้เกษตรกรไทยได้เปลี่ยนวิถีการผลิตแบบพอมีพอกินมาเป็นการผลิตเพื่อขาย และมุ่งเน้นการเพิ่มผลผลิตด้านปริมาณในลักษณะของเกษตรเชิงเดี่ยว ซึ่งเกษตรกรต้องอาศัยสารเคมีแทบทุกขั้นตอนของการผลิตรวมถึงการกำจัดแมลงและศัตรูพืชที่ต้องมีการใช้สารเคมีเป็นจำนวนมาก จากการสำรวจพบว่า ประเทศไทยมีการนำเข้าสารเคมีทางการเกษตรเพิ่มขึ้นทุกปี (กรมควบคุมมลพิษ, 2556) ซึ่งการใช้สารเคมีเป็นจำนวนมากทางการเกษตรส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพโดยรวมของชุมชม ได้แก่ ภาวะด้านสุขภาพแย่ลงซึ่งมาจากการใช้สารเคมีและบริโภคผลผลิตที่มีสารเคมีตกค้าง นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดการเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติทั้งด้านสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นอากาศ น้ำและดิน โดยเฉพาะทรัพยากรที่สำคัญต่อการเกษตร คือ “ทรัพยากรดิน” ซึ่งทำให้เกิดปัญหาในหลาย ๆ ด้าน เช่น ปัญหาโครงสร้างของดินและสิ่งมีชีวิตในดินถูกทำลาย ดินเสื่อมคุณภาพ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ เป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตของเกษตรกรโดยตรงในปัจจุบันพบว่า เกษตรกรจำนวนมากได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงที่เน้นการพัฒนา ด้วยวิธีการผลิตแบบใหม่ที่พึ่งพาเคมีภัณฑ์เพื่อให้ได้ผลผลิตจำนวนมาก (รุ่งเกียรติ แก้วเพชร, 2559) นอกจากนี้ สาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ผลไม้ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ำเป็นองค์ประกอบมาก จึงจัดเป็นอาหาร ประเภทเสื่อมเสียง่าย (perishable food) (ไพโรจน์ วิริยะจารี, 2539) แนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหา คือ ควรให้ความสำคัญกับการแปรรูปผลไม้ที่เน้นรูปแบบการเพิ่มมูลค่า (value added) ของผลไม้ไทย (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2556 ; สำนักบริหารการนำเข้าส่งออกสินค้าทั่วไป, 2553) ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศตามโมเดลไทยแลนด์ 4.0 โดยให้ประเทศมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (value-based economy) ที่มุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่ม (ไทยรัฐออนไลน์, 2559) จากการสัมภาษณ์กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฝรั่งอินทรีย์ (ปรียาณัชก์ แจ่มไทย. 256 : สัมภาษณ์) หมู่ ๔ บ้านตะคร้อ ตำบลเขาดิน อำเภอเก้าเลี้ยว นั้น เนื่องจากการฝรั่งอินทรีย์มีเกษตรกรหันมาสนใจในการปลูกฝรั่งอินทรีย์มากขึ้น โดยเฉพาะตำบลเขาดิน อำเภอเก้าเลี้ยว ได้ดำเนินกิจกรรมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฝรั่งอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการปลูกฝรั่งดูแลง่ายไม่ยุ่งยาก ให้ผลผลิตเร็วหลังจากปลูกแล้วเพียง 7 - 8 เดือน ลักษณะเด่นของฝรั่งอินทรีย์นี้มีจุดเด่นตรงที่รสชาติอร่อย ปลอดภัยจากสารเคมี โดยฝรั่งอินทรีย์สามารถเพิ่มรายได้ให้แก่สมาชิกของกลุ่มมาโดยตลอด ซึ่งภายในชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกฝรั่งอินทรีย์ สภาพดินสมบูรณ์ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตฝรั่งอินทรีย์ที่มีคุณภาพ เมื่อความต้องการของตลาดเพิ่มขึ้น ทำให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฝรั่งอินทรีย์มีปัญหาเกี่ยวกับการส่งผลผลิตไม่ทันในช่วงเดือน ตุลาคม –– มกราคม เนื่องจากมีผลผลิตออกมาจำนวนน้อย และในช่วงที่มีผลผลิตออกมามาก คู่แข่งเยอะ ทำให้ฝรั่งที่เก็บผลผลิตมาแล้วขายไม่ได้จึงทำให้ผลผลิตเน่าเสียหายจำนวนมาก นอกจากนี้ยังไม่มีการวางแผนความต้องการที่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ขาดความรู้ความเข้าใจในจัดทำระบบการเงินบัญชี/การตลาด ตลอดจนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค เพื่อเป็นทางเลือกและเป็นต้นแบบให้กับกลุ่มในการพัฒนาต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้ จากสถิติการปลูกฝรั่งในประเทศไทย พบว่า ปีพ.ศ. 2555 มีเนื้อที่ปลูกรวมทั้งประเทศ 40,532 ไร่ โดยแบ่งออกเป็น ภาคเหนือ 2,848 ไร่ ภาคกลาง 34,211 ไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2,435 ไร่ และภาคใต้ 1,038 ไร่ และมีปริมาณผลผลิตรวมทั้งประเทศประมาณ 99,923 ตัน ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าว จังหวัดนครปฐมถือเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกและมีปริมาณผลผลิตมากที่สุด คิดเป็น39.3% และ 45.8% ของทั้งประเทศ ตามลำดับ (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2557) โดยเฉพาะอำเภอสามพราน เป็นอำเภอที่มีพื้นที่ปลูกฝรั่งมากที่สุดในจังหวัดนครปฐม กล่าวคือ มีพื้นที่การปลูกฝรั่งทั้งหมด 15,293 ไร่ และพบว่า ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ดั้งเดิมที่เกษตรกรยึดอาชีพการปลูกฝรั่งสืบทอดมาอย่างยาวนาน (สำนักงานเกษตรจังหวัดนครปฐม, 2556) อย่างไรก็ตาม ระบบการผลิตฝรั่งในพื้นที่ดังกล่าว ส่วนใหญ่ยังคงเป็นการผลิตที่พึ่งพาการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ยเคมี ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้ให้คำแนะนำสำหรับการใส่ปุ๋ย โดยควรมีการใส่ทั้งหมด 3 ระยะ ได้แก่ ระยะบำรุงต้น ควรใส่ปุ๋ยสูตร 16--16--16 ส่วนระยะบำรุงผล ควรใส่ปุ๋ยสูตร 15--15--15 และระยะปรับปรุงคุณภาพ ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13--13--21 หรือ 12--12--17ในช่วงก่อนเก็บเกี่ยว 1และ 3เดือน (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์,2557) อย่างไรก็ตาม จากสภาพปัญหาของการใช้ปุ๋ยเคมีที่กล่าวมาข้างต้น จึงได้มีเกษตรกรบางกลุ่มเริ่มหันมาปลูกฝรั่งโดยลดการใช้สารเคมี หรือตามลักษณะการผลิตที่เรียกว่า GAP (Good Agricultural Practices) ซึ่งถือได้ว่า เป็นระบบการผลิตที่ช่วยให้ผลผลิตมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การผลิตฝรั่งในระบบ GAP ยังคงมีการอนุญาติให้ใช้ปุ๋ยเคมีและสารกำจัดศัตรูพืช ซึ่งก็ยังคงไม่ทำให้ผลผลิตนี้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคอย่างแท้จริง ดังนั้นการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์จึงถือเป็นทางเลือกหนึ่งในการผลิตฝรั่งที่ปลอดภัยและมีคุณภาพ สามารถขายผลผลิตได้ในราคาที่สูงขึ้น แต่พบว่า ยังคงมีปัญหาในการผลิต เช่น การจ้างแรงงานที่มีราคาสูง การใช้สารกำจัดศัตรูพืชทางธรรมชาติที่ยังไม่ค่อยได้ผลพอสมควร เป็นต้น (อรกช เก็จพิรุฬห์, 2555) ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์และส่งเสริมการตลาดของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฝรั่งอินทรีย์(บ้านตะคร้อ) เพื่อขยายตลาดไปสู่กลุ่มเป้าหมายใหม่ต่อไป ดังนั้นเพื่อเป็นส่งเสริมการตลาดของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฝรั่งอินทรีย์ (บ้านตะคร้อ) ให้คงอยู่และสามารถเป็นอาชีพเสริมให้กับคนในชุมชนมีรายได้ ทางผู้ศึกษาจึงต้องมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และส่งเสริมการตลาดโดยออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้บริโภคในสังคมปัจจุบัน รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ เพื่อให้สามารถแข่งขันตามสภาพเศรษฐกิจสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่อง
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฝรั่งอินทรีย์ที่ให้มีความน่าสนใจมากขึ้นและตอบสนองกับกลุ่มเป้าหมายใหม่ 2. เพื่อส่งเสริมด้านการตลาด การประชาสัมพันธ์ที่สามารถสร้างช่องทางการจัดจำหน่ายให้มีความหลากหลายขึ้น
ขอบเขตของโครงการ :1.ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.1 ศึกษาการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ฝรั่งอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฝรั่งอินทรีย์ (บ้านตะคร้อ) เลขที่ 4 หมู่ 1 ตำบลเขาดิน อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ 1.2 ศึกษากลุ่มตัวอย่างของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฝรั่งอินทรีย์ เลขที่ 4 หมู่ 1 ตำบลเขาดิน อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 15 คน ได้แก่ ผู้นำชุมชน 1 คน ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฝรั่งอินทรีย์ 1 คน สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฝรั่งอินทรีย์ หรือชาวบ้านในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการผลิต (รับจ้างผลิต) แต่มิใช่สมาชิก จำนวน 13 คน 1.3 ศึกษาความคิดเห็นต่อผลิตภัณฑ์ฝรั่งอินทรีย์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฝรั่งอินทรีย์ (บ้านตะคร้อ) จากผู้สนใจ /ลูกค้า จำนวน 40 คน 2. ขอบเขตด้านเนื้อหา ผู้วิจัยทำการวิจัยเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์และส่งเสริมการตลาดของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฝรั่งอินทรีย์ (บ้านตะคร้อ) เพื่อขยายตลาดไปสู่กลุ่มเป้าหมายใหม่ ซึ่งประเมินความต้องการของกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 5 ด้าน ดังนี้ ด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านบรรจุภัณฑ์ ด้านการเก็บรักษา และด้านการส่งเสริมการตลาด
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1) ก่อให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฝรั่งอินทรีย์ที่ให้มีความน่าสนใจมากขึ้นและตอบสนองกับกลุ่มเป้าหมายใหม่ 2) นำไปใช้ในการส่งเสริมด้านการตลาด การประชาสัมพันธ์ที่สามารถสร้างช่องทางการจัดจำหน่ายให้มีความหลากหลายขึ้น
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :2.1 แนวคิดเกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชน 2.2 แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน 2.3 แนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ 2.4 แนวคิดทฤษฎีกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ 2.5 แนวคิดเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาด 2.6 แนวคิดทฤษฎีการแบ่งส่วนตลาดและการเลือกตลาดเป้าหมาย 2.7 แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภค 2.8 แนวคิดที่เกี่ยวกับความสำเร็จ
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (participatory action research : PAR) โดยทุกขั้นตอนของการศึกษาวิจัย อาศัยการมีส่วนร่วมและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันระหว่างผู้วิจัยกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้นำ ชุมชน และหน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :127 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวสิริกาญจน์ สิงห์ทองชัย บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย40
นางสาวเจนจิรา เงินจันทร์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย30
นางสาวลักษมี งามมีศรี บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย30

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด