รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000602
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :แนวโน้มและความต้องการในการเลือกสาขาวิชาของนักเรียน เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Trends and Needs in Selecting the Study Major of Students in the Entering to Undergraduate Study of Nakhon Sawan Rajabhat University
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :แนวโน้ม, ความต้องการ, นักเรียน
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :12500
งบประมาณทั้งโครงการ :12,500.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :21 กันยายน 2561
วันสิ้นสุดโครงการ :20 กันยายน 2562
ประเภทของโครงการ :การวิจัยและพัฒนา
กลุ่มสาขาวิชาการ :อื่นๆ
สาขาวิชาการ :อื่นๆ
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ไม่ระบุ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : ในปัจจุบันจำนวนสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษามีจำนวนทั้งสิ้น 175 แห่ง โดยแบ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ 26 แห่ง สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ 9 แห่ง สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ(ไม่จำกัดรับ) 2 แห่ง สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ(มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล) 9 แห่ง สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ(มหาวิทยาลัยราชภัฏ) 38 แห่ง วิทยาลัยชุมชน 20 แห่ง มหาวิทยาลัยเอกชน 42 แห่ง วิทยาลัยเอกชน 18 แห่ง สถาบันเอกชน 11 แห่ง ซึ่งมีการเปิดสอนทั้งในระดับอนุปริญญา ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2561) ประกอบกับแนวโน้มและทิศทางการเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีของประเทศไทยในปัจจุบันมีทิศทางที่เริ่มลดลง จะเห็นได้จากจำนวนของนิสิตนักศึกษาที่ศึกษาในระดับปริญญาตรีปีการศึกษา 2556 มีจำนวนทั้งสิ้น 2,186,822 คน โดยแบ่งเป็นศึกษาในระบบสถานศึกษาของรัฐบาลจำนวน 1,838,428 คน ศึกษาในระบบสถานศึกษาของเอกชนจำนวน 348,394 คน ปีการศึกษา 2557 มีจำนวนทั้งสิ้น 2,139,868 คน โดยแบ่งเป็นศึกษาในระบบสถานศึกษาของรัฐบาลจำนวน 1,813,807 คน ศึกษาในระบบสถานศึกษาของเอกชนจำนวน 326,061 คน ปีการศึกษา 2558 มีจำนวนทั้งสิ้น 2,181,601 คน โดยแบ่งเป็นศึกษาในระบบสถานศึกษาของรัฐบาลจำนวน 1,853,827 คน ศึกษาในระบบสถานศึกษาของเอกชนจำนวน 327,774 คน ปีการศึกษา 2559 มีจำนวนทั้งสิ้น 2,139,299 คน โดยแบ่งเป็นศึกษาในระบบสถานศึกษาของรัฐบาลจำนวน 1,899,865 คน ศึกษาในระบบสถานศึกษาของเอกชนจำนวน 239,434 คน ปีการศึกษา 2560 มีจำนวนทั้งสิ้น 2,086,005 คน โดยแบ่งเป็นศึกษาในระบบสถานศึกษาของรัฐบาลจำนวน 1,839,607 คน ศึกษาในระบบสถานศึกษาของเอกชนจำนวน 246,398 คน จากภาพรวมของจำนวนนักเรียน นิสิตนักศึกษาในระบบโรงเรียน ในสถานศึกษาของรัฐบาลและเอกชน จำแนกตามระดับการศึกษา และชั้น ปีการศึกษา 2556–2560 ดังกล่าวข้างต้น มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ได้ประสพปัญหาจำนวนผู้เข้าศึกษาในแต่ละปีการศึกษาที่มีแนวโน้มเริ่มลดลงเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากสถิตินักศึกษาที่เข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2546–ปัจจุบัน โดยจำนวนของนักศึกษาที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2554 มีจำนวน 3,384 คน ปีการศึกษา 2555 มีจำนวน 3,271 คน ปีการศึกษา 2556 มีจำนวน 3,330 คน ปีการศึกษา 2557 มีจำนวน 3,305 คน ปีการศึกษา 2558 มีจำนวน 3,105 คน ปีการศึกษา 2559 มีจำนวน 2,537 คน ปีการศึกษา 2560 มีจำนวน 2,375 คน ปีการศึกษา 2561 มีจำนวน 2,017 คน ปีการศึกษา 2562 มีจำนวน 1,653 คน (กลุ่มงานทะเบียนและประมวลผล สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 2563)
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1) เพื่อศึกษาความต้องการในการเลือกสาขาวิชาของผู้สมัครในการเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลการเลือกสาขาของผู้สมัครเข้าศึกษากับจำนวนรายงานตัวเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของกลุ่มเป้าหมายกับตำแหน่งพื้นที่ เพื่อใช้เป็นข้อมูลสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจในการบริหารงานของมหาวิทยาลัย
ขอบเขตของโครงการ :1) ประชากร คือ นักเรียนที่สมัครเข้าศึกษาต่อและผู้รายงานตัวเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2554–2560 2) วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ จำนวนและร้อยละของนักเรียนที่สมัครเข้าศึกษาและผู้รายงานตัวเข้าศึกษาเป็นนักศึกษาในระดับปริญญาตรี ภาคปกติของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2554–2560 3) วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์อย่างง่ายระหว่างนักเรียนที่สมัครเข้าศึกษาและผู้รายงานตัวเข้าศึกษาเป็นนักศึกษาในระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2554–2560 4) วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ จำนวนและร้อยละของตำแหน่งพื้นที่ของผู้รายงานตัวเข้าศึกษาเป็นนักศึกษาในระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2554–2560
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1) ได้ทราบถึงความต้องการในการเลือกสาขาวิชาของนักเรียนในการเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2) ได้ทราบถึงข้อมูลการเลือกสาขาของผู้สมัครเข้าศึกษากับจำนวนรายงานตัวเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 3) ได้ข้อมูลสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจในการบริหารงานของมหาวิทยาลัย
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : การวิจัยเรื่อง แนวโน้มและความต้องการในการเลือกสาขาวิชาของนักเรียน เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ได้ศึกษาค้นคว้าและรวบรวมเอกสาร แนวคิดทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ประกอบเป็นพื้นฐานของงานวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) ข้อมูลการรับเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ระดับปริญญาตรี ภาคปกติ 2) แนวคิดการจัดการศึกษา (Conceptual Design) ตามแผนการศึกษาแห่งชาติ 2560–2579 3) แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับความต้องการ 4) งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลจากจำนวนนักเยนที่สมัครเข้าศึกษาต่อและจำนวนผู้รายงานตัวเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ย้อนหลัง 7 ปี (2554-2560)
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :107 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวธิติยา หงษ์เวียงจันทร์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย40
นางศิราณี จตุรทิศ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย30
นายธรรมนูญ จูทา บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย30

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด