รหัสโครงการ : | R000000601 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจของผู้บริหารเกี่ยวกับภาระงานสอนของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ระหว่างปีการศึกษา 2563-2567 |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | An Analysis of Information for Administrators Decision Making Regarding Teaching Workload of Teachers at Nakhon Sawan Rajabhat University during 2020-2024 |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | ภาระงานสอน,การตัดสินใจ |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน > กลุ่มงานส่งเสริมวิชาการ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 12500 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 12,500.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 30 พฤศจิกายน 2563 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 29 พฤศจิกายน 2564 |
ประเภทของโครงการ : | การวิจัยและพัฒนา |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | สังคมศาสตร์ |
สาขาวิชาการ : | อื่นๆ |
กลุ่มวิชาการ : | อื่นๆ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ไม่ระบุ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ที่มีพันธกิจ 4 ด้าน คือ 1) ผลิตบัณฑิตและพัฒนากำลังคนให้มีศักยภาพในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ 2) วิจัย บริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนท้องถิ่น 3) ผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา 4) บริหารจัดการมหาวิทยาลัยด้วยนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพันธกิจข้อที่ 1 การผลิตบัณฑิตให้มีศักยภาพนั้น จำเป็นจะต้องมีกระบวนการจัดการและองค์ประกอบที่เหมาะสม โดยผู้เรียน ผู้สอน การเรียน การสอน คือ องค์ประกอบส่วนหนึ่งที่จะทำให้เกิดการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและศักยภาพ แต่ในปัจจุบันผู้เรียนที่มีจำนวนลดน้อยลงทำให้เกิดภาวะการแข่งขันในการหาผู้เข้าศึกษา โดยสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งมีการปรับตัว มีการปรังปรุงพัฒนาหลักสูตรใหม่ๆ ขึ้นมามากมาย เพื่อให้มีความทันสมัยและตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียน ตลาดแรงงาน หรือแนวทางในการจ้างงาน ด้วยปัญหาและเหตุดังกล่าวจึงส่งผลกระทบต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ไม่ว่าจะเป็นด้านจำนวนผู้ที่จะเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัย การจัดการเรียนการสอนในหลักสูตร/สาขาวิชา/แขนงวิชาต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย แม้กระทั่งตัวอาจารย์ผู้สอนเองก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ด้วยงานหลักของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย คือ ภาระงานสอน
ในการกำหนดอัตรากําลังสายวิชาการในระยะที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสำนักงบประมาณ ให้สถาบันการศึกษาสามารถขอกำหนดอัตรากําลังให้เหมาะสมกับภาระงานสอนได้ โดยหน่วยที่ใช้เทียบอัตราส่วนต่อจำนวนอาจารย์ที่ควรจะมี เรียกว่า จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า (Full Time Equivalent Student) หรือ FTES ได้กำหนดอัตราสัดส่วนจำนวนนักศึกษาต่ออาจารย์ไว้ให้เทียบเคียงแล้ว ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และสถาบันการศึกษาอื่น ๆ สามารถนําเกณฑ์สัดส่วนนั้นไปใช้ในการขอกำหนดอัตรากําลังให้เพียงพอกับภาระงานที่มีอยู่
ดังนั้น ความต้องการอัตรากําลังสายวิชาการของมหาวิทยาลัย จำนวนอัตรากำลังของอาจารย์ที่พึงมีจึงมีความสำคัญและความจำเป็น จากที่กล่าวมาข้างต้นจึงเป็นที่มาของการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจของผู้บริหารเกี่ยวกับภาระงานสอนของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ระหว่างปีการศึกษา 2563-2567 เพื่อเป็นการกำหนดแนวทางการจัดสรรอัตรากําลังของบุคลากรสายวิชาการให้สอดคล้องกับภาระงานสอนและสะท้อนถึงข้อมูลความเพียงพอของบุคลากรที่เกี่ยวเนื่องกับการสอน และใช้ในการวางแผนอัตรากําลังของบุคลากรสายวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ต่อไป |
จุดเด่นของโครงการ : | - |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1) เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มแผนการเรียนของนักศึกษาในการจัดทำภาระงานสอน/จัดจ้างบุคลากรสายวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ในช่วงปีการศึกษา 2563-2567
2) เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มความต้องการอัตรากําลังสายวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ในช่วงปีการศึกษา 2563-2567 ในการนำไปใช้ประกอบการพิจารณาอัตรากําลังและความต้องการบุคลากรสายวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ |
ขอบเขตของโครงการ : | 1) ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลแผนการเรียนของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ระดับปริญญาตรี ในช่วงปีการศึกษา 2562-2568
2) ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนหน่วยกิตนักศึกษา (SCCH : Student Course Credit Hours) จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า (FTES : Full Time Equivalent) เฉพาะภาคการศึกษาที่ 1 และ 2 ในช่วงปีการศึกษา 2562-2568 โดยคํานวณภาระงานที่เกิดขึ้นจริงจากการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษา เพื่อใช้ประมาณการแนวโน้มความต้องการอัตรากําลังบุคลากรสายวิชาการ ในช่วงปี 2563-2567 วิเคราะห์ข้อมูลเฉพาะนักศึกษาในหลักสูตรปกติ ทุกระดับการศึกษา |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | 1) เพื่อทราบแนวโน้มแผนการเรียนของนักศึกษาเพื่อการจัดทำภาระงานสอน/จัดจ้างบุคลากรสายวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ในช่วงปีการศึกษา 2563-2567
2) เพื่อทราบแนวโน้มความต้องการอัตรากําลังสายวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ในช่วงปีการศึกษา 2563-2567 เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาจัดทำแผนอัตรากําลังและความต้องการบุคลากรสายวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | การศึกษา “การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจของผู้บริหารเกี่ยวกับภาระงานสอนของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ระหว่างปีการศึกษา 2563-2567” นั้น ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสาร แนวคิดทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ประกอบเป็นพื้นฐานของงานวิจัย ดังนี้
2.1 แผนการเรียน
2.2 การวิเคราะห์กรอบอัตรากำลังสายวิชาการ
2.3 ภาระงานสอน
2.4 งานวิเคราะห์/วิจัยที่เกี่ยวข้อง |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | - |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | 1. วิเคราะห์แนวโน้มแผนการเรียนของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ระดับปริญญาตรี ในช่วงปีการศึกษา 2563-2567
2. วิเคราะห์แนวโน้มความต้องการอัตรากำลังสายวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
นครสวรรค์ในช่วงปีการศึกษา 2563-2567 เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาอัตรากำลังและความ
ต้องการบุคลากรสายวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | - |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 146 ครั้ง |