รหัสโครงการ : | R000000600 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | การพัฒนากลยุทธ์การตลาดดิจิทัลและช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในจังหวัดนครสวรรค์ |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | The development of digital marketing strategies and distribution channels for community products using e-Commerce in Nakhon sawan province |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | กลยุทธ์การตลาดดิจิทัล, ช่องทางการจัดจำหน่าย, ผลิตภัณฑ์ชุมชน, พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะวิทยาการจัดการ > สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | - |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 110000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 110,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 01 ตุลาคม 2563 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 30 กันยายน 2564 |
ประเภทของโครงการ : | การวิจัยและพัฒนา |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี |
สาขาวิชาการ : | สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ |
กลุ่มวิชาการ : | อื่นๆ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ระดับชาติ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | กลยุทธ์การตลาดดิจิทัลจึงเป็นวิธีการดำเนินงานของธุรกิจด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า คู่ค้า หุ้นส่วนทางธุรกิจ รวมไปถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับธุรกิจ โดยผ่านวิธีการสื่อสารที่เข้าถึงได้ง่าย อาศัยการส่งมอบและนำเสนอคุณค่าของผลิตภัณฑ์และบริการไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกส่วนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม นอกจากนี้กลยุทธ์การตลาดดิจิทัลสามารถช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้าให้ได้สัมผัสกับประสบการณ์รูปแบบใหม่ ๆ ได้ถึง
20 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ซึ่งมีประสิทธิผลมากกว่าการใช้กลยุทธ์การตลาดแบบออฟไลน์ (Bughin, 2015) การบูรณาการเครื่องมือทางการตลาดในรูปแบบดิจิทัลและใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการดำเนินธุรกิจ จึงกลายเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญที่จะสร้างความท้าทายให้กับธุรกิจ (Friendman, 2010) อีกทั้งการประยุกต์ใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กับผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยเฉพาะการสร้างช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ยังเป็นส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์
ชุมชนให้ก้าวไปสู่ระดับสากล เนื่องจากปัจจุบันมีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำนวนมาก และมีอัตราการเพิ่มขึ้นในทุกปีผู้ผลิตและผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนจึงไม่ควรมองข้ามช่องทางการตลาดในรูปแบบออนไลน์ เนื่องจากระบบอินเทอร์เน็ตสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้โดยตรง และไม่มีข้อจำกัดในเรื่องสถานที่ เวลา อีกทั้งยังสามารถประหยัดต้นทุนในการจัดจำหน่าย ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายสามารถที่จะลงโฆษณาสินค้าได้มากเท่าที่ต้องการ และยังสามารถ ปรับปรุงข้อมูลได้ ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้ผู้ซื้อตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการได้มากขึ้น ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนและผลักดันสินค้าของชุมชนให้ได้รับการยอมรับ และก้าวไปสู่ความเป็นสากลในระดับโลก
คณะผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะศึกษากลยุทธ์การตลาดดิจิทัลและศึกษาแนวทางในการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่การแสดงสินค้า รูปแบบตะกร้า การชำระเงินและการจัดส่งสินค้าให้ตรงกับความต้องการของผู้จัดจำหน่ายและผู้ซื้อสินค้าทั้งภายในและต่างประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้กลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน สามารถเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย การประชาสัมพันธ์ สร้างรายได้ ตอบสนองยุทธศาสตร์และนโยบายของประเทศ อีกทั้งเป็นความรู้และแนวทางให้กลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์ให้สามารถนำข้อมูลจากการศึกษานี้ไปปรับใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานในรูปแบบของตลาดดิจิทัลธุรกิจเพื่อให้สอดรับกับแนวโน้มที่จะเปลี่ยนไปในอนาคตและยังเป็นโอกาสในการดำเนินธุรกิจของกลุ่มผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อีกด้วย
|
จุดเด่นของโครงการ : | เป็นโครงการวิจัยเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการให้กับกลุ่มผู้ขายผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์ โดยพัฒนารูปแบบตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ที่ตรงกับความสามารถของผู้ขายและตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยลดการหาผลประโยชน์ของพ่อค้าคนกลางในการกดราคาสินค้าจากกลุ่มผู้ขายผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วย |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1. เพื่อวิเคราะห์กลยุทธ์การตลาดดิจิทัลของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนในเขตจังหวัดนครสวรรค์
2. เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในเขตจังหวัดนครสวรรค์
3. เพื่อประเมินประสิทธิภาพกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลและช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ |
ขอบเขตของโครงการ : | 1. การวิเคราะห์กลยุทธ์การตลาดดิจิทัลของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนในเขตจังหวัดนครสวรรค์ เป็นการจัดกลุ่มและเสวนารวมกันระหว่างคณะผู้วิจัย กลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนและผู้ที่สนใจ เพื่อให้ได้กลยุทธ์การตลาดดิจิทัลที่ตรงกับความต้องการและความสามารถของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างแท้จริง
2. การศึกษาแนวทางพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ เป็นการดำเนินการศึกษาโดย การศึกษา ทำการสังเคราะห์ วิเคราะห์และพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายในรูปแบบออนไลน์ตามทฤษฎีของการตลาดยุคใหม่ (4E Marketing)
3. การประเมินประสิทธิภาพกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลและช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และนำเสนอในรูปแบบการบรรยาย |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | 1. ทราบถึงกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนในเขตจังหวัดนครสวรรค์ ที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง
2. ได้พัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนในเขตจังหวัดนครสวรรค์
3. ได้กลยุทธ์การตลาดดิจิทัลและช่องทางการจัดจ าหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ ที่สามารถสร้างรายได้และเพิ่มศักยภาพให้กับชุมชนและท้องถิ่น |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | การศึกษางานวิจัยเรื่อง การพัฒนากลยุทธ์การตลาดดิจิทัลและช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในจังหวัดนครสวรรค์ มีการทบทวนเอกสาร แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในประเด็นต่อไปนี้ ประกอบด้วย
1. แนวคิดเกี่ยวกับการตลาดดิจิทัล
2. แนวคิดเกี่ยวกับส่วนประสมการตลาดยุคใหม่
3. แนวคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ชุมชน
4. แนวคิดเกี่ยวกับการจัดจำหน่ายและช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน
5. แนวคิดเกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
6. กรอบแนวคิดการวิจัย
7. การทบทวนงานวิจัยและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | จากการวิจัยครั้งนี้ การวิเคราะห์กลยุทธ์การตลาดดิจิทัลของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนในเขตจังหวัดนครสวรรค์ โดยการวิเคราะห์กลยุทธ์การตลาดดิจิทัลของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน การวิเคราะห์ว่าตัวแปรใดส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน การวิเคราะห์ด้านความพร้อมในการดำเนินกิจกรรมการตลาดดิจิทัลของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนใช้ และการวิเคราะห์กลยุทธ์การตลาดดิจิทัลที่เหมาะสมต่อการพัฒนาตลาดผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนในเขตจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อให้ได้แนวทางในการพัฒนากลยุทธ์การตลาดดิจิทัล และการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ตรงกับความต้องการของผู้ซื้อและผู้ขาย
|
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | 1. ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ทำการศึกษาและงานวิจัย รวบรวมแนวคิดทฤษฎี งานวิจัยบทความและบทสัมภาษณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดแนวใหม่ โดยนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาทบทวนวรรณกรรมมาสรุปเพื่อใช้ในการกำหนดเนื้อหาและขอบเขตของคำถามเพื่อใช้ในการสอบถามให้ครอบคลุมเนื้อหาที่ต้องการจะศึกษาวิจัย
2. ดำเนินการติดต่อประสานงานกับผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อขออนุญาตลงพื้นที่ในสอบถามกับผู้นำและสมาชิกกลุ่มธุรกิจชุมชน
3. สร้างเครื่องมือในการสัมภาษณ์เรื่อง กลยุทธ์การตลาดดิจิทัล โดยศึกษาเอกสารแนวทางปฏิบัติ ทฤษฎีงานวิจัย บทสัมภาษณ์จากสื่อต่าง ๆ และข้อมูลที่ได้จากการสรุปประเด็นข้อเท็จจริงของการสัมภาษณ์เชิงลึก พร้อมทั้งลงพื้นที่จัดเสวนาและรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด
4. เมื่อรวบรวมแบบสัมภาษณ์แล้ว คณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบจำนวนความถูกต้อง และความสมบูรณ์ของแบบสัมภาษณ์ที่ได้เก็บข้อมูลมา จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาทำการสังเคราะห์ วิเคราะห์รูปแบบการตลาดยุคใหม่ เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในเขตจังหวัดนครสวรรค์
5. นำผลการออกแบบแนวทางพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ ไปทำการประเมินประสิทธิภาพกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลและช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ด้วยการสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้ขายและผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 400 คน
6. ทำการวิเคราะห์ผลทางสถิติการประเมินประสิทธิภาพกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลและช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในเขตจังหวัดนครสวรรค์และสรุปเล่ม |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | - |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 296 ครั้ง |